เปลวเทียนต้องอาศัยไส้เทียนในการลุกไหม้ฉันใด จิตจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีที่ตั้งให้อาศัยเกิดฉันนั้น ฉะนั้นที่ตั้งอันเป็นที่ให้อาศัยเกิดของจิตมี ๖ แห่ง คือ
๑. ประสาทตา (จักขุปสาทรูป) เป็นที่ตั้งของจิตเห็น (จักขุวิญญาณ) ประสาทตานี้มิได้หมายถึงดวงตาหรือลูกตาทั้งลูก แต่หมายเฉพาะประสาทตา ที่อยู่กลางตาดำมีขนาดประมาณเท่ากับศีรษะของเหา จักขุปสาทนี้จะซึมซาบอยู่ที่เยื่อตาบางๆ ๗ ชั้น มีความสามารถในการรับคลื่นแสง (รูปารมณ์) ที่มากระทบ
๒. ประสาทหู (โสตปสาทรูป) เป็นที่ตั้งของจิตได้ยิน (โสตวิญญาณ) อยู่ภายในช่องหู มีลักษณะเป็นวงกลมคล้ายวงแหวน และมีขนอันละเอียดอ่อนสีแดงปรากฏอยู่โดยรอบ มีความสามารถในการรับเสียง (สัททารมณ์) ที่มากระทบ
๓. ประสาทจมูก (ฆานปสาทรูป) เป็นที่ตั้งของจิตรู้กลิ่น (ฆานวิญญาณ) อยู่ภายในช่องจมูก มีลักษณะคล้ายกีบเท้าแพะ มีความสามารถในการรับกลิ่น (คันธารมณ์) ที่มากระทบ
๔. ประสาทลิ้น (ชิวหาปสาทรูป) เป็นที่ตั้งหรือที่อาศัยเกิดของจิตลิ้มรส (ชิวหาวิญญาณ) อยู่ตรงกลางลิ้น มีลักษณะเหมือนปลายกลีบดอกบัวเรียงรายซ้อนกันเป็นชั้นๆ มีความสามารถในการรับรส (รสารมณ์) ที่มากระทบ
๕. ประสาทกาย (กายปสาทรูป) เป็นที่ตั้งของจิตที่รับสัมผัสทางกาย (กายวิญญาณ) ประสาทกายนี้จะเกิดอยู่ทั่วร่างกาย ยกเว้นที่เส้นผม ขน เล็บ ฟัน กระดูก และบริเวณที่มีหนังหนาด้าน มีลักษณะคล้ายสำลีที่แผ่บางๆ ชุบน้ำมันจนชุ่มซ้อนกันหลายๆชั้น มีความสามารถในการรับความรู้สึก เย็น ร้อน อ่อนแข็ง หย่อนตึง (โผฏฐัพพารมณ์) ที่มากระทบ
๖. หทัย (หทัยรูป) เป็นที่ตั้งหรือที่อาศัยเกิดของมโนวิญญาณ ได้แก่จิตที่ไม่ได้อาศัยปสาทรูปทั้ง ๕ ข้างต้น ที่เกิดอยู่ภายในช่องเนื้อหัวใจ มีลักษณะเหมือนบ่อ มีโลหิตอันเป็นน้ำหล่อเลี้ยงหัวใจบรรจุอยู่ประมาณกึ่งซองมือ ( วิธีวัด คือให้ห่อฝ่ามือนิ้วเรียงชิดติดกัน นำน้ำมาใส่บรรจุไว้ในฝ่ามือปริมาตรน้ำประมาณครึ่งหนึ่งนั้นเท่ากับกึ่งซองมือ ) มีสัณฐานโตประมาณเท่า เมล็ดในดอกบุนนาค เป็นรูปอันเป็นที่อาศัยเกิดของมโนวิญญาณ
๑. ประสาทตา (จักขุปสาทรูป) เป็นที่ตั้งของจิตเห็น (จักขุวิญญาณ) ประสาทตานี้มิได้หมายถึงดวงตาหรือลูกตาทั้งลูก แต่หมายเฉพาะประสาทตา ที่อยู่กลางตาดำมีขนาดประมาณเท่ากับศีรษะของเหา จักขุปสาทนี้จะซึมซาบอยู่ที่เยื่อตาบางๆ ๗ ชั้น มีความสามารถในการรับคลื่นแสง (รูปารมณ์) ที่มากระทบ
๒. ประสาทหู (โสตปสาทรูป) เป็นที่ตั้งของจิตได้ยิน (โสตวิญญาณ) อยู่ภายในช่องหู มีลักษณะเป็นวงกลมคล้ายวงแหวน และมีขนอันละเอียดอ่อนสีแดงปรากฏอยู่โดยรอบ มีความสามารถในการรับเสียง (สัททารมณ์) ที่มากระทบ
๓. ประสาทจมูก (ฆานปสาทรูป) เป็นที่ตั้งของจิตรู้กลิ่น (ฆานวิญญาณ) อยู่ภายในช่องจมูก มีลักษณะคล้ายกีบเท้าแพะ มีความสามารถในการรับกลิ่น (คันธารมณ์) ที่มากระทบ
๔. ประสาทลิ้น (ชิวหาปสาทรูป) เป็นที่ตั้งหรือที่อาศัยเกิดของจิตลิ้มรส (ชิวหาวิญญาณ) อยู่ตรงกลางลิ้น มีลักษณะเหมือนปลายกลีบดอกบัวเรียงรายซ้อนกันเป็นชั้นๆ มีความสามารถในการรับรส (รสารมณ์) ที่มากระทบ
๕. ประสาทกาย (กายปสาทรูป) เป็นที่ตั้งของจิตที่รับสัมผัสทางกาย (กายวิญญาณ) ประสาทกายนี้จะเกิดอยู่ทั่วร่างกาย ยกเว้นที่เส้นผม ขน เล็บ ฟัน กระดูก และบริเวณที่มีหนังหนาด้าน มีลักษณะคล้ายสำลีที่แผ่บางๆ ชุบน้ำมันจนชุ่มซ้อนกันหลายๆชั้น มีความสามารถในการรับความรู้สึก เย็น ร้อน อ่อนแข็ง หย่อนตึง (โผฏฐัพพารมณ์) ที่มากระทบ
๖. หทัย (หทัยรูป) เป็นที่ตั้งหรือที่อาศัยเกิดของมโนวิญญาณ ได้แก่จิตที่ไม่ได้อาศัยปสาทรูปทั้ง ๕ ข้างต้น ที่เกิดอยู่ภายในช่องเนื้อหัวใจ มีลักษณะเหมือนบ่อ มีโลหิตอันเป็นน้ำหล่อเลี้ยงหัวใจบรรจุอยู่ประมาณกึ่งซองมือ ( วิธีวัด คือให้ห่อฝ่ามือนิ้วเรียงชิดติดกัน นำน้ำมาใส่บรรจุไว้ในฝ่ามือปริมาตรน้ำประมาณครึ่งหนึ่งนั้นเท่ากับกึ่งซองมือ ) มีสัณฐานโตประมาณเท่า เมล็ดในดอกบุนนาค เป็นรูปอันเป็นที่อาศัยเกิดของมโนวิญญาณ
หากถามว่า อะไรคือปสาทรูป อะไรคือวัตถุ และอะไรคือทวาร ก็จักตอบได้ว่า ปสาทรูปทั้ง ๕ ได้แก่ จักขุปสาทรูป, โสตปสาทรูป, ฆานปสาทรูป, ชิวหาปสาทรูป, กายปสาทรูป เมื่อเป็นที่อาศัยเกิดของจิต ก็เรียกปสาทรูปว่า จักขุวัตถุ , โสตวัตถุ , ฆานวัตถุ , ชิวหาวัตถุ , กายวัตถุ นั่นก็หมายความว่า จักขุปสาทเมื่อเป็นที่อาศัยเกิดของจิต ก็ชื่อว่าจักขุวัตถุ แต่ขณะที่ไม่ได้เป็นที่อาศัยเกิดของจิตเห็น ก็ชื่อว่าจักขุปสาทรูปนั่นเอง ในปสาทรูปที่เหลือคือ โสต ฆาน ชิวหา กาย ก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน อีกประการหนึ่ง ปสาทรูปทั้ง ๕ ยังทำหน้าที่เป็นประตู (ทวาร) สำหรับรับอารมณ์ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น และกาย จึงเรียกปสาทรูปว่า จักขุทวาร, โสตทวาร, ฆานทวาร, ชิวหาทวาร กายทวาร ส่วนหทัยรูป ซึ่งเป็นที่อาศัยเกิดของมโนวิญญาณ (จิต)ทั้งหมด (ยกเว้น จิตที่เกิดทางตา หู จมูก ลิ้น กาย) หทัยรูปนี้ก็ได้ชื่อว่า หทัยวัตถุ และเมื่อเป็นประตูสำหรับรับธัมมารมณ์ หทัยรูปนี้ก็ได้ชื่อว่า มโนทวาร
อำนาจของจิต
จิต หรือ วิญญาณ นี้ นอกจากจะเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ตามที่ทราบแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นประธานในธรรมทั้งปวง คือ การงานต่างๆ ทั้งทายกาย ทางวาจา และทางใจ ไม่ว่าจะเป็นบุญ (กุศลกรรม) หรือเป็นบาป (อกุศลกรรม) จะสำเร็จได้ก็ด้วยจิตทั้งสิ้น ดังในธรรมบทที่แสดงไว้ว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺนา มโนเสฏฺฐา มโนมยา ซึ่งก็หมายความว่า ธรรมทั้งหลายมีจิตเป็นใหญ่ มีจิตเป็นหัวหน้า สำเร็จได้ด้วยจิต
จิต นี้ แม้จะเป็นนามธรรมที่ไม่มีรูปร่างตัวตน และแสดงความรู้สึกอยู่ภายในเท่านั้นก็จริง แต่ก็มีอำนาจวิเศษอย่างน่าอัศจรรย์และวิจิตรพิสดารยิ่งนัก กล่าวคือ
จิต หรือ วิญญาณ นี้ นอกจากจะเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ตามที่ทราบแล้ว ยังทำหน้าที่เป็นประธานในธรรมทั้งปวง คือ การงานต่างๆ ทั้งทายกาย ทางวาจา และทางใจ ไม่ว่าจะเป็นบุญ (กุศลกรรม) หรือเป็นบาป (อกุศลกรรม) จะสำเร็จได้ก็ด้วยจิตทั้งสิ้น ดังในธรรมบทที่แสดงไว้ว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺนา มโนเสฏฺฐา มโนมยา ซึ่งก็หมายความว่า ธรรมทั้งหลายมีจิตเป็นใหญ่ มีจิตเป็นหัวหน้า สำเร็จได้ด้วยจิต
จิต นี้ แม้จะเป็นนามธรรมที่ไม่มีรูปร่างตัวตน และแสดงความรู้สึกอยู่ภายในเท่านั้นก็จริง แต่ก็มีอำนาจวิเศษอย่างน่าอัศจรรย์และวิจิตรพิสดารยิ่งนัก กล่าวคือ
๑. มีอำนาจในการกระทำ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานของอวัยวะน้อยใหญ่ในร่างกาย การพูด การเคลื่อนไหว การกระทำต่าง ๆ ตลอดจนการคิดก็เกิดขึ้นด้วยจิตทั้งสิ้น สรรพสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรถ เรือ เครื่องบิน ยาวอวกาศ อาวุธยุทโธปกรณ์ อุปกรณ์สื่อสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ สิ่งก่อสร้าง ภาพวาด วิทยาการและเทคโนโลยีต่างๆ ฯลฯ ก็ล้วนมีจิตเป็นผู้คิดขึ้นมาทั้งสิ้น
๒. มีอำนาจด้วยตนเอง คือ มีอำนาจในการทำบุญ ทำบาป ทำสมาธิถึงขั้นฌานสมาบัติ มีอำนาจในการแสดงอิทธิฤทธิ์ต่างๆ (อภิญญา) ตลอดจนมีอำนาจในการทำลายอนุสัยกิเลสที่เป็นเหตุให้มีการเวียนว่ายายเกิดอย่างไม่รู้จักจบจักสิ้น
๓. มีอานาจในการสั่งสมกรรม เพราะจิตเป็นต้นเหตุให้มีการทำบาป ทำบุญ ทำฌาน อภิญญา ทำวิปัสสนากรรมฐาน กรรมทั้งหลายที่ได้กระทำลงไปแล้ว ไม่ว่าจะดีหรือชั่ว จะถูกเก็บบันทึกเอาไว้ด้วยอำนาจของจิต
๔. มีอำนาจในการรักษาวิบาก (ผลของกรรม) กรรมทั้งหลายที่ได้กระทำลงไปแล้ว ทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล แม้จะนานเท่าไรก็ตาม กี่ภพกี่ชาติก็ตาม ย่อมติดตามส่งผลตลอดไปจนกว่าจะปรินิพพาน
๕. มีอำนาจในการสั่งสมสันดานของตนเอง การกระทำใดๆ หากกระทำอยู่บ่อยๆ กระทำอยู่เสมอๆ ก็จะฝังในจิตติดเป็นสันดาน และคิดจะทำเช่นนั้นเรื่อยไป เช่น คบคนพาลก็จะกลายเป็นคนพาล คบบัณฑิตก็จะเป็นบัณฑิต ทั้งนี้เป็นเพราะอำนาจในการสั่งสมสันดานของจิตนั่นเอง
๖. มีอำนาจในการรับอารมณ์ต่าง ๆ ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ไม่ว่าจะเป็นอดีตอารมณ์ อนาคตอารมณ์ หรือปัจจุบันอารมณ์ และไม่ว่าจะเป็นบัญญัติอารมณ์ หรือ ปรมัตถอารมณ์ จิตก็สามารถรับได้ทั้งสิ้น
แม้จิตจะเกิดดับอยู่ตลอดเวลาก็ตาม แต่ บาป บุญ ที่ทำไว้ และอนุสัยกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน จะไม่สูญหายไปพร้อมกับการดับของจิตแต่ละดวง ทั้งนี้ เพราะจิตดวงใหม่มีเหตุมีปัจจัยมาจากจิตดวงเดิม และจิตดวงใหม่ที่เกิดขึ้นก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให่แก่จิตดวงต่อไป เพื่อสืบต่อ บาป บุญ และกิเลสที่สั่งสมไว้ไปจนกว่าจะปรินิพพาน
๒. มีอำนาจด้วยตนเอง คือ มีอำนาจในการทำบุญ ทำบาป ทำสมาธิถึงขั้นฌานสมาบัติ มีอำนาจในการแสดงอิทธิฤทธิ์ต่างๆ (อภิญญา) ตลอดจนมีอำนาจในการทำลายอนุสัยกิเลสที่เป็นเหตุให้มีการเวียนว่ายายเกิดอย่างไม่รู้จักจบจักสิ้น
๓. มีอานาจในการสั่งสมกรรม เพราะจิตเป็นต้นเหตุให้มีการทำบาป ทำบุญ ทำฌาน อภิญญา ทำวิปัสสนากรรมฐาน กรรมทั้งหลายที่ได้กระทำลงไปแล้ว ไม่ว่าจะดีหรือชั่ว จะถูกเก็บบันทึกเอาไว้ด้วยอำนาจของจิต
๔. มีอำนาจในการรักษาวิบาก (ผลของกรรม) กรรมทั้งหลายที่ได้กระทำลงไปแล้ว ทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล แม้จะนานเท่าไรก็ตาม กี่ภพกี่ชาติก็ตาม ย่อมติดตามส่งผลตลอดไปจนกว่าจะปรินิพพาน
๕. มีอำนาจในการสั่งสมสันดานของตนเอง การกระทำใดๆ หากกระทำอยู่บ่อยๆ กระทำอยู่เสมอๆ ก็จะฝังในจิตติดเป็นสันดาน และคิดจะทำเช่นนั้นเรื่อยไป เช่น คบคนพาลก็จะกลายเป็นคนพาล คบบัณฑิตก็จะเป็นบัณฑิต ทั้งนี้เป็นเพราะอำนาจในการสั่งสมสันดานของจิตนั่นเอง
๖. มีอำนาจในการรับอารมณ์ต่าง ๆ ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ ไม่ว่าจะเป็นอดีตอารมณ์ อนาคตอารมณ์ หรือปัจจุบันอารมณ์ และไม่ว่าจะเป็นบัญญัติอารมณ์ หรือ ปรมัตถอารมณ์ จิตก็สามารถรับได้ทั้งสิ้น
แม้จิตจะเกิดดับอยู่ตลอดเวลาก็ตาม แต่ บาป บุญ ที่ทำไว้ และอนุสัยกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน จะไม่สูญหายไปพร้อมกับการดับของจิตแต่ละดวง ทั้งนี้ เพราะจิตดวงใหม่มีเหตุมีปัจจัยมาจากจิตดวงเดิม และจิตดวงใหม่ที่เกิดขึ้นก็เป็นเหตุเป็นปัจจัยให่แก่จิตดวงต่อไป เพื่อสืบต่อ บาป บุญ และกิเลสที่สั่งสมไว้ไปจนกว่าจะปรินิพพาน