สักกชนบทและศากยวงศ์

🔅สักกชนบท

ตั้งอยู่ตรงข้ามภูเขาหิมพานต์ ตอนเหนือของชมพูทวีป เหตุที่ชื่อว่า สักกชนบท เพราะถือตามภูมิประเทศเดิมเป็นดงไม้สักกะ

เมืองกบิลพัสดุ์

มีเรื่องเล่าโดยย่อว่า พระเจ้าโอกกากราชมีพระราชโอรส ๔ และพระราชธิดา ๕ พระองค์ เมื่อพระมเหสีทิวงคต พระองค์มีพระมเหสีใหม่ได้ประสูติพระราชโอรส ๑ พระองค์ ทรงเป็นที่โปรดปรานอย่างยิ่ง จึงพลั้งพระโอษฐ์ให้พร พระนางได้ตรัสขอราชสมบัติให้แก่พระโอรสของตน พระเจ้าโอกกากราชตรัสห้ามหลายครั้งก็ยังทูลขออยู่อย่างนั้น จึงยอมพระราชทานราชสมบัติให้ตามคำขอของพระนาง ครั้นจะไม่พระราชทานให้ก็กลัวจะเสียสัตย์ ตรัสเรียกพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้ง ๙ พระองค์มาเข้าเฝ้าแล้วตรัสเล่าความจริงให้ทราบและให้ไปสร้างเมืองใหม่ เมื่อพระองค์ทิวงคตแล้วให้กลับมายึดราชสมบัติคืน ดังนั้นพระราชโอรสและพระราชธิดาทั้ง ๙ พระองค์จึงไปสร้างเมืองใหม่อยู่ที่ดงไม้สักกะ ได้พบกับกบิลดาบส ตรัสเล่าความประสงค์ของตนให้ทราบ พระดาบสได้แนะนำให้สร้างเมืองตรงที่อยู่ของตน และบอกว่าสถานที่นี้เป็นที่มงคล เมืองนี้จะมีชื่อเสียงต่อไปในภายภาคหน้า เมืองใหม่ได้ชื่อว่า กบิลพัสดุ์ เพราะว่าเป็นที่อยู่ของกบิลดาบส

ศากยวงศ์และโกลิยวงศ์

พระราชโอรสและพระราชธิดาเมื่อสร้างเมืองใหม่เสร็จแล้วพี่น้องจึงอภิเษกสมรสกันเองเพราะกลัวว่าชาติตระกูลของตัวเองจะไม่บริสุทธิ์ เว้นไว้แต่พระเชษฐภคินี (พี่สาวคนโต) ยกไว้ในฐานะพระราชมารดา กษัตริย์วงศ์นี้จึงได้ชื่อว่า ศากยวงศ์

ศากยวงศ์ ได้พระนามนี้ เพราะสาเหตุ ๓ ประการ คือ
        ๑. เพราะตั้งตามอาณาจักรหรือชนบท คือ สักกชนบท
        ๒. เพราะตั้งตามความสามารถของพระโอรสโดยลำพังปกครองประเทศได้รุ่งเรือง จนพระบิดาตรัสชมว่า เป็นผู้องอาจ
        ๓. เพราะกษัตริย์วงศ์นี้ได้อภิเษกสมรสกันเองระหว่างพี่น้องที่เรียกกันว่า สกสกสังวาส

ส่วนพระเชษฐภคินีภายหลังมีจิตปฏิพัทธ์กับพระเจ้ากรุงเทวทหะจึงได้อภิเษกสมรสด้วยกัน ตั้งราชวงศ์ขึ้นใหม่ กษัตริย์วงศ์นี้ชื่อว่า โกลิยวงศ์

กษัตริย์ศากยะได้สืบราชสมบัติมาถึงพระเจ้าชัยเสนะ ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา ๒ พระองค์ คือ พระเจ้าสีหหนุและพระนางยโสธรา ต่อมาพระเจ้าสีหหนุได้ครองราชสมบัติจึงอภิเษกสมรสกับพระนางกัญจนาน้องสาวของพระเจ้าอัญชนะ กรุงเทวทหะ มีพระราชโอรสและพระราชธิดา ๗ พระองค์ พระราชโอรส ๕ พระองค์ คือ สุทโธทนะ สุกโกทนะ อมิโตทนะ โธโตทนะ ฆนิโตทนะ พระราชธิดา ๒ พระองค์ คือ ปมิตาและอมิตา ส่วนพระนางยโสธราน้องสาวของพระเจ้าสีหหนุได้อภิเษกสมรสกับพระเจ้าอัญชนะกรุงเทวทหะ มีพระราชโอรสและพระราชธิดา ๔ พระองค์ พระราชโอรส ๒ พระองค์ คือ สุปปพุทธะและทัณฑปาณิ พระราชธิดา ๒ พระองค์ คือ มายาและปชาบดีโคตมี

เมื่อพระเจ้าสุทโธทนะเจริญวัย ได้อภิเษกสมรสกับพระนางสิริมหามายา ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าอัญชนะ เมืองเทวทหะ มีพระราชโอรส ๑ พระองค์ คือ เจ้าชายสิทธัตถะ และเจ้าชายสิทธัตถะได้อภิเษกสมรสกับพระนางพิมพา ซึ่งเป็นพระราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะกับพระนางอมิตา เมืองเทวทหะ มีพระราชโอรส ๑ พระองค์ ชื่อว่า พระราหุล

สักกชนบท แบ่งออกเป็น ๓ นคร

๑. พระนครเดิมของพระเจ้าโอกกากราช
๒. พระนครกบิลพัสดุ์
๓. พระนครเทวทหะ

การปกครอง

การปกครองนครเหล่านี้ไม่ได้กล่าวไว้ชัดเจน แต่สันนิษฐานตามประเพณี ปกครองแบบสามัคคีธรรม โดยไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งได้มีอำนาจสิทธิ์ขาด


🔅พระโคตรของศากยวงศ์

เรียกว่า “โคตมะ” แต่บางครั้งก็เรียกว่า “อาทิตยโคตร” (ครั้งที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบพระเจ้าพิมพิสารขณะเสด็จไปเมืองราชคฤห์เมื่อออกบวชใหม่ๆ)

พระประยูรญาติของพระพุทธเจ้า

พระเจ้าชัยเสนะ ทวด (พระไปยกา)
พระเจ้าสีหหนุ ปู่ (พระอัยกา)
พระนางกัญจนา ย่า (พระอัยยิกา)
พระเจ้าอัญชนะ ตา (พระอัยกา)
พระนางยโสธรา ยาย (พระอัยยิกา)
พระเจ้าสุปปพุทธะ ลุง (พระมาตุลา)
พระนางอมิตา ป้า (พระปิตุจฉา)
พระนางปชาบดี น้า (พระมาตุจฉา)
พระเจ้าสุทโธทนะ พ่อ (พระชนก)
พระนางสิริมหามายา แม่ (พระชนนี)
พระนันทกุมาร น้องชาย (พระอนุชา)
พระนางรูปนันทา น้องสาว (พระขนิษฐภคินี)
พระนางยโสธรา (พิมพา) ภรรยา (พระชายา)
พระราหุล ลูก (พระโอรส)



ปริเฉทที่ ๑ ชมพูทวีปและประชาชน

ดินแดนเป็นที่เกิดขึ้นของพระพุทธศาสนา หรือดินแดนที่เรียกว่าประเทศอินเดียในสมัยก่อน เรียกว่า ชมพูทวีปในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย เนปาล ปากีสถาน บังคลาเทศและภูฏาน ตั้งอยู่ทางทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) ของประเทศไทย


ชนชาติที่อาศัยอยู่ในชมพูทวีปมี ๒ พวก

๑. พวกมิลักขะ เจ้าถิ่นเดิมที่อาศัยอยู่ก่อน
๒. พวกอริยกะ พวกที่อพยพมาใหม่โดยอพยพมาทางด้านภูเขาหิมาลัยรุกไล่เจ้าถิ่นเดิมถอยร่นไปอยู่รอบนอก


ชมพูทวีป แบ่งเป็น ๒ เขต

การปกครองในสมัยก่อนแบ่งออกเป็น ๒ เขต บางครั้งเรียกเป็นจังหวัด คือ
๑. มัชฌิมชนบทหรือมัธยมประเทศ คือ ประเทศภาคกลางเป็นที่อาศัยอยู่ของพวกอริยกะ
๒. ปัจจันตชนบทหรือปัจจันตประเทศ คือ ประเทศปลายแดนเป็นที่อาศัยอยู่ของพวกมิลักขะ


แคว้นใหญ่ มี ๑๖ แคว้น

อังคะ มคธะ กาสี โกสละ วัชชี มัลละ เจดี วังสะ กุรุ ปัญจาละ มัจฉะ สุรเสนะ อัสสกะ อวันตี คันธาระ กัมโพชะ และที่ปรากฏในคัมภีร์อื่นอีกมี ๕ แคว้น คือ สักกะ โกลิยะ ภัคคะ วิเทหะ และอังคุตตราปะ แคว้นเหล่านี้ บางแคว้นปกครองโดยกษัตริย์มีอำนาจสิทธิ์ขาด บางแคว้นปกครองโดยสามัคคีธรรม


วรรณะ ๔

คนอินเดียแบ่งเป็นชั้นวรรณะด้วยชาติกำเนิดตามหลักศาสนาพราหมณ์ มี ๔ วรรณะ คือ

๑. กษัตริย์ นักปกครอง นักรบ ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องยุทธวิธี
๒. พราหมณ์ สั่งสอน ทำพิธีกรรมทางศาสนา ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องพิธีกรรมต่างๆ
๓. แพศย์ ทำนา ค้าขาย เลี้ยงสัตว์ ช่างฝีมือ และหัตถกรรมศึกษาเกี่ยวกับเรื่องทำนาค้าขาย เป็นต้น
๔. ศูทร พวกกรรมกรใช้แรงงาน ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการใช้แรงงาน

แต่ละวรรณะจะไม่แต่งงานข้ามวรรณะกัน ถ้าแต่งงานข้ามวรรณะลูกที่คลอดออกมากลายเป็นอีกชนชั้นหนึ่ง เรียกว่า จัณฑาลเป็นที่ดูถูกเหยียดหยามของคนทั่วไป



ความเห็นที่แตกต่าง

ประชาชนในสมัยก่อนสนใจศึกษาธรรมะกันมาก มีความเห็นเกี่ยวกับการเกิด การตาย ความสุข และความทุกข์ของมนุษย์แตกต่างกันไป จึงมีเจ้าลัทธิและนักคิดต่างๆ เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากเพื่อสั่งสอนเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้ เมื่อสรุปมี ๒ อย่าง คือ

๑. เห็นว่าตายแล้วเกิด
๒. เห็นว่าตายแล้วสูญ

ใครมีความคิดเห็นและมีความเชื่ออย่างไร ก็ปฏิบัติไปตามความคิดเห็นและความเชื่ออย่างนั้น


ศาสนาพื้นเมือง

ลัทธิหรือศาสนาพื้นเมือง คือ ศาสนาพราหมณ์ มีคัมภีร์ไตรเพทอันประกอบด้วย ฤคเวท ยชุรเวท และสามเวท เป็นคำสอนหลัก ถือว่าโลกธาตุทั้งปวงเป็นของเทวดา มีเทวดาประจำอยู่ในธาตุต่างๆ เช่น ดิน น้ำ ลม ไฟ ใครปรารถนาผลอันใดก็เซ่นสรวงอ้อนวอน หรือด้วยการประพฤติตบะ ทรมานร่างกายด้วยวิธีต่างๆ


๑. เวรัญชภัณฑ์

เริ่มต้นด้วยเล่าว่า พระผู้มีพระภาคประทับ ณ โคนไม้สะเดา ใกล้เมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่, ได้ทราบกิตติศัพท์สรรเสริญ จึงเข้าไปเฝ้า แต่มิได้ถวายบังคม หลังจากทักทายปราศรัยแล้ว ก็ได้กล่าวว่า ได้ข่าวเขาพูดกันว่าพระสมณโคดมไม่ยอมไหว้หรือลุกขึ้นต้อนรับพราหมณ์ผู้สูงอายุ การที่พระสมณโคดมทำเช่นนั้น ย่อมไม่สมควร

พระพุทธเจ้า ตรัสรับว่าพระองค์มิได้ไหว้พราหมณ์ผู้สูงอายุจริง

เวรัญชพราหมณ์ จึงกล่าววาจารุกรานด้วยถ้อยคำที่ถือกันในสมัยนั้นว่า เป็นคำดูหมิ่นเหยียดหยาม รวม ๔ ข้อ เช่น คำว่า

  • พระสมณโคดมเป็นคนไม่มีรสชาติ
  • เป็นคนไม่มีสมบัติ
  • เป็นคนนำให้ฉิบหาย
  • เป็นคนเผาผลาญ เป็นต้น

แต่พระผู้มีพระภาคทรงอธิบายคำเหยียดหยามนั้นไปในทางดี เช่นว่า

  • ใครจะว่า ไม่มีรสชาติก็ถูก เพราะท่านไม่ติดรส คือรูป เสียง เป็นต้น
  • ใครจะว่าไม่มีสมบัติก็ถูก เพราะท่านไม่ติดสมบัติ คือรูป เสียง เป็นต้น
  • ใครจะว่านำให้ฉิบหายก็ถูก เพราะท่านแสดงธรรมให้ทำบาป อกุศล ทุกอย่าง ให้ฉิบหาย
  • ใครจะว่าเป็นคนเผาผลาญก็ถูก เพราะท่านเผาผลาญบาป อกุศล อันเป็นที่ตั้งแห่งความเดือดร้อนทั้งหมด

เมื่อตรัสตอบแก้คำดูหมิ่นเหยียดหยามของพราหมณ์ตกทุกข้อโดยไม่ต้องใช้วิธีด่าตอบ หากใช้วิธีอธิบายให้เป็นธรรมะสอนใจได้ดังนั้นแล้ว จึงตรัสอธิบายเหตุผลในการที่พระองค์ไม่ไหว้พราหมณ์ผู้สูงอายุโดยเปรียบเทียบว่าลูกไก่ตัวไหนเจาะฟองไข่ออกมาได้ก่อน ลูกไก่ตัวนั้น ควรนับว่าแก่กว่าลูกไก่ตัวอื่น พระองค์เจาะฟองไข่คืออวิชชาก่อนผู้อื่น จึงถือได้ว่าเป็นผู้แก่กว่าผู้อื่น เวรัญชพราหมณ์ได้ฟังก็เลื่อมใส ประกาศตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต แล้วกราบทูลอาราธนาให้ทรงจำพรรษาอยู่ในเมืองเวรัญชา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ พระองค์ทรงรับโดยดุษณีภาพ

ในสมัยนั้น เมืองเวรัญชาเกิดทุพภิกขภัย หาอาหารได้ยาก ถึงขนาดต้องใช้สลากในส่วนอาหาร ภิกษุทั้งหลายลำบากด้วยอาหารบิณฑบาต ได้อาศัยข้าวแดงจากพ่อค้าที่พักแรมฤดูฝน ณ เมืองนั้น พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญภิกษุเหล่านั้นว่า เป็นผู้ชนะ (ที่สามารถต่อสู้กับความยากลำบากได้ โดยไม่ต้องใช้วิธีแสวงหาในทางที่ผิด เช่น อวดตนเป็นผู้วิเศษ เป็นต้น)

พระโมคคัลลานะเสนอวิธีแก้ไขความอดอยากหลายประการ รวมทั้งการไปเที่ยวบิณฑบาตในที่อื่น แต่พระพุทธเจ้าไม่ทรงอนุญาต

ส่วนพระสารีบุตรคำนึงถึงความตั้งมั่นแห่งพรหมจรรย์ จึงกราบทูลถามถึง เหตุที่ทำให้พรหมจรรย์ตั้งมั่นและไม่ตั้งมั่น พระพุทธเจ้าทรงชี้ไปที่การบัญญัติสิกขาบท การสวดปาฏิโมกข์ (สวดทบทวนสิกขาบททุกกึ่งเดือน) ว่าเป็นเหตุให้พรหมจรรย์ตั้งมั่น การไม่ทำเช่นนั้นเป็นเหตุให้พรหมจรรย์อันตรธาน พระสารีบุตรจึงกราบทูลขอให้ทรงบัญญัติสิกขาบท พระพุทธเจ้าตรัสว่า ยังไม่ถึงเวลา คือพระสงฆ์ยังไม่มาก ลาภสักการะยังไม่มาก ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ (กิเลสที่ดองสันดาน) ยังไม่ปรากฏในสงฆ์ ก็ยังไม่ต้องบัญญัติสิกขาบท

ถ้าพระสงฆ์มาก ลาภสักการะมาก ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะปรากฏในสงฆ์ จึงควรบัญญัติสิกขาบท ทั้งขณะนั้นภิกษุสงฆ์ที่ติดตามพระพุทธเจ้า ก็ล้วนเป็นพระอริยบุคคล คืออย่างต่ำก็เป็นพระโสดาบัน เมื่อออกพรรษาแล้ว พระพุทธเจ้าจึงชวนพระอานนท์ไปบอกลาเวรัญชพราหมณ์ ในฐานะผู้นิมนต์ให้จำพรรษา เวรัญชพราหมณ์นิมนต์พระองค์พร้อมทั้งภิกษุสงฆ์ฉันในวันรุ่งขึ้น ทรงรับนิมนต์และไปฉันตามกำหนดแล้ว แสดงธรรมโปรดเวรัญชพราหมณ์ แล้วเสด็จจาริกไปสู่เมืองโสเรยยะ เมืองสังกัสส์ เมืองกัณณกุชชะ โดยลำดับ เสด็จข้ามลำน้ำคงคา ที่ท่าชื่อปยาคะ ไปสู่กรุงพาราณสี จากพาราณสี สู่เวสาลี ประทับ ณ เรือนยอดในป่ามหาวัน


คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอนที่ ๑๓ วงศ์พระโกณฑัญญะพุทธเจ้า

🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก


วงศ์พระโกณฑัญญะพุทธเจ้า

พระโกณฑัญญะพุทธเจ้า ประสูติเป็นโกณฑัญญะราชกุมาร ในราชวงศ์กษัตริย์แห่งรัมมวดีนคร พระราชบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้าสุนันทะ และพระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางสุชาดา โกณฑัญญะราชกุมารทรงเกษมสำราญอยู่ ๑๐,๐๐๐ ปี ในปราสาท ๓ หลัง ชื่อ รุจิปราสาท สุรุจิปราสาท และสุภะปราสาท มีพระมเหสีพระนามว่า รุจิเทวี และทรงมีสนมนารีแวดล้อมอีก ๓๐๐,๐๐๐ นาง วันหนึ่ง โกณฑัญญะราชกุมารทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงมีพระทัยน้อมไปทางบรรพชา เมื่อพระนางรุจิเทวีประสูติพระโอรส พระนามว่า วิชิตเสนะกุมาร จึงได้เสด็จออกบรรพชาด้วยราชรถเทียมม้า มีผู้ออกบรรพชาตามจำนวน ๑๐ โกฏิ


โกณฑัญญะราชกุมารบำเพ็ญความเพียรอยู่ ณ บ้านสุนันทคาม เป็นเวลา ๑๐ เดือน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ทรงรับข้าวมธุปายาสจากนางยโสธราธิดาเศรษฐี และรับหญ้า ๘ กำจากสุนันทะอาชีวก ปูลาดใต้ต้นสาละกัลยาณี (ต้นขานาง) เป็นโพธิบัลลังก์ ทรงชนะพระยามารและพลยักษ์นับอสงไขย และได้ตรัสรู้เป็นพระวิริยาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้าในคืนนั้น พระโกณฑัญญะพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา แก่พระภิกษุผู้บรรพชาตามจำนวน ๑๐ โกฏิ ที่เทววัน กรุงอรุนธวดี ทำให้พระภิกษุ ๑๐ โกฏินั้นสำเร็จเป็นพระอริยบุคล


ตอนที่ ๑๓ (ความยาว ๒.๒๙ ชม.)






เหตุสังคหะ

แสดงการรวบรวมจิตและเจตสิก โดยประเภทแห่งเหตุ ชื่อว่า “เหตุสังคหะ”

คาถาสังคหะ

โลโภ โทโส จ โมโห จ    เหตู อกุสลา ตโย
อโลภาโทสาโมหา จ    กุสลาพฺยากตา ตถา ฯ

แปลความว่า โลภะ, โทสะ โมหะเป็นอกุศลเหตุ อโลภะ, อโทสะ อโมหะเป็นกุศลเหตุ และอพยากตเหตุ

อธิบาย

“เหตุ” คือ ธรรมชาติที่ให้ผลธรรมเกิดขึ้น และให้ผลธรรมนั้นมีสภาพมั่นคงอยู่ในอารมณ์ กับทั้งยังผลธรรมนั้นให้เจริญยิ่งขึ้น ดังวจนัตถะว่า

หิโนติ วตฺตติ ผลํ    เอเตหิ อิติ เหตุโว 
ลทฺธเหตูหิ เต ถิรา    รูฬฺหมูลาว ปาทปา ฯ

แปลความว่า ผลย่อมเป็นไปด้วยธรรมชาติเหล่านั้น ฉะนั้นธรรมชาติเหล่านั้น ชื่อว่า “เหตุ” (โอชา) ที่ตนได้แล้วนั้น เหมือนกับต้นไม้ทั้งหลายที่มีรากเจริญมั่นคงด้วยเหตุ
หมายความว่า ธรรมทั้งหลายได้รับอุปการะจากเหตุ ย่อมมีสภาพมั่นคงในอารมณ์ และเจริญยิ่งขึ้น ประดุจต้นที่ตั้งมั่น และงอกงามเผยแผ่ไปฉะนั้น

ธรรมที่เป็นเหตุ ทำให้ผลธรรมปรากฏขึ้น มี ๖ ประการ คือ :-

โลภเหตุ องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก
โทสเหตุ องค์ธรรมได้แก่ โทสเจตสิก
โมหเหตุ องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิก

อโลภเหตุ องค์ธรรมได้แก่ อโลภเจตสิก
อโทสเหตุ องค์ธรรมได้แก่ อโทสเจตสิก
อโมหเหตุ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก

ผลธรรมที่เกิดจากเหตุ ได้แก่ กุศลจิต, อกุศลจิต, อพยากตจิต หรือกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เนื่องจากกุศลเหตุบ้าง อกุศลเหตุบ้าง อพยากตเหตุบ้าง หรือขันธ์ ๕ ที่ปรากฏขึ้นทั้งในปฏิสนธิ และปวัตติกาลที่ชื่อว่า ผลที่ได้เกิดจากเหตุ

อารมณ์ที่รองรับผลธรรม ให้ตั้งมั่น และให้เจริญขึ้น ได้แก่ อารมณ์ ๖ คือ รูป, เสียง, กลิ่น, รส, สัมผัส สภาพธรรมที่ปรากฏได้ทางใจอันเกี่ยวด้วยสิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิตต่าง ๆ

เหตุทั้ง ๖ ประการ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และอโลภะ อโทสะ อโมหะนี้ เมื่อปรากฏขึ้นแล้ว ย่อมทำให้ผลธรรมได้รับอุปการะจากเหตุ ๒ ประการ คือ

เหตุทำให้ผลธรรมตั้งมั่นได้ในอารมณ์ คือ เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียงเป็นต้น ตลอดจนคิดนึกเรื่องต่าง ๆ นั้นแล้ว อกุศลจิต คือ โลภมูลจิต, โทสมูลจิต และโมหมูลจิต หรือกุศลจิต มีความไม่โลภ ไม่โกรธ และมีปัญญา เหล่านี้ ย่อมปรากฏขึ้น และยึดถืออารมณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นไว้อย่างมั่นคง นี้คืออกุศลจิต หรือ กุศลจิต เป็นต้น ที่เป็นผลตั้งมั่นอยู่ได้ในอารมณ์ อันเกิดจากเหตุต่าง ๆ เหล่านั้น

เหตุทำให้ผลธรรมเจริญขึ้นได้ คือ เมื่อกุศลจิต อกุศลจิต เป็นต้น ยึดอารมณ์ต่าง ๆ นั้นไว้แล้ว จะค่อย ๆ มีกำลังมากขึ้น ๆ จนให้สำเร็จเป็นกายกรรม, วจีกรรม และมโนกรรม หมายความว่า โลภะ, โทสะ, โมหะ ก็ดี หรือ อโลภะ, อโทสะ อโมหะ ก็ดี เหล่านี้ ขณะเมื่อแรกเกิดขึ้นนั้น ยังมีกำลังอ่อนอยู่ ยังไม่สามารถทำให้การงานลุล่วงไปถึงทุจริตกรรม หรือสุจริตกรรมได้ ครั้นเมื่อได้ตั้งมั่นและมีกำลังมากขึ้นแล้ว ย่อมสามารถทำให้การกระทำทุจริต หรือสุจริตก้าวสู่กรรมบถ ทั้งกุศลกรรมบถ หรืออกุศลกรรมบถเกิดขึ้นได้ นี้คือผลธรรมเจริญขึ้นได้โดยอาศัยเหตุ ๖ ประการเหล่านั้น


⛯ 
แสดงการจำแนกจิตโดยเหตุ

คาถาสังคหะ

อเหตุกาฎฺฐารเสก- เหตุกา เทฺว ทวาวีสติ
ทฺวิเหตุกา มตา สตฺต - จตุตาลีส ติเหตุกา ฯ

แปลความว่า อเหตุกจิต มี ๑๘ เอกเหตุกจิต มี ๒ ทวิเหตุกจิต มี ๒๒ ติเหตุกจิต มี ๔๗

อธิบาย ในจำนวนจิต ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวงนั้น เมื่อกล่าวถึงจิตที่ประกอบด้วยเหตุ แบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ :-

ก. อเหตุกจิต คือ จิตที่เกิดขึ้นโดยมิได้ประกอบด้วยเหตุใด ๆ ในเหตุทั้ง ๖ ดังกล่าวแล้วนั้นเลย มีจำนวน ๑๘ ดวง
ข. สเหตุกจิต คือ จิตที่เกิดขึ้นโดยมีเหตุ ๖ เหตุใดเหตุหนึ่ง หรือมีหลายเหตุประกอบด้วย มีจำนวน ๗๑ ดวง

ในคาถาสังคหะ ได้แสดงการจำแนกจิตโดยเหตุไว้ ๔ นัย คือ :-

๑. อเหตุกจิต เป็นจิตที่ไม่มีเหตุ ๖ ประกอบเลย แม้สักเหตุเดียว อเหตุกจิต มีจำนวน ๑๘ ดวง ได้แก่

- ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง
- ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ดวง
- สัมปฏิจฉนจิต ๒ ดวง
- สันตีรณจิต ๓ ดวง
- มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง
- หสิตุปปาทจิต ๑ ดวง

รวมอเหตุกจิต ๑๘ ดวง

๒.เอกเหตุกจิต เป็นจิตที่ประกอบด้วยเหตุเพียงเหตุเดียว มีจำนวน ๒ ดวง ได้แก่
 โมหมูลจิต ๒ ดวง ซึ่งมี โมหเหตุประกอบเหตุเดียว

๓.ทวิเหตุกจิต เป็นจิตที่มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ มีจำนวน ๒๒ ดวง
โลภมูลจิต ๘ ดวง มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ คือ โลภเหตุ โมหเหตุ
โทสมูลจิติ ๒ ดวง มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ
มหากุศลญาณวิปปยุตจิต ๔ ดวง มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ
มหาวิบากญาณวิปปยุตจิต ๔ ดวง มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ
มหากิริยาญาณวิปปยุตจิต ๔ ดวง มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ

๔. ติเหตุกจิต 
เป็นจิตที่มีเหตุประกอบ ๓ เหตุ มีจำนวน ๔๗ หรือ ๗๙ ดวง ได้แก่

มหากุศลญาณสัมปยุติจิต ๔ ดวง มีเหตุประกอบ ๓ เหตุ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
มหาวิบากญาณสัมปยุติจิต ๔ ดวง มีเหตุประกอบ ๓ เหตุ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
มหากิริยาญาณสัมปยุติจิต ๔ ดวง มีเหตุประกอบ ๓ เหตุ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
มหัคคตจิต ๒๗ ดวง มีเหตุประกอบ ๓ เหตุ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ ดวง มีเหตุประกอบ ๓ เหตุ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ

⛯ จําแนกเหตุโดยประเภทแห่งโสภณะและอโสภณะ

อโสภณเหตุ มี ๓ เหตุ ได้แก่ โลภเหตุ, โทสเหตุ, โมหเหตุ ที่ประกอบกับอกุศลจิต ๑๒ ตามสมควร ส่วนอเหตุกจิต ๑๘ ไม่มีเหตุประกอบแม้แต่เหตุเดียว

โสภณเหตุ มี ๓ เหตุ ได้แก่ อโลภเหตุ, อโทสเหตุ, อโมหเหตุ ที่ประกอบกับโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑ ตามสมควร

เหตุ กับ ธรรม

เหตุ ๖ ประการ คือ โลภะ โทสะ โมหะ, และอโลภะ, อโทสะ อโมหะ อันเป็นนามธรรม ย่อมอุดหนุนให้นามธรรม และรูปธรรม เกิดขึ้นในสันดานของสัตว์ทั้งหลาย นามธรรมและรูปธรรมที่เกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลายนั้น เมื่อจำแนกโดยประเภทแห่งธรรมแล้ว มี ๓ ประการ คือ อกุศลธรรม, กุศลธรรม และอพยากตธรรม เมื่อจำแนกเหตุ ๖ โดยประเภทแห่งธรรมดังกล่าวแล้วนี้จึงจำแนกได้ดังนี้ คือ

จำแนกเหตุโดยประเภทแห่งธรรม

อกุศลเหตุ มี ๓ เหตุ ได้แก่ โลภเหตุ, โทสเหตุ, โมหเหตุ ที่ประกอบในอกุศลจิต ๑๒ ตามสมควร
กุศลเหตุ มี ๓ เหตุ ได้แก่ อโลภเหตุ, อโทสเหตุ, อโมหเหตุ ที่ประกอบในกุศลจิต ๒๑ ตามสมควร
อพยากตเหตุ มี ๓ เหตุ ได้แก่ อโลภเหตุ, อโทสเหตุ, อโมหเหตุ ที่ประกอบในสเหตุกวิบากจิต ๒๑ ตามสมควร เรียกว่า “วิบากอพยากตเหตุ” และที่ประกอบในสเหตุกกิริยาจิต ๑๗ ตามสมควร เรียกว่า “กิริยาอพยากตเหตุ”

⛯ จำแนกเหตุโดยประเภทแห่งชาติ

เหตุ ๖ ประการ อันได้แก่ โลภะ, โทสะ, โมหะ, อโลภะ, อโทสะ, อโมหะ ถ้าแยกออกไปตามชาติ คือ การเกิดของจิตแล้ว นับตามชาติมี ๔ ชาติ และ นับตามเหตุ มี ๑๒ เหตุ คือ :-

อกุศลชาติ มี ๓ เหตุ ได้แก่ โลภเหตุ, โทสเหตุ, โมหเหตุ
กุศลชาติ มี ๓ เหตุ อโลภะ, อโทสะ, อโมหะ
วิปากชาติ มี ๓ เหตุ อโลภะ, อโทสะ, อโมหะ
กิริยาชาติ มี ๓ เหตุ อโลภะ, อโทสะ, อโมหะ

จำแนกเหตุโดยประเภทแห่งภูมิของจิต มี ๑๕ เหตุ คือ :-

กามภูมิ มี ๖ เหตุ คือ โลภเหตุ, โทสเหตุ, โมหเหตุ, อโลภเหตุ, อโทสเหตุ, อโมหเหตุ
รูปาวจรภูมิ มี ๓ เหตุ คือ อโลภเหตุ, อโทสเหตุ, อโมหเหตุ
อรูปาวจรภูมิ มี ๓ เหตุ คือ อโลภเหตุ, อโทสเหตุ, อโมหเหตุ
โลกุตตรภูมิ มี ๓ เหตุ คือ อโลภเหตุ, อโทสเหตุ, อโมหเหตุ

จำแนกเหตุโดยประเภทแห่งบุคคล

ปุถุชน มี ๖ เหตุ ได้แก่ โลภเหตุ, โทสเหตุ, โมหเหตุ, อโลภเหตุ, อโทสเหตุ, อโมหเหตุ
โสดาบันบุคคล มี ๖ เหตุ ได้แก่ โลภเหตุ, โทสเหตุ, โมหเหตุ, อโลภเหตุ, อโทสเหตุ, อโมหเหตุ
สกทาคามีบุคคล มี ๖ เหตุ ได้แก่ โลภเหตุ, โทสเหตุ, โมหเหตุ, อโลภเหตุ, อโทสเหตุ, อโมหเหตุ
อนาคามีบุคคล มี ๕ เหตุ ได้แก่ โลภเหตุ, โมหเหตุ, อโลภเหตุ, อโทสเหตุ, อโมหเหตุ
พระอรหันต์ มี ๓ เหตุ ได้แก่ อโลภเหตุ, อโทสเหตุ, อโมหเหตุ

ข้อสังเกต
อโสภณจิต
- อเหตุกจิต เป็นจิตที่ไม่มีเหตุประกอบ
- อกุศลจิต เป็นจิตที่มีเหตุ ประกอบอย่างมาก ๒ เหตุ อย่างน้อย ๑ เหตุ
โสภณจิต เป็นจิตที่มีเหตุประกอบอย่างมาก ๓ เหตุ อย่างน้อย ๒ เหตุ

สำหรับจิตที่ประกอบด้วยเหตุ ๔-๕-๖ เหตุนั้น ไม่มี เพราะ โลภะ โทสะ โมหะ เป็นฝ่ายอโสภณเหตุ และอโลภะ, อโทสะ อโมหะ เป็นฝ่ายโสภณเหตุ ทั้งสองฝ่ายจะประกอบกับจิตร่วมกันไม่ได้

⛯ แสดงเหตุกับเจตสิก

เหตุ ๖ โลภะ, โทสะ โมหะ, อโลภะ, อโทสะ, อโมหะ อันเป็นเจตสิกธรรมซึ่งจะต้องเกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์อันเดียวกันกับจิต และมีที่อาศัยอันเดียวกันกับจิต เหตุ ๖ นอกจากเกิดพร้อมกับจิตดังกล่าวแล้ว ยังเกิดพร้อมกับเจตสิกอื่น ๆ ตามที่ประกอบได้อีกด้วย ฉะนั้น เจตสิกใด เกิดพร้อม หรือประกอบกับเหตุ ๖ อันใดบ้าง มีการแสดงไว้เป็น ๒ นัย คือ

๑. อคหิตัคคหนนัย คือ เจตสิกที่นับแล้ว ไม่นับอีก หมายความว่า เจตสิกใดที่ได้ยกขึ้นเป็นหัวข้อแสดงแล้ว ไม่นำมากล่าวอ้างนับซ้ำอีก ได้แก่การยกเอาเจตสิกทั้ง ๕๒ ขึ้นมาแสดงแต่ละดวงว่าประกอบกับเหตุใดได้บ้าง หยิบยกมาแสดงจนครบจำนวนทั้ง ๕๒ ดวงโดยไม่มีการซ้ำกันเลย 

แสดงการจําแนกเจตสิกที่ประกอบกับเหตุโดยอคหิตคดหนนัย เจตสิกที่นับแล้วไม่นับอีก มีการแสดง ๗ นัย  คือ 

นัยที่ ๑  อเหตุกเจตสิก เจตสิกที่ไม่มีเหตุประกอบนั้น ไม่มี   
นัยที่ ๒ เอกเหตุกเจตสิก เจตสิกที่มีเหตุประกอบ ๑ เหตุ มี ๓ ดวง คือ : -

  • โลภเจตสิก มีเหตุประกอบ ๑ เหตุ คือ โมหเหตุ
  • โทสเจตสิก มีเหตุประกอบ ๑ เหตุ คือ โมหเหตุ
  • วิจิกิจฉาเจตสิก มีเหตุประกอบ ๑ เหตุ คือ โมหเหตุ

นัยที่ ๓ ทวิเหตุกเจตสิก เจตสิกที่มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ มี ๔ ดวง คือ : -

  • โมหเจตสิก มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ คือ โลภเหตุ, โทสเหตุ
  • ทิฏฐิเจตสิก มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ คือ โลภเหตุ, โมหเหตุ
  • มานเจตสิก มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ คือ โลภเหตุ, โมหเหตุ
  • อิสสาเจตสิก มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ คือ โทสเหตุ, โมหเหตุ
  • มัจฉริยเจตสิก มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ คือ โทสเหตุ, โมหเหตุ
  • กุกกุจจเจตสิก มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ คือ โทสเหตุ, โมหเหตุ
  • อโลภเจตสิก มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ คือ อโทสเหตุ, อโมหเหตุ
  • อโทสเจตสิก มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ คือ อโลภเหตุ, อโมหเหตุ
  • ปัญญาเจตสิก มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ คือ อโลภเหตุ, อโทสเหตุ

นัยที่ ๔ ติเหตุกเจตสิก เจตสิกที่มีเหตุประกอบ ๓ เหตุ มี ๒๗ ดวง คือ :-

  • อหิริกเจตสิก มีเหตุประกอบ ๓ เหตุ คือ โลภเหตุ, โทสเหตุ, โมหเหตุ
  • อโนตตัปปเจตสิก มีเหตุประกอบ ๓ เหตุ คือ โลภเหตุ, โทสเหตุ, โมหเหตุ
  • อุทธัจจเจตสิก มีเหตุประกอบ ๓ เหตุ คือ โลภเหตุ, โทสเหตุ, โมหเหตุ
  • ถีนเจตสิก มีเหตุประกอบ ๓ เหตุ คือ โลภเหตุ, โทสเหตุ, โมหเหตุ
  • มิทธเจตสิก มีเหตุประกอบ ๓ เหตุ คือ โลภเหตุ, โทสเหตุ, โมหเหตุ
  • โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นอโลภะ, อโทสะ, ปัญญา) มีเหตุประกอบ ๓ เหตุ คือ อโลภเหตุ, อโทสเหตุ, อโมหเหตุ

นัยที่ ๕  จตุเหตุกเจตสิก เจตสิกที่มีเหตุประกอบ ๔ เหตุ ไม่มี
นัยที่ ๖  ปัญจเหตุกเจตสิก เจตสิกที่มีเหตุประกอบ ๕ เหตุ มี ๑ ดวง คือ

  • ปีติเจตสิก มีเหตุประกอบ ๕ เหตุ ได้แก่ โลภเหตุ, โมหเหตุ, อโลภเหตุ, อโทสเหตุ, อโมหเหตุ

นัยที่ ๗ ฉเหตุกเจตสิก เจตสิกที่มีเหตุประกอบ ๖ เหตุ มี ๑๒ ดวง คือ

  • อัญญสมานาเจตสิก ๑๒  (เว้นปีติเจตสิก) มีเหตุประกอบ ๖ เหตุ ได้แก่ โลภเหตุ, โทสเหตุ, โมหเหตุ, อโลภเหตุ, อโทสเหตุ, อโมหเหตุ

รวมเจตสิกที่มีเหตุประกอบ ๑ เหตุ มี ๓ ดวง
เจตสิกที่มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ มี ๙ ดวง
เจตสิกที่มีเหตุประกอบ ๓ เหตุ มี ๒๗ ดวง
เจตสิกที่มีเหตุประกอบ ๕ เหตุ มี ๑ ดวง
เจตสิกที่มีเหตุประกอบ ๖ เหตุ มี ๑๒ ดวง

รวมเจตสิกที่มีเหตุประกอบ ๕๒ ดวง

นี่คือ การแสดงว่า เจตสิก ๕๒ ดวง มีเหตุใดประกอบได้บ้าง และ เป็นการยกเอาเจตสิก ๕๒ ดวงนั้น มาแสดงแล้ว ไม่นำมาแสดงซ้ำอีก เรียกการนับเจตสิกที่ประกอบกับเหตุนี้ว่า “อคหิตัคคหนนัย” คือเจตสิกที่นับแล้วไม่นับอีก

๒.คหิตัคคหนนัย คือ เจตสิกที่นับแล้วนับอีก หมายความว่า เมื่อยกเอาเจตสิกใดมาแสดง โดยการประกอบด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งแล้ว หากเจตสิกดวงที่ยกมาแสดงแล้ว ยังอาจประกอบกับเหตุอื่นได้อีก ก็ยังต้องยกมากล่าวอ้างอีก ดังเช่น โมหเจตสิกที่นับโดยการประกอบกับโลภมูลจิตแล้ว ยังต้องนำมานับซ้ำอีกเมื่อโมหเจตสิกนั้น ประกอบกับโทสมูลจิตได้อีกด้วย

แสดงการจําแนกเจตสิก ประกอบกับเหตุโดย คหิตคคหนนัย เจตสิกที่นับแล้วนับอีก ตามที่ประกอบกับจิต มีการแสดง ๔ นัย คือ

นัยที่ ๑  อเหตุกเจตสิก เป็นเจตสิกที่ไม่มีเหตุประกอบ มี ๑๓ ดวง คือ

  • อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นฉันทะ) ที่ประกอบกับอเหตุกจิต ๑๘
  • โมหเจตสิก ๑ ที่ประกอบกับโมหมูลจิต ๒

นัยที่ ๒  เอกเหตุกเจตสิก คือ เจตสิกที่มีเหตุประกอบ ๑ เหตุ มีจำนวน ๒๐ ดวง คือ

  • อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้นปีติ, ฉันทะ) ที่ประกอบกับโมหมูลจิต ๒ มีเหตุ ๑ เหตุ คือ โมหเหตุ
  • อหิริกะ ๑ ที่ประกอบกับโมหมูลจิต ๒  มีเหตุ ๑ เหตุ คือ โมหเหตุ
  • อโนตตัปปะ ๑ ที่ประกอบกับโมหมูลจิต ๒  มีเหตุ ๑ เหตุ คือ โมหเหตุ
  • อุทธัจจะ ๑ ที่ประกอบกับโมหมูลจิต ๒  มีเหตุ ๑ เหตุ คือ โมหเหตุ
  • วิจิกิจฉา ๑ ที่ประกอบกับโมหมูลจิต ๒  มีเหตุ ๑ เหตุ คือ โมหเหตุ
  • โลภเจตสิก ๑ ที่ประกอบกับโลภมูลจิต ๘  มีเหตุ ๑ เหตุ คือ โมหเหตุ
  • โทสเจตสิก ที่ประกอบกับโทสมูลจิต ๒ มีเหตุ ๑ เหตุ คือ โมหเหตุ
  • โมหเจตสิก ๑ ที่ประกอบกับโลภมูลจิต ๘ มีเหตุ ๑ เหตุ คือ โลภเหตุ ที่ประกอบกับโทสมูลจิต ๒ มีเหตุ ๑ เหตุ คือ โทสเหตุ
  • อโลภเจตสิก ๑ ที่ประกอบกับญาณวิปปยุตจิต ๑๒ มีเหตุ ๑ เหตุ คือ อโทสเหตุ
  • อโทสเจตสิก ๑ ที่ประกอบกับญาณวิปปยุตจิต ๑๒ มีเหตุ ๑ เหตุ คือ อโลภเหตุ

นัยที่ ๓ ทวิเหตุกเจตสิก คือเจตสิกที่มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ มีจำนวน ๔๘ ดวง คือ

ก. เจตสิก ๔๕ (เว้นเหตุกเจตสิก ๖ และวิจิกิจฉา ๑) ที่ประกอบกับทวิเหตุกจิต ๒๒

  • อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ หรือ ๑๒ ที่ประกอบกับโลภมูลจิต ๘ มี ๒ เหตุ คือ โลภเหตุ, โมหเหตุ ที่ประกอบกับโทสมูลจิต ๒ มี ๒ เหตุ คือ โทสเหตุ, โมหเหตุ ที่ประกอบกับญาณวิปปยุตจิต ๑๒ มี ๒ เหตุ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ
  • อหิริกะ ๑, อโนตตัปปะ ๑, อุทธัจจะ ที่ประกอบกับโลภมูลจิต ๘ มี ๒ เหตุ คือ โลภเหตุ, โมหเหตุ ที่ประกอบกับโทสมูลจิต ๒ มี ๒ เหตุ คือ โทสเหตุ, โมหเหตุ
  • ทิฏฐิ ๑ ที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตจิต ๔ มี ๒ เหตุ คือ โลภเหตุ, โมหเหตุ
  • มานะ ๑ ที่ประกอบกับทิฏฐิคตวิปปยุตจิต ๔ มี ๒ เหตุ คือ โลภเหตุ, โมหเหตุ
  • อิสสา ๑, มัจฉริยะ ๑, กุกกุจจะ ๑ ที่ประกอบกับโทสมูลจิต ๒ มี ๒ เหตุ คือ โทสเหตุ, โมหเหตุ
  • ถีนะ ๑ ที่ประกอบกับโลภมูลสสังขาริกจิต มี ๒ เหตุ คือ โลภเหตุ, โมหเหตุ
  • มิทธะ ๑ ที่ประกอบกับโทสมูลสสังขาริกจิต มี ๒ เหตุ คือ โทสเหตุ, โมหเหตุ
  • โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นอโลภะ, อโทสะ อโมหะ) ที่ประกอบกับญาณวิปปยุตจิต ๑๒ มี ๒ เหตุ คือ อโลภเหตุ, อโทสเหตุ

ข. เจตสิก ๓ ดวง คือ อโลภะ, อโทสะ, และอโมหะ ที่ประกอบกับติเหตุกจิต ๔๗ หรือ ๗๙

  • อโลภเจตสิก ๑ ที่ประกอบกับญาณสัมปยุตจิต ๔๗ หรือ ๗๙ มี ๒ เหตุ คือ อโทสเหตุ, อโมหเหตุ
  • อโทสเจตสิก ๑ ที่ประกอบกับญาณสัมปยุตจิต ๔๗ หรือ ๗๙ มี ๒ เหตุ คือ อโลภเหตุ, อโมหเหตุ
  • ปัญญาเจตสิก ๑ ที่ประกอบกับญาณสัมปยุตจิต ๔๗ หรือ ๗๙ มี ๒ เหตุ คือ อโลภเหตุ, อโทสเหตุ

นัยที่ ๔ ติเหตุกเจตสิก คือ เจตสิกที่มีเหตุประกอบ ๓ เหตุ มีจำนวน ๓๕ ดวง คือ 

  • อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ ที่ประกอบกับติเหตุกจิต ๔๗ หรือ ๗๙ มี ๓ เหตุ คือ อโลภเหตุ, อโทสเหตุ, อโมหเหตุ 
  • โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นอโลภะ, อโทสะ อโมหะ) ที่ประกอบกับติเหตุกจิต ๔๗ หรือ ๗๙ มี ๓ เหตุ คือ อโลภเหตุ, อโทสเหตุ, อโมหเหตุ


การนับจํานวนเหตุโดยพิสดาร

๑. อกุศลเหตุ มีจำนวน ๒๒ คือ
- โลภเหตุ มี ๘
- โทสเหตุ มี ๒
- โมหเหตุ มี ๑๒

รวมอกุศลเหตุ มี ๒๒

๒.กุศลเหตุ มีจำนวน ๑๐๗ คือ
- อโลภเหตุ มี ๓๗
- อโทสเหตุ มี ๓๗
- อโมหเหตุ มี ๓๓

รวมกุศลเหตุ มี ๑๐๗

๓. วิปากเหตุ มีจำนวน ๑๐๗ คือ
- อโลภเหตุ มี ๓๗
- อโทสเหตุ มี ๓๗
- อโมหเหตุ มี ๓๓

รวมวิปากเหตุ มี ๑๐๗

๔.กิริยาเหตุ มีจำนวน ๔๗ คือ
- อโลภเหตุ มี ๑๗
- อโทสเหตุ มี ๑๗
- อโมหเหตุ มี ๑๓

รวมกิริยาเหตุ มี ๔๗

รวมจำนวนเหตุโดยพิสดาร มีจำนวน ๒๘๓ คือ
- อกุศลเหตุ มี ๒๒
- กุศลเหตุ มี ๑๐๗
- วิปากเหตุ มี ๑๐๗
- กิริยาเหตุ มี ๔๗

- จบเหตุสังคหะ –

คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอนที่ ๑๒ ศีลบารมี - ขันติบารมี - สัจจะบารมี

 🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

มหาบุรุษผู้ประสงค์จะตกแต่งสัตว์ทั้งหลายด้วยเครื่องประดับ คือศีลของพระสัพพัญญู ควรชำระศีลของตนตั้งแต่ต้นก่อน อนึ่ง ศีลย่อมบริสุทธิ์โดยอาการ ๔ อย่าง คือโดยความบริสุทธิ์แห่งอัธยาศัย ๑ โดยการสมาทาน ๑ โดยไม่ก้าวล่วง ๑ และโดยทำให้เป็นปกติเมื่อมีการก้าวล่วง ๑ จริงอยู่ บางคนมีตนเป็นใหญ่ เพราะอัธยาศัยบริสุทธิ์ เกลียดบาปยังหิริให้ปรากฏในภายใน แล้วมีสมาจารบริสุทธิ์ด้วยดี อนึ่ง บางคนเมื่อมีการสมาทาน ถือโลกเป็นใหญ่ สะดุ้งต่อบาปยังโอตตัปปะให้ปรากฏ เป็นผู้มีสมาจารบริสุทธิ์ด้วยดี

ด้วยประการฉะนี้ คนหล่านั้นย่อมตั้งอยู่ในศีล เพราะไม่ล่วงแม้ทั้งสองอย่าง




ตอนที่ ๑๒ 
 
(ความยาว ๑.๕๘ชม.)

คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอนที่ ๙-๑๑ ความปรารถนาของท่านสุเมธ


🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกร เสด็จมาประทับยืนที่เบื้องศีรษะของสุเมธดาบส ทรงลืมพระเนตรทั้งสองอันสมบูรณ์ด้วยประสาทมีวรรณะ ๕ ชนิด ประหนึ่งว่าเปิดอยู่ซึ่งสีหบัญชรแก้วมณี ทอดพระเนตรเห็นสุเมธดาบสนอนบนหลังเปือกตมทรงดำริว่า "ดาบสนี้ กระทำความปรารถนาอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า ความปรารถนาของเขาจักสำเร็จหรือไม่หนอ ” ทรงส่งพระอนาคตังสญาณ ใคร่ครวญอยู่ ทรงทราบว่า “ ล่วงไป ๔ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปนับแต่นี้เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้านามว่าโคดม ” ยังทรงประทับยืนอยู่นั่นแหละแล้วทรงพยากรณ์ด้วยพระดำรัสว่า “ พวกท่านจงดูดาบสผู้มีตบะกล้านี้ ซึ่งนอนอยู่บนหลังเปือกตม ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ เห็นแล้วพระเจ้าข้า ”
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกรจึงตรัสว่า “ ดาบสนี้กระทำความปรารถนายิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า แล้วความปรารถนาของเขาจักสำเร็จ ในที่สุดแห่ง ๔ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปนับแต่นี้เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้านามว่า โคดม

ตอนที่ ๙ (ความยาว ๑.๔๒ ชม.)


ตอนที่ ๑๐ 
 (ความยาว ๒.๑๘ ชม.)


ตอนที่ ๑๑  (ความยาว ๑.๔๑ชม.)

-----------------------------------------------------------

👉👉 ตอนต่อไป
-----------------------------------------------------------




คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอนที่ ๘ วงศ์ของพระทีปังกรพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑

 🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

ในคัมภีร์พุทธวงศ์ บทพุทธปกิรณกกัณฑ์ กล่าวถึงประวัติของพระทีปังกรพุทธเจ้าไว้ว่า เมื่อศาสนาพระสรณังกรพุทธเจ้าอันตรธานไป ในสารมัณฑกัปเดียวกัน มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติเป็นองค์ที่ ๔ และเป็นองค์สุดท้ายของกัปนั้น พระนามว่า "ทีปังกร" พระทีปังกรพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ในโลกเมื่อ ๔ อสงไขยแสนกัปที่แล้ว ถือเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์แรกในพุทธวงศ์ของพระโคตมพุทธเจ้า

ในอดีตกาลมีพระพุทธเจ้าพระนามว่า 
ทีปังกร ๒ พระองค์ จึงเรียกพระองค์แรกว่าพระปุราณทีปังกร (ปุราณ แปลว่า เก่า) และเรียกพระองค์หลังว่าพระปัจฉิมทีปังกร (ปัจฉัม แปลว่า หลัง)

ตอนที่ ๘ (ความยาว ๑.๒๐ ชม.)


-----------------------------------------------------------
👉👉 ตอนต่อไป
-----------------------------------------------------------

คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอนที่ ๗ อธิบายอรรถกถา รัตนจังกมนกัณฑ์


🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

ท่านพระสารีบุตรผู้เป็นธรรมเสนาบดี แม่ทัพธรรม ผู้เป็นเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าเหล่าพุทธสาวกทางปัญญา ได้ทูลถามพระศาสดาผู้เป็นพระธรรมราชาจอมทัพธรรมผู้ทรงถึงฝั่ง ที่หาขอบเขตมิได้ ผู้ไร้มลทินถึงพุทธวงศ์ใด ท่ามกลางหมู่พระประยูรญาติ. พุทธวงศ์ใด อันพระตถาคต วงศ์ผู้ตรัสรู้ดี วงศ์พระผู้บริสุทธิ์ดี ผู้มีสมาธิเป็นธรรมเครื่องอยู่ ผู้เป็นนายกพิเศษ ทรงเปิดโอกาสประกาศไว้แล้ว ณ ท่ามกลางหมู่พระประยูรญาตินี้

เหล่าโอรสพระสุคต ไม่ทำลำดับบาลี และอรรถแห่งบาลีให้เสื่อมเสีย ช่วยกันรวบรวมตามที่ศึกษาสดับฟังสืบต่อเรื่องกันมา จนตราบเท่าปัจจุบันนี้

ตอนที่ ๗ (ความยาว ๒.๓๒ ชม.)



-----------------------------------------------------------
👉👉 ตอนต่อไป
-----------------------------------------------------------


คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอนที่ ๖ เสด็จถึงราชคฤห์ ทรงโปรดพระเจ้าพิมพิสาร

🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก


หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมโปรดชฎิล ๓ พี่น้องกับบริวาร ๑,๐๐๐ องค์แล้วได้เสด็จพร้อมด้วยหมู่ภิกษุผู้เป็นอดีตชฎิล ๑,๐๐๓ รูปมาถึงเมืองราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารได้ยินชื่อเสียงของพระพุทธองค์มาก่อนแล้วว่าเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ จึงพร้อมด้วยพราหมณ์คหบดีชาวมคธ ๑๒ นหุต (๑๒ หมื่น) เสด็จมาเข้าเฝ้า หลังจากที่พระพุทธองค์ได้เปลื้องความสงสัยของชาวเมืองราชคฤห์ที่คิดว่า ระหว่างพระพุทธเจ้ากับชฎิลนั้นใครเป็นอาจารย์ของใคร ด้วยการตรัสเชื้อเชิญให้พระอุรุเวลกัสสปะผู้เป็นหัวหน้าของอดีตชฎิล แสดงถึงเหตุผลที่ทำให้เลิกบูชาไฟ เมื่อชาวราชคฤห์สิ้นความสงสัยแล้ว พระพุทธองค์จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนา คือ อนุปุพพิกถาและอริยสัจ ๔ เมื่อจบพระธรรมเทศนา พระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยบริวารอีก ๑๑ นหุตได้บรรลุอริยผล ส่วนอีก ๑ นหุตได้แสดงตนเป็นอุบาสก

ตอนที่ ๖ (ความยาว ๕๕ นาที)



-----------------------------------------------------------

👉👉 ตอนต่อไป
-----------------------------------------------------------





คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอนที่ ๕ ทรงโปรดชฏิล ๓ พี่น้อง แสดงอาทิตตปริยายสูตร

🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

อาทิตตปริยายสูตร เป็นธรรมที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมแก่หมู่ภิกษุชฎิล ทั้ง ๑,๐๐๓ รูป ขณะที่พระบรมศาสดา ทรงแสดงพระธรรมเทศนาอยู่นั้น ภิกษุชฎิล ทั้ง ๑,๐๐๓ รูป ส่งกระแสจิตไปตามวาระแห่งพระธรรมเทศนา จนสามารถหลุดพ้นจากกิเลสาสวะทั้งปวง สำเร็จป็นพระอรหันต์ขีณาสพด้วยกันทั้งหมด และพระภิกษุชฏิลทั้งหมดนั้นก็ได้เป็นกำลังสำคัญในการประกาศพระพุทธศาสนาที่เมืองราชคฤห์ เมืองหลวงแห่งแคว้นมคธ ทำให้แคว้นมคธเป็นฐานสำคัญที่ตั้งมั่นในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในเวลาต่อมา

อาทิตตปริยายสูตร เป็นพระสูตรที่มีเนื้อหาแสดงถึงความรุ่มร้อนของจิตใจ ด้วยอำนาจของกิเลส เปรียบได้กับความร้อนของไฟที่ลุกโพลงอยู่ ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า อาทิตตปริยายสูตร แสดงให้เห็นว่าความร้อนที่แท้จริงคือความร้อนจากภายใน 

ตอนที่ ๕ (ความยาว ๑.๒๖ ชม.)



-----------------------------------------------------------

👉👉 ตอนต่อไป
-----------------------------------------------------------





คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอนที่ ๔ ทรงโปรดพระยสกุลบุตร

🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

พระยสเถระ หรือ พระยสะ เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก ๘๐ องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยต้นพุทธกาล

พระยสเถระ เป็นพระสงฆ์กลุ่มแรก ๆ ในพระพุทธศาสนา โดยท่านเป็นพระสงฆ์สาวกองค์ที่ ๖ ในพระพุทธศาสนา เมื่อท่านบวชแล้วได้เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการชักชวนสหายของท่านกว่า ๕๔ คนให้เข้ามาบวชช่วยเผยแพร่พระพุทธศาสนาในช่วงต้นพุทธกาล

ตอนที่ ๔ (ความยาว ๑.๓๐ ชม.)



-----------------------------------------------------------

👉👉 ตอนต่อไป
-----------------------------------------------------------




คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอนที่ ๓ ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร

🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

ธัมมจักกัปปวัตนสูตรเป็นปฐมเทศนา เทศนากัณฑ์แรก ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสธัมมจักกัปปวัตนสูตรนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลีปราศจากมลทิน ก็ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะ นับเป็นพระสงฆ์สาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนา วันนั้นเป็นวันเพ็ญกลางเดือนอาสาฬหะหรือเดือน ๘ เป็นวันที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ บังเกิดขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก คือมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ครบบริบูรณ์

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร มีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธส่วนที่สุดสองอย่าง และเสนอแนวทางดำเนินชีวิตโดยทางสายกลาง เพื่อบรรลุถึงอริยสัจ ๔ 

อนัตตลักขณสูตร
อนัตตลักขณสูตร คือพระสูตรที่แสดงลักษณะ คือ เครื่องกำหนดหมายว่าเป็นอนัตตา เป็นพระสูตรที่มีความสำคัญที่สุดพระสูตรหนึ่ง เนื่องจากหลังจากที่พระโคตมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงพระสูตรนี้แล้ว ได้บังเกิดพระอรหันต์ในพระบวรพุทธศาสนา ๕ องค์ รวมพระพุทธองค์เป็น ๖ องค์ ซึ่งพระสูตรนี้ มีใจความเกี่ยวกับ ความไม่ใช่ตัวตนของ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ 

ตอนที่ ๓ (ความยาว ๑.๔๗ ชม.)


-----------------------------------------------------------

👉👉 ตอนต่อไป
-----------------------------------------------------------


คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอน ๑-๒ รัตนจังกมนกัณฑ์/ แสดงพุทธวงศ์/ อัพภันตรนิทาน

🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

พุทธวงศ์ หมายถึง สายของพระพุทธเจ้า พระโคตมพุทธเจ้าได้ตรัสเรื่องพุทธวงศ์ไว้คราวประทับ ณ นิโครธาราม ระหว่างการเสด็จนิวัตกรุงกบิลพัสดุ์ (หลังตรัสรู้) การสืบสายพุทธวงศ์ไม่ได้มาจากการสืบสายโลหิตหรือการชิงอำนาจปราบดาภิเษกอย่างการสืบราชสมบัติ แต่มาจากสั่งสมบำเพ็ญบารมีและรับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าในอดีต

ในการสังคายนาครั้งที่ ๑ ในศาสนาพุทธ พระอรหันต์สาวกที่ร่วมสังคายนาได้จัดให้เรื่อง "พุทธวงศ์" นี้เป็นคัมภีร์หนึ่งในหมวดอปทาน(การเล่าประวัติ) ขุททกนิกาย พระสุตตันตปิฎกในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ศาสนาพุทธเชื่อว่าพระพุทธเจ้าในอดีตมีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน แต่พระพุทธเจ้าในอดีตที่พระโคตมพุทธเจ้าทรงนับเข้าในพุทธวงศ์ของพระองค์มีอยู่ ๒๔ พระองค์ เพราะ ๒๔ พระองค์นี้เป็นผู้ประทานพยากรณ์ว่าพระโคตมโพธิสัตว์จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต เมื่อรวมพระโคตมพุทธเจ้าด้วย จึงมีพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น ๒๕ พระองค์ในพุทธวงศ์

ตอนที่ ๑ (ความยาว ๓.๒๗ ชม.)


ตอนที่ ๒
  (ความยาว ๑.๓๕ ชม.)


-----------------------------------------------------------
👉👉 ตอนต่อไป
-----------------------------------------------------------

เวทนาสังคหะ

แสดงการรวบรวมจิต เจตสิก โดยประเภทแห่งเวทนา ชื่อว่า “เวทนาสังคหะ”

คาถาสังคหะ
สุขํ ทุกฺขมุเปกฺขาติ   ติวิธา ตตฺถ เวทนา
โสมนสฺสํ โทมนสฺส   มิติ เภเทน ปญฺจธา ฯ

แปลความว่า ในเวทนาสังคหะนั้น ว่าโดยอารัมมณานุภวนลักขณะ คือตามประเภทแห่งอารมณ์แล้ว มีเวทนา ๓ อย่าง คือ ๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา ๓. อุเบกขาเวทนา เมื่อว่าโดยอินทริยเภท คือ ประเภทความเป็นใหญ่ของเครื่องรับอารมณ์แล้ว มีเวทนา ๕ อย่าง คือ เพิ่ม โสมนัสเวทนา และ โทมนัสเวทนา รวมเข้าด้วยกัน จึงเป็นเวทนา ๕

อธิบาย “เวทนา” เป็นเจตสิกปรมัตถ์อย่างหนึ่ง ซึ่งมีการเป็นไปโดยอาการเสวยอารมณ์ เป็นลักษณะ หรือเป็นธรรมชาติที่มีความรู้สึกต่อบรรดาอารมณ์ต่าง ๆ ที่มาปรากฏ การสงเคราะห์จิต เจตสิก โดยประเภทแห่งเวทนานี้ มีแสดงไว้เป็น ๒ นัย คือ

นัยที่ ๑ แสดงโดย อารัมมณานุภวนลักขณนัย คือ นัยที่แสดงการเสวยอารมณ์ ตามประเภทของอารมณ์ นัยที่ ๒ แสดงโดย อินนทริยเภทนัย คือ นัยที่แสดงถึงสภาพความเป็นใหญ่ในการเสวยอารมณ์ ตามประเภทของเครื่องรับอารมณ์


นัยที่ ๑ อารัมมณานุภวนลักขณนัย
มีเวทนา ๓
ในบรรดาอารมณ์ ๖ คือ รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะและธัมมารมณ์ที่สัตว์ทั้งหลายได้รับอยู่นี้ แบ่งออกได้เป็น ๓ ประเภท คือ :-
๑. อิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่ดี
๒. อนิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่ไม่ดี
๓. มัชฌัตตารมณ์ คือ อารมณ์ปานกลาง

ความรู้สึกในการเสวยอารมณ์ของสัตว์นั้น ย่อมเป็นไปตามประเภทของอารมณ์ คือ :-

๑. ขณะที่กำลังเสวยอิฏฐารมณ์อยู่นั้น ก็รู้สึกสบายกาย สบายใจ ความรู้สึกสบายกายสบายใจนี้ เรียกว่า “สุขเวทนา”
๒. ขณะที่กำลังเสวยอนิฏฐารมณ์อยู่นั้น ก็รู้สึกไม่สบายกาย หรือไม่สบายใจ ความรู้สึกไม่สบายนี้ เรียกว่า “ทุกขเวทนา”
๓. ขณะที่กำลังเสวยมัชฌัตตารมณ์อยู่นั้น รู้สึกเฉย ๆ ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ทั้งกายและใจ ความรู้สึกเฉยๆ ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขนี้ เรียกว่า “อทุกขมสุขเวทนา”

แสดงการจำแนกจิต ๑๒๑ โดยเวทนา ๓ (อารัมมณานุภวนลักขณนัย)
๑. จิตที่เกิดพร้อมกับสุขเวทนา ทั้งสุขกายและสุขใจ มี ๖๓ ดวง คือ
- สุขสหคตกายวิญญาณ ๑ ดวง
- โสมนัสสหคตจิต ๖๒ ดวง

๒. จิตที่เกิดพร้อมกับทุกขเวทนา คือ ความทุกข์กายและทุกข์ใจมี
- ทุกขสหคตกายวิญญาณ ๑ ดวง
-โทมนัสสหคตจิต ๒ ดวง

๓. จิตที่เกิดพร้อมกับอทุกขมสุขเวทนา คือ ความไม่ทุกข์และไม่สุข ทั้งกายและใจ เรียกว่า อุเบกขาเวทนา มี ๕๕ ดวง คือ 


นัยที่ ๒ อินทริยเภทนัย มีเวทนา ๕

คาถาสังคหะ
สุขเมกตฺถ ทุกฺขกฺจ   โทมนสฺสํ ทฺวเย ฐิตํ
ทฺวาสฏฐีสุ โสมนสฺสํ   ปญฺจปญฺญาสเกตรา ฯ

แปลความว่า สุขเวทนา ๑, ทุกขเวทนา ๑, โทมนัสเวทนา ๒, โสมนัสเวทนา ๖๒, อุเบกขาเวทนา ๕๕ (กล่าวโดยอินทริยเภทนัย)

อินนทริยเภทนัย คือ นัยที่แสดงการเสวยอารมณ์ ตามประเภทความเป็นใหญ่แห่งเครื่องรับอารมณ์ กล่าวคือ การเสวยอารมณ์ของบรรดาสัตว์ทั้งหลายนั้นย่อมปรากฏชัด ทางกายบ้าง และทางใจบ้าง เรียกความปรากฏชัดในการเสวยอารมณ์นี้ว่า ความเป็นใหญ่ในการเสวยอารมณ์ซึ่งปรากฏได้ ๒ ทาง คือ ทางกาย และทางใจ

ความรู้สึกสบายทางกายนั้น เวทนาเจตสิก ที่เกิดพร้อมกับสุขสหคตกายวิญญาณนั้น เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครอง ในการเสวยอารมณ์ที่สบายกาย เรียกเวทนานั้นว่า “สุขเวทนา”

ความรู้สึกไม่สบายทางกายนั้น เวทนาเจตสิก ที่เกิดพร้อมกับทุกขสหคตกายวิญญาณนั้น เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครอง ในการเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายกาย เรียกเวทนานั้นว่า “ทุกขเวทนา”

ความรู้สึกสบายใจนั้น เวทนาเจตสิกที่เกิดพร้อมกับโสมนัสสหคตจิตนั้น เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครอง ในการเสวยอารมณ์ที่สบายใจ เรียกเวทนานั้นว่า “โสมนัสเวทนา”

ความรู้สึกไม่สบายทางใจนั้น เวทนาเจตสิกที่เกิดพร้อมกับโทสมูลจิตนั้นย่อมเป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครอง ในการเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายใจ เรียกเวทนานั้นว่า “โทมนัสเวทนา”

ความรู้สึกเฉย ๆ ที่ปรากฏได้เฉพาะทางใจนั้น เวทนาเจตสิกที่เกิดพร้อมกับอุเบกขาสหคตจิต เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครอง ในการเสวยอารมณ์โดยรู้สึกเฉย ๆ เรียกเวทนานั้นว่า “อุเบกขาเวทนา”

รวมความว่า ความเป็นใหญ่ในการเสวยอารมณ์ของสัตว์ทั้งหลายที่ปรากฏทางกายกับทางใจนั้น มีเวทนาเกิดได้ ๕ อย่าง คือ :-

๑. ทางกาย 
- ความรู้สึกสบายกาย เรียกว่า สุขเวทนา
- ความรู้สึกไม่สบายกาย เรียกว่า ทุกขเวทนา

๒. ทางใจ
- ความรู้สึกสบายใจ เรียกว่า โสมนัสเวทนา
- ความรู้สึกไม่สบายใจ เรียกว่า โทมนัสเวทนา
- ความรู้สึกเฉยๆ เรียกว่า อุเบกขาเวทนา

แสดงเวทนา ๕ ที่เกิดพร้อมกับจิต ๑๒๑

๑. จิตที่เกิดพร้อมกับ สุขเวทนา (สุขกาย) มี ๑ ดวง ได้แก่ สุขสหคตกายวิญญาณ
๒. จิตที่เกิดพร้อมกับ ทุกขเวทนา (ทุกข์กาย) มี ๑ ดวง ได้แก่ทุกขสหคตกายวิญญาณ
๓. จิตที่เกิดพร้อมกับ โสมนัสเวทนา (สุขใจ) มี ๖๒ ดวง ได้แก่ กามโสมนัสสหคตจิต ๑๖ ดวง ฌานโสมนัสสหคตจิต ๔๔ ดวง
๔. จิตที่เกิดพร้อมกับ โทมนัสเวทนา (ทุกข์ใจ) มี ๒ ดวง ได้แก่ โทมนัสสหคตจิต (โทสมูลจิต)
๕. จิตที่เกิดพร้อมกับ อุเบกขาเวทนา (เฉยๆ) มี ๕๕ ดวง ได้แก่ กามอุเบกขาสหคตจิต ๓๒ ดวง ฌานอุเบกขาสหคตจิต ๒๓ ดวง

เวทนา กับ เจตสิก เวทนากับเจตสิก มีการแสดงเป็น ๒ นัย คือ :-
ก. แสดงว่า เวทนาใด เกิดกับเจตสิกอะไรได้บ้าง
ข. แสดงว่า เจตสิกใด เกิดกับเวทนาอะไรได้บ้าง

ก. เวทนาเกิดกับเจตสิก
สุขเวทนา เกิดได้กับ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๖ (เว้นเวทนาเจตสิก)
ทุกขเวทนา เกิดได้กับ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๖ (เว้นเวทนาเจตสิก)
โสมนัสเวทนา เกิดได้กับ เจตสิก ๔๖ ดวง คือ

  • อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นเวทนาเจตสิก)
  • อกุศลเจตสิก ๙ (เว้นโทจตุกะ ๔ วิจิกิจฉาเจตสิก ๑)
  • โสภณเจตสิก ๒๕

โทมนัสเวทนา เกิดได้กับ เจตสิก ๒๑ ดวง คือ

  • อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้นเวทนา ปีติ) 
  • อกุศลเจตสิก ๑๐ (เว้นโลติกะ ๓, วิจิกิจฉาเจตสิก ๑)

อุเบกขาเวทนา เกิดได้กับ เจตสิก ๔๖ ดวง คือ

  • อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้นเวทนา ปีติ)
  • อกุศลเจตสิก ๑๐ (เว้นโทจตุกะ ๔)
  • โสภณเจตสิก ๒๕

ข. เจตสิกที่เกิดพร้อมกับเวทนา
๑. เจตสิกที่เกิดพร้อมกับเวทนาอย่างเดียว มี ๖ ดวง คือ 
ปีติเจตสิก ๑ เกิดพร้อมกับ โสมนัสเวทนา อย่างเดียว
โทจตุกเจตสิก ๔ เกิดพร้อมกับ โทมนัสเวทนา อย่างเดียว
วิจิกิจฉาเจตสิก ๑ เกิดพร้อมกับ อุเบกขาเวทนา อย่างเดียว

๒. เจตสิกที่เกิดพร้อมกับเวทนา ๒ มี ๒๘ ดวง คือ :-
โลติกเจตสิก ๓ เกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนาก็ได้
โสภณเจตสิก ๒๕ เกิดพร้อมกับอุเบกขาเวทนาก็ได้

๓. เจตสิกที่เกิดพร้อมกับเวทนา ๓ มี ๑๑ ดวง คือ :-
โมจตุกเจตสิก ๔ ถีนมิทธเจตสิก ๒ วิตกเจตสิก ๑ วิจารเจตสิก ๑  อธิโมกขเจตสิก ๑ วิริยเจตสิก ๑ ฉันทเจตสิก ๑ เจตสิก ๑๑ ดวงนี้ เกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนา, โทมนัสเวทนาหรืออุเบกขาเวทนา อย่างใดก็ได้

๔.เจตสิกที่เกิดพร้อมกับเวทนา ๕ มี ๖ ดวง คือ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๖ (เว้นเวทนาเจตสิก)

. เจตสิกที่ไม่เกิดพร้อมกับเวทนา มี ๑ ดวง คือเวทนาเจตสิก ๑



ความเบื้องต้น ปกิณณกสังคหวิภาค

ปริจิตเฉทที่ ๓ ปกิณณกสังคหวิภาค   

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทฺธสฺส ฯ

ความเบื้องต้น พระอนุรุทธาจารย์ได้รวบรวมพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๓ ขึ้น อันมีชื่อว่า ปกิณณกสังคหวิภาค

  • ปกิณกกะ แปลว่า กระจัดกระจาย, คละกัน, เบ็ดเตล็ด, เรี่ยราย โดยทั่ว ๆ ไป 
  • สังคหะ แปลว่า รวบรวม 
  • วิภาค แปลว่า ส่วน หรือ ตอน

ฉะนั้น ปกิณณกสังคหวิภาค จึงแปลว่า ส่วนที่รวบรวมจิตและเจตสิก ที่กระจัดกระจายอยู่โดยทั่ว ๆ ไป กล่าวคือ แสดงการรวบรวมจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้น โดยประเภทแห่งเวทนา, เหตุ, กิจ, ทวาร, อารมณ์ และวัตถุ ตามสมควร

พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๓ ว่าด้วยปกิณณกสังคหวิภาคนี้ พระอนุรุทธาจารย์ได้แสดงคาถาสังคหะไว้ ๑๔ คาถา ซึ่งจะได้ขยายความตามลำดับคาถา ดังต่อไปนี้


คาถาสังคหะ

๑. สมฺปยุตฺตา ยถาโยคํ   เตปญฺญาส สภาวโต
จิตฺตเจตสิกา ธมฺมาส   เตสํ ทานิ ยถารหํ ฯ

แปลความว่า สภาวธรรม ๕๓ คือจิตและเจตสิก มีชื่อว่า นามเตปญฺญาสน (นาม ๕๓) ได้แสดงโดยลักษณะของตน ๆ ที่ประกอบด้วย เอกุปฺปาทตา (ความเกิดพร้อมกัน) เป็นต้น และการประกอบซึ่งกันและกัน ตามที่ประกอบได้โดยพิสดาร แสดงมาแล้วในปริจเฉทที่ ๒

     สภาวธรรม ๕๓ อย่างที่กล่าวนี้ หมายถึง จิต ๑ และเจตสิก ๕๒ ซึ่งนับโดยการถือเอาสภาวลักษณะแห่งนามธรรมนั้นๆ เป็นประการสำคัญโดยนัยเป็นต้นว่า

  • จิต แม้มีจำนวน ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวงก็ตาม เมื่อนับโดยสภาวลักษณะแล้วก็มีเพียง ๑ คือ มีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ (อารมฺมณวิชานนลกฺขณํ) 
  • ผัสสเจตสิก มีการกระทบถูกต้องอารมณ์เป็นลักษณะ (ผุสนลกฺขณา) 
  • เวทนาเจตสิก มีการเสวยอารมณ์เป็นลักษณะ (อนุภวนลกฺขณา) เจตสิกทั้ง ๕๒ ประเภทนี้ มีสภาวลักษณะโดยเฉพาะ ๆ แตกต่างกันทั้ง ๕๒ ประเภท ฉะนั้น เมื่อรวมจิตและเจตสิกเข้าแล้วก็ได้สภาวธรรม ๕๓ ที่ชื่อว่า นามเตปญฺญาส (นาม ๕๓) ดังกล่าวแล้วข้างต้น

ในปริจเฉทที่ ๓ อันว่าด้วยปกิณณกสังคหวิภาคนี้ เป็นการแสดงธรรม ๖ หมวด จากการเกิดขึ้นของจิตและเจตสิก ดังคาถาสังคหะที่ ๒ คือ


คาถาสังคหะ
๒. เวทนาเหตุโต กิจฺจ   ทฺวาราลมฺพนวตฺถุโต
จิตฺตุปฺปาทวเสเนว   สงฺคโห นาม นียเต ฯ

แปลความว่า บัดนี้ จักแสดงการสงเคราะห์กันของจิตและเจตสิก ว่าด้วยอำนาจการเกิดขึ้นของจิต โดยประเภทแห่งเวทนา, เหตุ, กิจ, ทวาร, อารมณ์ และวัตถุ ตามสมควรที่ประกอบได้

คาถานี้ พระอนุรุทธาจารย์มีความมุ่งหมาย แสดงเพื่อให้เป็นปุพพานุสนธิและอปรานุสนธิ คือ เชื่อมโยงกันระหว่างปริจเฉทที่ ๒ ที่ได้แสดงไปแล้ว กับปริจเฉทที่ ๓ ที่จะแสดงต่อไป และเพื่อกำหนดหัวข้อในปริจเฉทที่ ๓ นี้ว่าจะแสดงสังคหะ ๖ อย่าง มีเวทนาสังคหะ เป็นต้น ทั้งเพื่อแสดงปฏิญญาว่าจะขยายความแห่งการเกิดขึ้นของจิตโดยประเภทแห่งเวทนา, เหตุ, กิจ, ทวาร, อารมณ์และวัตถุ ในพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๓ นี้ พระอนุรุทธาจารย์ จึงได้แสดงไว้แต่การจำแนกจิตเพียงอย่างเดียว มิได้แสดงการจำแนกเจตสิกไว้ด้วย แต่การเกิดขึ้นของจิตที่เรียกว่า จิตฺตุปฺปาท คือ จิตที่เกิดขึ้นพร้อมกับเจตสิกที่ประกอบ ฉะนั้น จึงเป็นการสมควรที่จะได้แสดงการสงเคราะห์ทั้งจิตและเจตสิกโดยประเภทแห่งเวทนา, เหตุ, กิจ, ทวาร, อารมณ์และวัตถุไว้ให้พิสดาร โดยนัยที่จะได้แสดงต่อไปตามลำดับ



วิกิ

ผลการค้นหา