“กรรม” แปลว่า การกระทำ กรรมจึงเป็นคำกลางๆเพราะ กรรม หมายถึงการกระทำทั้งดีและชั่ว
อะไรคือสิ่งที่เรียกว่ากรรม? สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่ากรรมนั้น ตรัสหมายถึงเจตนา ฉะนั้นสิ่งที่เรียกว่ากรรม มุ่งหมายถึงเจตนาที่กระทำดี เรียกว่า กุศลเจตนา เจตนาที่กระทำชั่ว เรียกว่า อกุศลเจตนา ซึ่งเมื่อสำเร็จเป็นกรรมแล้ว ก็เรียกว่า กุศลกรรม อกุศลกรรม การกระทำต้องอาศัยเจตนาที่เกิดขึ้นภายในจิตเป็นเหตุ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “เจตะนาหัง ภิกขะเว กัมมัง วะทามิ เจตะยิตวา กัมมัง กะโรติ กาเยนะ วาจายะ มะนะสา ” แปลว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า เจตนา คือตัวกรรม สัตว์ที่กระทำกรรมด้วยกาย วาจา ใจก็ดี ย่อมมีการปรุงแต่งคือคิดนึกก่อนแล้วจึงทำดังนี้
คำว่าเจตนา ในทางธรรมะนั้นหมายถึงธรรมชาติที่จงใจ ที่มุ่งมั่นจะกระทำกิจต่างๆให้สำเร็จลง ซึ่งก็ต้องประกอบด้วยปัจจัยอื่นๆด้วย สิ่งที่กระทำสำเร็จแล้วนั้นเป็นกรรมย่อมส่งผลในภายหน้า เป็นความสุขบ้าง ทุกข์บ้างแก่ผู้กระทำ จึงเรียกว่า กรรม ในบางคราวลำพังเพียงเจตนาอย่างเดียวก็ไม่สามารถจะทำผลให้เกิดขึ้นได้ต้องอาศัยธรรมอื่นบางอย่างเกิดขึ้นประกอบร่วมกับเจตนา และธรรมบางอย่างเหล่านั้นออกหน้าเป็นประธานในการสร้างผลยิ่งกว่าเจตนา วาระเช่นนี้เองที่กล่าวได้ว่าธรรมบางอย่างที่ประกอบร่วมกันกับเจตนาก็ชื่อว่ากรรม เช่นการจะทำให้อริยผลเกิดขึ้น ต้องอาศัยองค์มรรค ๘ จึงจะสำเร็จได้ และองค์ ๘ ก็เป็นประธานในการทำพระอริยผลให้เกิดขึ้นยิ่งกว่าเจตนา ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงไม่ตรัสถึงเจตนา แต่ตรัสถึงพระอริยมรรคมีองค์ ๘ ว่าเป็นกรรม คือ เป็น กรรมที่ไม่ดำไม่ขาว ทำวิบากที่ไม่ดำไม่ขาว คือ ทำพระอริยผลมีโสดาปัตติผล เป็นต้น ให้เกิดขึ้น และถ้าจะกล่าวถึงโพชฌงค์ ๗ (องค์แห่งการตรัสรู้ ๗ อย่าง) มีสติสัมโพชฌงค์ เป็นต้น โพชฌงค์นี้เป็นเหตุแห่งพระอริยมรรคมีองค์ ๘ อีกทีหนึ่ง
อภิชฌา คือ ความโลภที่เพ่งเล็งอยากได้
พยาบาท คือ ความโกรธที่มุ่งที่จะให้ผู้อื่นวิบัติ
มิจฉาทิฏฐิ คือ ความเห็นผิด
ทั้ง ๓ ประการนี้ เกิดขึ้นได้เพราะมีสภาพธรรมของตนโดยเฉพาะๆ เป็นประธาน ไม่ใช่มีเจตนาอย่างเดียว และสำเร็จเป็นกรรมได้ก็เพราะมีสภาพธรรมของตนนั้นทำให้สำเร็จ และการที่จะไม่ให้สภาพธรรมฝ่ายชั่ว ๓ อย่างนี้เกิดขึ้น ก็ต้องมีธรรมฝ่ายดี หรือที่เรียกว่าธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกันเกิดขึ้น จึงจะทำให้ธรรมฝ่ายชั่วนั้นหยุดลง
ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกันมีดังนี้ คือ
อภิชฌา มีธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ คือ อนภิชฌา เป็นสภาวะที่ห้ามความโลภ
พยาบาท มีธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ คือ อพยาบาท เป็นสภาวะที่ห้ามความโกรธ
มิจฉาทิฏฐิ มีธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ คือ สัมมาทิฏฐิ เป็นสภาวะที่มีความเห็นชอบ
คำว่าเจตนา ในทางธรรมะนั้นหมายถึงธรรมชาติที่จงใจ ที่มุ่งมั่นจะกระทำกิจต่างๆให้สำเร็จลง ซึ่งก็ต้องประกอบด้วยปัจจัยอื่นๆด้วย สิ่งที่กระทำสำเร็จแล้วนั้นเป็นกรรมย่อมส่งผลในภายหน้า เป็นความสุขบ้าง ทุกข์บ้างแก่ผู้กระทำ จึงเรียกว่า กรรม ในบางคราวลำพังเพียงเจตนาอย่างเดียวก็ไม่สามารถจะทำผลให้เกิดขึ้นได้ต้องอาศัยธรรมอื่นบางอย่างเกิดขึ้นประกอบร่วมกับเจตนา และธรรมบางอย่างเหล่านั้นออกหน้าเป็นประธานในการสร้างผลยิ่งกว่าเจตนา วาระเช่นนี้เองที่กล่าวได้ว่าธรรมบางอย่างที่ประกอบร่วมกันกับเจตนาก็ชื่อว่ากรรม เช่นการจะทำให้อริยผลเกิดขึ้น ต้องอาศัยองค์มรรค ๘ จึงจะสำเร็จได้ และองค์ ๘ ก็เป็นประธานในการทำพระอริยผลให้เกิดขึ้นยิ่งกว่าเจตนา ด้วยเหตุนี้พระพุทธองค์จึงไม่ตรัสถึงเจตนา แต่ตรัสถึงพระอริยมรรคมีองค์ ๘ ว่าเป็นกรรม คือ เป็น กรรมที่ไม่ดำไม่ขาว ทำวิบากที่ไม่ดำไม่ขาว คือ ทำพระอริยผลมีโสดาปัตติผล เป็นต้น ให้เกิดขึ้น และถ้าจะกล่าวถึงโพชฌงค์ ๗ (องค์แห่งการตรัสรู้ ๗ อย่าง) มีสติสัมโพชฌงค์ เป็นต้น โพชฌงค์นี้เป็นเหตุแห่งพระอริยมรรคมีองค์ ๘ อีกทีหนึ่ง
อภิชฌา คือ ความโลภที่เพ่งเล็งอยากได้
พยาบาท คือ ความโกรธที่มุ่งที่จะให้ผู้อื่นวิบัติ
มิจฉาทิฏฐิ คือ ความเห็นผิด
ทั้ง ๓ ประการนี้ เกิดขึ้นได้เพราะมีสภาพธรรมของตนโดยเฉพาะๆ เป็นประธาน ไม่ใช่มีเจตนาอย่างเดียว และสำเร็จเป็นกรรมได้ก็เพราะมีสภาพธรรมของตนนั้นทำให้สำเร็จ และการที่จะไม่ให้สภาพธรรมฝ่ายชั่ว ๓ อย่างนี้เกิดขึ้น ก็ต้องมีธรรมฝ่ายดี หรือที่เรียกว่าธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกันเกิดขึ้น จึงจะทำให้ธรรมฝ่ายชั่วนั้นหยุดลง
ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกันมีดังนี้ คือ
อภิชฌา มีธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ คือ อนภิชฌา เป็นสภาวะที่ห้ามความโลภ
พยาบาท มีธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ คือ อพยาบาท เป็นสภาวะที่ห้ามความโกรธ
มิจฉาทิฏฐิ มีธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ คือ สัมมาทิฏฐิ เป็นสภาวะที่มีความเห็นชอบ
สรุปว่า ในคราวใดที่การกระทำทั้งหลาย มีการให้ทาน หรือ การฆ่าสัตว์ เป็นต้น สำเร็จลง ถ้าการกระทำนั้นๆ สำเร็จได้เพราะอาศัยเจตนาออกหน้าเป็นประธาน เป็นใหญ่ ก็กล่าวได้ว่ามีเจตนาเป็นผู้ทำให้สำเร็จ คือ เป็นกรรม ถ้าการกระทำนั้นๆสำเร็จลงเพราะอาศัยธรรมอื่นบางอย่างที่ประกอบร่วมกับเจตนา ออกหน้าเป็นประธาน เป็นใหญ่ ก็กล่าวได้ว่ามีธรรรมอื่นเหล่านั้นเป็นผู้ทำให้สำเร็จ คือ เป็นกรรม เช่น อภิชฌา มีความโลภที่ เพ่งเล็งอยากได้เป็นประธาน
กรรมมีกี่อย่าง
๑. กรรมมี ๒ อย่าง โดยชาติ คือ อกุศลกรรม และ กุศลกรรม หมายความว่า ถ้าเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนหรือผู้อื่นก็เป็นอกุศลกรรม ถ้างดเว้นจากการเบียดเบียนก็เป็นกุศลกรรม กรรมมี ๒ อย่าง อีกนัยหนึ่ง โดยการส่งผล คือ อกุศลส่งผลเป็นทุกข์ เรียกว่า อกุศลกรรม กุศล ส่งผลเป็นความสุข เรียกว่า กุศลกรรม
๒. กรรมมี ๓ อย่าง โดยเกี่ยวกับทวาร ๓ คือ กายทวาร วจีทวาร มโนทวาร กล่าวคือ กรรมทั้ง ๒ อย่าง คือ กุศลกรรมและอกุศลกรรมดังกล่าวแล้วนั้น แต่ละอย่างเมื่อจำแนกตามทวาร ๓ คือ กายทวาร วจี ทวาร มโนทวาร ก็ได้ ๓ อย่าง คือ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
๓. กรรมมี ๓ อย่าง อีกนัยหนึ่ง โดยเกี่ยวกับภูมิ ๓ ได้แก่ กามาวจรกรรม รูปาวจรกรรม อรูปาวจร กรรม ที่ว่าเกี่ยวกับภูมิ เพราะมีความหมายว่า เป็นที่เกิด คือ เป็นที่เกิดของสัตว์ มี ๓ คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ฉะนั้น กรรมที่เป็นเหตุให้ท่องเที่ยว คือ เกิดในกามภูมิ ชื่อว่า กามาวจรกรรม กรรมที่เป็นเหตุให้ท่องเที่ยว คือ เกิดในรูปภูมิ ชื่อว่า รูปาวจรกรรม กรรมที่เป็นเหตุให้ท่องเที่ยว คือ เกิดในอรูปภูมิ ชื่อว่า อรูปาวจรกรรม
๑. กรรมมี ๒ อย่าง โดยชาติ คือ อกุศลกรรม และ กุศลกรรม หมายความว่า ถ้าเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนหรือผู้อื่นก็เป็นอกุศลกรรม ถ้างดเว้นจากการเบียดเบียนก็เป็นกุศลกรรม กรรมมี ๒ อย่าง อีกนัยหนึ่ง โดยการส่งผล คือ อกุศลส่งผลเป็นทุกข์ เรียกว่า อกุศลกรรม กุศล ส่งผลเป็นความสุข เรียกว่า กุศลกรรม
๒. กรรมมี ๓ อย่าง โดยเกี่ยวกับทวาร ๓ คือ กายทวาร วจีทวาร มโนทวาร กล่าวคือ กรรมทั้ง ๒ อย่าง คือ กุศลกรรมและอกุศลกรรมดังกล่าวแล้วนั้น แต่ละอย่างเมื่อจำแนกตามทวาร ๓ คือ กายทวาร วจี ทวาร มโนทวาร ก็ได้ ๓ อย่าง คือ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
๓. กรรมมี ๓ อย่าง อีกนัยหนึ่ง โดยเกี่ยวกับภูมิ ๓ ได้แก่ กามาวจรกรรม รูปาวจรกรรม อรูปาวจร กรรม ที่ว่าเกี่ยวกับภูมิ เพราะมีความหมายว่า เป็นที่เกิด คือ เป็นที่เกิดของสัตว์ มี ๓ คือ กามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ฉะนั้น กรรมที่เป็นเหตุให้ท่องเที่ยว คือ เกิดในกามภูมิ ชื่อว่า กามาวจรกรรม กรรมที่เป็นเหตุให้ท่องเที่ยว คือ เกิดในรูปภูมิ ชื่อว่า รูปาวจรกรรม กรรมที่เป็นเหตุให้ท่องเที่ยว คือ เกิดในอรูปภูมิ ชื่อว่า อรูปาวจรกรรม
๔. กรรมมี ๔ อย่าง มีหลายนัย เช่น เกี่ยวกับกิจที่กระทำ คือ ชนกกรรม เป็นต้น หรือ เกี่ยวกับลำดับ แห่งการให้ผล คือ ครุกกรรม เป็นต้น ซึ่งจะกล่าวในกรรม ๑๖ ที่จะได้ศึกษาโดยละเอียดต่อไป
๕. กรรมมี ๕ อย่าง ได้แก่ อนันตริยกรรม ๕ อย่าง คือ ฆ่าบิดา ฆ่ามารดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำสังฆเภท ทำโลหิตุปบาท
๖. กรรมมี ๑๐ อย่าง ได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๑๐ มีปาณาติปาต เป็นต้น หรือ กุศลกรรมบถ ๑๐ มี การงดเว้นจากการฆ่า เป็นต้น หรือ บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ มีการให้ทาน เป็นต้น
๗. กรรมมี ๑๒ อย่าง กรรมมีทั้งหมด ๔ หมวด คือ
หมวดที่ ๑ กิจจจตุกกะ มี ๔ อย่าง คือ ชนกกรรม เป็นต้น
หมวดที่ ๒ ปากทานปริยายจตุกกะ มี ๔ อย่าง คือ ครุกกรรม เป็นต้น
หมวดที่ ๓ ปากกาลจตุกกะ มี ๔ อย่าง คือ ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม เป็นต้น
หมวดที่ ๔ ปากัฏฐานจตุกกะ มี ๔ อย่าง คือ อกุศลกรรม เป็นต้น
ใน ๓ หมวดแรกมีหมวดละ ๔ อย่าง รวมเป็น ๑๒ อย่าง เป็นกรรมที่แสดงโดยนัยแห่งพระสูตร (เฉพาะกรรมหมวดที่ ๔ มี ๔ อย่างเท่านั้น ที่แสดงโดยนัยแห่งพระอภิธรรม)
๘. กรรมมี ๑๖ อย่าง เป็นการแสดงเรื่องกรรมทั้งหมด รวมทั้งโดยนัยแห่งพระสูตรและพระอภิธรรม
๕. กรรมมี ๕ อย่าง ได้แก่ อนันตริยกรรม ๕ อย่าง คือ ฆ่าบิดา ฆ่ามารดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำสังฆเภท ทำโลหิตุปบาท
๖. กรรมมี ๑๐ อย่าง ได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๑๐ มีปาณาติปาต เป็นต้น หรือ กุศลกรรมบถ ๑๐ มี การงดเว้นจากการฆ่า เป็นต้น หรือ บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ มีการให้ทาน เป็นต้น
๗. กรรมมี ๑๒ อย่าง กรรมมีทั้งหมด ๔ หมวด คือ
หมวดที่ ๑ กิจจจตุกกะ มี ๔ อย่าง คือ ชนกกรรม เป็นต้น
หมวดที่ ๒ ปากทานปริยายจตุกกะ มี ๔ อย่าง คือ ครุกกรรม เป็นต้น
หมวดที่ ๓ ปากกาลจตุกกะ มี ๔ อย่าง คือ ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม เป็นต้น
หมวดที่ ๔ ปากัฏฐานจตุกกะ มี ๔ อย่าง คือ อกุศลกรรม เป็นต้น
ใน ๓ หมวดแรกมีหมวดละ ๔ อย่าง รวมเป็น ๑๒ อย่าง เป็นกรรมที่แสดงโดยนัยแห่งพระสูตร (เฉพาะกรรมหมวดที่ ๔ มี ๔ อย่างเท่านั้น ที่แสดงโดยนัยแห่งพระอภิธรรม)
๘. กรรมมี ๑๖ อย่าง เป็นการแสดงเรื่องกรรมทั้งหมด รวมทั้งโดยนัยแห่งพระสูตรและพระอภิธรรม
ในหมวด ๗ เรื่องกรรมนี้จะกล่าวโดยละเอียดเฉพาะเรื่องกรรม ๑๖ เพราะเป็นที่รวบรวมเรื่องกรรมไว้ทั้งหมดแล้ว
หมวดที่ ๒ ปากทานปริยายจตุกกะ ว่าโดยลำดับการให้ผลมี ๔
กรรม ๔ หมวด มี ๑๖ อย่าง
หมวดที่ ๑ กิจจจตุกกะ ว่าโดยกิจมี ๔
๑. ชนกกรรม กรรมที่ทำหน้าที่ให้วิบากเกิดขึ้น หรือทำให้ผลเกิดขึ้น
๒. อุปัตถัมภกกรรม กรรมที่ทำหน้าที่ช่วยอุดหนุนกรรมอื่นๆ
๓. อุปปีฬกกรรม กรรมที่ทำหน้าที่เข้าไปเบียดเบียนกรรมอื่นๆ
๔. อุปฆาตกกรรม กรรมที่ทำหน้าที่เข้าไปตัดรอนกรรมอื่นๆ
๒. อุปัตถัมภกกรรม กรรมที่ทำหน้าที่ช่วยอุดหนุนกรรมอื่นๆ
๓. อุปปีฬกกรรม กรรมที่ทำหน้าที่เข้าไปเบียดเบียนกรรมอื่นๆ
๔. อุปฆาตกกรรม กรรมที่ทำหน้าที่เข้าไปตัดรอนกรรมอื่นๆ
หมวดที่ ๒ ปากทานปริยายจตุกกะ ว่าโดยลำดับการให้ผลมี ๔
๑. ครุกกรรม กรรมอย่างหนัก ที่กรรมอื่นๆไม่สามารถจะห้ามได้
๒. อาสันนกรรม กรรมที่ทำไว้เมื่อใกล้จะตาย
๓. อาจิณณกรรม กรรมที่เคยทำไว้เสมอๆ
๔. กฏัตตากรรม กรรมที่ทำไว้พอประมาณ หรือกรรมในอดีตภพ
๒. อาสันนกรรม กรรมที่ทำไว้เมื่อใกล้จะตาย
๓. อาจิณณกรรม กรรมที่เคยทำไว้เสมอๆ
๔. กฏัตตากรรม กรรมที่ทำไว้พอประมาณ หรือกรรมในอดีตภพ
หมวดที่ ๓ ปากกาลจตุกกะ ว่าโดยเวลาให้ผล มี ๔
๑. ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม กรรมที่ให้ได้รับผลในปัจจุบันชาตินี้
๒. อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลในชาติหน้า (คือชาติที่ ๒ นับจากชาตินี้ไป)
๓. อปราปริยเวทนียกรรม กรรมที่จะให้ผลตั้งแต่ชาติที่ ๓ เป็นต้นไป จนกว่าจะนิพพาน
๔. อโหสิกรรม กรรมที่ไม่ให้ผล
หมวดที่ ๔ ปากัฏฐานจตุกกะ ว่าโดยฐานะที่ให้ผล มี ๔
๑. ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม กรรมที่ให้ได้รับผลในปัจจุบันชาตินี้
๒. อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมที่ให้ผลในชาติหน้า (คือชาติที่ ๒ นับจากชาตินี้ไป)
๓. อปราปริยเวทนียกรรม กรรมที่จะให้ผลตั้งแต่ชาติที่ ๓ เป็นต้นไป จนกว่าจะนิพพาน
๔. อโหสิกรรม กรรมที่ไม่ให้ผล
หมวดที่ ๔ ปากัฏฐานจตุกกะ ว่าโดยฐานะที่ให้ผล มี ๔
๑. อกุศลกรรม ได้แก่เจตนาที่อยู่ในอกุศลจิต ๑๒
๒. กามาวจรกุศลกรรม ได้แก่เจตนาที่อยู่มหากุศลจิต