สัปปาณวรรคที่ ๗

ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท จัดเป็น ๙ วรรค

        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)

สัปปาณวรรคที่ ๗ มี ๑๐ สิกขาบท ดังนี้
๑. สัญจิจจปาณสิกขาบท
ความว่า ภิกษุแกล้งฆ่าสัตว์ดิรัจฉานให้ตายลงด้วยตามเจตนา ไม่เลือกว่าสัตว์เล็กใหญ่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์โดยโทษนี้ล่วงพระพุทธบัญญัติ แต่จะมีโทษน้อยมากนั้นเป็นตามโทษที่โลกจะพึงเว้นโดยธรรมดา

๒. สัปปาณสิกขาบท
ความว่า ภิกษุได้รู้เห็นหรือรังเกียจว่าน้ำมีตัวสัตว์เป็น ก็มิได้กรองให้บริสุทธิ์ก่อน ฝ่าฝืนบริโภคบ้วนปากล้างหน้า เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๓. อุกโกฏนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุรู้ว่าสังฆกรรมมีอธิกรณ์ อันพระสงฆ์ได้ชำระเสร็จแล้วโดยเป็นธรรมและมาเลิกถอนกรรมนั้นเสีย โต้แย้งว่าพระสงฆ์ทำไม่เป็นธรรม เพื่อจะทำใหม่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๔. ทุฏฐลลปฏิจฉาทสิกขาบท
ความว่า ภิกษุเมื่อรู้อาบัติชั่วหยาบของภิกษุอยู่เต็มใจ คือรู้ว่าภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว ช่วยคิดปิดบัง เอื้อนอำอาบัติของภิกษุนั้นไว้ไม่ให้แพร่งพราย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุฏฐุลลาบัติในสิกขาบทนี้ เฉพาะแต่สังฆาทิเสสอย่างเดียว

๕. อนวีสติสิกขาบท
ความว่า ภิกษุเมื่อรู้ว่ากุลบุตรมีอายุยังไม่ครบ ๒๐ ปี ทั้งนับในครรภ์และให้อุปสมบท ยกเป็นภิกษุขึ้นด้วย🔎ญัตติจตุตถกรรม(๗๑)วาจา พระอุปัชฌาย์ต้องอาบัติปาจิตตีย์ พระอาจารย์ผู้สวดกรรมวาจา ทั้งคณะสงฆ์ต้องอาบัติทุกกฏทุกรูปด้วยกัน ผู้อุปสมบทนั้นก็หาเป็นภิกษุไม่ เป็นแต่เพียงสามเณรเท่านั้น

๖. เถยยสัตถสิกขาบท
ความว่า ภิกษุได้รู้ได้เห็นว่าพวกหมู่โจรที่คอยปล้นตีชิง หรือหมู่พ่อค้าจะบังของต้องห้ามข้ามด่านข้าม🔎ขนอน(๗๒)รู้ว่าเป็นคนร้ายอยู่เต็มใจและได้ชักชวนพวกโจรหรือพ่อค้านั้นเป็นเพื่อนเดินทางไกลไปด้วยกัน พอล่วงระยะบ้านหนึ่งเป็นที่สุด ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๗. มาตุคามสังวิธานสิกขาบท
ความว่า ภิกษุชักชวนมาตุคามหรือหญิงมนุษย์เป็นเพื่อนเดินทางไกลไปด้วยกัน พอล่วงระยะบ้านหนึ่งเป็นที่สุด ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๘. อริฏฐสิกขาบท
ความว่า ภิกษุเกิดทิฏฐิผิดคิดเห็น🔎วิปลาส(๗๓) พึงติเตียนพระพุทธศาสนา “ธรรมวินัยเหล่าใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นธรรม ทำอันตรายแก่ผู้ที่ต้องเสพ โดยที่จริงธรรมวินัยเหล่านั้นไม่ทำอันตรายแก่ใครได้ หาเป็นจริงดังพระองค์ตรัสไว้ไม่” เมื่อเธอมีทิฏฐิผิดกล่าวตู่พระพุทธเจ้าดังนี้ ภิกษุทั้งหลายพึงทักท้วงว่ากล่าวสั่งสอน จะให้ละความที่ถือผิดนั้นเสีย ยังกล่าวแข็งขึ้นดื้อดึงอยู่อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลายพึ่งพาไปยังท่ามกลางสงฆ์ แล้วสวดสมนุภาสน์ประกาศโทษจนจบกรรมวาจาที่ ๓ ลง ถ้าเธอยังไม่ละความถือผิดนั้น
เสียได้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๙. อุกจิตตสัมโภคสิกขาบท
ความว่า ภิกษุได้รู้เห็นว่าภิกษุอันกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า พระสงฆ์ได้สวดสมนุภาสน์ ประกาศโทษแล้ว ยังหาละทิฏฐิผิดเสียไม่ก็สมโภคคบหาร่วมกินร่วมอาวาสอยู่หลับนอนด้วยกัน ภิกษุผู้คบนั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์

๑๐. นาสิตสิกขาบท
ความว่า สมณเทศ คือสามเณรอันจวนจะได้อุปสมบท หากกล่าวติเตียนพระพุทธวจนะ ดังที่ภิกษุกล่าวแล้วในสิกขาบทที่ ๘ นั้น ภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวสั่งสอนแล้ว ก็ยังหาละทิฏฐินั้นเสียไม่ จึงให้ฉิบหายเสียจากเพศสมณะขับไล่ไปเสียแล้ว ภิกษุรูปใด เมื่อรู้แล้วก็ยังชักโขงเล้าโลมสมณเทศนั้นมาไว้ให้ปฏิบัติอยู่กินหลับนอนในสำนักตน ภิกษุนั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์

จบสัปปาณวรรค ๑๐ สิกขาบท เท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗

สุราปานวรรคที่ ๖

 ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท จัดเป็น ๙ วรรค

        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)

สุราปานวรรคที่ ๖ มี ๑๐ สิกขาบท ดังนี้
๑. สุราปานสิกขาบท
ความว่า ภิกษุรู้ก็ดี ไม่รู้ก็ดี ดื่มสุราคือน้ำเหล้าที่กลั่นด้วยข้าวสุกและแป้งเป็นต้น และดื่มกินเมรัย คือน้ำเมาที่ดองด้วยน้ำรสดอกไม้ลูกไม้เป็นต้น ให้ล่วงลำคอลงไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๒. อังคุลิปโตทุกสิกขาบท
ความว่า ภิกษุคิดจะเย้าหยอกหัวเราะเล่นงี้แหย่ กระทบกระทั่งเย้าหยอกภิกษุที่รักแร้และสะเอวเป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าจี้สามเณรหรือคฤหัสถ์ เป็นอาบัติทุกกฏ

๓. อุทกหัสสธัมมสิกขาบท
ความว่า ภิกษุเล่นน้ำดำผุดดำว่าย เผ่น โลด โดด เล่นเป็นการคะนอง ตั้งแต่น้ำท่วมข้อเท้าเป็นต้นไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๔. อนาทริยสิกขาบท
ความว่า ภิกษุมิได้เอื้อเฟื้อต่อพระวินัยสิกขาบท ครั้นภิกษุอื่นสอนก็แสดงกายวาจาให้ผู้สอนรู้ว่าไม่ปรารถนาจะได้ยินได้ฟัง ไม่ปฏิบัติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๕. ภิงสาปนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุแกล้งหลอนหลอกภิกษุด้วยรูป รส กลิ่น เสียง และจับต้องให้ตกใจต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าหลอนหลอกสามเณรหรือคฤหัสถ์ต้องอาบัติทุกกฏ

๖. โชติสมาทหนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุมิได้เจ็บไข้ก่อไฟขึ้นผิงเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นก่อขึ้นให้ตนก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นแต่ติดไฟด้วยกิจอื่น ๆ คือจะต้มน้ำและรมบาตรเป็นต้น ดังนี้ผิงก็ไม่เป็นอาบัติ ถ้าหนาวนักเหลือทนก็นับว่าเป็นไข้ ก่อไฟผิงก็ไม่มีโทษ

๗. นหานสิกขาบท
ความว่า ภิกษุอยู่ในมัชฌิมประเทศเขตโสฬสชนบท ยังไม่ถึงกึ่งเดือนอาบน้ำหรือทา🔎จุณ(๖๘) อันละลายน้ำ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นแต่สมัย ๖ คือ
        อุณหสมัย ตั้งแต่เดือน ๗ ไปจนถึงเพ็ญเดือน ๘ จัดเป็นคราวร้อน ๑
        ปริฬาหสมัย ตั้งแต่แรมเดือน ๘ ไปถึงเพ็ญเดือน ๙ จัดเป็นคราวกระวนกระวาย ๑
        คิลานสมัย คราวเจ็บไข้ ๑
        กัมมสมัย คราวเมื่อทำการงาน ๑
        อัทธานคมนสมัย คราวเมื่อเดินทางไกลตั้งแต่กึ่งโยชน์ขึ้นไป ๑
        วาตวุฏฐิสมัย คราวเมื่อต้องลมฝนธุลีต้องกาย ๑
ทั้ง ๖ สมัยนี้อาบน้ำได้ สิกขาบทนี้ห้ามแต่ในมัชฌิมประเทศ พ้นเขตนั้นเช่นสยามประเทศนี้อาบน้ำได้ทุกวัน ไม่เป็นอาบัติ

๘. ทุพพัณณกรณสิกขาบท
ความว่า ภิกษุได้จีวรมาใหม่ เมื่อจะนุ่งห่ม จึงทำพินทุกัปปะ คือจุดวงกลมลงที่มุมผ้าด้วยสี ๓ อย่าง คือสีเขียว ๑ สีดำคล้ำ ๑ สีตม ๑ เพื่อจะให้เสียสี เขียนเป็นวงเป็น🔎วินัยกรรม(๖๙) ๕ ว่า “อิมพินทุกปุป กโรมิ” ดังนี้ก่อนจึงนุ่งห่ม จุดวงขนาดใหญ่ให้เท่าวงหน่วยตานกยูง จุดวงขนาดเล็กให้เท่าหลังตัวเรือดก็ได้ ถ้าไม่จุดวงเป็นวินัยกรรมก่อน เอาผ้ามานุ่งห่ม ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๙. อปัจจุทธารกสิกขาบท
ความว่า ภิกษุวิกัปจีวรไว้แก่ภิกษุหรือนางภิกษุณี นางสิกขมานา สามเณร นางสามเณรี ด้วยตนเองแล้ว เมื่อจะคืนเอามาเป็นของตนนั้น มิให้ผู้รับวิกัปทำวินัยกรรมถอนคืนให้ก่อน เอาผ้านั้นมานุ่งห่ม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าคิดว่ายืมเอามานุ่งห่มก่อนตามความคุ้นเคยกัน ไม่เป็นอาบัติ

๑๐. อปนีธานสิกขาบท
ความว่า ภิกษุคิดจะหยอกเย้าเพื่อนกัน หัวเราะเล่น แกล้งซ่อนบาตรหรือจีวร ผ้ารองนั่ง กล่องเข็ม 🔎สายกายพันธน์(๗๐) ของภิกษุเพื่อนกันไว้ก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นซ่อนก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าซ่อนของสิ่งอื่นนอกจากบริขาร ๕ สิ่งนั้น เป็นอาบัติทุกกฏ

จบสุราปานวรรค ๑๐ สิกขาบท ดังนี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗

อเจลกวรรคที่ ๕

ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท จัดเป็น ๙ วรรค

        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)

อเจลกวรรคที่ ๕ มี ๑๐ สิกขาบท ดังนี้
๑. อเจลกสิกขาบท
ความว่า ภิกษุหยิบยกของบริโภคอื่นส่งให้แก่ชีเปลือยหรือปริพาชกชายหญิง อันบวชมิได้มีลัทธิเฉพาะพระพุทธศาสนาด้วยมือตนเอง แม้ถึงบิดามารดาของตนอันบวชในลัทธิเช่นนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๒. อุยโยชนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุได้ชักชวนภิกษุด้วยกันเป็นเพื่อนพากันเที่ยวบิณฑบาตในบ้านหรือนิคมใด ๆ ได้ให้ทายกให้บิณฑบาตหรือไม่ได้ให้แก่ภิกษุนั้นก็มิได้ว่า แต่ภิกษุผู้ชักโยงนั้นปรารถนาจะใครลอบล่วงสิกขาบท กลัวจะเป็นสิ่งกีดขวาง จึงขับส่งเสียว่า “ท่านจงไปให้พ้นเราเถิด เราเจรจากับท่านหรือนั่งกับท่านไม่เป็นความสบาย เราชอบจะอยู่แต่ผู้เดียวจึงจะสบาย” ภิกษุที่ถูกขับพอไปลับฝาหรือล่วงอุปจาร ๑๒ ศอก ภิกษุขับต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าขับส่งให้คืนกลับด้วยธุระอื่น ๆ มิได้เป็นอาบัติ

๓. สโภชนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุเข้าไปในตระกูลเดินตรงจู่โจมเข้าไปนั่งในเรือนเป็นที่นอน มีชนสองผัวเมียเขาเชยชมกันอยู่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๔. ปฐมรโหนิสสัชสิกขาบท
ความว่า ภิกษุนั่งกับมาตุคาม คือหญิงมนุษย์ตั้งแต่เด็กแรกคลอดขึ้นไป ในที่ลับตา ฝากั้น ม่านกั้น ประตูบัง ไม่มีผู้ชายอยู่เป็นเพื่อนด้วย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แม้ว่าหญิงสักร้อยสักพันคนก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์ถึงร้อยถึงพันคนเท่าตัวหญิงนั้น

๕. รโหนิสัชชสิกขาบท
ความว่า ภิกษุนั่งอยู่กับหญิงมนุษย์อันรู้ความสองต่อสองในที่แจ้ง ไม่มีเครื่องกั้นบังกลางวัด กลางนอกชานบ้านไม่มีใคร ๆ แลเห็นเป็นเพื่อน ๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๖. จาริตตสิกขาบท
ความว่า ภิกษุรับนิมนต์ของทายกไว้แล้ว ไม่บอกกล่าวอำลาภิกษุอันมีอยู่ที่ควรจะอำลาได้ ฉันแล้วก็ดี ยังไม่ฉันก็ดี ในเวลาเช้าชั่วเที่ยง ถ้าไปสู่ตระกูลอื่นนอกจากตระกูลที่นิมนต์นั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่สมัยทั้ง ๒ คือคราวเมื่ออยู่จำพรรษาแล้ว คุ้มได้ถึงเพ็ญเดือน ๑๒ ชื่อว่าจีวรทานสมัย ๑ คือคราวเมื่อกรานกฐินอนุโมทนาแล้ว คุ้มได้ถึงเพ็ญเดือน ๔ ชื่อว่าจีวรกาลสมัย ๑ ถ้าไม่ได้เข้าปุริมพรรษา หรือขาดพรรษาไซร้ ไม่มีคราวที่จะคุ้มอาบัติได้เลย

๗. มหานามสิกขาบท
ความว่า ภิกษุมิได้เจ็บไข้จะขอยาและเครื่องยาในที่ปวารณาไว้แก่สงฆ์ได้แต่ภายใน ๔ เดือน ถ้าพ้น ๔ เดือนไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์เว้นแต่ทายกปวารณาใหม่ขอได้อีก ๔ เดือน ถ้าปวารณาจะถวายเป็นนิจ ก็ขอได้เป็นนิจไป ไม่ต้องห้าม

๘. อุยยุตตสิกขาบท
ความว่า ภิกษุมุ่งจิตคิดจักใครไปดูขบวนเสนายกทัพไปสู่สงครามไปถึงยุทธภูมิ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ไปด้วยการอื่น ไปประจวบเฉพาะเข้าเอง ไม่มีโทษ

๙. เสนาวาสสิกขาบท
ความว่า ภิกษุมีเหตุที่จะไปด้วยหมู่เสนา ซึ่งอาศัยอยู่ในหมู่เสนาได้เพียงสองสามราตรี ถ้าอยู่เกินขึ้นไปถึงเวลาค่ำคืนที่ ๔ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๑๐. อุยโยธิกสิกขาบท
ความว่า เมื่อภิกษุอาศัยอยู่ในหมู่เสนาที่ตั้งชุมนุมอยู่ภายในสองสามราตรีนั้นถ้าไปดูเขารบกัน หรือไปดูเขาตรวจพล หรือไปดูขบวนพยุหทัพ ขบวนจตุรงค์ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

จบอเจลกวรรค ๑๐ สิกขาบท เท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗

โภชนวรรคที่ ๔

ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท จัดเป็น ๙ วรรค

        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)

โภชนวรรคที่ ๔ มี ๑๐ สิกขาบท ดังนี้
๑. โภชนสิกขาบท
ความว่า โภชนะของกินทายก
ตั้งไว้ในโรงทาน อุทิศทั่วไปแก่บรรพชิตและคฤหัสถ์มิได้เลือกหน้า ภิกษุไม่เป็นไข้ยังจะเดินทางไปถึงกึ่งโยชน์ได้ พึงฉันได้แต่เพียงวันเดียว ถ้าไปฉันเรียงวันเป็นสองวันต้องอาบัติปาจิตตีย์

๒. คณโภชนสิกขาบท
ความว่า ทายกไปนิมนต์
ภิกษุในอาวาสเดียวกันตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ออกชื่อโภชนะว่า นิมนต์ไปกินข้าว กินเนื้อ กินปลา หรือนิมนต์ด้วยภาษาต่าง ๆ ซึ่งเป็นโวหารคฤหัสถ์ ภิกษุไปรับโภชนะนั้นมาฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่สมัย ๗ ประการคือ
        เป็นไข้ ๑
        อยู่จำพรรษาแล้ว ตั้งแต่ออกพรรษาจน
ถึงเพ็ญเดือนสิบสอง ๑
        กรานกฐินแล้วไปถึงเพ็ญเดือน
สี่ ๑
        เดินทางไกลตั้งแต่กึ่งโยชน์ขึ้นไป ๑
        ไปทางเรือ ๑
        เป็นคราวประชุมใหญ่ ๑
        เป็นคราวสมณะต่างพวกต่าง
หมู่มานิมนต์ ๑
ถ้าได้ ๗ สมัยนี้แต่อย่างหนึ่งอย่างใด
ฉันได้ ไม่มีโทษ

๓. ปรัมปรโภชนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุรับนิมนต์
ฉันเช้าของทายกไว้แล้ว รุ่งเช้าฉันโภชนะอื่น ๆ เสียก่อนแล้วจึงไปฉันที่นิมนต์นั้นต่อภายหลัง ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่สมัย ๓ ประการ คือ
        เป็นไข้ ๑
        จำพรรษาแล้ว
คุ้มได้หนึ่งเดือน ๑
        กรานกฐินแล้วคุ้มได้สี่เดือน ๑

๔. กาณมาตาสิกขาบท
ความว่า ภิกษุไปเที่ยว
บิณฑบาต มีตระกูลทายกชายหญิงนำเอาขนมหรือข้าวสัตตุของกินต่าง ๆ อันทำไว้เพื่อเป็นเสบียงหรือเป็นของฝากมาปวารณาถวายให้พอตามประสงค์ ภิกษุพึงรับได้เพียงเต็ม ๓ บาตร พอเสมอขอบบาตร อย่าให้พูนล้นขอบปากบาตรขึ้นไป ถ้ารับเกิน ๓ บาตรแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้ารับถึง ๓ บาตร นำมาแล้วจึงเอาไว้เป็นของตนแต่บาตรเดียว เหลือนั้นแจกเฉลี่ยไปให้ทั่วแก่ภิกษุ ถ้าไม่แบ่งปัน ต้องวัตตเภททุกกฏ

๕. ปวาริตสิกขาบท
ความว่า ภิกษุฉันโภชนะ
สิ่งหนึ่งสิ่งใดค้างอยู่ มีทายกนำเอาสิ่งของมาเพิ่มเติม ถ้าห้ามว่าพอแล้วดังนี้ ก็เป็นอันชื่อว่าห้ามภัตรแล้ว เมื่อลุกขึ้นพ้นจากที่นั่งฉันไปแล้ว ฉันไม่ได้อีกในวันนี้ ถ้าฉันโภชนะสิ่งใดสิ่งหนึ่งอีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๖. ทุติยปวารณาสิกขาบท
ความว่า ภิกษุรู้ว่าภิกษุ
อื่นฉันโภชนะแล้ว ห้ามภัตรแล้ว คิดจะติเตียนยกโทษโจทก์ด้วยอาบัติ แกล้งเอาขนมของกินหรือข้าวสุกมาปวารณาแค่นขึ้นให้ฉันอีก ภิกษุนั้นฉันอีกเมื่อไร ภิกษุผู้แค่นขึ้นให้ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๗. วิกาลโภชนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุฉันโภชนะ
และขนมของฉันต่าง ๆ ในวิกาล คือเวลาล่วงเที่ยงวันไปจนรุ่งอรุณ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ สิกขาบทนี้เป็น🔎อจิตตกะ(๖๗) ถ้าล่วงเวลาถึงไม่แกล้งฉันก็ไม่พ้นโทษ เมล็ดข้าวสุก ชิ้นเนื้อ ชิ้นปลาติดฟันถึงเวลาบ่าย รสข้าวสุกของกินนั้นจะระคนด้วยเขฬะกลืนล่วงลำคอลงไป คงเป็นวิกาลโภชนะ ฉันแล้วจึงให้ชำระบ้วนปากแยงฟันเสีย อย่าให้มีอามิสติดค้างอยู่ได้จนกว่าเวลาบ่าย จึงจะควร

๘. สันนิธิการกสิกขาบท
ความว่า ภิกษุรับโภชนะ
ขนมของฉันต่าง ๆ เก็บงำไว้ฉันวันหน้าต่อไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๙. ปณีตโภชนสิกขาบท
ความว่า โภชนะของฉัน
อันประณีต คือเนยใส เนยข้น น้ำมันลูกไม้และน้ำมันเปลวสัตว์ น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ น้ำนมสด และน้ำนมส้ม ๙ สิ่งนี้ภิกษุมิได้เจ็บไข้ไปเที่ยวขอมาได้แต่มิใช่
ญาติ มิใช่ปวารณา เอามาฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่ขอของฉันนอกจาก ๙ สิ่งนี้ ต้องอาบัติทุกกฏ

๑๐. ทันตโปณสิกขาบท
ความว่า ของฉันสิ้น
ทุกสิ่ง ยกเสียแต่น้ำที่กรองแล้ว ไม่เจือด้วยอามิสและไม้สีฟันเท่านั้น ของทั้งปวงถ้าคฤหัสถ์หรือสามเณรมิได้ประเคนให้ เมื่อกลืนล่วงลำคอลงไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้ายังมิได้ประเคน ภิกษุจับต้องเสียแล้ว ถึงประเคนใหม่ก็ไม่ขึ้น คงเป็นอาบัติ ถ้าจะรับประเคนก็พึงรับประเคนในหัตถบาส คือผู้ประเคนจดศอกหรือเข่ามาถวายภายในศอกคืบ จึงเป็นอันรับประเคน ถ้าห่างออกจากศอกคืบออกไป ภิกษุรับจับต้องแล้วเอามาประเคนใหม่ ก็เป็นอุคคหิตคือประเคนไม่ขึ้น ฉัน เป็นอาบัติปาจิตตีย์ (น้ำกรองแล้ว ถ้าไม่มีฝาปิด ผงลงได้ ก็ต้องประเคนใหม่ เพราะผงก็เป็นอามิส แต่ต้องเป็นน้ำที่ภิกษุกรองเอง ของเคี้ยวของฉันที่ไม่มีฝาปิด ผงลงได้ รับประเคนไว้แล้วลุกห่างไปศอกคืบ ต้องประเคนใหม่ ถ้ามีภิกษุนั่งอยู่ในหัตถบาสคุ้มได้)

หมายเหตุ : ข้อความในวงเล็บ เป็นข้อความที่เรียบเรียงเพิ่มเติมไว้ในฉบับ ร.ศ. ๑๒๘

จบโภชนวรรค ๑๐ สิกขาบท เท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗

ภิกขุโนวาทวรรคที่ ๓

ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท จัดเป็น ๙ วรรค

        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)

ภิกขุโนวาทวรรคที่ ๓ มี ๑๐ สิกขาบท ดังนี้
๑. โอวาทสิกขาบท
ความว่า ภิกษุที่สงฆ์ไม่สมมติ
ไว้ให้สอนนางภิกษุณี พึงละเมิดบังคับสั่งสอนนางภิกษุณีด้วย
🔎ครุธรรม(๖๕) ๘ ประการ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าสอนด้วยธรรมสิ่งอื่นจากครุธรรม เป็นแต่อาบัติทุกกฏ

๒. สมมติสิกขาบท
ความว่า ภิกษุที่สงฆ์สมมติ
ไว้ให้สอนนางภิกษุณีแล้ว ถ้าสอนนางภิกษุณีเวลาพระอาทิตย์อัสดงพลบค่ำไปแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๓. อุปัสสยสิกขาบท
ความว่า ภิกษุที่สงฆ์สมมติ
แล้ว แลไปสอนนางภิกษุณีถึงอาราม ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่นางภิกษุณีเป็นไข้ จึงไปสอนถึงอารามได้

๔. อามิสสิกขาบท
ความว่า ภิกษุอันริษยา
เสแสร้งแกล้งนินทากล่าวร้ายว่า ภิกษุทั้งหลายสอนนางภิกษุณีเพราะเห็นแก่🔎
อามิส(๖๖) ลาภสักการะ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าสำคัญในใจว่าจริงไม่แกล้งติเตียน หรือภิกษุผู้สอนเห็นแก่ลาภจริง ถึงจะติเตียนก็ไม่มีโทษ

๕. จีวรทานสิกขาบท
ความว่า ภิกษุให้จีวรของ
ตนแก่นางภิกษุณีที่มิใช่ญาติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่แลกเปลี่ยนกัน ไม่มีโทษ

๖. จีวรสิพพนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุพึ่งเย็บเอง
หรือใช้ให้ผู้อื่นเย็บจีวรให้แก่นางภิกษุณีอันมิใช่ญาติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๗. อัทธานสิกขาบท
ความว่า ภิกษุกับนางภิกษุณี
ชักชวนกันเดินไปทางเดียวกันในระหว่างบ้านหนึ่ง ๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกขณะล่วงระยะบ้านนั้น ๆ เว้นไว้แต่ไปทางไกลเป็นทางประกอบโจรภัย จึงไม่มีโทษที่จะต้องห้าม

๘. นาวาภิรุหนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุกับนาง
ภิกษุณีชักชวนกันไปเรือลำเดียวกัน ขึ้นล่องตามลำแม่น้ำลำคลอง ทางใต้น้ำ เหนือน้ำ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ข้ามฟากไม่มีโทษ

๙. ปริปาจนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุรู้อยู่ว่า
บิณฑบาตของฉัน อันนางภิกษุณีเที่ยวขอร้อง ชักนำคฤหัสถ์ไปนิมนต์ให้สำเร็จด้วยกำลังตน แลฉันบิณฑบาตนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่คฤหัสถ์เริ่มขึ้นก่อนถ้าสิ่งของที่ภิกษุหรือสามเณรร้องบอก เป็นแต่อาบัติทุกกฏ

๑๐. รโหนิสัชชสิกขาบท
ความว่า ภิกษุกับภิกษุณี 
ตัวต่อตัวเป็นสองด้วยกัน นั่งในที่ลับตามีฝาแลม่านกั้นเป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์

จบภิกขุโนวาทวรรค ๑๐ สิกขาบท เท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗

ภูตคามวรรคที่ ๒

ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท จัดเป็น ๙ วรรค

        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)

ภูตคามวรรคที่ ๒ มี ๑๐ สิกขาบท ดังนี้
๑. ภูตคามสิกขาบท
ความว่า พืชพรรณที่งอกงามขึ้นในดินในน้ำ คือ ต้นไม้ กอไม้ เถาวัลย์ กอหญ้า กอบัวสาย สาหร่าย จอก แหน เป็นต้น ชื่อว่าภูตคาม ภิกษุ ตัด ฟัน ถาก ถอน เด็ด ฉีก ยกขึ้นพ้นจากพื้นที่เกิด ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่พืชที่จะงอกได้ คือพืชที่ตัดและขุดขึ้นพ้นที่เกิดมาแล้วแต่ยังสดอยู่ และรากเหง้าหัวเมล็ดในยังจะงอกได้ต่อไป ชื่อว่าพืชคาม ภิกษุทำลายให้สูญพืชต้องอาบัติทุกกฏ

๒. อัญญวาทสิกขาบท
ความว่า ภิกษุแกล้งทำมารยา เมื่อพระสงฆ์ถามด้วยอาบัติแล้ว ก็กล่าวถ้อยคำอื่นกลบเกลื่อนเลือนเลอะเสีย หรือนิ่งเสียทำเป็นไม่ได้ยินไม่บอกกล่าวตามความจริง ให้พระสงฆ์เกิดความลำบากรำคาญใจ จนพระสงฆ์ต้องสวดบอกโทษเมื่อไร ก็ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๓. อุชฌาปนกสิกขาบท
ความว่า ภิกษุแกล้งโพนทะนาติเตียนใส่โทษที่ไม่จริง แก่ภิกษุอันสงฆ์สมมติไว้ให้แจกของสงฆ์ของคณะให้ภิกษุอื่นได้ยิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าติเตียนตามโทษที่ได้รู้ได้เห็นตามจริง ไม่เป็นอาบัติ

๔. สังฆกเสนาสนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุได้ยกขนเตียง ตั้ง ฟูก เบาะ เก้าอี้ อันเป็นของสงฆ์ไปตั้งไว้ในที่แจ้งด้วยตน หรือใช้ให้ผู้อื่นก็ดี เมื่อจะไปจากที่นั้น ก็มิได้ยกขนเอาไปไว้ดังเก่า และมิได้บอกกล่าวมอบหมายไว้ธุระแก่ท่านผู้หนึ่งผู้ใด พอไปพ้นอุปจารที่นั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๕. ทุติยเสนาสนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุหยิบยกเครื่องปูนอนในเสนาสนะของสงฆ์ไปปูลาดเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นเอาไปปูลาดก็ดี เมื่อจะไปจากเสนาสนะนั้นก็มิได้เอาไว้ตามที่เดิม หรือมิได้มอบหมายไว้ธุระแก่ใครหลีกไป พอพ้นอุปจารเสนาสนะนั้นแล้ว ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๖. อนูปขัชชสิกขาบท
ความว่า ภิกษุได้รู้ว่าภิกษุอื่นเข้าไปอยู่ในเสนาสนะของสงฆ์ก่อนแล้ว แกล้งริษยาไม่ให้อยู่ ได้เข้าไปนั่งนอนเบียดเสียดในที่ใกล้ภายใน ๒ ศอกคืบ หรือขนเอาเตียงตั้งไปตั้งที่ริมทวารเข้าออก ด้วยจะให้คับแคบใจจนอยู่ไม่ได้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๗. นิกกัฑฒนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุได้ขึงโกรธน้อยใจต่อภิกษุและขับไล่ ฉุดคร่า ผลักไสให้ไปจากเสนาสนะของสงฆ์ หรือใช้ให้ผู้อื่นขับไล่ก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๘. เวหาสกุฎีสิกขาบท
ความว่า กุฏิมีพื้นชั้นบนเป็นที่แจ้ง ไม่มีหลังคา ยังไม่ได้เรียบ พื้นล่างเป็นที่อาศัยเดินไปมาได้ เตียงตั้งตั้งติดพื้นไว้ไม่มีลิ่มสลักตรึงกับแม่แคร่ไว้ ภิกษุมานั่งนอนทับลง ต้องอาบัติปาจิตตีย์

๙. มหัลลกสิกขาบท
ความว่า ภิกษุจะทำเองหรือใช้ให้ผู้อื่นทำวิหารที่อยู่ให้กว้างใหญ่ หวังจะอยู่เอง มีทายกเป็นเจ้าของจะสร้างถวาย พึงตั้งลงในที่นาของเขา จึงโบกทาให้หนาได้ แต่ที่กรอบเช็ดหน้าประตูและหน้าต่างออกไปข้างละ ๒ คืบ เพื่อจะให้ใบตาลและลิ่มสลักมั่นคง พึงมุงโบกทาเองได้เพียงสองชั้นสองหน ถ้ามุงโบกทามากกว่าสองชั้นสองหนขึ้นไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าใกล้ที่ไร่นาต้องอาบัติทุกกฏด้วย

๑๐. สัปปาณกสิกขาบท
ความว่า ภิกษุอันรู้เห็นหรือรังเกียจอยู่ว่า น้ำมีตัวสัตว์เป็นอยู่ แล้วแกล้งตักรดหญ้ารดดินลง หรือใช้ให้ผู้อื่นรดก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์

จบภูตคามวรรค ๑๐ สิกขาบท เท่านี้

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗