คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอนที่ ๑๒ ศีลบารมี - ขันติบารมี - สัจจะบารมี

 🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

มหาบุรุษผู้ประสงค์จะตกแต่งสัตว์ทั้งหลายด้วยเครื่องประดับ คือศีลของพระสัพพัญญู ควรชำระศีลของตนตั้งแต่ต้นก่อน อนึ่ง ศีลย่อมบริสุทธิ์โดยอาการ ๔ อย่าง คือโดยความบริสุทธิ์แห่งอัธยาศัย ๑ โดยการสมาทาน ๑ โดยไม่ก้าวล่วง ๑ และโดยทำให้เป็นปกติเมื่อมีการก้าวล่วง ๑ จริงอยู่ บางคนมีตนเป็นใหญ่ เพราะอัธยาศัยบริสุทธิ์ เกลียดบาปยังหิริให้ปรากฏในภายใน แล้วมีสมาจารบริสุทธิ์ด้วยดี อนึ่ง บางคนเมื่อมีการสมาทาน ถือโลกเป็นใหญ่ สะดุ้งต่อบาปยังโอตตัปปะให้ปรากฏ เป็นผู้มีสมาจารบริสุทธิ์ด้วยดี

ด้วยประการฉะนี้ คนหล่านั้นย่อมตั้งอยู่ในศีล เพราะไม่ล่วงแม้ทั้งสองอย่าง




ตอนที่ ๑๒ 
 
(ความยาว ๑.๕๘ชม.)

คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอนที่ ๙-๑๑ ความปรารถนาของท่านสุเมธ


🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกร เสด็จมาประทับยืนที่เบื้องศีรษะของสุเมธดาบส ทรงลืมพระเนตรทั้งสองอันสมบูรณ์ด้วยประสาทมีวรรณะ ๕ ชนิด ประหนึ่งว่าเปิดอยู่ซึ่งสีหบัญชรแก้วมณี ทอดพระเนตรเห็นสุเมธดาบสนอนบนหลังเปือกตมทรงดำริว่า "ดาบสนี้ กระทำความปรารถนาอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า ความปรารถนาของเขาจักสำเร็จหรือไม่หนอ ” ทรงส่งพระอนาคตังสญาณ ใคร่ครวญอยู่ ทรงทราบว่า “ ล่วงไป ๔ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปนับแต่นี้เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้านามว่าโคดม ” ยังทรงประทับยืนอยู่นั่นแหละแล้วทรงพยากรณ์ด้วยพระดำรัสว่า “ พวกท่านจงดูดาบสผู้มีตบะกล้านี้ ซึ่งนอนอยู่บนหลังเปือกตม ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ เห็นแล้วพระเจ้าข้า ”
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกรจึงตรัสว่า “ ดาบสนี้กระทำความปรารถนายิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า แล้วความปรารถนาของเขาจักสำเร็จ ในที่สุดแห่ง ๔ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปนับแต่นี้เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้านามว่า โคดม

ตอนที่ ๙ (ความยาว ๑.๔๒ ชม.)


ตอนที่ ๑๐ 
 (ความยาว ๒.๑๘ ชม.)


ตอนที่ ๑๑  (ความยาว ๑.๔๑ชม.)

-----------------------------------------------------------

👉👉 ตอนต่อไป
-----------------------------------------------------------




คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอนที่ ๘ วงศ์ของพระทีปังกรพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑

 🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

ในคัมภีร์พุทธวงศ์ บทพุทธปกิรณกกัณฑ์ กล่าวถึงประวัติของพระทีปังกรพุทธเจ้าไว้ว่า เมื่อศาสนาพระสรณังกรพุทธเจ้าอันตรธานไป ในสารมัณฑกัปเดียวกัน มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติเป็นองค์ที่ ๔ และเป็นองค์สุดท้ายของกัปนั้น พระนามว่า "ทีปังกร" พระทีปังกรพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ในโลกเมื่อ ๔ อสงไขยแสนกัปที่แล้ว ถือเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์แรกในพุทธวงศ์ของพระโคตมพุทธเจ้า

ในอดีตกาลมีพระพุทธเจ้าพระนามว่า 
ทีปังกร ๒ พระองค์ จึงเรียกพระองค์แรกว่าพระปุราณทีปังกร (ปุราณ แปลว่า เก่า) และเรียกพระองค์หลังว่าพระปัจฉิมทีปังกร (ปัจฉัม แปลว่า หลัง)

ตอนที่ ๘ (ความยาว ๑.๒๐ ชม.)


-----------------------------------------------------------
👉👉 ตอนต่อไป
-----------------------------------------------------------

คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอนที่ ๗ อธิบายอรรถกถา รัตนจังกมนกัณฑ์


🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

ท่านพระสารีบุตรผู้เป็นธรรมเสนาบดี แม่ทัพธรรม ผู้เป็นเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าเหล่าพุทธสาวกทางปัญญา ได้ทูลถามพระศาสดาผู้เป็นพระธรรมราชาจอมทัพธรรมผู้ทรงถึงฝั่ง ที่หาขอบเขตมิได้ ผู้ไร้มลทินถึงพุทธวงศ์ใด ท่ามกลางหมู่พระประยูรญาติ. พุทธวงศ์ใด อันพระตถาคต วงศ์ผู้ตรัสรู้ดี วงศ์พระผู้บริสุทธิ์ดี ผู้มีสมาธิเป็นธรรมเครื่องอยู่ ผู้เป็นนายกพิเศษ ทรงเปิดโอกาสประกาศไว้แล้ว ณ ท่ามกลางหมู่พระประยูรญาตินี้

เหล่าโอรสพระสุคต ไม่ทำลำดับบาลี และอรรถแห่งบาลีให้เสื่อมเสีย ช่วยกันรวบรวมตามที่ศึกษาสดับฟังสืบต่อเรื่องกันมา จนตราบเท่าปัจจุบันนี้

ตอนที่ ๗ (ความยาว ๒.๓๒ ชม.)



-----------------------------------------------------------
👉👉 ตอนต่อไป
-----------------------------------------------------------


คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอนที่ ๖ เสด็จถึงราชคฤห์ ทรงโปรดพระเจ้าพิมพิสาร

🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก


หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมโปรดชฎิล ๓ พี่น้องกับบริวาร ๑,๐๐๐ องค์แล้วได้เสด็จพร้อมด้วยหมู่ภิกษุผู้เป็นอดีตชฎิล ๑,๐๐๓ รูปมาถึงเมืองราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารได้ยินชื่อเสียงของพระพุทธองค์มาก่อนแล้วว่าเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ จึงพร้อมด้วยพราหมณ์คหบดีชาวมคธ ๑๒ นหุต (๑๒ หมื่น) เสด็จมาเข้าเฝ้า หลังจากที่พระพุทธองค์ได้เปลื้องความสงสัยของชาวเมืองราชคฤห์ที่คิดว่า ระหว่างพระพุทธเจ้ากับชฎิลนั้นใครเป็นอาจารย์ของใคร ด้วยการตรัสเชื้อเชิญให้พระอุรุเวลกัสสปะผู้เป็นหัวหน้าของอดีตชฎิล แสดงถึงเหตุผลที่ทำให้เลิกบูชาไฟ เมื่อชาวราชคฤห์สิ้นความสงสัยแล้ว พระพุทธองค์จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนา คือ อนุปุพพิกถาและอริยสัจ ๔ เมื่อจบพระธรรมเทศนา พระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยบริวารอีก ๑๑ นหุตได้บรรลุอริยผล ส่วนอีก ๑ นหุตได้แสดงตนเป็นอุบาสก

ตอนที่ ๖ (ความยาว ๕๕ นาที)



-----------------------------------------------------------

👉👉 ตอนต่อไป
-----------------------------------------------------------





คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอนที่ ๕ ทรงโปรดชฏิล ๓ พี่น้อง แสดงอาทิตตปริยายสูตร

🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

อาทิตตปริยายสูตร เป็นธรรมที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมแก่หมู่ภิกษุชฎิล ทั้ง ๑,๐๐๓ รูป ขณะที่พระบรมศาสดา ทรงแสดงพระธรรมเทศนาอยู่นั้น ภิกษุชฎิล ทั้ง ๑,๐๐๓ รูป ส่งกระแสจิตไปตามวาระแห่งพระธรรมเทศนา จนสามารถหลุดพ้นจากกิเลสาสวะทั้งปวง สำเร็จป็นพระอรหันต์ขีณาสพด้วยกันทั้งหมด และพระภิกษุชฏิลทั้งหมดนั้นก็ได้เป็นกำลังสำคัญในการประกาศพระพุทธศาสนาที่เมืองราชคฤห์ เมืองหลวงแห่งแคว้นมคธ ทำให้แคว้นมคธเป็นฐานสำคัญที่ตั้งมั่นในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในเวลาต่อมา

อาทิตตปริยายสูตร เป็นพระสูตรที่มีเนื้อหาแสดงถึงความรุ่มร้อนของจิตใจ ด้วยอำนาจของกิเลส เปรียบได้กับความร้อนของไฟที่ลุกโพลงอยู่ ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า อาทิตตปริยายสูตร แสดงให้เห็นว่าความร้อนที่แท้จริงคือความร้อนจากภายใน 

ตอนที่ ๕ (ความยาว ๑.๒๖ ชม.)



-----------------------------------------------------------

👉👉 ตอนต่อไป
-----------------------------------------------------------





คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอนที่ ๔ ทรงโปรดพระยสกุลบุตร

🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

พระยสเถระ หรือ พระยสะ เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก ๘๐ องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยต้นพุทธกาล

พระยสเถระ เป็นพระสงฆ์กลุ่มแรก ๆ ในพระพุทธศาสนา โดยท่านเป็นพระสงฆ์สาวกองค์ที่ ๖ ในพระพุทธศาสนา เมื่อท่านบวชแล้วได้เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการชักชวนสหายของท่านกว่า ๕๔ คนให้เข้ามาบวชช่วยเผยแพร่พระพุทธศาสนาในช่วงต้นพุทธกาล

ตอนที่ ๔ (ความยาว ๑.๓๐ ชม.)



-----------------------------------------------------------

👉👉 ตอนต่อไป
-----------------------------------------------------------




คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอนที่ ๓ ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร

🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

ธัมมจักกัปปวัตนสูตรเป็นปฐมเทศนา เทศนากัณฑ์แรก ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสธัมมจักกัปปวัตนสูตรนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลีปราศจากมลทิน ก็ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะ นับเป็นพระสงฆ์สาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนา วันนั้นเป็นวันเพ็ญกลางเดือนอาสาฬหะหรือเดือน ๘ เป็นวันที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ บังเกิดขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก คือมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ครบบริบูรณ์

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร มีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธส่วนที่สุดสองอย่าง และเสนอแนวทางดำเนินชีวิตโดยทางสายกลาง เพื่อบรรลุถึงอริยสัจ ๔ 

อนัตตลักขณสูตร
อนัตตลักขณสูตร คือพระสูตรที่แสดงลักษณะ คือ เครื่องกำหนดหมายว่าเป็นอนัตตา เป็นพระสูตรที่มีความสำคัญที่สุดพระสูตรหนึ่ง เนื่องจากหลังจากที่พระโคตมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงพระสูตรนี้แล้ว ได้บังเกิดพระอรหันต์ในพระบวรพุทธศาสนา ๕ องค์ รวมพระพุทธองค์เป็น ๖ องค์ ซึ่งพระสูตรนี้ มีใจความเกี่ยวกับ ความไม่ใช่ตัวตนของ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ 

ตอนที่ ๓ (ความยาว ๑.๔๗ ชม.)


-----------------------------------------------------------

👉👉 ตอนต่อไป
-----------------------------------------------------------


คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอน ๑-๒ รัตนจังกมนกัณฑ์/ แสดงพุทธวงศ์/ อัพภันตรนิทาน

🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

พุทธวงศ์ หมายถึง สายของพระพุทธเจ้า พระโคตมพุทธเจ้าได้ตรัสเรื่องพุทธวงศ์ไว้คราวประทับ ณ นิโครธาราม ระหว่างการเสด็จนิวัตกรุงกบิลพัสดุ์ (หลังตรัสรู้) การสืบสายพุทธวงศ์ไม่ได้มาจากการสืบสายโลหิตหรือการชิงอำนาจปราบดาภิเษกอย่างการสืบราชสมบัติ แต่มาจากสั่งสมบำเพ็ญบารมีและรับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าในอดีต

ในการสังคายนาครั้งที่ ๑ ในศาสนาพุทธ พระอรหันต์สาวกที่ร่วมสังคายนาได้จัดให้เรื่อง "พุทธวงศ์" นี้เป็นคัมภีร์หนึ่งในหมวดอปทาน(การเล่าประวัติ) ขุททกนิกาย พระสุตตันตปิฎกในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ศาสนาพุทธเชื่อว่าพระพุทธเจ้าในอดีตมีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน แต่พระพุทธเจ้าในอดีตที่พระโคตมพุทธเจ้าทรงนับเข้าในพุทธวงศ์ของพระองค์มีอยู่ ๒๔ พระองค์ เพราะ ๒๔ พระองค์นี้เป็นผู้ประทานพยากรณ์ว่าพระโคตมโพธิสัตว์จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต เมื่อรวมพระโคตมพุทธเจ้าด้วย จึงมีพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น ๒๕ พระองค์ในพุทธวงศ์

ตอนที่ ๑ (ความยาว ๓.๒๗ ชม.)


ตอนที่ ๒
  (ความยาว ๑.๓๕ ชม.)


-----------------------------------------------------------
👉👉 ตอนต่อไป
-----------------------------------------------------------

เวทนาสังคหะ

แสดงการรวบรวมจิต เจตสิก โดยประเภทแห่งเวทนา ชื่อว่า “เวทนาสังคหะ”

คาถาสังคหะ
สุขํ ทุกฺขมุเปกฺขาติ   ติวิธา ตตฺถ เวทนา
โสมนสฺสํ โทมนสฺส   มิติ เภเทน ปญฺจธา ฯ

แปลความว่า ในเวทนาสังคหะนั้น ว่าโดยอารัมมณานุภวนลักขณะ คือตามประเภทแห่งอารมณ์แล้ว มีเวทนา ๓ อย่าง คือ ๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา ๓. อุเบกขาเวทนา เมื่อว่าโดยอินทริยเภท คือ ประเภทความเป็นใหญ่ของเครื่องรับอารมณ์แล้ว มีเวทนา ๕ อย่าง คือ เพิ่ม โสมนัสเวทนา และ โทมนัสเวทนา รวมเข้าด้วยกัน จึงเป็นเวทนา ๕

อธิบาย “เวทนา” เป็นเจตสิกปรมัตถ์อย่างหนึ่ง ซึ่งมีการเป็นไปโดยอาการเสวยอารมณ์ เป็นลักษณะ หรือเป็นธรรมชาติที่มีความรู้สึกต่อบรรดาอารมณ์ต่าง ๆ ที่มาปรากฏ การสงเคราะห์จิต เจตสิก โดยประเภทแห่งเวทนานี้ มีแสดงไว้เป็น ๒ นัย คือ

นัยที่ ๑ แสดงโดย อารัมมณานุภวนลักขณนัย คือ นัยที่แสดงการเสวยอารมณ์ ตามประเภทของอารมณ์ นัยที่ ๒ แสดงโดย อินนทริยเภทนัย คือ นัยที่แสดงถึงสภาพความเป็นใหญ่ในการเสวยอารมณ์ ตามประเภทของเครื่องรับอารมณ์


นัยที่ ๑ อารัมมณานุภวนลักขณนัย
มีเวทนา ๓
ในบรรดาอารมณ์ ๖ คือ รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะและธัมมารมณ์ที่สัตว์ทั้งหลายได้รับอยู่นี้ แบ่งออกได้เป็น ๓ ประเภท คือ :-
๑. อิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่ดี
๒. อนิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่ไม่ดี
๓. มัชฌัตตารมณ์ คือ อารมณ์ปานกลาง

ความรู้สึกในการเสวยอารมณ์ของสัตว์นั้น ย่อมเป็นไปตามประเภทของอารมณ์ คือ :-

๑. ขณะที่กำลังเสวยอิฏฐารมณ์อยู่นั้น ก็รู้สึกสบายกาย สบายใจ ความรู้สึกสบายกายสบายใจนี้ เรียกว่า “สุขเวทนา”
๒. ขณะที่กำลังเสวยอนิฏฐารมณ์อยู่นั้น ก็รู้สึกไม่สบายกาย หรือไม่สบายใจ ความรู้สึกไม่สบายนี้ เรียกว่า “ทุกขเวทนา”
๓. ขณะที่กำลังเสวยมัชฌัตตารมณ์อยู่นั้น รู้สึกเฉย ๆ ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ทั้งกายและใจ ความรู้สึกเฉยๆ ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขนี้ เรียกว่า “อทุกขมสุขเวทนา”

แสดงการจำแนกจิต ๑๒๑ โดยเวทนา ๓ (อารัมมณานุภวนลักขณนัย)
๑. จิตที่เกิดพร้อมกับสุขเวทนา ทั้งสุขกายและสุขใจ มี ๖๓ ดวง คือ
- สุขสหคตกายวิญญาณ ๑ ดวง
- โสมนัสสหคตจิต ๖๒ ดวง

๒. จิตที่เกิดพร้อมกับทุกขเวทนา คือ ความทุกข์กายและทุกข์ใจมี
- ทุกขสหคตกายวิญญาณ ๑ ดวง
-โทมนัสสหคตจิต ๒ ดวง

๓. จิตที่เกิดพร้อมกับอทุกขมสุขเวทนา คือ ความไม่ทุกข์และไม่สุข ทั้งกายและใจ เรียกว่า อุเบกขาเวทนา มี ๕๕ ดวง คือ 


นัยที่ ๒ อินทริยเภทนัย มีเวทนา ๕

คาถาสังคหะ
สุขเมกตฺถ ทุกฺขกฺจ   โทมนสฺสํ ทฺวเย ฐิตํ
ทฺวาสฏฐีสุ โสมนสฺสํ   ปญฺจปญฺญาสเกตรา ฯ

แปลความว่า สุขเวทนา ๑, ทุกขเวทนา ๑, โทมนัสเวทนา ๒, โสมนัสเวทนา ๖๒, อุเบกขาเวทนา ๕๕ (กล่าวโดยอินทริยเภทนัย)

อินนทริยเภทนัย คือ นัยที่แสดงการเสวยอารมณ์ ตามประเภทความเป็นใหญ่แห่งเครื่องรับอารมณ์ กล่าวคือ การเสวยอารมณ์ของบรรดาสัตว์ทั้งหลายนั้นย่อมปรากฏชัด ทางกายบ้าง และทางใจบ้าง เรียกความปรากฏชัดในการเสวยอารมณ์นี้ว่า ความเป็นใหญ่ในการเสวยอารมณ์ซึ่งปรากฏได้ ๒ ทาง คือ ทางกาย และทางใจ

ความรู้สึกสบายทางกายนั้น เวทนาเจตสิก ที่เกิดพร้อมกับสุขสหคตกายวิญญาณนั้น เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครอง ในการเสวยอารมณ์ที่สบายกาย เรียกเวทนานั้นว่า “สุขเวทนา”

ความรู้สึกไม่สบายทางกายนั้น เวทนาเจตสิก ที่เกิดพร้อมกับทุกขสหคตกายวิญญาณนั้น เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครอง ในการเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายกาย เรียกเวทนานั้นว่า “ทุกขเวทนา”

ความรู้สึกสบายใจนั้น เวทนาเจตสิกที่เกิดพร้อมกับโสมนัสสหคตจิตนั้น เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครอง ในการเสวยอารมณ์ที่สบายใจ เรียกเวทนานั้นว่า “โสมนัสเวทนา”

ความรู้สึกไม่สบายทางใจนั้น เวทนาเจตสิกที่เกิดพร้อมกับโทสมูลจิตนั้นย่อมเป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครอง ในการเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายใจ เรียกเวทนานั้นว่า “โทมนัสเวทนา”

ความรู้สึกเฉย ๆ ที่ปรากฏได้เฉพาะทางใจนั้น เวทนาเจตสิกที่เกิดพร้อมกับอุเบกขาสหคตจิต เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครอง ในการเสวยอารมณ์โดยรู้สึกเฉย ๆ เรียกเวทนานั้นว่า “อุเบกขาเวทนา”

รวมความว่า ความเป็นใหญ่ในการเสวยอารมณ์ของสัตว์ทั้งหลายที่ปรากฏทางกายกับทางใจนั้น มีเวทนาเกิดได้ ๕ อย่าง คือ :-

๑. ทางกาย 
- ความรู้สึกสบายกาย เรียกว่า สุขเวทนา
- ความรู้สึกไม่สบายกาย เรียกว่า ทุกขเวทนา

๒. ทางใจ
- ความรู้สึกสบายใจ เรียกว่า โสมนัสเวทนา
- ความรู้สึกไม่สบายใจ เรียกว่า โทมนัสเวทนา
- ความรู้สึกเฉยๆ เรียกว่า อุเบกขาเวทนา

แสดงเวทนา ๕ ที่เกิดพร้อมกับจิต ๑๒๑

๑. จิตที่เกิดพร้อมกับ สุขเวทนา (สุขกาย) มี ๑ ดวง ได้แก่ สุขสหคตกายวิญญาณ
๒. จิตที่เกิดพร้อมกับ ทุกขเวทนา (ทุกข์กาย) มี ๑ ดวง ได้แก่ทุกขสหคตกายวิญญาณ
๓. จิตที่เกิดพร้อมกับ โสมนัสเวทนา (สุขใจ) มี ๖๒ ดวง ได้แก่ กามโสมนัสสหคตจิต ๑๖ ดวง ฌานโสมนัสสหคตจิต ๔๔ ดวง
๔. จิตที่เกิดพร้อมกับ โทมนัสเวทนา (ทุกข์ใจ) มี ๒ ดวง ได้แก่ โทมนัสสหคตจิต (โทสมูลจิต)
๕. จิตที่เกิดพร้อมกับ อุเบกขาเวทนา (เฉยๆ) มี ๕๕ ดวง ได้แก่ กามอุเบกขาสหคตจิต ๓๒ ดวง ฌานอุเบกขาสหคตจิต ๒๓ ดวง

เวทนา กับ เจตสิก เวทนากับเจตสิก มีการแสดงเป็น ๒ นัย คือ :-
ก. แสดงว่า เวทนาใด เกิดกับเจตสิกอะไรได้บ้าง
ข. แสดงว่า เจตสิกใด เกิดกับเวทนาอะไรได้บ้าง

ก. เวทนาเกิดกับเจตสิก
สุขเวทนา เกิดได้กับ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๖ (เว้นเวทนาเจตสิก)
ทุกขเวทนา เกิดได้กับ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๖ (เว้นเวทนาเจตสิก)
โสมนัสเวทนา เกิดได้กับ เจตสิก ๔๖ ดวง คือ

  • อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นเวทนาเจตสิก)
  • อกุศลเจตสิก ๙ (เว้นโทจตุกะ ๔ วิจิกิจฉาเจตสิก ๑)
  • โสภณเจตสิก ๒๕

โทมนัสเวทนา เกิดได้กับ เจตสิก ๒๑ ดวง คือ

  • อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้นเวทนา ปีติ) 
  • อกุศลเจตสิก ๑๐ (เว้นโลติกะ ๓, วิจิกิจฉาเจตสิก ๑)

อุเบกขาเวทนา เกิดได้กับ เจตสิก ๔๖ ดวง คือ

  • อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้นเวทนา ปีติ)
  • อกุศลเจตสิก ๑๐ (เว้นโทจตุกะ ๔)
  • โสภณเจตสิก ๒๕

ข. เจตสิกที่เกิดพร้อมกับเวทนา
๑. เจตสิกที่เกิดพร้อมกับเวทนาอย่างเดียว มี ๖ ดวง คือ 
ปีติเจตสิก ๑ เกิดพร้อมกับ โสมนัสเวทนา อย่างเดียว
โทจตุกเจตสิก ๔ เกิดพร้อมกับ โทมนัสเวทนา อย่างเดียว
วิจิกิจฉาเจตสิก ๑ เกิดพร้อมกับ อุเบกขาเวทนา อย่างเดียว

๒. เจตสิกที่เกิดพร้อมกับเวทนา ๒ มี ๒๘ ดวง คือ :-
โลติกเจตสิก ๓ เกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนาก็ได้
โสภณเจตสิก ๒๕ เกิดพร้อมกับอุเบกขาเวทนาก็ได้

๓. เจตสิกที่เกิดพร้อมกับเวทนา ๓ มี ๑๑ ดวง คือ :-
โมจตุกเจตสิก ๔ ถีนมิทธเจตสิก ๒ วิตกเจตสิก ๑ วิจารเจตสิก ๑  อธิโมกขเจตสิก ๑ วิริยเจตสิก ๑ ฉันทเจตสิก ๑ เจตสิก ๑๑ ดวงนี้ เกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนา, โทมนัสเวทนาหรืออุเบกขาเวทนา อย่างใดก็ได้

๔.เจตสิกที่เกิดพร้อมกับเวทนา ๕ มี ๖ ดวง คือ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๖ (เว้นเวทนาเจตสิก)

. เจตสิกที่ไม่เกิดพร้อมกับเวทนา มี ๑ ดวง คือเวทนาเจตสิก ๑



ความเบื้องต้น ปกิณณกสังคหวิภาค

ปริจิตเฉทที่ ๓ ปกิณณกสังคหวิภาค   

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทฺธสฺส ฯ

ความเบื้องต้น พระอนุรุทธาจารย์ได้รวบรวมพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๓ ขึ้น อันมีชื่อว่า ปกิณณกสังคหวิภาค

  • ปกิณกกะ แปลว่า กระจัดกระจาย, คละกัน, เบ็ดเตล็ด, เรี่ยราย โดยทั่ว ๆ ไป 
  • สังคหะ แปลว่า รวบรวม 
  • วิภาค แปลว่า ส่วน หรือ ตอน

ฉะนั้น ปกิณณกสังคหวิภาค จึงแปลว่า ส่วนที่รวบรวมจิตและเจตสิก ที่กระจัดกระจายอยู่โดยทั่ว ๆ ไป กล่าวคือ แสดงการรวบรวมจิตและเจตสิกที่เกิดขึ้น โดยประเภทแห่งเวทนา, เหตุ, กิจ, ทวาร, อารมณ์ และวัตถุ ตามสมควร

พระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๓ ว่าด้วยปกิณณกสังคหวิภาคนี้ พระอนุรุทธาจารย์ได้แสดงคาถาสังคหะไว้ ๑๔ คาถา ซึ่งจะได้ขยายความตามลำดับคาถา ดังต่อไปนี้


คาถาสังคหะ

๑. สมฺปยุตฺตา ยถาโยคํ   เตปญฺญาส สภาวโต
จิตฺตเจตสิกา ธมฺมาส   เตสํ ทานิ ยถารหํ ฯ

แปลความว่า สภาวธรรม ๕๓ คือจิตและเจตสิก มีชื่อว่า นามเตปญฺญาสน (นาม ๕๓) ได้แสดงโดยลักษณะของตน ๆ ที่ประกอบด้วย เอกุปฺปาทตา (ความเกิดพร้อมกัน) เป็นต้น และการประกอบซึ่งกันและกัน ตามที่ประกอบได้โดยพิสดาร แสดงมาแล้วในปริจเฉทที่ ๒

     สภาวธรรม ๕๓ อย่างที่กล่าวนี้ หมายถึง จิต ๑ และเจตสิก ๕๒ ซึ่งนับโดยการถือเอาสภาวลักษณะแห่งนามธรรมนั้นๆ เป็นประการสำคัญโดยนัยเป็นต้นว่า

  • จิต แม้มีจำนวน ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวงก็ตาม เมื่อนับโดยสภาวลักษณะแล้วก็มีเพียง ๑ คือ มีการรู้อารมณ์เป็นลักษณะ (อารมฺมณวิชานนลกฺขณํ) 
  • ผัสสเจตสิก มีการกระทบถูกต้องอารมณ์เป็นลักษณะ (ผุสนลกฺขณา) 
  • เวทนาเจตสิก มีการเสวยอารมณ์เป็นลักษณะ (อนุภวนลกฺขณา) เจตสิกทั้ง ๕๒ ประเภทนี้ มีสภาวลักษณะโดยเฉพาะ ๆ แตกต่างกันทั้ง ๕๒ ประเภท ฉะนั้น เมื่อรวมจิตและเจตสิกเข้าแล้วก็ได้สภาวธรรม ๕๓ ที่ชื่อว่า นามเตปญฺญาส (นาม ๕๓) ดังกล่าวแล้วข้างต้น

ในปริจเฉทที่ ๓ อันว่าด้วยปกิณณกสังคหวิภาคนี้ เป็นการแสดงธรรม ๖ หมวด จากการเกิดขึ้นของจิตและเจตสิก ดังคาถาสังคหะที่ ๒ คือ


คาถาสังคหะ
๒. เวทนาเหตุโต กิจฺจ   ทฺวาราลมฺพนวตฺถุโต
จิตฺตุปฺปาทวเสเนว   สงฺคโห นาม นียเต ฯ

แปลความว่า บัดนี้ จักแสดงการสงเคราะห์กันของจิตและเจตสิก ว่าด้วยอำนาจการเกิดขึ้นของจิต โดยประเภทแห่งเวทนา, เหตุ, กิจ, ทวาร, อารมณ์ และวัตถุ ตามสมควรที่ประกอบได้

คาถานี้ พระอนุรุทธาจารย์มีความมุ่งหมาย แสดงเพื่อให้เป็นปุพพานุสนธิและอปรานุสนธิ คือ เชื่อมโยงกันระหว่างปริจเฉทที่ ๒ ที่ได้แสดงไปแล้ว กับปริจเฉทที่ ๓ ที่จะแสดงต่อไป และเพื่อกำหนดหัวข้อในปริจเฉทที่ ๓ นี้ว่าจะแสดงสังคหะ ๖ อย่าง มีเวทนาสังคหะ เป็นต้น ทั้งเพื่อแสดงปฏิญญาว่าจะขยายความแห่งการเกิดขึ้นของจิตโดยประเภทแห่งเวทนา, เหตุ, กิจ, ทวาร, อารมณ์และวัตถุ ในพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๓ นี้ พระอนุรุทธาจารย์ จึงได้แสดงไว้แต่การจำแนกจิตเพียงอย่างเดียว มิได้แสดงการจำแนกเจตสิกไว้ด้วย แต่การเกิดขึ้นของจิตที่เรียกว่า จิตฺตุปฺปาท คือ จิตที่เกิดขึ้นพร้อมกับเจตสิกที่ประกอบ ฉะนั้น จึงเป็นการสมควรที่จะได้แสดงการสงเคราะห์ทั้งจิตและเจตสิกโดยประเภทแห่งเวทนา, เหตุ, กิจ, ทวาร, อารมณ์และวัตถุไว้ให้พิสดาร โดยนัยที่จะได้แสดงต่อไปตามลำดับ



จริยาปิฎก หมวดคาถา

 🔆 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก


🙏  หมวดคาถา

จริยาปิฎก ตอนที่ ๑๔ (ความยาว ๓.๑๔ ชั่วโมง) ดาวโหลด
สโมธานกถา
อุททานคาถา
ปกิณณกกถา บารมี๑๖ข้อ
ปกิณณกกถา อรรถ 
ปกิณณกกถา มีกี่อย่าง
ปกิณณกกถา ลำดับของบารมี

===========================================

จริยาปิฎก ตอนที่ ๑๕ (ความยาว ๑.๕๗ ชั่วโมง) ดาวโหลด
ปกิณณกกถา ลักขณาทิจตุกะ

===========================================

จริยาปิฎก ตอนที่ ๑๖ (ความยาว ๓.๒๘ ชั่วโมง) ดาวโหลด
ปกิณณกกถา อะไรเป็นปัจจัยแห่งบารมี
ปกิณณกกถา อภินิหาร๘
ปกิณณกกถา ผู้มีฉันทะใหญ่
ปกิณณกกถา ปัจจัย๔เหตุ๔แห่งอภินิหาร
ปกิณณกกถา เหตุ๔แห่งอภินิหาร
ปกิณณกกถา  มหากรุณา พระปัญญา
ปกิณณกกถา พุทธภูมิ๔
ปกิณณกกถา อัธยาศัย ๖
ปกิณณกกถา อัธยาศัยในบารมี๑๐

===========================================

จริยาปิฎก ตอนที่ ๑๗ (ความยาว ๓.๔๘ ชั่วโมง) ดาวโหลด
ปกิณณกกถา อานิสงส์ โทษของทาน
ปกิณณกกถา อานิสงส์ โทษของศีล
ปกิณณกกถา อานิสงส์ โทษ เนกขัมมะ ปัญญา
ปกิณณกกถา อานิสงส์ โทษ วิริยะ ขันติ
ปกิณณกกถา อานิสงส์ โทษ สัจจะ อธิษฐาน
ปกิณณกกถา  อานิสงส์ โทษ อธิษฐาน เมตตา
ปกิณณกกถา อานิสงส์ โทษ เมตตา อุเบกขา

===========================================

จริยาปิฎก ตอนที่ ๑๘ (ความยาว ๓.๑๙ ชั่วโมง) ดาวโหลด
ปกิณณกกถา จรณธรรม ๑๕ อภิญญา ๕
ปกิณณกกถา บริวารของจรณธรรม ๑๕
ปกิณณกกถา อะไรเป็นความเศร้าหมอง
ปกิณณกกถา ความผ่องแผ้ว
ปกิณณกกถา อะไรเป็นปฏิปักษ์
ปกิณณกกถา อะไรเป็นข้อปฏิบัติ

===========================================

จริยาปิฎก
 
ตอนที่ ๑๙ (ความยาว ๖.๑๗ ชั่วโมง) ดาวโหลด
ปกิณณกกถา อะไรเป็นข้อปฏิบัติของทาน
ปกิณณกกถา อะไรเป็นข้อปฏิบัติของศีล
ปกิณณกกถา อะไรเป็นข้อปฏิบัติของเนกขัมมะ
ปกิณณกกถา อะไรเป็นข้อปฏิบัติของปัญญา
ปกิณณกกถา อะไรเป็นข้อปฏิบัติของวิริยะ ขันติ
ปกิณณกกถา อะไรเป็นข้อปฏิบัติของสัจจะ
ปกิณณกกถา อะไรเป็นข้อปฏิบัติของอธิษฐาน

===========================================

จริยาปิฎก
 
ตอนที่ ๒๐ (ความยาว ๓.๐๒ ชั่วโมง) ดาวโหลด
ปกิณณกกถา สรุปอะไรเป็นข้อปฏิบัติ
ปกิณณกกถา อะไรเป็นการจำแนก
ปกิณณกกถา อะไรเป็นการสงเคราะห์

===========================================

จริยาปิฎก ตอนที่ ๒๑ (ความยาว ๓.๒๙ ชั่วโมง) ดาวโหลด
ปกิณณกกถา อะไรเป็นอุบายให้สำเร็จ
ปกิณณกกถา ให้สำเร็จประโยชน์โดยกาลไหน
ปกิณณกกถา อะไรเป็นอานิสงส์
ปกิณณกกถา อะไรเป็นผล
อธิบายคาถา ที่๑ จงปรารภความเพียร 
อธิบายคาถา ที่ ๒ ความวิวาท 
อธิบายคาถา ที่ ๓ ความประมาท
บทสรุป-ให้พร

===========================================


🔊 จริยาปิฎก หมวดทานบารมี
🔊 จริยาปิฎก หมวดศีลบารมี
🔊 จริยาปิฎก หมวดเนกขัมมะบารมี
🔊 จริยาปิฎก หมวดคาถา


จริยาปิฎก หมวดเนกขัมมะบารมี

 🔆 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

🙏  หมวดเนกขัมมะบารมี

จริยาปิฎก ตอนที่ ๙ (ความยาว ๓.๓๖ ชั่วโมง) ดาวโหลด
เหตุแสดงจริยาปิฏก
จริยาที่ ๑ ว่าด้วยจริยาวัตรของยุธัญชยกุมาร
จริยาที่ ๒ ว่าด้วยจริยาวัตรของโสมนัสสกุมาร

==========================================

จริยาปิฎก ตอนที่ ๑๐ (ความยาว ๒ ชั่วโมง) ดาวโหลด
จริยาที่ ๓ ว่าด้วยจริยาวัตรของอโยฆรกุมาร
จริยาที่ ๔ ว่าด้วยจริยาวัตรของภิงสพราหมณ์

==========================================

จริยาปิฎก
 
ตอนที่ ๑๑ (ความยาว ๑.๕๐ ชั่วโมง) ดาวโหลด
จริยาที่ ๕ ว่าด้วยจริยาวัตรของโสณนันทบัณฑิต
จริยาที่ ๖ ว่าด้วยจริยาวัตรของมูลผักขกุมาร

==========================================

จริยาปิฎก ตอนที่ ๑๒ (ความยาว ๑.๕๔ ชั่วโมง) ดาวโหลด
จริยาที่ ๗ ว่าด้วยจริยาวัตรของพระยาวานร
จริยาที่ ๘ ว่าด้วยจริยาวัตรของสัจจดาบส
จริยาที่ ๙ ว่าด้วยจริยาวัตรของลูกนกคุ้ม
จริยาที่ ๑๐ ว่าด้วยจริยาวัตรของพระยาปลา
จริยาที่ ๑๑ ว่าด้วยจริยาวัตรของกัณหทีปายนะดาบส

==========================================

จริยาปิฎก ตอนที่ ๑๓ (ความยาว ๒.๐๕ ชั่วโมง) ดาวโหลด
จริยาที่ ๑๒ ว่าด้วยจริยาวัตรของพระเจ้าสุตโสม
จริยาที่ ๑๓ ว่าด้วยจริยาวัตรของสุวรรณสามดาบส
จริยาที่ ๑๔ ว่าด้วยจริยาวัตรของพระเจ้าเอกราช
จริยาที่ ๑๕ ว่าด้วยจริยาวัตรของมหาโลมหังสบัณฑิต

==========================================


🔊 จริยาปิฎก หมวดทานบารมี
🔊 จริยาปิฎก หมวดศีลบารมี
🔊 จริยาปิฎก หมวดเนกขัมมะบารมี
🔊 จริยาปิฎก หมวดคาถา

จริยาปิฎก หมวดศีลบารมี

🔆 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

🙏  หมวดศีลบารมี

จริยาปิฎก ตอนที่ ๖ (ความยาว ๒.๑๒ ชั่วโมง) ดาวโหลด
จริยาที่ ๑ ว่าด้วยจริยาวัตรของพระยาช้างสีลว
จริยาที่ ๒ ว่าด้วยจริยาวัตรของภูริทัตตนาคราช
จริยาที่ ๓ ว่าด้วยจริยาวัตรของจัมเปยยกนาครา
================================================

จริยาปิฎก ตอนที่ ๗ (ความยาว ๔.๐๙ ชั่วโมง) ดาวโหลด
จริยาที่ ๔ ว่าด้วยจริยาวัตรของจูฬโพธิปริพาชก
จริยาที่ ๕ ว่าด้วยจริยาวัตรของพระยากระบือ
จริยาที่ ๖ ว่าด้วยจริยาวัตรของพระยาเนื้อ
จริยาที่ ๗ ว่าด้วยจริยาวัตรของมาตังคชฎิล
จริยาที่ ๘ ว่าด้วยจริยาวัตรของธรรมเทวปุตต

================================================

จริยาปิฎก ตอนที่ ๘ (ความยาว ๑.๕๓ ชั่วโมง) ดาวโหลด
- ศรัทธาเพื่อออกจากวัฏฏทุกข์
จริยาที่ ๙ ว่าด้วยจริยาวัตรของพระเจ้าชยทิส
จริยาที่ ๑๐ ว่าด้วยจริยาวัตรของสังขปาลนาคราช

================================================
🔊 จริยาปิฎก หมวดทานบารมี
🔊 จริยาปิฎก หมวดศีลบารมี
🔊 จริยาปิฎก หมวดเนกขัมมะบารมี
🔊 จริยาปิฎก หมวดคาถา

จริยาปิฎก หมวดทานบารมี

🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

🙏  หมวดทานบารมี
จริยาปิฎก
 
ตอนที่ ๑ (ความยาว ๔.๐๕ ชั่วโมง) ดาวโหลด
- คันถารัมภกถา พระธรรมปาละ
- นิทานกถา เหตุแสดงจริยาปิฏก
- จริยาที่๑ อกิตติจริยา 

------------------------------------------------------------

จริยาปิฎก ตอนที่ ๒ (ความยาว ๔.๐๔ ชั่วโมง) ดาวโหลด
- สรรเสริญบุพพจริยคุณ
- จริยาที่๒ สังขพราหมณ์
จริยาที่๓ ว่าด้วยจริยาวัตรของพระเจ้าธนญชัย
จริยาที่๔ ว่าด้วยจริยาวัตรของพระมหาสุทัศน

------------------------------------------------------------

จริยาปิฎก
 
ตอนที่ ๓ (ความยาว ๓.๐๔ ชั่วโมง) ดาวโหลด
จริยาที่๕ ว่าด้วยจริยาวัตรของมหาโควินทพราหมณ์
จริยาที่๖ ว่าด้วยจริยาวัตรของพระเจ้าเนมิราช
- จริยาที่๗ ว่าด้วยจริยาวัตรของพระจันทกุมาร
จริยาที่๘ ว่าด้วยจริยาวัตรของพระเจ้าสิวิราช

------------------------------------------------------------

จริยาปิฎก
 
ตอนที่ ๔ (ความยาว ๒.๓๒ ชั่วโมง) ดาวโหลด
จริยาที่๙ ว่าด้วยจริยาวัตรของพระเวสสันดร

------------------------------------------------------------

จริยาปิฎก ตอนที่ ๕ (ความยาว ๔.๐๕ ชั่วโมง) ดาวโหลด
จริยาที่๑๐ ว่าด้วยจริยาวัตรของสสบัณฑิต
- บทสรุปจริยา๑๐ประการ


🔊 จริยาปิฎก หมวดทานบารมี
🔊 จริยาปิฎก หมวดศีลบารมี
🔊 จริยาปิฎก หมวดเนกขัมมะบารมี
🔊 จริยาปิฎก หมวดคาถา

ปัจจัย ๒๔

🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

คัมภีร์มหาปัฎฐาน
อภิธรรมปิฎก ปัจจัย ๒๔ ตอนที่ ๑ (ความยาว ๒.๔๐ ชม.) ดาวโหลด


อภิธรรมปิฎก ปัจจัย ๒๔ ตอนที่ ๒ (ความยาว ๕.๑๙ ชม.) ดาวโหลด


อภิธรรมปิฎก ปัจจัย ๒๔ ตอนที่ ๓ (ความยาว ๖.๑๙ ชม.) ดาวโหลด


อภิธรรมปิฎก ปัจจัย ๒๔ ตอนที่ ๔ (ความยาว ๕.๒๐ ชม.) ดาวโหลด


อภิธรรมปิฎก ปัจจัย ๒๔ ตอนที่ ๕ (ความยาว ๑.๕๐ ชม.) ดาวโหลด


อภิธรรมปิฎก ปัจจัย ๒๔ ตอนที่ ๖ (ความยาว ๑.๕๑ ชม.) ดาวโหลด


อภิธรรมปิฎก ปัจจัย ๒๔ ตอนที่ ๗ (ความยาว ๒.๐๑ ชม.) ดาวโหลด


อภิธรรมปิฎก ปัจจัย ๒๔ ตอนที่ ๘ (ความยาว ๑.๔๑ ชม.) ดาวโหลด


อภิธรรมปิฎก ปัจจัย ๒๔ ตอนที่ ๙ (ความยาว ๑.๔๘ ชม.) ดาวโหลดไฟล์


อภิธรรมปิฎก ปัจจัย ๒๔ ตอนที่ ๑๐ (ความยาว ๑.๔๖ ชม.) ดาวโหลดไฟล์


วิกิ

ผลการค้นหา