แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ปริจเฉทที่ ๓ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ปริจเฉทที่ ๓ แสดงบทความทั้งหมด

กิจจสังคหะ

แสดงการรวบรวมจิต เจตสิก โดยประเภทแห่งกิจชื่อว่า “กิจจสังคหะ

คาถาสังคหะ
ปฏิสนฺธาทโย นาม-  กิจฺจเภเทน จุทฺทส
ทสธา ฐานเภเทน   จิตฺตุปฺปาทา ปกาสิตา ฯ

แปลความว่า บรรดาจิตทั้งหลายที่ปรากฏขึ้น มีปฏิสนธิจิต เป็นต้น ว่าโดยประเภทแห่งกิจ มี ๑๔ กิจ ว่าโดยประเภทแห่งฐาน มี ๑๐ ฐาน

🔅 อธิบาย

ในบรรดาการงานทั้งหลาย ที่เกี่ยวด้วย กาย, วาจา หรือใจ ต่าง ๆ เหล่านี้ จะสำเร็จลุล่วงลงได้ ก็ล้วนแต่จะต้องอาศัยจิตและเจตสิก เป็นผู้ควบคุมและสั่งการให้การงานที่เกี่ยวด้วย กาย, วาจา ใจ ต่าง ๆ เหล่านั้น เป็นไปได้จนเป็นผลสำเร็จ กล่าวคือ ทางกาย ให้สำเร็จเป็นการกระทำต่าง ๆ มีการนั่ง-นอน-ยืน-เดิน-ขีด-เขียน เป็นต้น การงานเหล่านี้สำเร็จลงได้ เพราะจิตเจตสิกสั่งให้กระทำ ถ้าจิตเจตสิกไม่สั่งให้กระทำแล้ว การงานนั้นๆ ก็จะสำเร็จลงไม่ได้

ทางวาจา ให้สำเร็จเป็นการพูด, การอ่าน, การร้องเพลง, ร้องไห้, การปาฐกถา, การแสดงธรรม, การด่าทอ-บริภาษ เป็นต้น เหล่านี้สำเร็จลงได้เพราะจิตและเจตสิกสั่งให้กระทำ ถ้าจิตและเจตสิกไม่สั่งให้พูดแล้ว การงานนั้นก็จะสำเร็จลงไม่ได้แน่นอน

ทางใจ การงานที่เกี่ยวกับใจ มีการคิดนึกเรื่องราวต่าง ๆ นั้น จิตและเจตสิกเป็นผู้สั่งตนเองให้กระทำการคิดถึง ไม่ได้สั่งให้กายหรือวาจากระทำ อุปมา


ปกิณณกสังคหวิภาค จิต เจตสิกนั้น เหมือนหัวหน้าผู้บริหารงานต่าง ๆ มีหน้าที่สั่งให้ผู้อื่นทำ คือ กายและวาจาเป็นผู้กระทำการงาน เป็นการทำงาน, การพูด และสั่งตนเอง คือ สั่งให้ จิต-เจติก คิดนึกเรื่องราวต่างๆ อีกด้วย ข้อนี้แสดงให้เห็นว่า จิต เจตสิก เกิดขึ้นและดับไปเหมือนกระแสน้ำ มีความเป็นไปแห่งจิต เจตสิกรวดเร็ว ดุจแล่นไปในอารมณ์อยู่ตลอดเวลาและด้วยสามารถยังกิจต่างๆ ให้สำเร็จหลายๆ อย่าง โดยที่จิต เจตสิกนั้นเป็นประธานในธรรมทั้งปวง มีการนั่ง, นอน, พูด และคิดนึก เป็นต้น

ฉะนั้น จิต เจตสิกทุกดวงที่ปรากฏขึ้นนั้น ย่อมมีหน้าที่การงานของตน ๆ อยู่เสมอ จิต เจตสิกจะปรากฏขึ้นโดยไม่มีหน้าที่การงานอะไรเลยนั้นย่อมไม่มี อนึ่ง การทำกิจการงานของจิต เจตสิกนั้น จำเป็นต้องมีสถานที่อันเป็นที่ตั้งแห่งการงานนั้น สถานที่ทำกิจของจิต เจตสิกเหล่านี้ ชื่อว่า ฐาน

ถ้าจะอุปมาแล้ว จิต เจตสิก เปรียบเหมือนผู้ทำงาน กิจ เปรียบเหมือนการงานต่าง ๆ ฐาน เปรียบเหมือนสถานที่ทำงาน ความสำเร็จแห่งการงานต่างๆ นั้น จึงย่อมประกอบด้วย จิต เจตสิก กิจ คือ หน้าที่การงาน และฐาน คือ สถานที่ทำงาน เรื่องจิต เจตสิกนั้นได้แสดงมาแล้วในปริจเฉทก่อนๆ ต่อนี้ไปจะได้แสดง กิจและฐาน โดยลำดับต่อไป


แสดงกิจของจิต ๑๔ 

หน้าที่ของจิต เจตสิก ที่ทำกิจการงานทั้งหมดนั้น มีอยู่ ๑๔ อย่าง คือ

๑. ปฏิสนธิกิจ ทำหน้าที่สืบต่อภพใหม่ คือ หน้าที่ของจิต ที่ทำหน้าที่เกิดขึ้นสืบต่อไปในภพใหม่ เป็นขณะจิตแรกที่ปรากฏขึ้นในภพใหม่นั้น และจะปรากฏขึ้นเพียงขณะจิตเดียวเท่านั้นในภพชาติหนึ่ง ๆ

๒. ภวังคกิจ ทำหน้าที่รักษาองค์แห่งภพ คือ จิตที่ทำหน้าที่รักษาองค์แห่งภพ หมายความถึงรักษากรรมวิบากของรูปธรรม นามธรรม สืบต่อจากปฏิสนธิวิบากจิต และปฏิสนธิกัมมชรูป ให้ดำรงอยู่ได้ในภพนั้นๆ ตราบเท่าอำนาจแห่งชนกกรรมจะส่งผลให้เป็นไปเท่าที่อายุสังขาร จะพึงตั้งอยู่ได้ ภวังคจิตนี้ เป็นหน้าที่ตามธรรมดาของจิต ที่จะต้องทำกิจนี้อยู่เสมอ จิตจะหยุดทำกิจนี้ ก็ต่อเมื่อขณะที่มีอารมณ์ใหม่ในปัจจุบันมาคั่นตอน ให้จิตขึ้นวิถีรับอารมณ์ใหม่ในปัจจุบันเสียเท่านั้น พ้นจากการขึ้นวิถีรับอารมณ์ใหม่แล้ว จิตจะต้องทำหน้าที่ในการรักษาองค์แห่งภพนี้อยู่เสมอตลอดเวลา

๓. อาวัชชนกิจ ทำหน้าที่พิจารณาอารมณ์ที่ปรากฏใหม่ คือ จิต ทำหน้าที่พิจารณาอารมณ์ ๖ ที่มาถึงตนทั้งทางปัญจทวารหรือทางมโนทวาร เป็นจิตขณะแรกที่ทิ้งจากภวังคกิจ แล้วจะต้องทำหน้าที่อาวัชชนกิจนี้ทันที หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า เป็นจิตที่ทำหน้าที่ต้อนรับอารมณ์ใหม่ในปัจจุบันภพ กล่าวได้ว่าเป็นจิตดวงที่ขึ้นวิถีรับอารมณ์ใหม่

๔. ทัสสนกิจ ทำหน้าที่เห็น คือ จิตที่ทำหน้าที่เห็นรูปารมณ์ จิตนี้มีชื่อเรียกว่าจักขุวิญญาณเพราะอาศัยจักขุวัตถุรู้เห็นรูปารมณ์ ถ้าไม่มีจักขุปสาททำหน้าที่เป็นจักขุวัตถุแล้วทัสสนกิจ คือจิตที่ทำหน้าที่เห็นจะเกิดขึ้นไม่ได้ และจิตที่ทำหน้าที่เห็นนี้ ในวิถีจิตหนึ่ง ๆ ทัสสนกิจ จะมีได้เพียงขณะจิตเดียว คือ ขณะที่จักขุวิญญาณเกิดขึ้นในจักขุทวารวิถีเท่านั้น

๕. สวนกิจ ทำหน้าที่ได้ยิน คือ จิตที่ทำหน้าที่ได้ยินสัททารมณ์ จิตนี้มีชื่อว่าโสตวิญญาณเพราะอาศัยโสตวัตถุเกิด เพื่อได้ยินสัททารมณ์ ถ้าไม่มีโสตปสาททำหน้าที่เป็นโสตวัตถุแล้ว สวนกิจ คือจิตที่ทำหน้าที่ได้ยินจะเกิดขึ้นไม่ได้และจิตที่ทำหน้าที่ได้ยินนี้ ในวิถีจิตหนึ่ง ๆ สวนกิจจะมีได้เพียงขณะจิตเดียว คือ ขณะที่โสตวิญญาณเกิดขึ้นในโสตทวารวิถี

๖. ฆายนกิจ ทำหน้าที่รู้กลิ่น คือ จิตที่ ทำหน้าที่รู้กลิ่นคันธารมณ์ จิตนี้ชื่อว่าฆานวิญญาณ เพราะอาศัยฆานวัตถุรู้กลิ่นคันธารมณ์ถ้าไม่มีฆานปสาททำหน้าที่เป็นฆานวัตถุแล้วฆายนกิจ คือจิตที่ทำหน้าที่รู้กลิ่นก็มีขึ้นไม่ได้ และกิจที่ทำหน้าที่รู้กลิ่นนี้ในวิถีจิตหนึ่ง ๆ ฆายนกิจ จะมีได้เพียงขณะจิตเดียว คือขณะที่ฆานวิญญาณเกิดขึ้นในฆานทวารวิถี

๗. สายนกิจ ทำหน้าที่รู้รส คือ จิตที่ ทำหน้าที่รู้รสารมณ์ จิตนี้เรียกว่าชิวหาวิญญาณ เพราะอาศัยชิวหาวัตถุรู้รสารมณ์ ถ้าไม่มีชิวหาปสาททำหน้าที่เป็นชิวหาวัตถุแล้ว สายนกิจจิตที่ทำหน้าที่รู้รสารมณ์ก็จะมีขึ้นไม่ได้ และจิตที่ทำหน้าที่รู้รสนี้ ในวิถีจิตหนึ่ง ๆ สายนกิจจะมีได้เพียงขณะจิตเดียว คือ ชิวหาวิญญาณ ที่เกิดในชิวหาทวารวิถี

๘. ผุสนกิจ ทำหน้าที่รู้สัมผัสกาย คือ จิตที่ ทำหน้าที่รู้การกระทบโผฏฐัพพารมณ์ จิตนี้ชื่อว่ากายวิญญาณ เพราะอาศัยกายวัตถุเพื่อทำกิจรู้ การกระทบถูกต้องสัมผัสโผฏฐัพพารมณ์ถ้าไม่มีกายปสาทเพื่อทำหน้าที่เป็นกายวัตถุแล้วผุสนกิจ จิตที่ทำหน้าที่รู้ การกระทบโผฏฐัพพารมณ์ก็จะมีขึ้นไม่ได้ และจิตที่ทำหน้าที่ผุสนกิจนี้ ในวิถีจิตหนึ่งๆ ผุสนกิจจะมีได้เพียงขณะจิตเดียว คือขณะกายวิญญาณเกิดในกายทวารวิถีเท่านั้น

๙. สัมปฏิจฉนกิจ ทำหน้าที่รับปัญจารมณ์ คือ จิตที่ทำหน้าที่รับปัญจารมณ์ต่อจากทวิปัญจวิญญาณ ในปัญจทวารวิถีหนึ่ง ๆ สัมปฏิจฉนกิจจะเกิดขึ้นเพียงขณะจิตเดียวเท่านั้น

๑๐. สันตีรณกิจ ทำหน้าที่ไต่สวนปัญจารมณ์ คือ จิตที่ทำหน้าที่ไต่สวนปัญจารมณ์ต่อจากสัมปฏิจฉนกิจในปัญจทวารวิถีจิตหนึ่ง ๆ สันตีรณกิจจะเกิดขึ้นขณะเดียวเท่านั้น

๑๑. โวฏฐัพพนกิจ ทำหน้าที่ตัดสินปัญจารมณ์ โวฏฐัพพนกิจ คือ จิตที่ทำหน้าที่ตัดสินปัญจารมณ์ โดยความเป็น กุศล, อกุศล เป็นต้น จิตนี้ ชื่อว่า มโนทวาราวัชชนจิต ทำหน้าที่โวฏฐัพพนกิจ ทางปัญจทวารวิถีในวิถีจิตที่สมบูรณ์ วิถีจิตหนึ่ง ๆ ย่อมเกิดได้ขณะจิตเดียว ในวิถีจิตที่ไม่สมบูรณ์ คือ ในโวฏฐัพพนวาระ อาจเกิดได้ ๒-๓ ขณะ

๑๒. ชวนกิจ ทำหน้าที่เสพอารมณ์ คือ จิตที่ทำหน้าที่เสพอารมณ์ ๖ ด้วย กุศลจิต, อกุศลจิต, สเหตุกกิริยาจิต, หสิตุปปาทจิต และโลกุตตรวิบากจิต ในวิถีจิตหนึ่ง ๆ ที่เป็นกามวิถีแล้ว ส่วนมากเกิดติดต่อกัน ๗ ขณะ และในอัปปนาวิถี อาจเกิดขึ้นได้มากมายจนประมาณมิได้ก็มี

๑๓. ตทาลัมพนกิจ ทำหน้าที่รับอารมณ์ที่เหลือจากชวนะ  คือ จิตที่ ทำหน้าที่รับอารมณ์ที่เหลือจากชวนจิตเสพแล้ว ในกามอารมณ์ทั้ง ๖ ที่มีกำลังแรง ในวิถีจิตทีรับอติมหันตารมณ์หรือวิภูตารมณ์ ซึ่งมีจิตที่ชื่อว่า ตทาลัมพนจิต แล้วจะทำตทาลัมพนกิจ และเป็น ๒ ขณะจิตสุดท้ายในวิถีจิตที่เป็นตทาลัมพนวาระ

๑๔. จุติกิจ ทำหน้าที่ดับสิ้นไปจากภพ คือ จิตที่ ทำหน้าที่สิ้นจากภพปัจจุบัน เป็นจิตดวงสุดท้ายที่จะปรากฏในภพชาตินั้น และจะปรากฏได้เพียงขณะจิตเดียว ในภพชาติหนึ่ง คล้ายคลึงกับปฏิสนธิกิจ จิตที่ทำหน้าที่จุตินี้ เป็นจิตประเภทเดียวกับปฏิสนธิจิต และภวังคจิตนั่นเอง


แสดงการจำแนกกิจ ๑๔ โดยจิต

๑. ปฏิสนธิกิจ จิตที่ทำหน้าที่สืบต่อภพใหม่ มี ๑๙ ดวง คือ :-

  • อุเบกขาสันติรณจิต ๒ ดวง
  • มหาวิบากจิต ๘  ดวง
  • มหัคคตวิบากจิต ๙ ดวง
๒. ภวังคกิจ จิตที่ทำหน้าที่รักษาองค์แห่งภพ มี ๑๙ ดวง คือ :-

  • อุเบกขาสันตีรณจิต ๒ ดวง
  • มหาวิบากจิต ๘ ดวง
  • มหัคคตวิบากจิต ๙ ดวง

๓. อาวัชชนกิจ จิตที่ทำหน้าที่พิจารณาอารมณ์ใหม่ มี ๒ ดวง คือ : -

  • ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง
  • มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง

๔. ทัสสนกิจ จิตที่ทำหน้าที่เห็น มี ๒ ดวง คือ :-

  • จักขุวิญญาณ ๒ ดวง

๕. สวนกิจ จิตที่ทำหน้าที่ได้ยิน มี ๒ ดวง คือ :-

  • โสตวิญญาณ ๒ ดวง

๖. ฆายนกิจ จิตที่ทำหน้าที่รู้กลิ่น มี ๒ ดวง คือ :-

  • ฆานวิญญาณ ๒ ดวง

๗. สายนกิจ จิตที่ทำหน้าที่รู้รส มี ๒ ดวง คือ :-

  • ชิวหาวิญญาณ ๒ ดวง

๘. ผุสนกิจ จิตที่ทำหน้าที่ถูกต้องสัมผัส มี ๒ ดวง คือ :-

  • กายวิญญาณ ๒ ดวง

๙. สัมปฏิจฉนกิจ จิตที่ทำหน้าที่รับปัญจารมณ์ มี ๒ ดวง คือ :-

  • สัมปฏิจฉนจิต ๒ ดวง

๑๐. สันตีรณกิจ จิตที่ทำหน้าที่ไต่สวนปัญจารมณ์ มี ๓ ดวง คือ :-

  • อุเบกขาสันตีรณจิต ๒ ดวง
  • โสมนัสสันตีรณจิต ๑ ดวง

๑๑. โวฏฐัพพนกิจ จิตที่ทำหน้าที่ตัดสินปัญจารมณ์ มี ๑ ดวง คือ :-

  • มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง

๑๒. ชวนกิจ จิตที่ทำหน้าที่เสพอารมณ์ มี ๕๕ ดวง คือ :-

  • อกุศลจิต ๑๒ ดวง
  • หสิตุปปาทจิต ๑ ดวง
  • มหากุศลจิต ๘ ดวง
  • มหากิริยาจิต ๘ ดวง
  • มหัคคตกุศลจิต ๙ ดวง
  • มหัคคตกิริยาจิต ๙ ดวง
  • โลกุตตรจิต ๘ ดวง

๑๓. ตทาลัมพนกิจ จิตที่ทำหน้าที่รับอารมณ์ที่เหลือจากชวนะ มี ๑๑ ดวง คือ :-

  • สันตีรณจิต ๓ ดวง
  • มหาวิบากจิต ๘ ดวง

๑๔. จุติกิจ จิตที่ทำหน้าที่ดับสิ้นไปจากภพ มี ๑๙ ดวง คือ :-

  • อุเบกขาสันตีรณจิต ๒ ดวง
  • มหาวิบากจิต ๘ ดวง
  • มหัคคตวิบากจิต ๙ ดวง


แสดงการจำแนกจิตโดยประเภทแห่งกิจ

๑. จิตที่ทำกิจได้ ๕ อย่าง มี ๒ ดวง ได้แก่ อุเบกขาสันตีรณจิต ๒ ทำกิจ ๕ อย่าง คือ :-

  • ๑. ปฏิสนธิกิจ
  • ๒. ภวังคกิจ
  • ๓. จุติกิจ
  • ๔. สันตีรณกิจ
  • ๕. ตทาลัมพนกิจ

๒. จิตที่ทำกิจได้ ๔ อย่าง มี ๘ ดวง ได้แก่ มหาวิปากจิต ๘ ทำกิจ ๔ อย่าง คือ :-

  • ๑. ปฏิสนธิกิจ
  • ๒. ภวังคกิจ
  • ๓. จุติกิจ
  • ๔. ตทาลัมพนกิจ

๓. จิตที่ทำกิจได้ ๓ อย่าง มี ๙ ดวง ได้แก่ มหัคคตวิปากจิต ๙ ทำกิจ ๓ อย่าง คือ :-

  • ๑. ปฏิสนธิกิจ
  • ๒. ภวังคกิจ
  • ๓. จุติกิจ

๔. จิตที่ทำกิจได้ ๒ อย่าง มี ๒ ดวง ได้แก่ โสมนัสสันตีรณจิต ๑ ทำกิจ ๒ อย่าง คือ :-

  • ๑. สันตีรณกิจ
  • ๒. ตทาลัมพนกิจ

มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ทำกิจ ๒ อย่าง คือ :-

  • ๑. โวฏฐัพพนกิจ
  • ๒. อาวัชชนกิจ (มโนทวารวิถี)

๕. จิตที่ทำกิจได้ ๑ อย่า มี ๖๘ ดวง (หรือ ๑๐๐ ดวง) ได้แก่

ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ ทำกิจ อาวัชชนกิจ (ปัญจทวารวิถี)
จักขุวิญญาณ ๒ ทำกิจ ทัสสนกิจ
โสตวิญญาณ ๒ ทำกิจ สวนกิจ
ฆานวิญญาณ ๒ ทำกิจ ฆายนกิจ
ชิวหาวิญญาณ ๒ ทำกิจ สายนกิจ
กายวิญญาณ ๒ ทำกิจ ผุสนกิจ
สัมปฏิจฉนจิต ๒ ทำกิจ สัมปฏิจฉนกิจ
อกุศลจิต ๑๒ ทำกิจ ชวนกิจ
หสิตุปปาทจิต ๑ ทำกิจ ชวนกิจ
มหากุศลจิต ๘ ทำกิจ ชวนกิจ
มหากิริยาจิต ๘ ทำกิจ ชวนกิจ
มหัคคตกุศลจิต ๙ ทำกิจ ชวนกิจ
มหัคคตกิริยาจิต ๙ ทำกิจ ชวนกิจ
โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ ทำกิจ ชวนกิจ

แสดงการจำแนกเจตสิก ๕๒ โดยกิจ ๑๔ มี ๗ นัย

๑. เจตสิกที่ทำหน้าที่ ๑ กิจ มี ๑๗ ดวง :-

  • อกุศลเจตสิก ๑๔ ดวง ประกอบกับอกุศลจิต ๑๒ ดวงเท่านั้นและอกุศลจิต ๑๒ ดวงนั้น ทำหน้าที่เสพอารมณ์ เป็นชวนกิจอย่างเดียว
  • วิรตีเจตสิก ຕ ดวง ประกอบกับมหากุศลจิต ๘ และโลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ ทำหน้าที่เสพอารมณ์ เป็นชวนกิจ 

๒. เจตสิกที่ทำหน้าที่ ๔ กิจ มี ๒ ดวง คือ :

  • อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ดวง ทำหน้าที่ ๔ อย่าง คือ ปฏิสนธิกิจ,ภวังคกิจ, จุติกิจ,ชวนกิจ

อธิบาย อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ดวงนี้ ถ้าประกอบกับมหากุศลจิต ๘, มหากิริยาจิต ๔, รูปาวจรกุศลจิต ๔, รูปาวจรกิริยาจิต ๔ ทำหน้าที่ชวนกิจ แต่ถ้าประกอบกับรูปาวจรวิบาก ๔ ทำหน้าที่ ๓ อย่าง คือ ปฏิสนธิกิจ, ภวังคกิจ, จุติกิจ รวมอัปปมัญญาเจตสิก ๒ ทำกิจได้ ๔ กิจ ดังกล่าวข้างต้น

๓. เจตสิกที่ทำหน้าที่ ๕ กิจ มี ๒๑ ดวง คือ :-

  • ฉันทเจตสิก ๑ ดวง
  • โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวง
  • ปัญญาเจตสิก ๑ ดวง

เจตสิกทั้ง ๒๑ ดวงนี้ทำหน้าที่ ๑. ปฏิสนธิกิจ ๒. ภวังคกิจ ๓. จุติกิจ ๔. ชวนกิจ ๕. ตทาลัมพนกิจ

อธิบาย ฉันทเจตสิก ๑, โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙, ปัญญาเจตสิก ๑ รวมเจตสิก ๒๑ ดวงนี้ ไม่ประกอบในอเหตุกจิต ๑๘ จึงเว้นกิจที่อเหตุกจิตทำหน้าที่ ๙ กิจ คือ อาวัชชนกิจ, ทัสสนกิจ, สวนกิจ, ฆายนกิจ, สายนกิจ, ผุสนกิจ, สัมปฏิจฉนกิจ, สันตีรณกิจ และโวฏฐัพพนกิจ ซึ่งกิจทั้ง ๔ นี้ เป็นหน้าที่ของอเหตุกจิตโดยเฉพาะ ฉะนั้น จึงคงทำหน้าที่ได้เพียง ๕ กิจ ดังกล่าวแล้วนั่นเอง

๔. เจตสิกที่ทำหน้าที่ ๖ กิจ มี ๑ ดวง คือ :-

  • ปีติเจตสิก ทำหน้าที่ ๑. ปฏิสนธิกิจ ๒. ภวังคกิจ ๓. จุติกิจ ๔. สันตีรณกิจ ๕. ชวนกิจ ๖. ตทาลัมพนกิจ

อธิบาย ปีติเจตสิกนี้
๑. เมื่อประกอบกับโสมนัสสหคตจิต ที่เป็นอกุศล, กุศล, กิริยา และผลจิต ย่อมทำหน้าที่ ชวนกิจ
๒. เมื่อประกอบกับโสมนัสสันตีรณจิต ทำหน้าที่สันตีรณกิจ และ ตทาลัมพนกิจ
๓. เมื่อประกอบกับโสมนัสสหคตจิต ที่เป็นรูปาวจรวิบาก ๓ ทำหน้าที่ปฏิสนธิกิจ, ภวังคกิจ และ จุติกิจ
๔. เมื่อประกอบกับโสมนัสสหคตจิต ที่เป็น มหาวิบาก ๔ ทำหน้าที่ปฏิสนธิกิจ, ภวังคกิจ, จุติกิจ และตทาลัมพนกิจ

๕. เจตสิกที่ทำหน้าที่ ๗ กิจ มี ๑ ดวง คือ

  • วิริยเจตสิก ทำหน้าที่ ๗ กิจ คือ ๑. ปฏิสนธิกิจ ๒. ภวังคกิจ ๓. จุติกิจ ๔. อาวัชชนกิจ ๕. โวฏฐพพนกิจ ๖. ชวนกิจ ๗. ตทาลัมพนกิจ

อธิบาย วิริยเจตสิกนี้
๑. ประกอบกับอกุศลจิต, กุศลจิต, กิริยาจิตและผลจิต ทำหน้าที่ชวนกิจ
๒. เมื่อประกอบกับมโนทวาราวัชชนจิต ทำหน้าที่อาวัชชนกิจ และ โวฏฐัพพนกิจ
๓. เมื่อประกอบกับมหาวิบากจิต ทำหน้าที่ปฏิสนธิกิจ, ภวังคกิจ, จุติกิจ และ ตทาลัมพนกิจ
๔. เมื่อประกอบกับมหัคคตวิบากจิต ทำหน้าที่ปฏิสนธิกิจ, ภวังคกิจ และ จุติกิจ

๖. เจตสิกที่ทำหน้าที่ ๙ กิจ มี ๓ ดวง คือ :-

วิตกเจตสิก, วิจารเจตสิก, อธิโมกข์เจตสิก ทำหน้าที่ ๙ กิจ ได้แก่

  • ๑. ปฏิสนธิกิจ
  • ๒.ภวังคกิจ 
  • ๓.จุติกิจ 
  • ๔. อาวัชชนกิจ 
  • ๕. สัมปฏิจฉนกิจ
  • ๖. สันตีรณกิจ
  • ๗. โวฏฐพพนกิจ
  • ๘. ชวนกิจ
  • ๙.ตทาลัมพนกิจ

อธิบาย วิตก วิจาร และอธิโมกข์เจตสิก ๓ ดวงนี้
๑. เมื่อประกอบกับอกุศลจิต, กุศลจิต, กิริยาจิต และผลจิต ก็ทำหน้าที่ ชวนกิจ
๒. เมื่อประกอบกับมโนทวาราวัชชนจิต ทำหน้าที่อาวัชชนกิจ และ โวฏฐพพนกิจ
๓. เมื่อประกอบกับสัมปฏิจฉนจิต ทำหน้าที่ สัมปฏิจฉนกิจ
๔. เมื่อประกอบกับสันตีรณจิต ทำหน้าที่ สันตีรณกิจ, ตทาลัมพนกิจ, ปฏิสนธิกิจ, ภวังคกิจ และ จุติกิจ
๕. เมื่อประกอบกับมหาวิบากจิต ทำหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ, ภวังคกิจ, จุติกิจ และ ตทาลัมพนกิจ
๖. เมื่อประกอบกับมหัคคตวิบากจิต ทำหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ, ภวังคกิจ และ จุติกิจ


๗. เจตสิกที่ทำหน้าที่ ๑๔ กิจ มีจำนวน ๗ ดวง คือ :-

สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๒ ทำหน้าที่ ๑๔ กิจ คือ :-

  • ๑. ปฏิสนธิกิจ
  • ๒. ภวังคกิจ
  • ๓. จุติกิจ
  • ๔. อาวัชชนกิจ
  • ๕.ทัสสนกิจ
  • ๖. สวนกิจ
  • ๗. ฆายนกิจ
  • ๘. สายนกิจ
  • ๙. ผุสนกิจ
  • ๑๐. สัมปฏิจฉนกิจ
  • ๑๑. สันตีรณกิจ
  • ๑๒. โวฏฐพพนกิจ
  • ๑๓. ชวนกิจ
  • ๑๔. ตทาลัมพนกิจ

อธิบาย สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๒ ดวงนี้ ประกอบกับจิตได้ทั้งหมด ฉะนั้นจึงทำหน้าที่ ๑๔ อย่างได้ทั้งหมด การจำแนกกิจโดยจิต และจำแนกจิตโดยกิจได้แสดงมาแล้ว ต่อไปนี้จะได้แสดงฐาน คือ สถานที่ทำการงานของจิตและเจตสิก ซึ่งมีอยู่โดยสังเขป ๑๐ ฐาน

แสดงฐาน ๑๐ อย่าง

๑. ปฏิสนธิฐาน คือ สถานที่ ที่จิตทำงานสืบต่อภพใหม่
๒. ภวังคฐาน คือ สถานที่ ที่จิตทำงานรักษาองค์แห่งภพ
๓. อาวัชชนฐาน คือ สถานที่ ที่จิตทำงานพิจารณาอารมณ์ใหม่
๔. ปัญจวิญญาณฐาน คือ สถานที่ ที่จิตทำงาน เห็น, ได้ยิน, ได้กลิ่น, รู้รส, รู้ถูกต้องสัมผัส
๕. สัมปฏิจฉนฐาน คือ สถานที่ ที่จิตทำงานรับปัญจารมณ์
๖. สันตีรณฐาน คือ สถานที่ ที่จิตทำงานไต่สวนปัญจารมณ์
๗. โวฏฐัพพนฐาน คือ สถานที่ ที่จิตทำงานตัดสินปัญจารมณ์
๘. ชวนฐาน คือ สถานที่ ที่จิตทำงานเสพอารมณ์
๙. ตทาลัมพนฐาน คือ สถานที่ ที่ทำงานรับอารมณ์ที่เหลือจากชวนะ
๑๐. จุติฐาน คือ สถานที่ ที่จิตทำงานสิ้นจากภพ


แสดงการจำแนกฐาน โดยจิต

๑. ปฏิสนธิฐานเป็นสถานที่ทำงานสืบต่อภพใหม่ของจิต ๑๙ ดวง คือ: -

  • อุเบกขาสันตีรณจิต ๒
  • มหาวิบากจิต ๘
  • มหัคคตวิบากจิต ๙

๒. ภวังคฐาน เป็นสถานที่ทำงานรักษาองค์แห่งภพของจิต ๑๙ ดวง คือ : -

  • อุเบกขาสันตีรณจิต ๒
  • มหาวิบากจิต ๘
  • มหัคคตวิบากจิต ๙

๓. อาวัชชนฐาน เป็นสถานที่ทำงานพิจารณาอารมณ์ของจิต ๒ ดวง คือ :-

  • ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑
  • มโนทวาราวัชชนจิต ๑

๔. ปัญจวิญญาณฐาน เป็นสถานที่ทำงานในการ เห็น, ได้ยิน, ได้กลิ่น, รู้รส, รู้ถูกต้องสัมผัส ของจิต ๑๐ ดวง คือ :-

  • ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐

๕. สัมปฏิจฉนฐาน เป็นสถานที่รับปัญจารมณ์ของจิต ๒ ดวง คือ :-

  • สัมปฏิจฉนจิต ๒

๖. สันตีรณฐาน เป็นสถานที่ไต่สวนปัญจารมณ์ของจิต ๓ ดวง คือ :-

  • สันตีรณจิต 

๗. โวฏฐพพนฐาน เป็นสถานที่ตัดสินปัญจารมณ์ของจิต คือ :-

  • มโนทวาราวัชชนจิต ๑

๘. ชวนฐาน เป็นสถานที่เสพอารมณ์ของจิต ๕๕ ดวง คือ :-

  • อกุศลจิต ๑๒
  • หสิตุปปาทจิต ๑
  • มหากุศลจิต ๘
  • มหากิริยาจิต ๘
  • มหัคคตกุศลจิต ๙
  • มหัคคตกิริยาจิต ๙
  • โลกุตตรจิต ๘

๙. ตทาลัมพันฐาน เป็นสถานที่ทำงานรับอารมณ์ที่เหลือจากชวนะของจิต ๑๑ ดวง คือ :-

  • สันตีรณจิต ๓
  • มหาวิบากจิต ๘
๑๐. จุติฐาน เป็นสถานที่ทำงานสิ้นไปจากภพ ของจิต ๑๙ ดวง คือ :-

  • อุเบกขาส้นตีรณจิต ๒
  • มหาวิบากจิต ๘
  • มหัคคตวิบากจิต ๙

แสดงการจำแนกจิตโดยกิจและฐาน

คาถาสังคหะ

อฏฺฐสฏฐิ ตถา เทฺว จ   นวาฎฺฐ เทฺว ยถากฺกมํ
เอกทฺวิติจตุปญฺจ—   กิจฺจฐานานิ นิทฺทิเส ฯ

แปลความว่า แสดงจำนวนจิตโดยหน้าที่ และฐาน ตามลำดับ ดังนี้คือ

จิตมีหน้าที่ ๑ และฐาน ๑ มีจำนวน ๖๘ ดวง
จิตมีหน้าที่ ๒ และฐาน ๒ มีจำนวน ๒ ดวง
จิตมีหน้าที่ ๓ และฐาน ๓ มีจำนวน ๙ ดวง
จิตมีหน้าที่ ๔ และฐาน ๔ มีจำนวน ๘ ดวง
จิตมีหน้าที่ ๕ 
และฐาน ๕ มีจำนวน ๒ ดวง

อธิบาย

จิตที่ทำหน้าที่ ๑ อย่าง ที่ฐาน ๑ ฐาน มีจำนวน ๖๘ ดวง คือ :-

จักขุวิญญาณ ๒ ทำหน้าที่ ทัสสนกิจ ที่ ปัญจวิญญาณฐาน
โสตวิญญาณ ๒ ทำหน้าที่ สวนกิจ ที่ ปัญจวิญญาณฐาน
ฆานวิญญาณ ๒ ทำหน้าที่ ฆายนกิจ ที่ ปัญจวิญญาณฐาน
ชิวหาวิญญาณ ๒ ทำหน้าที่ สายนกิจ ที่ ปัญจวิญญาณฐาน
กายวิญญาณ ๒ ทำหน้าที่ ผุสนกิจ ที่ ปัญจวิญญาณฐาน
ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ ทำหน้าที่ อาวัชชนกิจ ที่ อาวัชชนฐาน
สัมปฏิจฉนจิต ๒  ทำหน้าที่ สัมปฏิจฉนกิจ ที่ สัมปฏิจฉนฐาน
ชวนจิต ๕๕ ทำหน้าที่ชวนกิจ ที่ ชวนฐาน

จิตที่ทำหน้าที่ ๒ อย่าง ที่ฐาน ๒ ฐาน มีจำนวน ๒ ดวง คือ :-

โสมนัสสันตีรณจิต ๑ 
- ทำหน้าที่ สันตีรณกิจ ที่ สันตีรณฐาน
- ทำหน้าที่ตทาลัมพนกิจ ที่ ตทาลัมพนฐาน
มโนทวาราวัชชนจิต ๑
- ทำหน้าที่อาวัชชนกิจ ที่ อาวัชชนฐาน
- ทำหน้าที่โวฏฐัพพนกิจ ที่ โวฏฐัพพนฐาน

จิตที่ทำหน้าที่ ๓ อย่าง ที่ฐาน ๓ ฐาน มีจำนวน ๙ ดวง คือ :-

มหัคคตวิบากจิต ๙
- ทำหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ ที่ ปฏิสนธิฐาน
- ทำหน้าที่ ภวังคกิจ ที่ ภวังคฐาน
- ทำหน้าที่ จุติกิจ ที่ จุติฐาน

จิตที่ทำหน้าที่ ๔ อย่าง ที่ฐาน ๔ ฐาน มีจำนวน ๘ ดวง คือ :-
มหาวิบากจิต ๘
- ทำหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ ที่ ปฏิสนธิฐาน
- ทำหน้าที่ ภวังคกิจ ที่ ภวังคฐาน
- ทำหน้าที่ จุติกิจ ที่ จุติฐาน
- ทำหน้าที่ ตทาลัมพนกิจ ที่ ตทาลัมพนฐาน

จิตที่ทำหน้าที่ ๕ อย่าง ที่ฐาน ๕ ฐาน มีจำนวน ๒ ดวง คือ :-
อุเบกขาสันตีรณจิต ๒
- ทำหน้าที่ ปฏิสนธิกิจ ที่ ปฏิสนธิฐาน
- ทำหน้าที่ ภวังคกิจ ที่ ภวังคฐาน
- ทำหน้าที่ จุติกิจ ที่ จุติฐาน
- ทำหน้าที่ สันตีรณกิจ ที่ สันตีรณฐาน
- ทำหน้าที่ ตทาลัมพนกิจ ที่ ตทาลัมพนฐาน

เหตุสังคหะ

แสดงการรวบรวมจิตและเจตสิก โดยประเภทแห่งเหตุ ชื่อว่า “เหตุสังคหะ”

คาถาสังคหะ

โลโภ โทโส จ โมโห จ    เหตู อกุสลา ตโย
อโลภาโทสาโมหา จ    กุสลาพฺยากตา ตถา ฯ

แปลความว่า โลภะ, โทสะ โมหะเป็นอกุศลเหตุ อโลภะ, อโทสะ อโมหะเป็นกุศลเหตุ และอพยากตเหตุ

อธิบาย

“เหตุ” คือ ธรรมชาติที่ให้ผลธรรมเกิดขึ้น และให้ผลธรรมนั้นมีสภาพมั่นคงอยู่ในอารมณ์ กับทั้งยังผลธรรมนั้นให้เจริญยิ่งขึ้น ดังวจนัตถะว่า

หิโนติ วตฺตติ ผลํ    เอเตหิ อิติ เหตุโว 
ลทฺธเหตูหิ เต ถิรา    รูฬฺหมูลาว ปาทปา ฯ

แปลความว่า ผลย่อมเป็นไปด้วยธรรมชาติเหล่านั้น ฉะนั้นธรรมชาติเหล่านั้น ชื่อว่า “เหตุ” (โอชา) ที่ตนได้แล้วนั้น เหมือนกับต้นไม้ทั้งหลายที่มีรากเจริญมั่นคงด้วยเหตุ
หมายความว่า ธรรมทั้งหลายได้รับอุปการะจากเหตุ ย่อมมีสภาพมั่นคงในอารมณ์ และเจริญยิ่งขึ้น ประดุจต้นที่ตั้งมั่น และงอกงามเผยแผ่ไปฉะนั้น

ธรรมที่เป็นเหตุ ทำให้ผลธรรมปรากฏขึ้น มี ๖ ประการ คือ :-

โลภเหตุ องค์ธรรมได้แก่ โลภเจตสิก
โทสเหตุ องค์ธรรมได้แก่ โทสเจตสิก
โมหเหตุ องค์ธรรมได้แก่ โมหเจตสิก

อโลภเหตุ องค์ธรรมได้แก่ อโลภเจตสิก
อโทสเหตุ องค์ธรรมได้แก่ อโทสเจตสิก
อโมหเหตุ องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิก

ผลธรรมที่เกิดจากเหตุ ได้แก่ กุศลจิต, อกุศลจิต, อพยากตจิต หรือกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เนื่องจากกุศลเหตุบ้าง อกุศลเหตุบ้าง อพยากตเหตุบ้าง หรือขันธ์ ๕ ที่ปรากฏขึ้นทั้งในปฏิสนธิ และปวัตติกาลที่ชื่อว่า ผลที่ได้เกิดจากเหตุ

อารมณ์ที่รองรับผลธรรม ให้ตั้งมั่น และให้เจริญขึ้น ได้แก่ อารมณ์ ๖ คือ รูป, เสียง, กลิ่น, รส, สัมผัส สภาพธรรมที่ปรากฏได้ทางใจอันเกี่ยวด้วยสิ่งที่มีชีวิต และไม่มีชีวิตต่าง ๆ

เหตุทั้ง ๖ ประการ คือ โลภะ โทสะ โมหะ และอโลภะ อโทสะ อโมหะนี้ เมื่อปรากฏขึ้นแล้ว ย่อมทำให้ผลธรรมได้รับอุปการะจากเหตุ ๒ ประการ คือ

เหตุทำให้ผลธรรมตั้งมั่นได้ในอารมณ์ คือ เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียงเป็นต้น ตลอดจนคิดนึกเรื่องต่าง ๆ นั้นแล้ว อกุศลจิต คือ โลภมูลจิต, โทสมูลจิต และโมหมูลจิต หรือกุศลจิต มีความไม่โลภ ไม่โกรธ และมีปัญญา เหล่านี้ ย่อมปรากฏขึ้น และยึดถืออารมณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นไว้อย่างมั่นคง นี้คืออกุศลจิต หรือ กุศลจิต เป็นต้น ที่เป็นผลตั้งมั่นอยู่ได้ในอารมณ์ อันเกิดจากเหตุต่าง ๆ เหล่านั้น

เหตุทำให้ผลธรรมเจริญขึ้นได้ คือ เมื่อกุศลจิต อกุศลจิต เป็นต้น ยึดอารมณ์ต่าง ๆ นั้นไว้แล้ว จะค่อย ๆ มีกำลังมากขึ้น ๆ จนให้สำเร็จเป็นกายกรรม, วจีกรรม และมโนกรรม หมายความว่า โลภะ, โทสะ, โมหะ ก็ดี หรือ อโลภะ, อโทสะ อโมหะ ก็ดี เหล่านี้ ขณะเมื่อแรกเกิดขึ้นนั้น ยังมีกำลังอ่อนอยู่ ยังไม่สามารถทำให้การงานลุล่วงไปถึงทุจริตกรรม หรือสุจริตกรรมได้ ครั้นเมื่อได้ตั้งมั่นและมีกำลังมากขึ้นแล้ว ย่อมสามารถทำให้การกระทำทุจริต หรือสุจริตก้าวสู่กรรมบถ ทั้งกุศลกรรมบถ หรืออกุศลกรรมบถเกิดขึ้นได้ นี้คือผลธรรมเจริญขึ้นได้โดยอาศัยเหตุ ๖ ประการเหล่านั้น


⛯ 
แสดงการจำแนกจิตโดยเหตุ

คาถาสังคหะ

อเหตุกาฎฺฐารเสก- เหตุกา เทฺว ทวาวีสติ
ทฺวิเหตุกา มตา สตฺต - จตุตาลีส ติเหตุกา ฯ

แปลความว่า อเหตุกจิต มี ๑๘ เอกเหตุกจิต มี ๒ ทวิเหตุกจิต มี ๒๒ ติเหตุกจิต มี ๔๗

อธิบาย ในจำนวนจิต ๘๙ หรือ ๑๒๑ ดวงนั้น เมื่อกล่าวถึงจิตที่ประกอบด้วยเหตุ แบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภท คือ :-

ก. อเหตุกจิต คือ จิตที่เกิดขึ้นโดยมิได้ประกอบด้วยเหตุใด ๆ ในเหตุทั้ง ๖ ดังกล่าวแล้วนั้นเลย มีจำนวน ๑๘ ดวง
ข. สเหตุกจิต คือ จิตที่เกิดขึ้นโดยมีเหตุ ๖ เหตุใดเหตุหนึ่ง หรือมีหลายเหตุประกอบด้วย มีจำนวน ๗๑ ดวง

ในคาถาสังคหะ ได้แสดงการจำแนกจิตโดยเหตุไว้ ๔ นัย คือ :-

๑. อเหตุกจิต เป็นจิตที่ไม่มีเหตุ ๖ ประกอบเลย แม้สักเหตุเดียว อเหตุกจิต มีจำนวน ๑๘ ดวง ได้แก่

- ปัญจทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง
- ทวิปัญจวิญญาณ ๑๐ ดวง
- สัมปฏิจฉนจิต ๒ ดวง
- สันตีรณจิต ๓ ดวง
- มโนทวาราวัชชนจิต ๑ ดวง
- หสิตุปปาทจิต ๑ ดวง

รวมอเหตุกจิต ๑๘ ดวง

๒.เอกเหตุกจิต เป็นจิตที่ประกอบด้วยเหตุเพียงเหตุเดียว มีจำนวน ๒ ดวง ได้แก่
 โมหมูลจิต ๒ ดวง ซึ่งมี โมหเหตุประกอบเหตุเดียว

๓.ทวิเหตุกจิต เป็นจิตที่มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ มีจำนวน ๒๒ ดวง
โลภมูลจิต ๘ ดวง มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ คือ โลภเหตุ โมหเหตุ
โทสมูลจิติ ๒ ดวง มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ โทสเหตุ โมหเหตุ
มหากุศลญาณวิปปยุตจิต ๔ ดวง มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ
มหาวิบากญาณวิปปยุตจิต ๔ ดวง มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ
มหากิริยาญาณวิปปยุตจิต ๔ ดวง มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ อโลภเหตุ อโทสเหตุ

๔. ติเหตุกจิต 
เป็นจิตที่มีเหตุประกอบ ๓ เหตุ มีจำนวน ๔๗ หรือ ๗๙ ดวง ได้แก่

มหากุศลญาณสัมปยุติจิต ๔ ดวง มีเหตุประกอบ ๓ เหตุ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
มหาวิบากญาณสัมปยุติจิต ๔ ดวง มีเหตุประกอบ ๓ เหตุ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
มหากิริยาญาณสัมปยุติจิต ๔ ดวง มีเหตุประกอบ ๓ เหตุ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
มหัคคตจิต ๒๗ ดวง มีเหตุประกอบ ๓ เหตุ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ
โลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐ ดวง มีเหตุประกอบ ๓ เหตุ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ อโมหเหตุ

⛯ จําแนกเหตุโดยประเภทแห่งโสภณะและอโสภณะ

อโสภณเหตุ มี ๓ เหตุ ได้แก่ โลภเหตุ, โทสเหตุ, โมหเหตุ ที่ประกอบกับอกุศลจิต ๑๒ ตามสมควร ส่วนอเหตุกจิต ๑๘ ไม่มีเหตุประกอบแม้แต่เหตุเดียว

โสภณเหตุ มี ๓ เหตุ ได้แก่ อโลภเหตุ, อโทสเหตุ, อโมหเหตุ ที่ประกอบกับโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑ ตามสมควร

เหตุ กับ ธรรม

เหตุ ๖ ประการ คือ โลภะ โทสะ โมหะ, และอโลภะ, อโทสะ อโมหะ อันเป็นนามธรรม ย่อมอุดหนุนให้นามธรรม และรูปธรรม เกิดขึ้นในสันดานของสัตว์ทั้งหลาย นามธรรมและรูปธรรมที่เกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลายนั้น เมื่อจำแนกโดยประเภทแห่งธรรมแล้ว มี ๓ ประการ คือ อกุศลธรรม, กุศลธรรม และอพยากตธรรม เมื่อจำแนกเหตุ ๖ โดยประเภทแห่งธรรมดังกล่าวแล้วนี้จึงจำแนกได้ดังนี้ คือ

จำแนกเหตุโดยประเภทแห่งธรรม

อกุศลเหตุ มี ๓ เหตุ ได้แก่ โลภเหตุ, โทสเหตุ, โมหเหตุ ที่ประกอบในอกุศลจิต ๑๒ ตามสมควร
กุศลเหตุ มี ๓ เหตุ ได้แก่ อโลภเหตุ, อโทสเหตุ, อโมหเหตุ ที่ประกอบในกุศลจิต ๒๑ ตามสมควร
อพยากตเหตุ มี ๓ เหตุ ได้แก่ อโลภเหตุ, อโทสเหตุ, อโมหเหตุ ที่ประกอบในสเหตุกวิบากจิต ๒๑ ตามสมควร เรียกว่า “วิบากอพยากตเหตุ” และที่ประกอบในสเหตุกกิริยาจิต ๑๗ ตามสมควร เรียกว่า “กิริยาอพยากตเหตุ”

⛯ จำแนกเหตุโดยประเภทแห่งชาติ

เหตุ ๖ ประการ อันได้แก่ โลภะ, โทสะ, โมหะ, อโลภะ, อโทสะ, อโมหะ ถ้าแยกออกไปตามชาติ คือ การเกิดของจิตแล้ว นับตามชาติมี ๔ ชาติ และ นับตามเหตุ มี ๑๒ เหตุ คือ :-

อกุศลชาติ มี ๓ เหตุ ได้แก่ โลภเหตุ, โทสเหตุ, โมหเหตุ
กุศลชาติ มี ๓ เหตุ อโลภะ, อโทสะ, อโมหะ
วิปากชาติ มี ๓ เหตุ อโลภะ, อโทสะ, อโมหะ
กิริยาชาติ มี ๓ เหตุ อโลภะ, อโทสะ, อโมหะ

จำแนกเหตุโดยประเภทแห่งภูมิของจิต มี ๑๕ เหตุ คือ :-

กามภูมิ มี ๖ เหตุ คือ โลภเหตุ, โทสเหตุ, โมหเหตุ, อโลภเหตุ, อโทสเหตุ, อโมหเหตุ
รูปาวจรภูมิ มี ๓ เหตุ คือ อโลภเหตุ, อโทสเหตุ, อโมหเหตุ
อรูปาวจรภูมิ มี ๓ เหตุ คือ อโลภเหตุ, อโทสเหตุ, อโมหเหตุ
โลกุตตรภูมิ มี ๓ เหตุ คือ อโลภเหตุ, อโทสเหตุ, อโมหเหตุ

จำแนกเหตุโดยประเภทแห่งบุคคล

ปุถุชน มี ๖ เหตุ ได้แก่ โลภเหตุ, โทสเหตุ, โมหเหตุ, อโลภเหตุ, อโทสเหตุ, อโมหเหตุ
โสดาบันบุคคล มี ๖ เหตุ ได้แก่ โลภเหตุ, โทสเหตุ, โมหเหตุ, อโลภเหตุ, อโทสเหตุ, อโมหเหตุ
สกทาคามีบุคคล มี ๖ เหตุ ได้แก่ โลภเหตุ, โทสเหตุ, โมหเหตุ, อโลภเหตุ, อโทสเหตุ, อโมหเหตุ
อนาคามีบุคคล มี ๕ เหตุ ได้แก่ โลภเหตุ, โมหเหตุ, อโลภเหตุ, อโทสเหตุ, อโมหเหตุ
พระอรหันต์ มี ๓ เหตุ ได้แก่ อโลภเหตุ, อโทสเหตุ, อโมหเหตุ

ข้อสังเกต
อโสภณจิต
- อเหตุกจิต เป็นจิตที่ไม่มีเหตุประกอบ
- อกุศลจิต เป็นจิตที่มีเหตุ ประกอบอย่างมาก ๒ เหตุ อย่างน้อย ๑ เหตุ
โสภณจิต เป็นจิตที่มีเหตุประกอบอย่างมาก ๓ เหตุ อย่างน้อย ๒ เหตุ

สำหรับจิตที่ประกอบด้วยเหตุ ๔-๕-๖ เหตุนั้น ไม่มี เพราะ โลภะ โทสะ โมหะ เป็นฝ่ายอโสภณเหตุ และอโลภะ, อโทสะ อโมหะ เป็นฝ่ายโสภณเหตุ ทั้งสองฝ่ายจะประกอบกับจิตร่วมกันไม่ได้

⛯ แสดงเหตุกับเจตสิก

เหตุ ๖ โลภะ, โทสะ โมหะ, อโลภะ, อโทสะ, อโมหะ อันเป็นเจตสิกธรรมซึ่งจะต้องเกิดพร้อมกับจิต ดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์อันเดียวกันกับจิต และมีที่อาศัยอันเดียวกันกับจิต เหตุ ๖ นอกจากเกิดพร้อมกับจิตดังกล่าวแล้ว ยังเกิดพร้อมกับเจตสิกอื่น ๆ ตามที่ประกอบได้อีกด้วย ฉะนั้น เจตสิกใด เกิดพร้อม หรือประกอบกับเหตุ ๖ อันใดบ้าง มีการแสดงไว้เป็น ๒ นัย คือ

๑. อคหิตัคคหนนัย คือ เจตสิกที่นับแล้ว ไม่นับอีก หมายความว่า เจตสิกใดที่ได้ยกขึ้นเป็นหัวข้อแสดงแล้ว ไม่นำมากล่าวอ้างนับซ้ำอีก ได้แก่การยกเอาเจตสิกทั้ง ๕๒ ขึ้นมาแสดงแต่ละดวงว่าประกอบกับเหตุใดได้บ้าง หยิบยกมาแสดงจนครบจำนวนทั้ง ๕๒ ดวงโดยไม่มีการซ้ำกันเลย 

แสดงการจําแนกเจตสิกที่ประกอบกับเหตุโดยอคหิตคดหนนัย เจตสิกที่นับแล้วไม่นับอีก มีการแสดง ๗ นัย  คือ 

นัยที่ ๑  อเหตุกเจตสิก เจตสิกที่ไม่มีเหตุประกอบนั้น ไม่มี   
นัยที่ ๒ เอกเหตุกเจตสิก เจตสิกที่มีเหตุประกอบ ๑ เหตุ มี ๓ ดวง คือ : -

  • โลภเจตสิก มีเหตุประกอบ ๑ เหตุ คือ โมหเหตุ
  • โทสเจตสิก มีเหตุประกอบ ๑ เหตุ คือ โมหเหตุ
  • วิจิกิจฉาเจตสิก มีเหตุประกอบ ๑ เหตุ คือ โมหเหตุ

นัยที่ ๓ ทวิเหตุกเจตสิก เจตสิกที่มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ มี ๔ ดวง คือ : -

  • โมหเจตสิก มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ คือ โลภเหตุ, โทสเหตุ
  • ทิฏฐิเจตสิก มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ คือ โลภเหตุ, โมหเหตุ
  • มานเจตสิก มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ คือ โลภเหตุ, โมหเหตุ
  • อิสสาเจตสิก มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ คือ โทสเหตุ, โมหเหตุ
  • มัจฉริยเจตสิก มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ คือ โทสเหตุ, โมหเหตุ
  • กุกกุจจเจตสิก มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ คือ โทสเหตุ, โมหเหตุ
  • อโลภเจตสิก มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ คือ อโทสเหตุ, อโมหเหตุ
  • อโทสเจตสิก มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ คือ อโลภเหตุ, อโมหเหตุ
  • ปัญญาเจตสิก มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ คือ อโลภเหตุ, อโทสเหตุ

นัยที่ ๔ ติเหตุกเจตสิก เจตสิกที่มีเหตุประกอบ ๓ เหตุ มี ๒๗ ดวง คือ :-

  • อหิริกเจตสิก มีเหตุประกอบ ๓ เหตุ คือ โลภเหตุ, โทสเหตุ, โมหเหตุ
  • อโนตตัปปเจตสิก มีเหตุประกอบ ๓ เหตุ คือ โลภเหตุ, โทสเหตุ, โมหเหตุ
  • อุทธัจจเจตสิก มีเหตุประกอบ ๓ เหตุ คือ โลภเหตุ, โทสเหตุ, โมหเหตุ
  • ถีนเจตสิก มีเหตุประกอบ ๓ เหตุ คือ โลภเหตุ, โทสเหตุ, โมหเหตุ
  • มิทธเจตสิก มีเหตุประกอบ ๓ เหตุ คือ โลภเหตุ, โทสเหตุ, โมหเหตุ
  • โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นอโลภะ, อโทสะ, ปัญญา) มีเหตุประกอบ ๓ เหตุ คือ อโลภเหตุ, อโทสเหตุ, อโมหเหตุ

นัยที่ ๕  จตุเหตุกเจตสิก เจตสิกที่มีเหตุประกอบ ๔ เหตุ ไม่มี
นัยที่ ๖  ปัญจเหตุกเจตสิก เจตสิกที่มีเหตุประกอบ ๕ เหตุ มี ๑ ดวง คือ

  • ปีติเจตสิก มีเหตุประกอบ ๕ เหตุ ได้แก่ โลภเหตุ, โมหเหตุ, อโลภเหตุ, อโทสเหตุ, อโมหเหตุ

นัยที่ ๗ ฉเหตุกเจตสิก เจตสิกที่มีเหตุประกอบ ๖ เหตุ มี ๑๒ ดวง คือ

  • อัญญสมานาเจตสิก ๑๒  (เว้นปีติเจตสิก) มีเหตุประกอบ ๖ เหตุ ได้แก่ โลภเหตุ, โทสเหตุ, โมหเหตุ, อโลภเหตุ, อโทสเหตุ, อโมหเหตุ

รวมเจตสิกที่มีเหตุประกอบ ๑ เหตุ มี ๓ ดวง
เจตสิกที่มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ มี ๙ ดวง
เจตสิกที่มีเหตุประกอบ ๓ เหตุ มี ๒๗ ดวง
เจตสิกที่มีเหตุประกอบ ๕ เหตุ มี ๑ ดวง
เจตสิกที่มีเหตุประกอบ ๖ เหตุ มี ๑๒ ดวง

รวมเจตสิกที่มีเหตุประกอบ ๕๒ ดวง

นี่คือ การแสดงว่า เจตสิก ๕๒ ดวง มีเหตุใดประกอบได้บ้าง และ เป็นการยกเอาเจตสิก ๕๒ ดวงนั้น มาแสดงแล้ว ไม่นำมาแสดงซ้ำอีก เรียกการนับเจตสิกที่ประกอบกับเหตุนี้ว่า “อคหิตัคคหนนัย” คือเจตสิกที่นับแล้วไม่นับอีก

๒.คหิตัคคหนนัย คือ เจตสิกที่นับแล้วนับอีก หมายความว่า เมื่อยกเอาเจตสิกใดมาแสดง โดยการประกอบด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งแล้ว หากเจตสิกดวงที่ยกมาแสดงแล้ว ยังอาจประกอบกับเหตุอื่นได้อีก ก็ยังต้องยกมากล่าวอ้างอีก ดังเช่น โมหเจตสิกที่นับโดยการประกอบกับโลภมูลจิตแล้ว ยังต้องนำมานับซ้ำอีกเมื่อโมหเจตสิกนั้น ประกอบกับโทสมูลจิตได้อีกด้วย

แสดงการจําแนกเจตสิก ประกอบกับเหตุโดย คหิตคคหนนัย เจตสิกที่นับแล้วนับอีก ตามที่ประกอบกับจิต มีการแสดง ๔ นัย คือ

นัยที่ ๑  อเหตุกเจตสิก เป็นเจตสิกที่ไม่มีเหตุประกอบ มี ๑๓ ดวง คือ

  • อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นฉันทะ) ที่ประกอบกับอเหตุกจิต ๑๘
  • โมหเจตสิก ๑ ที่ประกอบกับโมหมูลจิต ๒

นัยที่ ๒  เอกเหตุกเจตสิก คือ เจตสิกที่มีเหตุประกอบ ๑ เหตุ มีจำนวน ๒๐ ดวง คือ

  • อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้นปีติ, ฉันทะ) ที่ประกอบกับโมหมูลจิต ๒ มีเหตุ ๑ เหตุ คือ โมหเหตุ
  • อหิริกะ ๑ ที่ประกอบกับโมหมูลจิต ๒  มีเหตุ ๑ เหตุ คือ โมหเหตุ
  • อโนตตัปปะ ๑ ที่ประกอบกับโมหมูลจิต ๒  มีเหตุ ๑ เหตุ คือ โมหเหตุ
  • อุทธัจจะ ๑ ที่ประกอบกับโมหมูลจิต ๒  มีเหตุ ๑ เหตุ คือ โมหเหตุ
  • วิจิกิจฉา ๑ ที่ประกอบกับโมหมูลจิต ๒  มีเหตุ ๑ เหตุ คือ โมหเหตุ
  • โลภเจตสิก ๑ ที่ประกอบกับโลภมูลจิต ๘  มีเหตุ ๑ เหตุ คือ โมหเหตุ
  • โทสเจตสิก ที่ประกอบกับโทสมูลจิต ๒ มีเหตุ ๑ เหตุ คือ โมหเหตุ
  • โมหเจตสิก ๑ ที่ประกอบกับโลภมูลจิต ๘ มีเหตุ ๑ เหตุ คือ โลภเหตุ ที่ประกอบกับโทสมูลจิต ๒ มีเหตุ ๑ เหตุ คือ โทสเหตุ
  • อโลภเจตสิก ๑ ที่ประกอบกับญาณวิปปยุตจิต ๑๒ มีเหตุ ๑ เหตุ คือ อโทสเหตุ
  • อโทสเจตสิก ๑ ที่ประกอบกับญาณวิปปยุตจิต ๑๒ มีเหตุ ๑ เหตุ คือ อโลภเหตุ

นัยที่ ๓ ทวิเหตุกเจตสิก คือเจตสิกที่มีเหตุประกอบ ๒ เหตุ มีจำนวน ๔๘ ดวง คือ

ก. เจตสิก ๔๕ (เว้นเหตุกเจตสิก ๖ และวิจิกิจฉา ๑) ที่ประกอบกับทวิเหตุกจิต ๒๒

  • อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ หรือ ๑๒ ที่ประกอบกับโลภมูลจิต ๘ มี ๒ เหตุ คือ โลภเหตุ, โมหเหตุ ที่ประกอบกับโทสมูลจิต ๒ มี ๒ เหตุ คือ โทสเหตุ, โมหเหตุ ที่ประกอบกับญาณวิปปยุตจิต ๑๒ มี ๒ เหตุ คือ อโลภเหตุ อโทสเหตุ
  • อหิริกะ ๑, อโนตตัปปะ ๑, อุทธัจจะ ที่ประกอบกับโลภมูลจิต ๘ มี ๒ เหตุ คือ โลภเหตุ, โมหเหตุ ที่ประกอบกับโทสมูลจิต ๒ มี ๒ เหตุ คือ โทสเหตุ, โมหเหตุ
  • ทิฏฐิ ๑ ที่ประกอบกับทิฏฐิคตสัมปยุตจิต ๔ มี ๒ เหตุ คือ โลภเหตุ, โมหเหตุ
  • มานะ ๑ ที่ประกอบกับทิฏฐิคตวิปปยุตจิต ๔ มี ๒ เหตุ คือ โลภเหตุ, โมหเหตุ
  • อิสสา ๑, มัจฉริยะ ๑, กุกกุจจะ ๑ ที่ประกอบกับโทสมูลจิต ๒ มี ๒ เหตุ คือ โทสเหตุ, โมหเหตุ
  • ถีนะ ๑ ที่ประกอบกับโลภมูลสสังขาริกจิต มี ๒ เหตุ คือ โลภเหตุ, โมหเหตุ
  • มิทธะ ๑ ที่ประกอบกับโทสมูลสสังขาริกจิต มี ๒ เหตุ คือ โทสเหตุ, โมหเหตุ
  • โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นอโลภะ, อโทสะ อโมหะ) ที่ประกอบกับญาณวิปปยุตจิต ๑๒ มี ๒ เหตุ คือ อโลภเหตุ, อโทสเหตุ

ข. เจตสิก ๓ ดวง คือ อโลภะ, อโทสะ, และอโมหะ ที่ประกอบกับติเหตุกจิต ๔๗ หรือ ๗๙

  • อโลภเจตสิก ๑ ที่ประกอบกับญาณสัมปยุตจิต ๔๗ หรือ ๗๙ มี ๒ เหตุ คือ อโทสเหตุ, อโมหเหตุ
  • อโทสเจตสิก ๑ ที่ประกอบกับญาณสัมปยุตจิต ๔๗ หรือ ๗๙ มี ๒ เหตุ คือ อโลภเหตุ, อโมหเหตุ
  • ปัญญาเจตสิก ๑ ที่ประกอบกับญาณสัมปยุตจิต ๔๗ หรือ ๗๙ มี ๒ เหตุ คือ อโลภเหตุ, อโทสเหตุ

นัยที่ ๔ ติเหตุกเจตสิก คือ เจตสิกที่มีเหตุประกอบ ๓ เหตุ มีจำนวน ๓๕ ดวง คือ 

  • อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ ที่ประกอบกับติเหตุกจิต ๔๗ หรือ ๗๙ มี ๓ เหตุ คือ อโลภเหตุ, อโทสเหตุ, อโมหเหตุ 
  • โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นอโลภะ, อโทสะ อโมหะ) ที่ประกอบกับติเหตุกจิต ๔๗ หรือ ๗๙ มี ๓ เหตุ คือ อโลภเหตุ, อโทสเหตุ, อโมหเหตุ


การนับจํานวนเหตุโดยพิสดาร

๑. อกุศลเหตุ มีจำนวน ๒๒ คือ
- โลภเหตุ มี ๘
- โทสเหตุ มี ๒
- โมหเหตุ มี ๑๒

รวมอกุศลเหตุ มี ๒๒

๒.กุศลเหตุ มีจำนวน ๑๐๗ คือ
- อโลภเหตุ มี ๓๗
- อโทสเหตุ มี ๓๗
- อโมหเหตุ มี ๓๓

รวมกุศลเหตุ มี ๑๐๗

๓. วิปากเหตุ มีจำนวน ๑๐๗ คือ
- อโลภเหตุ มี ๓๗
- อโทสเหตุ มี ๓๗
- อโมหเหตุ มี ๓๓

รวมวิปากเหตุ มี ๑๐๗

๔.กิริยาเหตุ มีจำนวน ๔๗ คือ
- อโลภเหตุ มี ๑๗
- อโทสเหตุ มี ๑๗
- อโมหเหตุ มี ๑๓

รวมกิริยาเหตุ มี ๔๗

รวมจำนวนเหตุโดยพิสดาร มีจำนวน ๒๘๓ คือ
- อกุศลเหตุ มี ๒๒
- กุศลเหตุ มี ๑๐๗
- วิปากเหตุ มี ๑๐๗
- กิริยาเหตุ มี ๔๗

- จบเหตุสังคหะ –

เวทนาสังคหะ

แสดงการรวบรวมจิต เจตสิก โดยประเภทแห่งเวทนา ชื่อว่า “เวทนาสังคหะ”

คาถาสังคหะ
สุขํ ทุกฺขมุเปกฺขาติ   ติวิธา ตตฺถ เวทนา
โสมนสฺสํ โทมนสฺส   มิติ เภเทน ปญฺจธา ฯ

แปลความว่า ในเวทนาสังคหะนั้น ว่าโดยอารัมมณานุภวนลักขณะ คือตามประเภทแห่งอารมณ์แล้ว มีเวทนา ๓ อย่าง คือ ๑. สุขเวทนา ๒. ทุกขเวทนา ๓. อุเบกขาเวทนา เมื่อว่าโดยอินทริยเภท คือ ประเภทความเป็นใหญ่ของเครื่องรับอารมณ์แล้ว มีเวทนา ๕ อย่าง คือ เพิ่ม โสมนัสเวทนา และ โทมนัสเวทนา รวมเข้าด้วยกัน จึงเป็นเวทนา ๕

อธิบาย “เวทนา” เป็นเจตสิกปรมัตถ์อย่างหนึ่ง ซึ่งมีการเป็นไปโดยอาการเสวยอารมณ์ เป็นลักษณะ หรือเป็นธรรมชาติที่มีความรู้สึกต่อบรรดาอารมณ์ต่าง ๆ ที่มาปรากฏ การสงเคราะห์จิต เจตสิก โดยประเภทแห่งเวทนานี้ มีแสดงไว้เป็น ๒ นัย คือ

นัยที่ ๑ แสดงโดย อารัมมณานุภวนลักขณนัย คือ นัยที่แสดงการเสวยอารมณ์ ตามประเภทของอารมณ์ นัยที่ ๒ แสดงโดย อินนทริยเภทนัย คือ นัยที่แสดงถึงสภาพความเป็นใหญ่ในการเสวยอารมณ์ ตามประเภทของเครื่องรับอารมณ์


นัยที่ ๑ อารัมมณานุภวนลักขณนัย
มีเวทนา ๓
ในบรรดาอารมณ์ ๖ คือ รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะและธัมมารมณ์ที่สัตว์ทั้งหลายได้รับอยู่นี้ แบ่งออกได้เป็น ๓ ประเภท คือ :-
๑. อิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่ดี
๒. อนิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่ไม่ดี
๓. มัชฌัตตารมณ์ คือ อารมณ์ปานกลาง

ความรู้สึกในการเสวยอารมณ์ของสัตว์นั้น ย่อมเป็นไปตามประเภทของอารมณ์ คือ :-

๑. ขณะที่กำลังเสวยอิฏฐารมณ์อยู่นั้น ก็รู้สึกสบายกาย สบายใจ ความรู้สึกสบายกายสบายใจนี้ เรียกว่า “สุขเวทนา”
๒. ขณะที่กำลังเสวยอนิฏฐารมณ์อยู่นั้น ก็รู้สึกไม่สบายกาย หรือไม่สบายใจ ความรู้สึกไม่สบายนี้ เรียกว่า “ทุกขเวทนา”
๓. ขณะที่กำลังเสวยมัชฌัตตารมณ์อยู่นั้น รู้สึกเฉย ๆ ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ทั้งกายและใจ ความรู้สึกเฉยๆ ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุขนี้ เรียกว่า “อทุกขมสุขเวทนา”

แสดงการจำแนกจิต ๑๒๑ โดยเวทนา ๓ (อารัมมณานุภวนลักขณนัย)
๑. จิตที่เกิดพร้อมกับสุขเวทนา ทั้งสุขกายและสุขใจ มี ๖๓ ดวง คือ
- สุขสหคตกายวิญญาณ ๑ ดวง
- โสมนัสสหคตจิต ๖๒ ดวง

๒. จิตที่เกิดพร้อมกับทุกขเวทนา คือ ความทุกข์กายและทุกข์ใจมี
- ทุกขสหคตกายวิญญาณ ๑ ดวง
-โทมนัสสหคตจิต ๒ ดวง

๓. จิตที่เกิดพร้อมกับอทุกขมสุขเวทนา คือ ความไม่ทุกข์และไม่สุข ทั้งกายและใจ เรียกว่า อุเบกขาเวทนา มี ๕๕ ดวง คือ 


นัยที่ ๒ อินทริยเภทนัย มีเวทนา ๕

คาถาสังคหะ
สุขเมกตฺถ ทุกฺขกฺจ   โทมนสฺสํ ทฺวเย ฐิตํ
ทฺวาสฏฐีสุ โสมนสฺสํ   ปญฺจปญฺญาสเกตรา ฯ

แปลความว่า สุขเวทนา ๑, ทุกขเวทนา ๑, โทมนัสเวทนา ๒, โสมนัสเวทนา ๖๒, อุเบกขาเวทนา ๕๕ (กล่าวโดยอินทริยเภทนัย)

อินนทริยเภทนัย คือ นัยที่แสดงการเสวยอารมณ์ ตามประเภทความเป็นใหญ่แห่งเครื่องรับอารมณ์ กล่าวคือ การเสวยอารมณ์ของบรรดาสัตว์ทั้งหลายนั้นย่อมปรากฏชัด ทางกายบ้าง และทางใจบ้าง เรียกความปรากฏชัดในการเสวยอารมณ์นี้ว่า ความเป็นใหญ่ในการเสวยอารมณ์ซึ่งปรากฏได้ ๒ ทาง คือ ทางกาย และทางใจ

ความรู้สึกสบายทางกายนั้น เวทนาเจตสิก ที่เกิดพร้อมกับสุขสหคตกายวิญญาณนั้น เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครอง ในการเสวยอารมณ์ที่สบายกาย เรียกเวทนานั้นว่า “สุขเวทนา”

ความรู้สึกไม่สบายทางกายนั้น เวทนาเจตสิก ที่เกิดพร้อมกับทุกขสหคตกายวิญญาณนั้น เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครอง ในการเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายกาย เรียกเวทนานั้นว่า “ทุกขเวทนา”

ความรู้สึกสบายใจนั้น เวทนาเจตสิกที่เกิดพร้อมกับโสมนัสสหคตจิตนั้น เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครอง ในการเสวยอารมณ์ที่สบายใจ เรียกเวทนานั้นว่า “โสมนัสเวทนา”

ความรู้สึกไม่สบายทางใจนั้น เวทนาเจตสิกที่เกิดพร้อมกับโทสมูลจิตนั้นย่อมเป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครอง ในการเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายใจ เรียกเวทนานั้นว่า “โทมนัสเวทนา”

ความรู้สึกเฉย ๆ ที่ปรากฏได้เฉพาะทางใจนั้น เวทนาเจตสิกที่เกิดพร้อมกับอุเบกขาสหคตจิต เป็นใหญ่ เป็นผู้ปกครอง ในการเสวยอารมณ์โดยรู้สึกเฉย ๆ เรียกเวทนานั้นว่า “อุเบกขาเวทนา”

รวมความว่า ความเป็นใหญ่ในการเสวยอารมณ์ของสัตว์ทั้งหลายที่ปรากฏทางกายกับทางใจนั้น มีเวทนาเกิดได้ ๕ อย่าง คือ :-

๑. ทางกาย 
- ความรู้สึกสบายกาย เรียกว่า สุขเวทนา
- ความรู้สึกไม่สบายกาย เรียกว่า ทุกขเวทนา

๒. ทางใจ
- ความรู้สึกสบายใจ เรียกว่า โสมนัสเวทนา
- ความรู้สึกไม่สบายใจ เรียกว่า โทมนัสเวทนา
- ความรู้สึกเฉยๆ เรียกว่า อุเบกขาเวทนา

แสดงเวทนา ๕ ที่เกิดพร้อมกับจิต ๑๒๑

๑. จิตที่เกิดพร้อมกับ สุขเวทนา (สุขกาย) มี ๑ ดวง ได้แก่ สุขสหคตกายวิญญาณ
๒. จิตที่เกิดพร้อมกับ ทุกขเวทนา (ทุกข์กาย) มี ๑ ดวง ได้แก่ทุกขสหคตกายวิญญาณ
๓. จิตที่เกิดพร้อมกับ โสมนัสเวทนา (สุขใจ) มี ๖๒ ดวง ได้แก่ กามโสมนัสสหคตจิต ๑๖ ดวง ฌานโสมนัสสหคตจิต ๔๔ ดวง
๔. จิตที่เกิดพร้อมกับ โทมนัสเวทนา (ทุกข์ใจ) มี ๒ ดวง ได้แก่ โทมนัสสหคตจิต (โทสมูลจิต)
๕. จิตที่เกิดพร้อมกับ อุเบกขาเวทนา (เฉยๆ) มี ๕๕ ดวง ได้แก่ กามอุเบกขาสหคตจิต ๓๒ ดวง ฌานอุเบกขาสหคตจิต ๒๓ ดวง

เวทนา กับ เจตสิก เวทนากับเจตสิก มีการแสดงเป็น ๒ นัย คือ :-
ก. แสดงว่า เวทนาใด เกิดกับเจตสิกอะไรได้บ้าง
ข. แสดงว่า เจตสิกใด เกิดกับเวทนาอะไรได้บ้าง

ก. เวทนาเกิดกับเจตสิก
สุขเวทนา เกิดได้กับ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๖ (เว้นเวทนาเจตสิก)
ทุกขเวทนา เกิดได้กับ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๖ (เว้นเวทนาเจตสิก)
โสมนัสเวทนา เกิดได้กับ เจตสิก ๔๖ ดวง คือ

  • อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นเวทนาเจตสิก)
  • อกุศลเจตสิก ๙ (เว้นโทจตุกะ ๔ วิจิกิจฉาเจตสิก ๑)
  • โสภณเจตสิก ๒๕

โทมนัสเวทนา เกิดได้กับ เจตสิก ๒๑ ดวง คือ

  • อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้นเวทนา ปีติ) 
  • อกุศลเจตสิก ๑๐ (เว้นโลติกะ ๓, วิจิกิจฉาเจตสิก ๑)

อุเบกขาเวทนา เกิดได้กับ เจตสิก ๔๖ ดวง คือ

  • อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้นเวทนา ปีติ)
  • อกุศลเจตสิก ๑๐ (เว้นโทจตุกะ ๔)
  • โสภณเจตสิก ๒๕

ข. เจตสิกที่เกิดพร้อมกับเวทนา
๑. เจตสิกที่เกิดพร้อมกับเวทนาอย่างเดียว มี ๖ ดวง คือ 
ปีติเจตสิก ๑ เกิดพร้อมกับ โสมนัสเวทนา อย่างเดียว
โทจตุกเจตสิก ๔ เกิดพร้อมกับ โทมนัสเวทนา อย่างเดียว
วิจิกิจฉาเจตสิก ๑ เกิดพร้อมกับ อุเบกขาเวทนา อย่างเดียว

๒. เจตสิกที่เกิดพร้อมกับเวทนา ๒ มี ๒๘ ดวง คือ :-
โลติกเจตสิก ๓ เกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนาก็ได้
โสภณเจตสิก ๒๕ เกิดพร้อมกับอุเบกขาเวทนาก็ได้

๓. เจตสิกที่เกิดพร้อมกับเวทนา ๓ มี ๑๑ ดวง คือ :-
โมจตุกเจตสิก ๔ ถีนมิทธเจตสิก ๒ วิตกเจตสิก ๑ วิจารเจตสิก ๑  อธิโมกขเจตสิก ๑ วิริยเจตสิก ๑ ฉันทเจตสิก ๑ เจตสิก ๑๑ ดวงนี้ เกิดพร้อมกับโสมนัสเวทนา, โทมนัสเวทนาหรืออุเบกขาเวทนา อย่างใดก็ได้

๔.เจตสิกที่เกิดพร้อมกับเวทนา ๕ มี ๖ ดวง คือ สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๖ (เว้นเวทนาเจตสิก)

. เจตสิกที่ไม่เกิดพร้อมกับเวทนา มี ๑ ดวง คือเวทนาเจตสิก ๑



วิกิ

ผลการค้นหา