พุทธประวัติ คือ ประวัติเรื่องราวต่าง ๆ ของพระโคตมพุทธเจ้า ตลอดถึงเรื่องราวต่างของบุคคลและสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ประสูติ ตรัสรู้ จนถึงดับขันธปรินิพพาน
สารบัญหน้าเว็บย่อย
๐๑.ศากยวงศ์
๐๒.พระโพธิสัตว์จุติ
๐๓.ประสูติ
๐๔.คำทำนายโหราจารย์
๐๕.เสด็จออกบรรพชา
๐๖.ตรัสรู้
๐๗.เสวยวิมุติสุข
๐๘.ปฐมเทศนา
๐๙.พุทธกิจ ๔๕ พรรษา
- ๐๙.๑ พรรษาที่ ๑ 🔊
- ๐๙.๒ พรรษาที่ ๒-๔ 🔊
- ๐๙.๓ พรรษาที่ ๕ 🔊
- ๐๙.๔ พรรษาที่ ๖ 🔊
- ๐๙.๕ พรรษาที่ ๗ 🔊
- ๐๙.๖ พรรษาที่ ๘ 🔊
- ๐๙.๗ พรรษาที่ ๙ 🔊
- ๐๙.๘ พรรษาที่ ๑๐ 🔊
- ๐๙.๙ พรรษาที่ ๑๑-๔๕
๑๐.ปรินิพพาน
สถานที่หลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์๔ สังเวชนียสถาน
แห่งที่๑
เสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช ปักไว้เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังทราบว่าตรงจุดนี้ เป็นที่ที่พระบรมศาสดาออกจากพระครรภ์ของพระมารดา ปัจจุบันสถานที่นี้อยู่ในเขตประเทศเนปาล ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศอินเดีย และสถานที่ประสูตินี้ตั้งอยู่ห่างจากชายแดนอินเดีย-เนปาลประมาณ ๓๒ กิโลเมตร ปัจจุบันสังเวชนียสถานแห่งนี้ ภาษาทางราชการเรียกว่า "ลุมมินเด" แต่ชาวบ้านทั่วไปก็ยังเรียกว่า "ลุมพินี"
แห่งที่ ๒
วิหารตรัสรู้ สถานที่ตรัสรู้นี้ แต่เดิมทีเดียวในสมัยพุทธกาลนั้น คือตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เมืองคยา แคว้นมคธ ซึ่งมีเมืองราชคฤห์ เป็นเมืองหลวง ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้นี้เรียก ตำบลพุทธคยา ขึ้นอยู่กับจังหวัดคยา (ห่างจากจังหวัดคยา ๑๒ กิโลเมตร) รัฐพิหาร มีเมืองหลวงชื่อ ปัฎนะ หรือ ปัฎนา (หรือชื่อเดิมว่า ปาฎลีบุตร) ;
แห่งที่ ๓
ธัมเมกขสถูป คือสถานที่แสดงปฐมเทศนา หรือสถานที่พระตถาคตเจ้าทรงยังพระอนุตรธัมจักให้เป็นไป สถานที่นี้อยู่ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ปัจจุบันเรียกสารนาถ ห่างจากเมืองประมาณ ๘ กิโลเมตร ซึ่งเมืองพาราณสีนี้อยู่ห่างจากเมืองพุทธคยา สถานที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ ๒๐๐ กิโลเมตร
แห่งที่ ๔
สถูปและวิหารปรินิพพานที่เมืองกุสินารา คือ สถานที่ดับขันธปรินิพพาน ด้วยอนุาทิเสสนิพพานธาตุดับไม่มีส่วนเหลือ คือทั้งกิเลส ทั้งเบญจขันธ์ดับหมด ตามปกติพระอรหันต์ทั่วไปๆไปจะนิพพาน ๒ ครั้ง คือ ครั้งแรกนั้นเป็นการดับกิเลส ส่วนเบญจขันธ์ยังอยู่ เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน หรือนิพพาน เมื่อยังมีชีวิตอยู่ เพียงแต่จิตเข้าสู่แดนพระนิพพานเท่านั้น เป็นจิตที่สะอาด ไม่มีกิเลส ไม่มีทุกข์แล้ว ดังเช่นพระพุทธเจ้า นิพพานครั้งแรกนี้เมื่อวันเพ็ญ เดือนวิสาขะ ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี ส่วนนิพพานครั้งที่ ๒ ก็คือ อนุปาทิเสสนิพาน ดังได้กล่าวแล้วนั้นเอง สถานที่นิพพานที่พุทธประวัติระบุว่า สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา ปัจจุบันมีสถูปและวิหารเป็นสัญลักษณ์ เป็นอุทยานที่ได้รับการรักษาจากทางการอินเดียเป็นอย่างดี มีต้นสาละและไม้อื่นปลูกอยู่ทั่วไป ให้ความร่มรื่นพอสมควร