กิเลส ๑,๕๐๐
สิ่งที่ทําให้เกิดกิเลส หรือ อารมณ์ของกิเลส ที่เกิดจากภายใน คือ ตัวเรา มี ๗๕ และ กิเลสที่เกิดจากภายนอก คือ คนอื่น มี ๗๕ รวมเป็น ๑๕๐
สิ่งที่ทําให้เกิดกิเลส หรือ อารมณ์ของกิเลส ที่เกิดจากภายใน คือ ตัวเรา มี ๗๕ และ กิเลสที่เกิดจากภายนอก คือ คนอื่น มี ๗๕ รวมเป็น ๑๕๐
ตัวเรา ก็คือ รูป - นาม (รูป ๒๒ – นาม ๕๓) = ๗๕ คนอื่น ก็คือ รูป - นาม (รูป ๒๒ - นาม ๕๓) = ๗๕ รวมเป็น ๑๕๐
ตัวเรา คือ รูป– นาม รวมได้ ๗๕ เป็นอย่างไร? คนอื่น คือรูป –นามรวมได้ ๗๕ เป็นอย่างไร?
ตัวเราและคนอื่น ประกอบด้วย นาม มีองค์ประกอบคือ จิต๑ เจตสิก ๕๒ รูป มีองค์ประกอบคือ นิปผันนรูป ๑๘ ลักขณรูป ๔ รวมรูป+นาม = ๗๕
ตัวเราและคนอื่น ประกอบด้วย นาม มีองค์ประกอบคือ จิต๑ เจตสิก ๕๒ รูป มีองค์ประกอบคือ นิปผันนรูป ๑๘ ลักขณรูป ๔ รวมรูป+นาม = ๗๕
กิเลสภายในคือ ตัวเรา มี ๗๕ เป็นอารมณให้ คนอื่น เกิดกิเลสได้ เช่น มีคนมารัก เรา หรือ เกลียด เรา
กิเลสภายนอก คือ คนอื่น มี ๗๕ เป็นอารมณให้ เรา เกิดกิเลสได้ เช่น ทําให้เรารัก หรือทําให้เราเกลียด กิเลส มี ๑๐ อารมณ์ของกิเลสจากตัวเราและตัวเขา มี ๑๕๐ (๑๕๐ x ๑๐ = กิเลส ๑,๕๐๐)
กิเลสภายนอก คือ คนอื่น มี ๗๕ เป็นอารมณให้ เรา เกิดกิเลสได้ เช่น ทําให้เรารัก หรือทําให้เราเกลียด กิเลส มี ๑๐ อารมณ์ของกิเลสจากตัวเราและตัวเขา มี ๑๕๐ (๑๕๐ x ๑๐ = กิเลส ๑,๕๐๐)
อาการของกิเลส
กิเลสทั้งหลายไม่ว่าจะนับว่ามี๑๐หรือมี๑,๕๐๐ก็ตามเมื่อพิจารณาถึงอาการของกิเลสแล้วกิเลส ทั้งหลายก็มีอาการ๓ประการคือ
๑. กิเลสที่นอนสงบนิ่ง เรียกว่าอนุสัยกิเลสเป็นกิเลสที่นอนเนื่องสงบนิ่งอยู่ในขันธสันดานยังไม่ ลุกขึ้นมาแผลงฤทธิ ซึ่งตัวเองก็ไม่สามารถรู้ได้และคนอื่นก็ไม่สามารถรู้ได้
๒. กิเลสที่กลุ้มรุมอยู่ภายใน เรียกว่า ปริยุฏฐานกิเลส เป็นกิเลสที่คุกรุ่นอยู่ในใจ เกิดขึ้นแผลงฤทธิ อยู่เพียงในใจทำให้หงุดหงิดใจ ยังไม่แสดงออกทางกายทางวาจา ซึ่งตัวเองรู้ ส่วนคนอื่นบางทีรู้ บางทีก็ไม่รู้
๓. กิเลสที่ล้น เรียกว่า วีติกกมกิเลส เป็นกิเลสที่แผลงฤทธิออกมาอย่างโจ่งแจ้งล่วงออกมาทางกายทางวาจา ตัวเองรู้ชัดคนอื่นก็รู้ชัดอย่างโจ่งแจ้ง เช่น ความอยากได้ การด่า การทำร้ายร่างกาย
อุปกิเลส ๑๖ ความเศร้าหมองอีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า อุปกิเลส มีจํานวน ๑๖ ประการ คือ
๑. อภิชฌาวิสมโลภะ เพ่งเล็งอยากได้ของเขา องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก
๒. โทสะ ความร้ายกาจ การทําลาย องค์ธรรมได้แก่ โทสเจตสิก
๓. โกธะ ความโกรธ องค์ธรรมได้แก่ โทสเจตสิก
๔. อุปนาหะ การผูกโกรธไว้ องค์ธรรมได้แก่ โทสเจตสิก
๕. มักขะ การลบหลู่คุณท่าน องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก
๖. ปลาสะ การตีเสมอ ยกตนเทียมท่าน องค์ธรรมได้แก่ มานเจตสิก
๗. อิสสา การริษยา องค์ธรรมได้แก่ อิสสาเจตสิก
๘. มัจฉริยะ ความตระหนี่ องค์ธรรมได้แก่ มัจฉริยเจตสิก
๙. มายา มารยา เจ้าเล่ห องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก
๑๐. สาเถยยะ โอ้อวด องค์ธรรมได้แก่ มานเจตสิก
๑๑. ถัมภะ หัวดื้อ องค์ธรรมได้แก่ มานเจตสิก
๑๒. สารัมภะ แข่งดี องค์ธรรมได้แก่ มานเจตสิก
๑๓. มานะ ถือตัว องค์ธรรมได้แก่ มานเจตสิก
๑๔. อติมานะ ดูหมิ่นท่าน องค์ธรรมได้แก่ มานเจตสิก
๑๕. มทะ มัวเมา องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิก
๑๖. ปมาทะ เลินเล่อ องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิก
๑. อภิชฌาวิสมโลภะ เพ่งเล็งอยากได้ของเขา องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก
๒. โทสะ ความร้ายกาจ การทําลาย องค์ธรรมได้แก่ โทสเจตสิก
๓. โกธะ ความโกรธ องค์ธรรมได้แก่ โทสเจตสิก
๔. อุปนาหะ การผูกโกรธไว้ องค์ธรรมได้แก่ โทสเจตสิก
๕. มักขะ การลบหลู่คุณท่าน องค์ธรรมได้แก่ ทิฏฐิเจตสิก
๖. ปลาสะ การตีเสมอ ยกตนเทียมท่าน องค์ธรรมได้แก่ มานเจตสิก
๗. อิสสา การริษยา องค์ธรรมได้แก่ อิสสาเจตสิก
๘. มัจฉริยะ ความตระหนี่ องค์ธรรมได้แก่ มัจฉริยเจตสิก
๙. มายา มารยา เจ้าเล่ห องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก
๑๐. สาเถยยะ โอ้อวด องค์ธรรมได้แก่ มานเจตสิก
๑๑. ถัมภะ หัวดื้อ องค์ธรรมได้แก่ มานเจตสิก
๑๒. สารัมภะ แข่งดี องค์ธรรมได้แก่ มานเจตสิก
๑๓. มานะ ถือตัว องค์ธรรมได้แก่ มานเจตสิก
๑๔. อติมานะ ดูหมิ่นท่าน องค์ธรรมได้แก่ มานเจตสิก
๑๕. มทะ มัวเมา องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิก
๑๖. ปมาทะ เลินเล่อ องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิก
ตัณหา ๑๐๘
ตัณหา คือ ความปรารถนา ความอยากได้ ความต้องการ เป็นตัวสมุทัย เป็นต้นเหตุให้เกิดทุกข์ โทษต่าง ๆ ติดตามมามากมาย ตราบเมื่อคนเรายังมีตัณหาอยู่ ก็จะต้องเวียนว่ายในสังสารทุกข์ต่อไปอีกช้านาน ตัณหา ๑๐๘ คิดกันอย่างไร ?
ชนิดของตัณหา มี ๓ (คือกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา) อารมณ์ของตัณหา มี ๖ (คือ รูปรมณ์ สัททารมณ์ คันทารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธัมมารมณ์) ฉะนั้น (๓ x ๖) = ๑๘
ชนิดของตัณหา มี ๓ (คือกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา) อารมณ์ของตัณหา มี ๖ (คือ รูปรมณ์ สัททารมณ์ คันทารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธัมมารมณ์) ฉะนั้น (๓ x ๖) = ๑๘
การเกิดของตัณหามี ๒ ทาง
๑. ตัณหาที่เกิดภายในมี ๑๘
๒. ตัณหาที่เกิดภายนอกมี ๑๘
ฉะนั้นทั้ง ๒ ทางรวมเป็น (๑๘ x ๒) = ๓๖
๑. ตัณหาที่เกิดภายในมี ๑๘
๒. ตัณหาที่เกิดภายนอกมี ๑๘
ฉะนั้นทั้ง ๒ ทางรวมเป็น (๑๘ x ๒) = ๓๖
ตัณหา ๓๖ เกิดได้ทั้ง ๓ กาล (อดีต ปัจจุบัน อนาคต)
ฉะนั้นตัณหาที่เกิดได้ทั้ง ๓ กาล รวมเป็น (๓๖ x ๓) = ๑๐๘
ฉะนั้นตัณหาที่เกิดได้ทั้ง ๓ กาล รวมเป็น (๓๖ x ๓) = ๑๐๘
กิเลสและตัณหา เป็นอกุศลทั้งหลายที่มีอยู่ในตน มีทั้งที่เป็นแบบที่เกิดขึ้นและเรารู้ได้ และมีทั้งอย่างที่ติดแน่นเป็นยางเหนียวขัดออกได้ยากล้างออกได้ยาก กิเลสตัณหาทั้งหลายจะ ถูกประหาณได้เด็ดขาดราบคาบก็ต้องเจริญวิปัสสนาจนมัคคจิตเกิดขึ้น แต่ในขณะปัจจุบันที่เราสาธุชนทั้งหลายยัง เป็นปุถุชนที่หนาแน่นด้วยกิเลส ถึงแม้นว่าจะชําระขัดล้างกิเลสทั้งหลายได้ไม่เด็ดขาดก็จริงอยู่ แต่ถ้าได้ศึกษาได้รู้จัก และหมั่นพิจารณา หมั่นสังเกตกิเลสที่เกิดขึ้นแก่ตนเองบ่อย ๆ แล้วพยายามทําให้กิเลสทั้งหลายลดลงเบาบางลง ก็จะเป็นอุปนิสัยที่ดีในปัจจุบัน และเป็นการเพาะบ่มสั่งสมอุปนิสัยเพื่อการบรรลุมรรคผลในกาลข้างหน้าต่อไป