คือ ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแต่งตั้งบัญญัติไว้ เพื่อจะให้พระสงฆ์ระงับอธิกรณ์ ข้อผิดของภิกษุบริษัทที่เกิดขึ้นแล้วนั้น ๆ มีอุบายวิธี ๗ ประการ อธิกรณ์ที่พระสงฆ์จะต้องระงับด้วยอธิกรณสมถะ ๗ นั้นมี ๔ คือ
วิวาทาธิกรณ์ ๑
อนุวาทาธิกรณ์ ๑
อาปัตตาธิกรณ์ ๑
กิจจาธิกรณ์ ๑
เป็น ๔ ประการฉะนี้ อันการที่ภิกษุมีความเห็น🔎วิปลาส(๗๓) เกิดความวิวาท กล่าวต่าง ๆ กัน ให้วิปริตผิดเพี้ยนพระธรรมวินัย นี้ชื่อว่า วิวาทาธิกรณ์ การที่ภิกษุติดตาม ว่ากล่าว ทักท้วง ยกโทษกันด้วย🔎ศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ อาชีววิบัติ(๗๘-๘๑) แต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้ชื่อว่า อนุวาทาธิกรณ์ การที่ภิกษุต้องอาบัติทั้ง ๗ กอง คือ ปาราชิก ๑ สังฆาทิเสส ๑ ถุลลัจจัย ๑ ปาจิตตีย์ ๑ ปาฏิเทสนียะ ๑ ทุกกฏ ๑ ทุพภาสิต ๑ แต่กองใดกองหนึ่ง นี้ชื่อว่า อาปัตตาธิกรณ์ การที่ภิกษุทำกิจที่พระสงฆ์จะพึงกระทำทั้ง ๔ คือ 🔎อปโลกนกรรม(๘๒) ดังอปโลกน์เข้าสงฆ์ ๑ ญัตติกรรมอย่างสวดอุโบสถแลสวดปวารณา ๑ ญัตติทุติยกรรมอย่างสวดผูกสวดถอนพัทธสีมาแลสวดกฐิน ๑ ญัตติจตุตถกรรม อย่างสวดอุปสมบทและสวดปริวาส มานัต อัพภาน ๑ กรรมทั้ง ๔ นี้กำเริบเพราะไม่เป็นกรรม หรือไม่เป็นวรรค เป็นญัตติวิบัติ เป็นอนุสาวนาวิบัติ แต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้ชื่อว่า กิจจาธิกรณ์
กิจจาธิกรณ์ ๑
เป็น ๔ ประการฉะนี้ อันการที่ภิกษุมีความเห็น🔎วิปลาส(๗๓) เกิดความวิวาท กล่าวต่าง ๆ กัน ให้วิปริตผิดเพี้ยนพระธรรมวินัย นี้ชื่อว่า วิวาทาธิกรณ์ การที่ภิกษุติดตาม ว่ากล่าว ทักท้วง ยกโทษกันด้วย🔎ศีลวิบัติ อาจารวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ อาชีววิบัติ(๗๘-๘๑) แต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้ชื่อว่า อนุวาทาธิกรณ์ การที่ภิกษุต้องอาบัติทั้ง ๗ กอง คือ ปาราชิก ๑ สังฆาทิเสส ๑ ถุลลัจจัย ๑ ปาจิตตีย์ ๑ ปาฏิเทสนียะ ๑ ทุกกฏ ๑ ทุพภาสิต ๑ แต่กองใดกองหนึ่ง นี้ชื่อว่า อาปัตตาธิกรณ์ การที่ภิกษุทำกิจที่พระสงฆ์จะพึงกระทำทั้ง ๔ คือ 🔎อปโลกนกรรม(๘๒) ดังอปโลกน์เข้าสงฆ์ ๑ ญัตติกรรมอย่างสวดอุโบสถแลสวดปวารณา ๑ ญัตติทุติยกรรมอย่างสวดผูกสวดถอนพัทธสีมาแลสวดกฐิน ๑ ญัตติจตุตถกรรม อย่างสวดอุปสมบทและสวดปริวาส มานัต อัพภาน ๑ กรรมทั้ง ๔ นี้กำเริบเพราะไม่เป็นกรรม หรือไม่เป็นวรรค เป็นญัตติวิบัติ เป็นอนุสาวนาวิบัติ แต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้ชื่อว่า กิจจาธิกรณ์
อธิกรณ์ทั้ง ๔ นี้ พระสงฆ์พึงระงับลงไว้ด้วยอธิกรณสมถะ มีอุบายวิธีเป็น ๗ ประการ คือ
อุบายวิธีที่ ๑.
อุบายวิธีที่ ๑.
ให้พระสงฆ์จึงให้🔎สัมมุขาวินัย(๘๓) นำอธิกรณ์เสียเฉพาะหน้าพระสงฆ์ เฉพาะหน้าพระวินัยธร เฉพาะหน้าโจทก์จำเลยยอมรับผิดชอบพร้อมหน้ากัน
อุบายวิธีที่ ๒.
ให้พระสงฆ์พึงให้สติวินัย นำอธิกรณ์เสียด้วย อันสมมติให้เป็นผู้มีสติแท้ ดังสมมติให้แก่พระอรหันตเจ้า
อุบายวิธีที่ ๓.
ให้พระสงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยนำอธิกรณ์เสียได้ ให้เป็นแต่เพียงว่าผู้หลงเคลิ้มสติไปเฉพาะเป็นบ้า จะโจทก์นำอธิกรณ์ให้ระงับด้วยก็มิขึ้น ปรับอาบัติก็ไม่ได้
อุบายวิธีที่ ๒.
ให้พระสงฆ์พึงให้สติวินัย นำอธิกรณ์เสียด้วย อันสมมติให้เป็นผู้มีสติแท้ ดังสมมติให้แก่พระอรหันตเจ้า
อุบายวิธีที่ ๓.
ให้พระสงฆ์พึงให้อมูฬหวินัยนำอธิกรณ์เสียได้ ให้เป็นแต่เพียงว่าผู้หลงเคลิ้มสติไปเฉพาะเป็นบ้า จะโจทก์นำอธิกรณ์ให้ระงับด้วยก็มิขึ้น ปรับอาบัติก็ไม่ได้
อุบายวิธีที่ ๔.
ให้พระสงฆ์พึงให้ปฏิญญาตกรณะ ปฏิญญาณรับโทษสมคำโจทก์จำเลย
อุบายวิธีที่ ๕.
ให้พระสงฆ์พึงให้ปฏิญญาตกรณะ ปฏิญญาณรับโทษสมคำโจทก์จำเลย
อุบายวิธีที่ ๕.
ให้พระสงฆ์พึงให้เยยยสิกา กิริยาที่ให้อธิกรณ์ระงับด้วยพวกธรรมวาที่ชุกชุมมากว่า สมมติให้สัญญาแก่กันตามสำคัญด้วยฉลาก
อุบายวิธีที่ ๖.
อุบายวิธีที่ ๖.
ให้พระสงฆ์พึงให้ตัสสปาปิยสิกา กิริยาที่ให้อธิกรณ์ระงับด้วยสมมติยกโทษแก่ภิกษุมีบาปหนาหนักต้องอาบัติเนือง ๆ กำจัดเสียจากหมู่สงฆ์ ทรมานให้ละพยศลง เห็นว่าเธอนั้นยังจักเยียวยาได้ พึงสวดระงับอธิกรณ์ให้
อุบายวิธีที่ ๗.
ให้พระสงฆ์พึงให้ติณวัตถารกวินัย นำอธิกรณ์ให้สงบลงไว้ ดังลาดหญ้าทับกองคูถไว้ เพราะอธิกรณ์นั้นหยาบช้าเข้มข้นจวนจะถึงสังฆเภท พระวินัยธรตัดสินไม่ตกลง พระสงฆ์จึงพร้อมกันสวดสัญญาให้อธิกรณ์นั้นสาบสูญเสีย
ธรรม ๗ ประการนี้ ชื่อว่า อธิกรณสมถะ เป็นวิธีที่จะระงับข้อผิดกิจพระวินัยบัญญัติของภิกษุบริษัท พระธรรมวินัย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้ ได้ยกขึ้นยังพระปาฏิโมกขุเทศ เป็นประเภทสิกขาบทบัญญัติรวมเข้าไว้เป็น ๒๒๗ สิกขาบท สำหรับพระสงฆ์ทำอุโบสถทุกระยะกึ่งเดือน สืบศาสนายุกาลมาถึงกาลปัจจุบันนี้ ขอท่านทั้งหลายแต่บรรดาที่อุปสมบทในพระพุทธศาสนาจงอุตสาหะท่องบ่นพระบาลีปาฏิโมกข์ให้จำขึ้นวาจา ใจ กำหนดความตามข้อพระพุทธบัญญัติที่ได้คัดขึ้นไว้โดยย่อนี้ให้แม่นยำ แล้วพึงศึกษาเล่าเรียนไว้ไถ่ถามหาความพิสดารต่อไป
🔅 ปาราชิก ๔
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓
🔅 อนิยต ๒
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
(จีวรวรรค ๑๐)
(โกสิยวรรค ๑๐)
(ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
(มุสาวรรค ๑๐)
(ภูตคามวรรค ๑๐)
(ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
(โภชนวรรค ๑๐)
(อเจลกวรรค ๑๐)
(สุราปานวรรค ๑๐)
(สัปปาณวรรค ๑๐)
(สหธัมมิกวรรค ๑๒)
(ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
(สารูป ๒๖)
(โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
(ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
(ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓
🔅 อนิยต ๒
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
(จีวรวรรค ๑๐)
(โกสิยวรรค ๑๐)
(ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
(มุสาวรรค ๑๐)
(ภูตคามวรรค ๑๐)
(ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
(โภชนวรรค ๑๐)
(อเจลกวรรค ๑๐)
(สุราปานวรรค ๑๐)
(สัปปาณวรรค ๑๐)
(สหธัมมิกวรรค ๑๒)
(ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
(สารูป ๒๖)
(โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
(ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
(ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗