เทวภูมิเป็นภูมิที่มีความสุข แบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ
กามาวจร ท่องเที่ยวอยู่ในกาม ได้แก่ สวรรค์ ๖ ชั้น
รูปาวจร ท่องเที่ยวอยู่ในรูปฌาน ได้แก่ รูปพรหม ๑๖ ชั้น
อรูปาวจร ท่องเที่ยวอยู่ในอรูปฌาน ได้แก่อรูป พรหม ๔ ชั้น
ฉะนั้นในสวรรค์กามาวจร ๖ ชั้น จึงยังเกี่ยวข้องกับกามคุณ ท่านแสดงว่า
ชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์ มีเหมือนมนุษย์
ชั้นยามา มีแต่กายสังสัคคะ
ชั้นดุสิต มีเพียงจับมือกัน
ชั้นนิมมานรตี มีเพียงยิ้มรับกัน
ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี มีแต่มองดูกันเท่านั้น
ส่วนในรูปาวจรและอรูปาวจร ที่ เรียกว่า พรหมโลก ทุกชั้นไม่เกี่ยวข้องกับกาม
ในอรรถกถาวิภังค์กล่าวว่าไม่ มีเพศสตรีเพศบุรุษในพรหมโลก คำว่า เทวะ ในคัมภีร์สัททนีติ แปลไว้ ๘ อย่าง ต่อนี้
๑. ผู้ที่เล่น หมายถึง ผู้ที่เล่นด้วยกามคุณทั้ง ๕ คือ มีสุขสนุกสบายอยู่ด้วยทิพยสมบัติทุกเวลา
รูปาวจร ท่องเที่ยวอยู่ในรูปฌาน ได้แก่ รูปพรหม ๑๖ ชั้น
อรูปาวจร ท่องเที่ยวอยู่ในอรูปฌาน ได้แก่อรูป พรหม ๔ ชั้น
ฉะนั้นในสวรรค์กามาวจร ๖ ชั้น จึงยังเกี่ยวข้องกับกามคุณ ท่านแสดงว่า
ชั้นจาตุมหาราชิกาและชั้นดาวดึงส์ มีเหมือนมนุษย์
ชั้นยามา มีแต่กายสังสัคคะ
ชั้นดุสิต มีเพียงจับมือกัน
ชั้นนิมมานรตี มีเพียงยิ้มรับกัน
ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี มีแต่มองดูกันเท่านั้น
ส่วนในรูปาวจรและอรูปาวจร ที่ เรียกว่า พรหมโลก ทุกชั้นไม่เกี่ยวข้องกับกาม
ในอรรถกถาวิภังค์กล่าวว่าไม่ มีเพศสตรีเพศบุรุษในพรหมโลก คำว่า เทวะ ในคัมภีร์สัททนีติ แปลไว้ ๘ อย่าง ต่อนี้
๑. ผู้ที่เล่น หมายถึง ผู้ที่เล่นด้วยกามคุณทั้ง ๕ คือ มีสุขสนุกสบายอยู่ด้วยทิพยสมบัติทุกเวลา
๒. ผู้ที่ปรารถนา หมายถึง ปรารถนาจะชนะปฏิปักษ์ คือต้องการชนะข้าศึก ไม่ยอมแพ้
๓. ผู้ที่กล่าว หมายถึง มีวาจาที่โลกนับถือ บอกว่าควรหรือไม่ควรอย่างไรก็เชื่อฟัง
๔. ผู้ที่รุ่งเรืองสว่าง หมายถึง รุ่งเรืองด้วยแสงสว่าง คือ สรีระมีความสว่างรุ่งเรืองอย่างยิ่ง
๕. ผู้ที่ได้รับความชมเชย หมายถึงเป็นผู้ที่ถูกยกย่องสรรเสริญ
๖. ผู้ที่มีผู้ใคร่ หมายถึง ใคร่จะเห็นจะได้ยินเป็นต้น ล้วนประกอบด้วยความงามเป็นพิเศษ
๗. ผู้ที่ไปได้ หมายถึง ผู้ที่ไปได้โดยไม่ขัดข้องในทุกที่ตามปรารถนา
๘. ผู้ที่สามารถ หมายถึง ผู้ที่สามารถยังกิจนั้นๆ ให้สำเร็จด้วยอานุภาพสมบัติ
๓. ผู้ที่กล่าว หมายถึง มีวาจาที่โลกนับถือ บอกว่าควรหรือไม่ควรอย่างไรก็เชื่อฟัง
๔. ผู้ที่รุ่งเรืองสว่าง หมายถึง รุ่งเรืองด้วยแสงสว่าง คือ สรีระมีความสว่างรุ่งเรืองอย่างยิ่ง
๕. ผู้ที่ได้รับความชมเชย หมายถึงเป็นผู้ที่ถูกยกย่องสรรเสริญ
๖. ผู้ที่มีผู้ใคร่ หมายถึง ใคร่จะเห็นจะได้ยินเป็นต้น ล้วนประกอบด้วยความงามเป็นพิเศษ
๗. ผู้ที่ไปได้ หมายถึง ผู้ที่ไปได้โดยไม่ขัดข้องในทุกที่ตามปรารถนา
๘. ผู้ที่สามารถ หมายถึง ผู้ที่สามารถยังกิจนั้นๆ ให้สำเร็จด้วยอานุภาพสมบัติ
สวรรค์ชั้นกามาวจรภูมิ เทพหรือเทวดาที่อยู่ในสวรรค์ชั้นกามาวจรภูมิมีกายทิพย์ เป็นกายสว่าง ละเอียด ไม่มีปฏิกูล เกิดเป็นโอปปาติกะกำเนิด คือผุดเกิดขึ้นโตทันที แต่เป็นกายที่ไม่ปรากฏแก่ตาคน
ส่วนเทพในรูปภูมิและอรูปภูมิ ก็มีกายทิพย์เช่นเดียวกันแต่มีความละเอียดประณีตกว่า เทพบุตรเทพธิดามีแต่ความหนุ่มสาว เทพธิดาจะมีรูปลักษณะอยู่ในวัยอายุราว ๑๖ ปี เทพบุตรจะมีรูปลักษณะ อยู่ในวัยอายุราว ๒๐ ปี เหมือนกันหมด มีความบริบูรณ์ด้วยความสุข อายุยืนยาว ความแก่ เจ็บ ตาย ไม่ปรากฏ ตายก็ไม่ปรากฏซาก จึงเห็นทุกข์ได้ยาก
เทวดาจะมีแต่ความสุขเพลิดเพลินอยู่ตลอดเวลา เทวดาชั้นกามาวจรภูมิ เมื่อหมดบุญจะตายจากเทวภูมิ จะมีสิ่งปรากฏให้ทราบ ๕ อย่างคือ
มรณนิมิตของเทวดา ๕ อย่าง ได้แก่
๑.ผิวกายเศร้าหมอง
๒.พวงดอกไม้ย่อมเหี่ยวแห้ง
๓.ผ้านุ่งห่มเศร้าหมอง
๔.เหงื่อไหลออกจากรักแร้ทั้งสองข้าง
๕.อาสนะแข็ง
ทำกุศลอย่างไรจึงเกิดเป็นเทวดา
๑. สร้างบุญกุศลไว้มากจะเกิดในวิมานของตนเอง เหมือนคนรวยย่อมมีบ้านของตนเอง ไม่ต้องเช่าหรืออาศัยคนอื่นอยู่
ส่วนเทพในรูปภูมิและอรูปภูมิ ก็มีกายทิพย์เช่นเดียวกันแต่มีความละเอียดประณีตกว่า เทพบุตรเทพธิดามีแต่ความหนุ่มสาว เทพธิดาจะมีรูปลักษณะอยู่ในวัยอายุราว ๑๖ ปี เทพบุตรจะมีรูปลักษณะ อยู่ในวัยอายุราว ๒๐ ปี เหมือนกันหมด มีความบริบูรณ์ด้วยความสุข อายุยืนยาว ความแก่ เจ็บ ตาย ไม่ปรากฏ ตายก็ไม่ปรากฏซาก จึงเห็นทุกข์ได้ยาก
เทวดาจะมีแต่ความสุขเพลิดเพลินอยู่ตลอดเวลา เทวดาชั้นกามาวจรภูมิ เมื่อหมดบุญจะตายจากเทวภูมิ จะมีสิ่งปรากฏให้ทราบ ๕ อย่างคือ
มรณนิมิตของเทวดา ๕ อย่าง ได้แก่
๑.ผิวกายเศร้าหมอง
๒.พวงดอกไม้ย่อมเหี่ยวแห้ง
๓.ผ้านุ่งห่มเศร้าหมอง
๔.เหงื่อไหลออกจากรักแร้ทั้งสองข้าง
๕.อาสนะแข็ง
ทำกุศลอย่างไรจึงเกิดเป็นเทวดา
๑. สร้างบุญกุศลไว้มากจะเกิดในวิมานของตนเอง เหมือนคนรวยย่อมมีบ้านของตนเอง ไม่ต้องเช่าหรืออาศัยคนอื่นอยู่
๒. สร้างบุญกุศลไว้น้อย ไม่มีวิมานของตนเองเกิดในวิมานเทวดาอื่นๆ โดย
๑. อุปปัตติเทวะ เทวดาโดยกำเนิด ได้แก่ เทวดาและพรหม
๒. สมมติเทวะ เทวดาโดยสมมติ ได้แก่ พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระราชโอรส พระราชธิดา
- ผุดปรากฏขึ้นที่ตักของเทวดาองค์ใด ก็เป็นบุตร ธิดา ของเทวดาองค์นั้น
- ผุดปรากฏขึ้นที่แท่นบรรทมของเทวดาองค์ใด ก็เป็นบาทบริจาริกาหรือภรรยาของเทวดาองค์นั้น
- ผุดปรากฏขึ้นใกล้แท่นบรรทมของเทวดาองค์ใด ก็เป็นผู้รับใช้ของเทวดาองค์นั้น
- ผุดปรากฏขึ้นภายในวิมานของเทวดาองค์ใด ก็เป็นบริวารของเทวดาองค์นั้น
- ผุดปรากฏขึ้นนอกวิมาน ใกล้วิมานของเทวดาองค์ใด ก็เป็นบริวารของเทวดาในวิมานนั้น
- ผุดปรากฏขึ้นระหว่างวิมานพอดี ก็ดูว่าเวลาผุดเกิดหันหน้าไปทางวิมานใดก็ต้องเป็นบริวารของเทวดาในวิมานนั้น
- ผุดปรากฏขึ้นระหว่างวิมานพอดี แต่ไม่หันหน้าไปทางวิมานใดก็ตกเป็นบริวารของเทวดาที่เป็นใหญ่ปกครองสวรรค์ชั้นนั้นๆ หรือจะยกให้เป็นบริวารของเทวดาองค์ใดองค์หนึ่งก็ได้
๑. อุปปัตติเทวะ เทวดาโดยกำเนิด ได้แก่ เทวดาและพรหม
๒. สมมติเทวะ เทวดาโดยสมมติ ได้แก่ พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระราชโอรส พระราชธิดา
๓. วิสุทธิเทวะ เทวดาที่บริสุทธิ์หมดจดจากกิเลสทั้งปวง หมายถึง พระอรหันต์
กามาวจรภูมิ ๖ (สวรรค์ ๖ ชั้น)
มนุษย์จะไปเกิดเป็นเทพยดาในสรวงสวรรค์ก็เนื่องด้วยบุญ เช่น การทำบุญใส่บาตร ทำทาน รักษาศีล ไปเกิดในสวรรค์ชั้นใดจะต้องทราบวิธีการวางใจในการทำบุญว่าทำเพื่ออะไร ทำอย่างไรบุญนั้นจึงมีผลมีอานิสงส์มาก สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ในทานสูตรมีใจความสรุปว่า
“ผู้ใดให้ทานโดยหวังผลบุญจากการให้ทานเมื่อตายไปจะไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา” เช่นใส่บาตรแล้วอธิษฐานขอให้ได้ไปเกิดในสวรรค์ให้มีอาหารกินในชาติหน้า ขอให้ได้เลื่อนยศตำแหน่งเร็วๆ เป็นต้น จัดเป็นการให้ทาน แล้วหวังผลบุญจากการให้ทาน
ชั้นที่๒ ตาวติงสาภูมิ
กามาวจรภูมิ ๖ (สวรรค์ ๖ ชั้น)
ชั้นที่๑ จาตุมหาราชิกาภูมิ
สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ มีท้าวมหาราช ๔ องค์ แบ่งกันปกครอง ดังนี้
๑. ท้าวธตรฐะ อยู่ทางทิศตะวันออกของภูเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองคันธัพพเทวดา
๒. ท้าววิรุฬหกะ อยู่ทางทิศใต้ของภูเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองกุมภัณฑเทวดา
๓. ท้าววิรูปักขะ อยู่ทางทิศตะวันตกของภูเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองนาคเทวดา
๔. ท้าวกุเวระ อยู่ทางทิศเหนือของภูเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองยักขเทวดา
ในอาฏานาฏิยสูตร ได้กล่าวถึงหน้าที่ของท้าวมหาราชทั้ง ๔ และ บริวาร คือ
เป็นผู้รักษาด่านหน้าของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อป้องกันพวกอสูร ซึ่งเป็นศัตรูของเทพชั้นดาวดึงส์จะยกทัพขึ้นมาตีเอาถิ่นสวรรค์คืน แต่ใน สุตตันตปิฎกติกนิบาต ได้แสดงหน้าที่ว่า เป็นผู้ตรวจดูโลกซึ่งเป็นที่อยู่ของหมู่มนุษย์ในวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์ อมาตย์บริษัทของท้าวมหาราชทั้ง ๔ เที่ยวตรวจดูโลก ในวัน ๑๔ ค่ำแห่งปักษ์ บุตรทั้งหลายของท้าวมหาราชทั้ง ๔ เที่ยวตรวจดูโลก ในวัน ๑๕ ค่ำแห่งปักษ์ ท้าวมหาราชทั้ง ๔ เที่ยวตรวจดูโลกเองว่า พวกมนุษย์พากันบำรุงมารดาบิดา บำรุงสมณพราหมณ์ เคารพนอบน้อมผู้ใหญ่ในตระกูล รักษาอุโบสถ ทำบุญกุศล เป็นต้น มีจำนวนมากอยู่หรือ เมื่อตรวจดูแล้วถ้าเห็นว่ามีจำนวนน้อย ก็ไปบอกแก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ซึ่ง ประชุมกันในสุธรรมสภา พวกเทพชั้นดาวดึงส์เมื่อได้ฟังดั่งนั้นก็มีใจหดหู่ ทิพยกายจักลดถอย อสุรกายจักเพิ่มพูน
แต่ถ้าเห็นว่าพวกมนุษย์พากันทำดี มีบำรุงมารดาบิดาเป็นต้น เป็นจำนวนมาก พวกเทพชั้นดาวดึงส์ก็จะพากันชื่นบาน ทิพยกายจักเพิ่มพูน อสุรกายจักลดถอย ดังกล่าวมานี้เป็นหน้าที่ของท้าวมหาราชทั้ง ๔ ทำหน้าที่คุ้มครองโลก ทั้ง ๔ ทิศ
ในเรื่องความคุ้มครองโลกนั้นพระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมที่เป็นธรรมคุ้มครองโลก(โลกบาล)ไว้ ๒ ข้อ คือ หิริ ความละอายใจที่จะทำชั่ว
โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อความชั่ว
บุคคลทั้งหลายเมื่อมีธรรมคุ้มครองโลก รักษาไว้แล้วก็จะไม่ทำความชั่วเพราะความละอาย ไม่ทำความชั่วเพราะมีความเกรงกลัว เมื่อเป็นเช่นนี้ถึงจะมีท้าวมหาราชทั้ง ๔ มาตรวจตราที่จิตใจ หรือไม่มีก็ตาม บุคคลทั้งหลายก็เป็นผู้ที่ละเว้นความชั่วได้แล้วด้วยความมีหิริและโอตตัปปะ
เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา อยู่ตั้งแต่กลางภูเขาสิเนรุจนกระทั่งถึงพื้นดินมนุษย์ มีชื่อเรียกตามที่อยู่ที่อาศัย ดังนี้
๑. ภุมมัฏฐเทวดา เทวดาที่อยู่บนพื้นดิน
๒. รุกขัฏฐเทวดา เทวดาที่อยู่บนต้นไม้
๓. อากาสัฏฐเทวดา เทวดาที่อยู่ในอากาศ (มีวิมานอยู่)
ภุมมัฏฐเทวดา เทวดาที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ตามสถานที่ต่างๆ เช่น ภูเขา แม่น้ำ มหาสมุทร ตามบ้านเรือน ซุ้มประตู เจดีย์ ศาลา ใต้พื้นดิน เป็นต้น โดยถือเอา สถานที่นั้นเป็นวิมานของตน
รุกขัฏฐเทวดา เทวดาที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ มี ๒ จำพวก คือ มีวิมาน และไม่มีวิมาน รุกขเทวดาที่มีวิมานวิมานจะตั้งอยู่บนยอดไม้ เทวดาที่ไม่มีวิมานก็จะอาศัยอยู่ บนคบไม้ กิ่งไม้
อากาสัฏฐเทวดา เทวดาที่มีวิมานของตนเองตั้งอยู่ในอากาศ ภายในภายนอกวิมาน ประกอบด้วย รัตนะ ๗ อย่าง ได้แก่ แก้วมรกต แก้วมุกดา แก้วประพาฬ แก้ว มณี แก้ววิเชียร เงิน ทอง บางวิมานมี ๒ รัตนะ ๓ รัตนะ ขึ้นอยู่กับกุศลที่ตน เคยสร้างไว้ วิมานเหล่านี้จะลอยหมุนเวียนไปในอากาศรอบ ๆ ภูเขาสิเนรุ
เทวดาใจร้าย ๔ จำพวก
สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ มีท้าวมหาราช ๔ องค์ แบ่งกันปกครอง ดังนี้
๑. ท้าวธตรฐะ อยู่ทางทิศตะวันออกของภูเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองคันธัพพเทวดา
๒. ท้าววิรุฬหกะ อยู่ทางทิศใต้ของภูเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองกุมภัณฑเทวดา
๓. ท้าววิรูปักขะ อยู่ทางทิศตะวันตกของภูเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองนาคเทวดา
๔. ท้าวกุเวระ อยู่ทางทิศเหนือของภูเขาสิเนรุ เป็นผู้ปกครองยักขเทวดา
ในอาฏานาฏิยสูตร ได้กล่าวถึงหน้าที่ของท้าวมหาราชทั้ง ๔ และ บริวาร คือ
เป็นผู้รักษาด่านหน้าของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อป้องกันพวกอสูร ซึ่งเป็นศัตรูของเทพชั้นดาวดึงส์จะยกทัพขึ้นมาตีเอาถิ่นสวรรค์คืน แต่ใน สุตตันตปิฎกติกนิบาต ได้แสดงหน้าที่ว่า เป็นผู้ตรวจดูโลกซึ่งเป็นที่อยู่ของหมู่มนุษย์ในวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์ อมาตย์บริษัทของท้าวมหาราชทั้ง ๔ เที่ยวตรวจดูโลก ในวัน ๑๔ ค่ำแห่งปักษ์ บุตรทั้งหลายของท้าวมหาราชทั้ง ๔ เที่ยวตรวจดูโลก ในวัน ๑๕ ค่ำแห่งปักษ์ ท้าวมหาราชทั้ง ๔ เที่ยวตรวจดูโลกเองว่า พวกมนุษย์พากันบำรุงมารดาบิดา บำรุงสมณพราหมณ์ เคารพนอบน้อมผู้ใหญ่ในตระกูล รักษาอุโบสถ ทำบุญกุศล เป็นต้น มีจำนวนมากอยู่หรือ เมื่อตรวจดูแล้วถ้าเห็นว่ามีจำนวนน้อย ก็ไปบอกแก่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ซึ่ง ประชุมกันในสุธรรมสภา พวกเทพชั้นดาวดึงส์เมื่อได้ฟังดั่งนั้นก็มีใจหดหู่ ทิพยกายจักลดถอย อสุรกายจักเพิ่มพูน
แต่ถ้าเห็นว่าพวกมนุษย์พากันทำดี มีบำรุงมารดาบิดาเป็นต้น เป็นจำนวนมาก พวกเทพชั้นดาวดึงส์ก็จะพากันชื่นบาน ทิพยกายจักเพิ่มพูน อสุรกายจักลดถอย ดังกล่าวมานี้เป็นหน้าที่ของท้าวมหาราชทั้ง ๔ ทำหน้าที่คุ้มครองโลก ทั้ง ๔ ทิศ
ในเรื่องความคุ้มครองโลกนั้นพระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมที่เป็นธรรมคุ้มครองโลก(โลกบาล)ไว้ ๒ ข้อ คือ หิริ ความละอายใจที่จะทำชั่ว
โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อความชั่ว
บุคคลทั้งหลายเมื่อมีธรรมคุ้มครองโลก รักษาไว้แล้วก็จะไม่ทำความชั่วเพราะความละอาย ไม่ทำความชั่วเพราะมีความเกรงกลัว เมื่อเป็นเช่นนี้ถึงจะมีท้าวมหาราชทั้ง ๔ มาตรวจตราที่จิตใจ หรือไม่มีก็ตาม บุคคลทั้งหลายก็เป็นผู้ที่ละเว้นความชั่วได้แล้วด้วยความมีหิริและโอตตัปปะ
เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกา อยู่ตั้งแต่กลางภูเขาสิเนรุจนกระทั่งถึงพื้นดินมนุษย์ มีชื่อเรียกตามที่อยู่ที่อาศัย ดังนี้
๑. ภุมมัฏฐเทวดา เทวดาที่อยู่บนพื้นดิน
๒. รุกขัฏฐเทวดา เทวดาที่อยู่บนต้นไม้
๓. อากาสัฏฐเทวดา เทวดาที่อยู่ในอากาศ (มีวิมานอยู่)
ภุมมัฏฐเทวดา เทวดาที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ตามสถานที่ต่างๆ เช่น ภูเขา แม่น้ำ มหาสมุทร ตามบ้านเรือน ซุ้มประตู เจดีย์ ศาลา ใต้พื้นดิน เป็นต้น โดยถือเอา สถานที่นั้นเป็นวิมานของตน
รุกขัฏฐเทวดา เทวดาที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ มี ๒ จำพวก คือ มีวิมาน และไม่มีวิมาน รุกขเทวดาที่มีวิมานวิมานจะตั้งอยู่บนยอดไม้ เทวดาที่ไม่มีวิมานก็จะอาศัยอยู่ บนคบไม้ กิ่งไม้
อากาสัฏฐเทวดา เทวดาที่มีวิมานของตนเองตั้งอยู่ในอากาศ ภายในภายนอกวิมาน ประกอบด้วย รัตนะ ๗ อย่าง ได้แก่ แก้วมรกต แก้วมุกดา แก้วประพาฬ แก้ว มณี แก้ววิเชียร เงิน ทอง บางวิมานมี ๒ รัตนะ ๓ รัตนะ ขึ้นอยู่กับกุศลที่ตน เคยสร้างไว้ วิมานเหล่านี้จะลอยหมุนเวียนไปในอากาศรอบ ๆ ภูเขาสิเนรุ
เทวดาใจร้าย ๔ จำพวก
เทวดาในชั้นจาตุมหาราชิกาภูมิ บางพวกขาดเมตตาธรรม เป็นเทวดา ใจร้าย มี ๔ จำพวก คือ
๑. คันธัพโพ คันธัพพี คือ เทวดาชาย หญิง ที่ถือกำเนิดภายในต้นไม้ที่ มีกลิ่นหอม เรียกว่านางไม้ หรือแม่ย่านาง ชอบรบกวนให้เกิดอุปสรรคต่างๆ เช่น เจ็บป่วย หรือทำอันตรายแก่ทรัพย์สมบัติที่นำไม้นั้นมาใช้สอย เทวดา จำพวกนี้อยู่ในความปกครองของ ท้าวธตรัฏฐะ คันธัพพเทวดานี้ สิงอยู่ในต้นไม้นั้นตลอดไป แม้ว่าใครจะตัดฟันไป ทำเรือ แพ บ้านเรือน เครื่องใช้สอย ก็คงสิงอยู่ในไม้นั้น ซึ่งผิดกับรุกขเทวดาที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ ถ้าต้นไม้นั้นตายหรือถูกตัด ก็ย้ายจากต้นไม้นั้นไปต้นไม้อื่น
๒. กุมภัณโฑ กุมภัณฑี คือ เทวดาชาย หญิง ที่เรียกว่ารากษส (อ่านว่า ราก-สด) เทวดารักษาสมบัติต่างๆ รักษาป่า ภูเขา แม่น้ำ เทวดาจำพวกนี้ อยู่ ในความปกครองของท้าววิรุฬหกะ
๓. นาโค นาคี คือ นาคเทวดาชาย หญิง มีวิชาเวทมนต์คาถา ขณะท่องเที่ยวในโลกมนุษย์ บางทีก็เนรมิตเป็นคน สัตว์ นาคเทวดาบางพวกมีอัธยาศัยชอบลงโทษพวกสัตว์นรก จะเนรมิตตัวไปเป็นนายนิรยบาลคอยลงโทษสัตว์นรก เทวดาจำพวกนี้อยู่ในความปกครองของท้าววิรูปักขะ
๔. ยักโข ยักขี คือ เทวดายักษ์ชาย หญิง พอใจการเบียดเบียนสัตว์นรกเช่นเดียวกับนาคเทวดา เทวดาพวกนี้อยู่ในความปกครองของท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณ
๑. คันธัพโพ คันธัพพี คือ เทวดาชาย หญิง ที่ถือกำเนิดภายในต้นไม้ที่ มีกลิ่นหอม เรียกว่านางไม้ หรือแม่ย่านาง ชอบรบกวนให้เกิดอุปสรรคต่างๆ เช่น เจ็บป่วย หรือทำอันตรายแก่ทรัพย์สมบัติที่นำไม้นั้นมาใช้สอย เทวดา จำพวกนี้อยู่ในความปกครองของ ท้าวธตรัฏฐะ คันธัพพเทวดานี้ สิงอยู่ในต้นไม้นั้นตลอดไป แม้ว่าใครจะตัดฟันไป ทำเรือ แพ บ้านเรือน เครื่องใช้สอย ก็คงสิงอยู่ในไม้นั้น ซึ่งผิดกับรุกขเทวดาที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้ ถ้าต้นไม้นั้นตายหรือถูกตัด ก็ย้ายจากต้นไม้นั้นไปต้นไม้อื่น
๒. กุมภัณโฑ กุมภัณฑี คือ เทวดาชาย หญิง ที่เรียกว่ารากษส (อ่านว่า ราก-สด) เทวดารักษาสมบัติต่างๆ รักษาป่า ภูเขา แม่น้ำ เทวดาจำพวกนี้ อยู่ ในความปกครองของท้าววิรุฬหกะ
๓. นาโค นาคี คือ นาคเทวดาชาย หญิง มีวิชาเวทมนต์คาถา ขณะท่องเที่ยวในโลกมนุษย์ บางทีก็เนรมิตเป็นคน สัตว์ นาคเทวดาบางพวกมีอัธยาศัยชอบลงโทษพวกสัตว์นรก จะเนรมิตตัวไปเป็นนายนิรยบาลคอยลงโทษสัตว์นรก เทวดาจำพวกนี้อยู่ในความปกครองของท้าววิรูปักขะ
๔. ยักโข ยักขี คือ เทวดายักษ์ชาย หญิง พอใจการเบียดเบียนสัตว์นรกเช่นเดียวกับนาคเทวดา เทวดาพวกนี้อยู่ในความปกครองของท้าวกุเวร หรือ ท้าวเวสสุวรรณ
มนุษย์จะไปเกิดเป็นเทพยดาในสรวงสวรรค์ก็เนื่องด้วยบุญ เช่น การทำบุญใส่บาตร ทำทาน รักษาศีล ไปเกิดในสวรรค์ชั้นใดจะต้องทราบวิธีการวางใจในการทำบุญว่าทำเพื่ออะไร ทำอย่างไรบุญนั้นจึงมีผลมีอานิสงส์มาก สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ในทานสูตรมีใจความสรุปว่า
“ผู้ใดให้ทานโดยหวังผลบุญจากการให้ทานเมื่อตายไปจะไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา” เช่นใส่บาตรแล้วอธิษฐานขอให้ได้ไปเกิดในสวรรค์ให้มีอาหารกินในชาติหน้า ขอให้ได้เลื่อนยศตำแหน่งเร็วๆ เป็นต้น จัดเป็นการให้ทาน แล้วหวังผลบุญจากการให้ทาน
ชั้นที่๒ ตาวติงสาภูมิ
ในอดีตกาลมีหมู่บ้านหนึ่งชื่อว่ามจลคาม หมู่บ้านนี้มีคนอยู่กลุ่มหนึ่ง ชื่อว่าคณะสหบุญญการี แปลว่า คณะทำบุญร่วมกัน มี ๓๓ คนเป็นผู้ชายทั้งหมด หัวหน้าชื่อว่า มาฆมานพ ชายทั้ง ๓๓ คนนี้ช่วยกันทำความสะอาด ถนนหนทาง ถนนแห่งใดชำรุดทรุดโทรมก็ช่วยกันซ่อมแซม เพื่อให้เป็นที่ สะดวกสบายแก่บุคคลทั่วไป ทำที่สำหรับเก็บน้ำเพื่อให้คนที่ผ่านไปมาได้อาศัยดื่มกิน สร้างศาลาที่ทาง ๔ แพร่ง เพื่อให้คนเดินทางได้มีที่นั่งพัก เมื่อชายทั้ง ๓๓ คนนี้สิ้นชีวิต ได้บังเกิดในเทวภูมินี้ มาฆมานพที่เป็นหัวหน้ากลุ่ม ได้เกิดเป็นพระอินทร์ ด้วยเหตุนี้เทวภูมิชั้นที่สองนี้จึงชื่อว่าตาวติงสะ แปลว่า ๓๓ เทวดาชั้นดาวดึงส์มี ๒ จำพวก คือ
๑. ภุมมัฏฐเทวดา เทวดาที่อยู่บนพื้นดิน ได้แก่ พระอินทร์และเทวดา ผู้ใหญ่ ๓๒ องค์ พร้อมทั้งบริวาร และ เทวอสุรา ๕ จำพวก ที่อยู่ใต้เขาสิเนรุ
๒. อากาสัฏฐเทวดา เทวดาที่อยู่ในอากาศ ได้แก่ เทวดาที่มีวิมานลอย ไปในกลางอากาศตั้งแต่เหนือพื้นดินยอดภูเขาสิเนรุ ไปจดขอบจักรวาล บางวิมานก็มีเทวดาอยู่ บางวิมานก็ไม่มีเทวดาอยู่
ที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แผ่นดินชั้นดาวดึงส์ ตั้งอยู่บนยอดภูเขาสิเนรุ ลักษณะกลม กว้าง ๘๔,๐๐๐ โยชน์ มีสุทัสสนนคร กลางสุทัสสนนครมีปราสาทเวชยันต์เป็นที่อยู่ ของพระอินทร์ สุทัสสนะนคร เป็นที่ตั้งของสิ่งบันเทิงใจ ดังนี้
ทิศตะวันออก มีสวนนันทวัน กว้าง ๑,๐๐๐ โยชน์ มีสระโบกขรณี ๒ สระ ชื่อ มหานันทา และ จูฬนันทา
๒. อากาสัฏฐเทวดา เทวดาที่อยู่ในอากาศ ได้แก่ เทวดาที่มีวิมานลอย ไปในกลางอากาศตั้งแต่เหนือพื้นดินยอดภูเขาสิเนรุ ไปจดขอบจักรวาล บางวิมานก็มีเทวดาอยู่ บางวิมานก็ไม่มีเทวดาอยู่
ที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แผ่นดินชั้นดาวดึงส์ ตั้งอยู่บนยอดภูเขาสิเนรุ ลักษณะกลม กว้าง ๘๔,๐๐๐ โยชน์ มีสุทัสสนนคร กลางสุทัสสนนครมีปราสาทเวชยันต์เป็นที่อยู่ ของพระอินทร์ สุทัสสนะนคร เป็นที่ตั้งของสิ่งบันเทิงใจ ดังนี้
ทิศตะวันออก มีสวนนันทวัน กว้าง ๑,๐๐๐ โยชน์ มีสระโบกขรณี ๒ สระ ชื่อ มหานันทา และ จูฬนันทา
ทิศตะวันตก มี สวนจิตรลดากว้าง ๕๐๐ โยชน์ มีสระโบกขรณี ๒ แห่ง ชื่อวิจิตรา และ จูฬจิตรา
ทิศเหนือ มีสวนมิสสกวัน กว้าง ๕๐๐ โยชน์ มีสระโบกขรณี ๒ แห่ง ชื่อธัมมา และ สุธัมมา
ทิศใต้ มีสวนผารุสกวัน กว้าง ๗๐๐ โยชน์ มีสระโบกขรณี ๒ แห่ง ชื่อภัทรา และ สุภัทรา
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีสวน ๒ แห่ง ชื่อปุณฑริกะ และมหาวัน มีความพิเศษ คือ
ทิศใต้ มีสวนผารุสกวัน กว้าง ๗๐๐ โยชน์ มีสระโบกขรณี ๒ แห่ง ชื่อภัทรา และ สุภัทรา
ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีสวน ๒ แห่ง ชื่อปุณฑริกะ และมหาวัน มีความพิเศษ คือ
๑. สวนปุณฑริกะ มีต้นปาริชาติ สูง ๑๐๐ โยชน์ แผ่กิ่งก้าน ออกไป ๕๐ โยชน์ เมื่อคราวออกดอกกลิ่นหอมไป ไกลได้ ๑๐๐ โยชน์ ใต้ต้นปาริชาติมีแท่น บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์(เป็นแท่นศิลาที่มีสีแดงเหมือน ดอกชบา) กว้าง ๕๐ โยชน์ ยาว ๖๐ โยชน์ หนา ๑๕ โยชน์ มีความอ่อนนุ่ม เมื่อพระอินทร์ประทับพักผ่อน อิริยาบถอยู่เหนือแท่นศิลาอาสน์แล้ว แท่นทิพย์นี้ก็จะอ่อนยุบลงไป เมื่อพระองค์ทรงลุกขึ้นแท่นศิลาก็จะฟูขึ้นตามเดิม สวนนี้มีศาลาฟังธรรมชื่อ ศาลาสุธัมมา มีเจดีย์มรกต คือ จุฬามณี สูง ๑๐๐ โยชน์
๒. สวนมหาวัน เป็นที่ประทับสำราญพระราชอิริยาบถของ ท้าวสักกเทวราช มีสระโบกขรณีชื่อ สุนันทา กว้าง ๑ โยชน์ และมีวิมานรายล้อมอยู่ ๑,๐๐๐ วิมาน ต้นปาริชาติ หรือต้นกัลปพฤกษ์ ในสวนปุณฑริกะ กลางสวนมีต้นไม้ใหญ่แผ่สาขาอยู่ต้นหนึ่ง ชื่อปาริชาติ เป็นต้นไม้ทิพย์ ๑๐๐ ปี จะออกดอกครั้งหนึ่ง เมื่อถึงคราวนั้นดอกไม้ในสวรรค์นี้ก็จะบานสะพรั่ง เหล่าเทพบุตรเทพธิดาก็จะพากันมารื่นเริง ผลัดเปลี่ยนเวียนกันมาเฝ้าจนกว่าดอกไม้จะบาน ครั้นดอกไม้สวรรค์บานก็จะปรากฏแสงรุ่งเรืองไปไกลหลายหมื่นวา เมื่อลมรำเพยพัดไปทิศใดย่อมส่งกลิ่นหอมไปทิศนั้น เป็นระยะไกล ดอกจะบานสะพรั่งไปทุกกิ่งก้านทั่วทั้งต้น เทพบุตรเทพธิดาองค์ใดปรารถนาจะได้ดอกปาริชาต ก็จะตกลงมาในมือดั่งรู้ ใจ
ความเป็นอยู่ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ เทวดาชั้นนี้มีความเป็นอยู่โดยเสวยผลบุญที่ได้ทำไว้ จึงได้ทิพยสมบัติ เทพบุตรเทพธิดามีแต่ความสวยงามเป็นหนุ่มเป็นสาวอยู่ตลอดไปไม่มีแก่ เจ็บ ตายปรากฏให้เห็น เทพบุตรองค์หนึ่งๆ อาจมีนางฟ้าเป็นบาทบริจาริกา ๕๐๐ หรือ ๑,๐๐๐ องค์ เทวดาในชั้นนี้ มีการไปมาหาสู่กันและกัน เทพบุตร เทพธิดา มีความรักใคร่ปรารถนาเป็นคู่ครองกัน หากขาดคู่ครองก็จะเกิดความเบื่อหน่ายในความเป็นอยู่ของตน ไม่เบิกบานรื่นเริงเหมือนเทวดาที่มีคู่ครอง เทวดาในชั้นดาวดึงส์ทั้งหลายต่างหาความสุขสำราญพร้อมด้วยบริวารของตน ในสวนทั้ง ๔ ทิศ
ความสุขที่มีอยู่ในชั้นดาวดึงส์นี้มีมากมายโดยเฉพาะสวนนันทวัน เป็นที่ให้ความสุขได้อย่างดีเลิศกว่าสถานที่ใดๆ เทพบุตรเทพธิดาองค์ใดเกิดความทุกข์โศกเศร้าใจเพราะกลัวความตาย ถ้าได้เข้าไปยังสวนนันทวันแล้วความเศร้าโศกก็จะหายไปสิ้น เทวดาองค์ใดถ้ายังไม่เคยเข้าไปในสวนนันทวัน จัดว่าเขายังไม่รู้ถึงความสุขที่ดีเลิศในสวรรค์ สวนนันทวันอย่างในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นี้ มีอยู่ในสวรรค์ทุกๆ ชั้น
สิ่งสำคัญๆ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
๑. พระเจดีย์จุฬามณี พระเจดีย์จุฬามณีเป็นสถานที่สำคัญที่สุดเป็นที่บรรจุจุฬา คือ ส่วนของ พระเกศาบนกระหม่อม พร้อมกับโมฬี คือ มุ่นหรือมวยผมทั้งหมด และ มณี คือ ปิ่นมณี หรือ ปิ่นแก้ว สำหรับปักมวยผม กับ เวฐนะ คือ เครื่องรัดมวยผม หรือที่ เรียกว่า รัดเกล้า ของพระโพธิสัตว์ คำว่า จุฬา แปลอีกอย่างหนึ่งว่า ปิ่น เพราะฉะนั้น พระเจดีย์นี้จึงเป็นที่ บรรจุ พระเกศา ปิ่นมณี และเครื่องรัดมวยผม ในตอนที่พระโพธิสัตว์เสด็จออก มหาภิเนษกรมณ์ มีกล่าวไว้ใน อวิทูเรนิทาน ในอรรถกถาชาดก มีใจความสรุปว่า
ความสุขที่มีอยู่ในชั้นดาวดึงส์นี้มีมากมายโดยเฉพาะสวนนันทวัน เป็นที่ให้ความสุขได้อย่างดีเลิศกว่าสถานที่ใดๆ เทพบุตรเทพธิดาองค์ใดเกิดความทุกข์โศกเศร้าใจเพราะกลัวความตาย ถ้าได้เข้าไปยังสวนนันทวันแล้วความเศร้าโศกก็จะหายไปสิ้น เทวดาองค์ใดถ้ายังไม่เคยเข้าไปในสวนนันทวัน จัดว่าเขายังไม่รู้ถึงความสุขที่ดีเลิศในสวรรค์ สวนนันทวันอย่างในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นี้ มีอยู่ในสวรรค์ทุกๆ ชั้น
สิ่งสำคัญๆ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
๑. พระเจดีย์จุฬามณี พระเจดีย์จุฬามณีเป็นสถานที่สำคัญที่สุดเป็นที่บรรจุจุฬา คือ ส่วนของ พระเกศาบนกระหม่อม พร้อมกับโมฬี คือ มุ่นหรือมวยผมทั้งหมด และ มณี คือ ปิ่นมณี หรือ ปิ่นแก้ว สำหรับปักมวยผม กับ เวฐนะ คือ เครื่องรัดมวยผม หรือที่ เรียกว่า รัดเกล้า ของพระโพธิสัตว์ คำว่า จุฬา แปลอีกอย่างหนึ่งว่า ปิ่น เพราะฉะนั้น พระเจดีย์นี้จึงเป็นที่ บรรจุ พระเกศา ปิ่นมณี และเครื่องรัดมวยผม ในตอนที่พระโพธิสัตว์เสด็จออก มหาภิเนษกรมณ์ มีกล่าวไว้ใน อวิทูเรนิทาน ในอรรถกถาชาดก มีใจความสรุปว่า
เมื่อพระโพธิสัตว์เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงม้ากัณฐกะเสด็จข้ามแม่น้ำอโนมา เสด็จลงจากหลังม้า ประทับยืนบนลานทราย ทรงเปลื้องอาภรณ์ประทานแก่นายฉันนะ และประทานม้ากัณฐกะแก่เขา แล้วทรงจับพระขรรค์ แสงดาบด้วยพระหัตถ์ขวา จับพระจุฬา(ยอดพระเกศา) กับพระโมฬี(มุ่นพระ เกศาทั้งหมด) ด้วยพระหัตถ์ซ้าย ทรงตัดด้วยพระขรรค์แสงดาบ พระเกศายังเหลือแนบพระเศียรประมาณสององคุลีม้วนกลับมาทางเบื้องขวา คงอยู่ขนาดนั้นตลอดพระชนม์ชีพ พระมัสสุ(หนวด)ก็มีสมควรแก่พระเกศา ไม่ต้องปลงพระเกศาและพระมัสสุอีก พระโพธิสัตว์ทรงโยนพระจุฬากับพระโมฬีขึ้นไปในอากาศ ท้าวสักกเทวราชทอดพระเนตรเห็นด้วยทิพยจักษุ ทรงรับด้วยผอบรัตนะ ทรงนำขึ้นไปประดิษฐานไว้ในที่เทวสถูป ชื่อจุฬามณีเจดีย์ในสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ พร้อมกับอีกสองสิ่ง คือ ปิ่นมณีและเครื่องรัดเกล้า รวมเป็น ๓ สิ่ง คือ
๑.พระจุฬาและพระโมฬี
๒.ปิ่นมณี
๓.เครื่องรัดเกล้า
นอกจากนี้ยังเป็นที่ บรรจุพระเขี้ยวแก้วเบื้องขวาในคราวแบ่งพระธาตุ พระจุฬามณีเจดีย์จึงบรรจุ ของสำคัญรวมไว้ ๔ สิ่ง
การแบ่งพระธาตุ มีใจความสรุปดังนี้
การแบ่งพระธาตุ มีใจความสรุปดังนี้
เมื่อโทณพราหณ์แบ่งพระธาตุ แอบหยิบเอาพระทาฐธาตุ คือเขี้ยวแก้ว เบื้องขวาขึ้นซ่อนไว้ ณ ภายใต้ผ้าโพกศีรษะ พระอินทร์ทอดพระเนตรเห็น ด้วยทิพยจักษุ ทรงดำริว่าโทณพราหมณ์ไม่อาจทำสักการะให้สมควรแก่พระทาฐธาตุ ควรจะนำมาบูชาในเทวโลก จึงทรงอัญเชิญพระทาฐธาตุนั้นจากผ้าโพกของโทณพราหมณ์ ประดิษฐานในสุวรรณโกศ ทรงนำขึ้นไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์จุฬามณี ในดาวดึงส์
๒. เทวสภาสุธัมมา เทวสภาสุธัมมา หรือ สุธรรมสภา หรือ ศาลาสุธัมมา เป็นสถานที่ฟังธรรมในเทวโลก ศาลานี้ประดับด้วยรัตนะทั้ง ๗ มีความสูง ๕๐๐ โยชน์ กว้าง ๓๐๐ โยชน์ วัดโดยรอบได้ ๑,๒๐๐ โยชน์ พื้นของศาลาเป็นแก้วผลึก เสาเป็นทอง เครื่องบนมี ขื่อ คาน ระแนง หลังคา เพดาน เป็นต้น เป็นแก้ว หลังคามุง ด้วยแก้วอินทนิล เพดานและเสาสลักเป็นลวดลายต่างๆ ประดับด้วยแก้ว ประพาฬ ช่อฟ้า ใบระกา ทำด้วยเงิน กลางศาลาตั้งธรรมาสน์สูง ๑ โยชน์ ทำ ด้วยรัตนะทั้ง ๗ กั้นด้วยเศวตฉัตรสูง ๓ โยชน์ ข้างธรรมาสน์เป็นที่ประทับ ของท้าวสักกเทวราช ถัดไปเป็นที่ประทับของเทวดาผู้ใหญ่ ๓๒ องค์ และ ถัดไปเป็นที่นั่งของเทวดาผู้ใหญ่องค์อื่นๆ และเทวดาผู้น้อยทั่วไป ศาลาสุธัมมาตั้งอยู่ข้างต้นปาริชาติ ซึ่งออกดอกปีละครั้ง เมื่อใกล้จะผลิดอก ใบจะมีสีนวล เหล่าเทวดาจะมีความยินดีปรีดาว่าอีกไม่ช้าจะได้เห็นดอก ออกสะพรั่งฉายสีแดง รัศมีแผ่ไปในปริมณฑลประมาณ ๕๐๐ โยชน์ ส่งกลิ่นหอมไปตามลมไกล ๑๐๐ โยชน์
ลมชื่อ กันตนะ ทำหน้าที่พัดให้ดอกหล่นลงมาเอง
ลมชื่อสัมปฏิจฉนะ ทำหน้าที่รองรับดอกไม้ไม่ให้ร่วงหล่นลงสู่พื้นดิน
ลมชื่อ ปเวสนะ ทำหน้าที่พัดเอาดอกไม้นั้นเข้าไปในศาลาสุธัมมา
ลมชื่อ สัมมิชชนะ ทำหน้าที่ พัดเอาดอกเก่าออกไป
ลมชื่อ ลมสันถกะ ทำหน้าที่พัดจัด ระเบียบดอกไม้นั้นให้เป็นระเบียบเรียบร้อยไม่ให้รวมกันเป็นกอง
เมื่อถึงเวลาประชุมธรรม ท้าวสักกเทวราชจะทรงเป่าสังข์วิชยุตตระ ยาว ๑๒๐ ศอก เสียงสังข์ดังก้องกังวานทั่วทั้งภายในภายนอกพระนครสุทัสสนะ เป่าครั้งหนึ่งจะดังปรากฏอยู่นานถึง ๔ เดือนมนุษย์ เทพบุตรเทพธิดา ทั้งหลายในชั้นดาวดึงส์ เมื่อได้ยินเสียงสังข์ต่างพากันมาสู่ศาลาสุธัมมา รัศมีกายและแสงจากเครื่องประดับของเทวดาทั้งหลาย สว่างไสวไปทั่วศาลา ท้าว สักกเทวราชเมื่อทรงเป่าสังข์แล้วก็เสด็จจากปราสาทเวชยันต์ พร้อมด้วยมเหสี ทั้ง ๔ องค์ ทรงขึ้นช้างเอราวัณ มีเทพยดาห้อมล้อมตามเสด็จไปสู่ศาลาสุธัมมา ประมาณ ๓ โกฏิ ๖ ล้านองค์ ผู้แสดงธรรมได้แก่พรหมชื่อว่า สุนังกุมาระ ได้เสด็จลงมาแสดงธรรมเสมอ บางครั้งท้าวสักกเทวราชก็ทรงแสดงเอง หรือ เทพบุตรองค์ใดที่มีความรู้ธรรมะดีก็จะเป็นผู้แสดง เทวภูมิเบื้องบนอีก ๔ คือ ยามา ดุสิต นิมมานรตี ปรนิมมิตวสวัตตี ก็มีศาลาสุธัมมา เช่นกัน ท้าวสักกเทวราชหรือพระอินทร์ ทรงบำเพ็ญกุศลในพระพุทธศาสนา
ลมชื่อ กันตนะ ทำหน้าที่พัดให้ดอกหล่นลงมาเอง
ลมชื่อสัมปฏิจฉนะ ทำหน้าที่รองรับดอกไม้ไม่ให้ร่วงหล่นลงสู่พื้นดิน
ลมชื่อ ปเวสนะ ทำหน้าที่พัดเอาดอกไม้นั้นเข้าไปในศาลาสุธัมมา
ลมชื่อ สัมมิชชนะ ทำหน้าที่ พัดเอาดอกเก่าออกไป
ลมชื่อ ลมสันถกะ ทำหน้าที่พัดจัด ระเบียบดอกไม้นั้นให้เป็นระเบียบเรียบร้อยไม่ให้รวมกันเป็นกอง
เมื่อถึงเวลาประชุมธรรม ท้าวสักกเทวราชจะทรงเป่าสังข์วิชยุตตระ ยาว ๑๒๐ ศอก เสียงสังข์ดังก้องกังวานทั่วทั้งภายในภายนอกพระนครสุทัสสนะ เป่าครั้งหนึ่งจะดังปรากฏอยู่นานถึง ๔ เดือนมนุษย์ เทพบุตรเทพธิดา ทั้งหลายในชั้นดาวดึงส์ เมื่อได้ยินเสียงสังข์ต่างพากันมาสู่ศาลาสุธัมมา รัศมีกายและแสงจากเครื่องประดับของเทวดาทั้งหลาย สว่างไสวไปทั่วศาลา ท้าว สักกเทวราชเมื่อทรงเป่าสังข์แล้วก็เสด็จจากปราสาทเวชยันต์ พร้อมด้วยมเหสี ทั้ง ๔ องค์ ทรงขึ้นช้างเอราวัณ มีเทพยดาห้อมล้อมตามเสด็จไปสู่ศาลาสุธัมมา ประมาณ ๓ โกฏิ ๖ ล้านองค์ ผู้แสดงธรรมได้แก่พรหมชื่อว่า สุนังกุมาระ ได้เสด็จลงมาแสดงธรรมเสมอ บางครั้งท้าวสักกเทวราชก็ทรงแสดงเอง หรือ เทพบุตรองค์ใดที่มีความรู้ธรรมะดีก็จะเป็นผู้แสดง เทวภูมิเบื้องบนอีก ๔ คือ ยามา ดุสิต นิมมานรตี ปรนิมมิตวสวัตตี ก็มีศาลาสุธัมมา เช่นกัน ท้าวสักกเทวราชหรือพระอินทร์ ทรงบำเพ็ญกุศลในพระพุทธศาสนา
ในระหว่างที่พระศาสนาของพระสมณโคดมยังไม่อุบัติขึ้น ท้าวสักกเทวราชผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีรัศมีกาย รัศมีวิมานด้อยกว่าเทพยดาชั้นผู้ใหญ่บางองค์ เมื่อศาสนาของพระสมณโคดมอุบัติขึ้นแล้ว ความสวยงามของวิมานและรัศมีกายจึงมีบริบูรณ์เต็มที่ ทั้งนี้เป็นเพราะกำลังของกุศลกรรมที่ท้าวเธอได้ลงมาถวายทานแด่พระมหากัสสปะที่เพิ่งออกจากนิโรธสมาบัติ เรื่องมีอยู่ว่า
พระมหากัสสปะเมื่อออกจากนิโรธสมาบัติต้องการโปรดคนยากจนที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง พระอินทร์ทรงทราบก็ชวนพระมเหสีเสด็จสู่โลกมนุษย์และแปลงกายเป็นคนยากจน เมื่อพระมหากัสสปะอุ้มบาตรเดินเข้าไปในหมู่บ้านและหยุดยืนอยู่ที่หน้าบ้านแรกที่ถึง ท้าวสักกะแปลงเห็นพระมหากัสสปะหยุดอยู่ที่หน้าบ้านตน จึงรีบออกมาแล้วบอกพระมเหสีแปลงให้ยกอาหารมาใส่บาตร พระเถระไม่ได้พิจารณาจึงไม่รู้ว่าสองสามี ภรรยานี้เป็นท้าวสักกะและพระมเหสี แต่พอได้กลิ่นอาหารก็รู้ว่านี่เป็นอาหารทิพย์ พระมหาเถระรู้ดังนั้นก็ต่อว่าพระอินทร์ว่า “อาตมาตั้งใจมาโปรดคนยากจน มิได้ตั้งใจจะมาโปรดผู้ที่มีบุญอยู่แล้วเช่นองค์อมรินทร์ เหตุไฉนท่านจึงมาทำเช่นนี้ ” พระ อินทร์ตรัสว่า “ข้าพระองค์ก็เป็นคนยากจนเหมือนกัน เพราะ ถึงแม้ว่าข้าพระองค์จะเป็นใหญ่อยู่ในชั้นดาวดึงส์ แต่ว่ารัศมีกายก็ดี วิมานก็ดี ของข้าพระองค์ยังด้อยกว่าเทวดาบางองค์ มากนัก ที่เป็นเช่นนี้เพราะข้าพระองค์ไม่ได้ทำกุศลในเวลาที่มีพระพุทธศาสนา มาบัดนี้ข้าพระองค์ได้มาพบกับพระผู้เป็นเจ้า แล้วจึงต้องการสร้างกุศลในศาสนา เพื่อให้รัศมีกายและวิมานของข้าพระองค์ได้มีความสว่างรุ่งโรจน์ จึงแปลงตนมากระทำดังนี้ ”
อาศัยการถวายทานนี้ พระอินทร์จึงมีรัศมีกาย และวิมาน สว่างรุ่งโรจน์สวยงามบริบูรณ์อย่างเต็มที่ ท้าวสักกเทวราชเป็นพระโสดาบัน ท้าวสักกเทวราชพระองค์นี้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน และจะอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์จนสิ้นอายุขัย เมื่อจุติ(ตาย)จากชั้นดาวดึงส์จะเกิดในมนุษยโลกเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ และสำเร็จเป็นพระสกทาคามีบุคคล เมื่อสิ้นอายุขัยแล้วก็กลับไปเกิดในชั้นดาวดึงส์อีกและได้สำเร็จเป็นพระอนาคามี เมื่อสิ้นอายุขัยจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์จะไปบังเกิดในพรหมชั้นสุทธาวาส ตั้งแต่ ชั้นอวิหา เป็นต้นไป จนถึงชั้น อกนิฏฐาภูมิและปรินิพพานในภูมินี้
คุณธรรมที่ทำให้เป็นท้าวสักกะ(พระอินทร์)
พระมหากัสสปะเมื่อออกจากนิโรธสมาบัติต้องการโปรดคนยากจนที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง พระอินทร์ทรงทราบก็ชวนพระมเหสีเสด็จสู่โลกมนุษย์และแปลงกายเป็นคนยากจน เมื่อพระมหากัสสปะอุ้มบาตรเดินเข้าไปในหมู่บ้านและหยุดยืนอยู่ที่หน้าบ้านแรกที่ถึง ท้าวสักกะแปลงเห็นพระมหากัสสปะหยุดอยู่ที่หน้าบ้านตน จึงรีบออกมาแล้วบอกพระมเหสีแปลงให้ยกอาหารมาใส่บาตร พระเถระไม่ได้พิจารณาจึงไม่รู้ว่าสองสามี ภรรยานี้เป็นท้าวสักกะและพระมเหสี แต่พอได้กลิ่นอาหารก็รู้ว่านี่เป็นอาหารทิพย์ พระมหาเถระรู้ดังนั้นก็ต่อว่าพระอินทร์ว่า “อาตมาตั้งใจมาโปรดคนยากจน มิได้ตั้งใจจะมาโปรดผู้ที่มีบุญอยู่แล้วเช่นองค์อมรินทร์ เหตุไฉนท่านจึงมาทำเช่นนี้ ” พระ อินทร์ตรัสว่า “ข้าพระองค์ก็เป็นคนยากจนเหมือนกัน เพราะ ถึงแม้ว่าข้าพระองค์จะเป็นใหญ่อยู่ในชั้นดาวดึงส์ แต่ว่ารัศมีกายก็ดี วิมานก็ดี ของข้าพระองค์ยังด้อยกว่าเทวดาบางองค์ มากนัก ที่เป็นเช่นนี้เพราะข้าพระองค์ไม่ได้ทำกุศลในเวลาที่มีพระพุทธศาสนา มาบัดนี้ข้าพระองค์ได้มาพบกับพระผู้เป็นเจ้า แล้วจึงต้องการสร้างกุศลในศาสนา เพื่อให้รัศมีกายและวิมานของข้าพระองค์ได้มีความสว่างรุ่งโรจน์ จึงแปลงตนมากระทำดังนี้ ”
อาศัยการถวายทานนี้ พระอินทร์จึงมีรัศมีกาย และวิมาน สว่างรุ่งโรจน์สวยงามบริบูรณ์อย่างเต็มที่ ท้าวสักกเทวราชเป็นพระโสดาบัน ท้าวสักกเทวราชพระองค์นี้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน และจะอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์จนสิ้นอายุขัย เมื่อจุติ(ตาย)จากชั้นดาวดึงส์จะเกิดในมนุษยโลกเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ และสำเร็จเป็นพระสกทาคามีบุคคล เมื่อสิ้นอายุขัยแล้วก็กลับไปเกิดในชั้นดาวดึงส์อีกและได้สำเร็จเป็นพระอนาคามี เมื่อสิ้นอายุขัยจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์จะไปบังเกิดในพรหมชั้นสุทธาวาส ตั้งแต่ ชั้นอวิหา เป็นต้นไป จนถึงชั้น อกนิฏฐาภูมิและปรินิพพานในภูมินี้
คุณธรรมที่ทำให้เป็นท้าวสักกะ(พระอินทร์)
ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อเป็นมนุษย์ในกาลก่อน ได้สมาทานประพฤติปฏิบัติวัตตบท ๗ ประการ จึงเกิดเป็นท้าวสักกะ คือ
๑. เลี้ยงบิดามารดาตลอดชีวิต
๒. ประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ในตระกูลตลอดชีวิต
๓. มีวาจานุ่มนวลสุภาพตลอดชีวิต
๔. มีวาจาไม่ส่อเสียดตลอดชีวิต
๕. มีใจปราศจากความตระหนี่ ยินดีในการแจกจ่ายทาน ครอบครองเรือนตลอดชีวิต
๖. มีวาจาสัตย์จริงตลอดชีวิต
๗. ไม่โกรธ แม้ว่าถ้าเกิดโกรธขึ้นก็ระงับได้ทันทีตลอดชีวิต
๑. เลี้ยงบิดามารดาตลอดชีวิต
๒. ประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ใหญ่ในตระกูลตลอดชีวิต
๓. มีวาจานุ่มนวลสุภาพตลอดชีวิต
๔. มีวาจาไม่ส่อเสียดตลอดชีวิต
๕. มีใจปราศจากความตระหนี่ ยินดีในการแจกจ่ายทาน ครอบครองเรือนตลอดชีวิต
๖. มีวาจาสัตย์จริงตลอดชีวิต
๗. ไม่โกรธ แม้ว่าถ้าเกิดโกรธขึ้นก็ระงับได้ทันทีตลอดชีวิต
พระอภิธรรม เกิดขึ้นครั้งแรกที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในพรรษาที่ ๗ ของพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้เสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาที่ไปอุบัติเป็นสันดุสิตเทพบุตร ฉะนั้นในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นี้จึงมีสาระที่สำคัญๆ สรุปไว้ดังที่กล่าวมาแล้ว
ทางไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในทานสูตรกล่าวไว้โดยสรุปว่า
“ผู้ใดทำทานโดยคิดว่าการทำทานนั้น เป็นสิ่งที่ดีงาม ตายลงย่อมไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์”
ชั้นที่๓ ยามาภูมิ
สวรรค์ชั้นที่ ๓ ชื่อว่า ยามา หรือ ยามะ แปลว่า สิ้นไปจากทุกข์ หรือ บรรลุทิพยสุขพร้อมพรั่ง สวรรค์ชั้นยามามีความสวยงามและประณีตกว่า สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พรั่งพร้อมด้วยความสุขที่เป็นทิพย์ มีผู้เป็นใหญ่ คือพระสุยามเทวาธิราช หรือเรียกว่า พระสุยามะ หรือ ยามะ มีที่ตั้งอยู่ในอากาศ สูงกว่ายอดภูเขาสิเนรุ ๔๒,๐๐๐ โยชน์ ไม่มีเทวดาประเภทที่อาศัยบนพื้นดิน มีแต่พวกอากาสัฏฐเทวดาพวกเดียว มีวิมาน ทิพยสมบัติ ร่างกาย สวยงามและประณีตกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์
ทางไปสวรรค์ชั้นยามา ทานสูตรกล่าวว่า
“ถ้าผู้ใดทำทานโดยคิดว่า บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย เคยทำบุญทำทานมา โดยตลอด เราก็ควรจะได้ทำตามประเพณีที่ท่าน เคยทำมา” ถ้าผู้นั้นให้ทานด้วยอาการอย่างนี้แล้ว เมื่อทำกาลกิริยาตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเหล่าเทวดาทั้งหลายในสวรรค์ชั้นยามา ตัวอย่างผู้ที่ไปเกิดในชั้นยามาภูมิ คือ อุบาสกผู้หนึ่งมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา อุทิศถวายอาหารเป็นสังฆทานแด่พระภิกษุสงฆ์วันละ ๔ รูปทุกวัน เขาได้จ้างบุรุษผู้หนึ่งให้คอยเปิดปิดประตูเวลาพระจะมารับสังฆทาน บุรุษนั้นต้อนรับพระภิกษุสงฆ์ที่มารับสังฆทานด้วยความนอบน้อมเลื่อมใส ศรัทธา เมื่ออุบาสกผู้นั้นดับชีพลง ได้ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นยามา ส่วนบุรุษผู้ต้อนรับเฝ้าประตูไปบังเกิดในดาวดึงส์
ชั้นที่๔ ดุสิตาภูมิ
ดุสิตาภูมิ สวรรค์ชั้นที่ ๔ ชื่อว่า ตุสิตา หรือ ตุสิตะ มักเรียกว่าชั้นดุสิต แปลว่า ยินดีชื่นบาน คือ มีปีติอยู่ด้วยสิริสมบัติของตน เป็นภูมิที่อยู่ของพระโพธิสัตว์ก่อนที่จะไปบังเกิดในมนุษยโลก เทวดาในชั้นดุสิตนับว่าเป็นเทวดาที่ประเสริฐกว่าเทวดาในภูมิอื่นๆ มีท้าวสันตุสิตเทวราชเป็นผู้ปกครอง มีร่างกาย วิมาน ทิพยสมบัติ สวยงามประณีตกว่าเทวดาในชั้นยามา ดุสิตาภูมิตั้งอยู่ท่ามกลางอากาศ สูงจากชั้นยามาขึ้นไป ๔๒,๐๐๐ โยชน์ บริเวณแผ่กว้างออกไปจนจรดขอบจักรวาล เทวดาเป็นอากาสัฎฐเทวดาเท่านั้น
ความโกลาหลในสวรรค์
ความโกลาหลอย่างขนานใหญ่ของพวกเทวดาทั้งปวงมีอยู่สามสมัย คือ
๑. สมัยเมื่อโลกจะวินาศ
๒. สมัยเมื่อพระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้น
๓. สมัยเมื่อพระเจ้าจักรพรรดิจะเกิดขึ้น
พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายในบัดนี้ ก่อนที่จะลงมาเกิดในโลกนี้ ได้ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ประทับอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต เมื่อกาลใกล้กำหนดที่จะตายจากเทวดา ลงมาตรัสรู้ในมนุษย์โลก เทวดาทั้งปวงก็เกิด โกลาหล พากันไปเฝ้าทูลอาราธนาพระโพธิสัตว์ลงไปตรัสรู้ พระโพธิสัตว์ได้ทรงตรวจดูสถานะ ๕ อย่างคือ
๑. กาล
๒. ทวีป
๓. ประเทศ
๔. ตระกูล
๕. มารดาและกำหนดอายุของมารดา
กาล คือ กาลแห่งอายุขัยของมนุษย์ ถ้ามนุษย์มีอายุขัยมากเกินแสนปีขึ้นไป หรือ ต่ำกว่าร้อยปีลงมา ก็ไม่ใช่กาลที่จะลงมาตรัสรู้ เพราะยุคสมัยที่มนุษย์อายุขัยมากไปก็ไม่อาจเห็นไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น อนัตตา น้อยไปก็มีกิเลสหนามากไม่อาจเห็นธรรม แต่ในปัจจุบันนั้นเป็นยุคที่มนุษย์มีอายุร้อยปี จึงเป็นกาลที่จะลงมาตรัสรู้ได้
ทวีป คือทรงเห็นชมพูทวีปเหมาะที่จะลงมาตรัสรู้
ประเทศ คือ ทรงเห็นมัชฌิมประเทศคือท้องถิ่นของชมพูทวีปเป็นที่ เหมาะ เช่นสถานที่ประสูติปัจจุบันอยู่ในเนปาล
ตระกูล ทรงเห็นศักยราชตระกูล และพระเจ้าสุทโธทนะจะเป็นพระบิดาได้
มารดา ทรงเห็นพระนางสิริมหามายามีศีลและบารมีธรรมสมควรเป็นพระมารดาได้ ทั้งจะมีพระชนม์สืบไปจากเวลาที่พระโอรสประสูติเพียงเจ็ดวัน สัตว์อื่นไม่อาจอาศัยคัพโภทร(ครรภ์)บังเกิดได้อีก
ครั้นพระโพธิสัตว์ทรงเห็นสถานะทั้ง ๕ มีครบบริบูรณ์แล้ว จึงทรงรับอาราธนาของเทพทั้งปวง
ทางไปสวรรค์ชั้นดุสิต ทานสูตรกล่าวว่า
“ผู้ใดให้ทานโดยคิดว่า เราหุงหากินได้ สมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่ได้หุงหากิน ถ้าเราไม่ให้ทานก็เป็นสิ่งไม่ควรอย่างยิ่ง เมื่อเขาตายลงแล้วกุศลนั้นส่งผล ย่อมทำให้เขาไปบังเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์ชั้นดุสิต” ตัวอย่างผู้ไปเกิดในชั้นดุสิต ได้แก่ พระนางสิริมหามายา พระพุทธมารดาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้นประสูติพระโพธิสัตว์แล้ว ๗ วัน สวรรคตแล้วไปเกิดเป็นเทพบุตร อาจมีคำถามว่า ทำไมต้องเกิดเป็นเทพบุตรซึ่งเป็นชาย เกิดเป็นเทพธิดาไม่ได้หรือ ? เหตุผลคือ เพราะเป็นวิสัยของพระพุทธชนนีซึ่งมีบุญญาธิการ ถ้าเกิดเป็นเทพธิดาหากเทพบุตรเกิดความปฏิพัทธ์มีจิตรักใคร่เสน่หา จะเกิดเป็นโทษอย่างยิ่งแก่เทพบุตรองค์นั้น
ชั้นที่๓ ยามาภูมิ
สวรรค์ชั้นที่ ๓ ชื่อว่า ยามา หรือ ยามะ แปลว่า สิ้นไปจากทุกข์ หรือ บรรลุทิพยสุขพร้อมพรั่ง สวรรค์ชั้นยามามีความสวยงามและประณีตกว่า สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ พรั่งพร้อมด้วยความสุขที่เป็นทิพย์ มีผู้เป็นใหญ่ คือพระสุยามเทวาธิราช หรือเรียกว่า พระสุยามะ หรือ ยามะ มีที่ตั้งอยู่ในอากาศ สูงกว่ายอดภูเขาสิเนรุ ๔๒,๐๐๐ โยชน์ ไม่มีเทวดาประเภทที่อาศัยบนพื้นดิน มีแต่พวกอากาสัฏฐเทวดาพวกเดียว มีวิมาน ทิพยสมบัติ ร่างกาย สวยงามและประณีตกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์
ทางไปสวรรค์ชั้นยามา ทานสูตรกล่าวว่า
“ถ้าผู้ใดทำทานโดยคิดว่า บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย เคยทำบุญทำทานมา โดยตลอด เราก็ควรจะได้ทำตามประเพณีที่ท่าน เคยทำมา” ถ้าผู้นั้นให้ทานด้วยอาการอย่างนี้แล้ว เมื่อทำกาลกิริยาตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเหล่าเทวดาทั้งหลายในสวรรค์ชั้นยามา ตัวอย่างผู้ที่ไปเกิดในชั้นยามาภูมิ คือ อุบาสกผู้หนึ่งมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา อุทิศถวายอาหารเป็นสังฆทานแด่พระภิกษุสงฆ์วันละ ๔ รูปทุกวัน เขาได้จ้างบุรุษผู้หนึ่งให้คอยเปิดปิดประตูเวลาพระจะมารับสังฆทาน บุรุษนั้นต้อนรับพระภิกษุสงฆ์ที่มารับสังฆทานด้วยความนอบน้อมเลื่อมใส ศรัทธา เมื่ออุบาสกผู้นั้นดับชีพลง ได้ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นยามา ส่วนบุรุษผู้ต้อนรับเฝ้าประตูไปบังเกิดในดาวดึงส์
ชั้นที่๔ ดุสิตาภูมิ
ดุสิตาภูมิ สวรรค์ชั้นที่ ๔ ชื่อว่า ตุสิตา หรือ ตุสิตะ มักเรียกว่าชั้นดุสิต แปลว่า ยินดีชื่นบาน คือ มีปีติอยู่ด้วยสิริสมบัติของตน เป็นภูมิที่อยู่ของพระโพธิสัตว์ก่อนที่จะไปบังเกิดในมนุษยโลก เทวดาในชั้นดุสิตนับว่าเป็นเทวดาที่ประเสริฐกว่าเทวดาในภูมิอื่นๆ มีท้าวสันตุสิตเทวราชเป็นผู้ปกครอง มีร่างกาย วิมาน ทิพยสมบัติ สวยงามประณีตกว่าเทวดาในชั้นยามา ดุสิตาภูมิตั้งอยู่ท่ามกลางอากาศ สูงจากชั้นยามาขึ้นไป ๔๒,๐๐๐ โยชน์ บริเวณแผ่กว้างออกไปจนจรดขอบจักรวาล เทวดาเป็นอากาสัฎฐเทวดาเท่านั้น
ความโกลาหลในสวรรค์
ความโกลาหลอย่างขนานใหญ่ของพวกเทวดาทั้งปวงมีอยู่สามสมัย คือ
๑. สมัยเมื่อโลกจะวินาศ
๒. สมัยเมื่อพระพุทธเจ้าจะอุบัติขึ้น
๓. สมัยเมื่อพระเจ้าจักรพรรดิจะเกิดขึ้น
พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายในบัดนี้ ก่อนที่จะลงมาเกิดในโลกนี้ ได้ทรงเป็นพระโพธิสัตว์ประทับอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต เมื่อกาลใกล้กำหนดที่จะตายจากเทวดา ลงมาตรัสรู้ในมนุษย์โลก เทวดาทั้งปวงก็เกิด โกลาหล พากันไปเฝ้าทูลอาราธนาพระโพธิสัตว์ลงไปตรัสรู้ พระโพธิสัตว์ได้ทรงตรวจดูสถานะ ๕ อย่างคือ
๑. กาล
๒. ทวีป
๓. ประเทศ
๔. ตระกูล
๕. มารดาและกำหนดอายุของมารดา
กาล คือ กาลแห่งอายุขัยของมนุษย์ ถ้ามนุษย์มีอายุขัยมากเกินแสนปีขึ้นไป หรือ ต่ำกว่าร้อยปีลงมา ก็ไม่ใช่กาลที่จะลงมาตรัสรู้ เพราะยุคสมัยที่มนุษย์อายุขัยมากไปก็ไม่อาจเห็นไตรลักษณ์ คือ ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น อนัตตา น้อยไปก็มีกิเลสหนามากไม่อาจเห็นธรรม แต่ในปัจจุบันนั้นเป็นยุคที่มนุษย์มีอายุร้อยปี จึงเป็นกาลที่จะลงมาตรัสรู้ได้
ทวีป คือทรงเห็นชมพูทวีปเหมาะที่จะลงมาตรัสรู้
ประเทศ คือ ทรงเห็นมัชฌิมประเทศคือท้องถิ่นของชมพูทวีปเป็นที่ เหมาะ เช่นสถานที่ประสูติปัจจุบันอยู่ในเนปาล
ตระกูล ทรงเห็นศักยราชตระกูล และพระเจ้าสุทโธทนะจะเป็นพระบิดาได้
มารดา ทรงเห็นพระนางสิริมหามายามีศีลและบารมีธรรมสมควรเป็นพระมารดาได้ ทั้งจะมีพระชนม์สืบไปจากเวลาที่พระโอรสประสูติเพียงเจ็ดวัน สัตว์อื่นไม่อาจอาศัยคัพโภทร(ครรภ์)บังเกิดได้อีก
ครั้นพระโพธิสัตว์ทรงเห็นสถานะทั้ง ๕ มีครบบริบูรณ์แล้ว จึงทรงรับอาราธนาของเทพทั้งปวง
ทางไปสวรรค์ชั้นดุสิต ทานสูตรกล่าวว่า
“ผู้ใดให้ทานโดยคิดว่า เราหุงหากินได้ สมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่ได้หุงหากิน ถ้าเราไม่ให้ทานก็เป็นสิ่งไม่ควรอย่างยิ่ง เมื่อเขาตายลงแล้วกุศลนั้นส่งผล ย่อมทำให้เขาไปบังเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์ชั้นดุสิต” ตัวอย่างผู้ไปเกิดในชั้นดุสิต ได้แก่ พระนางสิริมหามายา พระพุทธมารดาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้นประสูติพระโพธิสัตว์แล้ว ๗ วัน สวรรคตแล้วไปเกิดเป็นเทพบุตร อาจมีคำถามว่า ทำไมต้องเกิดเป็นเทพบุตรซึ่งเป็นชาย เกิดเป็นเทพธิดาไม่ได้หรือ ? เหตุผลคือ เพราะเป็นวิสัยของพระพุทธชนนีซึ่งมีบุญญาธิการ ถ้าเกิดเป็นเทพธิดาหากเทพบุตรเกิดความปฏิพัทธ์มีจิตรักใคร่เสน่หา จะเกิดเป็นโทษอย่างยิ่งแก่เทพบุตรองค์นั้น
สวรรค์ชั้นที่ ๕ ชื่อว่า นิมมานรตี หรือ นิมมานรดี แปลว่า อภิรมย์ยินดีในสิ่งที่นิรมิตขึ้น คือนอกจากทิพอารมณ์ที่ได้รับอยู่โดยปรกติแล้ว ในเวลาที่ต้องการสิ่งใด ก็นิรมิตสิ่งนั้นขึ้นได้อีกตามความต้องการ เทวดาที่เกิดในชั้นจาตุมหาราชิกา จนถึงดุสิต ทั้ง ๔ ภูมินี้ ย่อมมีคู่ครองของตนเป็นประจำอยู่มากบ้าง น้อยบ้าง ตามบุญญาธิการของตน แต่ในชั้นนิมมานรตีและปรนิมมิตวสวัตตี ไม่มีคู่ครองของตนเป็นประจำ เวลาใดที่ปรารถนาใคร่จะเสพกามคุณก็จะเนรมิตขึ้นมาตามที่ใจปรารถนา เมื่อได้เพลิดเพลินกับการเสพกามคุณแล้ว เทพเนรมิตจะอันตรธานไป มีความเพลิดเพลินเป็นอยู่เช่นนี้ตลอดไป เมื่อพิจารณาแล้วก็เป็นภูมิที่น่ารื่นรมย์ แต่ถ้าจะพิจารณาโดยสภาวธรรมแล้วเห็นว่าเป็นการไปใช้บุญเก่าพร้อมกับสะสมกิเลสใหม่ไปด้วย เมื่อหมดบุญเก่าก็ต้องไปรับผลของกิเลสที่สะสมใหม่ เมื่อตายจากเทวภูมิแล้วอาจจะไปเกิดในอบายภูมิด้วยกำลังแห่งอกุศลที่ได้กระทำไว้ในเทวภูมินั้น เมื่อท่านทราบเช่นนี้แล้วก็ไม่ควรยินดี แต่ให้มองเห็นวัฏฏะของชีวิตว่าถึงจะเกิดมาได้รับความสุขอย่างล้นเหลือในเทวภูมิใดๆ ก็ตาม ตราบใดเมื่อยังมีการเกิดอีก ความทุกข์ความโทมนัสไม่อาจหลีกเลี่ยงได้แน่นอน นิมมานรตีภูมิ อยู่กลางอากาศห่างจากดุสิตาภูมิขึ้นไป ๔๒,๐๐๐ โยชน์ มีแต่อากาสัฏฐเทวดาอย่างเดียว ที่มีความสวยงามประณีต มีอายุยืนกว่าเทวดาในชั้นดุสิต
ทางไปสวรรค์ชั้นนิมมานรตี ในทานสูตรกล่าวว่า
“ผู้ใดทำทานโดยคิดว่าเราจะให้ทานเหมือน อย่างฤาษีทั้งหลายที่ได้กระทำมาในอดีต เมื่อตายและกุศลนั้นจะส่งผล ย่อมทำให้เขาไปบังเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์ชั้นนิมมานรตี” ตัวอย่างผู้ที่ไปเกิดในสวรรค์ชั้นนี้ คือ หญิงชราอนาถาผู้หนึ่งได้ใส่บาตรด้วยน้ำผักดอง แด่พระมหากัสสปเถระเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ที่ออกจาก นิโรธสมาบัติ พอตกกลางคืนเข้านอนเกิดเป็นโรคลมฉับพลันถึงแก่ความตาย ก่อนที่จะตายนางยังชื่มชมปีติโสมนัสอยู่ในใจที่พระมหากัสสปเถระเจ้าได้กรุณามาโปรดถึงหน้าบ้านเพื่ออนุเคราะห์ให้นางได้ทำทาน กุศลนี้เองที่นำให้นางไปเกิดเป็นเทพนารี มีฤทธิ์ มีอานุภาพมากในสวรรค์ชั้นนิมมานรตี เสวยทิพยสมบัติอยู่ในปราสาทพิมาน
ทางไปสวรรค์ชั้นนิมมานรตี ในทานสูตรกล่าวว่า
“ผู้ใดทำทานโดยคิดว่าเราจะให้ทานเหมือน อย่างฤาษีทั้งหลายที่ได้กระทำมาในอดีต เมื่อตายและกุศลนั้นจะส่งผล ย่อมทำให้เขาไปบังเกิดเป็นเทวดาในสวรรค์ชั้นนิมมานรตี” ตัวอย่างผู้ที่ไปเกิดในสวรรค์ชั้นนี้ คือ หญิงชราอนาถาผู้หนึ่งได้ใส่บาตรด้วยน้ำผักดอง แด่พระมหากัสสปเถระเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ที่ออกจาก นิโรธสมาบัติ พอตกกลางคืนเข้านอนเกิดเป็นโรคลมฉับพลันถึงแก่ความตาย ก่อนที่จะตายนางยังชื่มชมปีติโสมนัสอยู่ในใจที่พระมหากัสสปเถระเจ้าได้กรุณามาโปรดถึงหน้าบ้านเพื่ออนุเคราะห์ให้นางได้ทำทาน กุศลนี้เองที่นำให้นางไปเกิดเป็นเทพนารี มีฤทธิ์ มีอานุภาพมากในสวรรค์ชั้นนิมมานรตี เสวยทิพยสมบัติอยู่ในปราสาทพิมาน
ชั้นที่๖ ปรนิมมิตวสวัตตีภูมิ
สวรรค์ชั้นที่ ๖ ชื่อว่า ปรนิมมิตวสวัตตี แปลว่า ทำอำนาจของตนให้เป็นไปในโภคะทั้งหลายที่ผู้อื่นรู้ความคิดของจิตแล้วนิรมิตให้ เทวดาในสวรรค์ชั้นนี้เพียงแต่คิด ก็จะมีผู้เนรมิตสิ่งปรารถนานั้นให้ไม่ต้องเนรมิตเอง ผู้ที่มาคอยนิรมิตให้นั้นไม่มีกล่าวว่าเป็นเทพพวกไหนชั้นไหนทำให้ เทวดาชั้นนี้มีความสุขความสำราญยิ่งกว่าสวรรค์ชั้นที่ ๕ เมื่อปรารถนาเสวยกามคุณก็มีผู้นิรมิตให้ เมื่อได้เสวยกามคุณสมความปรารถนาแล้ว เทพเนรมิตจะอันตรธานไป ปรนิมมิตวสวัตตีภูมิตั้งอยู่ในอากาศ ห่างจากนิมมานรตีภูมิ ๔๒,๐๐๐ โยชน์ มีแต่อากาสัฏฐ-เทวดาอย่างเดียว มีท้าวปรนิมมิตตเทวราช หรือ ท้าววสวัตตีเทวราช เป็นผู้ปกครองเทวดาทั้ง ๖ ชั้น เทวดาในชั้นนี้มีร่างกาย วิมานทิพยสมบัติ สวยงามประณีตมากกว่าเทวดาในชั้นนิมมานรตี ภูมินี้ถือว่าเป็นยอดภูมิ คือ ภูมิที่สูงสุดของเทวดา
ทางไปสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ในทานสูตรกล่าวไว้ว่า
“ผู้ใดทำทานโดยคิดว่า ทำทานเพื่อให้จิตเกิดความปลื้มปีติในบุญที่ทำ เมื่อตายลงและกุศลนั้นจะส่งผลจะทำให้ไปเกิดใน สวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี”
ทางไปสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ในทานสูตรกล่าวไว้ว่า
“ผู้ใดทำทานโดยคิดว่า ทำทานเพื่อให้จิตเกิดความปลื้มปีติในบุญที่ทำ เมื่อตายลงและกุศลนั้นจะส่งผลจะทำให้ไปเกิดใน สวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี”
ในมนุษยโลกและเทวโลก ภูมิไหนจะมีพระอริยบุคคลมากกว่า
ในเทวภูมิมีพระอริยบุคคลมากกว่ามนุษยภูมิ เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อแสดงธรรมแต่ละครั้งมีเทวดาฟังธรรมและบรรลุเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเทวดาที่ฟังธรรมแล้วบรรลุเป็นพระโสดาบันและพระสกทาคามี มีเป็นจำนวนมาก ส่วนที่บรรลุเป็นพระอนาคามีบุคคลเมื่อหมดอายุขัยจากเทวดาแล้วก็จะไปบังเกิดในพรหมภูมิ ส่วนที่บรรลุเป็นพระอรหันต์เมื่อหมดอายุขัยแล้วก็ปรินิพพานไม่มีการเกิดอีก
การที่พระอริยบุคคลในมนุษยโลกมีน้อยกว่าในเทวโลก เพราะบุคคลที่นับถือพระพุทธศาสนาในมนุษยโลกนี้ มีความสนใจในการปฏิบัติวิปัสสนาน้อย และยิ่งในปัจจุบันมนุษยโลกเข้าสู่กลียุค คือ มีสัปบุรุษ (คนดี)อยู่เพียง ๑ ใน ๔ ส่วน นอกนั้นเป็นอสัปบุรุษ (คนพาล) ที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในศีลธรรมอันดี ไม่สนใจเรื่องปริยัติและปฏิบัติจึงขาดความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนา ไม่อาจนำตนให้พ้นจากปุถุชนไปสู่อริยบุคคลได้ ฉะนั้น การจะเข้าถึงความเป็นพระอริยบุคคล ต้องมีคุณธรรม ๗ ประการ คือ
๑. ต้องเป็นติเหตุกบุคคล(อ่านว่า ติ-เห-ตุ-กะ-บุค-คล) คือ บุคคลที่เกิดมาประกอบด้วยเหตุ ๓ คือ
อโลภะ อโทสะ อโมหะ อันเป็นผู้ที่เกิดมาพร้อมด้วยปัญญา
๒. เคยสร้างปัญญาบารมีในการเจริญวิปัสสนามาแต่ชาติก่อน
๓. ขวนขวายในการเจริญวิปัสสนาในปัจจุบันชาติ
๔. วิธีการเจริญวิปัสสนาถูกต้องตามที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้
๕. สถานที่เหมาะสมแก่การปฏิบัติ
๖. ไม่มีความกังวลใดๆในปลิโพธิ ๑๐ ประการ คือ กังวลเรื่องที่อยู่ กังวลเรื่องตระกูล กังวลเรื่องลาภสักการะ กังวลเรื่องหมู่คณะ กังวลเรื่องนวกรรม(งานก่อสร้าง) กังวลเรื่องการเดินทาง กังวลเรื่องญาติ กังวลเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ กังวลเรื่องการเล่าเรียน กังวลเรื่องการแสดงอิทธิฤทธิ์
๗ . มีเวลาในการปฏิบัติอันสมควร
การที่พระอริยบุคคลในมนุษยโลกมีน้อยกว่าในเทวโลก เพราะบุคคลที่นับถือพระพุทธศาสนาในมนุษยโลกนี้ มีความสนใจในการปฏิบัติวิปัสสนาน้อย และยิ่งในปัจจุบันมนุษยโลกเข้าสู่กลียุค คือ มีสัปบุรุษ (คนดี)อยู่เพียง ๑ ใน ๔ ส่วน นอกนั้นเป็นอสัปบุรุษ (คนพาล) ที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในศีลธรรมอันดี ไม่สนใจเรื่องปริยัติและปฏิบัติจึงขาดความรู้ความเข้าใจในพระพุทธศาสนา ไม่อาจนำตนให้พ้นจากปุถุชนไปสู่อริยบุคคลได้ ฉะนั้น การจะเข้าถึงความเป็นพระอริยบุคคล ต้องมีคุณธรรม ๗ ประการ คือ
๑. ต้องเป็นติเหตุกบุคคล(อ่านว่า ติ-เห-ตุ-กะ-บุค-คล) คือ บุคคลที่เกิดมาประกอบด้วยเหตุ ๓ คือ
อโลภะ อโทสะ อโมหะ อันเป็นผู้ที่เกิดมาพร้อมด้วยปัญญา
๒. เคยสร้างปัญญาบารมีในการเจริญวิปัสสนามาแต่ชาติก่อน
๓. ขวนขวายในการเจริญวิปัสสนาในปัจจุบันชาติ
๔. วิธีการเจริญวิปัสสนาถูกต้องตามที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้
๕. สถานที่เหมาะสมแก่การปฏิบัติ
๖. ไม่มีความกังวลใดๆในปลิโพธิ ๑๐ ประการ คือ กังวลเรื่องที่อยู่ กังวลเรื่องตระกูล กังวลเรื่องลาภสักการะ กังวลเรื่องหมู่คณะ กังวลเรื่องนวกรรม(งานก่อสร้าง) กังวลเรื่องการเดินทาง กังวลเรื่องญาติ กังวลเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ กังวลเรื่องการเล่าเรียน กังวลเรื่องการแสดงอิทธิฤทธิ์
๗ . มีเวลาในการปฏิบัติอันสมควร