แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ หมวดที่ ๕ รูปปรมัตถ์ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ หมวดที่ ๕ รูปปรมัตถ์ แสดงบทความทั้งหมด

นัยที่ ๕ รูปปวัตติกมนัย

รูปปวัตติกมนัย เป็นการแสดงการเกิด - ดับของรูป ๒๘ ของสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งธรรมดาของรูปนามขันธ์ ๕ ย่อมมีความไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่ใช่ตัวตนที่จะบังคับบัญชาให้คงสภาพเดิมอยู่ได้ คือ ต้องตกอยู่ในกฎของไตรลักษณ์ ดังนั้นรูปร่างกายของคน สัตว์ ย่อมจะต้องมีการเกิด-ดับ ในหมวดนี้ท่านจึงแสดงความเกิดดับของรูปไว้ ๓ นัย คือ

๑. ตามนัยแห่งภูมิ แสดงการเกิด-ดับของรูป ที่เกิดขึ้นในภพภูมิต่างๆ
๒. ตามนัยแห่งกาล แสดงการเกิด-ดับของรูปที่เกิดขึ้นในกาลต่างๆ
๓. ตามนัยแห่งกำเนิด การเกิด-ดับของรูปตามประเภทแห่งการเกิด

รูป ๒๘ มี ดิน น้ำ ไฟ ลม จักขุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ เป็นต้นนั้น ในแต่ละภูมิก็มีรูปเกิดได้จำนวนไม่เท่ากัน ต่อไปจะศึกษาเรื่องภูมิใดจะมีรูปเกิดได้เท่าไร อะไรบ้าง ๑.๑ ใน ๓๑ ภูมิ มีรูปเกิดได้อย่างไร ภูมิอันเป็นที่เกิดของสัตว์ทั้งหลายมีทั้งหมด ๓๑ ภูมิ แบ่งเป็น
๑. กามภูมิ
๒. รูปภูมิ
๓. อรูปภูมิ

๑.๑.๑ กามภูมิ มี ๑๑ ภูมิ กามภูมิเป็นภูมิที่เกิดของสัตว์ทั้งหลาย คือ มนุษย์ เทวดา สัตว์ ดิรัจฉาน ตลอดจนสัตว์นรก มีรูปทั้ง ๒๘ เกิดได้ แต่ถ้าเกิดเป็นหญิงก็เว้นปุริสภาวะรูป ถ้าเกิดเป็นชายก็เว้นอิตถีภาวะรูป ส่วนในคนที่พิการแต่กำเนิด เช่น ตาบอด ฯลฯ ก็จะไม่มีจักขุปสาทรูปเกิด
๑.๑.๒ รูปภูมิ มี ๑๖ ภูมิ แบ่งเป็นภูมิที่รูปขันธ์และนามขันธ์ มี ๑๕ ภูมิ ภูมิที่มีแต่รูปอย่างเดียวมี ๑ คือ อสัญญสัตวพรหมภูมิ ในรูปภูมินั้นจะมีรูปเกิดได้ ๒๓ รูป (เว้น ฆานะ ชิวหา กายะ และภาวรูปทั้ง ๒) ในอสัญญสัตพรหมภูมิ ๑ จะมีรูปเกิดได้เพียง ๑๗ รูป (เว้นปสาทรูปทั้ง ๕ สัททรูป ๑ ภาวรูป ๒ หทยรูป ๑ วิญญัติรูป ๒)
๑.๑.๓ อรูปภูมิ มี ๔ ภูมิ เป็นภูมิที่ไม่มีรูปมีแต่นามเท่านั้น ด้วยอำนาจของปัญจมฌาน ที่ไม่ปรารถนาจะมีรูป รูปจึงเกิดขึ้นไม่ได้

๑. ตามนัยแห่งภูมิ

แสดงการเกิด-ดับของรูปในภูมิต่าง ๆ ๓๑ ภูมิ

ใน กามภูมิ ๑๑
ภพภูมินี้ รูป ๒๘ เกิดได้หมด ประกอบด้วยภพ
• นรก ๑
• เปรต ๑
• อสุรกาย ๑
• เดรัจฉาน ๑
• มนุษย์ ๑
• เทวภูมิ ๖

ใน รูปภูมิ ๑๕
ภพภูมินี้ รูปเกิดได้ ๒๓ รูป (เว้นฆานปสาท ๑, ชิวหาปสาท ๑, กายปสาท ๑, ภาวรูป ๒)
• ปฐมฌานภูมิ ๓
• ทุติยฌานภูมิ ๓
• ตติยฌานภูมิ ๓
• จตุตถฌานภูมิ ๖

ใน อสัญญสตัตภมูิ ๑
ภพภูมินี้ รูปเกิดได้เพียง ๑๗ รูป เท่านั้น คืออวินิพโภครูป ๘, ชีวิตรูป ๑, ปริจเฉทรูป ๑, วิการรูป ๓, ลักขณรูป ๔

ใน อรูปภูมิ ๔
ภพภูมินี้ ไม่มีรูปเกิดขึ้นได้เลย

ในภูมิต่างๆ รูปเกิดจากสมุฎฐานใดบ้าง
กามภูมิ ๑๑ เกิดจากสมุฏฐาน ๔ คือ
เกิดจากกรรม ๑๘ รูป
เกิดจากจิต ๑๕ รูป
เกิดจากอุตุ ๑๓ รูป
เกิดจากอาหาร ๑๒ รูป

รูปภูมิ ๑๕ เกิดจากสมุฏฐาน ๓ คือ
เกิดจากกรรม ๑๓ รูป
เกิดจากจิต ๑๕ รูป
เกิดจากอุตุ ๑๓ รูป

อสัญญสัตตภูมิ ๑ เกิดจากสมุฏฐาน ๒ คือ
เกิดจากกรรม ๑๐ รูป
เกิดจากอุตุ ๑๒ รูป

๒. ตามนัยแห่งกาล

โดยนัยแห่งกาล เป็นการแสดงการเกิด-ดับของรูป ๒๘ ตามกาลว่ากาลใดมีรูปเกิดได้ และกาลใด รูปเกิดไม่ได้ คำว่า “กาล” มี ๓ กาล คือ
๑. ปฏิสนธิกาล หมายถึง เวลาที่นาม-รูป เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในภพใหม่
๒. ปวัตติกาล หมายถึง เวลาที่นาม-รูป มีชีวิตดำเนินไปในชาตินั้นๆ
๓. จุติกาล หมายถึง เวลาที่นาม-รูป ตายจากภพชาตินั้นๆ

ในกาลทั้ง ๓ มีรูปเกิดได้อย่างไร
ปฏิสนธิกาล (ขณะเกิด)
รูปที่เกิดได้ มี ๒๐ คือ
ปสาทรูป ๕ ภาวรูป ๒ หทยรูป ๑ ชีวิตรูป ๑ อวินิพโภครูป ๘ ปริจเฉทรูป ๑ อุปจยรูป ๑ และ สันตติรูป ๑
รูปที่เกิดไม่ได้ มี ๘ คือ
สัททรูป ๑ วิญญัติรูป ๒ วิการรูป ๓ ชรตารูป ๑ และ อนิจจตารูป ๑

ปวัตติกาล (ขณะดำรงชีวิต)
รูปที่เกิดได้ มี ๒๘ คือ
เกิดได้ตามสมควรแก่ภูมิ หรือตามสมควรแก่กำเนิด เกิดได้ครบทั้ง ๔ สมุฎฐานได้แก่ กรรมสมุฏฐาน จิตตสมุฏฐาน อุตุสมุฏฐาน และอาหารสมุฏฐาน

จุติกาล (ขณะตาย)
รูปที่เกิดได้ คือ
จิตตชรูปของสัตว์ในปัญจโวการภูมิ เกิดในอุปปาทักขณะของจิตและตั้งอยู่จนครบอายุแล้วจึงดับ (เว้นจุติจิตของพระอรหันต์)
อาหารชรูป เกิดได้อีก ๕๐ อนุขณะของจุติจิต
อุตุชรูป เกิดได้ตลอดจนกระทั่งตอนเป็นซากศพ
รูปที่เกิดไม่ได้ คือ
กรรมชรูปทั้งหมดที่นับถอยหลังไป ๑๗ ขณะ จากจุติจิต และ จิตตชรูปของพระอรหันต์

๓. ตามนัยแห่งกำเนิด

ในบรรดาสัตว์ทั้งหลายที่เกิดในภูมิทั้ง ๓๑ ภูมิ จะมีลักษณะการเกิดได้ ๔ อย่าง คือ
๑) อัณฑชะกำเนิด (เกิดจากไข่) ได้แก่ ไก่ นก จิ้งจก ตุ๊กแก งู เป็นต้น
๒) ชลาพุชะกำเนิด (เกิดจากครรภ์) ได้แก่ พวกที่อาศัยเกิดจากครรภ์มารดาและคลอดออกมาเป็นตัวหรือทารกเล็กๆ แล้วค่อยเจริญเติบโตมาตามลำดับได้แก่ มนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน เทวดาชั้นต่ำบางพวก เป็นต้น
๓) สังเสทชะกำเนิด (เกิดจากเถ้าไคล) การเกิดชนิดนี้ไม่ต้องอาศัยบิดามารดา คือ จะอาศัยเถ้าไคล หรือยางเหนียวที่ชุ่มชื้นมีอุณหภูมิเหมาะสมเป็นที่อาศัยเกิดของสัตว์ชนิดนี้ เช่น หนอนในปลาเน่า มอดในข้าวสาร เป็นต้น มนุษย์ที่เกิดจากดอกไม้ ต้นไม้ ผลไม้ เช่น นางจิญจมานวิกา เกิดจากต้นมะขาม นางเวฬุวดี เกิดจากต้นไผ่ นางปทุมวดี เกิดจากดอกบัว เป็นต้น
๔) โอปปาติกกำเนิด (เกิดขึ้นโตทันที) คือ เกิดแล้วโตทันที ไม่ต้องอาศัยครรภ์มารดา หรือที่ชื้นแฉะแต่อย่างใด แต่อาศัยอดีตกรรมอย่างเดียว โดยการผุดเกิดขึ้นมีรูปร่างใหญ่โตทันที ได้แก่ เทวดา เปรต อสุรกาย มนุษย์ต้นกัป เป็นต้น
ในกำเนิดทั้ง ๔ ยังสามารถจัดกลุ่มการเกิดได้อีก ๒ แบบ คือ เอาแบบที่ ๑ และ ๒ รวมกัน เรียกว่า คัพภไสยยกกำเนิด หมายถึงสัตว์ที่ต้องอาศัยครรภ์มารดาเกิด ส่วนสังเสทชะกำเนิดและโอปปาติกกำเนิด ทั้งสองนี้ไม่ต้องอาศัยครรภ์มารดาเกิด

ปฏิสนธิวิญญาณจะเกิดในครรภ์มารดาได้นั้นต้องประกอบด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ
๑. มารดาบิดาอยู่ร่วมกัน
๒. มารดาอยู่ในวัยมีประจำเดือน
๓. มีปฏิสนธิวิญญาณมาเกิด

เมื่อวิญญาณปฏิสนธิในครรภ์มารดาแล้ว รูปต่างๆ จะเกิดขึ้นเจริญตามลำดับดังนี้ คือ
สัปดาห์แรก เป็นกลละ มีลักษณะเป็นหยาดน้ำใสเหมือนน้ำมันงา มีปริมาณเท่ากับหยาดน้ำมันที่ติดอยู่ที่ปลายขนจามรีที่สลัดแล้ว ๗ ครั้ง
สัปดาห์ที่ ๒ เป็นอัพพุทะ มีลักษณะเป็นฟอง มีสีเหมือนน้ำล้างเนื้อ
สัปดาห์ที่ ๓ เป็นเปสิ มีลักษณะเป็นชิ้นเนื้อ ชิ้นเนื้อมีลักษณะเหลวคล้ายกับดีบุก
สัปดาห์ที่ ๔ เป็นฆนะ มีลักษณะเป็นก้อนมีสัณฐานเหมือนไข่ไก่
สัปดาห์ที่ ๕ เป็นปัญจสาขา มีลักษณะเกิดปุ่มขึ้น ๕ แห่ง เพื่อเป็นศีรษะ ๑ มือและเท้าอย่างละ ๒
สัปดาห์ที่๖-๔๒ จะเกิดอวัยวะต่าง ๆ และในสัปดาห์ที่ ๑๑ เป็นสัปดาห์ที่จะเกิด จักขุปสาทรูป โสตปสาทรูป ฆานะปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป กายปสาทรูป ทารกที่อยู่ในครรภ์มารดาจะมีสายสะดือของทารกติดกับแผ่นท้องของมารดา สายสะดือจะมีลักษณะเป็นรูเหมือนก้านบัว เมื่อมารดาบริโภคอาหารเข้าไปแล้ว สารอาหารจะไปเลี้ยงทารกทางสายสะดือ จนกระทั่งทารกมีอายุ ๑๐ เดือน จึงคลอดออกมา
หมายเหตุ ๑ เดือน นับตามปีจันทรคติ มี ๒๘ วัน ทารกอายุ ๑๐ เดือน เท่ากับ ๒๘๐ วัน แต่ในปัจจุบัน ๑ เดือน นับตามปีสุริยคติมี๓๐ วัน ในปัจจุบันจึงนับว่าทารกจะอยู่ในครรภ์มารดาประมาณ ๙ เดือนหรือกว่านั้น โดยทางแพทย์จะนับจำนวนวันเท่ากับจำนวนวันทางจันทรคติ คือ ๒๘๐ วันเช่นกัน

สรุป

เรื่องรูปปรมัตถ์ที่ได้แสดงมาแล้วโดยนัยทั้ง ๕ นั้น เพื่อประโยชน์ในการพิจารณารูปทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับสัตว์ดิรัจฉาน มนุษย์ เทวดา พรหม เป็นอย่างไร? มีอะไรบ้าง? ความรู้ที่ละเอียดลึกซื้งอย่างนี้มีได้ก็ด้วยพระสัพพัญญุตญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วพระองค์ทรงแสดงความจริงอย่างนี้แก่สาวก สาวกจึงนำมาสั่งสอนต่อไป เมื่อได้ศึกษาเรื่องจิต เจตสิก และรูป มาแล้วก็ควรนำประโยชน์จากการศึกษาไปพิจารณาเพื่อหยั่งลงสู่การปฏิบัติเพื่อให้ปัญญาเกิดขึ้นได้ โดยการพิจารณาตามความเป็นจริงของนาม (คือ จิตและเจตสิก) และพิจารณาตามความเป็นจริงของรูป คือ รูปทั้ง ๒๘ ว่าอะไรคือรูป อะไรคือนาม เมื่อพิจารณาลักษณะของนามและรูปโดยความเป็นจริงได้บ่อยๆ ปัญญาก็จะเกิดขึ้น โดยพึงพิจารณาถึงรูปอย่างถูกต้องพิจารณาเห็นจิตที่รู้รูปนั้นว่าเป็นเพียงนาม เป็นเพียงรูป ไม่ใช่ สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่หญิง ไม่ใช่ชาย ไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ของตน ดังนี้ การรู้จักนามรู้จักรูปตามความเป็นจริงอย่างนี้เป็นการเริ่มต้นเจริญวิปัสสนาอย่างถูกต้อง บุคคลผู้สามารถเริ่มต้นเจริญวิปัสสนาอย่างถูกต้องตามหลักปริยัติอย่างนี้จึงจะเห็นแจ้งพระนิพพานบรรลุธรรมในภายต่อไปได้


นัยที่ ๔ รูปกลาปนัย แสดงการเกิดขึ้นเป็นกลุ่มของรูป(๒)


หน้าแรก รูปกลาปนัย(๑)

๒.๔ ลหุตาทิเอกาทสกกลาป คือ กลุ่มรูปที่ทำให้เกิดความเบา มี ๑๑ รูป เป็นกลุ่มรูปที่เกิดขึ้นในขณะที่ไม่ได้มีการเคลื่อนไหว ไม่มีการพูด แต่ในขณะนั้น จิตมีความสบายเข้มแข็งดี หน้าตาแจ่มใสชื่นบาน กลุ่มรูปนี้ มี ๑๑ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูปวิการรูป


๒.๕ กายวิญญัติลหุตาทิทวาทสกกลาป คือ กลุ่มรูปที่ทาให้เกิดการคล่องตัวในการเคลื่อนไหวกายมี ๑๒รูป (อ่านว่า กา-ยะ-วิด-ยัด-ละ-หุ-ตา-ทิ-ทะ-วา-ทะ-สะ-กะ-กะหลาป) ในขณะที่จิตใจแจ่มใส เข้มแข็ง มี ๑๒ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูปวิการรูป ๓ กายวิญญัติรูป ๑



๒.๖ วจีวิญญัติสัททลหุตาทิเตรสกกลาป คือ กลุ่มรูปที่ทำให้เกิดการพูดที่คล่องแคล่ว มี ๑๓ รูป ในขณะที่จิตใจแจ่มใส เข้มแข็ง มีการพูด การสวดมนต์ การร้องเพลง เป็นต้น มี ๑๓ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูปวิการรูป ๓ สัททรูป ๑ กายวิญญัติรูป ๑



๓. อุตุชกลาปอุตุชกลาป คือ กลุ่มของรูปที่เกิดมาจากอุตุเป็นสมุฏฐาน อุตุ คือ ความเย็น และความร้อน เกิดได้ทั้งภายในร่างกายและภายนอกร่างกาย คือเกิดได้ทั้งในสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต

ถ้าในสิ่งที่มีชีวิตอุตุชกลาปย่อมเกิดได้ทั้งหมด ๔ กลาป ถ้าภายนอกตัวคนสัตว์จะเกิดได้เพียง ๒ กลาปเท่านั้น

อุตุชกลาป มี ๔ กลาป คือ

๓.๑ สุธัฏฐกกลาป (อ่านว่า สุ-ทัด-ทะ-กะ-กะ-หลาบ) เกิดจากอุตุเป็นสมุฏฐานเป็นพื้นฐานของรูปทั้งหมด ทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต กลาปนี้เกิดขึ้นในขณะที่ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่สบาย เป็นต้น มี ๘ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูป

๓.๒ สัททนวกกลาป (อ่านว่า สัด-ทะ-นะ-วะ-กะ-กะ-หลาบ) เป็นกลุ่มรูปที่ทาให้เกิดเสียง เกิดขึ้นได้ทั้งภายในและภายนอก เช่นเดียวกัน แต่เป็นเสียงที่ไม่ชัดเจนนัก เช่น เสียงท้องร้อง เสียงกรน หรือเสียงลมพัด เสียงฟ้าร้อง เป็นต้น มี ๙ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ และ สัททรูป ๑ (สัททรูป หมายถึงสิ่งที่สามารถปรากฏได้ทางหู ซึ่งมีลักษณะที่ดังและกระทบกับโสตปสาท)

๓.๓ ลหุตาทิเอกาทสกกลาป (อ่านว่า ละ-หุ-ตา-ทิ-เอ-กา-ทะ-สะ-กะ-กะ-หลาบ) เกิดขึ้นได้เฉพาะในสิ่งที่มีชีวิตเท่านั้น เกิดขึ้นได้ ในขณะที่มีร่างกายปกติแข็งแรงดี มี ๑๑ รูป คือ อวินิพโภครูป ๘ และวิการรูป ๓

๓.๔ สัททลหุตาทิทวาทสกกลาป (อ่านว่า สัด-ทะ-ละ-หุ-ตา-ทิ-ทะ-วา-ทะ-สะ-กะ-กะ-หลาบ) เป็นกลุ่มรูปที่ทำให้เกิดเสียง ตามข้อ ๒ คือ กลุ่มของสัททนวกกลาป แต่เป็นเสียงที่ดังออกมาชัดเจน เช่น เสียงกรน เสียงท้องร้อง เสียงลมหายใจ เป็นต้น เป็นเสียงที่ไม่เกี่ยวกับการพูด มี ๑๔ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูปวิการรูป ๓ และ สัททรูป ๑

๔. อาหารชกลาป
อาหารชกลาป คือ กลุ่มรูปที่เกิดจากอาหาร คนสัตว์จะมีชีวิตอยู่ได้ก็ต้องอาศัยอาหารทั้งนั้น อาหารมีทั้งชนิดที่เป็นรูปเรียกว่า รูปอาหาร และอาหารที่เป็นนาม เรียกว่า นามอาหาร

รูปอาหาร ก็คืออาหารที่เรารับประทานเข้าไปเป็นคำ ๆ เรียกว่า กพฬีการาหาร เช่น ข้าว น้ำ ยา หรือวิตามินต่าง ๆ ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตได้ นามอาหาร มี ๓ คือ ผัสสาหาร มโนสัณเจตนาหาร และวิญญาณาหาร รูปอาหารเมื่อจัดเป็นกลาปแล้ว ได้ ๒ กลาป คือ

๔.๑ สุทธัฏฐกกลาป คือ กลุ่มของรูปที่เกิดจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปที่ยังไม่ย่อย ทำให้เกิดการอึดอัดหรือง่วงซึมไม่กระปรี้กระเปร่า เนื่องจากยังไม่มีวิการรูป ๓ คือ รูปเบา รูปอ่อน หรือรูปที่ควรแก่การงานเกิดร่วมด้วย ยังไม่เกิดความคล่องตัวที่จะทำงานให้เกิดมีประสิทธิภาพขึ้น กลาปรูปนี้มีเพียง ๘ รูปเท่านั้น คือ อวินิพโภครูป

๔.๒ ลหุตาทิเอกาทสกกลาป คือ อาหารที่ย่อยเป็นโอชะแล้ว มีวิการรูป ๓ เข้าประกอบด้วยจึงนำเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทำให้ร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรง กลาปรูปนี้จึงประกอบด้วย อวินิพโภครูป ๘ และวิการรูป ๓


สรุป การศึกษาเรื่องรูปกลาป จะทำให้เราทราบถึงกลุ่มรูปที่เกิดมาล้วนมีเหตุหรือสมุฏฐานแห่งการเกิดทั้งสิ้น จะได้ทำลายความสงสัยว่า คนหรือสัตว์ทั้งหลายเกิดมาได้อย่างไร ? พรหมสร้างให้เกิดมาหรือ ? ตลอดจนเป็นความรู้ให้เข้าถึงวิปัสสนาได้ รูปทั้ง ๒๘ ที่ได้ศึกษาผ่านไปแล้วโดยนัยต่าง ๆ เป็นความรู้ที่จะทำให้นักศึกษารู้จักคำว่า “รูป” ได้อย่างละเอียดถูกต้อง จะได้ไม่หลงเข้าใจผิดระหว่างรูปกับอิริยาบถ ในอิริยาบถต่าง ๆ มีการเดิน ยืน นั่ง นอน เป็นต้นนั้น ไม่ใช่รูปเพราะเป็นเพียงกิริยา อาการ ท่าทาง เท่านั้น การเจริญวิปัสสนาเพื่อให้รู้จักนามและรูป ต้องรู้เหตุแห่งการเกิดอิริยาบถ ซึ่งเหตุแห่งการเกิดอิริยาบถก็คือ วาโยธาตุ หรือธาตุลมนั้นเอง ถ้าพิจารณาได้อย่างถูกต้องอย่างนี้ก็เป็นการเจริญวิปัสสนาได้อย่างถูกต้องแท้จริง



นัยที่ ๔ รูปกลาปนัย

คำว่ากลาป (อ่านว่า กะ-หลาบ หรือ กะ-ลา-ปะ ) แปลว่า กลุ่ม หรือ หมวด,หมู่,คณะ,กลุ่มดังนั้นรูปที่ชื่อว่า กลาป ก็คือกลุ่มของรูปที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ ที่มีอยู่ในร่างกายของคนสัตว์ทั้งหลาย เกิดมาจากสมุฏฐาน ๔ คือ เกิดจากกรรม จิต อุตุ อาหาร รูปกลาปมีลักษณะ ๓ ประการ คือ
๑. เกิดพร้อมกัน
๒. ดับพร้อมกัน
๓. มีมหาภูตรูปเป็นที่อาศัยเกิด


รูปกลาป มีทั้งหมด ๒๑ กลาป และเกิดจากสมุฏฐานทั้ง ๔ มีดังนี้
แบ่งรูปกลาปตามสมุฏฐานของการเกิด
๑. รูปกลาปที่เกิดจากกรรม การกระทำบุญบาป ทางกาย วาจา และใจ ได้แก่เจตนา ๒๕ ที่เกิดใน อกุศลจิต ๑๒ มหากุศลจิต ๘ และรูปาวจรกุศลจิต ๕ ชื่อว่า เป็นกรรม สิ่งนี้เรียกว่า กรรมชกลาป มี ๙ กลาป
๒. รูปกลาปที่เกิดจากจิต เป็นตัวบงการหรือชักใยทำให้รูป ๒๘ เคลื่อนไหวไปทำกรรม ในส่วนที่เป็นบาปบ้าง ส่วนที่เป็นบุญบ้าง ทั้งทางกาย วาจา และใจ ได้แก่ จิต ๗๕ ดวง ส่วนทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ และ อรูปาวจรวิบากจิต ๔ จิต ๑๔ ดวงนี้ไม่ทำให้เกิดรูป สิ่งนี้เรียกว่า จิตตชกลาป มี ๖ กลาป
๓. รูปกลาปที่เกิดจากอุตุ หมายถึง อุณหภูมิ คือ ความร้อน ความเย็น ที่มีอยู่ในร่างกาย ของสัตว์ทั้งหลายและในสิ่งไม่มีชีวิต แม้ตอนตาย อุตุก็ยังคงอยู่ในซากศพต่อไป จนกว่าจะสลายหมดไปเองตามธรรมชาติสิ่งนี้เรียกว่า อุตุชกลาป มี ๔ กลาป
๔. รูปกลาปที่เกิดจากอาหาร หมายถึง อาหารที่เรารับประทานอยู่เป็นประจำวัน เมื่อไฟธาตุย่อยเป็นโอชะ แล้วก็จะนำไปบำรุงเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ถ้าขาดอาหารเสียแล้วชีวิตเราก็คงจะอยู่ไม่ได้ สิ่งนี้เรียกว่า อาหารชกลาป มี ๒ กลาป

๑.กรรมชกลาป
กรรมชกลาป
คือ กลุ่มรูปที่เกิดจากกรรม เป็นรูปที่เกิดจากอำนาจของบุญ หรือ อำนาจของบาป ที่บุคคลได้กระทำไว้ในภพชาตินี้ และภพชาติก่อนๆ ถ้าเป็นรูปร่างกายของมนุษย์ เทวดา พรหม ก็เกิดขึ้นด้วยอำนาจของกรรมดี คือ บุญ ถ้าเป็นรูปร่างกายของสัตร์นรก เปรต อสุรกาย หรือ เดรัจฉาน ก็เกิดขึ้นด้วยอำนาจของกรรมชั่ว คือ บาป

รูปที่เกิดจากอำนาจของกรรมดีและกรรมชั่ว (เจตนา ๒๕) นั้น มี ๑๘ รูป เรียกว่ากรรมชรูป ๑๘

กรรมชรูป ๑๘ นี้เกิดได้ในภพภูมิต่าง ๆ ถึง ๒๗ ภพภูมิ คือ อบายภูมิ ๔ มนุษยภูมิ ๑ เทวภูมิ ๖ รูปพรหมภูมิ ๑๖ กรรมชรูปนี้เกิดได้ทุกขณะจิตจนถึงใกล้จะตาย กรรมชรูปจะเกิดขึ้นครั้งสุดท้าย โดยนับถอยหลังจากจุติจิตขึ้นไป ๑๗ ขณะ (มีรายละเอียดถ้าศึกษาถึงเรื่องของวิถีจิตตอนใกล้จะตาย) แล้วจะไม่เกิดขึ้นอีก เป็นการจบชีวิตในชาติหนึ่งภพหนึ่ง มนุษย์ เทวดา พรหม เกิดขึ้นจากกุศลกรรม ส่วนสัตว์ในอบายภูมิเกิดจากอกุศลกรรม กลุ่มรูปที่เกิดจากกรรรมมี ๙ กลุ่ม คือ (กรรมชกลาป อ่านว่า กัม-มะ-ชะ-กะ-หลาบ)
    ๑.๑ จักขุทสกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๑๐ มี จักขุปสาท เป็นประธาน
    ๑.๒ โสตทสกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๑๐ มี โสตปสาท เป็นประธาน
    ๑.๓ ฆานทสกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๑๐ มี ฆานปสาท เป็นประธาน
    ๑.๔ ชิวหาทสกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๑๐ มี ชิวหาปสาท เป็นประธาน
    ๑.๕ อิตถีภาวทสกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๑๐ มี อิตถีภาวรูป เป็นประธาน
    ๑.๖ อิตถีภาวทสกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๑๐ มี อิตถีภาวรูป เป็นประธาน
    ๑.๗ ปุริสภาวทสกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๑๐ มี ปุริสภาวรูป เป็นประธาน
    ๑.๘ วัตถุทสกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๑๐ มี หทยวัตถุรูป เป็นประธาน
    ๑.๙ ชีวิตนวกกลาป หมายถึง กลาปที่มีจำนวนรูป ๙ มี ชีวิตรูป เป็นประธาน

๒. จิตตชกลาป
จิตตชกลาป คือ กลุ่มของรูปที่เกิดจากจิตเป็นสมุฏฐาน ได้แก่ อาการยืน เดิน นั่ง นอน การเคลื่อนไหวในอิริยาบถต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของคนเรา รวมทั้งการพูดจาเรื่องราวต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นไปตามอำนาจความต้องการของจิตทั้งสิ้น จึงเรียกว่า มีจิตเป็นสมุฏฐาน ถ้าคนตายคือไม่มีจิตเสียแล้ว ก็ไม่สามารถที่จะเคลื่อนไหวหรือพูดจาใดๆได้เลย จิตที่เป็นตัวการหรือสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวกาย หรือการพูดนั้น ได้แก่ จิต ๗๕ ดวง มีอำนาจทำให้เกิดรูปได้ ๑๕ รูป รูปที่เกิดจากอำนาจของจิตนี้ เรียกว่า จิตตชรูปรูปที่เกิดจากจิต หรือ จิตตชกลาป มี ๖ กลุ่ม (กลาป) คือ

    ๒.๑ สุทธัฏฐกกลาป คือ กลุ่มรูปพื้นฐาน จะเกิดในขณะจิตใจอ่อนเพลียโดยที่ยังไม่พูดหรือเคลื่อนไหวกาย กลุ่มรูปนี้ได้แก่ อวินิพโภครูป

    ๒.๒ กายวิญญัตินวกกลาป คือ กลุ่มรูปที่ทำให้กายเคลื่อนไหว มี ๙ รูป เกิดขึ้นในขณะที่จิตใจอ่อนเพลียแล้วเคลื่อนไหวกาย มี ๙ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูปกายวิญญัติรูป


    ๒.๓ วจีวิญญัติสัทททสกกลาป
คือ กลุ่มรูปที่ทำให้เกิดการพูด มี ๑๐ รูป มีการอ่านหนังสือ ร้องเพลง สวดมนต์ เป็นต้น ที่ไม่เป็นไปตามปกติ คือ ทำในขณะที่ไม่ค่อยสบาย เกิดความท้อถอย ไม่เต็มใจ เป็นต้น กลุ่มรูปนี้ มี ๑๐ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูปสัททรูป ๑ วจีวิญญัติรูป ๑
    ๒.๔ ลหุตาทิเอกาทสกกลาป คือ กลุ่มรูปที่ทำให้เกิดความเบา มี ๑๑ รูป เป็นกลุ่มรูปที่เกิดขึ้นในขณะที่ไม่ได้มีการเคลื่อนไหว ไม่มีการพูด แต่ในขณะนั้น จิตมีความสบายเข้มแข็งดี หน้าตาแจ่มใสชื่นบาน กลุ่มรูปนี้ มี ๑๑ รูปได้แก่อวินิพโภครูปวิการรูป

    ๒.๕ กายวิญญัติลหุตาทิทวาทสกกลาป
คือ กลุ่มรูปที่ทาให้เกิดการคล่องตัวในการเคลื่อนไหวกายมี ๑๒รูป (อ่านว่า กา-ยะ-วิด-ยัด-ละ-หุ-ตา-ทิ-ทะ-วา-ทะ-สะ-กะ-กะหลาป) ในขณะที่จิตใจแจ่มใส เข้มแข็ง มี ๑๒ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูปวิการรูป ๓ กายวิญญัติรูป ๑


    ๒.๖ วจีวิญญัติสัททลหุตาทิเตรสกกลาป คือ กลุ่มรูปที่ทำให้เกิดการพูดที่คล่องแคล่ว มี ๑๓ รูป ในขณะที่จิตใจแจ่มใส เข้มแข็ง มีการพูด การสวดมนต์ การร้องเพลง เป็นต้น มี ๑๓ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูปวิการรูป ๓ สัททรูป ๑ กายวิญญัติรูป ๑


๓. อุตุชกลาป
อุตุชกลาป คือ กลุ่มของรูปที่เกิดมาจากอุตุเป็นสมุฏฐาน อุตุ คือ ความเย็น และความร้อน เกิดได้ทั้งภายในร่างกายและภายนอกร่างกาย คือเกิดได้ทั้งในสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต

ถ้าในสิ่งที่มีชีวิตอุตุชกลาปย่อมเกิดได้ทั้งหมด ๔ กลาป ถ้าภายนอกตัวคนสัตว์จะเกิดได้เพียง ๒ กลาปเท่านั้น

อุตุชกลาป มี ๔ กลาป คือ

    ๓.๑ สุธัฏฐกกลาป (อ่านว่า สุ-ทัด-ทะ-กะ-กะ-หลาบ) เกิดจากอุตุเป็นสมุฏฐานเป็นพื้นฐานของรูปทั้งหมด ทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิต กลาปนี้เกิดขึ้นในขณะที่ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่สบาย เป็นต้น มี ๘ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘

    ๓.๒ สัททนวกกลาป (อ่านว่า สัด-ทะ-นะ-วะ-กะ-กะ-หลาบ) เป็นกลุ่มรูปที่ทาให้เกิดเสียง เกิดขึ้นได้ทั้งภายในและภายนอก เช่นเดียวกัน แต่เป็นเสียงที่ไม่ชัดเจนนัก เช่น เสียงท้องร้อง เสียงกรน หรือเสียงลมพัด เสียงฟ้าร้อง เป็นต้น มี ๙ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ และ สัททรูป ๑ (สัททรูป หมายถึงสิ่งที่สามารถปรากฏได้ทางหู ซึ่งมีลักษณะที่ดังและกระทบกับโสตปสาท)

    ๓.๓ ลหุตาทิเอกาทสกกลาป (อ่านว่า ละ-หุ-ตา-ทิ-เอ-กา-ทะ-สะ-กะ-กะ-หลาบ) เกิดขึ้นได้เฉพาะในสิ่งที่มีชีวิตเท่านั้น เกิดขึ้นได้ ในขณะที่มีร่างกายปกติแข็งแรงดี มี ๑๑ รูป คือ อวินิพโภครูป ๘ และวิการรูป ๓

    ๓.๔ สัททลหุตาทิทวาทสกกลาป (อ่านว่า สัด-ทะ-ละ-หุ-ตา-ทิ-ทะ-วา-ทะ-สะ-กะ-กะ-หลาบ) เป็นกลุ่มรูปที่ทำให้เกิดเสียง ตามข้อ ๒ คือ กลุ่มของสัททนวกกลาป แต่เป็นเสียงที่ดังออกมาชัดเจน เช่น เสียงกรน เสียงท้องร้อง เสียงลมหายใจ เป็นต้น เป็นเสียงที่ไม่เกี่ยวกับการพูด มี ๑๔ รูป ได้แก่ อวินิพโภครูป ๘ วิการรูป ๓ และ สัททรูป ๑

๔. อาหารชกลาป
อาหารชกลาป คือ กลุ่มรูปที่เกิดจากอาหาร คนสัตว์จะมีชีวิตอยู่ได้ก็ต้องอาศัยอาหารทั้งนั้น อาหารมีทั้งชนิดที่เป็นรูปเรียกว่า รูปอาหาร และอาหารที่เป็นนาม เรียกว่า นามอาหาร

รูปอาหาร ก็คืออาหารที่เรารับประทานเข้าไปเป็นคำ ๆ เรียกว่า กพฬีการาหาร เช่น ข้าว น้ำ ยา หรือวิตามินต่าง ๆ ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตได้ นามอาหาร มี ๓ คือ ผัสสาหาร มโนสัณเจตนาหาร และวิญญาณาหาร รูปอาหารเมื่อจัดเป็นกลาปแล้ว ได้ ๒ กลาป คือ

    ๔.๑ สุทธัฏฐกกลาป คือ กลุ่มของรูปที่เกิดจากอาหารที่เรารับประทานเข้าไปที่ยังไม่ย่อย ทำให้เกิดการอึดอัดหรือง่วงซึมไม่กระปรี้กระเปร่า เนื่องจากยังไม่มีวิการรูป ๓ คือ รูปเบา รูปอ่อน หรือรูปที่ควรแก่การงานเกิดร่วมด้วย ยังไม่เกิดความคล่องตัวที่จะทำงานให้เกิดมีประสิทธิภาพขึ้น กลาปรูปนี้มีเพียง ๘ รูปเท่านั้น คือ อวินิพโภครูป

    ๔.๒ ลหุตาทิเอกาทสกกลาป คือ อาหารที่ย่อยเป็นโอชะแล้ว มีวิการรูป ๓ เข้าประกอบด้วยจึงนำเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายทำให้ร่างกายเจริญเติบโตแข็งแรง กลาปรูปนี้จึงประกอบด้วย อวินิพโภครูป ๘ และวิการรูป ๓


สรุป
การศึกษาเรื่องรูปกลาป จะทำให้เราทราบถึงกลุ่มรูปที่เกิดมาล้วนมีเหตุหรือสมุฏฐานแห่งการเกิดทั้งสิ้น จะได้ทำลายความสงสัยว่า คนหรือสัตว์ทั้งหลายเกิดมาได้อย่างไร ? พรหมสร้างให้เกิดมาหรือ ? ตลอดจนเป็นความรู้ให้เข้าถึงวิปัสสนาได้ รูปทั้ง ๒๘ ที่ได้ศึกษาผ่านไปแล้วโดยนัยต่าง ๆ เป็นความรู้ที่จะทำให้นักศึกษารู้จักคำว่า “รูป” ได้อย่างละเอียดถูกต้อง จะได้ไม่หลงเข้าใจผิดระหว่างรูปกับอิริยาบถ ในอิริยาบถต่าง ๆ มีการเดิน ยืน นั่ง นอน เป็นต้นนั้น ไม่ใช่รูปเพราะเป็นเพียงกิริยา อาการ ท่าทาง เท่านั้น การเจริญวิปัสสนาเพื่อให้รู้จักนามและรูป ต้องรู้เหตุแห่งการเกิดอิริยาบถ ซึ่งเหตุแห่งการเกิดอิริยาบถก็คือ วาโยธาตุ หรือธาตุลมนั้นเอง ถ้าพิจารณาได้อย่างถูกต้องอย่างนี้ก็เป็นการเจริญวิปัสสนาได้อย่างถูกต้องแท้จริง



นัยที่ ๓ รูปสมุฏฐานนัย

นัยที่ ๓ รูปสมุฏฐานนัย แสดงเหตุเกิดแห่งรูป

รูปร่างกายของคน สัตว์ เทวดา หรือ รูปพรหม นั้นล้วนแต่เกิดและยังมีชีวิตดำรงอยู่ได้ก็มาจาก เหตุ ๔ ประการ คือ กรรม จิต อุตุ และอาหาร หรือที่เรียกว่า เกิดมา จากสมุฏฐาน ๔

 กรรม คือ เจตนาในการทำกุศล และ อกุศลต่างๆ ที่ได้สั่งสมไว้แล้ว เมื่อกรรมทั้งหลายสำเร็จลง เจตนาในการกระทำกรรมนั้นจะทำหน้าที่ ส่งผลให้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายเกิดขึ้นในภูมิต่าง ๆ เป็นคน สัตว์ เทวดา พรหม ได้ ดังนั้น
กรรมที่เป็นสมุฎฐานในเกิดรูป ก็ได้แก่เจตนา ๒๕ คือ
เจตนาในอกุศลจิต ๑๒
เจตนาในมหากุศลจิต ๘
เจตนาในรูปาวจรกุศลจิต ๕

เจตนาทั้ง ๒๕ นี้ ย่อมทำให้รูปที่มีกรรมเป็นสมุฏฐานเกิดขึ้นได้ นับตั้งแต่อุปปาทขณะของปฏิสนธิ จิตเป็นต้นไป (หนึ่งขณะจิตมี ๓ อนุขณะเล็ก คืออุปปาทะ(เกิด) ฐีติ(ตั้งอยู่) ภังคะ (ดับ) รูปที่เกิดจากกรรม เกิดขึ้นได้ตั้งแต่อนุขณะแรกของปฏิสนธิจิต (ส่วนเจตนาในอรูปวจรกุศลจิต จะส่งผลโดย นามปฏิสนธิในอรูป ภูมิ ๔)
รูปที่เกิดจากกรรม เรียกว่า กรรมชรูป (อ่านว่า กัม-มะ-ชะ-รูป) มี ๑๘ รูป คือ
ปสาทรูป ๕
ภาวรูป ๒
หทยรูป ๑
ชีวิตรูป ๑
ปริจเฉทรูป ๑
อวินิพโภครูป ๘

 จิต  การที่รูปจะแสดงกิริยาอาการต่าง ๆ ได้ก็เพราะมีจิต เช่น จิตคิดจะทำกุศล จิตนี้ก็ทำให้ วาโยธาตุนั้นมีกำลังทำให้ร่างนี้เคลื่อนไป เดินไปทำกุศลได้ หรือที่เป็นอกุศล คิดจะฆ่าสัตว์ วาโยธาตุที่เกิด จากจิตก็จะทำให้กายนี้ไปทำอกุศล จิตที่ทำให้รูปทำการงานต่างๆ มี ๗๕ ดวง คือ จิต ๗๕ ดวง (เว้น ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ และ อรูปาวจรวิบากจิต ๔)
รูปที่เกิดจากจิต เรียกว่า จิตตชรูป มี ๑๕ คือ
วิญญัติรูป ๒
สัททรูป ๑
ปริจเฉทรูป ๑
วิการรูป ๓
อวินิพโภครูป ๘

 อุตุ  หมายถึง อุณหภูมิ คือ ความร้อน ความเย็น ที่มีอยู่ในร่างกายของสัตว์ทั้งหลายและในสิ่งไม่มีชีวิต แม้ตอนตาย อุตุก็ยังคงอยู่ในซากศพต่อไปจนกว่าจะสลายหมดไปเองตามธรรมชาติ
รูปที่เกิดจากอตุุ เรียกว่า อุตุชรปู มี ๑๓ คือ
สัททรูป ๑
ปริจเฉทรูป ๑
วิการรูป ๓
อวินิพโภครูป ๘

 อาหาร  หมายถึง โอชาในอาหาร (หรือปัจจุบันเรียกว่าสารอาหาร) อาหารที่ได้รับประทานแล้วเมื่อไฟธาตุทำการย่อยแล้ว จะเป็นโอชาหรือสารอาหารไปหล่อเลี้ยงร่างกาย อาหารที่บริโภคไป คราวหนึ่งสามารถจะอุดหนุนให้รูปกายนี้อยู่ได้ถึง ๗ วัน แต่ถ้าเป็นโอชาที่เป็นทิพย์ย่อมอุดหนุนรูปกายได้ ๑ หรือ ๒ เดือน และในอาหารที่แม่บริโภคแล้วก็ยังส่งไปให้ถึงทารกในครรภ์ให้รูปของทารกนั้นดำรงอยู่ได้

รูปที่เกิดจากอาหาร เรียกว่า
อาหารชรูป มี ๑๒ คือ
ปริจเฉทรูป ๑
วิการรูป ๓
อวินิพโภครูป ๘

เฉพาะรูปที่เกิดจากจิตเป็นสมุฏฐาน มีรายละเอียดเพิ่มเติมดังนี้ รูปที่เกิดจากจิตยังมีอีก ๗ อย่าง คือ

๑. จิตตชรูปสามัญ
จิตตชรูปสามัญ หมายถึง รูปที่เป็นไปตามปกติธรรมดาของร่างกาย เช่น การหายใจ การเต้นของหัวใจเป็นต้น จิตตรูปสามัญนี้เกิดได้จากจิตที่เป็นอกุศลก็ได้ เกิดจากกามาวจรโสภณจิต เกิดจากอเหตุกจิต เกิดจากมหัคคตจิต เกิดจากโลกุตตรจิตก็ได้ เช่น ลมหายใจเข้าออกตามปกติที่ไม่ได้มีการเจริญ วิปัสสนาก็อาจจะเป็นจิตตรูปที่เกิดจากอกุศล แต่ถ้าพิจารณาลมหายใจเข้าออกโดยความเป็นวิปัสสนาจิตตช รูปนี้ก็เกิดจากกุศลได้ จิตชรูปสามัญเกิดจากจิต ๗๕ ดวงคือ
๑. อกุศลจิต ๑๒
๒. อเหตุกจิต ๘(เว้นทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐)
๓. กามาวจรโสภณจิต ๒๔
๔. มหัคคตจิต ๒๓(เว้นอรูปาวจรวิบาก ๔)
๕. โลกุตตรจิต ๘

๒. จิตตชรูปหัวเราะ จิตตชรูปหัวเราะ หมายถึง จิตตชรูปที่ทำให้เกิดการยิ้ม เกิดการหัวเราะ จิตที่ทำให้เกิดการหัวเราะได้มี ๑๓ ดวง
๑. โลภโสมนัสจิต ๔
๒. โสมนัสหสิตุปปาทจิต ๑ (เกิดได้กับพระอรหันต์เท่านั้น)
๓. มหากุศลโสมนัส ๔
๔. มหากิริยาโสมนัส ๔ (เกิดได้กับพระอรหันต์เท่านั้น)

๓. จิตตชรูปร้องไห้
จิตตชรูปที่ทำให้เกิดการร้องไห้ ความเศร้าโศกเสียใจจนเกิดการร้องไห้ของคนเรานั้น เกิดจากความโกรธ มี ๒ ดวงได้แก่
๑.โทสมูลจิต ๒ ดวง

๔ . จิตตชรูปเคลื่อนไหว
จิตที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว ในอิริยาบถย่อย ได้แก่ จิตที่ทำให้เกิดการเหยียด ก้ม เงย เหลียวซ้ายแลขวา กระพริบตา อ้าปาก หาว เป็นต้น เกิดจากจิต ๓๒ ดวง คือ
อกุศล ๑๒
หสิตุปปาทจิต ๑
มหากุศลจิต ๘
มหากิริยาจิต ๘
มโนทวาราวัชชนจิต ๑
อภิญญาจิต ๒

๕. จิตตชรูปในการพูด
จิตตชรูปที่ทำให้เกิดการพูด คือ การเปล่งวาจาต่าง ๆ ได้แก่ จิต ๓๒ ดวง (เหมือนข้อ ๔)

๖. จิตตชรูปที่เป็นอิริยาบถน้อยใหญ่
จิตตชรูปที่เป็นอิริยาบถใหญ่ คือ จิตที่ทำให้เกิด การยืน เดิน นั่ง นอน ได้แก่จิต ๓๒ ดวง (เหมือนข้อ ๔)

๗. จิตตชรูปที่เกี่ยวกับอิริยาบถใหญ่ตั้งมั่น
จิตตชรูปที่เป็นอิริยาบถใหญ่ตั้งมั่น คือ จิตที่ทำให้เกิดการยืน เดิน นั่ง นอน (อิริยาบถใหญ่) ที่เกิดขึ้นตามปกติขณะที่สบายดี ไม่มีอาการเจ็บไข้ ได้แก่จิต ๕๘ ดวง คือ
.มโนทวาราวัชชจิต ๑
๒.กามชวน ๒๙ (คืออกุศล ๑๒ หสิตุปปาทจิต ๑ มหากุศลจิต ๘ มหากิริยาจิต ๘ )
๓.อภิญญาจิต ๒
๔.อัปปนาชวนจิต ๒๖ (คือ รูปาวจรกุศลจิต ๕ รูปาวจรกิริยาจิต ๕ อรูปาวจรกุศลจิต ๔ อรูปาวจรกิริยาจิต ๔ โลกุตตรจิต ๘ )




นัยที่ ๒ รูปวิภาคนัย

คำว่า มาติกา หมายถึงแม่บท ในนัยที่ ๒ นี้ มีการจำแนกรูป ๒๘ ออกเป็น ๒ มาติกาด้วยกัน คือ
๑. เอกมาติกา การจำแนกรูปทั้งหมดเป็นอย่างเดียวกัน
๒. ทุกมาติกา การจำแนกรูปทั้งหมดเป็นสองอย่าง

๑. เอกมาติกา การจำแนกรูปทั้งหมดเป็นอย่างเดียวกัน
เป็นการกล่าวรูป ๒๘ โดยการสรุปให้ทราบถึงความเป็นจริงของรูปอีกรูปแบบหนึ่งที่แตกต่างไปจาก รูปแบบในนัยที่ ๑ กล่าวคือในนัยที่ ๑ แสดงให้เห็นรูป ๒๘ ที่ละหมวดและแสดงในทราบว่าในหมวดนั้นๆ ประกอบด้วยรูปเท่าไหร่อะไรบ้าง และก็ยังแสดงให้ทราบอีกว่า รูปแต่ละรูปนั้นมีสภาวลักษณะของตนๆ เป็นอย่างไร เช่น ในหมวดมหาภูตรูป ๔ ประกอบด้วย ปฐวี อาโป เตโช วาโย และปฐวีมีลักษณะที่แข็ง เป็นต้น ส่วนในการจำแนกรูป ๒๘ โดยนัยวิภาคนัยนี้จะมุ่งหมายกล่าวว่ารูปทั้ง ๒๘ นั้นมีสภาวะทั้งหมดเป็นอย่างไร ซึ่งเราจะศึกษากันต่อไป รูปทั้งหมดเมื่อกล่าวโดยเอกมาติกาแล้วมีชื่อเรียกตามสภาวะได้ ๘ คือ


๑. อเหตุกะ
ชื่อว่า อเหตุกะ เพราะว่ารูป ๒๘ นี้ เกิดขึ้นโดย ไม่ต้องอาศัยเหตุ ๖
เหตุ ๖ คือ โลภเหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
๒. สปัจจยะ
ชื่อว่า สปัจจยะ เพราะว่ารูป ๒๘ นี้ เกิดขึ้นจากกรรม จิต อุตุ อาหาร เป็นเหตุ เป็นปัจจัย
๓. สาสวะ
ชื่อว่า สาสวะ เพราะว่ารูป ๒๘ นี้ ก่อให้เกิด อาสวะกิเลส
อาสวะกิเลส คือ กามาสวะ ภวาสวะ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ
๔. สังขตะ
ชื่อว่า สังขตะ เพราะว่ารูป ๒๘ นี้ เกิดขึ้นจากกรรม จิต อุตุ อาหาร เป็นผู้ปรุงแต่ง
๕. โลกียะ
ชื่อว่า โลกียะ เพราะว่ารูป ๒๘ นี้ ต้องมีการแตกดับอยู่เสมอๆ
๖. กามาวจระ
ชื่อว่า กามาวจระ เพราะว่ารูป ๒๘ นี้ เป็นเหตุให้เกิดความยินดียินร้าย ซึ่งเป็นอารมณ์ของกามาวจรจิต
๗. อนารัมมณะ
ชื่อว่า อนารัมมณะ เพราะว่ารูป ๒๘ นี้ ไม่สามารถรับรู้อารมณ์ใดๆ ได้
การที่เรายังรับรู้อารมณ์ได้ก็เพราะว่ามีจิต
๘. อัปปหาตัพพะ
ชื่อว่า อัปปหาตัพพะ เพราะว่ารูป ๒๘ นี้ เป็นสิ่งที่ไม่ควรฆ่าหรือทำลาย แต่สิ่งควรฆ่าทำลายนั้น ได้แก่ กิเลสและตัณหา

สรุปได้ว่ารูป ๒๘ นี้จะเรียกชื่ออย่างใดอย่างหนึ่งใน ๘ ชื่อนี้ก็ได้ ซึ่งก็จะมีความหมายตามลักษณะของชื่อนั้น


๒. ทุกมาติกา การจำแนกรูปทั้งหมดเป็นสองอย่าง
เป็นการแบ่งรูป ๒๘ ออกเป็นคู่ๆ ซึ่งมีความหมายตรงกันข้ามกัน จำแนกได้ ๑๑ คู่ คือ

คู่ที่ ๑ อัชฌัตติกรูป คู่กับ พาหิรรูป
อัชฌัตติกรูป คือ รูปภายใน ได้แก่ ปสาทรูป ๕ ประสาทตา หู จมูก ลิ้น กาย พาหิรรูป คือ รูปภายนอก ได้แก่ รปูที่เหลือ ๒๓ รูป

อัชฌัตติกรูป มุ่งหมายเอาประโยชน์ของรูปทั้ง ๕ เป็นสำคัญ ส่วนรูปที่เหลือ ๒๓ นั้นเป็นรูปที่มีประโยชน์น้อยจึงเรียกว่าพาหิรรูป อุปมาอัชฌัตติกรูป เหมือนคนภายในบ้าน พาหิรรูปเหมือนคนนอกบ้าน
คู่ที่ ๒ วัตถุรูป คู่กับ อวัตถุรูป
วัตถุรูป คือ รูปที่เป็นที่อาศัยเกิดของจิตและเจตสิก ได้แก่ ปสาทรูป ๕ และ หทัยวัตถุ ๑ อวัตถุรูป คือ รูปที่ไม่เป็นที่อาศัยเกิดของจิตและเจตสิก ได้แก่ รูปที่เหลือ ๒๒ อุปมาเหมือนเครื่องบินที่เป็นที่อาศัยของคนธรรมดาที่ต้องการเดินทางไปทางอากาศ
คู่ที่ ๓ ทวารรูป คู่กับ อทวารรูป
ทวารรูป คือ รูปที่เปรียบเหมือนเป็นประตูในการทำบุญทำบาป และเป็นเหตุให้เกิดวิถีจิต ได้แก่ ปสาทรูป ๕ (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) และ วิญญัติรูป ๒ อทวารรูป คือรูปที่ไม่เป็นเหตุให้ทำบุญ ทำบาป ได้แก่ รูปที่เหลือ ๒๑ มี ปถวี อาโป เตโช เป็นต้น
คู่ที่ ๔ อินทริยรูป คู่กับ อนินทริยรูป
อินทริยรูป คือ รูปที่ทำหน้าที่เป็นใหญ่ ในการรับอารมณ์ต่างๆ มีการเห็นเป็นต้น ได้แก่ปสาทรูป ๕ และชีวิตรูป ๑ อนินทริยรูป คือ รูปที่ไม่เป็นใหญ่ ในการรับอารมณ์ต่างๆ ได้แก่ รูปที่เหลือ ๒๐
คู่ที่ ๕ โอฬาริกรูป คู่กับ สุขุมรูป
โอฬาริกรูป คือรูปหยาบ หมายถึง รูปที่ปรากฏชัด ได้แก่ ปสาทรูป ๕ และ วิสยรูป ๗ สุขุมรูป คือรูปละเอียด หมายถึง รูปที่ไม่ปรากฏชัด ได้แก่ รูปที่เหลือ ๑๖
คู่ที่ ๖ สันติเกรูป คู่กับ ทูเรรูป
สันติเกรูป คือ รูปใกล้หมายถึงรูปที่รู้ได้ง่าย ได้แก่ ปสาทรูป ๕ และ วิสยรูป ๗ ทูเรรูป คือ รูปไกล เป็นรูปที่รู้ได้ยาก ได้แก่ รูปที่เหลือ ๑๖
คู่ที่ ๗ สัปปฏิฆรูป คู่กับ อัปปฏิฆรูป
สัปปฏิฆรูป คือรูปที่กระทบซึ่งกันและกันได้ เช่นเสียงมากระทบที่หู ทำให้เกิดการได้ยิน ได้แก่ปสาทรูป วิสยรูป ๗ อัปปฏิฆรูป คือรูปที่กระทบซึ่งกันและกันไม่ได้ ได้แก่ รูปที่เหลือ ๑๖
คู่ที่ ๘ อุปาทินนรูป คู่กับ อนุปาทินนรูป
อุปาทินนรูป คือ รูปที่เกิดจากกรรม คือ กรรมชรูป ๑๘ ได้แก่ ปสาทรูป ๕ ภาวรูป ๒ หทยรูป ๑ ชีวิตรูป ๑ ปริจเฉทรูป ๑ และ อวินิพโภครูป ๘ (คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย วัณณะ คันธะ รสะ โอชา) อนุปาทินนรูป คือรูปที่ไม่ได้เกิดจากกรรม ได้แก่ จิตตชรูป๑๕ อุตุชรูป๑๓ อาหารชรูป๑๒
คู่ที่ ๙ สนิทัสสนรูป คู่กับ อนิทัสสนรูป
สนิทัสสนรูป คือรูปที่เห็นด้วยตาได้ ได้แก่ วัณณรูป สีต่าง ๆ เท่านั้นที่เห็นได้ด้วยตาส่วนรูปที่เหลือ ๒๗ นั้น เป็นที่โคจรของรูปารมณ์ เห็นด้วยตาไม่ได้ อนิทัสสนรูป รูปที่เห็นด้วยตาไม่ได้ ได้แก่ รูปที่เหลือ ๒๗
คู่ที่ ๑๐ โคจรัคคาหกรูป คู่กับ อโคจรัคคาหกรูป
โคจรัคคาหกรูป คือ รูปที่เป็นที่อาศัยเกิดขึ้นของอารมณ์ทั้ง ๕ (เช่นจักขุปสาทรูป ปสาทรูป ๕) อโคจรัคคาหกรูป คือรูปที่ไม่เป็นที่อาศัยเกิด ได้แก่ รูปที่เหลือ ๒๓
คู่ที่ ๑๑ อวินิพโภครูป คู่กับ วินิพโภครูป
อวินิพโภครูป คือรูปที่แยกจากกันไม่ได้ รูปหนึ่งๆ ต้องมีรูปเกิดขึ้นอย่างน้อย ๘ รูปเสมอ ได้แก่ ปฐวี อาโป เตโช วาโย วัณณะ คันธะ รสะ โอชา วินิพโภครูป รูปที่แยกจากกันได้ ได้แก่ รูปที่เหลือ ๒๐

สรุป การศึกษาเรื่องรูป ๒๘ โดยนัยต่างๆ ในบทเรียนชุดที่ ๕ ตอนที่ ๑ ที่ผ่านมาศึกษาเฉพาะ ๒ นัย แต่ ละนัยก็มีการแสดงรายละเอียดของรูป ๒๘ หลายแง่มุม แต่ละแง่มุมก็จะทำให้รู้จักรูปอย่างละเอียด ความรู้ที่ได้จาก การศึกษาเรื่องรูปหลายแง่มุมนี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากแก่การนำไปปฏิบัติ เพราะการศึกษาปริยัติอย่างดี อย่างถูกต้องก็จะทำให้เกิดปัญญาที่ถูกต้องและเมื่อปฏิบัติก็จะเกิดผล และเป็นเหตุแห่งการบรรลุธรรมได้ในอนาคต


หมวดที่ ๕ รูปปรมัตถ์ นัยที่ ๑/๒


ต่อจากรูปปรมัตถ์หน้า ๑

รูปประเภทที่สาม :วิสยรูป ๔
วิสยรูป ๔ ได้แก่ วัณณรูป สัททรูป คันธรูป รสรูป (อ่านว่า วัน-นะ-รูป , สัด-ทะ-รูป ,คัน-ทะ-รูป , ระ-สะ-รูป) คำว่า วิสัย เป็นคำในภาษาไทย แปลว่า ขอบเขต แดน ความเป็นอยู่ เช่นวิสัยทัศน์ คือการมองเห็นที่มีขอบเขต ดังนั้น คำว่า วิสยรูป จึงหมายถึง รูปที่เป็นที่ขอบเขต เช่น วัณณรูป (หรือ รูปารมณ์)เป็นขอบเขตของจักขุวิญญาณอาศัยเกิดขึ้นเท่านั้น (ไม่เป็นที่อาศัยของโสตวิญญาณหรืออื่นๆ) วิสยรูป มีการกระทบกับปสาทรูปทั้ง ๕ มีจักขุปสาทรูป เป็นต้น เป็นอารมณ์ให้แก่ ปัญจวิญญาณจิตทั้ง ๕ มีจักขุวิญญาณจิต เป็นต้น คำว่า โคจรรูป แปลว่า รูปอันเป็นที่โคจรท่องเที่ยวไปของจิต มีจักขุวิญญาณ เป็นต้น ฉะนั้นการจะเรียกว่าวิสยรูป หรือ โคจรรูป ก็เป็นไปตามความหมายข้างต้น ส่วนจำนวน ๔ ก็เป็นการนับเฉพาะ วัณณรูป สัททรูป คันธรูป รสรูป ถ้าจะนับเป็น ๗ ก็รวมเอา โผฏฐัพพารมณ์ ๓ คือ ปถวี เตโช วาโย เข้าไว้ด้วยกันเป็น ๗ เพราะทั้ง ๗ เป็นอารมณ์ให้แก่ จิต และเจตสิกเกิดร่วมได้

๑.วัณณะรูป หรือ รูปายตนะ คือ สี เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ ได้แก่ สีต่างๆ ที่เกิดจากแสงสะท้อนแล้วมากระทบที่จักขุปสาท รูปทั้งหลายทั้งหมดที่มีอยู่ล้วนแต่เป็นสีหรือภาพทั้งสิ้น รูปถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างกัน แต่เมื่อว่าโดยลักษณะแล้วจะไม่ต่างกันเลย คือ สีจะทำหน้าที่กระทบกับจักขุปสาท แล้วทำให้จักขุวิญญาณเกิดขึ้น นี้คือความจริงของสภาพธรรมะที่มีอยู่ แต่เมื่อบุคคลเห็นสีต่างๆ แล้วก็มีความยินดี คือ ตัณหา มีความยึดมั่น คือ อุปาทาน เข้าไปยินดีพอใจ ยังมีโทสะ คือ ความไม่ชอบใจบ้าง เข้าไปยึดมั่นตามสมมุติบัญญัติที่รู้จักว่า นี้คือนาย ก. นาง ข. บ้าง ยึดมั่นว่าเป็นของเราบ้าง เป็นตัวตนของเราบ้าง แท้ที่จริงแล้วสภาพความเป็นจริงสิ่งทั้งหลายที่เห็นอยู่เป็นเพียงสีที่เกิดจากมีแสงสว่าง แล้วสะท้อนเอาสีหรือภาพนั้นเข้าสู่จักขุปสาท ทำให้จักขุวิญญาณเกิดขึ้นรับรู้สีนั้นหรือภาพนั้นเท่านั้นเอง เมื่อรู้แล้วทั้งจิตที่รับรู้ทั้งภาพทำให้รับรู้พร้อมทั้งจักขุปสาทก็ดับไปไม่ได้ตั้งอยู่ แต่ด้วยเพราะมีตัณหาคือ ความพึงพอใจ มีอุปาทานเข้าไปยึดมั่น ทาให้ปุถุชนจึงไม่สามารถพิจารณาสภาพธรรมตามความจริงได้ เมื่อได้ศึกษาวัณณรูปตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ก็สามารถเจริญวิปัสสนาได้ การเจริญวิปัสสนาสามารถทำได้ทุกที่ถ้ามีความรู้ที่ถูกต้องอย่างนี้

๒.สัททะรูป หรือ สัททายตนะ คือ เสียง หรือคลื่นเสียงที่มากระทบโสตปสาทเสียงได้แก่ เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงขับร้อง เสียงปรบมือ เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันแห่งธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ เสียงนี้เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ เสียงถึงแม้ว่าจะมีมากมายหลายอย่าง แต่เมื่อว่าโดยลักษณะแล้ว เสียงจะมีลักษณะเหมือนกันหมด คือ มีการกระทบโสตปสาท เป็นลักษณะ เมื่อกระทบแล้วก็ทำให้โสตวิญญาณจิตเกิดสามารถรับรู้เสียงนั้นได้ บุคคลทั้งหลายที่ยังมีตัณหา คือ ความยินดีพอใจ ยังมีอุปาทานคือ ความยึดมั่นเป็นตัวเป็นตนอยู่ ยังมีโทสะ คือ ความไม่พอใจอยู่ ทำให้เข้าใจว่านี้เป็นเสียงของเรา เสียงนี้เป็นเสียงของคนที่เรารัก หรือเกลียด มันจึงทำให้เราไม่สามารถระลึกรู้ถึงสภาพธรรมตามความเป็นจริงได้
ปุถุชนจึงต้องทุกข์อยู่อย่างนี้ ไม่สามารถพ้นไปจากวัฏฏทุกข์ได้ แต่ถ้าได้ศึกษาแล้วก็สามารถที่จะพิจารณาลักษณะที่แท้จริงของเสียงได้ เมื่อพิจารณาได้ถูกต้องปัญญาก็จะเกิดขึ้นกับท่านได้ การพิจารณาสภาพธรรมตามความเป็นจริงอย่างนี้เป็นการเจริญวิปัสสนาแล้ว เมื่อพิจารณาอยู่บ่อย ๆ ก็จะรู้จักว่าอะไรคือรูป อะไรคือนาม

๓.คันธะรูป หรือ คันธายตนะ ได้แก่ กลิ่น ซึ่งเป็นไอระเหยของวัตถุสิ่งของที่มีกลิ่น ที่มากระทบกับจมูก (ฆานปสาทรูป) ฆานวิญญาณจิตเกิดขึ้นทำให้รู้กลิ่น เช่น กลิ่นหอมของดอกไม้ หรือน้ำหอมเป็นต้น กลิ่นทั้งหลายเมื่อว่าโดยลักษณะแล้วก็มีเพียงการกระทบฆานปสาทเป็นลักษณะเหมือนกันหมด

๔.รสะรูป หรือ รสายตนะ ได้แก่ รสต่างๆ เช่น รสเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด ขม ฝาด ที่ปรากฏที่ลิ้น (ชิวหาปสาทรูป) ชิวหาวิญญาณจิตก็จะทำหน้าที่รู้รสต่างๆได้ รสต่างๆ เมื่อว่าโดยลักษณะแล้วก็มีเพียงการกระทบชิวหาปสาทเป็นลักษณะเหมือนกันหมด คำว่า รส ยังใช้ในความหมายต่าง ๆ ได้อีก ๔ ประการ
๑ . ธรรมรส หมายถึง การทำบุญ -ทำบาป ที่เรียกว่า กุศลกรรม อกุศลกรรม
๒ . อรรถรส หมายถึง ผลของบุญ-บาป ที่บุคคลได้กระทำไว้แล้ว จะทำให้เกิดรสชาติของความทุกข์ความระทมขมขื่น หรือความสุขความสำราญใจตามมา
๓. วิมุตติรส หมายถึง รสของการเข้าถึงนิพพาน พ้นจากกิเลสซึ่งทำให้เศร้าหมอง
๔. อายตนรส หมายถึง รสต่างๆ ที่มากระทบกับลิ้น

โผฎฐัพพารูป หรือ โผฏฐัพพายตนะ ถ้านับว่าวิสยรูป ๔ หรือ โคจรรูป ๗ ตามที่ได้อธิบายแล้วในหัวข้อรูปประเภทที่สาม ก็ต้องอธิบายถึง โผฏฐัพพายตนะต่อไปว่า โผฏฐัพพายตนะ ได้แก่ สิ่งที่มากระทบกับร่างกาย มีลักษณะ แข็ง -อ่อน ได้แก่ ปถวีธาตุ ร้อน-เย็น ได้แก่ เตโชธาตุ และหย่อน-ตึง ได้แก่ วาโยธาตุ (ส่วนลักษณะของธาตุน้ำนั้นไม่สามารถรู้ได้ทางกาย แต่รู้ได้โดยทางใจเท่านั้น)


รูปประเภทที่สี่ : ภาวรูป ๒

ภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความเป็นหญิงหรือชาย เป็นรูปที่รู้ได้ด้วยใจ (ไม่ใช่เห็นด้วยตา) โดยอาศัย รูปร่าง สัณฐาน เครื่องหมาย นิสัย และกิริยาอาการต่างๆ ให้รู้ว่าเป็นหญิงหรือชาย ภาวรูป ๒ ได้แก่ อิตถีภาวะ ปุริสภาวะ
๑. อิตถีภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความเป็นเพศหญิง
๒. ปุริสภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความเป็นเพศชาย
รูปทั้ง ๒ เป็นสุขุมรูป คือ รูปที่ละเอียดที่เกิดมาจากกรรม(มีกรรมเป็นสมุฏฐาน) เป็นรูปที่เกิดครั้งแรกในชีวิต มีอยู่แผ่ซ่านไปทั่วร่างกาย เป็นธรรมที่รู้ได้ด้วยใจเห็นไม่ได้ด้วยตา อุปมาเหมือนต้นไม้เมื่อได้โอกาสงอกหยั่งรากแล้วก็ทำให้เติบโตสมบูรณ์แผ่กิ่งก้านสาขาอิตถินทรีย์ หรือสภาวะความเป็นหญิงมีอยู่ย่อมเป็นปัจจัยให้ปรากฏทรวดทรงหญิง เครื่องหมายให้รู้ว่าหญิง เป็นต้น


ทำกรรมอะไรจึงต้องเกิดมาเป็นหญิงหรือชาย เกิดเป็นชายก็เพราะกำลังของการทำกุศลในชาติก่อนมีกำลังแรง เข้มแข็ง การตัดสินใจและการตั้งใจเด็ดเดี่ยวไม่หวั่นไหว เกิดเป็นหญิงเพราะกำลังของกุศลอ่อน การตัดสินใจและการตั้งใจไม่เด็ดเดี่ยวเข้มแข็งเหมือนชาย ฉะนั้นการเกิดมาเป็นหญิงหรือชายก็ขึ้นอยู่กับกำลังของบุญกุศลที่เราได้กระทำมาแล้วนั่นเอง แต่อีกนัยหนึ่งการเกิดเป็นหญิงเพราะการประพฤติผิดศีลข้อ ๓ และในบุคคลบางคนก็มีความพอใจในความเป็นหญิงก็ทำให้เกิดมาเป็นหญิงได้เช่นกัน

รูปประเภทที่ห้า : หทัยรูป๑
คำว่า หทัย เป็นชื่อของก้อนเนื้อหัวใจ ในก้อนเนื้อหัวใจนั้นข้างในมีหลุมขนาดบรรจุเมล็ดดอกบุนนาคได้ มีโลหิตขังอยู่ประมาณกึ่งซองมือ หทยรูปก็อยู่ในโลหิตกึ่งซองมือนี้นั่นเอง หทยรูปนี้ เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน เป็นแหล่งที่อาศัยเกิดของจิต (มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุและธรรมอื่นที่เกิดประกอบ) หทยรูปนี้มี ๒ อย่าง คือ
๑. มังสหทยรูป ได้แก่ ก้อนเนื้อที่เป็นรูปหัวใจ มีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม
๒. วัตถุหทยรูป ได้แก่ เป็นรูปพิเศษที่อยู่ในมังสหทยรูปอีกทีหนึ่งไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา

รูปประเภทที่หก : ชีวิตรูป ๑
ชีวิตรูป คือ เป็นรูปที่เกิดจากกรรม ชีวิตรูปมีหน้าที่รักษารูปทั้งหลายมิให้เน่าเปื่อยแตกสลาย ทำให้คนเรามีชีวิตอยู่ได้ ทำให้สร้างกุศลกรรม อกุศลกรรมต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด คำว่าชีวิต มี ๒ อย่าง คือ รูปชีวิต และ นามชีวิต รูปชีวิต ได้แก่ ชีวิตรูปนี้เอง ส่วนนามชีวิต ได้แก่ ชีวิตินทรีย์เจตสิก ที่ได้ศึกษาผ่านมาแล้ว

รูปประเภทที่เจ็ด : อาหารรูป ๑
อาหารรูป คือ อาหารที่เรารับประทาน เมื่อรับประทานแล้วย่อยแล้วโดยไฟธาตุที่อยู่ในร่างกาย ส่วนที่ย่อยแล้วชื่อว่า โอชา โอชานี้เองที่เป็นอาหารรูปที่ไปหล่อเลี้ยงร่างกาย เป็นเลือดเป็นเนื้อ ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตเป็นหนุ่มเป็นสาวต่อไป (อาหารที่รับประทานเป็นคำๆ ที่ยังไม่ย่อยเป็นโอชา ชื่อว่า กพฬีการาหาร เมื่อย่อยแล้วจึงชื่อว่า โอชา)

รูปทั้งหมดมี ๒๘ รูป ได้กล่าวมาแล้ว ๑๘ รูปโดยกล่าวเป็น ๗ ประเภท ในรูปทั้ง ๑๘ รูปนี้ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า นิปผันนรูป ๑๘ คำว่า นิปผันนรูป หมายถึง รูปที่มีสภาวะของตนเอง เช่น ปถวีธาตุ มีความแข็ง เป็นลักษณะ ซึ่งสามารถนาลักษณะแข็งมาเจริญวิปัสสนากรรมฐานได้ ให้เกิดปัญญาเห็นไตรลักษณ์ คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตาได้ รูปที่เหลืออีก ๑๐ รูป เรียกว่า อนิปผันนรูป ๑๐ เป็นรูปที่ไม่มีสภาวะของตนเอง ต้องอาศัยนิปผันรูปเกิดขึ้น ต่อไปจะศึกษาเรื่องอนิปผันรูป ๑๐



อนิปผันนรูป ๑๐
อนิปผันนรูป มี ๑๐ รูป เป็นรูปที่อาศัยนิปผันนรูป ถ้าไม่มีนิปผันนรูปแล้วอนิปผันนรูปก็เกิดขึ้นไม่ได้ เช่น ปริจเฉทรูป คือ ช่องว่าง ตัวอย่างเช่น นิ้วมือ หรือนิ้วเท้า ถ้านิ้วมือหรือนิ้วเท้าติดเป็นแผ่นเดียวกัน เราก็นับไม่ได้ว่านิ้วมือมี ๕ นิ้ว หรือนิ้วเท้ามี ๕ นิ้ว ช่องว่าง จึงจัดเป็นรูปๆหนึ่ง ทำหน้าที่คั่นไม่ให้สิ่งทั้งหลายติดกันเท่านั้น ทำให้นับเป็นชิ้นเป็นอันๆ ขึ้นมาได้ ดังนั้น ช่องว่าง จึงไม่จัดเป็นรูปที่แท้จริง ไม่สามารถที่จะนับเป็นชิ้นเป็นอันอย่างนิปผันนรูปดังกล่าวมาแล้วได้ อนิปผันนรูป ๑๐ ได้แก่
ปริจเฉทรูป ๑ 
วิญญัติรูป ๒
วิการรูป ๓
ลักขณะรูป ๔

รูปประเภทที่แปด : ปริจเฉทรูป ๑
ปริจเฉทรูป คือ ช่องว่างหรืออากาศที่คั่นระหว่างกลุ่มรูป รูปหนึ่งๆ จะเกิดขึ้นเดี่ยว ๆ ไม่ได้ อย่างน้อยต้องมีรูปเกิดร่วม ๘ รูปด้วยกัน (อวินิพโภครูป) และปริจเฉทรูปนี้เองที่ทำหน้าที่คั่นระหว่างกลุ่มรูปหนึ่งๆ เปรียบเสมือนช่องว่างระหว่างนิ้วมือที่มีหนังหุ้มและอากาศมาตัดคั่นทำให้เป็นลักษณะนิ้วได้ ถ้าไม่มีช่องว่างมาคั่นก็จะติดกันเป็นแผงเช่นเดียวกับเท้าของเป็ด

รูปประเภทที่เก้า : วิญญัติรูป ๒
๑. กายวิญญัติรูป คือ การเคลื่อนไหวทางกายเพื่อให้รู้ความหมาย มีการเดิน การยืน การกวักมือ เป็นต้น
๒. วจีวิญญัติรูป คือ การพูด การเปล่งวาจา เพื่อให้รู้ความหมาย

รูปประเภทที่สิบ : วิการรูป ๓
๑. ลหุตารูป คือ ความเบา ความคล่องแคล่ว การเปลี่ยนอิริยาบถได้รวดเร็ว ของรูปทั้งหลาย
๒. มุทุตารูป คือ ความอ่อน ความไม่กระด้าง ความไม่ขัดข้องในกิริยา ของรูปทั้งหลาย
๓. กัมมัญญตารูป คือ ความควรแก่การงาน ความคล่องแคล่ว ของรูปทั้งหลาย

วิการรูปทั้ง ๓ นี้ ต้องเกิดพร้อมกัน เกิดในกลาปเดียวกัน แต่ถึงจะเกิดพร้อมกันก็ยังมีลักษณะที่แตกต่างกันคือ เบา อ่อน และควรแก่การงาน ในวิการรูปทั้ง ๓ นั้นก็ต้องอาศัยรูปอื่น ๆ เช่น อาหารรูปเป็นต้น แล้วจึงเกิดขึ้น เช่นผู้ปฏิบัติกรรมฐานเมื่อรับประทานอาหารที่เหมาะแก่ตนก็จะรู้สึกว่าวันนี้เราได้อาหารที่เป็นสัปปายะ(เหมาะสม) กายของเราจึงรู้สึกเบาสบายเหมาะแก่การปฏิบัติ หรือถ้าได้อากาศที่ดีก็จะรู้สึกว่าเราได้อุตุที่เป็นสัปปายะ ทาให้เหมาะแก่การปฏิบัติ ดังนี้เป็นต้น นี้เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าอาหารหรืออากาศก็มีผลต่อความเบา อ่อน และควรแก่การงานของรูป ในตัวอย่างที่แสดงนี้ต้องการมุ่งเห็นเห็นสภาวะของวิการรูปทั้ง ๓ แต่ในเรื่องการของปฏิบัติวิปัสสนาที่ต้องการรู้สภาวะของปรมัตถ์จริงๆ แล้วต้องทิ้งคำว่า “เรา” เพราะการที่ได้อาหารที่ดีหรืออากาศที่ดีเหมาะสมกับผู้ปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติก็ต้องพิจารณาความเป็นไปตามสภาวะปรมัตถ์นั้นเองว่า ความเคลื่อนกายไหวกายเป็นไป จิตก็รับรู้ความเคลื่อนกายไหวกายนั้นเป็นต้น

รูปประเภทที่สิบเอ็ด : ลักขณะรูป ๔
๑. อุปจยรูป คือ ความเริ่มเกิดของรูป อุดหนุนให้รูปมีความบริบูรณ์ ทำให้รูปเติบโต
๒. สันตติรูป คือ การเกิดขึ้นสืบต่อกันแห่งรูป หรือเรียกว่าความแก่ของรูป การเกิด เปรียบเหมือนการขุดหลุมที่ริมฝั่งแม่น้ำ น้ำย่อมซึมเข้าในหลุม ความเติบโต ก็คือความเจริญแห่งรูปเปรียบเหมือนน้ำที่เต็ม ความสืบต่อเปรียบเหมือนน้ำที่ล้นหลุม
๓. ชรตารูป คือ ความแก่ ความเสื่อมไปแห่งรูป ทำให้เป็นสัญญาณของการมุ่งหน้าไปสู่ความตาย ทำให้ความเป็นหนุ่มเป็นสาวหายไป เช่น เมื่ออายุมากแล้วจักขุก็แก่ชราไปด้วยทำให้ สายตาก็เสื่อมถอยลง ชรามี ๒ อย่าง คือ ชราที่ปรากฏ และ ชราที่ปกปิด ชราที่ปรากฏ คือ ความแก่ชราที่ปรากฎให้เห็น เช่น ฟันหลุด หนังเหี่ยว ชราที่ปกปิด คือ ชราที่ไม่แสดงความเป็นไปให้ปรากฏ แต่ความเสื่อมสิ้นทรุด โทรมของร่างกายทุกส่วนก็มีอยู่ทุกขณะ
๔. อนิจจรูป คือ ความสิ้นไป ความทำลายไปของรูป ความแตกดับของรูป


นัยที่ ๑ รูปสมุทเทสนัย

ปรมัตถ์ธรรมมี ๔ คือ จิตปรมัตถ์ เจตสิกปรมัตถ์ รูปปรมัตถ์ และนิพพานปรมัตถ์ ผู้ศึกษาได้ศึกษาจิตปรมัตถ์และเจตสิกปรมัตถ์ผ่านไปแล้ว เรื่องรูปปรมัตถ์นี้จะต่างจากจิตปรมัตถ์และเจตสิกปรมัตถ์ เพราะจิตและเจตสิกนั้นเป็นนามธรรม เป็นธรรมที่รู้อารมณ์ ส่วนรูปปรมัตถ์เป็นธรรมที่ไม่รู้อารมณ์ รูปปรมัตถ์มี ๒๘ อย่าง โดยจำแนกเป็นรูปภายในและรูปภายนอก รูปที่ต้องอาศัย และรูปที่ไม่ต้องอาศัยเป็นต้น

รูปปรมัตถ์นี้ได้แสดงไว้ ๕ นัย คือ
๑. สมุทเทสนัย
๒. รูปวิภาคนัย
๓. รูปสมุฏฐานนัย
๔.รูปกลาปนัย
๕. รูปปวัตติกมนัย
การศึกษาพระอภิธรรมเป็นการเจริญกุศลและอบรมปัญญาไปในตัว และยังได้ช่วยรักษาพระพุทธศาสนาไม่ให้เสื่อมหายไปจากโลกอีกด้วย บุคคลใดได้รักษาพระพุทธศาสนาไม่ให้เสื่อมหายไปจากโลก บุคคลนั้นย่อมได้ประโยชน์ ๓ ประการ คือ ประโยชน์ในชาตินี้ ประโยชน์ในชาติหน้า และประโยชน์อย่างยิ่งคือเห็นแจ้งพระนิพพาน

บุคคลใดได้ศึกษารูปปรมัตถ์โดยนัยทั้ง ๕ นี้แล้ว พึงพิจารณาเห็นจิตที่รู้รูปปรมัตถ์นั้นว่า เป็นเพียงรูป ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่หญิง ไม่ใช่ชาย ไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตน ไม่ใช่ของตน ดังนี้ การรู้จักนามรู้จักรูปตามความเป็นจริงอย่างนี้เป็นการเริ่มต้นเจริญวิปัสสนาอย่างถูกต้อง บุคคลผู้สามารถเริ่มต้นเจริญวิปัสสนาอย่างถูกต้องตามหลักปริยัติอย่างนี้จึงจะเห็นแจ้งพระนิพพานบรรลุเป็นพระอรหันต์ในภายหลังได้ ฉะนั้นผู้ศึกษาควรศึกษาเรื่องรูปนี้อย่างเข้าใจเพื่อจะได้ปฏิบัติได้ถูกต้อง

คำว่า รูป มีความหมาย ๒ นัย
นัยที่ ๑ กล่าวไว้ว่า รูป หมายถึง ธรรมชาติที่แตกดับหรือเสื่อมสลายไป ประการหนึ่ง
นัยที่ ๒ รูป หมายถึง ธรรมชาติที่แตกสลายไปด้วยอำนาจของความร้อนและความเย็น
ซึ่งทั้งสองนัยนี้สรุปได้ว่า รูป มีธรรมชาติที่ต้องแตกดับ เสื่อมสลายไป นั่นเอง

ลักษณะเฉพาะของรูป (ลักขณาทิจตุกของรูป) มี ๔ ประการ คือ
๑. รูป เป็นธรรมชาติที่ มีการแปรปรวนแตกดับ
๒. รูป เป็นธรรมชาติที่ แยกออกจากจิต (นาม) ได้
๓. รูป เป็นธรรมชาติที่ เป็นอัพยากตธรรม คือ ไม่ใช่ธรรมชาติที่เป็นกุศลหรืออกุศล
๔. รูป เป็นธรรมชาติที่ มีวิญญาณ(จิต)เป็นเหตุใกล้ให้เกิด

รูปปรมัตถ์นี้มีการสงเคราะห์ไว้ ๕ นัย คือ
๑. รูปสมุทเทสนัย แสดงรูปโดยย่อเป็น ๑๑ หมวด
๒. รูปวิภาคนัย แสดงการจำแนกโดยมาติกา มีเอกมาติกา เป็นต้น
๓. รูปสมุฏฐานนัย แสดงเหตุเกิดแห่งรูป มีกรรม เป็นต้น
๔. รูปกลาปนัย แสดงหมวดหมู่แห่งรูปที่เกิดแต่กรรม เป็นต้น
๕. รูปปวัตติกมนัย แสดงโดยการเกิดตามลำดับแห่งรูป

นัยที่ ๑ รูปสมุทเทสนัย
แสดงรูปโดยย่อเป็น ๑๑ หมวด

รูปขันธ์ คือ ร่างกายของคนและสัตว์ทั้งหลาย เมื่อนับโดยความเป็นรูปธรรมแล้วมี ๒๘ รูปด้วยกัน เมื่อจัดเป็นประเภทแล้ว ประเภทใหญ่มี ๒ คือ นิปผันนรูป มี ๑๘ และ อนิปผันนรูป มี ๑๐ เมื่อนับเป็นประเภทเล็กได้ ๑๑ ประเภท ที่เรียกว่ารูปสมุทเทสนัย มีรายละเอียดดังนี้ คือ

๑. มหาภูตรูป มี ๔ คือ ปฐวี อาโป เตโช วาโย
๒. ปสาทรูป มี ๕ คือ จักขุปสาทรูป โสตปสาทรูป ฆานปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป กายปสาทรูป
๓. วิสยรูป มี ๔ คือ วัณณรูป สัททรูป คันธรูป รสรูป
๔. ภาวรูป มี ๒ คือ อิตถีภาวรูป ปุริสภาวรูป
๕. หทยรูป มี ๑ คือ หทยรูป
๖. ชีวิตรูป มี ๑ คือ ชีวิตรูป
๗. อาหารรูป มี ๑ คือ อาหารรูป อันได้แก่ โอชาในอาหารต่าง ๆ
๘. ปริจเฉทรูป มี ๑ คือ อากาสธาตุ
๙. วิญญัติรูป มี ๒ คือ กายวิญญัติ วจีวิญญัติ
๑๐. วิการรูป มี ๓ คือ ลหุตา มุทุตา กัมมัญญตา
๑๑. ลักขณรูป มี ๔ คือ อุปจยะ สันตติ ชรตา อนิจจตา



หมวดที่ ๑
๑. รูปสมุทเทสนัย การแสดงรูปโดยสังเขป แบ่งออกเป็น



รูปประเภทที่หนึ่ง : มหาภูตรูป ๔ คือ
ปฐวี อาโป เตโช และวาโย ซึ่งเป็นรูปใหญ่ที่ปรากฏชัด ส่วนรูปที่เหลืออีก ๒๔ ต้องอาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เกิดขึ้น เรียกว่าอุปาทายรูป ๒๔ รูปทั้ง ๒๘ มีอยู่ในร่างกายของคนสัตว์ทั้งหลาย ทั้งในสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต มหาภูตรูป ๔ ได้ชื่อว่า เป็น ต้นธาตุ ซึ่งเป็นประธานของรูปทั้งหลาย รูปอื่น ๆ จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยแม่ธาตุทั้ง ๔ นี้ เหมือนแผ่นดินเป็นที่อาศัยของสิ่งทั้งปวง ดังนั้น ธาตุทั้ง ๔ นี้จะอยู่รวมกันเสมอ ไม่สามารถจะแยกออกจากกันได้ แม้ในธาตุทั้ง ๔ เองก็ต้องอาศัยซึ่งกันและกันด้วย เช่น ธาตุดินจะมีอยู่ได้ก็ต้องอาศัยธาตุอีก ๓ ธาตุ คือ ธาตุน้า ธาตุไฟ และธาตุลม มหาภูตรูป ๔ มีรายละเอียดดังนี้

๑.ปฐวี คือ ธาตุดิน จัดเป็นธาตุที่เป็นประธานของธาตุ ๓ ที่เหลือ ธาตุดินมีธรรมชาติที่มีลักษณะ แข็ง หรือ อ่อน รูปใดถ้ามีธาตุดินมากก็จะแข็งมาก เช่น เหล็ก หิน รูปใดมีธาตุดินอยู่น้อยก็จะอ่อน เช่น ยาง ฟองน้า เป็นต้น ภายในร่างกายของคนและสัตว์ส่วนใดที่แข็งก็จัดเป็นธาตุดิน ธาตุดินในร่างกายของคนเราก็มี ๒๐ อย่าง คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืดไต ปอด ไส้น้อย ไส้ใหญ่ อาหารใหม่ อาหารเก่า มันสมอง หรือจะพิจารณาสิ่งมีลักษณะแข็ง เป็นของหยาบ ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย เหล่านี้เป็นธาตุดินทั้งสิ้น ธาตุทั้งหลายถ้าเรามีกรรมและกิเลสเข้าไปยึดมั่น ก็จะทำให้ยึดมั่นถือมั่น ฉะนั้นเพื่อการไถ่ถอนจากความเป็นตัวตน ก็ควรพิจารณาว่านั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา เพราะเหล่านั้นเป็นเพียงปฐวีธาตุ ไม่ใช่สัตว์บุคคล จะทำให้คลายความยึด ความกำหนัดในร่างกายนี้ ตลอดจนร่างกายอื่น หรือยึดมั่นในทรัพย์สมบัติใด ๆ แม้นธาตุอื่นก็พิจารณาได้ในทำนองเดียวกัน ธาตุดินมี ๔ อย่าง
        ๑. ดินแท้ (ปรมัตถปฐวี หรือ ลักขณปฐวี) หมายถึงสิ่งที่มีลักษณะ แข็ง หรือ อ่อน ของวัตถุต่างๆ ที่เราสามารถสัมผัสถูกต้องได้ด้วยกาย เช่น เหล็ก หรือ ยาง เป็นต้น
        ๒. ดินสมมุติ (สมมุติปฐวี หรือ ปกติปฐวี) หมายถึง ดินที่เรียกกันทั่วไป เช่น แผ่นดิน พื้นดินดินเหนียว ดินที่ใช้ในการทำไร่ไถนา เป็นต้น
        ๓. ดินที่มีอยู่ในร่างกาย (ตามนัยแห่งพระสูตร ) เรียกว่า สสัมภารปฐวี หมายถึง ส่วนที่แข็งที่มีอยู่ภายในร่างกายของคนและสัตว์ทั้งหลาย เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน เป็นต้น รวมทั้งของแข็งที่อยู่ภายนอกด้วย เช่น เหล็ก ทองแดง ศิลา ดิน เป็นต้น
        ๔. ดินที่ใช้เพ่งทำให้เกิดสมาธิ (กสินปฐวี) หมายถึง ดินที่นำมาทำเป็นแผ่นวงกลมเท่าฝาบาตรเพื่อนำมาเพ่งให้เกิดสมาธิใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญสมถกรรมฐาน

๒.อาโป คือ ธาตุน้ำ เป็นธรรมชาติที่มีลักษณะเอิบอาบ หรือมีความไหลได้ ธาตุน้ำนี้เป็นธาตุที่ช่วยเพิ่มพูนธาตุอื่นๆได้ เช่นผงแป้งทำขนมเมื่อผสมน้ำลงไปก็ทำให้แป้งขนมนั้นเพิ่มพูนขึ้นได้ อาโปธาตุยังเป็นธาตุที่ทำให้ธาตุอื่นเกาะกุมกันไว้ด้วย เช่นแป้งขนมนี้จัดเป็นปฐวีธาตุถ้าถูกลมพัดจะทำให้ฟุ้งกระจายได้ แต่เมื่อมีน้ำผสมไว้ก็ช่วยเกาะกุมแป้งขนมให้เป็นก้อนเดียวกันไว้ ความยึดเกาะกุมนี้เป็นลักษณะของอาโปธาตุ หรือเส้นผมนั้นเมื่อจัดเป็นธาตุ คือ ธาตุดิน แต่ก็มีอาโปธาตุที่ช่วยเกาะกุมให้เส้นผมเป็นเส้นอยู่ได้ ในร่างกายของเรามีอาโปธาตุมากมาย เช่น ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น , น้ำตา เปลวมัน น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร ถ้ารู้จักโดยความเป็นลักษณะของอาโปธาตุ สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงอาโปธาตุ ไม่ใช่เรา ไม่ใช่สัตว์บุคคล ก็จะทำให้คลายความยึดมั่นถือมั่นในร่างกายนี้ ตลอดจนร่างกายอื่นหรือทรัพย์สมบัติใด ๆธาตุน้ำมี มี ๔ อย่าง
        ๑. น้ำแท้ (ปรมัตถอาโป หรือ ลักขณอาโป) หมายถึง ลักษณะที่ไหลเอิบอาบ หรือ เกาะกุมวัตถุต่าง ๆ ลักษณะของน้ำจะรู้ได้ด้วยทางใจเท่านั้น ไม่ใช่รู้ได้โดยการเห็นด้วยตา หรือ สัมผัสด้วยกาย
        ๒. น้ำสมมุติ (สมมุติอาโป หรือ ปกติอาโป ) หมายถึง น้ำที่เรียกกันทั่วไป เช่น น้ำที่ดื่ม น้ำในแม่น้ำลำคลอง น้ำในทะเล น้ำในมหาสมุทร เป็นต้น
        ๓. น้ำที่มีอยู่ในร่างกาย (ตามนัยแห่งพระสูตร เรียกว่า สสัมภารอาโป ) หมายถึง ส่วนที่เป็นของเหลวที่อยู่ในร่างกายของคนและสัตว์ทั้งหลาย เช่น ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น เป็นต้น รวมทั้งของเหลวที่อยู่ภายนอกด้วย เช่น น้ำจากรากต้นไม้ น้ำจากใบไม้ น้ำจากดอกไม้ น้ำจากผลไม้ เป็นต้น
        ๔. น้ำที่ใช้เพ่งทำให้เกิดสมาธิ (กสิณอาโป) หมายถึง น้ำที่นามาใส่ในขัน อ่าง หรือ น้ำในบ่อ ใช้เพ่งดูเพื่อให้เกิดสมาธิ ซึ่งใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญสมถกรรมฐาน

๓.เตโช คือ ธาตุไฟ เป็นธรรมชาติที่มีลักษณะร้อน ธาตุไฟนี้ยังทำให้สิ่งทั้งหลายย่อยสลายได้ ทำให้ธาตุที่ประกอบร่วมกันกับตนนั้นมีความอ่อน เช่น คนตายร่างกายจะแข็งเปรียบเหมือนท่อนไม้ ไม่มีความอ่อนละมุนเหมือนคนที่มีชีวิตอยู่ ก็เพราะไม่มีเตโชธาตุที่เกิดจากกรรมมาหล่อเลี้ยง ร่างกายที่อบอุ่นอยู่นี้ก็เพราะเตโชธาตุ บางครั้งเวลาจิตใจมีความกระวนกระวายหรือเวลาร่างกายเจ็บป่วยลมหายใจก็มีความร้อนเช่นกัน ถ้าพิจารณาถึงความร้อนหรือเย็น(ความเย็นก็คือความร้อนน้อยนั่นเอง) ว่านั่นเป็นเพียงธาตุไฟ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ก็จะทำให้คลายความยึดมั่นถือมั่นร่างกายนี้ ตลอดจนร่างกายอื่นหรือทรัพย์สมบัติใดๆ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเพียงธาตุ ธาตุไฟ มี ๔ อย่าง
        ๑. ไฟแท้ (ปรมัตถเตโช หรือ ลักขณเตโช ) หมายถึง ลักษณะที่ร้อน หรือ เย็น ที่มากระทบทางกาย สิ่งต่างๆ จะสุกงอม ละเอียด นุ่มนวลได้ก็เพราะเตโชธาตุ เช่น ผลไม้ อาหารที่เรารับประทาน เป็นต้น
        ๒. ไฟสมมุติ (สมมุติเตโช หรือ ปกติเตโช ) หมายถึง ลักษณะของไฟที่เรียกกันทั่วไป เช่น ไฟฟ้า ไฟถ่าน ไฟฟืน หรือไฟจากแก๊สหุงต้ม เป็นต้น
        ๓. ไฟที่มีอยู่ในร่างกาย (ตามนัยแห่งพระสูตร เรียกว่า สสัมภารเตโช) หมายถึง ไฟที่มีอยู่ในตัวคนและสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งมีลักษณะต่างๆ คือ ทำให้ร่างกายอบอุ่น ทำให้ร่างกายแก่ชรา ทำให้เป็นไข้ รวมทั้งไฟธาตุที่ย่อยอาหารด้วย ส่วนไฟที่อยู่ภายนอกตัวเราก็มี เช่น ไฟที่เราเห็นโดยทั่วๆไป
        ๔. ไฟที่ใช้เพ่งทำให้เกิดสมาธิ (กสิณเตโช) หมายถึง ไฟที่ทำขึ้นเพื่อใช้เพ่ง ทำให้เกิดสมาธิหรือใช้เป็นอารมณ์ในการเจริญสมถกรรมฐาน

๔.วาโย คือ ธาตุลม ลักษณะของธาตุลม คือ มีความเคร่งตึง หรือ มีความพยุงไว้ร่างกายของคนและสัตว์ก็มีความตึงเช่น ตึงที่ต้นคอ ตึงที่อวัยวะต่าง ๆ การที่เรานั่งอยู่ได้ก็เพราะวาโยธาตุในร่างกายพยุงร่างกายนี้ไว้ ถ้าเอาซากศพมานั่งไม่สามารถนั่งได้ต้องล้มไปเพราะซากศพไม่มีวาโยธาตุที่เกิดจากกรรม (และไม่มีรูปที่เกิดจากกรรมทั้งหมด)คอยทำหน้าที่พยุงไว้ ธาตุลมทำให้สิ่งต่าง ๆ เคลื่อนไหว ตลอดจนทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวเดินได้พูดได้ก็เพราะธาตุลมที่อยู่ในร่างกายนี้ ธาตุลมนี้ยังทำให้เกิดการแสดงท่าทางต่าง ๆ ได้ เช่นการเดิน ยืน นั่ง นอน พูด ร้องเพลง หัวเราะ ร้องไห้ เหล่านี้เป็นการแสดงท่าทางต่าง ๆ อันเกิดจากวาโยธาตุที่อยู่ในกายเรา ถ้าพิจาณาสิ่งต่าง ๆ โดยสภาวะจริงๆ ของวาโยธาตุได้ ว่านั่นเป็นเพียงธาตุลม ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ก็จะทำให้คลายความยึดมั่นถือมั่นร่างกายนี้ ตลอดจนร่างกายอื่นหรือทรัพย์สมบัติใดๆ เพราะสิ่งเหล่านั้นเป็นเพียงธาตุ ซึ่งต้องมีการผันแปรเปลี่ยนแปลงไม่สามารถตั้งอยู่ได้ วาโยธาตุ มี ๔ อย่าง
        ๑. ลมแท้ (ปรมัตถวาโย หรือ ลักขณวาโย ) หมายถึง ลักษณะที่ ไหว หรือ เคร่งตึง เช่น การไหวของใบไม้ ความไหวของใบไม้นั้นคือวาโย ซึ่งต้องสังเกตและพิจารณาให้รู้จักการไหวร่างกาย การกระพริบตา ความตึงของลมในยางรถยนต์ หรือลมในท้องที่จะทำให้ท้องตึงจุกเสียด ความตึงของสิ่งต่าง ๆ หรือของร่างกายนั้นก็เพราะวาโยธาตุ
        ๒. ลมสมมุติ (สมมุติวาโย หรือ ปกติวาโย ) หมายถึง ลมที่เรียกกันทั่วๆไป เช่น ลมบก ลมทะเล ลมพายุ ลมที่พัดไปมาตามปกติ
        ๓. ลมที่มีอยู่ในร่างกาย (ตามนัยแห่งพระสูตร เรียกว่า สสัมภารวาโย) หมายถึง ลมต่างๆ ที่พัดอยู่ในร่างกาย คือ ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน เช่น การหาว เรอ ลมที่พัดลงเบื้องต่า เช่น การผายลม ลมที่อยู่ในช่องท้องทำให้ปวดเสียดท้อง ลมที่พัดอยู่ทั่วร่างกายทำให้ไหวกายไปมาได้ และลมหายใจเข้า-ออก นอกจากนี้ยังหมายถึงลมภายนอกทั่วๆไป คือ ลมพัดอยู่ตามทิศต่างๆด้วย
        ๔. ลมที่ใช้เพ่งทำให้เกิดสมาธิ (กสิณวาโย หรือ อารัมมณวาโย) หมายถึง ลมที่ใช้เป็นอารมณ์ในการเพ่งกสิณเพื่อให้เกิดสมาธิหรือเกิดฌานโดยการกำหนดเพ่งเอาธาตุลมที่ทำให้เกิดการไหวของใบไม้ ยอดหญ้า เป็นต้น

หมายเหตุ ในธาตุทั้ง ๔ นี้ จะต้องอาศัยกันและกันเกิดขึ้น จะมีธาตุใดธาตุหนึ่งเพียงอย่างเดียวไม่ได้ การจะจัดว่าสิ่งใดเป็นธาตุอะไรก็ให้พิจารณาว่าสิ่งนั้นมีธาตุใดมาก

สรุป
ปฐวีธาตุ เป็นธาตุที่รองรับธาตุอื่นทั้งหลาย เป็นที่ตั้งเป็นที่อาศัยของรูปที่เกิดร่วมกับตน เหมือนแผ่นดินย่อมเป็นที่อาศัยของต้นไม้และภูเขา เป็นที่ตั้งของบ้านเรือน
อาโปธาตุ เป็นธาตุที่เอิบอาบ คือ ซึมซาบอยู่ในรูปที่เกิดร่วมกันกับตน เป็นธาตุที่ทำให้เพิ่มพูน
เตโชธาตุ เป็นธาตุที่ทำให้ร้อน คือทำให้ธาตุ ๓ ที่เหลือนั้นอบอุ่น
วาโยธาตุ เป็นธาตุที่ทำให้เคลื่อนไหว คือทำให้รูปร่างกายนี้และสิ่งอื่นเคลื่อนที่

ธาตุทั้งหลายมีลักษณะของตนๆ โดยเฉพาะ ไม่มีสิ่งใดที่เป็นตัวตนเราเขา ฉะนั้นจึงควรพิจารณา ลักษณะที่แท้จริงโดยความเป็นธาตุไว้ เพื่อจะได้ไม่ทุกข์กังวลกับการเสื่อมสิ้นสลายไป ทั้งยังเป็นการเจริญวิปัสสนาที่ถูกต้องอีกด้วย

รูปประเภทที่สอง : ปสาทรูป ๕ คือ
รูปที่มีความใส ความใสของปสาทรูปนี้ไม่สามารถมองเห็นด้วยตา แต่ความใสนี้สามารถรับกระทบอารมณ์ได้ เช่น ความใสของจักขุปสาทรูปทำให้สามารถรับกระทบรูป(หรือรูปารมณ์)ได้ คำว่า ปสาท (อ่านว่า ปะ-สา-ทะ) แปลว่า ความใส ปสาทรูปมี ๕ รูป คือ จักขุปสาทรูป โสตปสาทรูป ฆานปสาทรูป ชิวหาปสาทรูป กายปสาทรูป


๑.จักขุปสาทรูป คือ ปสาทตา เป็นรูปที่มีความใสตั้งอยู่กลางตาดำ มีขนาดเท่าหัวเหา ความใสนี้จะซึมซาบอยู่ในเยื่อตาบางๆ ทั้งเจ็ดชั้น สามารถรับภาพ(หรือรูปารมณ์)ได้โดยปกติที่เรารู้จักตา เราก็จะรู้จักลูกตาทั้งลูกว่านั้นคือตา แต่การรู้จักตาหรือจักขุปสาทรูปในทางพระอภิธรรมมิได้มุ่งหมายให้รู้จักลูกตาทั้งลูก เพราะจักขุปสาทรูปนั้นไม่ใช่ลูกตาทั้งลูก แต่จักขุปสาทรูปจะมีสภาพความใสที่ซึมซาบอยู่ในเยื่อตา ๗ ชั้นที่อยู่ตรงกลางตาดำ ความใสนี้จะทำหน้าที่รับกระทบภาพที่อยู่ตรงหน้า จักขุปสาทรูปเป็นรูปที่เกิดจากกรรม ฉะนั้นการได้รับกระทบรูปที่ขอบใจบ้าง ไม่ชอบใจบ้างก็เนื่องมาจากกรรมดีและกรรมไม่ดีที่ได้กระทำแล้วในอดีต วิบากของกรรมนั้นส่งผลในปัจจุบันให้ได้เห็นรูปที่ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง ถ้าพิจารณาความจริงอันนี้ได้ก็จะทำให้ไม่หลงดีใจได้ปลื้มกับรูปที่ดี เพราะการที่ได้เห็นรูปที่ดีที่พอใจก็เพราะกรรมดีในอดีตที่เราได้สั่งสมมาแล้ว และจะได้ไม่เสียใจ ไม่โกรธ เมื่อเห็นรูปที่ไม่ดีก็เพราะว่ากรรมไม่ดีในอดีตที่เราได้สังสมไว้แล้ว



๒.โสตปสาทรูป คือ ปสาทหู เป็นรูปที่มีความใสสามารถรับเสียง (สัททารมณ์)ได้ มีลักษณะ เหมือนวงแหวน มีขนสีแดงเส้นละเอียดอยู่โดยรอบ เป็นรูปที่เกิดมาจากกรรม ดังนั้น หูจึงต้องรับเสียงทั้งที่พอใจและไม่พอใจ ซึ่งเป็นวิบากที่เกิดจากการทำกรรมไว้แล้วในอดีต ถ้าพิจารณาตามความเป็นจริงถึงผลที่ได้รับในปัจจุบันนี้ก็เพราะเหตุที่ตนได้กระทำไว้แล้วทั้งที่ดีบ้างและไม่ดีบ้าง ฉะนั้นผลจึงเป็นอย่างนี้ จะทำให้เรามีชีวิตอยู่ในโลกปัจจุบันนี้ได้อย่างมีความสุข ไม่ว่าจะประสบกับวิบากกรรมใด ๆ ก็สามารถพิจารณาถึงหลักความจริงได้


๓.ฆานะปสาทรูป คือ ปสาทจมูก เป็นรูปที่มีความใส สามารถรับกลิ่นต่างๆ (คันธารมณ์)ได้ มีลักษณะคล้ายกีบเท้าแพะ คือมีลักษณะเป็น ๒ ซีกเหมือนกีบเท้าแพะ ฆานปสาทรูปเป็นรูปที่เกิดจากกรรม ดังนั้น จมูกจะต้องรับกลิ่นทั้งที่พอใจและไม่พอใจ เช่นเดียวกัน


๔.ชิวหาปสาทรูป คือ ปสาทลิ้น เป็นรูปที่มีความใสสามารถรับรสต่างๆ (รสารมณ์) ได้ซึ่งมีลักษณะเหมือนกลีบดอกบัว ชิวหาปสาทรูปเป็นรูปที่เกิดจากกรรม ดังนั้น จึงได้รับรสต่างๆ กันไป

๕.กายปสาทรูป คือ ปสาทกาย เป็นความใสของกายปสาทที่สามารถรับกระทบจากสัมผัสต่าง ๆ เรียกว่าโผฏฐัพพารมณ์ คือรับกระทบความแข็งความอ่อน คือ ธาตุดิน รับกระทบความเย็นความร้อน คือธาตุไฟ รับกระทบความหย่อนตึง คือ ธาตุลมได้ กายปสาท คือ ความใสจะมีอยู่ทั่วไปตามร่างกาย ตั้งแต่ศีรษะถึงเท้า เว้นแต่เส้นผม ปลายเล็บ หรือหนังหนา ๆ จะไม่มีกายปสาท เวลาตัดผมตัดเล็บจึงไม่รู้สึกเจ็บ กายปสาทรูปนี้เป็นรูปที่เกิดจากกรรม คือวิบากของกรรมดีและกรรมชั่ว ดังนั้นการได้รับความสุขความทุกข์ทางกายของคนและสัตว์จึงแตกต่างกันไป จะเห็นว่าบางคนมีความเป็นอยู่อย่างสุขสบายไม่ต้องตากแดดตากลมตรากตรำทำางานหนัก หรือสัตว์บางตัวก็มีความสุขกายได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีก็เพราะผลของกรรมที่ได้ทำไว้แล้วเช่นกัน

รูปประเภทที่สาม :วิสยรูป ๔
วิสยรูป ๔ ได้แก่ วัณณรูป สัททรูป คันธรูป รสรูป (อ่านว่า วัน-นะ-รูป , สัด-ทะ-รูป ,คัน-ทะ-รูป , ระ-สะ-รูป) คำว่า วิสัย เป็นคำในภาษาไทย แปลว่า ขอบเขต แดน ความเป็นอยู่ เช่นวิสัยทัศน์ คือการมองเห็นที่มีขอบเขต ดังนั้น คำว่า วิสยรูป จึงหมายถึง รูปที่เป็นที่ขอบเขต เช่น วัณณรูป (หรือ รูปารมณ์)เป็นขอบเขตของจักขุวิญญาณอาศัยเกิดขึ้นเท่านั้น (ไม่เป็นที่อาศัยของโสตวิญญาณหรืออื่นๆ) วิสยรูป มีการกระทบกับปสาทรูปทั้ง ๕ มีจักขุปสาทรูป เป็นต้น เป็นอารมณ์ให้แก่ ปัญจวิญญาณจิตทั้ง ๕ มีจักขุวิญญาณจิต เป็นต้น คำว่า โคจรรูป แปลว่า รูปอันเป็นที่โคจรท่องเที่ยวไปของจิต มีจักขุวิญญาณ เป็นต้น ฉะนั้นการจะเรียกว่าวิสยรูป หรือ โคจรรูป ก็เป็นไปตามความหมายข้างต้น ส่วนจำนวน ๔ ก็เป็นการนับเฉพาะ วัณณรูป สัททรูป คันธรูป รสรูป ถ้าจะนับเป็น ๗ ก็รวมเอา โผฏฐัพพารมณ์ ๓ คือ ปถวี เตโช วาโย เข้าไว้ด้วยกันเป็น ๗ เพราะทั้ง ๗ เป็นอารมณ์ให้แก่ จิต และเจตสิกเกิดร่วมได้

๑.วัณณะรูป หรือ รูปายตนะ คือ สี เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ ได้แก่ สีต่างๆ ที่เกิดจากแสงสะท้อนแล้วมากระทบที่จักขุปสาท รูปทั้งหลายทั้งหมดที่มีอยู่ล้วนแต่เป็นสีหรือภาพทั้งสิ้น รูปถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างกัน แต่เมื่อว่าโดยลักษณะแล้วจะไม่ต่างกันเลย คือ สีจะทำหน้าที่กระทบกับจักขุปสาท แล้วทำให้จักขุวิญญาณเกิดขึ้น นี้คือความจริงของสภาพธรรมะที่มีอยู่ แต่เมื่อบุคคลเห็นสีต่างๆ แล้วก็มีความยินดี คือ ตัณหา มีความยึดมั่น คือ อุปาทาน เข้าไปยินดีพอใจ ยังมีโทสะ คือ ความไม่ชอบใจบ้าง เข้าไปยึดมั่นตามสมมุติบัญญัติที่รู้จักว่า นี้คือนาย ก. นาง ข. บ้าง ยึดมั่นว่าเป็นของเราบ้าง เป็นตัวตนของเราบ้าง แท้ที่จริงแล้วสภาพความเป็นจริงสิ่งทั้งหลายที่เห็นอยู่เป็นเพียงสีที่เกิดจากมีแสงสว่าง แล้วสะท้อนเอาสีหรือภาพนั้นเข้าสู่จักขุปสาท ทำให้จักขุวิญญาณเกิดขึ้นรับรู้สีนั้นหรือภาพนั้นเท่านั้นเอง เมื่อรู้แล้วทั้งจิตที่รับรู้ทั้งภาพทำให้รับรู้พร้อมทั้งจักขุปสาทก็ดับไปไม่ได้ตั้งอยู่ แต่ด้วยเพราะมีตัณหาคือ ความพึงพอใจ มีอุปาทานเข้าไปยึดมั่น ทาให้ปุถุชนจึงไม่สามารถพิจารณาสภาพธรรมตามความจริงได้ เมื่อได้ศึกษาวัณณรูปตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ก็สามารถเจริญวิปัสสนาได้ การเจริญวิปัสสนาสามารถทำได้ทุกที่ถ้ามีความรู้ที่ถูกต้องอย่างนี้

๒.สัททะรูป หรือ สัททายตนะ คือ เสียง หรือคลื่นเสียงที่มากระทบโสตปสาทเสียงได้แก่ เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงขับร้อง เสียงปรบมือ เสียงร้องของสัตว์ เสียงกระทบกันแห่งธาตุ เสียงลม เสียงน้ำ เสียงนี้เป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้ แต่กระทบได้ เสียงถึงแม้ว่าจะมีมากมายหลายอย่าง แต่เมื่อว่าโดยลักษณะแล้ว เสียงจะมีลักษณะเหมือนกันหมด คือ มีการกระทบโสตปสาท เป็นลักษณะ เมื่อกระทบแล้วก็ทำให้โสตวิญญาณจิตเกิดสามารถรับรู้เสียงนั้นได้ บุคคลทั้งหลายที่ยังมีตัณหา คือ ความยินดีพอใจ ยังมีอุปาทานคือ ความยึดมั่นเป็นตัวเป็นตนอยู่ ยังมีโทสะ คือ ความไม่พอใจอยู่ ทำให้เข้าใจว่านี้เป็นเสียงของเรา เสียงนี้เป็นเสียงของคนที่เรารัก หรือเกลียด มันจึงทำให้เราไม่สามารถระลึกรู้ถึงสภาพธรรมตามความเป็นจริงได้
ปุถุชนจึงต้องทุกข์อยู่อย่างนี้ ไม่สามารถพ้นไปจากวัฏฏทุกข์ได้ แต่ถ้าได้ศึกษาแล้วก็สามารถที่จะพิจารณาลักษณะที่แท้จริงของเสียงได้ เมื่อพิจารณาได้ถูกต้องปัญญาก็จะเกิดขึ้นกับท่านได้ การพิจารณาสภาพธรรมตามความเป็นจริงอย่างนี้เป็นการเจริญวิปัสสนาแล้ว เมื่อพิจารณาอยู่บ่อย ๆ ก็จะรู้จักว่าอะไรคือรูป อะไรคือนาม

๓.คันธะรูป หรือ คันธายตนะ ได้แก่ กลิ่น ซึ่งเป็นไอระเหยของวัตถุสิ่งของที่มีกลิ่น ที่มากระทบกับจมูก (ฆานปสาทรูป) ฆานวิญญาณจิตเกิดขึ้นทำให้รู้กลิ่น เช่น กลิ่นหอมของดอกไม้ หรือน้ำหอมเป็นต้น กลิ่นทั้งหลายเมื่อว่าโดยลักษณะแล้วก็มีเพียงการกระทบฆานปสาทเป็นลักษณะเหมือนกันหมด

๔.รสะรูป หรือ รสายตนะ ได้แก่ รสต่างๆ เช่น รสเปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด ขม ฝาด ที่ปรากฏที่ลิ้น (ชิวหาปสาทรูป) ชิวหาวิญญาณจิตก็จะทำหน้าที่รู้รสต่างๆได้ รสต่างๆ เมื่อว่าโดยลักษณะแล้วก็มีเพียงการกระทบชิวหาปสาทเป็นลักษณะเหมือนกันหมด คำว่า รส ยังใช้ในความหมายต่าง ๆ ได้อีก ๔ ประการ
    ๑ . ธรรมรส หมายถึง การทำบุญ -ทำบาป ที่เรียกว่า กุศลกรรม อกุศลกรรม
    ๒ . อรรถรส หมายถึง ผลของบุญ-บาป ที่บุคคลได้กระทำไว้แล้ว จะทำให้เกิดรสชาติของความทุกข์ความระทมขมขื่น หรือความสุขความสำราญใจตามมา
    ๓. วิมุตติรส หมายถึง รสของการเข้าถึงนิพพาน พ้นจากกิเลสซึ่งทำให้เศร้าหมอง
    ๔. อายตนรส หมายถึง รสต่างๆ ที่มากระทบกับลิ้น

โผฎฐัพพารูป หรือ โผฏฐัพพายตนะ ถ้านับว่าวิสยรูป ๔ หรือ โคจรรูป ๗ ตามที่ได้อธิบายแล้วในหัวข้อรูปประเภทที่สาม ก็ต้องอธิบายถึง โผฏฐัพพายตนะต่อไปว่า โผฏฐัพพายตนะ ได้แก่ สิ่งที่มากระทบกับร่างกาย มีลักษณะ แข็ง -อ่อน ได้แก่ ปถวีธาตุ ร้อน-เย็น ได้แก่ เตโชธาตุ และหย่อน-ตึง ได้แก่ วาโยธาตุ (ส่วนลักษณะของธาตุน้ำนั้นไม่สามารถรู้ได้ทางกาย แต่รู้ได้โดยทางใจเท่านั้น)

รูปประเภทที่สี่ : ภาวรูป ๒
ภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความเป็นหญิงหรือชาย เป็นรูปที่รู้ได้ด้วยใจ (ไม่ใช่เห็นด้วยตา) โดยอาศัย รูปร่าง สัณฐาน เครื่องหมาย นิสัย และกิริยาอาการต่างๆ ให้รู้ว่าเป็นหญิงหรือชาย ภาวรูป ๒ ได้แก่ อิตถีภาวะ ปุริสภาวะ
๑. อิตถีภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความเป็นเพศหญิง
๒. ปุริสภาวรูป หมายถึง รูปที่แสดงความเป็นเพศชาย
รูปทั้ง ๒ เป็นสุขุมรูป คือ รูปที่ละเอียดที่เกิดมาจากกรรม(มีกรรมเป็นสมุฏฐาน) เป็นรูปที่เกิดครั้งแรกในชีวิต มีอยู่แผ่ซ่านไปทั่วร่างกาย เป็นธรรมที่รู้ได้ด้วยใจเห็นไม่ได้ด้วยตา อุปมาเหมือนต้นไม้เมื่อได้โอกาสงอกหยั่งรากแล้วก็ทำให้เติบโตสมบูรณ์แผ่กิ่งก้านสาขาอิตถินทรีย์ หรือสภาวะความเป็นหญิงมีอยู่ย่อมเป็นปัจจัยให้ปรากฏทรวดทรงหญิง เครื่องหมายให้รู้ว่าหญิง เป็นต้น

ทำกรรมอะไรจึงต้องเกิดมาเป็นหญิงหรือชาย เกิดเป็นชายก็เพราะกำลังของการทำกุศลในชาติก่อนมีกำลังแรง เข้มแข็ง การตัดสินใจและการตั้งใจเด็ดเดี่ยวไม่หวั่นไหว เกิดเป็นหญิงเพราะกำลังของกุศลอ่อน การตัดสินใจและการตั้งใจไม่เด็ดเดี่ยวเข้มแข็งเหมือนชาย ฉะนั้นการเกิดมาเป็นหญิงหรือชายก็ขึ้นอยู่กับกำลังของบุญกุศลที่เราได้กระทำมาแล้วนั่นเอง แต่อีกนัยหนึ่งการเกิดเป็นหญิงเพราะการประพฤติผิดศีลข้อ ๓ และในบุคคลบางคนก็มีความพอใจในความเป็นหญิงก็ทำให้เกิดมาเป็นหญิงได้เช่นกัน

รูปประเภทที่ห้า : หทัยรูป๑

คำว่า หทัย เป็นชื่อของก้อนเนื้อหัวใจ ในก้อนเนื้อหัวใจนั้นข้างในมีหลุมขนาดบรรจุเมล็ดดอกบุนนาคได้ มีโลหิตขังอยู่ประมาณกึ่งซองมือ หทยรูปก็อยู่ในโลหิตกึ่งซองมือนี้นั่นเอง หทยรูปนี้ เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน เป็นแหล่งที่อาศัยเกิดของจิต (มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุและธรรมอื่นที่เกิดประกอบ) หทยรูปนี้มี ๒ อย่าง คือ
๑. มังสหทยรูป ได้แก่ ก้อนเนื้อที่เป็นรูปหัวใจ มีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม
๒. วัตถุหทยรูป ได้แก่ เป็นรูปพิเศษที่อยู่ในมังสหทยรูปอีกทีหนึ่งไม่สามารถเห็นได้ด้วยตา

รูปประเภทที่หก : ชีวิตรูป ๑

ชีวิตรูป คือ เป็นรูปที่เกิดจากกรรม ชีวิตรูปมีหน้าที่รักษารูปทั้งหลายมิให้เน่าเปื่อยแตกสลาย ทำให้คนเรามีชีวิตอยู่ได้ ทำให้สร้างกุศลกรรม อกุศลกรรมต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด คำว่าชีวิต มี ๒ อย่าง คือ รูปชีวิต และ นามชีวิต รูปชีวิต ได้แก่ ชีวิตรูปนี้เอง ส่วนนามชีวิต ได้แก่ ชีวิตินทรีย์เจตสิก ที่ได้ศึกษาผ่านมาแล้ว

รูปประเภทที่เจ็ด : อาหารรูป ๑

อาหารรูป คือ อาหารที่เรารับประทาน เมื่อรับประทานแล้วย่อยแล้วโดยไฟธาตุที่อยู่ในร่างกาย ส่วนที่ย่อยแล้วชื่อว่า โอชา โอชานี้เองที่เป็นอาหารรูปที่ไปหล่อเลี้ยงร่างกาย เป็นเลือดเป็นเนื้อ ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตเป็นหนุ่มเป็นสาวต่อไป (อาหารที่รับประทานเป็นคำๆ ที่ยังไม่ย่อยเป็นโอชา ชื่อว่า กพฬีการาหาร เมื่อย่อยแล้วจึงชื่อว่า โอชา)

รูปทั้งหมดมี ๒๘ รูป ได้กล่าวมาแล้ว ๑๘ รูปโดยกล่าวเป็น ๗ ประเภท ในรูปทั้ง ๑๘ รูปนี้ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า นิปผันนรูป ๑๘ คำว่า นิปผันนรูป หมายถึง รูปที่มีสภาวะของตนเอง เช่น ปถวีธาตุ มีความแข็ง เป็นลักษณะ ซึ่งสามารถนาลักษณะแข็งมาเจริญวิปัสสนากรรมฐานได้ ให้เกิดปัญญาเห็นไตรลักษณ์ คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตาได้ รูปที่เหลืออีก ๑๐ รูป เรียกว่า อนิปผันนรูป ๑๐ เป็นรูปที่ไม่มีสภาวะของตนเอง ต้องอาศัยนิปผันรูปเกิดขึ้น ต่อไปจะศึกษาเรื่องอนิปผันรูป ๑๐



อนิปผันนรูป ๑๐
อนิปผันนรูป มี ๑๐ รูป เป็นรูปที่อาศัยนิปผันนรูป ถ้าไม่มีนิปผันนรูปแล้วอนิปผันนรูปก็เกิดขึ้นไม่ได้ เช่น ปริจเฉทรูป คือ ช่องว่าง ตัวอย่างเช่น นิ้วมือ หรือนิ้วเท้า ถ้านิ้วมือหรือนิ้วเท้าติดเป็นแผ่นเดียวกัน เราก็นับไม่ได้ว่านิ้วมือมี ๕ นิ้ว หรือนิ้วเท้ามี ๕ นิ้ว ช่องว่าง จึงจัดเป็นรูปๆหนึ่ง ทำหน้าที่คั่นไม่ให้สิ่งทั้งหลายติดกันเท่านั้น ทำให้นับเป็นชิ้นเป็นอันๆ ขึ้นมาได้ ดังนั้น ช่องว่าง จึงไม่จัดเป็นรูปที่แท้จริง ไม่สามารถที่จะนับเป็นชิ้นเป็นอันอย่างนิปผันนรูปดังกล่าวมาแล้วได้ อนิปผันนรูป ๑๐ ได้แก่
ปริจเฉทรูป ๑ 
วิญญัติรูป ๒
วิการรูป ๓
ลักขณะรูป ๔

รูปประเภทที่แปด : ปริจเฉทรูป ๑

ปริจเฉทรูป คือ ช่องว่างหรืออากาศที่คั่นระหว่างกลุ่มรูป รูปหนึ่งๆ จะเกิดขึ้นเดี่ยว ๆ ไม่ได้ อย่างน้อยต้องมีรูปเกิดร่วม ๘ รูปด้วยกัน (อวินิพโภครูป) และปริจเฉทรูปนี้เองที่ทำหน้าที่คั่นระหว่างกลุ่มรูปหนึ่งๆ เปรียบเสมือนช่องว่างระหว่างนิ้วมือที่มีหนังหุ้มและอากาศมาตัดคั่นทำให้เป็นลักษณะนิ้วได้ ถ้าไม่มีช่องว่างมาคั่นก็จะติดกันเป็นแผงเช่นเดียวกับเท้าของเป็ด

รูปประเภทที่เก้า : วิญญัติรูป ๒

๑. กายวิญญัติรูป คือ การเคลื่อนไหวทางกายเพื่อให้รู้ความหมาย มีการเดิน การยืน การกวักมือ เป็นต้น
๒. วจีวิญญัติรูป คือ การพูด การเปล่งวาจา เพื่อให้รู้ความหมาย

รูปประเภทที่สิบ : วิการรูป ๓

๑. ลหุตารูป คือ ความเบา ความคล่องแคล่ว การเปลี่ยนอิริยาบถได้รวดเร็ว ของรูปทั้งหลาย
๒. มุทุตารูป คือ ความอ่อน ความไม่กระด้าง ความไม่ขัดข้องในกิริยา ของรูปทั้งหลาย
๓. กัมมัญญตารูป คือ ความควรแก่การงาน ความคล่องแคล่ว ของรูปทั้งหลาย

วิการรูปทั้ง ๓ นี้ ต้องเกิดพร้อมกัน เกิดในกลาปเดียวกัน แต่ถึงจะเกิดพร้อมกันก็ยังมีลักษณะที่แตกต่างกันคือ เบา อ่อน และควรแก่การงาน ในวิการรูปทั้ง ๓ นั้นก็ต้องอาศัยรูปอื่น ๆ เช่น อาหารรูปเป็นต้น แล้วจึงเกิดขึ้น เช่นผู้ปฏิบัติกรรมฐานเมื่อรับประทานอาหารที่เหมาะแก่ตนก็จะรู้สึกว่าวันนี้เราได้อาหารที่เป็นสัปปายะ(เหมาะสม) กายของเราจึงรู้สึกเบาสบายเหมาะแก่การปฏิบัติ หรือถ้าได้อากาศที่ดีก็จะรู้สึกว่าเราได้อุตุที่เป็นสัปปายะ ทาให้เหมาะแก่การปฏิบัติ ดังนี้เป็นต้น นี้เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่าอาหารหรืออากาศก็มีผลต่อความเบา อ่อน และควรแก่การงานของรูป ในตัวอย่างที่แสดงนี้ต้องการมุ่งเห็นเห็นสภาวะของวิการรูปทั้ง ๓ แต่ในเรื่องการของปฏิบัติวิปัสสนาที่ต้องการรู้สภาวะของปรมัตถ์จริงๆ แล้วต้องทิ้งคำว่า “เรา” เพราะการที่ได้อาหารที่ดีหรืออากาศที่ดีเหมาะสมกับผู้ปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติก็ต้องพิจารณาความเป็นไปตามสภาวะปรมัตถ์นั้นเองว่า ความเคลื่อนกายไหวกายเป็นไป จิตก็รับรู้ความเคลื่อนกายไหวกายนั้นเป็นต้น

รูปประเภทที่สิบเอ็ด : ลักขณะรูป ๔

๑. อุปจยรูป คือ ความเริ่มเกิดของรูป อุดหนุนให้รูปมีความบริบูรณ์ ทำให้รูปเติบโต
๒. สันตติรูป คือ การเกิดขึ้นสืบต่อกันแห่งรูป หรือเรียกว่าความแก่ของรูป การเกิด เปรียบเหมือนการขุดหลุมที่ริมฝั่งแม่น้ำ น้ำย่อมซึมเข้าในหลุม ความเติบโต ก็คือความเจริญแห่งรูปเปรียบเหมือนน้ำที่เต็ม ความสืบต่อเปรียบเหมือนน้ำที่ล้นหลุม
๓. ชรตารูป คือ ความแก่ ความเสื่อมไปแห่งรูป ทำให้เป็นสัญญาณของการมุ่งหน้าไปสู่ความตาย ทำให้ความเป็นหนุ่มเป็นสาวหายไป เช่น เมื่ออายุมากแล้วจักขุก็แก่ชราไปด้วยทำให้ สายตาก็เสื่อมถอยลง ชรามี ๒ อย่าง คือ ชราที่ปรากฏ และ ชราที่ปกปิด ชราที่ปรากฏ คือ ความแก่ชราที่ปรากฎให้เห็น เช่น ฟันหลุด หนังเหี่ยว ชราที่ปกปิด คือ ชราที่ไม่แสดงความเป็นไปให้ปรากฏ แต่ความเสื่อมสิ้นทรุด โทรมของร่างกายทุกส่วนก็มีอยู่ทุกขณะ
๔. อนิจจรูป คือ ความสิ้นไป ความทำลายไปของรูป ความแตกดับของรูป



วิกิ

ผลการค้นหา