ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท จัดเป็น ๙ วรรค
(มุสาวรรค ๑๐)
(ภูตคามวรรค ๑๐)
(ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
(โภชนวรรค ๑๐)
(อเจลกวรรค ๑๐)
(สุราปานวรรค ๑๐)
(สัปปาณวรรค ๑๐)
(สหธัมมิกวรรค ๑๒)
(ราชวรรค ๑๐)
สัปปาณวรรคที่ ๗ มี ๑๐ สิกขาบท ดังนี้
๑. สัญจิจจปาณสิกขาบท
ความว่า ภิกษุแกล้งฆ่าสัตว์ดิรัจฉานให้ตายลงด้วยตามเจตนา ไม่เลือกว่าสัตว์เล็กใหญ่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์โดยโทษนี้ล่วงพระพุทธบัญญัติ แต่จะมีโทษน้อยมากนั้นเป็นตามโทษที่โลกจะพึงเว้นโดยธรรมดา
ความว่า ภิกษุได้รู้เห็นหรือรังเกียจว่าน้ำมีตัวสัตว์เป็น ก็มิได้กรองให้บริสุทธิ์ก่อน ฝ่าฝืนบริโภคบ้วนปากล้างหน้า เป็นต้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๓. อุกโกฏนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุรู้ว่าสังฆกรรมมีอธิกรณ์ อันพระสงฆ์ได้ชำระเสร็จแล้วโดยเป็นธรรมและมาเลิกถอนกรรมนั้นเสีย โต้แย้งว่าพระสงฆ์ทำไม่เป็นธรรม เพื่อจะทำใหม่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ความว่า ภิกษุเมื่อรู้อาบัติชั่วหยาบของภิกษุอยู่เต็มใจ คือรู้ว่าภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว ช่วยคิดปิดบัง เอื้อนอำอาบัติของภิกษุนั้นไว้ไม่ให้แพร่งพราย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุฏฐุลลาบัติในสิกขาบทนี้ เฉพาะแต่สังฆาทิเสสอย่างเดียว
ความว่า ภิกษุเมื่อรู้ว่ากุลบุตรมีอายุยังไม่ครบ ๒๐ ปี ทั้งนับในครรภ์และให้อุปสมบท ยกเป็นภิกษุขึ้นด้วย🔎ญัตติจตุตถกรรม(๗๑)วาจา พระอุปัชฌาย์ต้องอาบัติปาจิตตีย์ พระอาจารย์ผู้สวดกรรมวาจา ทั้งคณะสงฆ์ต้องอาบัติทุกกฏทุกรูปด้วยกัน ผู้อุปสมบทนั้นก็หาเป็นภิกษุไม่ เป็นแต่เพียงสามเณรเท่านั้น
ความว่า ภิกษุได้รู้ได้เห็นว่าพวกหมู่โจรที่คอยปล้นตีชิง หรือหมู่พ่อค้าจะบังของต้องห้ามข้ามด่านข้าม🔎ขนอน(๗๒)รู้ว่าเป็นคนร้ายอยู่เต็มใจและได้ชักชวนพวกโจรหรือพ่อค้านั้นเป็นเพื่อนเดินทางไกลไปด้วยกัน พอล่วงระยะบ้านหนึ่งเป็นที่สุด ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ความว่า ภิกษุชักชวนมาตุคามหรือหญิงมนุษย์เป็นเพื่อนเดินทางไกลไปด้วยกัน พอล่วงระยะบ้านหนึ่งเป็นที่สุด ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ความว่า ภิกษุเกิดทิฏฐิผิดคิดเห็น🔎วิปลาส(๗๓) พึงติเตียนพระพุทธศาสนา “ธรรมวินัยเหล่าใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นธรรม ทำอันตรายแก่ผู้ที่ต้องเสพ โดยที่จริงธรรมวินัยเหล่านั้นไม่ทำอันตรายแก่ใครได้ หาเป็นจริงดังพระองค์ตรัสไว้ไม่” เมื่อเธอมีทิฏฐิผิดกล่าวตู่พระพุทธเจ้าดังนี้ ภิกษุทั้งหลายพึงทักท้วงว่ากล่าวสั่งสอน จะให้ละความที่ถือผิดนั้นเสีย ยังกล่าวแข็งขึ้นดื้อดึงอยู่อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลายพึ่งพาไปยังท่ามกลางสงฆ์ แล้วสวดสมนุภาสน์ประกาศโทษจนจบกรรมวาจาที่ ๓ ลง ถ้าเธอยังไม่ละความถือผิดนั้นเสียได้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ความว่า ภิกษุได้รู้เห็นว่าภิกษุอันกล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า พระสงฆ์ได้สวดสมนุภาสน์ ประกาศโทษแล้ว ยังหาละทิฏฐิผิดเสียไม่ก็สมโภคคบหาร่วมกินร่วมอาวาสอยู่หลับนอนด้วยกัน ภิกษุผู้คบนั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์
ความว่า สมณเทศ คือสามเณรอันจวนจะได้อุปสมบท หากกล่าวติเตียนพระพุทธวจนะ ดังที่ภิกษุกล่าวแล้วในสิกขาบทที่ ๘ นั้น ภิกษุทั้งหลายว่ากล่าวสั่งสอนแล้ว ก็ยังหาละทิฏฐินั้นเสียไม่ จึงให้ฉิบหายเสียจากเพศสมณะขับไล่ไปเสียแล้ว ภิกษุรูปใด เมื่อรู้แล้วก็ยังชักโขงเล้าโลมสมณเทศนั้นมาไว้ให้ปฏิบัติอยู่กินหลับนอนในสำนักตน ภิกษุนั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์
🔅 ปาราชิก ๔
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓
🔅 อนิยต ๒
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
(จีวรวรรค ๑๐)
(โกสิยวรรค ๑๐)
(ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
(มุสาวรรค ๑๐)
(ภูตคามวรรค ๑๐)
(ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
(โภชนวรรค ๑๐)
(อเจลกวรรค ๑๐)
(สุราปานวรรค ๑๐)
(สัปปาณวรรค ๑๐)
(สหธัมมิกวรรค ๑๒)
(ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
(สารูป ๒๖)
(โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
(ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
(ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗