แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก แสดงบทความทั้งหมด

๒. อุเทสวาระ

[ ๑ ] ในคาถาว่า “โสฬสหารา (หาระ ๑๖)” เป็นต้นนั้น หาระ ๑๖ เป็นไฉน ? คือ เทสนาหาระ, วิจยหาระ, ยุตติหาระ, ปทัฏฐานหาระ, ลักขณหาระ, จตุพยูหหาระ, อาวัฏฏหาระ, วิภัตติหาระ, ปริวัตตนหาระ, เววจนหาระ, ปัญญัตติหาระ, โอตรณหาระ, โสธนหาระ, อธิฏฐานหาระ, ปริกขารหาระ และ สมาโรปนหาระ

       คาถาที่กล่าวตามอุทเทสแห่งหาระนั้น (สำหรับจดจำหาระ ๑๖)

หาระ มี ๑๖ คือ เทสนาหาระ, วิจยหาระ, ยุตติหาระ, ปทัฏฐานหาระ, ลักขณหาระ, จตุพยูหหาระ, อาวัฏฏหาระ, วิภัตติหาระ, ปริวัตตนหาระ, เววจนหาระ, ปัญญัตติหาระ, โอตรณหาระ, โสธนหาระ, อธิฏฐานหาระ, ปริกขารหาระ และ สมาโรปนหาระ

หาระ ๑๖ ที่ข้าพเจ้าแสดงนั้นไม่มีการปะปนระคนกัน โดยเนื้อความ. การจำแนกโดยนัยอันสมควรจะมีโดยพิสดาร (ต่อไป)

[ ๒ ] ในคาถาว่า “โสฬสหารา (หาระ ๑๖)” เป็นต้นนั้น นัย ๕ เป็นไฉน ? คือ นันทิยาวัฏฏนัย, ติปุกขลนัย, สีหวิกกีฬิตนัย, ทิสาโลจนนัย, และ อังกุสนัย.

       คาถาที่กล่าวตามอุทเทสแห่งนัยนั้น (สำหรับจดจำนัย ๕)

พึงทราบว่านัยทั้งปวงมี ๕ ดังนี้ คือ นัยที่ ๑ ชื่อว่า นันทิยาวัฏฏะ, นัยที่ ๒ ชื่อว่า ติปุกขละ, นัยที่ ๓ อันสามารถนำมาซึ่งอรรถแห่งพระบาลี ชื่อว่า สีหวิกกีฬิตะ, ท่านกล่าวนัยที่ ๔ อันประเสริฐว่า ทิสาโลจนะ, นัยที่ ๕ ชื่อว่า อังกุสะ

[ ๓ ] ในคาถาว่า “โสฬสหารา (หาระ ๑๖)” เป็นต้นนั้น มูลบท ๑๘ เป็นไฉน ? คือ กุศลบท ๙ และอกุศลบท ๙.

       ในบรรดากุศลบทและอกุศลบทเหล่านั้น อกุศลบท ๙ เป็นไฉน ? คือ ตัณหา, อวิชชา, โลภะ, โทสะ, โมหะ, สุภสัญญา, สุขสัญญา, นิจจสัญญา, และ อัตตสัญญา. ธรรมที่เป็นฝ่ายอกุศลทั้งหมดย่อมถึงการรวมเข้าในอกุศลบทเหล่านี้.

ในบรรดากุศลบทและอกุศลบทเหล่านั้น กุศลบท ๙ เป็นไฉน ? คือ สมถะ, วิปัสสนา, อโลภะ, อโทสะ, อโมหะ, อสุภสัญญา, อสุขสัญญา, อนิจจสัญญา, และ ออัตตสัญญา. ธรรมที่เป็นฝ่ายกุศลทั้งหมดย่อมถึงการรวมเข้าในกุศลบทเหล่านี้.

       ๙ บทเหล่านี้ คือ ตัณหา, อวิชชา, โลภะ, โทสะ, โมหะ และ วิปัลลาส ๔ (สุภสัญญา, สุขสัญญา, นิจจสัญญา, อัตตสัญญา) เป็นอินทรียภูมิ.

       ๙ บทเหล่านี้ คือ สมถะ, วิปัสสนา, กุศลมูล 3 (อโลภะ, อโทสะ, อโมหะ) และสติปัฏฐาน ๔ (อสุภสัญญา, อสุขสัญญา, อนิจจสัญญา, อนัตตสัญญา) เป็นอินทรียภูมิ.

สมถะเป็นต้นที่เป็นฝ่ายกุศล ข้าพเจ้าพรรณนาประกอบด้วย ๙ บท และตัณหาเป็นต้นที่เป็นฝ่ายอกุศล ข้าพเจ้าพรรณนาประกอบด้วย ๙ บท. ๑๘ บทเหล่านี้แลชื่อว่า มูลบท.

อุทเทสวาระ จบ 


ขยายความโดย พระอาจารย์ สมบัติ นันทิโก

อุเทสวาระ  คือหัวข้อของเนื้อหา หรือเป็นมาติกาที่จะนำไปขยาย

ในอุเทสวาระให้เอาหาระ ๑๖ นัย ๕ มูลบท ๑๘ มามาบอกว่าหาระ ๑๖ คืออะไร, นัย ๕ คืออะไร, มูลบท ๑๘ ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง อันนี้ไม่แปลให้เพราะต้องท่องอย่างเดียว แต่ในนิทเทศวาระจะบอกอีกครั้งนึงอันนี้คือถ้าไปแปลเฉย ๆ แปลแบบธรรมดา ๆ โดยที่ไม่รู้อรรถะมันแปลแล้วไม่ได้ประโยชน์สักเท่าไหร่ แต่ในอรรถกถาท่านก็แปลให้อะนะ แต่ของอาตมาแปลไม่ได้ ก็เป็นภาษาบาลีทั้งหมดเลย เราจะค่อยไปทําความเข้าใจต่อเมื่อเรียนนิทเทศวาระ

สรุปว่าหาระ ๑๖ ก็ควรจำ เทศนา วิจโย ยุตฺติ ปทฎฺฐาโน ลกฺขโณ จตุพยูโห อาวฎโฎ วิภตฺติ ปริวตฺตโน เนี่ยนะท่องเป็นภาษาบาลีก็อาจจะคุ้นหน่อย ใครถนัดภาษาไทยก็เอา

หาระ ๑๖ ประกอบด้วย

๑. เทศนาหาระ คือ แนวทางในการแสดงประกอบด้วย อัสสาทะ อาทีนวะ นิสสรณะ จุดมุ่งหมาย อุบายและการชักชวน
๒. วิจยหาระ คือ แนวทางในการจำแนกบท คำถาม และคำตอบ
๓. ยุตติหาระ คือ แนวทางในการตรวจสอบความเหมาะสมโดยพยัญชนะและอรรถ
๔. ปทัฎฐานหาระ คือ แนวทางในการแสดงปทัฎฐาน (เหตุใกล้) โดยอนุโลมนัยและปฎิโลมนัย
๕. ลักขณหาระ คือ แนวทางในการแสดงธรรมอื่นที่มิได้กล่าวไว้โดยตรง
๖. จตุพยูหหาระ คือ แนวทางในการอธิบายวิธี ๔ กลุ่ม คือ
    - รูปวิเคราะห์
    - ความมุ่งหมายของพระพุทธเจ้า, พระสาวก
    - เหตุของการแสดงธรรม
    - การเชื่อมโยงพระสูตร
๗. อาวัฎฎหาระ คือ แนวทางในการเวียนไปสู่ธรรมที่เสมอกันและไม่เสมอกัน
๘. วิภัตติหาระ คือ แนวทางในการจำแนกสภาวะธรรม (เหตุใกล้ , ภูมิ) โดยทั่วไปและไม่ทั่วไป
๙. ปริวัตตนหาระ คือ แนวทางในการเปลี่ยนไปในทางตรงกันข้าม
๑๐. เววจนหาระ คือ แนวทางในการแสดงคำไวพจน์ (คำความหมายเหมือนกัน)
๑๑. ปัญญัตติหาระ คือ แนวทางในการแสดงบัญญัติ
๑๒. โอตรณหาระ คือ แนวทางในการหยั่งลงสู่ขันธ์ อายตนะ ธาตุ อินทรีย์ และปฎิจสมุปบาท
๑๓. โสธนหาระ คือ แนวทางในการตรวจสอบบท อรรถของบท คำถามและคำตอบ
๑๔. อธิฎฐานหาระ คือ แนวทางในการโดยสามัญทั่วไปหรือโดยพิเศษ
๑๕. ปริกขารหาระ คือ แนวทางในการแสดงเหตุปัจจัย
๑๖. สมาโรปนหาระ คือ แนวทางในการยกขึ้นแสดงด้วยเหตุใกล้ คำไวพจน์ การภาวนา และการละกิเลส

หาระ ๑๖ ที่ข้าพเจ้าแสดงนั้นไม่มีการปะปนระคนกัน โดยเนื้อความ การจำแนกโดยนัยอันสมควรจะมีโดยพิสดาร (ต่อไป) อันนี้ให้เข้าใจหัวข้อเฉย ๆ ถ้าเป็นหนังสือสมัยนี้เราก็เรียกว่าสารบัญ ตรงนี้นะคือในภาษาบาลีเขาไม่ได้พิมพ์แบบเราที่จะบอกสารบัญอยู่ในหน้านี้ บทนี้ เพราะฉะนั้นอุเทสวาระก็คือสารบัญนั่นเอง ส่วนสังคหวาระก็คือคํานํา อุเทสวาระคือสารบัญหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งจะเรียกว่า "มาติกา" ก็ได้ หัวข้อหรือแม่บท ในพระไตรปิฎกเนี่ยเค้าจะไม่อยู่ๆ แล้วแสดงอธิบายไปโดยที่ไม่มีแม่บท จะต้องวางหัวข้อไว้ก่อนหรือเรียกว่าแม่บทแล้วจะขยายไปตามแม่บท พอจบแล้วขึ้นหัวข้อใหม่แล้วขยายไปตามนั้นอันนี้คือลักษณะพระไตรปิฎกเป็นแบบนั้น

นัย ๕  ก็คือ
๑. นันทิยาวัฏฏนัย คือนัยที่เหมือนการเวียนของดอกกฤษณาที่เวียนจากด้านในไปด้านนอก โดยเวียนจากธรรมฝ่ายหลักไปสู่ธรรมคล้อยตาม กล่าวคือ การประกอบเนื้อความของพระพุทธพจน์ฝ่ายสังกิเลสด้วยตัณหาและอวิชชาโดยจำแนกตามสัจจะ ๔ และการนำเนื้อความของพระพุทธพจน์ฝ่ายโวทานด้วยสมถะและวิปัสสนา โดยจำแนกตามสัจจะ ๔
๒. ติปุกขลนัย คือนัยที่งามด้วยส่วนทั้ง ๓ ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ ในฝ่ายสังกิเลส (ฝ่ายเศร้าหมอง) และงามด้วยอโลภะ อโทสะ อโมหะ ในฝ่ายโวทาน (ฝ่ายหมดจด) กล่าวคือการประกอบเนื้อความของพุทธพจน์ฝ่ายสังกิเลสด้วยอกุศลมูล ๓ อันได้แก่ โลภะ โทสะ และโมหะโดยจำแนกตามสัจจะ ๔ และประกอบเนื้อความพุทธพจน์ของฝ่ายโวทานด้วยกุศลมูล ๓ อันได้แก่ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ โดยจำแนกตามสัจจะ ๔
๓. สีหวิกกีฬิตนัย คือนัยที่เหมือนการย่างกายของราชสีห์คือพระผู้มีพระภาคเพราะแสดงวิปัลลาสและอินทรีย์ ๕ ที่เป็นปฎิปักษ์ต่อวิปัลลาสเหล่านั้น กล่าวคือ การประกอบเนื้อความของพุทธพจน์ฝ่ายสังกิเลสด้วยสุภสัญญาเป็นต้น โดยจำแนกตามสัจจะ ๔ และประกอบเนื้อความของพุทธพจน์ฝ่ายโวทานด้วยอสุภสัญญาเป็นต้น โดยจำแนกตามสัจจะ ๔ 
๔. ทิสาโลจนนัย คือนัยที่สอดส่องกุศลธรรมเป็นต้นโดยความเป็นหัวข้อหลักแห่งนัย ๓
๕. อังกุสนัย คือนัยที่เหมือนตาขอซึ่งเกี่ยวธรรมมารวมกันไว้ในนัย ๓ อย่างแรก

มูลบท ๑๘ แบ่งเป็นสองกลุ่มคือ
กุศลบท กับ อกุศลบท อย่างละ ๙

อกุศลบท
ชุดที่ ๑ ตัณหา, อวิชา
ชุดที่ ๒ โลภะ, โทสะ, โมหะ
ชุดที่ ๓ วิปลาส ๔ (สุภสัญญา, สุขสัญญา, นิจจสัญญา, และ อัตตสัญญา)

ธรรมที่เป็นฝ่ายอกุศลทั้งหมดย่อมถึงการรวมเข้าในอกุศลบทเหล่านี้ อันนี้คือหัวข้อของอกุศล สารพัดอกุศลเนี่ยมีประธานอยู่ ๙ บทนี้แหละ 

กุศลบท
ชุดที่ ๑ สมถะ, วิปัสสนา
ชุดที่ ๒ อโลภะ, อโทสะ, อโมหะ
ชุดที่ ๓ สติปัฏฐาน ๔ (อสุภสัญญา, อสุขสัญญา, อนิจจสัญญา และ อนัตตสัญญา

ถ้าแยกคู่นะคือ ตัณหากับอวิชา จะอยู่ในกลุ่มนันทิยาวัฎฎนัย โลภะ, โทสะ,โมหะ อยู่ในกลุ่มติปุกขลนัย สุภสัญญาเป็นต้นอยู่ในสีหวิกกีฬิตนัย ส่วนสิ่งที่ตรงกันข้ามกับอกุศลคือกุศล กุศลบทนี้ก็แบ่งออกเป็น ๙ อีกเหมือนกัน คือสมถะกับวิปัสสนา สมถะนี่เป็นตัวกําจัดตัณหา วิปัสสนาเป็นตัวกําจัดอวิชชา อโลภะ อโทสะ อโมหะ ก็เป็นเครื่องกําจัดโลภะ โทสะ โมหะ แล้วก็สุภสัญญาเป็นต้น ก็คือสติปัฏฐานนั่นแหละเป็นตัวที่กําจัดวิปลาส อย่างอสุภสัญญาก็คือกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน อสุขสัญญาก็คือเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน อนิจจสัญญาก็คือจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน อนัตตสัญญาก็คือธรรมานุปัสสนาสติปัฏฐานนั่นเอง ก็คือสติปัฏฐาน ๔ เป็นเครื่องกําจัดวิปลาส ๔ 

สรุป
ในอุเทศวาระแบ่งเป็น ๓ กลุ่มนะจํา ๓ กลุ่มเอาไว้ คือ
กลุ่มที่ ๑. หาระ ๑๖ เป็นหลักในการพิจารณาพยัญชนะ (ศัพท์)
กลุ่มที่ ๒. นัย ๕ นันทิยาวัฏฏนัย ติปุกขลนัย สีหวิกกีฬิตนัย ๓ นัยนี้เป็นหลักในการพิจารณาอรรถะ ทิสาโลจนนัย และอังกุสนัย เรียกว่า กรรมนัยหรือโวหารนัย เป็นเพียงการตรวจดูธรรมที่แสดงแล้วโดยอรรถนัย ๓ อย่างข้างต้นเท่านั้น ไม่มีการพรรณนาอรรถต่างหาก
กลุ่มที่ ๓. มูลบท ๑๘ ประกอบด้วยอกุศลมูล ๙ กุศลมูล ๙

อันเนี้ยอุเทสวาระเค้ามีอยู่เท่านี้เลยตามหัวข้อ  หาระและนัยเหล่านี้ ผู้ศึกษาสามารถนำไปใช้ในสูตรทั้งปวงได้ เพราะท่านกำหนดจากพระบาลีแล้วนำมาวางเป็นกฎเกณฑ์ เป็นหลักในการศึกษา ดังนั้นคัมภีร์เนตติจึงจัดเป็นสังวรรณนาสูตรที่ขยายความตามสมควรแก่พระบาลีที่เป็นสังวัณเณตัพพสูตร หรือสูตรที่ควรขยาย

ไม่ทราบครับพอจับอะไรได้บ้างไหม จริงอ่ะนะจับได้ ๓ อย่างเนี่ยใช้ได้ เอาอย่างแรกก่อนนะคัมภีร์หมายความว่าอย่างไร คัมภีร์นี้ในเนติเพราะนําไปสู่มรรค ผล นิพพาน อันนี้ก็ใช้ได้แล้วหนึ่ง สองศาสนามีกี่อย่าง ๓ ปริยัติ, ปฏิบัติ, ปฏิเวช ปริยัติมีสอง คืออรรถกับพยัญชนะ คัมภีร์เนตติแปลว่านําไปสู่มรรคผลนิพพานคัมภีร์เนตติเนี่ยมีหัวข้ออยู่ ๓ กลุ่ม หาระ ๑๖ นัย ๕ มูลบท ๑๘

คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอนที่ ๑๔ วงศ์พระมงคลพุทธเจ้า

🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

ตอนที่ ๑๔ (ความยาว ๑.๔๖ ชม.)


พระพุทธเจ้าลำดับที่ ๓ ต่อมาจากพระโกณฑัญญะพุทธเจ้า มีพระพุทธเจ้าพระนามว่า มังคละ ทรงกำจัดความมืดในโลก

พระชาติ
ทรงเป็นกษัตริย์โดยพระชาติของนครชื่อว่า อุตระ
พระชนกพระนามว่า อุตระ
พระชนนีพระนามว่า อุตรา
พระมเหสีพระนามว่า ยสวดี
พระราชโอรสพระนามว่า สีวละ
มีพระสนมนารีกำนัลใน ๓๐,๐๐๐ นาง
มีปราสาทอันประเสริฐ ๓ ปราสาท ชื่อว่า ยสวา สุจิมา และสิริมา

ออกบวช
พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ ประการแล้ว เสด็จออกผนวชด้วยอัสสวราชยานต้น ทรงบำเพ็ญเพียรอยู่ ๘ เดือนเต็ม ก็ได้ตรัสรู้พระสัมโพธิญาณ เมื่อพรหมทูลอาราธนาแล้วจึงทรงประกาศธรรมจักร

ธรรมาภิสมัย ๓ วาระ
ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๑ ได้มีแก่สัตว์ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๒ ทรงแสดงธรรมที่ภพของท้าวสักกะจอมอสูร ธรรมาภิสมัยได้มีแก่ทวยเทพ ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
ธรรมาภิสมัยครั้งที่ ๓ ทรงแสดงธรรมแก่พระเจ้าจักรพรรดิพระนามว่า สุนันทะ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่พระเจ้าสุนันทะและบริวารประมาณ ๙๐ โกฏิ

ประชุมพระสาวก ๓ ครั้ง
ครั้งที่ ๑ พระสาวกมาประชุมกัน ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
ครั้งที่ ๒ พระสาวกมาประชุมกัน ๑๐๐,๐๐๐ โกฏิ
ครั้งที่ ๓ พระสาวกมาประชุมกัน ๙๐ โกฏิ

บุคคลสำคัญ
พระอัครสาวก : พระสุเทวเถระและพระธรรมเสนเถระ
พระอุปัฏฐาก : พระปาลิตะเถระ
พระอัครสาวิกา : พระสีวลาเถรีและพระโสกาเถรี
อัครอุปัฏฐาก : นันทอุบาสกและวิสาขอุบาสก
อุปัฏฐายิกา : อนุฬาอุบาสิกาและสุมนาอุบาสิกา

ไม้โพธิพฤกษ์
ต้นกากะทิง

พระชนมายุ พระวรกาย และพระรัศมี
ทรงมีพระชนมายุ ๙๐,๐๐๐ ปี
สูง ๘๐ ศอก
พระรัศมีแผ่ซ่านออกไปหลายแสนโลกธาตุ

เสด็จนิพพาน
พระมังคลพุทธเจ้าเสด็จนิพพาน ณ พระราชอุทยานชื่อ เวสสระ พระสถูปของพระองค์สูง ๓๐ โยชน์ ประดิษฐานอยู่ในพระราชอุทยานนั้น

พระพุทธพยากรณ์พระโคตมพุทธเจ้า
สมัยนั้น พระพุทธเจ้าโคดมเป็นพราหมณ์มีนามว่า สุรุจิ เป็นผู้เล่าเรียน ทรงมนต์ รู้จบไตรเพท ได้เข้าเฝ้าพระมงคลพุทธเจ้า ได้ถึงพระองค์เป็นสรณะและได้บูชาพระสงฆ์ อันมีพระสัมพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยของหอมและดอกไม้ อังคาสด้วยน้ำนมโค พระมงคลพุทธเจ้า ทรงประทานพยากรณ์ว่า “ผู้นี้จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลก” พราหมณ์สุรุจิได้ฟังพระพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใสอย่างยิ่ง ได้อธิษฐานวัตรในการบำเพ็ญบารมี ๑๐ ให้ยิ่งขึ้นเพื่อบรรลุสัมโพธิญาณอันประเสริฐ ถวายเรือนแก่พระพุทธเจ้า แล้วออกบวชในสำนักของพระพุทธเจ้า เล่าเรียนพระสูตรและพระวินัย ทำพระศาสนาของพระชินเจ้าให้งาม ครั้งนั้นเจริญพรหมวิหารภาวนา ถึงที่สุดในอภิญญาแล้วได้ไปยังพรหมโลก


๑. สังคหวาระ

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.

[๐] ชาวโลกพร้อมทั้งทวยเทพผู้รักษาโลก ย่อมนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐพระองค์ใดในกาลทุกเมื่อ บัณฑิตทั้งหลายพึงทราบคำสอนอันประเสริฐ ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐพระองค์นั้น

       (ศาสนาทั้ง ๓ ประการ เรียกว่าคำสอนอันประเสริฐ, ในบรรดาศาสนา ๓ ประการเหล่านั้น ปริยัติศาสนาชื่อว่า สูตร). สูตรมี ๑๒ บท, สูตรทั้งปวงนั้นจัดเป็นพยัญชนบท (ศัพท์) และอรรถบท (อรรถ) ซึ่งทั้ง ๒ อย่างนั้น พึงทราบโดยสังเขปว่า ศัพท์คืออะไร อรรถคืออะไร

       คัมภีร์เนตติที่มีหาระ ๑๖, นัย ๕, มูลบท ๑๘ ซึ่งช่วยให้เข้าใจปริยัติศาสนานี้ พระมหากัจจายนเถระได้แสดงไว้

หาระ ทั้งหลายช่วยในการพิจารณาศัพท์ของสูตร, นัย ๓ อย่าง (คือ นันทิยาวัฏฏนัย ติปุกขลนัย สีหวิกกีฬิตนัย) ช่วยในการพิจารณาอรรถของสูตร, หาระ และ นัย ทั้ง ๒ อย่างนั้น สามารถนำไปใช้ในสูตรทั้งปวงได้, คัมภีร์เนตติที่เป็นสังวรรณนาสูตรนี้ ย่อมขยายความตามสมควรแก่สังวัณเณตัพพสูตร (สูตรที่ควรขยาย)

ผู้ศึกษาพึงทราบพระบาลีและอรรถแห่งพระบาลีทั้งสองอย่างนั้น ในการศึกษานั้น หาระ และนัยที่จะกล่าวเป็นลำดับต่อไปนี้ เป็นเครื่องช่วยให้เข้าใจ อรรถแห่งพระพุทธพจน์ อันมีองค์ ๙

       สังคหวาระ จบ

เรียบเรียงการขยายความโดย พระอาจารย์ สมบัติ นันทิโก

๑. สังคหวาระ คือการสรุปใจความของคัมภีร์

คัมภีร์เนตติปกรณ์คือคัมภีร์ที่ทําให้รู้จักอรรถกับพยัญชนะนั่นเองว่าเออศัพท์เนี่ยสามารถมองได้กี่แง่กี่มุมเหมือนกับว่าใครไปเลือกซื้อของอย่างหนึ่ง ปกติย่อมไม่ใช่เห็นแล้วซื้อเลย จะต้องเอามาเลือกดูโดยรอบเสียก่อน ดูจนรอบหมดแล้วก็ต้องสอบถามราคา ถามราคาเทียบกับที่อื่น ทั้งหมดแล้วจึงตัดสินใจซื้อ ฉันใด เราอ่านพระไตรปิฎกก็เหมือนกัน ผู้ที่เรียนเนติปกรณ์จะมองคําสอนในพระไตรปิฎกโดยรอบ ทีนี้ไอ้การที่จะมองโดยรอบเค้าก็มีวิธีมอง วิธีพิจารณาที่จะให้เห็นโดยรอบนั่นก็คือหาระกับนัยยะ ใจความของพระไตรปิฎกก็มีอยู่สองอย่างนี้เท่านั้น ที่พระพุทธเจ้าสอนนั้นคืออรรถกับพยัญชนะ อรรถ มี ๖ พยัญชนะ มีอีก ๖
หาระ คือ คําอธิบายพยัญชนะ 
นัย คือ คำอธิบายอรรถ

ทีนี้มาขึ้นตัวคัมภีร์ เนตติปกรณ์นี้โดยสรุปในเนื้อหามีหาระ ๑๖ มีนัย ๕ และก็มีมูลบท ๑๘ ซึ่งช่วยให้เข้าใจปริยัตติศาสนา ชื่อว่าสูตร สูตรมี ๑๒ บท, สูตรทั้งปวงนั้นจัดเป็นพยัญชนบท (ศัพท์) และอรรถบท (อรรถ) ซึ่งทั้ง ๒ อย่างนั้น พึงทราบโดยสังเขปว่า ศัพท์คืออะไร อรรถคืออะไร โดยพระมหากัจจายนะเถระแสดงไว้แล้ว ในคาถา เป็นคําประกาศถึงลักษณะปริยัติศาสนา คืออรรถกับพยัญชนะ ส่วนคัมภีร์เนติปกรณ์จะกล่าวถึงหาระ ๑๖ นัย ๕ มูลบท ๑๘ ที่เป็นเครื่องช่วยให้เข้าใจในอรรถกับพยัญชนะทั้งหมด หรือพูดอีกนัยหนึ่งก็คือวิชาว่าด้วยการตีความตามคําสอนก็ไม่ผิด คือศึกษาแล้วก็มีหลักในการไปตีความคําสอน

ทีนี้ท่านก็สรุปว่าหาระทั้ง ๑๖ นะช่วยกันพิจารณาศัพท์ของสูตร ส่วนนัย ๕ สามนัยแรกคือ นันทิยาวัฎฎนัย ๑ ติปุกขลนัย ๑ สีหวิกกีฬิตนัย ๑ อันนี้ช่วยพิจารณาอรรถของสูตร ที่เหลืออีกสองนัยใช้ดึงมาเข้าในสามนัย (มีอธิบายในภายหลัง) หาระและนัย สามารถนําไปใช้ได้ในสูตรทั้งหมด สรุปว่าคัมภีร์เนตติปกรณ์สามารถนำไปใช้ได้ในพระไตรปิฎกทั้งหมดเลย

พระไตรปิฎกเอาหลักเนตติปกรณ์ไปพิจารณา

คัมภีร์เนตติปกรณ์ที่เป็นสังวรรณนาสูตรนี้ ย่อมขยายความตามสมควรแก่สังวัณเณตัพพสูตร ก็สองคําเองนะ สังวรรณนากับสังวัณเณ สังวรรณนาแปลว่าคําอธิบาย สังวัณเณตัพพะแปลว่าควรอธิบาย อย่างเช่นสังวัณเณตัพพหมายถึงพระไตรปิฎกคือก็ต้องอธิบายอีกครั้งหนึ่ง สังวรรณนาคือเนตติปกรณ์ เป็นตัวอธิบายพระไตรปิฎก หรือถ้าพูดในหนึ่งก็บอกว่าพระพุทธเจ้าเป็นคนเทศน์ พระมหากัจจายนะเป็นคนอธิบาย ว่านั้นเถอะสังวัณเณตัพพตัวนั้นหมายถึงพระพุทธเจ้าหรือพระพุทธพจน์ สังวรรณนาหมายถึงพระมหากระจายนะผู้แสดงอธิบายให้เห็น ก็คํานวณว่าต้องตีความให้คนเค้ารู้ เดี๋ยวเราคนไม่รู้ไปตีความกันเอาเองก็เดือดร้อนเหมือนกัน

ผู้ศึกษาพึงทราบพระบาลีและอรรถแห่งพระบาลีทั้งสองอย่างนั้นในการศึกษานั้น หาระและนัยที่จะกล่าวเป็นลําดับต่อไปนี้ เป็นเครื่องช่วยให้เข้าใจอรรถแห่งพระพุทธพจน์อันมีองค์ ๙ 
  • ๑. สุตตะ ได้แก่ พระ​สูตร​ทั้ง​หลาย รวม​ถึง​พระ​วินัย​ปิฎก และ​นิท​เทส
  • ๒. เคยยะ คือ พระ​สูตร​ทั้งหมด​ที่มีคาถา​
  • ๓. เวย​ยา​กรณะ คือ พระ​อภิธรรม​ปิฎก และพระพุทธ​พจน์​ที่​ไม่​จัด​เข้า​ใน​องค์ ๘
  • ๔. คาถา คือ พระ​ธรรมบท เถร​คาถา เถรี​คาถา และ​คาถา​ล้วนๆ ที่​ไม่มี​ชื่อ​สูตร​ใน​สุต​นิ​บาต
  • ๕. อุทาน คือ พระ​สูตร ๘๒ สูตร ที่​พระ​พุทธองค์​ทรง​เปล่ง​​ด้วย​โสมนัส​ญาณ
  • ๖. อิ​ติวุ​​ตกะ คือ พระ​สูตร ๑๑๐ สูตร ที่ขึ้นต้น​ด้วย​คำ​ว่า​ วุตฺตํ เหตํ ภคว​ตา (ข้อ​นี้​สมจริง​ดัง​คำที่​พระ​ผู้มี​พระ​ภาค​​ตรัส​ไว้​แล้ว)
  • ๗. ชาตกะ คือ เรื่อง​อดีต​ชาติ​ของ​พระ​ผู้มีพระ​ภาค​และ​พระสา​วก​
  • ๘. อัพ​ภูต​ธรรม คือ พระ​สูตร​ที่​ประ​กอ​บด้ว​ยอัจฉ​ริ​ยอัพ​ภูต​ธรรม (ธรรมที่ยิ่งด้วยคุณพิเศษอันน่าอัศจรรย์)
  • ๙. เวทัล​ละ คือ พระ​สูตร​ที่​เมื่อ​ถาม​แล้ว จะได้​ความ​รู้​แจ้ง และความ​ยิน​ดี​ยิ่งๆ ขึ้น
อรรถะก็คืออรรถ ๖ ประการ พระพุทธพจน์เนี่ยถ้าว่าไปจะนับว่าเป็น ๑ ก็ได้ นับ ๒ ก็ได้ นับ ๓ ก็ได้นับ ๕ ก็ได้นับ ๙ ก็ได้ คําสอนของพระพุทธเจ้าถ้า นับ ๑ ก็คือมีจุดประสงค์อันเดียว เพื่อวิมุตติรส เหมือนน้ําทะเลเนี่ยนะทะเลถึงจะไปลงที่ประเทศไหนก็ตามถ้าดื่มน้ําเค็มเหมือนกันหมด ที่กล่าวไปหมายถึงว่าพระไตรปิฎกของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่แรกตรัสรู้จนถึงก่อนวันที่พระพุทธองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานก็มีจุดมุ่งหมายอยู่อันเดียว คือ วิมุตติรส ความหลุดพ้นแห่งจิต เพราะไม่ถือมั่น แปลว่ามีจุดประสงค์ที่ชัดเจนคืออรหัตผล นับ ๒ แบ่งเป็นธรรมกับวินัย ธรรม คือรักษาผู้ปฏิบัติตามไม่ให้ตกไปสู่อบาย ส่วนวินัยก็คืออุบายเป็นเครื่องฝึกกายวาจาเป็นต้นนั่นเอง แบ่งเป็น ๓ ก็คือไตรปิฎก ๓ ปิฎก ก็คือศีล สมาธิ ปัญญา วินัยปิฎกเป็นศีล สุตตันปิฏกเป็นสมาธิ อภิธรรมปิฏกเป็นปัญญา ศีลกําจัดโทสะสมาธิกําจัดราคะ ปัญญากําจัดโมหะ ถ้าแบ่งเป็น ๕ ก็เรียกว่าองค์นิกาย ๕ ทีฆนิกาย (หมวดยาว ๓๔ สูตร) มัชฌิมนิกาย (หมวดปานกลาง ๑๕๒ สูตร) สังยุตตนิกาย (หมวดประมวลเนื้อหา ๗๗๖๒ สูตร)  อังคุตตรนิกาย (หมวดยิ่งด้วยองค์มี ๙๕๕๗ สูตร) ขุททกนิกาย (หมวดเล็กน้อย ในพระสูตรมี ๑๕ คัมภีร์ พระวินัยก็สงเคราะห์ลงในขุททกนิกาย พระอภิธรรมก็สงเคราะห์ลงในขุททกนิกาย) แต่ถ้าว่าโดยองค์ มีองค์ ๙ คือ สุตะ เคยยะ เวย​ยา​กรณะ คาถา อุทาน อิติวุตกะ ชาตกะ อัพ​ภูต​ธรรม เวทัล​ละ ทั้งหมดที่กล่าวไปนี้ คือสังคหวาระ เนื้อความโดยสรุปของคัมภีร์เนติปกรณ์

ศาสนาของพระพุทธเจ้าคือโดยเฉพาะปริยัติ เนี่ยแบ่งออกเป็น ๒  คืออรรถกับพยัญชนะ 
อรรถนี้แบ่งออกเป็น ๖ พยัญชนะแบ่งออกเป็น ๖ พระมหากระจายนะท่านแสดงคัมภีร์เนติปกรณ์กล่าวถึงหาระ ๑๖ นัย ๕ มูลบท ๑๘ ก็เพื่อให้ผู้ศึกษาพระไตรปิฏกเข้าใจในอรรถ ๖ กับพยัญชนะ ๖ ให้มากยิ่งขึ้น ทีนี้ย้อนมาถึงคําว่า คัมภีร์เนติปกรณ์ มีความหมายว่าอย่างไร ? พระบาลีนั่นแหละคือศัพท์, คือพยัญชนะ เนื้อความแห่งพระบาลีนั่นแหละคืออรรถ พระพุทธเจ้าเวลาแสดงธรรมย่อมสมบูรณ์ทั้งอรรถและพยัญชนะ ใช้ถ้อยคําสมบูรณ์หมด เนื้อความก็เข้าใจถูกต้อง เขามีอย่างนี้ว่า "คําพูดใดที่ไม่มีอรรถคําพูดนั้นไร้ประโยชน์" คําพูดใดที่ตั้งคําพูดไว้ไม่ดี เนื้อความ เนื้อหาก็คลาดเคลื่อน แต่พระพุทธเจ้าสอนไม่เป็นอย่างนั้น ของพระพุทธองค์สมบูรณ์ทั้งคําพูด สมบูรณ์ทั้งเนื้อหา ทีนี้ดูในคัมภีร์เนติปกรณ์ซึ่งประกอบไปด้วยหาระ ๑๖ นัย ๕ และมูลบท ๑๘ นักศึกษาควรจดจํา ถ้าจําไม่ได้ก็เข้ามาดูบ่อย ๆ คําว่าคําภีร์เนตติ แปลว่า สามารถนําเวไนยสัตว์ทั้งหลายไปสู่มรรคผลนิพพาน

คือตัวที่นําสัตว์เนี่ยเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้สัตว์บรรลุมรรคผลนิพพาน คําว่าเนตติ แปลว่า นําไป เช่นตัณหาเนี่ยก็ชื่อว่าเนตติเหมือนกัน นำไปเหมือนกัน แต่ตัณหานี่นําไปสู่กามภพ รูปภพและอรูปภพตัณหาชื่อว่าเนตติ ตัณหานําไปเกิดใหม่ ฉันใด คัมภีร์เนตติปกรณ์ก็นําไปเหมือนกัน แต่นําไปสู่มรรคผลนิพพาน ตัณหานําไปเกิด แต่คัมภีร์เนตติปกรณ์นําไปเพื่อเลิกเกิด จุดหมายคือ "นํา" เหมือนกันแต่คนละทางกัน เปรียบเทียบอุปมาว่าถ้าตัดต้นไม้ ใช้อะไรตัด ก็ใช้ขวานตัดใช่มั้ย เครื่องมือในการช่วยตัด ถ้าจะเดินทางไปไกลๆ ตามทางนี้อาศัยอะไร ก็อาศัยรถเป็นเครื่องมือในการช่วยเดินทาง ผู้ที่จะมีความรู้เข้าใจคําสอนพระพุทธเจ้าเหมือนกันก็ใช้คัมภีร์เนตติปกรณ์นี้แหล่ะ เป็นเครื่องมือช่วยนําให้เข้าใจคําสอน หรือคัมภีร์เป็นที่แนะนําเวไนยสัตว์ทั้งหลายไปสู่มรรคผลนิพพาน ซึ่งหมายความว่านักศึกษาทั้งหลายที่ปรารถนามรรคผลนิพพานต้องมาเรียนคัมภีร์นี้นะ แต่บางท่านก็บอก เอ๊ะ..เรียนคัมภีร์นี้คำภีร์เดียวก็พอหรือ ? (ไม่ใช่อย่างนั้นหรอก) คือหมายถึงว่าสําหรับผู้ที่อยากจะขยายพุทธพจน์ย่อให้พิสดารได้ คือไม่คิดอะไรแง่เดียว ไม่มองอะไรสิ่งเดียว ควรศึกษาเนตติปกรณ์ เพราะเนตติปกรณ์เป็นคัมภีร์ที่ไม่ได้มองอะไรแง่เดียว แต่มองรอบด้านจริงๆ โดยการมองรอบทั้งอรรถและพยัญชนะเป็นอย่างดี 

คํานอบน้อมพระพุทธเจ้า


คาถา
ยํ  โลโก ปูชยเต   สโลกปาโล สทา นมสฺสติ จ
ตสฺเสต สาสนวรํ   วิทูหิ เญยฺยํ นรวรสฺส

"ชาวโลกพร้อมทั้งทวยเทพผู้รักษาโลก ย่อมนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐพระองค์ใด ในกาลทุกเมื่อ บัณฑิตทั้งหลายพึงทราบคำสอนอันประเสริฐของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐพระองค์นั้น"

คําว่า "ชาวโลก" ชาวโลกในที่นี้ได้หมายถึงหมู่สัตว์ทั้งหลาย ส่วนคำว่า "ทวยเทพผู้รักษาโลก" ขยายได้เป็น สมมตติเทวดา กับ เทพเทวาที่เป็นอุปติเทวดา ทีนี้ 
    - สมมติเทวดา ก็คือพระราชามหากษัตริย์ทั้งหลาย พระราชามหากษัตริย์ทั้งหลายท่านก็เรียกว่าเป็นผู้รักษาโลก 
คือรักษาหมู่ประชากร 
    - อุปปัตติเทวดา หรืออุปปัตติเทพ ก็คือผู้รักษาโลกสวรรค์ชั้นต่างๆ อย่างชั้นจาตุมหาราชิกา ก็มีท้าวจตุโลกบาลก็เป็นผู้รักษาโลก คือรักษาดูแลสวรรค์ชั้นนั้น รวมถึงรักษาหมู่พวกนาค, ครุฑ, ยักษ์ทั้งหลายแหล่ที่ที่เป็นบริษัทของสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา ถ้าเป็นสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก็มีท้าวสักกเทวราชเป็นผู้รักษาโลก ถ้าสวรรค์ชั้นยามาก็คือพระสุยามเทวาธิราช หรือเรียกว่า พระสุยามะเป็นผู้ดูแลรักษา สวรรค์ชั้นดุสิต ก็มีท้าวสันตุสิตเทวราชเป็นผู้รักษา ถ้าสวรรค์ชั้นนิมมานรตีก็ท้าวสุนิมมิตเป็นผู้รักษา ถ้าสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ก็มีท้าวปรนิมมิตตเทวราช หรือ ท้าววสวัตตีเทวราชเป็นผู้รักษา ถ้าพรหมโลกก็มีท้าวมหาพรหมเป็นผู้รักษา ซึ่งคาถานี้แปลว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายใน ๓ ภพ ทั้งที่เป็นกามภพ รูปภพ และอรูปภพ สัตว์ที่มีปัญญาในภพทั้งหมดนี้ ท่านย่อมนอบน้อมบูชาพระพุทธเจ้า เราอาจมีคำถามว่า ทําไมผู้ที่นอบน้อมต่อพระพุทธเจ้าถึงมีขอบเขตเลยไปถึงอรูปภพด้วย? นั่นก็เพราะว่าพระอริยะที่ไปเกิดในอรูปภพนั้นมีอยู่ ท่านเหล่านั้นก็ยังนอบน้อมต่อพระพุทธเจ้า เพราะฉนั้นผู้ที่นอบน้อมต่อพระพุทธเจ้าเท่ากับว่าโลกในภพภูมิทั้ง ๓ ภพอันนี้หมายถึงผู้มีบุญทั้งหลาย ผู้มีปัญญาทั้งหลายที่เป็นผู้นอบน้อมต่อพระพุทธเจ้า


คำว่า "นอบน้อม" ปกติก็เป็นการนอบน้อมด้วยกายนอบน้อมด้วยวาจาและนอบน้อมด้วยใจ 
    - การนอบน้อมด้วยกาย ก็คือการยกมือไหว้การกราบ หรือแบบไทยก็มีการก้มหัวให้ หลีกทางให้  การแสดงสัมมาคารวะก็เรียกว่านอบน้อมด้วยกาย 
    - การนอมน้อมด้วยวาจา ก็คือกล่าวกล่าวคํานอบน้อม เช่น นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้เป็นอรหันต์ ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง) คํากล่าวเหล่านี้แสดงถึงความนอบน้อมทางวาจา
    - การนอบน้อมทางใจ ก็คือระลึกถึงพระพุทธองค์ ตั้งท่านเอาไว้ในใจเป็นฐานะอันหนักแน่น ทําท่านเป็นที่เคารพเป็นที่ยําเกรง แล้วก็ทําจิตของเราให้อ่อนลงคือลดมานะ, ลดการยึดมั่นถือมั่นและทิฎฐิของตนลงอย่างนี้ ก็เรียกว่านอบน้อมเคารพท่านทางใจ 

ทีนี้โลกกับทั้งเทวโลกเหล่านี้ ไม่ได้นอบน้อมแต่เฉพาะทางกาย ทางวาจา ทางใจอย่างเดียว ยังมีการบูชาอื่นอีก แบ่งออกเป็นอีกสองอย่าง คือ
    ๑. อามิสบูชา คือการบูชาด้วยสิ่งของ มีดอกไม้, ธูปเทียน เป็นต้น เช่นการไปเวียนเทียน เราก็ยกดอกไม้ธูปเทียนเดินเวียนเทียนรอบอุโบสถ หรือเครื่องบูชาที่เป็นวัตถุต่างๆ ก็เรียกว่าอามิสบูชา เช่นบางคนชอบไฟก็บูชาด้วยประทีป บางท่านก็บูชาด้วยข้าว ด้วยน้ํา ก็แล้วแต่ศรัทธาตามแต่วัตถุทั้งหลายที่มีอยู่
    ๒. ปฏิบัติบูชา คือการบูชาด้วยการปฏิบัติตั้งใจจะทําพุทธบูชาด้วยการเช่นตั้งแต่สมาทานเบญจศิลป์ขึ้นไป เรียกว่าการปฏิบัติบูชา เช่น ขอสมาทานศีล ๕ เป็นพุทธบูชา สมาทานศีล ๘ เป็นพุทธบูชาหรือรักษาศีล ๑๐ เป็นพุทธบูชา หรือบวชเป็นสามเณรเป็นพุทธบูชา บวชเป็นพระภิกษุปฏิบัติตามจตุปาริสุทธิศีลเพื่อเป็นพุทธบูชา ตลอดจนถึงสมถ, วิปัสสนาทั้งหลายที่บุคคลเจริญเพื่อทําเป็นพุทธบูชา

การแบ่งออกเป็นบูชาด้วยกายวาจาใจ ไม่ว่าจะเป็นบูชาด้วยอามิส หรือบูชาด้วยการปฏิบัติก็ดี พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญการบูชาด้วยการปฏิบัติมากกว่า แต่จริงๆ แล้วสรรพสัตว์ทั้งหลายแม้แ
ต่สัตว์ในอบายอย่างพญานาคทั้งหลายก็ยังมีการบูชาพระพุทธเจ้า ราชาของนาคก็ทําพุทธบูชา มนุษย์ทั้งหลายก็บูชา พระราชาของหมู่มนุษย์ก็บูชา หรือเทวดาต่างๆรวมถึงผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ทุกชั้นบุคคลเหล่านั้นท่านก็เคารพพระพุทธเจ้า นอบน้อมต่อพระพุทธเจ้า ดังเช่น เกศาธาตุกับโลมาธาตุของพระพุทธเจ้า แม้บนโลกมนุษย์เราจะฌาปนกิจสรีระธาตุขันธ์ของพระพุทธองค์ไปแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่ได้ไหม้หมดไปจริงๆ พระเกศาธาตุกับพระโลมาธาตุได้ถูกเทวดาอัญเชิญไปอยู่ตามจักรวาลต่างๆ เพื่อนำไปเป็นพุทธบูชา พวกพระสรีระธาตุนี้กระจายอยู่ทั่วไปหมด จะมารวมตัวอีกครั้งคือวันที่หมดพุทธเขตนี้ พระธาตุเหล่านั้นจะมารวมตัวกันใหม่อีกครั้งเพื่อที่จะถูกเตโชธาตุเผาอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นในเวลานี้ยังมีพระสรีระธาตุของพระพุทธเจ้าให้เราบูชาได้ มีอยู่ในทุกทิศ ดังนั้นขอให้เราตั้งจิตนอบน้อมต่อพระพุทธเจ้าเถอะ ไหว้ได้ทุกทิศ

พระพุทธเจ้านั้นเป็นบุคคลผู้ประเสริฐ ถามว่าพระองค์นี้ประเสริฐอย่างไร? คือประเสริฐกว่าบรรดาพุทธะทั้งหลาย พุทธะนี่มี ๔ ศักดิ์
           ๑. สัพพัญญูพุทธะ ตรัสรู้โดยชอบโดยถูกต้องด้วยพระองค์เองแล้วมีรัตนะ ๓ เกิดเป็นศาสนา มีการสั่งสอนบุคคลเหล่าอื่นให้สืบทอดศาสนาได้
           ๒. ปัจเจกพุทธะ ตรัสรู้เองแต่ท่านไม่ตั้งศาสนาให้มีการเผยแผ่กว้างขวางออกไป ก็เรียกว่าปัจเจกพุทธะ
           ๓. จตุสัจจพุทธะ พระอรหันต์  คือพุทธะที่บรรลุตามพระพุทธเจ้าได้แล้ว
           ๔. สุตพุทธะ ผู้เป็นพหูสูต พุทธะนี้ขอบเขตคือรู้อริยสัจ รู้อริยสัจโดยการฟังนี้เรียกว่า "สุตพุทธะ"

พระพระพุทธองค์เป็นบุคคลประเภทสัมมาสัมพุทธะ จึงประเสริฐกว่าพุทธะเหล่าอื่นทั้งหมด 
ประเสริฐกว่าสุตตะพุทธะ ประเสริฐกว่าสาวกพุทธะ ประเสริฐกว่าปัจเจกพุทธะ พระพุทธเจ้าจะเสมอกับพระพุทธเจ้าด้วยกันเท่านั้น จึงถือว่าพระพุทธเจ้าเป็นผู้ประเสริฐสูงสุดที่สุดในโลก

ฉะนั้น สรุปว่าพระองค์นี้เป็นที่เคารพสักการะจากเหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ตลอดแม้กระทั่งพระอริยะทั้งหลายท่านก็เคารพพระพุทธเจ้า พระองค์นี้เป็นผู้ที่ประเสริฐที่สุดในโลก อย่างที่จริงๆ แล้วท่านพูดคํานี้ได้ตั้งแต่ท่านมาเกิดเป็นพระโพธิสัตว์ชาติสุดท้าย ท่านก็กล่าวคำว่า "อคโคหมสมิ โลกสส เชฏฺโฐ เสฏโฐหมสฺมิ อยมนฺติมา เม ชาติ นตฺถิทานิ ปุนพฺภโว" แปลว่า "เราเป็นผู้เลิศของโลก เป็นผู้ใหญ่ที่สุดของโลก เป็นผู้ประเสริฐที่สุดของโลก นี้เป็นการเกิดครั้งสุดท้าย ไม่มีการเกิดใหม่อีกต่อไป"

ทีนี้บัณฑิตเพิงทราบคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ คําสอน ในที่นี้หมายถึงพระธรรม คําสอนอันประเสริฐที่พระพุทธเจ้าสอน ว่าโดยย่อๆรวมๆ คําสอนของพระพุทธเจ้าสอนเพื่อประโยชน์ในโลกนี้ ๑ สอนเพื่อประโยชน์ของโลกหน้า ๑ สอนเพื่อประโยชน์อย่างยิ่งอีก ๑ พระไตรปิฏกคือคําสอนด้วยประโยชน์ ๓ ประโยชน์โลกนี้ประโยชน์โลกหน้าและประโยชน์อย่างยิ่งถามว่าประโยชน์โลกนี้ไม่ใช่ลักษณะกอบโกยแต่เป็นคําสอนลักษณะว่าทําอะไรให้เป็นประโยชน์ต่อโลกนี้และไม่ทิ้งประโยชน์ของโลกหน้า ถึงแสวงหาประโยชน์โลกหน้าก็ต้องไม่ลืมประโยชน์อันสูงสุดด้วย ทั้งหมดเป็นการชี้ประโยชน์โลกนี้ที่ไม่ขัดกับประโยชน์โลกหน้า ชี้ประโยชน์ของโลกหน้าโดยมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนคือเพื่อประโยชน์อย่างยิ่ง อันนี้เป็นคําสอนในพระไตรปิฎก ว่าโดยย่อย่อคือสอนด้วยประโยชน์ ๓ ประโยชน์โลกนี้ประโยชน์โลกหน้าและประโยชน์อย่างยิ่ง

แล้วพระพุทธองค์สอนพร้อมทั้งเหตุและผล เช่นสอนเรื่องกรรมและผลของกรรม แยกกุศลและอกุศลทั้งวิบากของกุศลและวิบากของอกุศล ถ้าแยกตามวิบากของกุศล, อกุศลเ ท่ากับว่าพระอภิธรรมปิฏกมาหมด "กุสะลา ธัมมา อะกุสะลา ธัมมา อัพยากะตา ธัมมา ฯ"  แต่ว่าโดยรวบยอดแล้วคําสอนของพระองค์ก็ "สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม" พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วแสดงไว้ดีแล้วทั้งปริยัติปฏิบัติปฏิเวธ พระองค์ตรัสไว้ดีหมดเลย "สันทิฏฐิโก" แปลว่า เป็นธรรมะที่ผู้ศึกษา และปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง "อกาลิโก" แปลว่า เป็นธรรมะที่ปฏิบัติได้และให้ผลได้ไม่จำกัดกาลเวลา ผู้ที่ปฏิบัติจะเข้าถึงโลกุตระมัคคฺและให้ผลโดยไม่มีระหว่างขั้น "โอปนยิโก" แปลว่า เป็นธรรมะ ที่ควรน้อมน้อมเข้ามาใส่ตัว คือน้อมจิตของตนไปเพื่อบรรลุมรรคน้อมจิตไปเพื่อแทงตลอดทั้งพระนิพพาน "เอหิปัสสิโก" เพราะว่าสิ่งเหล่านี้เป็นของดีที่สุดเพราะฉะนั้นเรียกให้คนอื่นดูได้ แต่ใครล่ะที่ดูแล้วจะรู้ตามได้ ? "ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ" แปลว่า เป็นธรรมะ ที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน วิญญูชนคือ อุคฆฏิตัญญู ๑ ผู้เข้าใจได้ฉับพลัน   วิปจิตัญญู ๑ ผู้อาจรู้ธรรมต่อเมื่อท่านอธิบายความแห่งหัวข้อนั้น   เนยยะ ๑ ผู้ที่พอจะแนะนำได้ 

ทีนี้ถามว่าผู้ที่รู้ทราบตัวนั้นเนี่ยแปลว่ารู้คําสอนถามว่าผู้ใดเป็นผู้รู้คําสอนของพระพุทธเจ้าได้ชัดเจน ?
คํานี้หมายถึงพระสาวกอย่างเดียว คนที่จะทราบคําสอนได้ดี พระพุทธเจ้าสอนอริยสัจ ผู้ที่เห็นอริยสัจก็คือพระสาวก เพราะฉะนั้นในคําว่า "ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลกนอบน้อมพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ" ก็คือในความสูงสุดของพระพุทธเจ้า บัณฑิตนั้นหมายถึงพระสงฆ์สาวกทั้งหลายเป็นผู้ทราบคําสอนอันประเสริฐของพระพุทธเจ้า ถ้าแบ่งเป็นกลุ่มๆ ก็คือ
     ๑. ธรรมะที่ควรรู้ยิ่ง
     ๒. ธรรมะที่ควรกําหนดรู้
     ๓. ธรรมะที่ควรละ
     ๔. ธรรมะที่ควรเจริญ

ธรรมะที่ควรทําให้แจ้งเนี่ยคือคําสอนของพระพุทธเจ้าก็จะแบ่งเป็นกลุ่มลักษณะนี้ พระ
สาวกทั้งหลายก็ทํากิจรอบรู้ด้วยปริญญากิจตามนี้ ปหานะกิจได้จริงแทงตลอดนิโรจน์ได้จริงแล้วก็เจริญอริยมรรคคือโสดาปัตติมรรคได้จริง เพราะฉะนั้นท่านเหล่านั้นจึงเป็นผู้ทราบคําสอนของพระพุทธเจ้าได้ดี ส่วนบุคคลที่เหลือนั้นก็ได้ฟังคําสอนของพระพุทธเจ้าแต่ถ้าใช้คําว่าได้ฟังแล้วก็ถือว่ามีบุญมากเลยนะ เพราะว่าการฟังนี่แหละพระนนท์ท่านบอกว่า "เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์" เราจะสําเร็จหรือไม่ก็ตาม อยู่ที่ฟังแล้วก็ทํากิจของสาวกหรือไม่ ของเราได้ฟังกับพระสาวกท่านฟังต่างกันตรงไหน? ต่างกันตรงว่าพระสาวกท่านฟังแล้วท่านทํากิจของการฟังด้วย เช่นปริญญากิจท่านก็ทํา ปหานะกิจท่านก็ทํา กิจในการทําให้แจ้งท่านก็ทํา กิจในการเจริญท่านก็ทํา นั่นคือพระสาวก สวนเรานี่ก็ได้ยินได้ฟังถ้าใครทํากิจก็อนุโมทนาด้วย ส่วนใครยังไม่ทําถ้ารู้ตัวก็ขออนุโมทนาอีกเหมือนกัน เพราะว่าคนที่เป็นพาลรู้ว่าเป็นพาลก็พอจะเป็นบัณฑิตได้บ้าง แต่ถ้าใครเป็นพาลแล้วก็ยังไม่รู้ตัวเองเลยมันก็พาลของแท้

ทีนี้คําสอนอันประเสริฐของพระพุทธเจ้าเป็นคําสอนที่บัณฑิตจะพึงรู้ได้ ส่วนผู้ที่ไม่ได้เป็นบัณฑิตรู้ตามได้ยาก และตามอรรถกถาของอิติวุตตกะเป็นต้น ก็กล่าวว่า เป็นคําสอนที่ที่ลึกซึ้งผู้ไม่มีบุญ พึ่งได้ยาก ท่านว่างั้น ถามว่าเหมือนอะไร? เหมือนกับทะเลนี้เอาสัตว์บกไปอาศัยอยู่ในทะเลได้ไหม (ไม่ได้) จะต้องเป็นที่อาศัยของสัตว์บางประเภท ฉันใดก็ตามพระศาสนานี้ก็เหมือนกัน ผู้ที่จะศึกษาเข้าใจได้ก็นับว่าเป็นผู้มีบุญ แต่ถ้าพูดอย่างนี้แล้ว เอ..เรามีบุญหรือเราไม่มีบุญ เราก็ไม่ควรคิดว่าเรามีหรือเราไม่มี แต่ควรคิดว่าเราจะทําบุญ เพราะถ้าคิดว่าได้ทําบุญ เราก็จะได้มีกําลังใจเจริญสั่งสมบุญต่อไป แต่ถ้าเราคิดว่าเราบุญน้อย ก็จะกลายเป็นโทสะไปอีกใช่ไหม โทมนัสอีก หนักๆเข้าเราไม่มีบุญก็อย่าไปรู้อย่าไปศึกษามันซะเลย อีกพวกหนึ่งก็บอกเราเนี่ยรู้แล้ว พอคิดว่าตัวรู้แล้วก็เลยไม่เอาอีกเหมือนกันเลยไม่เรียน แต่เราก็ควรคิดว่าเราจะทําบุญสร้างบุญก่อน คือคําสอนพระพุทธเจ้าเนี่ยท่านก็สอนไว้ให้พวกเรานั่นแหละเรียน ก็เพื่อประโยชน์อนุเคราะห์คนเช่นเรานั้นแหละ แต่ทีนี้ถ้าเราไม่รับคำสอนเลยก็ ๔ อสงไขย แสนมหากัปก็น่าเสียดายมากอะนะ ที่พระพุทธเจ้าสร้างบารมีมานี้ไม่มีประโยชน์อะไรเลยสําหรับเรา ฉะนั้นใน ๔ บรรทัดแรกเป็นคาถากล่าวถึงความประเสริฐของพระพุทธเจ้า ความประเสริฐของคําสอนและพระสาวกทั้งหลาย นั้นจึงเป็นคาถานอบน้อมพระรัตนตรัย

ส่วนประโยคต่อไปว่า ศาสนาทั้ง ๓ ประการเรียกว่าคําสอนอันประเสริฐ ในบรรดา ๓ ประการเหล่านั้น ปริยัติศาสนาชื่อว่าสูตร สูตรมี ๑๒ บท สูตรทั้งปวงนั้นจัดเป็นพยัญชนะบทคือหมายถึงศัพท์และอรรถบทคืออรรถ ทั้งสองอย่างนั้นพึงทราบโดยสังเกตโดยย่อว่าศัพท์เนี่ยคืออะไร อรรถนี่คืออะไร คือในบรรดาคําสอนของพระพุทธเจ้า สิ่งที่เราจะศึกษาได้ตอนนี้ คือปริยัติ ส่วนปฏิบัติเป็นเรื่องเฉพาะตัว ส่วนปฏิเวธก็ยังไม่ถึง เพราะฉะนั้นสิ่งที่ควรมาสนใจคือปริยัติศาสนา ถามว่าเอ๊ะนี่แค่ปริยัติ เอ่อ..บางท่านก็นึกดูถูกหรือตําหนิว่าแค่ปริยัติ จริงๆ อย่าไปว่าแค่ปริยัติ เพราะคําว่าปริยัติเนี่ยหมายถึงองค์พระพุทธเจ้าเลย หมายถึงพระพุทธเจ้านี้อย่าไปคิดว่าเป็นของเล็กอย่าไปคิดว่าเป็นของน้อย จริงแล้วเป็นของประเสริฐเพราะฉะนั้นในอรรถกถาฎีกาหรือโบราณาจารย์ทั้งหลายท่านกล่าวว่า ๑ พระธรรมขันธ์เท่ากับพระพุทธเจ้า ๑ พระองค์ เพราะแต่ละพระธรรมขันธ์ช่วยทําให้บุคคลปฏิบัติตามบรรลุอริยสัจได้ เพราะฉะนั้น ๑ พระธรรมขันธ์เทียบเท่ากับ ๑ พระพุทธเจ้าเลย เพราะฉะนั้นถ้าหากว่าได้ศึกษาเรียนรู้ รู้คุณของปริยัติธรรมแม้แต่สูตรเดียวก็นับว่ามีประโยชน์มากที่จะช่วยให้เราพ้นทุกข์ ปริยัตินี้ถือว่าเป็นเบื้องต้นแห่งการปฏิบัติ ถ้าตั้งคําถามว่าระหว่างปริยัติกับปฏิบัติอันไหนเป็นอายุของศาสนา ? ตอบตรงๆว่า ปริยัติเป็นอายุของศาสนา ก็เปรียบเทียบอุปมาเหมือนว่าถ้ายังมีสระน้ํา มีรั้วรอบขอบชิด มีคันขอบอย่างดี ถ้ามีฝนตกลงมาน้ำยังขังได้อยู่ใช่ไหม ถ้ามีน้ําขังอยู่เนี่ยคิดว่าจะมีบัวบานได้ไหม? (ได้)

ปริยัติคําสอนก็เหมือนกับขอบคันที่เอาไว้กักน้ํา เพราะฉะนั้นผู้ที่มาศึกษาเรียนรู้พระธรรมก็เหมือนกับถ้ามีน้ําขังเต็มในบ่อ บัวก็ยังพอมีหวังว่าจะบานได้ บัวบานก็เหมือนกับการตรัสรู้อริยสัจนั่นแหละเพราะฉะนั้นปริยัตินี้จึงถือว่าเป็นเบื้องต้น เป็นเบื้องบาทแล้วก็เป็นอายุของพระศาสนา พระศาสนาที่เสื่อมนั่นก็เพราะปริยัติเสื่อม 
ปริยัตินี้จะเรียกว่าเป็นองค์พระพุทธเจ้าก็ได้ ไม่ผิด เพราะว่าถ้าพระพุทธเจ้ามีพระชนม์อยู่พระองค์ก็แสดงอย่างนี้แหละ ทั้งเบื้องต้น ทั้งเบื้องปลาย พระองค์ก็สอนอย่างเดียวกัน แรกตรัสรู้ยังไงใกล้จะนิพพานก็สอนอย่างนั้น แต่อาจจะใช้พยัญชนะต่างกันบ้าง แต่เนื้อหาไม่มีความแตกต่างกัน แรกตรัสรู้ก็ประกาศอริยสัจ ใกล้จะปรินิพพานก็ประกาศอริยสัจ แรกตรัสรู้พระองค์แสดงธรรมจักรก็ประกาศอริยสัจ ตอนปรินิพพานแสดงความไม่ประมาท ก็ชื่อว่าประกาศอริยสัจ คือมรรคสัจ ความไม่ประมาทเป็นชื่อของการไม่ปราศจากสติ ก็คือมรรคสัจนั่นเอง เพราะฉะนั้นก็ไม่ได้มีพ้นอริยสัจอะไร ทีนี้ใน คําสอนว่าด้วยปริยัติศาสนาแบ่งออกเป็น ๒ คือ ๑. โดยอรรถ ๒. โดยพยัญชนะ 
ทีนี้ในอรรถกับพยัญชนะก็แบ่งเป็นอย่างละ ๖ อรรถมี ๖ พยัญชนะมี ๖ ซึ่งจะได้กล่าวโดยละเอียดอีกครั้ง


คู่มือศึกษาพระไตรปิฎก คัมภีร์เนตติปกรณ์

เนตติปกรณ์” เป็นคัมภีร์ที่สอนการขยายความพุทธพจน์ ขยายในสิ่งที่พระพุทธองค์ตรัสสอน คำภีร์นี้แต่งขึ้นโดยพระมหากัจจายนะ ผู้เป็นเลิศในการอธิบายความย่อให้พิศดาร โดยปกติของเวไนยสัตว์ที่เป็นวิปัญจิตัญญู เมื่อได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์แล้วจะไม่สามารถเข้าใจในอรรถและพยัญชนะได้ทั้งหมด เช่น ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงแสดงภัทเทกรัตตสูตรโดยย่อ แล้วเสด็จเข้าสู่พระวิหารที่ประทับ พระภิกษุทั้งหลาย ไม่มีโอกาสได้กราบทูลถามเนื้อความที่ตรัสไว้แล้วโดยย่อให้เข้าใจได้ จึงพากันเข้าไปหาพระมหากัจจายนะ กราบอาราธนาให้ท่านได้เมตตาอธิบายขยายความให้ฟัง พระเถระจึงได้อธิบายขยายความให้ฟังอย่างพิสดาร แล้วกล่าวแนะนำว่า “ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าเข้าใจความหมายแห่งพระสูตรนี้ตามที่อธิบายมานี้ แต่ถ้าท่านทั้งหลายมีความต้องการจะทราบให้แน่ชัดก็จงไปกราบทูลถามพระผู้มีพระภาค เมื่อพระองค์ทรงแก้อย่างไร ก็จงจำไว้อย่างนั้นเถิด” พระภิกษุเหล่านั้นพากันลาพระเถระแล้ว เข้าไปกราบทูลเนื้อความที่พระมหากัจจายนะอธิบายไว้ให้พระพุทธองค์ทรงสดับ

เมื่อพระพุทธองค์ทรงสดับแล้วก็ตรัสสรรเสริญพระเถระว่า “ภิกษุทั้งหลาย พระมหากัจจายนะ เป็นผู้มีปัญญา เนื้อความนั้นถ้าพวกเธอถามตถาคต แม้ตถาคตก็จะอธิบายอย่างนั้น เช่นกัน ขอพวกเธอจงจำเนื้อความนั้นไว้เถิด” เมื่อครั้งพระพุทธองค์ ประทับอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร ทรงตั้งพระมหากัจจายนะไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในฝ่าย ผู้อธิบายเนื้อความย่อให้พิสดาร

 
คัมภีร์นี้แต่งโดย พระมหากัจจายนะ ชื่อว่า เนตติปกรณ์ คำว่า "เนตติ" เพราะสามารถนำเวไนยสัตว์ทั้งหลายไปสู่มรรคผลนิพพาน หรือเป็นเครื่องแนะนำ หรือเป็นที่แนะนำเวไนยสัตว์ทั้งหลายไปสู่มรรคผลนิพพาน ดังมีวิเคราะห์ว่า "นยตีติ เนตติ เนตฺติ" แปลว่า "คัมภีร์ใดย่อมนำเวไนยสัตว์ทั้งหลายไปสู่มรรคผลนิพพาน เพราะเหตุนั้น คัมภีร์นั้น ชื่อว่า เนตติหรือ "นยนฺติ เอตายาติ เนตฺติ" แปลว่า "บุคคลผู้แสดงธรรมทั้งหลายย่อมแนะนำเวไนยบุคคลด้วยคัมภีร์นี้ เพราะเหตุนั้น คัมภีร์นั้น ชื่อว่า เนตติหรือ "นียนฺติ เอตฺถาติ เนตฺติ" แปลว่า "เวไนยบุคคลทั้งหลายอันบุคคลผู้แสดงธรรมย่อมแนะนำคัมภีร์นี้ เพราะเหตุนั้น คัมภีร์นั้น ชื่อว่า เนตติ"

🌀 คัมภีร์เนติปกรณ์ เรียบเรียงตามเทศนาธรรมของ พระอาจารย์ สมบัติ นันทิโก

คำนอบน้อมพระพุทธเจ้า
๑. 
สังคหวาระ คือการสรุปใจความของคัมภีร์ (คำนำ)
๒. อุทเทสวาระ คือหัวข้อของเนื้อหาโดยสรุป (สารบัญ)
๓. นิทเทสวาระ คือการขยายพุทธพจน์ แต่ขยายแบบย่อ
๔. ปฏินิทเทสวาระ 
คือการขยายพุทธพจน์ แต่ขยายแบบพิสดาร

คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอนที่ ๑๓ วงศ์พระโกณฑัญญะพุทธเจ้า

🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก


วงศ์พระโกณฑัญญะพุทธเจ้า

พระโกณฑัญญะพุทธเจ้า ประสูติเป็นโกณฑัญญะราชกุมาร ในราชวงศ์กษัตริย์แห่งรัมมวดีนคร พระราชบิดาทรงพระนามว่าพระเจ้าสุนันทะ และพระราชมารดาทรงพระนามว่าพระนางสุชาดา โกณฑัญญะราชกุมารทรงเกษมสำราญอยู่ ๑๐,๐๐๐ ปี ในปราสาท ๓ หลัง ชื่อ รุจิปราสาท สุรุจิปราสาท และสุภะปราสาท มีพระมเหสีพระนามว่า รุจิเทวี และทรงมีสนมนารีแวดล้อมอีก ๓๐๐,๐๐๐ นาง วันหนึ่ง โกณฑัญญะราชกุมารทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้งสี่ คือ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และนักบวช พระองค์จึงมีพระทัยน้อมไปทางบรรพชา เมื่อพระนางรุจิเทวีประสูติพระโอรส พระนามว่า วิชิตเสนะกุมาร จึงได้เสด็จออกบรรพชาด้วยราชรถเทียมม้า มีผู้ออกบรรพชาตามจำนวน ๑๐ โกฏิ


โกณฑัญญะราชกุมารบำเพ็ญความเพียรอยู่ ณ บ้านสุนันทคาม เป็นเวลา ๑๐ เดือน จนถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ทรงรับข้าวมธุปายาสจากนางยโสธราธิดาเศรษฐี และรับหญ้า ๘ กำจากสุนันทะอาชีวก ปูลาดใต้ต้นสาละกัลยาณี (ต้นขานาง) เป็นโพธิบัลลังก์ ทรงชนะพระยามารและพลยักษ์นับอสงไขย และได้ตรัสรู้เป็นพระวิริยาธิกะสัมมาสัมพุทธเจ้าในคืนนั้น พระโกณฑัญญะพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา แก่พระภิกษุผู้บรรพชาตามจำนวน ๑๐ โกฏิ ที่เทววัน กรุงอรุนธวดี ทำให้พระภิกษุ ๑๐ โกฏินั้นสำเร็จเป็นพระอริยบุคล


ตอนที่ ๑๓ (ความยาว ๒.๒๙ ชม.)






คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอนที่ ๑๒ ศีลบารมี - ขันติบารมี - สัจจะบารมี

 🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

มหาบุรุษผู้ประสงค์จะตกแต่งสัตว์ทั้งหลายด้วยเครื่องประดับ คือศีลของพระสัพพัญญู ควรชำระศีลของตนตั้งแต่ต้นก่อน อนึ่ง ศีลย่อมบริสุทธิ์โดยอาการ ๔ อย่าง คือโดยความบริสุทธิ์แห่งอัธยาศัย ๑ โดยการสมาทาน ๑ โดยไม่ก้าวล่วง ๑ และโดยทำให้เป็นปกติเมื่อมีการก้าวล่วง ๑ จริงอยู่ บางคนมีตนเป็นใหญ่ เพราะอัธยาศัยบริสุทธิ์ เกลียดบาปยังหิริให้ปรากฏในภายใน แล้วมีสมาจารบริสุทธิ์ด้วยดี อนึ่ง บางคนเมื่อมีการสมาทาน ถือโลกเป็นใหญ่ สะดุ้งต่อบาปยังโอตตัปปะให้ปรากฏ เป็นผู้มีสมาจารบริสุทธิ์ด้วยดี

ด้วยประการฉะนี้ คนหล่านั้นย่อมตั้งอยู่ในศีล เพราะไม่ล่วงแม้ทั้งสองอย่าง




ตอนที่ ๑๒ 
 
(ความยาว ๑.๕๘ชม.)

คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอนที่ ๙-๑๑ ความปรารถนาของท่านสุเมธ


🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก


พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกร เสด็จมาประทับยืนที่เบื้องศีรษะของสุเมธดาบส ทรงลืมพระเนตรทั้งสองอันสมบูรณ์ด้วยประสาทมีวรรณะ ๕ ชนิด ประหนึ่งว่าเปิดอยู่ซึ่งสีหบัญชรแก้วมณี ทอดพระเนตรเห็นสุเมธดาบสนอนบนหลังเปือกตมทรงดำริว่า "ดาบสนี้ กระทำความปรารถนาอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า ความปรารถนาของเขาจักสำเร็จหรือไม่หนอ ” ทรงส่งพระอนาคตังสญาณ ใคร่ครวญอยู่ ทรงทราบว่า “ ล่วงไป ๔ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปนับแต่นี้เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้านามว่าโคดม ” ยังทรงประทับยืนอยู่นั่นแหละแล้วทรงพยากรณ์ด้วยพระดำรัสว่า “ พวกท่านจงดูดาบสผู้มีตบะกล้านี้ ซึ่งนอนอยู่บนหลังเปือกตม ”
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ เห็นแล้วพระเจ้าข้า ”
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกรจึงตรัสว่า “ ดาบสนี้กระทำความปรารถนายิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า แล้วความปรารถนาของเขาจักสำเร็จ ในที่สุดแห่ง ๔ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปนับแต่นี้เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้านามว่า โคดม

ตอนที่ ๙ (ความยาว ๑.๔๒ ชม.)


ตอนที่ ๑๐ 
 (ความยาว ๒.๑๘ ชม.)


ตอนที่ ๑๑  (ความยาว ๑.๔๑ชม.)

-----------------------------------------------------------

👉👉 ตอนต่อไป
-----------------------------------------------------------




คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอนที่ ๘ วงศ์ของพระทีปังกรพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๑

 🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

ในคัมภีร์พุทธวงศ์ บทพุทธปกิรณกกัณฑ์ กล่าวถึงประวัติของพระทีปังกรพุทธเจ้าไว้ว่า เมื่อศาสนาพระสรณังกรพุทธเจ้าอันตรธานไป ในสารมัณฑกัปเดียวกัน มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติเป็นองค์ที่ ๔ และเป็นองค์สุดท้ายของกัปนั้น พระนามว่า "ทีปังกร" พระทีปังกรพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ในโลกเมื่อ ๔ อสงไขยแสนกัปที่แล้ว ถือเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์แรกในพุทธวงศ์ของพระโคตมพุทธเจ้า

ในอดีตกาลมีพระพุทธเจ้าพระนามว่า 
ทีปังกร ๒ พระองค์ จึงเรียกพระองค์แรกว่าพระปุราณทีปังกร (ปุราณ แปลว่า เก่า) และเรียกพระองค์หลังว่าพระปัจฉิมทีปังกร (ปัจฉัม แปลว่า หลัง)

ตอนที่ ๘ (ความยาว ๑.๒๐ ชม.)


-----------------------------------------------------------
👉👉 ตอนต่อไป
-----------------------------------------------------------

คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอนที่ ๗ อธิบายอรรถกถา รัตนจังกมนกัณฑ์


🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

ท่านพระสารีบุตรผู้เป็นธรรมเสนาบดี แม่ทัพธรรม ผู้เป็นเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าเหล่าพุทธสาวกทางปัญญา ได้ทูลถามพระศาสดาผู้เป็นพระธรรมราชาจอมทัพธรรมผู้ทรงถึงฝั่ง ที่หาขอบเขตมิได้ ผู้ไร้มลทินถึงพุทธวงศ์ใด ท่ามกลางหมู่พระประยูรญาติ. พุทธวงศ์ใด อันพระตถาคต วงศ์ผู้ตรัสรู้ดี วงศ์พระผู้บริสุทธิ์ดี ผู้มีสมาธิเป็นธรรมเครื่องอยู่ ผู้เป็นนายกพิเศษ ทรงเปิดโอกาสประกาศไว้แล้ว ณ ท่ามกลางหมู่พระประยูรญาตินี้

เหล่าโอรสพระสุคต ไม่ทำลำดับบาลี และอรรถแห่งบาลีให้เสื่อมเสีย ช่วยกันรวบรวมตามที่ศึกษาสดับฟังสืบต่อเรื่องกันมา จนตราบเท่าปัจจุบันนี้

ตอนที่ ๗ (ความยาว ๒.๓๒ ชม.)



-----------------------------------------------------------
👉👉 ตอนต่อไป
-----------------------------------------------------------


คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอนที่ ๖ เสด็จถึงราชคฤห์ ทรงโปรดพระเจ้าพิมพิสาร

🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก


หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมโปรดชฎิล ๓ พี่น้องกับบริวาร ๑,๐๐๐ องค์แล้วได้เสด็จพร้อมด้วยหมู่ภิกษุผู้เป็นอดีตชฎิล ๑,๐๐๓ รูปมาถึงเมืองราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารได้ยินชื่อเสียงของพระพุทธองค์มาก่อนแล้วว่าเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ จึงพร้อมด้วยพราหมณ์คหบดีชาวมคธ ๑๒ นหุต (๑๒ หมื่น) เสด็จมาเข้าเฝ้า หลังจากที่พระพุทธองค์ได้เปลื้องความสงสัยของชาวเมืองราชคฤห์ที่คิดว่า ระหว่างพระพุทธเจ้ากับชฎิลนั้นใครเป็นอาจารย์ของใคร ด้วยการตรัสเชื้อเชิญให้พระอุรุเวลกัสสปะผู้เป็นหัวหน้าของอดีตชฎิล แสดงถึงเหตุผลที่ทำให้เลิกบูชาไฟ เมื่อชาวราชคฤห์สิ้นความสงสัยแล้ว พระพุทธองค์จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนา คือ อนุปุพพิกถาและอริยสัจ ๔ เมื่อจบพระธรรมเทศนา พระเจ้าพิมพิสารพร้อมด้วยบริวารอีก ๑๑ นหุตได้บรรลุอริยผล ส่วนอีก ๑ นหุตได้แสดงตนเป็นอุบาสก

ตอนที่ ๖ (ความยาว ๕๕ นาที)



-----------------------------------------------------------

👉👉 ตอนต่อไป
-----------------------------------------------------------





คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอนที่ ๕ ทรงโปรดชฏิล ๓ พี่น้อง แสดงอาทิตตปริยายสูตร

🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

อาทิตตปริยายสูตร เป็นธรรมที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมแก่หมู่ภิกษุชฎิล ทั้ง ๑,๐๐๓ รูป ขณะที่พระบรมศาสดา ทรงแสดงพระธรรมเทศนาอยู่นั้น ภิกษุชฎิล ทั้ง ๑,๐๐๓ รูป ส่งกระแสจิตไปตามวาระแห่งพระธรรมเทศนา จนสามารถหลุดพ้นจากกิเลสาสวะทั้งปวง สำเร็จป็นพระอรหันต์ขีณาสพด้วยกันทั้งหมด และพระภิกษุชฏิลทั้งหมดนั้นก็ได้เป็นกำลังสำคัญในการประกาศพระพุทธศาสนาที่เมืองราชคฤห์ เมืองหลวงแห่งแคว้นมคธ ทำให้แคว้นมคธเป็นฐานสำคัญที่ตั้งมั่นในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในเวลาต่อมา

อาทิตตปริยายสูตร เป็นพระสูตรที่มีเนื้อหาแสดงถึงความรุ่มร้อนของจิตใจ ด้วยอำนาจของกิเลส เปรียบได้กับความร้อนของไฟที่ลุกโพลงอยู่ ดังนั้นจึงได้ชื่อว่า อาทิตตปริยายสูตร แสดงให้เห็นว่าความร้อนที่แท้จริงคือความร้อนจากภายใน 

ตอนที่ ๕ (ความยาว ๑.๒๖ ชม.)



-----------------------------------------------------------

👉👉 ตอนต่อไป
-----------------------------------------------------------





คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอนที่ ๔ ทรงโปรดพระยสกุลบุตร

🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

พระยสเถระ หรือ พระยสะ เป็นพระภิกษุสาวกเอตทัคคะของพระพุทธเจ้า นับเนื่องในพระอสีติมหาสาวก ๘๐ องค์สำคัญในพระพุทธศาสนาในสมัยต้นพุทธกาล

พระยสเถระ เป็นพระสงฆ์กลุ่มแรก ๆ ในพระพุทธศาสนา โดยท่านเป็นพระสงฆ์สาวกองค์ที่ ๖ ในพระพุทธศาสนา เมื่อท่านบวชแล้วได้เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการชักชวนสหายของท่านกว่า ๕๔ คนให้เข้ามาบวชช่วยเผยแพร่พระพุทธศาสนาในช่วงต้นพุทธกาล

ตอนที่ ๔ (ความยาว ๑.๓๐ ชม.)



-----------------------------------------------------------

👉👉 ตอนต่อไป
-----------------------------------------------------------




คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอนที่ ๓ ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร

🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

ธัมมจักกัปปวัตนสูตรเป็นปฐมเทศนา เทศนากัณฑ์แรก ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสธัมมจักกัปปวัตนสูตรนี้อยู่ ดวงตาเห็นธรรม ปราศจากธุลีปราศจากมลทิน ก็ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะ นับเป็นพระสงฆ์สาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนา วันนั้นเป็นวันเพ็ญกลางเดือนอาสาฬหะหรือเดือน ๘ เป็นวันที่พระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ บังเกิดขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก คือมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ครบบริบูรณ์

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร มีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธส่วนที่สุดสองอย่าง และเสนอแนวทางดำเนินชีวิตโดยทางสายกลาง เพื่อบรรลุถึงอริยสัจ ๔ 

อนัตตลักขณสูตร
อนัตตลักขณสูตร คือพระสูตรที่แสดงลักษณะ คือ เครื่องกำหนดหมายว่าเป็นอนัตตา เป็นพระสูตรที่มีความสำคัญที่สุดพระสูตรหนึ่ง เนื่องจากหลังจากที่พระโคตมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงพระสูตรนี้แล้ว ได้บังเกิดพระอรหันต์ในพระบวรพุทธศาสนา ๕ องค์ รวมพระพุทธองค์เป็น ๖ องค์ ซึ่งพระสูตรนี้ มีใจความเกี่ยวกับ ความไม่ใช่ตัวตนของ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ 

ตอนที่ ๓ (ความยาว ๑.๔๗ ชม.)


-----------------------------------------------------------

👉👉 ตอนต่อไป
-----------------------------------------------------------


คัมภีร์พุทธวงศ์ ตอน ๑-๒ รัตนจังกมนกัณฑ์/ แสดงพุทธวงศ์/ อัพภันตรนิทาน

🔅 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก

พุทธวงศ์ หมายถึง สายของพระพุทธเจ้า พระโคตมพุทธเจ้าได้ตรัสเรื่องพุทธวงศ์ไว้คราวประทับ ณ นิโครธาราม ระหว่างการเสด็จนิวัตกรุงกบิลพัสดุ์ (หลังตรัสรู้) การสืบสายพุทธวงศ์ไม่ได้มาจากการสืบสายโลหิตหรือการชิงอำนาจปราบดาภิเษกอย่างการสืบราชสมบัติ แต่มาจากสั่งสมบำเพ็ญบารมีและรับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าในอดีต

ในการสังคายนาครั้งที่ ๑ ในศาสนาพุทธ พระอรหันต์สาวกที่ร่วมสังคายนาได้จัดให้เรื่อง "พุทธวงศ์" นี้เป็นคัมภีร์หนึ่งในหมวดอปทาน(การเล่าประวัติ) ขุททกนิกาย พระสุตตันตปิฎกในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ศาสนาพุทธเชื่อว่าพระพุทธเจ้าในอดีตมีจำนวนมากมายนับไม่ถ้วน แต่พระพุทธเจ้าในอดีตที่พระโคตมพุทธเจ้าทรงนับเข้าในพุทธวงศ์ของพระองค์มีอยู่ ๒๔ พระองค์ เพราะ ๒๔ พระองค์นี้เป็นผู้ประทานพยากรณ์ว่าพระโคตมโพธิสัตว์จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต เมื่อรวมพระโคตมพุทธเจ้าด้วย จึงมีพระพุทธเจ้าทั้งสิ้น ๒๕ พระองค์ในพุทธวงศ์

ตอนที่ ๑ (ความยาว ๓.๒๗ ชม.)


ตอนที่ ๒
  (ความยาว ๑.๓๕ ชม.)


-----------------------------------------------------------
👉👉 ตอนต่อไป
-----------------------------------------------------------

จริยาปิฎก หมวดคาถา

 🔆 ธรรมบรรยายโดย พระอาจารย์สมบัติ นันทิโก


🙏  หมวดคาถา

จริยาปิฎก ตอนที่ ๑๔ (ความยาว ๓.๑๔ ชั่วโมง) ดาวโหลด
สโมธานกถา
อุททานคาถา
ปกิณณกกถา บารมี๑๖ข้อ
ปกิณณกกถา อรรถ 
ปกิณณกกถา มีกี่อย่าง
ปกิณณกกถา ลำดับของบารมี

===========================================

จริยาปิฎก ตอนที่ ๑๕ (ความยาว ๑.๕๗ ชั่วโมง) ดาวโหลด
ปกิณณกกถา ลักขณาทิจตุกะ

===========================================

จริยาปิฎก ตอนที่ ๑๖ (ความยาว ๓.๒๘ ชั่วโมง) ดาวโหลด
ปกิณณกกถา อะไรเป็นปัจจัยแห่งบารมี
ปกิณณกกถา อภินิหาร๘
ปกิณณกกถา ผู้มีฉันทะใหญ่
ปกิณณกกถา ปัจจัย๔เหตุ๔แห่งอภินิหาร
ปกิณณกกถา เหตุ๔แห่งอภินิหาร
ปกิณณกกถา  มหากรุณา พระปัญญา
ปกิณณกกถา พุทธภูมิ๔
ปกิณณกกถา อัธยาศัย ๖
ปกิณณกกถา อัธยาศัยในบารมี๑๐

===========================================

จริยาปิฎก ตอนที่ ๑๗ (ความยาว ๓.๔๘ ชั่วโมง) ดาวโหลด
ปกิณณกกถา อานิสงส์ โทษของทาน
ปกิณณกกถา อานิสงส์ โทษของศีล
ปกิณณกกถา อานิสงส์ โทษ เนกขัมมะ ปัญญา
ปกิณณกกถา อานิสงส์ โทษ วิริยะ ขันติ
ปกิณณกกถา อานิสงส์ โทษ สัจจะ อธิษฐาน
ปกิณณกกถา  อานิสงส์ โทษ อธิษฐาน เมตตา
ปกิณณกกถา อานิสงส์ โทษ เมตตา อุเบกขา

===========================================

จริยาปิฎก ตอนที่ ๑๘ (ความยาว ๓.๑๙ ชั่วโมง) ดาวโหลด
ปกิณณกกถา จรณธรรม ๑๕ อภิญญา ๕
ปกิณณกกถา บริวารของจรณธรรม ๑๕
ปกิณณกกถา อะไรเป็นความเศร้าหมอง
ปกิณณกกถา ความผ่องแผ้ว
ปกิณณกกถา อะไรเป็นปฏิปักษ์
ปกิณณกกถา อะไรเป็นข้อปฏิบัติ

===========================================

จริยาปิฎก
 
ตอนที่ ๑๙ (ความยาว ๖.๑๗ ชั่วโมง) ดาวโหลด
ปกิณณกกถา อะไรเป็นข้อปฏิบัติของทาน
ปกิณณกกถา อะไรเป็นข้อปฏิบัติของศีล
ปกิณณกกถา อะไรเป็นข้อปฏิบัติของเนกขัมมะ
ปกิณณกกถา อะไรเป็นข้อปฏิบัติของปัญญา
ปกิณณกกถา อะไรเป็นข้อปฏิบัติของวิริยะ ขันติ
ปกิณณกกถา อะไรเป็นข้อปฏิบัติของสัจจะ
ปกิณณกกถา อะไรเป็นข้อปฏิบัติของอธิษฐาน

===========================================

จริยาปิฎก
 
ตอนที่ ๒๐ (ความยาว ๓.๐๒ ชั่วโมง) ดาวโหลด
ปกิณณกกถา สรุปอะไรเป็นข้อปฏิบัติ
ปกิณณกกถา อะไรเป็นการจำแนก
ปกิณณกกถา อะไรเป็นการสงเคราะห์

===========================================

จริยาปิฎก ตอนที่ ๒๑ (ความยาว ๓.๒๙ ชั่วโมง) ดาวโหลด
ปกิณณกกถา อะไรเป็นอุบายให้สำเร็จ
ปกิณณกกถา ให้สำเร็จประโยชน์โดยกาลไหน
ปกิณณกกถา อะไรเป็นอานิสงส์
ปกิณณกกถา อะไรเป็นผล
อธิบายคาถา ที่๑ จงปรารภความเพียร 
อธิบายคาถา ที่ ๒ ความวิวาท 
อธิบายคาถา ที่ ๓ ความประมาท
บทสรุป-ให้พร

===========================================


🔊 จริยาปิฎก หมวดทานบารมี
🔊 จริยาปิฎก หมวดศีลบารมี
🔊 จริยาปิฎก หมวดเนกขัมมะบารมี
🔊 จริยาปิฎก หมวดคาถา


วิกิ

ผลการค้นหา