รูปประเภทที่สาม :วิสยรูป ๔
วิสยรูป ๔ ได้แก่ วัณณรูป สัททรูป คันธรูป รสรูป (อ่านว่า วัน-นะ-รูป , สัด-ทะ-รูป ,คัน-ทะ-รูป , ระ-สะ-รูป) คำว่า วิสัย เป็นคำในภาษาไทย แปลว่า ขอบเขต แดน ความเป็นอยู่ เช่นวิสัยทัศน์ คือการมองเห็นที่มีขอบเขต ดังนั้น คำว่า วิสยรูป จึงหมายถึง รูปที่เป็นที่ขอบเขต เช่น วัณณรูป (หรือ รูปารมณ์)เป็นขอบเขตของจักขุวิญญาณอาศัยเกิดขึ้นเท่านั้น (ไม่เป็นที่อาศัยของโสตวิญญาณหรืออื่นๆ) วิสยรูป มีการกระทบกับปสาทรูปทั้ง ๕ มีจักขุปสาทรูป เป็นต้น เป็นอารมณ์ให้แก่ ปัญจวิญญาณจิตทั้ง ๕ มีจักขุวิญญาณจิต เป็นต้น คำว่า โคจรรูป แปลว่า รูปอันเป็นที่โคจรท่องเที่ยวไปของจิต มีจักขุวิญญาณ เป็นต้น ฉะนั้นการจะเรียกว่าวิสยรูป หรือ โคจรรูป ก็เป็นไปตามความหมายข้างต้น ส่วนจำนวน ๔ ก็เป็นการนับเฉพาะ วัณณรูป สัททรูป คันธรูป รสรูป ถ้าจะนับเป็น ๗ ก็รวมเอา โผฏฐัพพารมณ์ ๓ คือ ปถวี เตโช วาโย เข้าไว้ด้วยกันเป็น ๗ เพราะทั้ง ๗ เป็นอารมณ์ให้แก่ จิต และเจตสิกเกิดร่วมได้
๑.วัณณะรูป หรือ รูปายตนะ คือ สี เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ ได้แก่ สีต่างๆ ที่เกิดจากแสงสะท้อนแล้วมากระทบที่จักขุปสาท รูปทั้งหลายทั้งหมดที่มีอยู่ล้วนแต่เป็นสีหรือภาพทั้งสิ้น รูปถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างกัน แต่เมื่อว่าโดยลักษณะแล้วจะไม่ต่างกันเลย คือ สีจะทำหน้าที่กระทบกับจักขุปสาท แล้วทำให้จักขุวิญญาณเกิดขึ้น นี้คือความจริงของสภาพธรรมะที่มีอยู่ แต่เมื่อบุคคลเห็นสีต่างๆ แล้วก็มีความยินดี คือ ตัณหา มีความยึดมั่น คือ อุปาทาน เข้าไปยินดีพอใจ ยังมีโทสะ คือ ความไม่ชอบใจบ้าง เข้าไปยึดมั่นตามสมมุติบัญญัติที่รู้จักว่า นี้คือนาย ก. นาง ข. บ้าง ยึดมั่นว่าเป็นของเราบ้าง เป็นตัวตนของเราบ้าง แท้ที่จริงแล้วสภาพความเป็นจริงสิ่งทั้งหลายที่เห็นอยู่เป็นเพียงสีที่เกิดจากมีแสงสว่าง แล้วสะท้อนเอาสีหรือภาพนั้นเข้าสู่จักขุปสาท ทำให้จักขุวิญญาณเกิดขึ้นรับรู้สีนั้นหรือภาพนั้นเท่านั้นเอง เมื่อรู้แล้วทั้งจิตที่รับรู้ทั้งภาพทำให้รับรู้พร้อมทั้งจักขุปสาทก็ดับไปไม่ได้ตั้งอยู่ แต่ด้วยเพราะมีตัณหาคือ ความพึงพอใจ มีอุปาทานเข้าไปยึดมั่น ทาให้ปุถุชนจึงไม่สามารถพิจารณาสภาพธรรมตามความจริงได้ เมื่อได้ศึกษาวัณณรูปตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ก็สามารถเจริญวิปัสสนาได้ การเจริญวิปัสสนาสามารถทำได้ทุกที่ถ้ามีความรู้ที่ถูกต้องอย่างนี้
๒.สัททะรูป หรือ สัททายตนะ คือ เสียง หรือคลื่นเสียงที่มากระทบโสตปสาทเสียงได้แก่ เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงขับร้อง เสียงปรบมือ เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันแห่งธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ เสียงนี้เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ เสียงถึงแม้ว่าจะมีมากมายหลายอย่าง แต่เมื่อว่าโดยลักษณะแล้ว เสียงจะมีลักษณะเหมือนกันหมด คือ มีการกระทบโสตปสาท เป็นลักษณะ เมื่อกระทบแล้วก็ทำให้โสตวิญญาณจิตเกิดสามารถรับรู้เสียงนั้นได้ บุคคลทั้งหลายที่ยังมีตัณหา คือ ความยินดีพอใจ ยังมีอุปาทานคือ ความยึดมั่นเป็นตัวเป็นตนอยู่ ยังมีโทสะ คือ ความไม่พอใจอยู่ ทำให้เข้าใจว่านี้เป็นเสียงของเรา เสียงนี้เป็นเสียงของคนที่เรารัก หรือเกลียด มันจึงทำให้เราไม่สามารถระลึกรู้ถึงสภาพธรรมตามความเป็นจริงได้
ปุถุชนจึงต้องทุกข์อยู่อย่างนี้ ไม่สามารถพ้นไปจากวัฏฏทุกข์ได้ แต่ถ้าได้ศึกษาแล้วก็สามารถที่จะพิจารณาลักษณะที่แท้จริงของเสียงได้ เมื่อพิจารณาได้ถูกต้องปัญญาก็จะเกิดขึ้นกับท่านได้ การพิจารณาสภาพธรรมตามความเป็นจริงอย่างนี้เป็นการเจริญวิปัสสนาแล้ว เมื่อพิจารณาอยู่บ่อย ๆ ก็จะรู้จักว่าอะไรคือรูป อะไรคือนาม
๓.คันธะรูป หรือ คันธายตนะ ได้แก่ กลิ่น ซึ่งเป็นไอระเหยของวัตถุสิ่งของที่มีกลิ่น ที่มากระทบกับจมูก (ฆานปสาทรูป) ฆานวิญญาณจิตเกิดขึ้นทำให้รู้กลิ่น เช่น กลิ่นหอมของดอกไม้ หรือน้ำหอมเป็นต้น กลิ่นทั้งหลายเมื่อว่าโดยลักษณะแล้วก็มีเพียงการกระทบฆานปสาทเป็นลักษณะเหมือนกันหมด
๔.รสะรูป หรือ รสายตนะ ได้แก่ รสต่างๆ เช่น รสเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด ขม ฝาด ที่ปรากฏที่ลิ้น (ชิวหาปสาทรูป) ชิวหาวิญญาณจิตก็จะทำหน้าที่รู้รสต่างๆได้ รสต่างๆ เมื่อว่าโดยลักษณะแล้วก็มีเพียงการกระทบชิวหาปสาทเป็นลักษณะเหมือนกันหมด คำว่า รส ยังใช้ในความหมายต่าง ๆ ได้อีก ๔ ประการ
๑ . ธรรมรส หมายถึง การทำบุญ -ทำบาป ที่เรียกว่า กุศลกรรม อกุศลกรรม
๒ . อรรถรส หมายถึง ผลของบุญ-บาป ที่บุคคลได้กระทำไว้แล้ว จะทำให้เกิดรสชาติของความทุกข์ความระทมขมขื่น หรือความสุขความสำราญใจตามมา
๓. วิมุตติรส หมายถึง รสของการเข้าถึงนิพพาน พ้นจากกิเลสซึ่งทำให้เศร้าหมอง
๔. อายตนรส หมายถึง รสต่างๆ ที่มากระทบกับลิ้น
โผฎฐัพพารูป หรือ โผฏฐัพพายตนะ ถ้านับว่าวิสยรูป ๔ หรือ โคจรรูป ๗ ตามที่ได้อธิบายแล้วในหัวข้อรูปประเภทที่สาม ก็ต้องอธิบายถึง โผฏฐัพพายตนะต่อไปว่า โผฏฐัพพายตนะ ได้แก่ สิ่งที่มากระทบกับร่างกาย มีลักษณะ แข็ง -อ่อน ได้แก่ ปถวีธาตุ ร้อน-เย็น ได้แก่ เตโชธาตุ และหย่อน-ตึง ได้แก่ วาโยธาตุ (ส่วนลักษณะของธาตุน้ำนั้นไม่สามารถรู้ได้ทางกาย แต่รู้ได้โดยทางใจเท่านั้น)
รูปประเภทที่สี่ : ภาวรูป ๒
ภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความเป็นหญิงหรือชาย เป็นรูปที่รู้ได้ด้วยใจ (ไม่ใช่เห็นด้วยตา) โดยอาศัย รูปร่าง สัณฐาน เครื่องหมาย นิสัย และกิริยาอาการต่างๆ ให้รู้ว่าเป็นหญิงหรือชาย ภาวรูป ๒ ได้แก่ อิตถีภาวะ ปุริสภาวะ
๑. อิตถีภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความเป็นเพศหญิง
๒. ปุริสภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความเป็นเพศชาย
รูปทั้ง ๒ เป็นสุขุมรูป คือ รูปที่ละเอียดที่เกิดมาจากกรรม(มีกรรมเป็นสมุฏฐาน) เป็นรูปที่เกิดครั้งแรกในชีวิต มีอยู่แผ่ซ่านไปทั่วร่างกาย เป็นธรรมที่รู้ได้ด้วยใจเห็นไม่ได้ด้วยตา อุปมาเหมือนต้นไม้เมื่อได้โอกาสงอกหยั่งรากแล้วก็ทำให้เติบโตสมบูรณ์แผ่กิ่งก้านสาขาอิตถินทรีย์ หรือสภาวะความเป็นหญิงมีอยู่ย่อมเป็นปัจจัยให้ปรากฏทรวดทรงหญิง เครื่องหมายให้รู้ว่าหญิง เป็นต้น
ทำกรรมอะไรจึงต้องเกิดมาเป็นหญิงหรือชาย เกิดเป็นชายก็เพราะกำลังของการทำกุศลในชาติก่อนมีกำลังแรง เข้มแข็ง การตัดสินใจและการตั้งใจเด็ดเดี่ยวไม่หวั่นไหว เกิดเป็นหญิงเพราะกำลังของกุศลอ่อน การตัดสินใจและการตั้งใจไม่เด็ดเดี่ยวเข้มแข็งเหมือนชาย ฉะนั้นการเกิดมาเป็นหญิงหรือชายก็ขึ้นอยู่กับกำลังของบุญกุศลที่เราได้กระทำมาแล้วนั่นเอง แต่อีกนัยหนึ่งการเกิดเป็นหญิงเพราะการประพฤติผิดศีลข้อ ๓ และในบุคคลบางคนก็มีความพอใจในความเป็นหญิงก็ทำให้เกิดมาเป็นหญิงได้เช่นกัน
รูปประเภทที่ห้า : หทัยรูป๑
คำว่า หทัย เป็นชื่อของก้อนเนื้อหัวใจ ในก้อนเนื้อหัวใจนั้นข้างในมีหลุมขนาดบรรจุเมล็ดดอกบุนนาคได้ มีโลหิตขังอยู่ประมาณกึ่งซองมือ หทยรูปก็อยู่ในโลหิตกึ่งซองมือนี้นั่นเอง หทยรูปนี้ เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน เป็นแหล่งที่อาศัยเกิดของจิต (มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุและธรรมอื่นที่เกิดประกอบ) หทยรูปนี้มี ๒ อย่าง คือ
๑. มังสหทยรูป ได้แก่ ก้อนเนื้อที่เป็นรูปหัวใจ มีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม
๒. วัตถุหทยรูป ได้แก่ เป็นรูปพิเศษที่อยู่ในมังสหทยรูปอีกทีหนึ่งไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา
รูปประเภทที่หก : ชีวิตรูป ๑
ชีวิตรูป คือ เป็นรูปที่เกิดจากกรรม ชีวิตรูปมีหน้าที่รักษารูปทั้งหลายมิให้เน่าเปื่อยแตกสลาย ทำให้คนเรามีชีวิตอยู่ได้ ทำให้สร้างกุศลกรรม อกุศลกรรมต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด คำว่าชีวิต มี ๒ อย่าง คือ รูปชีวิต และ นามชีวิต รูปชีวิต ได้แก่ ชีวิตรูปนี้เอง ส่วนนามชีวิต ได้แก่ ชีวิตินทรีย์เจตสิก ที่ได้ศึกษาผ่านมาแล้ว
รูปประเภทที่เจ็ด : อาหารรูป ๑
อาหารรูป คือ อาหารที่เรารับประทาน เมื่อรับประทานแล้วย่อยแล้วโดยไฟธาตุที่อยู่ในร่างกาย ส่วนที่ย่อยแล้วชื่อว่า โอชา โอชานี้เองที่เป็นอาหารรูปที่ไปหล่อเลี้ยงร่างกาย เป็นเลือดเป็นเนื้อ ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตเป็นหนุ่มเป็นสาวต่อไป (อาหารที่รับประทานเป็นคำๆ ที่ยังไม่ย่อยเป็นโอชา ชื่อว่า กพฬีการาหาร เมื่อย่อยแล้วจึงชื่อว่า โอชา)
รูปทั้งหมดมี ๒๘ รูป ได้กล่าวมาแล้ว ๑๘ รูปโดยกล่าวเป็น ๗ ประเภท ในรูปทั้ง ๑๘ รูปนี้ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า นิปผันนรูป ๑๘ คำว่า นิปผันนรูป หมายถึง รูปที่มีสภาวะของตนเอง เช่น ปถวีธาตุ มีความแข็ง เป็นลักษณะ ซึ่งสามารถนาลักษณะแข็งมาเจริญวิปัสสนากรรมฐานได้ ให้เกิดปัญญาเห็นไตรลักษณ์ คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตาได้ รูปที่เหลืออีก ๑๐ รูป เรียกว่า อนิปผันนรูป ๑๐ เป็นรูปที่ไม่มีสภาวะของตนเอง ต้องอาศัยนิปผันรูปเกิดขึ้น ต่อไปจะศึกษาเรื่องอนิปผันรูป ๑๐
อนิปผันนรูป ๑๐
อนิปผันนรูป มี ๑๐ รูป เป็นรูปที่อาศัยนิปผันนรูป ถ้าไม่มีนิปผันนรูปแล้วอนิปผันนรูปก็เกิดขึ้นไม่ได้ เช่น ปริจเฉทรูป คือ ช่องว่าง ตัวอย่างเช่น นิ้วมือ หรือนิ้วเท้า ถ้านิ้วมือหรือนิ้วเท้าติดเป็นแผ่นเดียวกัน เราก็นับไม่ได้ว่านิ้วมือมี ๕ นิ้ว หรือนิ้วเท้ามี ๕ นิ้ว ช่องว่าง จึงจัดเป็นรูปๆหนึ่ง ทำหน้าที่คั่นไม่ให้สิ่งทั้งหลายติดกันเท่านั้น ทำให้นับเป็นชิ้นเป็นอันๆ ขึ้นมาได้ ดังนั้น ช่องว่าง จึงไม่จัดเป็นรูปที่แท้จริง ไม่สามารถที่จะนับเป็นชิ้นเป็นอันอย่างนิปผันนรูปดังกล่าวมาแล้วได้ อนิปผันนรูป ๑๐ ได้แก่
ปริจเฉทรูป ๑
วิญญัติรูป ๒
วิการรูป ๓
ลักขณะรูป ๔
รูปประเภทที่แปด : ปริจเฉทรูป ๑
ปริจเฉทรูป คือ ช่องว่างหรืออากาศที่คั่นระหว่างกลุ่มรูป รูปหนึ่งๆ จะเกิดขึ้นเดี่ยว ๆ ไม่ได้ อย่างน้อยต้องมีรูปเกิดร่วม ๘ รูปด้วยกัน (อวินิพโภครูป) และปริจเฉทรูปนี้เองที่ทำหน้าที่คั่นระหว่างกลุ่มรูปหนึ่งๆ เปรียบเสมือนช่องว่างระหว่างนิ้วมือที่มีหนังหุ้มและอากาศมาตัดคั่นทำให้เป็นลักษณะนิ้วได้ ถ้าไม่มีช่องว่างมาคั่นก็จะติดกันเป็นแผงเช่นเดียวกับเท้าของเป็ด
รูปประเภทที่เก้า : วิญญัติรูป ๒
๑. กายวิญญัติรูป คือ การเคลื่อนไหวทางกายเพื่อให้รู้ความหมาย มีการเดิน การยืน การกวักมือ เป็นต้น
๒. วจีวิญญัติรูป คือ การพูด การเปล่งวาจา เพื่อให้รู้ความหมาย
รูปประเภทที่สิบ : วิการรูป ๓
๑. ลหุตารูป คือ ความเบา ความคล่องแคล่ว การเปลี่ยนอิริยาบถได้รวดเร็ว ของรูปทั้งหลาย
๒. มุทุตารูป คือ ความอ่อน ความไม่กระด้าง ความไม่ขัดข้องในกิริยา ของรูปทั้งหลาย
๓. กัมมัญญตารูป คือ ความควรแก่การงาน ความคล่องแคล่ว ของรูปทั้งหลาย
วิการรูปทั้ง ๓ นี้ ต้องเกิดพร้อมกัน เกิดในกลาปเดียวกัน แต่ถึงจะเกิดพร้อมกันก็ยังมีลักษณะที่แตกต่างกันคือ เบา อ่อน และควรแก่การงาน ในวิการรูปทั้ง ๓ นั้นก็ต้องอาศัยรูปอื่น ๆ เช่น อาหารรูปเป็นต้น แล้วจึงเกิดขึ้น เช่นผู้ปฏิบัติกรรมฐานเมื่อรับประทานอาหารที่เหมาะแก่ตนก็จะรู้สึกว่าวันนี้เราได้อาหารที่เป็นสัปปายะ(เหมาะสม) กายของเราจึงรู้สึกเบาสบายเหมาะแก่การปฏิบัติ หรือถ้าได้อากาศที่ดีก็จะรู้สึกว่าเราได้อุตุที่เป็นสัปปายะ ทาให้เหมาะแก่การปฏิบัติ ดังนี้เป็นต้น นี้เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าอาหารหรืออากาศก็มีผลต่อความเบา อ่อน และควรแก่การงานของรูป ในตัวอย่างที่แสดงนี้ต้องการมุ่งเห็นเห็นสภาวะของวิการรูปทั้ง ๓ แต่ในเรื่องการของปฏิบัติวิปัสสนาที่ต้องการรู้สภาวะของปรมัตถ์จริงๆ แล้วต้องทิ้งคำว่า “เรา” เพราะการที่ได้อาหารที่ดีหรืออากาศที่ดีเหมาะสมกับผู้ปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติก็ต้องพิจารณาความเป็นไปตามสภาวะปรมัตถ์นั้นเองว่า ความเคลื่อนกายไหวกายเป็นไป จิตก็รับรู้ความเคลื่อนกายไหวกายนั้นเป็นต้น
รูปประเภทที่สิบเอ็ด : ลักขณะรูป ๔
๑. อุปจยรูป คือ ความเริ่มเกิดของรูป อุดหนุนให้รูปมีความบริบูรณ์ ทำให้รูปเติบโต
๒. สันตติรูป คือ การเกิดขึ้นสืบต่อกันแห่งรูป หรือเรียกว่าความแก่ของรูป การเกิด เปรียบเหมือนการขุดหลุมที่ริมฝั่งแม่น้ำ น้ำย่อมซึมเข้าในหลุม ความเติบโต ก็คือความเจริญแห่งรูปเปรียบเหมือนน้ำที่เต็ม ความสืบต่อเปรียบเหมือนน้ำที่ล้นหลุม
๓. ชรตารูป คือ ความแก่ ความเสื่อมไปแห่งรูป ทำให้เป็นสัญญาณของการมุ่งหน้าไปสู่ความตาย ทำให้ความเป็นหนุ่มเป็นสาวหายไป เช่น เมื่ออายุมากแล้วจักขุก็แก่ชราไปด้วยทำให้ สายตาก็เสื่อมถอยลง ชรามี ๒ อย่าง คือ ชราที่ปรากฏ และ ชราที่ปกปิด ชราที่ปรากฏ คือ ความแก่ชราที่ปรากฎให้เห็น เช่น ฟันหลุด หนังเหี่ยว ชราที่ปกปิด คือ ชราที่ไม่แสดงความเป็นไปให้ปรากฏ แต่ความเสื่อมสิ้นทรุด โทรมของร่างกายทุกส่วนก็มีอยู่ทุกขณะ
๔. อนิจจรูป คือ ความสิ้นไป ความทำลายไปของรูป ความแตกดับของรูป
วิสยรูป ๔ ได้แก่ วัณณรูป สัททรูป คันธรูป รสรูป (อ่านว่า วัน-นะ-รูป , สัด-ทะ-รูป ,คัน-ทะ-รูป , ระ-สะ-รูป) คำว่า วิสัย เป็นคำในภาษาไทย แปลว่า ขอบเขต แดน ความเป็นอยู่ เช่นวิสัยทัศน์ คือการมองเห็นที่มีขอบเขต ดังนั้น คำว่า วิสยรูป จึงหมายถึง รูปที่เป็นที่ขอบเขต เช่น วัณณรูป (หรือ รูปารมณ์)เป็นขอบเขตของจักขุวิญญาณอาศัยเกิดขึ้นเท่านั้น (ไม่เป็นที่อาศัยของโสตวิญญาณหรืออื่นๆ) วิสยรูป มีการกระทบกับปสาทรูปทั้ง ๕ มีจักขุปสาทรูป เป็นต้น เป็นอารมณ์ให้แก่ ปัญจวิญญาณจิตทั้ง ๕ มีจักขุวิญญาณจิต เป็นต้น คำว่า โคจรรูป แปลว่า รูปอันเป็นที่โคจรท่องเที่ยวไปของจิต มีจักขุวิญญาณ เป็นต้น ฉะนั้นการจะเรียกว่าวิสยรูป หรือ โคจรรูป ก็เป็นไปตามความหมายข้างต้น ส่วนจำนวน ๔ ก็เป็นการนับเฉพาะ วัณณรูป สัททรูป คันธรูป รสรูป ถ้าจะนับเป็น ๗ ก็รวมเอา โผฏฐัพพารมณ์ ๓ คือ ปถวี เตโช วาโย เข้าไว้ด้วยกันเป็น ๗ เพราะทั้ง ๗ เป็นอารมณ์ให้แก่ จิต และเจตสิกเกิดร่วมได้
๑.วัณณะรูป หรือ รูปายตนะ คือ สี เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ ได้แก่ สีต่างๆ ที่เกิดจากแสงสะท้อนแล้วมากระทบที่จักขุปสาท รูปทั้งหลายทั้งหมดที่มีอยู่ล้วนแต่เป็นสีหรือภาพทั้งสิ้น รูปถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างกัน แต่เมื่อว่าโดยลักษณะแล้วจะไม่ต่างกันเลย คือ สีจะทำหน้าที่กระทบกับจักขุปสาท แล้วทำให้จักขุวิญญาณเกิดขึ้น นี้คือความจริงของสภาพธรรมะที่มีอยู่ แต่เมื่อบุคคลเห็นสีต่างๆ แล้วก็มีความยินดี คือ ตัณหา มีความยึดมั่น คือ อุปาทาน เข้าไปยินดีพอใจ ยังมีโทสะ คือ ความไม่ชอบใจบ้าง เข้าไปยึดมั่นตามสมมุติบัญญัติที่รู้จักว่า นี้คือนาย ก. นาง ข. บ้าง ยึดมั่นว่าเป็นของเราบ้าง เป็นตัวตนของเราบ้าง แท้ที่จริงแล้วสภาพความเป็นจริงสิ่งทั้งหลายที่เห็นอยู่เป็นเพียงสีที่เกิดจากมีแสงสว่าง แล้วสะท้อนเอาสีหรือภาพนั้นเข้าสู่จักขุปสาท ทำให้จักขุวิญญาณเกิดขึ้นรับรู้สีนั้นหรือภาพนั้นเท่านั้นเอง เมื่อรู้แล้วทั้งจิตที่รับรู้ทั้งภาพทำให้รับรู้พร้อมทั้งจักขุปสาทก็ดับไปไม่ได้ตั้งอยู่ แต่ด้วยเพราะมีตัณหาคือ ความพึงพอใจ มีอุปาทานเข้าไปยึดมั่น ทาให้ปุถุชนจึงไม่สามารถพิจารณาสภาพธรรมตามความจริงได้ เมื่อได้ศึกษาวัณณรูปตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ก็สามารถเจริญวิปัสสนาได้ การเจริญวิปัสสนาสามารถทำได้ทุกที่ถ้ามีความรู้ที่ถูกต้องอย่างนี้
๒.สัททะรูป หรือ สัททายตนะ คือ เสียง หรือคลื่นเสียงที่มากระทบโสตปสาทเสียงได้แก่ เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงขับร้อง เสียงปรบมือ เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันแห่งธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ เสียงนี้เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ เสียงถึงแม้ว่าจะมีมากมายหลายอย่าง แต่เมื่อว่าโดยลักษณะแล้ว เสียงจะมีลักษณะเหมือนกันหมด คือ มีการกระทบโสตปสาท เป็นลักษณะ เมื่อกระทบแล้วก็ทำให้โสตวิญญาณจิตเกิดสามารถรับรู้เสียงนั้นได้ บุคคลทั้งหลายที่ยังมีตัณหา คือ ความยินดีพอใจ ยังมีอุปาทานคือ ความยึดมั่นเป็นตัวเป็นตนอยู่ ยังมีโทสะ คือ ความไม่พอใจอยู่ ทำให้เข้าใจว่านี้เป็นเสียงของเรา เสียงนี้เป็นเสียงของคนที่เรารัก หรือเกลียด มันจึงทำให้เราไม่สามารถระลึกรู้ถึงสภาพธรรมตามความเป็นจริงได้
ปุถุชนจึงต้องทุกข์อยู่อย่างนี้ ไม่สามารถพ้นไปจากวัฏฏทุกข์ได้ แต่ถ้าได้ศึกษาแล้วก็สามารถที่จะพิจารณาลักษณะที่แท้จริงของเสียงได้ เมื่อพิจารณาได้ถูกต้องปัญญาก็จะเกิดขึ้นกับท่านได้ การพิจารณาสภาพธรรมตามความเป็นจริงอย่างนี้เป็นการเจริญวิปัสสนาแล้ว เมื่อพิจารณาอยู่บ่อย ๆ ก็จะรู้จักว่าอะไรคือรูป อะไรคือนาม
๓.คันธะรูป หรือ คันธายตนะ ได้แก่ กลิ่น ซึ่งเป็นไอระเหยของวัตถุสิ่งของที่มีกลิ่น ที่มากระทบกับจมูก (ฆานปสาทรูป) ฆานวิญญาณจิตเกิดขึ้นทำให้รู้กลิ่น เช่น กลิ่นหอมของดอกไม้ หรือน้ำหอมเป็นต้น กลิ่นทั้งหลายเมื่อว่าโดยลักษณะแล้วก็มีเพียงการกระทบฆานปสาทเป็นลักษณะเหมือนกันหมด
๔.รสะรูป หรือ รสายตนะ ได้แก่ รสต่างๆ เช่น รสเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด ขม ฝาด ที่ปรากฏที่ลิ้น (ชิวหาปสาทรูป) ชิวหาวิญญาณจิตก็จะทำหน้าที่รู้รสต่างๆได้ รสต่างๆ เมื่อว่าโดยลักษณะแล้วก็มีเพียงการกระทบชิวหาปสาทเป็นลักษณะเหมือนกันหมด คำว่า รส ยังใช้ในความหมายต่าง ๆ ได้อีก ๔ ประการ
๑ . ธรรมรส หมายถึง การทำบุญ -ทำบาป ที่เรียกว่า กุศลกรรม อกุศลกรรม
๒ . อรรถรส หมายถึง ผลของบุญ-บาป ที่บุคคลได้กระทำไว้แล้ว จะทำให้เกิดรสชาติของความทุกข์ความระทมขมขื่น หรือความสุขความสำราญใจตามมา
๓. วิมุตติรส หมายถึง รสของการเข้าถึงนิพพาน พ้นจากกิเลสซึ่งทำให้เศร้าหมอง
๔. อายตนรส หมายถึง รสต่างๆ ที่มากระทบกับลิ้น
โผฎฐัพพารูป หรือ โผฏฐัพพายตนะ ถ้านับว่าวิสยรูป ๔ หรือ โคจรรูป ๗ ตามที่ได้อธิบายแล้วในหัวข้อรูปประเภทที่สาม ก็ต้องอธิบายถึง โผฏฐัพพายตนะต่อไปว่า โผฏฐัพพายตนะ ได้แก่ สิ่งที่มากระทบกับร่างกาย มีลักษณะ แข็ง -อ่อน ได้แก่ ปถวีธาตุ ร้อน-เย็น ได้แก่ เตโชธาตุ และหย่อน-ตึง ได้แก่ วาโยธาตุ (ส่วนลักษณะของธาตุน้ำนั้นไม่สามารถรู้ได้ทางกาย แต่รู้ได้โดยทางใจเท่านั้น)
รูปประเภทที่สี่ : ภาวรูป ๒
ภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความเป็นหญิงหรือชาย เป็นรูปที่รู้ได้ด้วยใจ (ไม่ใช่เห็นด้วยตา) โดยอาศัย รูปร่าง สัณฐาน เครื่องหมาย นิสัย และกิริยาอาการต่างๆ ให้รู้ว่าเป็นหญิงหรือชาย ภาวรูป ๒ ได้แก่ อิตถีภาวะ ปุริสภาวะ
๑. อิตถีภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความเป็นเพศหญิง
๒. ปุริสภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความเป็นเพศชาย
รูปทั้ง ๒ เป็นสุขุมรูป คือ รูปที่ละเอียดที่เกิดมาจากกรรม(มีกรรมเป็นสมุฏฐาน) เป็นรูปที่เกิดครั้งแรกในชีวิต มีอยู่แผ่ซ่านไปทั่วร่างกาย เป็นธรรมที่รู้ได้ด้วยใจเห็นไม่ได้ด้วยตา อุปมาเหมือนต้นไม้เมื่อได้โอกาสงอกหยั่งรากแล้วก็ทำให้เติบโตสมบูรณ์แผ่กิ่งก้านสาขาอิตถินทรีย์ หรือสภาวะความเป็นหญิงมีอยู่ย่อมเป็นปัจจัยให้ปรากฏทรวดทรงหญิง เครื่องหมายให้รู้ว่าหญิง เป็นต้น
ทำกรรมอะไรจึงต้องเกิดมาเป็นหญิงหรือชาย เกิดเป็นชายก็เพราะกำลังของการทำกุศลในชาติก่อนมีกำลังแรง เข้มแข็ง การตัดสินใจและการตั้งใจเด็ดเดี่ยวไม่หวั่นไหว เกิดเป็นหญิงเพราะกำลังของกุศลอ่อน การตัดสินใจและการตั้งใจไม่เด็ดเดี่ยวเข้มแข็งเหมือนชาย ฉะนั้นการเกิดมาเป็นหญิงหรือชายก็ขึ้นอยู่กับกำลังของบุญกุศลที่เราได้กระทำมาแล้วนั่นเอง แต่อีกนัยหนึ่งการเกิดเป็นหญิงเพราะการประพฤติผิดศีลข้อ ๓ และในบุคคลบางคนก็มีความพอใจในความเป็นหญิงก็ทำให้เกิดมาเป็นหญิงได้เช่นกัน
รูปประเภทที่ห้า : หทัยรูป๑
คำว่า หทัย เป็นชื่อของก้อนเนื้อหัวใจ ในก้อนเนื้อหัวใจนั้นข้างในมีหลุมขนาดบรรจุเมล็ดดอกบุนนาคได้ มีโลหิตขังอยู่ประมาณกึ่งซองมือ หทยรูปก็อยู่ในโลหิตกึ่งซองมือนี้นั่นเอง หทยรูปนี้ เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน เป็นแหล่งที่อาศัยเกิดของจิต (มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุและธรรมอื่นที่เกิดประกอบ) หทยรูปนี้มี ๒ อย่าง คือ
๑. มังสหทยรูป ได้แก่ ก้อนเนื้อที่เป็นรูปหัวใจ มีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม
๒. วัตถุหทยรูป ได้แก่ เป็นรูปพิเศษที่อยู่ในมังสหทยรูปอีกทีหนึ่งไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา
รูปประเภทที่หก : ชีวิตรูป ๑
ชีวิตรูป คือ เป็นรูปที่เกิดจากกรรม ชีวิตรูปมีหน้าที่รักษารูปทั้งหลายมิให้เน่าเปื่อยแตกสลาย ทำให้คนเรามีชีวิตอยู่ได้ ทำให้สร้างกุศลกรรม อกุศลกรรมต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด คำว่าชีวิต มี ๒ อย่าง คือ รูปชีวิต และ นามชีวิต รูปชีวิต ได้แก่ ชีวิตรูปนี้เอง ส่วนนามชีวิต ได้แก่ ชีวิตินทรีย์เจตสิก ที่ได้ศึกษาผ่านมาแล้ว
รูปประเภทที่เจ็ด : อาหารรูป ๑
อาหารรูป คือ อาหารที่เรารับประทาน เมื่อรับประทานแล้วย่อยแล้วโดยไฟธาตุที่อยู่ในร่างกาย ส่วนที่ย่อยแล้วชื่อว่า โอชา โอชานี้เองที่เป็นอาหารรูปที่ไปหล่อเลี้ยงร่างกาย เป็นเลือดเป็นเนื้อ ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตเป็นหนุ่มเป็นสาวต่อไป (อาหารที่รับประทานเป็นคำๆ ที่ยังไม่ย่อยเป็นโอชา ชื่อว่า กพฬีการาหาร เมื่อย่อยแล้วจึงชื่อว่า โอชา)
รูปทั้งหมดมี ๒๘ รูป ได้กล่าวมาแล้ว ๑๘ รูปโดยกล่าวเป็น ๗ ประเภท ในรูปทั้ง ๑๘ รูปนี้ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า นิปผันนรูป ๑๘ คำว่า นิปผันนรูป หมายถึง รูปที่มีสภาวะของตนเอง เช่น ปถวีธาตุ มีความแข็ง เป็นลักษณะ ซึ่งสามารถนาลักษณะแข็งมาเจริญวิปัสสนากรรมฐานได้ ให้เกิดปัญญาเห็นไตรลักษณ์ คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตาได้ รูปที่เหลืออีก ๑๐ รูป เรียกว่า อนิปผันนรูป ๑๐ เป็นรูปที่ไม่มีสภาวะของตนเอง ต้องอาศัยนิปผันรูปเกิดขึ้น ต่อไปจะศึกษาเรื่องอนิปผันรูป ๑๐
อนิปผันนรูป ๑๐
อนิปผันนรูป มี ๑๐ รูป เป็นรูปที่อาศัยนิปผันนรูป ถ้าไม่มีนิปผันนรูปแล้วอนิปผันนรูปก็เกิดขึ้นไม่ได้ เช่น ปริจเฉทรูป คือ ช่องว่าง ตัวอย่างเช่น นิ้วมือ หรือนิ้วเท้า ถ้านิ้วมือหรือนิ้วเท้าติดเป็นแผ่นเดียวกัน เราก็นับไม่ได้ว่านิ้วมือมี ๕ นิ้ว หรือนิ้วเท้ามี ๕ นิ้ว ช่องว่าง จึงจัดเป็นรูปๆหนึ่ง ทำหน้าที่คั่นไม่ให้สิ่งทั้งหลายติดกันเท่านั้น ทำให้นับเป็นชิ้นเป็นอันๆ ขึ้นมาได้ ดังนั้น ช่องว่าง จึงไม่จัดเป็นรูปที่แท้จริง ไม่สามารถที่จะนับเป็นชิ้นเป็นอันอย่างนิปผันนรูปดังกล่าวมาแล้วได้ อนิปผันนรูป ๑๐ ได้แก่
ปริจเฉทรูป ๑
วิญญัติรูป ๒
วิการรูป ๓
ลักขณะรูป ๔
รูปประเภทที่แปด : ปริจเฉทรูป ๑
ปริจเฉทรูป คือ ช่องว่างหรืออากาศที่คั่นระหว่างกลุ่มรูป รูปหนึ่งๆ จะเกิดขึ้นเดี่ยว ๆ ไม่ได้ อย่างน้อยต้องมีรูปเกิดร่วม ๘ รูปด้วยกัน (อวินิพโภครูป) และปริจเฉทรูปนี้เองที่ทำหน้าที่คั่นระหว่างกลุ่มรูปหนึ่งๆ เปรียบเสมือนช่องว่างระหว่างนิ้วมือที่มีหนังหุ้มและอากาศมาตัดคั่นทำให้เป็นลักษณะนิ้วได้ ถ้าไม่มีช่องว่างมาคั่นก็จะติดกันเป็นแผงเช่นเดียวกับเท้าของเป็ด
รูปประเภทที่เก้า : วิญญัติรูป ๒
๑. กายวิญญัติรูป คือ การเคลื่อนไหวทางกายเพื่อให้รู้ความหมาย มีการเดิน การยืน การกวักมือ เป็นต้น
๒. วจีวิญญัติรูป คือ การพูด การเปล่งวาจา เพื่อให้รู้ความหมาย
รูปประเภทที่สิบ : วิการรูป ๓
๑. ลหุตารูป คือ ความเบา ความคล่องแคล่ว การเปลี่ยนอิริยาบถได้รวดเร็ว ของรูปทั้งหลาย
๒. มุทุตารูป คือ ความอ่อน ความไม่กระด้าง ความไม่ขัดข้องในกิริยา ของรูปทั้งหลาย
๓. กัมมัญญตารูป คือ ความควรแก่การงาน ความคล่องแคล่ว ของรูปทั้งหลาย
วิการรูปทั้ง ๓ นี้ ต้องเกิดพร้อมกัน เกิดในกลาปเดียวกัน แต่ถึงจะเกิดพร้อมกันก็ยังมีลักษณะที่แตกต่างกันคือ เบา อ่อน และควรแก่การงาน ในวิการรูปทั้ง ๓ นั้นก็ต้องอาศัยรูปอื่น ๆ เช่น อาหารรูปเป็นต้น แล้วจึงเกิดขึ้น เช่นผู้ปฏิบัติกรรมฐานเมื่อรับประทานอาหารที่เหมาะแก่ตนก็จะรู้สึกว่าวันนี้เราได้อาหารที่เป็นสัปปายะ(เหมาะสม) กายของเราจึงรู้สึกเบาสบายเหมาะแก่การปฏิบัติ หรือถ้าได้อากาศที่ดีก็จะรู้สึกว่าเราได้อุตุที่เป็นสัปปายะ ทาให้เหมาะแก่การปฏิบัติ ดังนี้เป็นต้น นี้เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าอาหารหรืออากาศก็มีผลต่อความเบา อ่อน และควรแก่การงานของรูป ในตัวอย่างที่แสดงนี้ต้องการมุ่งเห็นเห็นสภาวะของวิการรูปทั้ง ๓ แต่ในเรื่องการของปฏิบัติวิปัสสนาที่ต้องการรู้สภาวะของปรมัตถ์จริงๆ แล้วต้องทิ้งคำว่า “เรา” เพราะการที่ได้อาหารที่ดีหรืออากาศที่ดีเหมาะสมกับผู้ปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติก็ต้องพิจารณาความเป็นไปตามสภาวะปรมัตถ์นั้นเองว่า ความเคลื่อนกายไหวกายเป็นไป จิตก็รับรู้ความเคลื่อนกายไหวกายนั้นเป็นต้น
รูปประเภทที่สิบเอ็ด : ลักขณะรูป ๔
๑. อุปจยรูป คือ ความเริ่มเกิดของรูป อุดหนุนให้รูปมีความบริบูรณ์ ทำให้รูปเติบโต
๒. สันตติรูป คือ การเกิดขึ้นสืบต่อกันแห่งรูป หรือเรียกว่าความแก่ของรูป การเกิด เปรียบเหมือนการขุดหลุมที่ริมฝั่งแม่น้ำ น้ำย่อมซึมเข้าในหลุม ความเติบโต ก็คือความเจริญแห่งรูปเปรียบเหมือนน้ำที่เต็ม ความสืบต่อเปรียบเหมือนน้ำที่ล้นหลุม
๓. ชรตารูป คือ ความแก่ ความเสื่อมไปแห่งรูป ทำให้เป็นสัญญาณของการมุ่งหน้าไปสู่ความตาย ทำให้ความเป็นหนุ่มเป็นสาวหายไป เช่น เมื่ออายุมากแล้วจักขุก็แก่ชราไปด้วยทำให้ สายตาก็เสื่อมถอยลง ชรามี ๒ อย่าง คือ ชราที่ปรากฏ และ ชราที่ปกปิด ชราที่ปรากฏ คือ ความแก่ชราที่ปรากฎให้เห็น เช่น ฟันหลุด หนังเหี่ยว ชราที่ปกปิด คือ ชราที่ไม่แสดงความเป็นไปให้ปรากฏ แต่ความเสื่อมสิ้นทรุด โทรมของร่างกายทุกส่วนก็มีอยู่ทุกขณะ
๔. อนิจจรูป คือ ความสิ้นไป ความทำลายไปของรูป ความแตกดับของรูป