คู่มือศึกษาพระไตรปิฎก คัมภีร์เนตติปกรณ์

เนตติปกรณ์” เป็นคัมภีร์ที่สอนการขยายความพุทธพจน์ ขยายในสิ่งที่พระพุทธองค์ตรัสสอน คำภีร์นี้แต่งขึ้นโดยพระมหากัจจายนะ ผู้เป็นเลิศในการอธิบายความย่อให้พิศดาร โดยปกติของเวไนยสัตว์ที่เป็นวิปัญจิตัญญู เมื่อได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์แล้วจะไม่สามารถเข้าใจในอรรถและพยัญชนะได้ทั้งหมด เช่น ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงแสดงภัทเทกรัตตสูตรโดยย่อ แล้วเสด็จเข้าสู่พระวิหารที่ประทับ พระภิกษุทั้งหลาย ไม่มีโอกาสได้กราบทูลถามเนื้อความที่ตรัสไว้แล้วโดยย่อให้เข้าใจได้ จึงพากันเข้าไปหาพระมหากัจจายนะ กราบอาราธนาให้ท่านได้เมตตาอธิบายขยายความให้ฟัง พระเถระจึงได้อธิบายขยายความให้ฟังอย่างพิสดาร แล้วกล่าวแนะนำว่า “ท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าเข้าใจความหมายแห่งพระสูตรนี้ตามที่อธิบายมานี้ แต่ถ้าท่านทั้งหลายมีความต้องการจะทราบให้แน่ชัดก็จงไปกราบทูลถามพระผู้มีพระภาค เมื่อพระองค์ทรงแก้อย่างไร ก็จงจำไว้อย่างนั้นเถิด” พระภิกษุเหล่านั้นพากันลาพระเถระแล้ว เข้าไปกราบทูลเนื้อความที่พระมหากัจจายนะอธิบายไว้ให้พระพุทธองค์ทรงสดับ

เมื่อพระพุทธองค์ทรงสดับแล้วก็ตรัสสรรเสริญพระเถระว่า “ภิกษุทั้งหลาย พระมหากัจจายนะ เป็นผู้มีปัญญา เนื้อความนั้นถ้าพวกเธอถามตถาคต แม้ตถาคตก็จะอธิบายอย่างนั้น เช่นกัน ขอพวกเธอจงจำเนื้อความนั้นไว้เถิด” เมื่อครั้งพระพุทธองค์ ประทับอยู่ ณ พระเชตะวันมหาวิหาร ทรงตั้งพระมหากัจจายนะไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในฝ่าย ผู้อธิบายเนื้อความย่อให้พิสดาร

 
คัมภีร์นี้แต่งโดย พระมหากัจจายนะ ชื่อว่า เนตติปกรณ์ คำว่า "เนตติ" เพราะสามารถนำเวไนยสัตว์ทั้งหลายไปสู่มรรคผลนิพพาน หรือเป็นเครื่องแนะนำ หรือเป็นที่แนะนำเวไนยสัตว์ทั้งหลายไปสู่มรรคผลนิพพาน ดังมีวิเคราะห์ว่า "นยตีติ เนตติ เนตฺติ" แปลว่า "คัมภีร์ใดย่อมนำเวไนยสัตว์ทั้งหลายไปสู่มรรคผลนิพพาน เพราะเหตุนั้น คัมภีร์นั้น ชื่อว่า เนตติหรือ "นยนฺติ เอตายาติ เนตฺติ" แปลว่า "บุคคลผู้แสดงธรรมทั้งหลายย่อมแนะนำเวไนยบุคคลด้วยคัมภีร์นี้ เพราะเหตุนั้น คัมภีร์นั้น ชื่อว่า เนตติหรือ "นียนฺติ เอตฺถาติ เนตฺติ" แปลว่า "เวไนยบุคคลทั้งหลายอันบุคคลผู้แสดงธรรมย่อมแนะนำคัมภีร์นี้ เพราะเหตุนั้น คัมภีร์นั้น ชื่อว่า เนตติ"

🌀 คัมภีร์เนติปกรณ์ เรียบเรียงตามเทศนาธรรมของ พระอาจารย์ สมบัติ นันทิโก

คำนอบน้อมพระพุทธเจ้า
๑. 
สังคหวาระ คือการสรุปใจความของคัมภีร์ (คำนำ)
๒. อุทเทสวาระ คือหัวข้อของเนื้อหาโดยสรุป (สารบัญ)
๓. นิทเทสวาระ คือการขยายพุทธพจน์ แต่ขยายแบบย่อ
๔. ปฏินิทเทสวาระ 
คือการขยายพุทธพจน์ แต่ขยายแบบพิสดาร

วิกิ

ผลการค้นหา