อนิยต ๒

📍๑. อลังกัมมนียสิกขาบท
ความว่า ภิกษุรูปเดียวนั่งอยู่ด้วย🔎มาตุคาม คนเดียวในที่ลับตา มีฝากั้นม่านกั้นเป็นที่ควรจะเสพเมถุนได้ ถ้ามีอุบาสกอุบาสิกามีถ้อยคำควรเชื่อได้ ได้เห็นอาการของภิกษุแลมาตุคามนั้น แลพึงโจทก์ด้วยอาบัติปาราชิก หรือสังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์แต่อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ตนเห็น ภิกษุก็รับสมอ้างตามคำโจทก์ จึงให้พระวินัยธร ปรับโทษ ตามปฏิญาณของภิกษุนั้นเป็นประมาณ📍๒. นาลังกัมมนียสิกขาบท
ความว่า ภิกษุนั่งกับมาตุคามอย่างนั้น ก็แต่ที่ ๆ นั่งนั้นไม่มีที่บังที่มุง ไม่ควรจะเสพเมถุนได้ ควรแต่จะเจรจาคำหยาบ เปรียบปรายเกี้ยวพานกันได้เท่านั้น ถ้ามีอุบาสกอุบาสิกามีถ้อยคำควรจะเชื่อได้ ได้เห็น ได้ยิน แล้วมาโจทก์ด้วยอาบัติสังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์ ภิกษุก็รับสมตามคำโจทก์ จึงให้พระวินัยธรปรับโทษตามคำปฏิญาณของพระภิกษุนั้นเป็นประมาณสิกขาบททั้งสองนี้ มีอาบัติธรรมไม่เที่ยง อาจจะจริงหรือไม่จริงตามคำโจทก์ก็ได้ พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้เป็นแบบแผนที่🔎พระวินัยธร จะตัดสินโทษของภิกษุผู้อาบัติอธิกรณ์นั้น ๆ