ดิรัจฉาน หมายความว่า ไปขวาง คือเดินไปตามขวาง หรือขวางจากมรรคผลนิพพาน
ดิรัจฉาน มี ๒ ชนิด คือ ดิรัจฉานที่ไม่เห็นได้ด้วยตาเป็นปกติ เช่น พญานาค กินนรา พญาครุฑ เป็นต้น และที่เห็นได้ด้วยตาเป็นปกติ เช่น สุนัข แมว ช้าง ปลา เป็นต้น
ดิรัจฉาน จำแนกโดยขา มี ๔ จำพวก คือ
๑. อปทติรัจฉาน ได้แก่ ดิรัจฉานที่ไม่มีขา เช่น ปลา งู เป็นต้น
๒. ทวิปทติรัจฉาน ได้แก่ ดิรัจฉานที่มี ๒ ขา เช่น นก เป็นต้น
๓. จตุปปทติรัจฉาน (อ่านว่า จะ-ตุป-ปะ-ทะ-ติ-รัด-ฉาน) ได้แก่ ดิรัจฉานที่มี ๔ ขา เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น
๔. พหุปปทติรัจฉาน (อ่านว่า พะ-หุป-ปะ-ทะ-ติ-รัด-ฉาน) ได้แก่ดิรัจฉานที่มีขามากกว่า ๔ ขา เช่น ปู แมงมุม ตะขาบ เป็นต้น
ดิรัจฉานโดยทั่วไป มีทั้งอดอยาก อ้วนพี มีความเดือดร้อน ที่มีสุขมากก็มีเหมือนกันแต่มีจำนวนน้อย ส่วนใหญ่จะมีความเดือดร้อนมาก มีความสุขน้อย
ดิรัจฉานมีสัญชาตญาณ หรือสัญญา ๓ อย่าง คือ
๑. กามสัญญา คือ รู้จักเสวยกามคุณ
๒. โคจรสัญญา คือ รู้จักกินนอน
๓. มรณสัญญา คือ รู้จักกลัวตาย
สัญญาทั้ง ๓ นี้มีแก่สัตว์ดิรัจฉานทั้งหลาย คือสัตว์รู้จักสืบพันธุ์ รู้จักกิน รู้จักนอน และกลัวตายแต่มนุษย์นั้นมีสัญญาต่างกันกับสัตว์ดิรัจฉาน คือ มนุษย์มีธรรมสัญญา มนุษย์จึงรู้ดี รู้ชอบ รู้ผิด รู้ถูก รู้จักบุญ รู้จักบาป สัตว์ดิรัจฉานทั่วไปไม่มีธรรมสัญญาอย่างมนุษย์ แต่ดิรัจฉานที่เป็นพระโพธิสัตว์จะมีธรรมสัญญา พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย เมื่อได้รับพุทธพยากรณ์แล้ว จะไม่เกิดเป็นดิรัจฉานที่มีขนาดเล็กกว่านกกระจาบ และมีขนาดไม่ใหญ่กว่าช้าง
เหตุที่ให้ไปเกิดเป็นนาค เพราะกรรมสองอย่าง ดีบ้างชั่วบ้าง และเพราะปรารถนาไปเกิดในกำเนิดเช่นนั้นด้วยชอบใจว่า นาคมีอายุยืน มีวรรณะงาม มีสุขมาก บางทีชอบใจ ตั้งปรารถนาไว้ดังนั้นแล้วก็ให้ทานต่างๆ เพื่อให้ไปเกิดเป็นนาคสมความปรารถนา ดิรัจฉาน มี ๒ ชนิด คือ ดิรัจฉานที่ไม่เห็นได้ด้วยตาเป็นปกติ เช่น พญานาค กินนรา พญาครุฑ เป็นต้น และที่เห็นได้ด้วยตาเป็นปกติ เช่น สุนัข แมว ช้าง ปลา เป็นต้น
ดิรัจฉาน จำแนกโดยขา มี ๔ จำพวก คือ
๑. อปทติรัจฉาน ได้แก่ ดิรัจฉานที่ไม่มีขา เช่น ปลา งู เป็นต้น
๒. ทวิปทติรัจฉาน ได้แก่ ดิรัจฉานที่มี ๒ ขา เช่น นก เป็นต้น
๓. จตุปปทติรัจฉาน (อ่านว่า จะ-ตุป-ปะ-ทะ-ติ-รัด-ฉาน) ได้แก่ ดิรัจฉานที่มี ๔ ขา เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย เป็นต้น
๔. พหุปปทติรัจฉาน (อ่านว่า พะ-หุป-ปะ-ทะ-ติ-รัด-ฉาน) ได้แก่ดิรัจฉานที่มีขามากกว่า ๔ ขา เช่น ปู แมงมุม ตะขาบ เป็นต้น
ดิรัจฉานโดยทั่วไป มีทั้งอดอยาก อ้วนพี มีความเดือดร้อน ที่มีสุขมากก็มีเหมือนกันแต่มีจำนวนน้อย ส่วนใหญ่จะมีความเดือดร้อนมาก มีความสุขน้อย
ดิรัจฉานมีสัญชาตญาณ หรือสัญญา ๓ อย่าง คือ
๑. กามสัญญา คือ รู้จักเสวยกามคุณ
๒. โคจรสัญญา คือ รู้จักกินนอน
๓. มรณสัญญา คือ รู้จักกลัวตาย
สัญญาทั้ง ๓ นี้มีแก่สัตว์ดิรัจฉานทั้งหลาย คือสัตว์รู้จักสืบพันธุ์ รู้จักกิน รู้จักนอน และกลัวตายแต่มนุษย์นั้นมีสัญญาต่างกันกับสัตว์ดิรัจฉาน คือ มนุษย์มีธรรมสัญญา มนุษย์จึงรู้ดี รู้ชอบ รู้ผิด รู้ถูก รู้จักบุญ รู้จักบาป สัตว์ดิรัจฉานทั่วไปไม่มีธรรมสัญญาอย่างมนุษย์ แต่ดิรัจฉานที่เป็นพระโพธิสัตว์จะมีธรรมสัญญา พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย เมื่อได้รับพุทธพยากรณ์แล้ว จะไม่เกิดเป็นดิรัจฉานที่มีขนาดเล็กกว่านกกระจาบ และมีขนาดไม่ใหญ่กว่าช้าง
นาคและครุฑ เรื่องนาคและครุฑ ได้มีกล่าวไว้ใน นาคสังคยุต ว่า กำเนิดนาคมี ๔ คือ นาคเกิดจากฟองไข่ นาคเกิดจากครรภ์ นาคเกิดจากเถ้าไคล นาคเกิดผุดขึ้น (อย่างเทพหรือสัตว์นรก) นาคเหล่านี้ประณีตกว่ากันขึ้นไปโดยลำดับ นาคโดยมากกลัวหมองูและครุฑ ต้องคอยซ่อนกายซ่อนตัวอยู่เสมอ แต่นาคบางพวกคิดว่าตนมาเกิดเป็นนาคก็เพราะเมื่อชาติก่อนมีความประพฤติดีบ้างชั่วบ้างทั้งสองอย่าง ถ้าบัดนี้ประพฤติสุจริตก็จะพึงไปเกิดในสวรรค์ได้ในชาติต่อไป จึงตั้งใจประพฤติสุจริตกายวาจาใจ รักษาอุโบสถศีล นาคผู้รักษาอุโบสถนี้ ย่อมปล่อยกายตามสบาย ไม่กลัวหมองูหรือครุฑจะจับ
ครุฑ หรือ สุบรรณ ที่กล่าวไว้ใน สุปัณณสังยุต ว่ามีกำเนิดสี่ และประณีตกว่ากันโดยลำดับเช่นเดียวกัน เหตุที่จะให้ไปเกิดเป็นครุฑก็เช่นเดียวกัน ข้อที่กล่าวไว้เป็นพิเศษ ก็คือ อำนาจในการจับนาค ครุฑย่อมจับนาคที่มีกำเนิดเดียวกับตน และที่มีกำเนิดต่ากว่าได้ จะจับนาคที่มีกำเนิดสูงกว่าไม่ได้
เรื่องนาคเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าหลายแห่ง ในคัมภีร์พระวินัย มหาวรรค ได้กล่าวถึงพญานาคมาแผ่พังพานเป็นร่มกันฝนถวายพระพุทธเจ้า ในปฐมโพธิกาลกล่าวถึงนาค มีใจความโดยย่อว่า เมื่อพระพุทธเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข ณ ควงไม้มุจลินท์ (ไม้จิก) ๗ วัน ในสมัยนั้นมหาเมฆที่ไม่ใช่กาลตั้งขึ้น ฝนตกพร่ำเจือด้วยลมหนาว ๗ วัน นาคราช ชื่อว่า มุจลินท์ ออกจากภพของตนเข้ามาวงพระกายของพระองค์ด้วยขนด ๗ รอบ แผ่พังพานปกเบื้องบนเพื่อป้องกันฝนและลมมิให้ถูกพระกาย ครั้นฝนหายแล้ว คลายขนดออก จำแลงเพศเป็นมาณพหนุ่มมายืนเฝ้า ณ ที่เฉพาะพระพักตร์ พระองค์ทรงทราบแล้วได้ทรงเปล่งอุทานมีความว่า “ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้พอใจแล้ว ได้ประสบธรรมแล้วเห็นแจ้งอยู่ ความไม่เบียดเบียนคือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลายเป็นสุขในโลก ความปราศจากกำหนัดคือความล่วงกามทั้งหลายเสียได้เป็นสุข ความกำจัดอัสมิมานะ คือความถือว่าตัวตนให้หมดได้เป็นสุขอย่างยิ่ง” จากคัมภีร์พระวินัยปิฎก กล่าวถึงเรื่องนาคจำแลงมาบวช มีใจความโดยย่อว่า
นาคตนหนึ่งอึดอัดรังเกียจในชาติกาเนิดนาคของตน คิดว่าทำไฉนจะพ้นไปเกิดเป็นมนุษย์โดยเร็วได้ เห็นว่าพระสมณะศากยบุตรเหล่านี้ประพฤติธรรมอันสมควรสม่ำเสมอ เป็นพรหมจารี มีวาจาสัจ มีศีลมีธรรม ถ้าได้บวชในพระเหล่านี้ ก็จะมีผลานิสงส์ให้พ้นชาติกำเนิดนาคไปเกิดเป็นมนุษย์เร็วดั่งปรารถนาเป็นแน่แท้ ครั้นคิดเห็นดั่งนี้แล้วจึงจำแลงเพศเป็นมาณพคือชายหนุ่มน้อย เข้าไปหาภิกษุทั้งหลายขอบวช ภิกษุทั้งหลายก็ให้มาณพจำแลงนั้นบรรพชาอุปสมบท นาคนั้นอยู่ในกุฏิท้ายวัดกับภิกษุรูปหนึ่ง ตกถึงเวลาใกล้รุ่ง ภิกษุรูปนั้นลงจากกุฏิไปเดินจงกรมในที่แจ้ง ฝุายนาคเมื่อภิกษุออกไปแล้วก็ปล่อยใจม่อยหลับไป ร่างจำแลงก็กลับเป็นงูใหญ่เต็มกุฏิขนาดล้นออกไปทางหน้าต่าง ภิกษุร่วมกุฏิเดินจงกรมพอแล้วกลับขึ้นกุฏิ ผลักบานประตูจะเข้าไปมองเห็นงูใหญ่นอนขดอยู่เต็มห้องขนดล้นออกไปทางหน้าต่าง ก็ตกใจร้องลั่นขึ้น ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ใกล้เคียงก็พากันวิ่งมาไต่ถามว่ามีเหตุอะไร ภิกษุนั้นได้เล่าให้ฟัง ขณะนั้นนาคตื่นขึ้นเพราะเสียงเอะอะ ก็จำแลงเพศเป็นคนครองผ้ากาสาวพัสตร์นั่งอยู่บนอาสนะของตน พวกภิกษุถามว่าเป็นใคร ก็ตอบตามจริงว่าเป็นนาค พระองค์ตรัสให้ประชุมภิกษุสงฆ์แล้วตรัสแก่นาคว่า “เกิดเป็นนาคไม่มีโอกาสที่จะงอกงามในพระธรรมวินัยนี้ได้แล้ว จงไปรักษาอุโบสถในวัน ๑๔-๑๕ ค่ำ และในวัน ๘ ค่ำ แห่งปักษ์นั้นเถิด ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้ก็จักพ้นจากชาติกำเนิดนาคและจะได้เป็นมนุษย์โดยเร็ว” นาคได้ฟังดั่งนั้นมีทุกข์เสียใจว่าตนหมดโอกาสที่จะงอกงามในพระธรรมวินัยนี้ น้ำตาไหลร้องไห้หลีกออกไป พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า มีเหตุปัจจัย ๒ ประการที่ทำให้นาคปรากฏภาวะของตน คือ อยู่ร่วมกับนางนาคผู้มีชาติเสมอกัน และปล่อยใจสู่ความหลับ พระองค์ทรงถือเรื่องนี้เป็นเหตุ ทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามอุปสมบทสัตว์ดิรัจฉานแต่เมื่อกล่าวถึงกาลเวลาทั้งหมดที่นาคจะต้องปรากฏตัว ก็มีอยู่ ๕ ประการ คือ
๑.เวลาปฏิสนธิ
๒.เวลาลอกคราบ
๓.เวลาอยู่กับนางนาคผู้มีชาติเสมอกัน
๔.เวลาปล่อยใจเข้าสู่ความหลับ
๕.เวลาตาย