จริยาปิฎก หมวดคาถา

 🔆 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก


🙏  หมวดคาถา

จริยาปิฎก ตอนที่ ๑๔ (ความยาว ๓.๑๔ ชั่วโมง) ดาวโหลด
สโมธานกถา
อุททานคาถา
ปกิณณกกถา บารมี๑๖ข้อ
ปกิณณกกถา อรรถ 
ปกิณณกกถา มีกี่อย่าง
ปกิณณกกถา ลำดับของบารมี

===========================================

จริยาปิฎก ตอนที่ ๑๕ (ความยาว ๑.๕๗ ชั่วโมง) ดาวโหลด
ปกิณณกกถา ลักขณาทิจตุกะ

===========================================

จริยาปิฎก ตอนที่ ๑๖ (ความยาว ๓.๒๘ ชั่วโมง) ดาวโหลด
ปกิณณกกถา อะไรเป็นปัจจัยแห่งบารมี
ปกิณณกกถา อภินิหาร๘
ปกิณณกกถา ผู้มีฉันทะใหญ่
ปกิณณกกถา ปัจจัย๔เหตุ๔แห่งอภินิหาร
ปกิณณกกถา เหตุ๔แห่งอภินิหาร
ปกิณณกกถา  มหากรุณา พระปัญญา
ปกิณณกกถา พุทธภูมิ๔
ปกิณณกกถา อัธยาศัย ๖
ปกิณณกกถา อัธยาศัยในบารมี๑๐

===========================================

จริยาปิฎก ตอนที่ ๑๗ (ความยาว ๓.๔๘ ชั่วโมง) ดาวโหลด
ปกิณณกกถา อานิสงส์ โทษของทาน
ปกิณณกกถา อานิสงส์ โทษของศีล
ปกิณณกกถา อานิสงส์ โทษ เนกขัมมะ ปัญญา
ปกิณณกกถา อานิสงส์ โทษ วิริยะ ขันติ
ปกิณณกกถา อานิสงส์ โทษ สัจจะ อธิษฐาน
ปกิณณกกถา  อานิสงส์ โทษ อธิษฐาน เมตตา
ปกิณณกกถา อานิสงส์ โทษ เมตตา อุเบกขา

===========================================

จริยาปิฎก ตอนที่ ๑๘ (ความยาว ๓.๑๙ ชั่วโมง) ดาวโหลด
ปกิณณกกถา จรณธรรม ๑๕ อภิญญา ๕
ปกิณณกกถา บริวารของจรณธรรม ๑๕
ปกิณณกกถา อะไรเป็นความเศร้าหมอง
ปกิณณกกถา ความผ่องแผ้ว
ปกิณณกกถา อะไรเป็นปฏิปักษ์
ปกิณณกกถา อะไรเป็นข้อปฏิบัติ

===========================================

จริยาปิฎก
 
ตอนที่ ๑๙ (ความยาว ๖.๑๗ ชั่วโมง) ดาวโหลด
ปกิณณกกถา อะไรเป็นข้อปฏิบัติของทาน
ปกิณณกกถา อะไรเป็นข้อปฏิบัติของศีล
ปกิณณกกถา อะไรเป็นข้อปฏิบัติของเนกขัมมะ
ปกิณณกกถา อะไรเป็นข้อปฏิบัติของปัญญา
ปกิณณกกถา อะไรเป็นข้อปฏิบัติของวิริยะ ขันติ
ปกิณณกกถา อะไรเป็นข้อปฏิบัติของสัจจะ
ปกิณณกกถา อะไรเป็นข้อปฏิบัติของอธิษฐาน

===========================================

จริยาปิฎก
 
ตอนที่ ๒๐ (ความยาว ๓.๐๒ ชั่วโมง) ดาวโหลด
ปกิณณกกถา สรุปอะไรเป็นข้อปฏิบัติ
ปกิณณกกถา อะไรเป็นการจำแนก
ปกิณณกกถา อะไรเป็นการสงเคราะห์

===========================================

จริยาปิฎก ตอนที่ ๒๑ (ความยาว ๓.๒๙ ชั่วโมง) ดาวโหลด
ปกิณณกกถา อะไรเป็นอุบายให้สำเร็จ
ปกิณณกกถา ให้สำเร็จประโยชน์โดยกาลไหน
ปกิณณกกถา อะไรเป็นอานิสงส์
ปกิณณกกถา อะไรเป็นผล
อธิบายคาถา ที่๑ จงปรารภความเพียร 
อธิบายคาถา ที่ ๒ ความวิวาท 
อธิบายคาถา ที่ ๓ ความประมาท
บทสรุป-ให้พร

===========================================


🔊 จริยาปิฎก หมวดทานบารมี
🔊 จริยาปิฎก หมวดศีลบารมี
🔊 จริยาปิฎก หมวดเนกขัมมะบารมี
🔊 จริยาปิฎก หมวดคาถา


จริยาปิฎก หมวดเนกขัมมะบารมี

 🔆 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

🙏  หมวดเนกขัมมะบารมี

จริยาปิฎก ตอนที่ ๙ (ความยาว ๓.๓๖ ชั่วโมง) ดาวโหลด
เหตุแสดงจริยาปิฏก
จริยาที่ ๑ ว่าด้วยจริยาวัตรของยุธัญชยกุมาร
จริยาที่ ๒ ว่าด้วยจริยาวัตรของโสมนัสสกุมาร

==========================================

จริยาปิฎก ตอนที่ ๑๐ (ความยาว ๒ ชั่วโมง) ดาวโหลด
จริยาที่ ๓ ว่าด้วยจริยาวัตรของอโยฆรกุมาร
จริยาที่ ๔ ว่าด้วยจริยาวัตรของภิงสพราหมณ์

==========================================

จริยาปิฎก
 
ตอนที่ ๑๑ (ความยาว ๑.๕๐ ชั่วโมง) ดาวโหลด
จริยาที่ ๕ ว่าด้วยจริยาวัตรของโสณนันทบัณฑิต
จริยาที่ ๖ ว่าด้วยจริยาวัตรของมูลผักขกุมาร

==========================================

จริยาปิฎก ตอนที่ ๑๒ (ความยาว ๑.๕๔ ชั่วโมง) ดาวโหลด
จริยาที่ ๗ ว่าด้วยจริยาวัตรของพระยาวานร
จริยาที่ ๘ ว่าด้วยจริยาวัตรของสัจจดาบส
จริยาที่ ๙ ว่าด้วยจริยาวัตรของลูกนกคุ้ม
จริยาที่ ๑๐ ว่าด้วยจริยาวัตรของพระยาปลา
จริยาที่ ๑๑ ว่าด้วยจริยาวัตรของกัณหทีปายนะดาบส

==========================================

จริยาปิฎก ตอนที่ ๑๓ (ความยาว ๒.๐๕ ชั่วโมง) ดาวโหลด
จริยาที่ ๑๒ ว่าด้วยจริยาวัตรของพระเจ้าสุตโสม
จริยาที่ ๑๓ ว่าด้วยจริยาวัตรของสุวรรณสามดาบส
จริยาที่ ๑๔ ว่าด้วยจริยาวัตรของพระเจ้าเอกราช
จริยาที่ ๑๕ ว่าด้วยจริยาวัตรของมหาโลมหังสบัณฑิต

==========================================


🔊 จริยาปิฎก หมวดทานบารมี
🔊 จริยาปิฎก หมวดศีลบารมี
🔊 จริยาปิฎก หมวดเนกขัมมะบารมี
🔊 จริยาปิฎก หมวดคาถา

จริยาปิฎก หมวดศีลบารมี

🔆 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

🙏  หมวดศีลบารมี

จริยาปิฎก ตอนที่ ๖ (ความยาว ๒.๑๒ ชั่วโมง) ดาวโหลด
จริยาที่ ๑ ว่าด้วยจริยาวัตรของพระยาช้างสีลว
จริยาที่ ๒ ว่าด้วยจริยาวัตรของภูริทัตตนาคราช
จริยาที่ ๓ ว่าด้วยจริยาวัตรของจัมเปยยกนาครา
================================================

จริยาปิฎก ตอนที่ ๗ (ความยาว ๔.๐๙ ชั่วโมง) ดาวโหลด
จริยาที่ ๔ ว่าด้วยจริยาวัตรของจูฬโพธิปริพาชก
จริยาที่ ๕ ว่าด้วยจริยาวัตรของพระยากระบือ
จริยาที่ ๖ ว่าด้วยจริยาวัตรของพระยาเนื้อ
จริยาที่ ๗ ว่าด้วยจริยาวัตรของมาตังคชฎิล
จริยาที่ ๘ ว่าด้วยจริยาวัตรของธรรมเทวปุตต

================================================

จริยาปิฎก ตอนที่ ๘ (ความยาว ๑.๕๓ ชั่วโมง) ดาวโหลด
- ศรัทธาเพื่อออกจากวัฏฏทุกข์
จริยาที่ ๙ ว่าด้วยจริยาวัตรของพระเจ้าชยทิส
จริยาที่ ๑๐ ว่าด้วยจริยาวัตรของสังขปาลนาคราช

================================================
🔊 จริยาปิฎก หมวดทานบารมี
🔊 จริยาปิฎก หมวดศีลบารมี
🔊 จริยาปิฎก หมวดเนกขัมมะบารมี
🔊 จริยาปิฎก หมวดคาถา

จริยาปิฎก หมวดทานบารมี

🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

🙏  หมวดทานบารมี
จริยาปิฎก
 
ตอนที่ ๑ (ความยาว ๔.๐๕ ชั่วโมง) ดาวโหลด
- คันถารัมภกถา พระธรรมปาละ
- นิทานกถา เหตุแสดงจริยาปิฏก
- จริยาที่๑ อกิตติจริยา 

------------------------------------------------------------

จริยาปิฎก ตอนที่ ๒ (ความยาว ๔.๐๔ ชั่วโมง) ดาวโหลด
- สรรเสริญบุพพจริยคุณ
- จริยาที่๒ สังขพราหมณ์
จริยาที่๓ ว่าด้วยจริยาวัตรของพระเจ้าธนญชัย
จริยาที่๔ ว่าด้วยจริยาวัตรของพระมหาสุทัศน

------------------------------------------------------------

จริยาปิฎก
 
ตอนที่ ๓ (ความยาว ๓.๐๔ ชั่วโมง) ดาวโหลด
จริยาที่๕ ว่าด้วยจริยาวัตรของมหาโควินทพราหมณ์
จริยาที่๖ ว่าด้วยจริยาวัตรของพระเจ้าเนมิราช
- จริยาที่๗ ว่าด้วยจริยาวัตรของพระจันทกุมาร
จริยาที่๘ ว่าด้วยจริยาวัตรของพระเจ้าสิวิราช

------------------------------------------------------------

จริยาปิฎก
 
ตอนที่ ๔ (ความยาว ๒.๓๒ ชั่วโมง) ดาวโหลด
จริยาที่๙ ว่าด้วยจริยาวัตรของพระเวสสันดร

------------------------------------------------------------

จริยาปิฎก ตอนที่ ๕ (ความยาว ๔.๐๕ ชั่วโมง) ดาวโหลด
จริยาที่๑๐ ว่าด้วยจริยาวัตรของสสบัณฑิต
- บทสรุปจริยา๑๐ประการ


🔊 จริยาปิฎก หมวดทานบารมี
🔊 จริยาปิฎก หมวดศีลบารมี
🔊 จริยาปิฎก หมวดเนกขัมมะบารมี
🔊 จริยาปิฎก หมวดคาถา

ปัจจัย ๒๔

🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

คัมภีร์มหาปัฎฐาน
อภิธรรมปิฎก ปัจจัย ๒๔ ตอนที่ ๑ (ความยาว ๒.๔๐ ชม.) ดาวโหลด


อภิธรรมปิฎก ปัจจัย ๒๔ ตอนที่ ๒ (ความยาว ๕.๑๙ ชม.) ดาวโหลด


อภิธรรมปิฎก ปัจจัย ๒๔ ตอนที่ ๓ (ความยาว ๖.๑๙ ชม.) ดาวโหลด


อภิธรรมปิฎก ปัจจัย ๒๔ ตอนที่ ๔ (ความยาว ๕.๒๐ ชม.) ดาวโหลด


อภิธรรมปิฎก ปัจจัย ๒๔ ตอนที่ ๕ (ความยาว ๑.๕๐ ชม.) ดาวโหลด


อภิธรรมปิฎก ปัจจัย ๒๔ ตอนที่ ๖ (ความยาว ๑.๕๑ ชม.) ดาวโหลด


อภิธรรมปิฎก ปัจจัย ๒๔ ตอนที่ ๗ (ความยาว ๒.๐๑ ชม.) ดาวโหลด


อภิธรรมปิฎก ปัจจัย ๒๔ ตอนที่ ๘ (ความยาว ๑.๔๑ ชม.) ดาวโหลด


อภิธรรมปิฎก ปัจจัย ๒๔ ตอนที่ ๙ (ความยาว ๑.๔๘ ชม.) ดาวโหลดไฟล์


อภิธรรมปิฎก ปัจจัย ๒๔ ตอนที่ ๑๐ (ความยาว ๑.๔๖ ชม.) ดาวโหลดไฟล์


เจตสิกที่ทำให้จิตต่างกัน

คาถาสังคหะ
อนุตฺตเร ฌานธมฺมา   อปฺปมญฺญา จ มชฺฌิเม
วิรตี ญาณปีติ จ   ปริตฺเตสุ วิเสสกา ฯ

แปลความว่า 
ในโลกุตตรจิต องค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร, ปีติ, สุข, เอกัคคตา ย่อมทำให้โลกุตตรจิตต่างกัน
ในมหัคคตจิต อัปปมัญญาเจตสิก ๒ และองค์ฌาน ๕ ย่อมทำให้มหัคคตจิตต่างกัน
ในกามาวจรโสภณจิต ปีติเจตสิก ๑, วิรตีเจตสิก ๓, อัปปมัญญาเจตสิก ๒ และปัญญาเจตสิก ๑ ย่อมทำให้กามาวจรโสภณจิตต่างกัน

อธิบาย
ในโลกุตตรจิตนั้น ฌานธรรม คือ องค์ฌานทั้ง ๕ ย่อมทำความต่างกันแห่งธรรมที่มีอยู่ในทุติยฌานเป็นต้น ให้ต่างจากธรรมที่มีอยู่ในปฐมฌานเป็นต้น ในบรรดาเจตสิกธรรมเหล่านี้ท่านกล่าวว่า อนุตฺตเร ฌานธมฺมา เป็นอาทิฯ ซึ่งหมายถึงฌานธรรมนั้นด้วยอำนาจ วิตก วิจาร, ปีติ และสุข ในอนุตตรจิต มีความแปลกแตกต่างกันคือ :-

  • วิตกเจตสิก ทำให้โลกุตตรปฐมฌานจิต ต่างกันกับ โลกุตตรฌานจิตอื่นๆ
  • วิจารเจตสิก ทำให้โลกุตตรทุติยฌานจิต ต่างกันกับ โลกุตตรฌานจิตที่เหลือ ๓ มีโลกุตตรตติยฌานจิต เป็นต้น
  • ปีติเจตสิก ทำให้โลกุตตรตติยฌานจิต ต่างกันกับ โลกุตตรจตุตถฌานจิตและปัญจมฌานจิต
  • สุข (โสมนัส) เวทนาเจตสิก ทำให้โลกุตตรจตุตถฌานจิต ต่างกันกับโลกุตตรปัญจมฌานจิต
  • อุเบกขาเวทนา ทำให้โลกุตตรปัญจมฌานจิต ต่างกันกับโลกุตตรฌานจิตอื่น
นอกนั้นในมหัคคตจิตนั้น อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ได้แก่ กรุณาและมุทิตาเจตสิก ทำให้มหัคคตจิต ๑๒ คือ ปฐมฌานถึงจตุตถฌาน ต่างกันกับ ปัญจมฌานจิต ๑๕ ส่วนองค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ย่อมทำให้โลกียปฐมฌานจิต ต่างกันกับโลกียฌานจิตที่เหลือเป็นต้น เช่นเดียวกับโลกุตตรจิตใน กามาวจรโสภณจิต นั้น วิรตีเจตสิก ๓ ปัญญาเจตสิก ๑ ปีติเจตสิก ๑ และอัปปมัญญาเจตสิก ๒ ย่อมทำให้กามาวจรโสภณจิต ต่างกันดังนี้ :-

  • วิรตีเจตสิก ๓ ย่อมทำให้มหากุศลจิต ต่างกันกับมหาวิบากจิต และมหากิริยาจิต
  • ปัญญาเจตสิก ๑ ย่อมทำให้จิตเป็นญาณสัมปยุตจิต ต่างกันกับ ญาณวิปยุตจิต
  • ปีติเจตสิก ๑ ย่อมทำให้โสมนัสสหคตจิต ต่างกันกับ อุเบกขาสหคตจิต
  • อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ทำให้มหากุศลจิต และมหากิริยาจิต ต่างกันกับมหาวิบากจิต

🔅อกุศลสังคหนัย

ในคาถาสังคหะที่ ๑๔ ได้แสดงหลักของสังคหนัยโดยย่อไว้ว่า อกุศลจิต ๑๒ มีเจตสิกประกอบ ๒๗ ดวง (สตฺตวีสตฺยปุญฺญฺมฺหิฯ) ในคาถาสังคหะ ๒๑ นี้ เป็นบทขยายความอกุศลสังคหนัยโดยพิสดาร

คาถาสังคหะ

เอกูนวีสฏฺฐารส   วีเสกวีส วีสติ
พาวีส ปณฺณรสาติ   สตฺตธากุสเล จิตา ฯ

แปลความว่า ในอกุศลจิต ๑๒ มีสังคหะ ๗ นัย นัยหนึ่งๆ มีเจตสิกประกอบ ๑๙, ๑๘, ๒๐, ๒๑, ๒๐, ๒๒, และ ๑๕ ตามลำดับแห่งอกุศลจิต

นัยที่ ๑ อกุศลอสังขาริกจิตดวงที่ ๑-๒ มีเจตสิกประกอบ ๑๙ ดวง คือ
โลภมูลจิตดวงที่ ๑ มีเจตสิกประกอบ ๑๙ ดวง ได้แก่
    - อัญญสมานาเจตสิก ๑๓
    - โมจตุกเจตสิก ๔
    - โลภเจตสิก ๑
    - ทิฏฐิเจตสิก ๑

โลภมูลจิตดวงที่ ๓ มีเจตสิกประกอบ ๑๙ ดวง ได้แก่
    - อัญญสมานาเจตสิก ๑๓
    - โมจตุกเจตสิก ๔
    - โลภเจตสิก ๑
    - มานเจตสิก ๑

นัยที่ ๒ อกุศลอสังขาริกจิตดวงที่ ๓-๔ มีเจตสิกประกอบ ๑๘ ดวง คือ
โลภมูลจิตดวงที่ ๕ มีเจตสิกประกอบ ๑๘ ดวง ได้แก่
    - อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ)
    - โมจตุกเจตสิก ๔
    - โลภเจตสิก ๑
    - ทิฏฐิเจตสิก ๑

โลภมูลจิตดวงที่ ๗ มีเจตสิกประกอบ ๑๘ ดวง ได้แก่
    - อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ)
    - โมจตุกเจตสิก ๔
    - โลภเจตสิก ๑
    - มานเจตสิก ๑

นัยที่ ๓ อกุศลอสังขาริกจิตดวงที่ ๕ คือ
โทสมูลจิตดวงที่ ๑ มีเจตสิกประกอบ ๒๐ ดวง ได้แก่
    - อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ)
    - โมจตุกเจตสิก ๔
    - โทจตุกเจตสิก ๔

นัยที่ ๔ อกุศลสสังขาริกจิตดวงที่ ๑-๒ มีเจตสิกประกอบ ๒๑ ดวง คือ
โลภมูลจิตดวงที่ ๒ มีเจตสิกประกอบ ๒๑ ดวง ได้แก่
    - อัญญสมานาเจตสิก ๑๓
    - โมจตุกเจตสิก ๔
    - โลภเจตสิก ๑
    - ทิฏฐิเจตสิก ๑
    - ถีทุกเจตสิก ๒

โลภมูลจิตดวงที่ ๔ มีเจตสิกประกอบ ๒๑ ดวง ได้แก่
- อัญญสมานาเจตสิก ๑๓
- โมจตุกเจตสิก ๔
- โลภเจตสิก ๑
- มานเจตสิก ๑
- ถีทุกเจตสิก ๒

นัยที่ ๕ อกุศลสสังขาริกจิตดวงที่ ๓-๔ มีเจตสิกประกอบ ๒๐ ดวง คือ
โลภมูลจิตดวงที่ ๖ มีเจตสิกประกอบ ๒๐ ดวง ได้แก่
    - อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ)
    - โมจตุกเจตสิก ๔
    - โลภเจตสิก ๑
    - ทิฏฐิเจตสิก ๑
    - ถีทุกเจตสิก ๒

โลภมูลจิตดวงที่ ๘ มีเจตสิกประกอบ ๒๐ ดวง ได้แก่
    - อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ)
    - โมจตุกเจตสิก ๔
    - โลภเจตสิก ๑
    - มานเจตสิก ๑
    - ถีทุกเจตสิก ๒

นัยที่ ๖ อกุศลสสังขาริกจิตดวงที่ ๕ คือ
โทสมูลจิตดวงที่ ๒ มีเจตสิกประกอบ ๒๒ ดวง ได้แก่
    - อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติ)
    - โมจตุกเจตสิก ๔
    - โทจตุกเจตสิก ๔
    - ถีทุกเจตสิก ๒

นัยที่ ๗ โมหมูลจิต ๒ มีเจตสิกประกอบ ๑๕ ดวง คือ
โมหมูลจิตดวงที่ ๑ คือ วิจิกิจฉาสัมปยุตจิต มีเจตสิกประกอบ ๑๕ ดวงได้แก่
    - อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นอธิโมกข์ ปีติ ฉันทะ)
    - โมจตุกเจตสิก ๔
    - วิจิกิจฉาเจตสิก ๑

โมหมูลจิตดวงที่ ๒ คือ อุทธัจจสัมปยุตจิต มีเจตสิกประกอบ ๑๕ ดวงได้แก่
    - อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้น ปีติ ฉันทะ)
    - โมจตุกเจตสิก ๔

🔅สัพพากุศลโยคีเจตสิก
สัพพากุศลโยคีเจตสิก หมายถึงเจตสิกที่ประกอบในอกุศลจิต ๑๒ ทั้งหมด มีจำนวน ๑๔ ดวง ดังคาถาสังคหะต่อไปนี้

คาถาสังคหะ
สาธารณา จ จตฺตาโร   สมานา จ ทสาปเร
จุทฺทเสเต ปวุจฺจนฺติ   สพฺพากุสลโยคิโน ฯ

แปลความว่า สัพพากุศลสาธารณเจตสิก ๔ (โมจตุก) อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นอธิโมกข์, ปีติ, ฉันทะ) รวมเจตสิก ๑๔ ดวงนี้เรียกว่าสัพพากุศลโยคีเจตสิก (เจตสิก ๑๔ ดวงที่ประกอบในอกุศลจิต ๑๒ ทั้งหมด)

อธิบาย สัพพากุศลโยคีเจตสิก ๑๔ คือเจตสิกที่ประกอบได้ในอกุศลทั้งหมด ได้แก่เจตสิกต่อไปนี้คือ :-

ในบรรดาอกุศลจิตทั้ง ๑๒ ดวงนั้น เมื่อดวงใดดวงหนึ่งเกิดขึ้น จะต้องมีเจตสิกทั้ง ๑๔ ดวง (สัพพากุศลโยคีเจตสิก) ประกอบรวมด้วยเสมอไปอย่างแน่นอน

🔅อเหตุกสังคหนัย

คาถาสังคหะ

ทฺวาทเสกาทส ทส   สตฺต จาติ จตุพุพิโธ
อฏฺฐารสาเหตุเกสุ   จิตฺตุปฺปาเทสุ สงฺคโห ฯ

แปลความว่า อเหตุกจิต ๑๘ มีสังคหะ ๔ นัย คือมีเจตสิกประกอบ ๑๒, ๑๑, ๑๐ และ ๗ ตามลำดับ

นัยที่ ๑ 
อธิบาย ในอเหตุกจิต ๑๘ มีสังคหะ ๔ นัยคือ :-
เจตสิก ๑๒ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นฉันทะ) ที่ประกอบในหสิตุปปาทจิต ๑

นัยที่ ๒
ก. เจตสิก ๑๑ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้นปีติ, ฉันทะ) ที่ประกอบในมโนทวาราวัชชนจิต ๑
ข. เจตสิก ๑๑ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้นวิริยะ, ฉันทะ) ที่ประกอบในโสมนัสสันตีรณจิต ๑

นัยที่ ๓ 
เจตสิก ๑๐ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นวิริยะ, ปีติ, และฉันทะ) ที่ประกอบในมโนธาตุ ๓ คือ :-            - ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑
         - สัมปฏิจฉนจิต ๒

นัยที่ ๔
เจตสิก ๗ ดวง ได้แก่ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๓ ที่ประกอบในทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐

ข้อสังเกต อเหตุกจิต ๑๔ ดวงนั้น มีอัญญสมานาเจตสิกประเภทเดียวที่เข้าประกอบได้ แต่ประกอบได้อย่างมากที่สุดเพียง ๑๒ ดวงเท่านั้น เจตสิกอีกดวงหนึ่งคือ ฉันทเจตสิก เข้าประกอบกับอเหตุกจิตทั้ง ๑๘ ดวงไม่ได้เลย เพราะฉันทเจตสิกมีลักษณะที่เป็นความพอใจในอารมณ์ หรือมีความปรารถนาจะกระทำต่ออารมณ์ ส่วนอเหตุกจิตนั้น เกิดขึ้นได้ด้วยอำนาจปัจจัยประชุมพร้อมกัน ไม่ได้อาศัยความปรารถนาจะกระทำต่ออารมณ์เหมือนจิตดวงอื่นๆ เช่น โลภมูลจิต หรือมหากุศลจิตเป็นต้น เมื่อมีปัจจัยประชุมกันแล้ว อเหตุกจิตต้องเกิดทันที

เช่น เมื่อมีรูปารมณ์, มีประสาทตาดี, มีแสงสว่าง และมีความตั้งใจที่จะดูมาประชุมกัน จักขุวิญญาณ ซึ่งเป็นอเหตุกจิตก็เกิดขึ้น ฉะนั้น สภาวะของฉันทเจตสิกจึงไม่จำเป็นต้องเกิดร่วมกับอเหตุกจิตเลย

คาถาสังคหะ

อเหตุเกสุ สพฺพตฺถ   สตฺต เสสา ยถารหํ
อิติ วิตฺถารโต วุตฺตา   เตตุตึสวิธสงฺคหา ฯ

แปลความว่า อเหตุกจิต ๑๘ ดวงนี้ มีสัพพจิตตสาธารณเจตสิกประกอบได้ทั้ง ๗ ดวงเสมอ ส่วนปกิณณกเจตสิก ๖ ดวง ย่อมประกอบได้ตามสมควร และเมื่อกล่าวโดยพิสดารแล้ว ย่อมนับสังคหะได้ ๓๓ นัย

คาถาสังคหะ
อิตฺถํ จิตฺตาวิยุตฺตานํ   สมฺปโยคญฺจ สงฺคหํ
ญตฺวา เภทํ ยถาโยคํ   จิตฺเตน สมมุทฺทิเสติ ฯ

แปลความว่า เมื่อได้เข้าใจสัมปโยคนัยและสังคหนัยที่ประกอบกับจิตเป็นนิตย์ โดยนัยที่กล่าวแล้ว ย่อมแสดงถึงจำนวนเจตสิกเท่ากับจิตตามสมควรที่ประกอบได้

อธิบาย คาถานี้ แสดงถึงการนับเจตสิกอย่างพิสดาร ตามสัมปโยคนัย และสังคหนัย ซึ่งมีความหมายว่า เจตสิกดวงใดประกอบด้วยจิตได้กี่ดวงก็นับเจตสิกดวงนั้นว่า มีจำนวนเท่ากับจำนวนจิตที่เจตสิกนั้นประกอบได้ คือ
    - สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ดวง แต่ละดวงประกอบกับจิตได้ทั้งหมด ๑๒๑ ดวง สัพพจิตตสาธารณเจตสิกมีอยู่ ๗ ดวง จึงนับจำนวนจิตพิสดารของสัพพจิตตสาธารณเจตสิกทั้งสิ้น ๘๔๗
    - ปกิณณกเจตสิก ๖ คือ วิตกเจตสิก ประกอบกับจิตได้ ๕๕ ดวง, วิจารได้ ๖๖ ดวง, อธิโมกข์ได้ ๑๑๐ ดวง, วิริยะได้ ๑๐๕ ดวง ปีติได้ ๕๑ ดวงและฉันทะได้ ๑๐๑ ดวง ปกิณณกเจตสิก เมื่อนับจำนวนพิสดารได้ จึงมี ๔๘๘ ดวง
    - อกุศลเจตสิก ๑๔ นับจำนวนโดยพิสดารได้ ๔๓ คือ :-
            โมจตุกเจตสิก ๔๘
            โลติกเจตสิก ๑๖
            โทจตุกเจตสิก ๘
            ถีทุกเจตสิก ๑๐
            วิจิกิจฉาเจตสิก ๑

    - โสภณเจตสิก ๒๕ นับจำนวนโสภณเจตสิกโดยพิสดารได้ ๒๐๐๘ คือ :-
            โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวง แต่ละดวงประกอบโสภณจิตทั้งหมด ๙๑ จึงนับจำนวนโสภณสาธารณเจตสิกได้ ๑๗๒๙
            วิรตีเจตสิก ๓ แต่ละดวงประกอบกับจิตได้ ๔๔ จึงนับว่าจำนวนวิรตีเจตสิกโดยพิสดารได้ ๑๔๔
            อัปปมัญญาเจตสิก ๒ แต่ละดวงประกอบกับจิตได้ ๒๘ จึงนับจำนวนอัปปมัญญาเจตสิกโดยพิสดารได้ ๕๖
            ปัญญาเจตสิก มี ๑ ดวง ประกอบกับจิตได้ ๗๙ ปัญญาเจตสิกโดยพิสดาร จึงมีจำนวน ๗๙

ฉะนั้น โสภณเจตสิก เมื่อนับโดยพิสดาร จึงมีจำนวนทั้งสิ้น ๒๐๐๘ ดวง และเจตสิกทั้ง ๕๒ ดวง เมื่อนับจำนวนอย่างพิสดาร ตามสัมปโยคนัยและสังคหนัย มีจำนวนทั้งสิ้น ๓๔๒๖ ดวง

สรุปความในพระอภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ ๒ นี้ พระอนุรุทธาจารย์ได้แสดงภาวะของเจตสิกปรมัตถ์ทั้ง ๕๒ ดวง พร้อมทั้งการที่เจตสิกธรรมเหล่านั้นเข้าประกอบกับจิต โดยสัมปโยคนัย และสังคหนัย

สัมปโยคนัย หมายถึงเจตสิกแต่ละดวงเข้าประกอบกับจิตใดได้บ้าง ซึ่งได้แสดงสัมปโยคนัยไว้ ๑๖ นัยคือ 
สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ มีสัมปโยค ๑ นัย
ปกิณณกเจตสิก ๖ มีสัมปโยค ๖ นัย
อกุศลเจตสิก ๑๔ มีสัมปโยค ๕ นัย
โสภณเจตสิก ๒๕ มีสัมปโยค ๔ นัย

รวมเจตสิก ๕๒ มีสัมปโยค ๑๖ นัย

สังคหนัย หมายถึงจิตแต่ละดวง มีเจตสิกใดเข้าประกอบได้บ้าง ซึ่งแสดงสังคหะไว้ ๓๓ นัยคือ
โลกุตรจิต ๔๐ มีสังคหะ ๕ นัย
มหัคคตจิต ๒๗ มีสังคหะ ๕ นัย
กามาวจรโสภณเจตสิก ๒๔  มีสังคหะ ๑๒ นัย
อกุศลจิต ๑๒ มีสังคหะ ๗ นัย
อเหตุกจิต ๑๘ มีสังคหะ ๔ นัย

รวมจิต ๑๒๑ มีสังคหะ ๓๓ นัย


🙏 ตทุภยมิสสกนัย

ตทุภยมิสสกนัย หมายถึงแสดงความเป็นไปของเจตสิกตามนัยทั้ง ๒ รวมกัน คือ สัมปโยคและสะงคหะ ดังต่อไปนี้

🔅 อัญญสมานาราสี ๑๓
ผัสสเจตสิก เกิดในจิต ๘๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๕๑ (เว้นผัสสะ)
เวทนาเจตสิก เกิดในจิต ๘๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๕๑ (เว้นเวทนา) 
สัญญาเจตสิก เกิดในจิต ๘๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๕๑ (เว้นสัญญา)
เอกัคคตาเจตสิก เกิดในจิต ๘๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๕๑ (เว้นเอกัคคตา)
ชีวิตินทรียเจตสิก  เกิดในจิต ๘๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๕๑ (เว้นชีวิตินทรีย์)
มนสิการเจตสิก เกิดในจิต ๘๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๕๑ (เว้นมนสิการ)
วิตกเจตสิก เกิดในจิต ๕๕ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๕๑ (เว้นวิตก)
วิจารเจตสิก เกิดในจิต ๖๖ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๕๑ (เว้นวิจาร)
อธิโมกขเจตสิก เกิดในจิต ๗๘ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๕๐ (เว้นอธิโมกข์และวิจิกิจฉา)
วิริยเจตสิก เกิดในจิต ๗๓ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๕๑ (เว้นวิริยะ)
ปีติเจตสิก  เกิดในจิต ๕๑ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๔๖ (เว้นโทจตุกะ ๔, วิจิกิจฉาและปีติ)
ฉันทเจตสิก  เกิดในจิต ๖๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๕๐ (เว้นฉันทะและวิจิกิจฉา)

🔅 อกุศลราสี ๑๔
โมหเจตสิก เกิดในอกุศลจิต ๑๒ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๒๖ (เว้นโมหะ)
อหิริกเจตสิก 
เกิดในอกุศลจิต ๑๒ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๒๖ (เว้นอหิริกะ)
อโนตตัปปเจตสิก เกิดในอกุศลจิต ๑๒ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๒๖ (เว้นอโนตตัปปะ)
อุทธัจจเจตสิก เกิดในอกุศลจิต ๑๒ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๒๖ (เว้นอุทธัจจะ)
โลภเจตสิก เกิดในอกุศลจิต ๘ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๒๑ (เว้นโลภะ)
ทิฏฐิเจตสิก เกิดในอกุศลจิต ๔ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๒๐ (เว้นทิฏฐิ, มานะ)
มานเจตสิก เกิดในอกุศลจิต ๔ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๒๐ (เว้นมานะ, ทิฏฐิ)
โทสเจตสิก เกิดในอกุศลจิต ๒ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๒๑ (เว้นโทสะ)
อิสสาเจตสิก เกิดในอกุศลจิต ๒ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๑๙ (เว้นอิสสา, มัจฉริยะ, กุกกุจจะ)
มัจฉริยเจตสิก เกิดในอกุศลจิต ๒ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๑๙ (เว้นมัจฉริยะ, อิสสา, กุกกุจจะ)
กุกกุจจเจตสิก  เกิดในอกุศลจิต ๒ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๑๙ (เว้นกุกกุจจะ, อิสสา, มัจฉริยะ)
ถีนเจตสิก เกิดในอกุศลจิต ๕ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๒๕ (เว้นถีนะ)
มิทธเจตสิก เกิดในอกุศลจิต ๕ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๒๕ (เว้นมิทธะ)
วิจิกิจฉาเจตสิก เกิดในอกุศลจิต ๑ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๑๔ (เว้นวิจิกิจฉา)

🔅 โสภณราสี ๒๕
สัทธาเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นสัทธา)
สติเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นสติ)
หิริเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นหิริ)
โอตตัปปเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นโอตตัปปะ)
อโลภเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นอโลภะ)
อโทสเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นอโทสะ)
ตัตตรมัชฌัตตตาเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นตัตตระ)
กายปัสสัทธิเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นกายปัสสัทธิ)
จิตตปัสสัทธิเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นจิตตปัสสัทธิ)
กายลหุตาเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นกายลหุตา)
จิตตลหุตาเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นจิตตลหุตา)
กายมุทุตาเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นกายมุทุตา)
จิตตมุทุตาเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นจิตตมุทุตา)
กายกัมมัญญตาเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นกายกัมมัญญตา)
จิตตกัมมัญญตาเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นจิตตกัมมัญญตา)
กายปาคุญญตาเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นกายปาคุญญตา)
จิตตปาคุญญตาเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นจิตตปาคุญญตา)
กายุชุกตาเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นกายุชุกตา)
จิตตุชุกตาเจตสิก เกิดในจิต ๕๙ และมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นจิตตุชุกตา)
สัมมาวาจาเจตสิก เกิดใน มหากุศลจิต ๘ มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๓ (เว้นวิรตี ๓, อัปปมัญญา ๒)
สัมมากัมมันตเจตสิก เกิดใน มหากุศลจิต ๘ มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๓ (เว้นวิรตี ๓, อัปปมัญญา ๒)
สัมมาอาชีวเจตสิก เกิดใน มหากุศลจิต ๘ มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๓ (เว้นวิรตี ๓, อัปปมัญญา๒)
สัมมาวาจาเจตสิก เกิดใน โลกุตตรจิต ๘ มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๕ (เว้นสัมมาวาจา)
สัมมากัมมันตเจตสิก เกิดใน โลกุตตรจิต ๘ มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๕ (เว้นสัมมากัมมันตะ)
สัมมาอาชีวเจตสิก เกิดใน โลกุตตรจิต ๘ มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๕ (เว้นสัมมาอาชีวะ)
กรุณาเจตสิก เกิดใน จิต ๒๘ มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๓ (เว้นอัปปมัญญา, ๒, วิรตี ๓)
มุทิตาเจตสิก เกิดใน จิต ๒๘ มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๓ (เว้นอัปปมัญญา, ๒, วิรตี ๓)
ปัญญาเจตสิก เกิดใน จิต ๔๗ มีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ๓๗ (เว้นปัญญา)

 🙏 อวสานคาถา 🙏

อิจฺจานิรุทธรจิเต  อภิธมฺมตฺถสงฺคเห
ทุติโย ปริจฺเฉโทยํ สมเสเนว นิฏฐิโต ฯ.

ปริจเฉทที่ ๒ ชื่อว่า เจตสิกสังคหวิภาค ในปกรณ์อภิธัมมัตถสังคหะซึ่งพระอนุรุทธาจารย์ ได้รจนาไว้ จบลงด้วยประการฉะนี้ ฯ

สังคหนัย

สังคหะ ตามบาลีไวยากรณ์เป็นนามกิริยา แปลว่า การสงเคราะห์หรือการรวบรวม ซึ่งโดยนัยนี้หมายความ แสดงการที่ จิต แต่ละดวงได้รวบรวมเจตสิกเข้ามาประกอบไว้ได้เท่าใด และได้แก่เจตสิกอะไรบ้าง หรือมีเจตสิกจำนวนเท่าใดอะไรบ้างที่นำมาสงเคราะห์ลงในจิตได้แต่ละดวง ยกจิตเป็นประธานสามารถประกอบกับเจตสิกได้จำนวนเท่าใด

คาถาสังคหะ
ฉตฺตีสานุตฺตเร ธมฺมา ปญฺจตฺตึส มหคฺคเต
อฏฺฐตฺตึสาปิ ลพฺภนฺติ  กามาวจรโสภเณ ฯ
สตฺตวีสตฺยปุญญมฺหิ  ทฺวาทสาเหตุเกติ จ
ยถาสมฺภวโยเคน  ปัญฺจธา ตตฺถ สงฺคโห ฯ

แปลความว่า
โลกุตรจิต มีเจตสิกประกอบได้ ๓๖ ดวง
มหัคคตจิต มีเจตสิกประกอบได้ ๓๕ ดวง
กามาวจรโสภณจิต มีเจตสิกประกอบได้ ๓๘ ดวง
อกุศลจิต มีเจตสิกประกอบได้ ๒๗ ดวง
อเหตุกจิต มีเจตสิกประกอบได้ ๑๒ ดวง

นี้คือการนับจำนวนเจตสิกที่สงเคราะห์ลงในจิตโดยสังคหะได้ ๕ นัยคือ

๑. อนุตตรสังคหนัย
อนุตตรสังคหนัย คือนัยที่แสดงการสงเคราะห์เจตสิกลงในโลกุตตรจิตหรือที่เรียกว่า สังคหนัยแห่งโลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐

คาถาสังคหะ
ฉตฺตีส ปญฺจตึสาถ  จตุตตึส ยถากฺกมํ
เตตฺตึส ทฺวยมิจฺเจว๋  ปญฺจธานุตฺตเร ฐิตา ฯ

แปลความว่า
โลกุตตรจิต ๔๐ ดวงนั้น มีสังคหะ ๕ นัยคือ :-

นัยที่ ๑ เจตสิก ๓๖ ดวง ประกอบในโลกุตตร ปฐมฌานจิต ๘
นัยที่ ๒ เจตสิก ๓๕ ดวง ประกอบในโลกุตตร ทุติยฌานจิต ๘
นัยที่ ๓ เจตสิก ๓๔ ดวง ประกอบในโลกุตตร ตติยฌานจิต ๘
นัยที่ ๔ เจตสิก ๓๓ ดวง ประกอบในโลกุตตร จตุตถฌานจิต ๘
นัยที่ ๕ เจตสิก ๓๓ ดวง ประกอบในโลกุตตร ปัญจมฌานจิต ๘

อธิบาย โลกุตตรจิต เมื่อนับจำนวนโดยย่อแล้วได้ ๔ ดวง คือ มรรคจิต ๔ และผลจิต ๔ โลกุตตรจิตทั้ง ๘ ดวงนี้ เจตสิกประกอบเท่ากันหมดทุกดวง แต่เมื่อนับโลกุตตรจิตโดยพิสดาร ๔๐ ดวงแล้ว จึงมีสังคหะ ๕ นัยด้วยอำนาจแห่งองค์ฌานคือ :-

- นัยที่ ๑ ปฐมฌานมรรคจิต ๔ ผลจิต ๔ (โลกุตตรปฐมฌานจิต ๔) มีเจตสิกประกอบ ๓๖ ดวงได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๓ (เว้นอัปปมัญญาเจตสิก ๒)

- นัยที่ ๒ ทุติยฌานมรรคจิต ๔ ผลจิต ๔ (โลกุตตรทุติยฌานจิต ๔) มีเจตสิกประกอบ ๓๕ ดวงได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นวิตกเจตสิก) โสภณเจตสิก ๒๓ (เว้นอัปปมัญญาเจตสิก ๒)

- นัยที่ ๓ ตติยฌานมรรคจิต ๔ ผลจิต ๔ (โลกุตตรตติยฌานจิต ๔) มีเจตสิกประกอบ ๓๔ ดวงได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้นวิตก, วิจาร) โสภณเจตสิก ๒๓ (เว้นอัปปมัญญาเจตสิก ๒)

- นัยที่ ๔ จตุตถฌานมรรคจิต ๔ ผลจิต ๔ (โลกุตตรจตุตถฌานจิต ๔) มีเจตสิกประกอบ ๓๓ ดวงได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นวิตก, วิจาร, ปีติ) โสภณเจตสิก ๒๓ (เว้นอัปปมัญญาเจตสิก ๒)

- นัยที่ ๕ ปัญจมฌานมรรคจิต ๔ ผลจิต ๔ (โลกุตตรปัญจมฌานจิต ๔) มีเจตสิกประกอบ ๓๓ ดวงได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นวิตก, วิจาร, ปีติ) โสภณเจตสิก ๒๓ (เว้นอัปปมัญญาเจตสิก ๒)


๒. มหัคคตสังคหนัย

คาถาสังคหะ
ปญฺจตฺตึส จตุตฺตึส  เตตุตึสาถ ยถากฺกมํ
ทฺวตฺตึส เจว ตึสาติ  ปญฺจธาว มหคฺคเต ฯ

แปลความว่า
มหัคคตจิต ๒๗ ดวง มีสังคหะ ๕ นัยคือ :-

นัยที่ ๑ เจตสิก ๓๕ ดวง ประกอบในโลกีย ปฐมฌานจิต ๓
นัยที่ ๒ เจตสิก ๓๔ ดวง ประกอบในโลกีย ทุติยฌานจิต ๓
นัยที่ ๓ เจตสิก ๓๓ ดวง ประกอบในโลกีย ตติยฌานจิต ๓
นัยที่ ๔ เจตสิก ๓๒ ดวง ประกอบในโลกีย จตุตถฌานจิต ๓
นัยที่ ๕ เจตสิก ๓๐ ดวง ประกอบในโลกีย ปัญจมฌานจิต ๑๕

อธิบาย มหัคคตจิต ๒๗ ดวงคือ รูปาวจรจิต ๑๕ และอรูปาวจรจิต ๑๒ ด้วยอำนาจแห่งฌาน ทำให้เจตสิกที่เข้าประกอบไม่เท่ากัน จึงมีสังคหะ ๕ นัย คือ :-

- นัยที่ ๑ รูปาวจรปฐมฌานจิต ๓ มีเจตสิกประกอบ ๓๕ ดวง ได้แก่อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓)

- นัยที่ ๒ รูปาวจรทุติยฌานจิต ๓ มีเจตสิกประกอบ ๓๔ ดวง ได้แก่อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นวิตก) โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓)

- นัยที่ ๓ รูปาวจรตติยฌานจิต ๓ มีเจตสิกประกอบ ๓๓ ดวง ได้แก่อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้นวิตก วิจาร) โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓)

- นัยที่ ๔ รูปาวจรจตุตถฌานจิต ๓ มีเจตสิกประกอบ ๓๒ ดวงได้แก่อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นวิตก วิจาร, ปีติ) โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓)

- นัยที่ ๕ รูปาวจรปัญจมฌานจิต ๓, อรูปาวจรจิต ๑๒ มีเจตสิกประกอบ ๓๐ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นวิตก วิจาร, ปีติ) โสภณเจตสิก ๒๐ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓, อัปปมัญญาเจตสิก ๒)


๓. กามาวจรโสภณสังคหนัย

คาถาสังคหะ
อฏฐตุตึส สตุตตฺตึส   ทฺวยํ ฉตฺตีสกํ สุเภ
ปญฺจตฺตึส จตุตตึส   ทฺวยํ เตตุสกํ กุริเย ฯ
เตตฺตึส ปาเก ทฺวตฺตึส   ทฺวเยกตฺตึสกํ ภเว
สเหตุกามาวจร   ปุญฺญปากกุริยามเน ฯ

แปลความว่า เจตสิกธรรม ๓๘-๓๗ (๓๗ สองครั้ง) และ ๓๖ ย่อมประกอบในสเหตุกกามาวจรกุศลจิต ๘ เจตสิกธรรม ๓๕-๓๔ (๓๔ สองครั้ง) และ ๓๓ ย่อมประกอบในสเหตุกกามาวจรกิริยาจิต ๘ เจตสิกธรรม ๓๓-๓๒ (๓๒ สองครั้ง) และ ๓๑ ย่อมประกอบในสเหตุกกามาวจรวิบากจิต ๘

อธิบาย ในบรรดาสเหตุกกามาวจรกุศล, กิริยา และวิบาก หรือกามาวจรโสภณจิต ๒๔ ดวงนั้น มีสังคหะ ๑๒ นัยดังนี้คือ :-

    ๑. สเหตุกกามาวจรกุศลจิต ๔ มีสังคหะ ๔ นัย มีเจตสิกประกอบ ๓๘, ๓๗, ๓๗ และ ๓๖ ดวง
    ๒. สเหตุกกามาวจรกิริยาจิต ๔ มีสังคหะ ๔ นัย มีเจตสิกประกอบ ๓๕, ๓๔, ๓๔ และ ๓๓ ดวง
    ๓. สเหตุกกามาวจรวิบากจิต ๔ มีสังคหะ ๔ นัย มีเจตสิกประกอบ ๓๓, ๓๒, ๓๒ และ ๓๑ ดวง

๑. สเหตุกกามาวจรกุสลจิต ๔ มีสังคหะ ๔ นัยคือ :-

- นัยที่ ๑ เจตสิก ๓๔ ดวงคือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓, โสภณเจตสิก ๒๕ ที่ประกอบในมหากุศลจิตดวงที่ ๑ กับดวงที่ ๒
- นัยที่ ๒ เจตสิก ๓๗ ดวงคือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓, โสภณเจตสิก ๒๔ (เว้นปัญญาเจตสิก) ที่ประกอบในมหากุศลจิตดวงที่ ๓ กับดวงที่ ๔
- นัยที่ ๓ เจตสิก ๓๗ ดวงคือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒, (เว้นปีติเจตสิก) โสภณเจตสิก ๒๕ ที่ประกอบในมหากุศลจิตดวงที่ ๕ กับดวงที่ 5
- นัยที่ ๔ เจตสิก ๓๖ ดวงคือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติเจตสิก)โสภณเจตสิก ๒๔ (เว้นปัญญาเจตสิก) ที่ประกอบในมหากุศลจิตดวงที่ ๗ กับดวงที่ ๘

๒. สเหตุกกามาวจรกิริยาจิต ๔ มีสังคหะ ๔ นัยคือ :-

- นัยที่ ๑ เจตสิก ๓๕ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓, โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓) ที่ประกอบในมหากิริยาจิตดวงที่ ๑ กับดวงที่ ๒
- นัยที่ ๒ เจตสิก ๓๔ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓, โสภณเจตสิก ๒๑ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓, ปัญญาเจตสิก ๑) ที่ประกอบในมหากิริยาจิตดวงที่ ๓ กับดวงที่ ๔
- นัยที่ ๓ เจตสิก ๓๔ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒, (เว้นปีติเจตสิก) โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓) ที่ประกอบในมหากิริยาจิตดวงที่ ๕ กับดวงที่ ๖
- นัยที่ ๔ เจตสิก ๓๓ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติเจตสิก) โสภณเจตสิก ๒๑ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓, ปัญญาเจตสิก ๑) ที่ประกอบในมหากิริยาจิตดวงที่ ๗ กับดวงที่ ๔

๓. สเหตุกกามาวจรวิบากจิต ๔ มีสังคหะ ๔ นัยคือ :-

- นัยที่ ๑ เจตสิก ๓๓ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓, โสภณเจตสิก ๒๐ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓, อัปปมัญญาเจตสิก ๒) ที่ประกอบในมหาวิบากจิตดวงที่ ๑ กับดวงที่ ๒
- นัยที่ ๒ เจตสิก ๓๒ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓, โสภณเจตสิก ๑๙ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓, อัปปมัญญาเจตสิก ๒, ปัญญาเจตสิก ๑) ที่ประกอบในมหาวิบากจิตดวงที่ ๓ กับดวงที่ ๔
- นัยที่ ๓ เจตสิก ๓๒ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒, (เว้นปีติเจตสิก โสภณเจตสิก ๒๐ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓, อัปปมัญญาเจตสิก ๒) ที่ประกอบในมหาวิบากจิตดวงที่ ๕ กับดวงที่ ๖
- นัยที่ ๔ เจตสิก ๓๑ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติเจตสิก) โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓, อัปปมัญญาเจตสิก ๒, ปัญญาเจตสิก ๑) ที่ประกอบในมหาวิบากจิตดวงที่ ๗ กับดวงที่ ๘ รวมสังคหนัยแห่งกามาวจรจิตมี ๑๒ นัย


โสภณเจตสิกที่ไม่ประกอบกับโสภณจิตบางดวง

ในโสภณเจตสิก ๒๕ ดวงนั้น มีเจตสิกบางดวงที่ไม่อาจเข้าประกอบกับโสภณจิตบางประเภทได้ ดังคาถาสังคหะคือ :-

คาถาสังคหะ
น วิชฺชนฺเตตฺถ วิรตี   กฺริเยสุ จ มหคฺคเต
อนุตฺตเร อปฺปมญฺญา   กามปาเก ทฺวยํ ตถา ฯ

แปลความว่า ในจำนวนโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑ ดวงนั้น
มหากิริยาจิต และ มหัคคตจิต วิรตีเจตสิก ย่อมไม่ประกอบ
โลกุตตรจิต อัปปมัญญาเจตสิก ย่อมไม่ประกอบ
มหาวิบากจิต ทั้งวิรตีเจตสิก และ อัปปมัญญาเจตสิก ย่อมไม่ประกอบ

อธิบาย ในมหากิริยาจิต ๔ วิรตีเจตสิก ๓ ย่อมไม่ประกอบเลยเพราะมหากิริยาจิตเป็นจิตของพระอรหันต์ ที่ปราศจากบาปธรรมทั้งปวงแล้วจึงไม่มีกิจที่จะต้องพึงเว้นจากบาปธรรมใดๆ อีก วิรตีเจตสิกซึ่งเป็นเจตสิกที่ทำหน้าที่เว้นจากบาปธรรมทั้งกาย วาจา และอาชีพ จึงไม่ประกอบกับมหากิริยาจิต

ในมหัคคตจิต ๒๗ วิรตีเจตสิก ๓ ย่อมไม่ประกอบ เพราะมหัคคตจิตมีบัญญัติและอดีตปรมัตถ์เป็นอารมณ์กรรมฐาน ไม่ใช่มีวิรมิตัพพวัตถุเป็นอารมณ์

ในโลกุตตรจิต ๔ หรือ ๔๐ นั้น ไม่มีอัปปมัญญาเจตสิก ๒ เข้าประกอบเพราะอัปปมัญญาเจตสิก ต้องมีสัตว์เป็นอารมณ์ แต่โลกุตตรจิตนั้นมีนิพพานเป็นอารมณ์อย่างเดียว

ในมหาวิบากจิต ๘ ทั้งวิรตีเจตสิก ๓ และอัปปมัญญาเจตสิก ๒ ไม่ประกอบด้วยเลย เพราะในมหาวิบากเป็นผลของมหากุศลที่สุกแล้ว ไม่ยังวิญญัติให้เกิดคือ จะกระทำกิจเว้นหรือหามาเพิ่มเติมอีกไม่ได้ มีสภาพเป็นผลหรือเงาของกรรมเท่านั้น กรรมเป็นอย่างไร วิบากของกรรมก็ยังเป็นเงาไปฉะนั้นและไม่ได้กระทำสัตว์บัญญัติให้เป็นอารมณ์ไม่มีธรรม ๕ ประการนี้ประกอบด้วย

อนิยตโยคี และ นิยตโยคีเจตสิก

อนิยตโยคีเจตสิก คือ เจตสิกที่ประกอบกับจิตได้เป็นบางครั้งบางคราวไม่แน่นอน
นิยตโยคีเจตสิก คือ เจตสิกที่ประกอบกับจิตได้แน่นอน

คาถาสังคหะ
อิสฺสามจฺเฉรกุกฺกุจฺจ      วิรติกรุณาทโย
นานา กทาจิ มาโน จ       ถีนมิทฺธํ ตถา สห ฯ

แปลความว่า อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ วิรตีเจตสิก ๓ กับกรุณา มุทิตา รวมเจตสิก ๘ ดวงนี้ ประกอบกับจิตได้เป็นบางครั้งบางคราว และ ไม่ประกอบพร้อมกัน เรียกเจตสิกทั้ง ๘ นี้ว่า “นานากทาจิเจตสิก” มานเจตสิกก็ประกอบกับจิตเป็นครั้งคราวไม่แน่นอนจึงชื่อว่า “กทาจิเจตสิก” ถีนะมิทธะเจตสิก ๒ ดวงนี้ ประกอบกับจิตได้เป็นบางครั้งบางคราว แต่ประกอบกับจิตพร้อมกันจึงชื่อว่า “สหกทาจิ”

คาถาสังคหะ
ยถาวุตฺตานุสาเรน      เสสา นิยตโยคิโน
สงฺคหญฺง ปวกฺขามิ      เตสนฺทานิ ยถารหํ ฯ

แปลความว่า เจตสิก ๔๑ ดวงที่เหลือจาก ๑๑ ดวง ดังกล่าวแล้วนั้นเป็นเจตสิกที่ประกอบกับจิตได้แน่นอน จึงชื่อว่า “นิยตโยคีเจตสิก”

อธิบาย
เจตสิกปรมัตถ์มี ๕๒ ดวง เมื่อกล่าวโดยประกอบกับจิตแล้วจําแนกได้เป็น ๒ ประเภท คือ
    ๑. อนิยตโยคีเจตสิก ๑๑ ดวง
    ๒. นิยตโยคีเจตสิก ๔๑ ดวง

๑. อนิยตโยคีเจตสิก 

เป็นเจตสิกที่ประกอบกับจิตได้ในบางครั้งบางคราวไม่แน่นอน ได้แก่ เจตสิก ๑๑ ดวง คือ :-

  • มานะ ๑ ดวง
  • อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ ๓ ดวง
  • ถีนะ มิทธะ ๒ ดวง
  • สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ ๓ ดวง
  • กรุณา มุทิตา ๒ ดวง

เจตสิกทั้ง ๑๑ ดวงนี้ที่ประกอบจิตได้เป็นครั้งคราวไม่แน่นอนนั้นหมายความว่า เจตสิกเหล่านี้กำหนดไว้ว่า สามารถประกอบกับจิตดวงใดได้บ้าง และเมื่อจิตดวงนั้นเกิดขึ้น บางครั้งเจตสิกเหล่านี้ก็ประกอบ บางครั้งก็ไม่เข้าประกอบ ฉะนั้น จึงกล่าวว่า ประกอบเป็นครั้งคราวไม่แน่นอน และในกลุ่มอนิยตโยคีเจตสิก ๑๑ ดวงนี้ ยังจำแนกออกไปเป็น ๓ จำพวก ตามลักษณะการประกอบกับจิต คือ :-

    🔅 นานากทาจิเจตสิก มี ๘ ดวง คือ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ (โลกิยวิรตี ๓) กรุณา มุทิตา เจตสิก ๘ ดวงนี้ ประกอบกับจิตได้เป็นครั้งคราวไม่แน่นอน และไม่ประกอบพร้อมกันด้วย แม้ว่า อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ จะอยู่ในกลุ่มของโทจตุกเจตสิกด้วยกัน หรือแม้สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะจะเป็นวิรตีเจตสิก (โลกียวิรตี) ด้วยกัน หรือ กรุณา มุทิตา จะเป็นอัปปมัญญาเจตสิกด้วยกัน แต่ขณะประกอบกับจิตนั้น ย่อมไม่ประกอบพร้อมกัน เพราะว่าอารมณ์เป็นขอบเขตจำกัดโดยเฉพาะ การประกอบได้เป็นครั้งคราว และไม่ประกอบพร้อมกันของเจตสิกนี้ จึงชื่อว่า “นานากทาจิเจตสิก”

    🔅 กทาจิเจตสิก มี ๑ ดวง ได้แก่ มานเจตสิก เพราะมานเจตสิกเป็นเจตสิกดวงเดียวในกลุ่มโลติกเจตสิก (โลภะ ทิฏฐิ มานะ) ที่เป็นอนิยตโยคีเจตสิก ฉะนั้นการประกอบกับจิตได้ไม่แน่นอนของเจตสิกดวงเดียวนี้จึงชื่อว่า “กทาจิเจตสิก”

    🔅 สหกทาจิเจตสิก มี ๒ ดวง ได้แก่ ถีนะ มิทธะ เจตสิก ๒ ดวงนี้ประกอบกับจิตได้เป็นครั้งคราว แต่ประกอบพร้อมกันทั้ง ๒ ดวง จึงชื่อว่า “สหกทาจิเจตสิก”

แสดงการประกอบของอนิยตโยคีเจตสิก

อนิยตโยคีเจตสิกที่ประกอบกับจิตได้เป็นครั้งคราวไม่แน่นอนนั้นเพราะเจตสิกเหล่านี้มีอารมณ์จำกัดขอบเขตไว้โดยเฉพาะจึงจะเกิดขึ้นได้ ไม่ใช่ประกอบกับจิตได้ทั่วไป ดังกำหนดไว้ กล่าวคือ

มานเจตสิก ที่กำหนดว่า ประกอบกับทิฏฐิคตวิปปยุตจิต ๔ ดวงนั้นย่อมประกอบได้ไม่แน่นอน หมายความว่า ถ้าเวลาใดทิฏฐิคตวิปปยุตจิตเกิดขึ้นโดยสภาวะที่ถือตัวคือ อหํคาห เวลานั้นมานเจตสิกก็ประกอบ แต่ถ้าเวลาใดทิฏฐิคตวิปปยุตจิตเกิดขึ้นโดยไม่เกี่ยวกับความถือตัว เวลานั้นมานเจตสิกก็ไม่ประกอบ จึงนับว่า มานเจตสิกย่อมประกอบเป็นครั้งคราว จัดเป็นกทาจิเจตสิก

อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ เจตสิก ๓ ดวงนี้ กำหนดว่าประกอบกับ โทสมูลจิต ๒ ดวงนั้น ย่อมประกอบได้ไม่แน่นอนและประกอบได้ไม่พร้อมกัน ที่ประกอบได้ไม่แน่นอนนั้น หมายความว่า เวลาใดที่โทสมูลจิตเกิดขึ้นโดยไม่มีความอิจฉาริษยา ตระหนี่ หรือรำคาญใจอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นอารมณ์ คงมีแต่โทสมูลจิตเกิดขึ้นจากอารมณ์อย่างอื่น เวลานั้นเจตสิกทั้ง ๓ ดวงไม่ได้ประกอบกับโทสมูลจิตเลย คงมีแต่โทสเจตสิกในกลุ่มของโทจตุกเจตสิกประกอบอย่างเดียวเท่านั้น แต่ถ้าเวลาใดโทสมูลจิตเกิดขึ้น โดยมีความริษยาคุณความดีของผู้อื่นเป็นอารมณ์แล้ว เวลานั้นโทสมูลจิตเกิดขึ้นโดยมีอิสสาเจตสิกเข้าประกอบด้วย แต่มัจฉริยะและกุกกุจจะย่อมไม่เข้าประกอบ หรือถ้าเวลาใดจิตเกิดขึ้น โดยมีความตระหนี่สมบัติของตนเป็นอารมณ์เวลานั้นโทสมูลจิตก็มีมัจฉริยเจตสิกเข้าประกอบ แต่อิสสาและกุกกุจจะย่อมไม่เข้าประกอบ หรือเวลาใดโทสมูลจิตเกิดขึ้นโดยมีความรำคาญใจในทุจริตที่ได้ทำไปแล้ว หรือในสุจริตที่ยังไม่ได้ทำ เวลานั้นโทสมูลจิตก็มีกุกกุจจเจตสิกเข้าประกอบ แต่อิสสาและมัจฉริยะย่อมไม่เข้าประกอบด้วย

ถีนมิทธเจตสิก เจตสิกทั้ง ๒ ดวงนี้ กำหนดว่าประกอบกับอกุศลสสังขาริกจิต ๕ ดวงนั้น ก็ประกอบได้ไม่แน่นอน เพราะถ้าเวลาใดอกุศลสสังขาริกจิตเกิดขึ้นก็จริง แต่จิตนั้นยังเข้มแข็งอยู่ไม่หดหู่ท้อถอยจากอารมณ์เวลานั้นถีนมิทธเจตสิกก็ไม่เข้าประกอบ แต่เมื่ออกุศลสสังขาริกจิตเกิดขึ้นแล้วมีความไม่เข้มแข็งท้อถอยจากอารมณ์เวลาใด เวลานั้นถีนมิทธเจตสิกก็เข้าประกอบ และการประกอบของถีนมิทธเจตสิก ๒ ดวงนี้ ย่อมเข้าประกอบพร้อมกันเสมอ

วิรตีเจตสิก ๓ ดวงคือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ เป็นเจตสิกที่ประกอบกับจิต ๑๖ หรือ ๔๘ ดวง ที่ว่าเป็นอนิยตโยคีเจตสิกจำพวกนานากทาจินั้น มุ่งหมายเอาโลกียวิรตีเจตสิกคือ วิรตีเจตสิกที่ประกอบกับมหากุศลจิต ๘ ดวงนั้น ส่วนโลกุตตรวิรตีคือ วิรตีเจตสิกที่ประกอบกับโลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ นั้นเป็น นิยตเอกโตเจตสิก คือเจตสิกที่ประกอบได้แน่นอนและพร้อมกันเสมอ ดังที่พระอนุรุทธาจารย์แสดงว่า

วิรตโย ปน ติสฺโสปิ โลกุตตรจิตฺเตสุ สพฺพณปินิยตา เอกตโว ลพฺภนฺติ ฯ
โลกิเยสุ ปน กามาวจรกุสเลเสฺวว กทาจิ สนฺทิสฺสนฺติ วิสุ วิสุํ ฯ


แปลความว่า วิรตีเจตสิก ๓ ดวงนั้น เมื่อประกอบกับโลกุตตรจิต ย่อมประกอบได้แน่นอนและพร้อมกัน (นิยตเอกโต) ในฐานะกระทำหน้าที่ประหารทุจริต ทุราชีวะเป็นสมุจเฉท แต่เมื่อประกอบกับโลกียจิต คือมหากุศลจิตนั้น ย่อมประกอบได้เป็นบางครั้งบางคราว และประกอบไม่พร้อมกัน

การที่วิรตีเจตสิก ๓ ดวง ประกอบในมหากุศลจิตได้ไม่แน่นอน และไม่พร้อมกันนั้น เพราะถ้าเวลาใดมหากุศลจิตเกิดขึ้นโดยอาศัยสัทธา สติ ปัญญา เมตตา กรุณา มิได้เกี่ยวกับการเว้นทุจริต ทุราชีวะ เวลานั้นมหากุศลจิตที่เกิดขึ้นนั้นก็มิได้มีวิรตีเจตสิกประกอบด้วยเลย แต่ถ้าเวลาใดมหากุศลจิตเกิดขึ้นโดยการเว้นวจีทุจริต ๔ ที่ไม่เกี่ยวกับอาชีพ เวลานั้นมหากุศลจิตที่เกิดขึ้นก็ประกอบด้วยสัมมาวาจาเจตสิก แต่สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะไม่เข้าประกอบ ถ้าเวลาใดมหากุศลจิตเกิดขึ้นโดยการเว้นกายทุจริต ๓ อันไม่เกี่ยวกับอาชีพ เวลานั้นมหากุศลจิตเกิดขึ้นก็ประกอบด้วยสัมมากัมมันตเจตสิก แต่สัมมาวาจาและสัมมาอาชีวะไม่เข้าประกอบ ถ้าเวลาใดมหากุศลจิตเกิดขึ้นโดยการเว้นกายทุจริต ๓ วจีทุจริต ๔ ในการประกอบอาชีพการงานเวลานั้นมหากุศลจิตเกิดขึ้นจะประกอบด้วยสัมมาอาชีวเจตสิก แต่ส่วนสัมมาวาจาและสัมมากัมมันตะไม่ได้เข้าประกอบด้วย

อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ดวงคือ กรุณา และมุทิตา เป็นเจตสิกที่ประกอบได้ในจิต ๒๘ ดวงไม่แน่นอนนั้น เพราะเวลาใดมหากุศลจิตเกิดขึ้น โดยอาศัย สัทธา สติ ปัญญา สัมมาวาจา เป็นต้น ไม่ได้เกี่ยวกับความรู้สึกสงสารสัตว์หรือยินดีสัตว์มีสุขแล้ว เวลาที่มหากุศลจิตนั้นเกิดขึ้นก็ไม่มี อัปปมัญญาเจตสิกประกอบร่วมด้วยเลย หรือเวลาใดที่พระโยคาวจรเจริญฌานโดยอาศัยกสิณเป็นกรรมฐานจนรูปาวจรฌานจิตเกิด เวลานั้นไม่ได้อาศัยสัตวบัญญัติกรรมฐาน อัปปมัญญาเจตสิกก็ไม่เข้าประกอบ แต่ถ้าเวลาใดมหากุศลจิต มหากิริยาจิต หรือรูปาวจรฌานจิต เกิดขึ้นโดยอาศัยทุกขิตสัตวบัญญัติเป็นอารมณ์ หรือเป็นกรรมฐาน เวลานั้นกรุณาเจตสิกย่อมเข้าประกอบกับจิต ๒๘ คือมหากุศลจิต ๘ มหากิริยาจิต ๘ และรูปาวจรฌานจิต ๑๒ (เว้นรูปาวจรปัญจมฌานจิต ๓) มุทิตาเจตสิกไม่ได้เข้าประกอบด้วย แต่ถ้าเวลาใดจิต ๒๘ ดวงนั้น มีสุขิตสัตวบัญญัติเป็นอารมณ์ หรือเป็นกรรมฐานแล้ว มุทิตาเจตสิกจึงเข้าประกอบกับจิต ๒๘ ดวงดังกล่าวนั้น แต่กรุณาเจตสิกหาประกอบด้วยไม่ อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ดวงนี้จึงประกอบกับจิตได้เป็นครั้งคราว และประกอบไม่พร้อมกันด้วย จึงชื่อว่า นานากทาจิเจตสิก


๒. นิยตโยคีเจตสิก 

ได้แก่ เจตสิกที่เหลือจากอนิยตโยคีเจตสิกอีก ๔๑ ดวงคือ :-

  • สัพพจิตตสาธารณเจตสิก  ๗
  • ปกิณณกเจตสิก  ๖ ดวง
  • โมจตุกเจตสิก  ๔ ดวง
  • โลภเจตสิก ๑ ดวง
  • ทิฏฐิเจตสิก ๑ ดวง
  • โทสเจตสิก ๑ ดวง
  • วิจิกิจฉาเจตสิก ๑ ดวง
  • โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวง
  • ปัญญาเจตสิก ๑ ดวง

แสดงการประกอบของนิยตโยคีเจตสิก

เจตสิกทั้ง ๔๑ ดวงนี้ย่อมประกอบกับจิตที่ประกอบได้ตามกำหนดไว้โดยแน่นอนเสมอ กล่าวคือ เวลาใดจิต ๘๙ หรือ ๑๒๑ เกิดขึ้น เวลานั้น สัพพจิตตสาธารณเจตสิกย่อมเข้าประกอบด้วยแน่นอนเสมอ

- เวลาใดจิต ๕๕, ๖๖, ๗๘ (๑๑๐), ๗๓ (๑๐๕), ๕๑, ๖๙ (๑๐๑) เกิดขึ้นเวลานั้น ปกิณณกเจตสิก คือวิตก วิจาร อธิโมกข์ วิริยะ ปิติ ฉันทะ ย่อมเข้าประกอบจิตตามลำดับนั้นโดยแน่นอนเสมอ
- เวลาใดอกุศลจิต ๑๒ เกิดขึ้น เวลานั้น โมจตุกเจตสิก คือโมหะ อหิริกะ อโนตตัปปะ อุทธัจจะ ย่อมเข้าประกอบกับจิตนั้นโดยแน่นอนเสมอ
- เวลาใดโลภมูลจิต ๘ เกิดขึ้น เวลานั้น โลภเจตสิก ย่อมเข้าประกอบกับโลภมูลจิตนั้นโดยแน่นอนเสมอ
- เวลาใดทิฏฐิคตสัมปยุตจิต ๔ ดวงเกิดขึ้น เวลานั้น ทิฏฐิเจตสิกย่อมเข้าประกอบกับจิตนั้นด้วยแน่นอนเสมอ
- เวลาใดโทสมูลจิต ๒ ดวงเกิดขึ้น เวลานั้น โทสเจตสิก ย่อมเข้าประกอบกับจิตนั้นด้วยแน่นอนเสมอ
- เวลาใดวิจิกิจฉาสัมปยุตจิตเกิดขึ้น เวลานั้น วิจิกิจฉาเจตสิก ย่อมเข้าประกอบกับจิตนั้นด้วยโดยแน่นอนเสมอ
- เวลาใดโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑ เกิดขึ้น เวลานั้น โสภณสาธารณเจตสิกย่อมเข้าประกอบกับโสภณจิตนั้นด้วยโดยแน่นอนเสมอ
- เวลาใดญาณสัมปยุตจิต ๔๗ หรือ ๗๙ เกิดขึ้น เวลานั้น ปัญญาเจตสิกย่อมเข้าประกอบกับจิตนั้นด้วยโดยแน่นอนเสมอ

ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า เจตสิก ๔๑ ดังกล่าวเป็นนิยตโยคีเจตสิก คือเจตสิกที่ประกอบกับจิตได้แน่นอนเสมอ อนึ่งวิรตีเจตสิก ๓ ดวงถ้าประกอบกับโลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ ก็ชื่อว่าเป็นนิยตโยคีเจตสิกเหมือนกัน แต่จัดเป็นนิยตโยคีเจตสิกพิเศษที่ประกอบกับจิตโดยแน่นอน และประกอบพร้อมกันเสมอ เรียกว่า “นิยตเอกโตเจตสิก”

วิกิ

ผลการค้นหา