คาถาสังคหะ
ฉตฺตีสานุตฺตเร ธมฺมา ปญฺจตฺตึส มหคฺคเต
อฏฺฐตฺตึสาปิ ลพฺภนฺติ กามาวจรโสภเณ ฯ
สตฺตวีสตฺยปุญญมฺหิ ทฺวาทสาเหตุเกติ จ
ยถาสมฺภวโยเคน ปัญฺจธา ตตฺถ สงฺคโห ฯ
แปลความว่า
โลกุตรจิต มีเจตสิกประกอบได้ ๓๖ ดวง
มหัคคตจิต มีเจตสิกประกอบได้ ๓๕ ดวง
กามาวจรโสภณจิต มีเจตสิกประกอบได้ ๓๘ ดวง
อกุศลจิต มีเจตสิกประกอบได้ ๒๗ ดวง
อเหตุกจิต มีเจตสิกประกอบได้ ๑๒ ดวง
นี้คือการนับจำนวนเจตสิกที่สงเคราะห์ลงในจิตโดยสังคหะได้ ๕ นัยคือ
๑. อนุตตรสังคหนัย
อนุตตรสังคหนัย คือนัยที่แสดงการสงเคราะห์เจตสิกลงในโลกุตตรจิตหรือที่เรียกว่า สังคหนัยแห่งโลกุตตรจิต ๘ หรือ ๔๐
ฉตฺตีส ปญฺจตึสาถ จตุตตึส ยถากฺกมํ
แปลความว่า
โลกุตตรจิต ๔๐ ดวงนั้น มีสังคหะ ๕ นัยคือ :-
นัยที่ ๑ เจตสิก ๓๖ ดวง ประกอบในโลกุตตร ปฐมฌานจิต ๘
นัยที่ ๒ เจตสิก ๓๕ ดวง ประกอบในโลกุตตร ทุติยฌานจิต ๘
นัยที่ ๓ เจตสิก ๓๔ ดวง ประกอบในโลกุตตร ตติยฌานจิต ๘
นัยที่ ๔ เจตสิก ๓๓ ดวง ประกอบในโลกุตตร จตุตถฌานจิต ๘
นัยที่ ๕ เจตสิก ๓๓ ดวง ประกอบในโลกุตตร ปัญจมฌานจิต ๘
อธิบาย โลกุตตรจิต เมื่อนับจำนวนโดยย่อแล้วได้ ๔ ดวง คือ มรรคจิต ๔ และผลจิต ๔ โลกุตตรจิตทั้ง ๘ ดวงนี้ เจตสิกประกอบเท่ากันหมดทุกดวง แต่เมื่อนับโลกุตตรจิตโดยพิสดาร ๔๐ ดวงแล้ว จึงมีสังคหะ ๕ นัยด้วยอำนาจแห่งองค์ฌานคือ :-
- นัยที่ ๑ ปฐมฌานมรรคจิต ๔ ผลจิต ๔ (โลกุตตรปฐมฌานจิต ๔) มีเจตสิกประกอบ ๓๖ ดวงได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๓ (เว้นอัปปมัญญาเจตสิก ๒)
- นัยที่ ๒ ทุติยฌานมรรคจิต ๔ ผลจิต ๔ (โลกุตตรทุติยฌานจิต ๔) มีเจตสิกประกอบ ๓๕ ดวงได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นวิตกเจตสิก) โสภณเจตสิก ๒๓ (เว้นอัปปมัญญาเจตสิก ๒)
- นัยที่ ๓ ตติยฌานมรรคจิต ๔ ผลจิต ๔ (โลกุตตรตติยฌานจิต ๔) มีเจตสิกประกอบ ๓๔ ดวงได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้นวิตก, วิจาร) โสภณเจตสิก ๒๓ (เว้นอัปปมัญญาเจตสิก ๒)
- นัยที่ ๔ จตุตถฌานมรรคจิต ๔ ผลจิต ๔ (โลกุตตรจตุตถฌานจิต ๔) มีเจตสิกประกอบ ๓๓ ดวงได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นวิตก, วิจาร, ปีติ) โสภณเจตสิก ๒๓ (เว้นอัปปมัญญาเจตสิก ๒)
- นัยที่ ๕ ปัญจมฌานมรรคจิต ๔ ผลจิต ๔ (โลกุตตรปัญจมฌานจิต ๔) มีเจตสิกประกอบ ๓๓ ดวงได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นวิตก, วิจาร, ปีติ) โสภณเจตสิก ๒๓ (เว้นอัปปมัญญาเจตสิก ๒)
๒. มหัคคตสังคหนัย
คาถาสังคหะ
ปญฺจตฺตึส จตุตฺตึส เตตุตึสาถ ยถากฺกมํ
ทฺวตฺตึส เจว ตึสาติ ปญฺจธาว มหคฺคเต ฯ
แปลความว่า
มหัคคตจิต ๒๗ ดวง มีสังคหะ ๕ นัยคือ :-
นัยที่ ๑ เจตสิก ๓๕ ดวง ประกอบในโลกีย ปฐมฌานจิต ๓
นัยที่ ๒ เจตสิก ๓๔ ดวง ประกอบในโลกีย ทุติยฌานจิต ๓
นัยที่ ๓ เจตสิก ๓๓ ดวง ประกอบในโลกีย ตติยฌานจิต ๓
นัยที่ ๔ เจตสิก ๓๒ ดวง ประกอบในโลกีย จตุตถฌานจิต ๓
นัยที่ ๕ เจตสิก ๓๐ ดวง ประกอบในโลกีย ปัญจมฌานจิต ๑๕
อธิบาย มหัคคตจิต ๒๗ ดวงคือ รูปาวจรจิต ๑๕ และอรูปาวจรจิต ๑๒ ด้วยอำนาจแห่งฌาน ทำให้เจตสิกที่เข้าประกอบไม่เท่ากัน จึงมีสังคหะ ๕ นัย คือ :-
- นัยที่ ๑ รูปาวจรปฐมฌานจิต ๓ มีเจตสิกประกอบ ๓๕ ดวง ได้แก่อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓)
- นัยที่ ๒ รูปาวจรทุติยฌานจิต ๓ มีเจตสิกประกอบ ๓๔ ดวง ได้แก่อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นวิตก) โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓)
- นัยที่ ๓ รูปาวจรตติยฌานจิต ๓ มีเจตสิกประกอบ ๓๓ ดวง ได้แก่อัญญสมานาเจตสิก ๑๑ (เว้นวิตก วิจาร) โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓)
- นัยที่ ๔ รูปาวจรจตุตถฌานจิต ๓ มีเจตสิกประกอบ ๓๒ ดวงได้แก่อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นวิตก วิจาร, ปีติ) โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓)
- นัยที่ ๕ รูปาวจรปัญจมฌานจิต ๓, อรูปาวจรจิต ๑๒ มีเจตสิกประกอบ ๓๐ ดวง ได้แก่ อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ (เว้นวิตก วิจาร, ปีติ) โสภณเจตสิก ๒๐ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓, อัปปมัญญาเจตสิก ๒)
๓. กามาวจรโสภณสังคหนัย
สเหตุกามาวจร ปุญฺญปากกุริยามเน ฯ
แปลความว่า เจตสิกธรรม ๓๘-๓๗ (๓๗ สองครั้ง) และ ๓๖ ย่อมประกอบในสเหตุกกามาวจรกุศลจิต ๘ เจตสิกธรรม ๓๕-๓๔ (๓๔ สองครั้ง) และ ๓๓ ย่อมประกอบในสเหตุกกามาวจรกิริยาจิต ๘ เจตสิกธรรม ๓๓-๓๒ (๓๒ สองครั้ง) และ ๓๑ ย่อมประกอบในสเหตุกกามาวจรวิบากจิต ๘
อธิบาย ในบรรดาสเหตุกกามาวจรกุศล, กิริยา และวิบาก หรือกามาวจรโสภณจิต ๒๔ ดวงนั้น มีสังคหะ ๑๒ นัยดังนี้คือ :-
๑. สเหตุกกามาวจรกุศลจิต ๔ มีสังคหะ ๔ นัย มีเจตสิกประกอบ ๓๘, ๓๗, ๓๗ และ ๓๖ ดวง
๒. สเหตุกกามาวจรกิริยาจิต ๔ มีสังคหะ ๔ นัย มีเจตสิกประกอบ ๓๕, ๓๔, ๓๔ และ ๓๓ ดวง
๓. สเหตุกกามาวจรวิบากจิต ๔ มีสังคหะ ๔ นัย มีเจตสิกประกอบ ๓๓, ๓๒, ๓๒ และ ๓๑ ดวง
๑. สเหตุกกามาวจรกุสลจิต ๔ มีสังคหะ ๔ นัยคือ :-
- นัยที่ ๑ เจตสิก ๓๔ ดวงคือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓, โสภณเจตสิก ๒๕ ที่ประกอบในมหากุศลจิตดวงที่ ๑ กับดวงที่ ๒
- นัยที่ ๒ เจตสิก ๓๗ ดวงคือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓, โสภณเจตสิก ๒๔ (เว้นปัญญาเจตสิก) ที่ประกอบในมหากุศลจิตดวงที่ ๓ กับดวงที่ ๔
- นัยที่ ๓ เจตสิก ๓๗ ดวงคือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒, (เว้นปีติเจตสิก) โสภณเจตสิก ๒๕ ที่ประกอบในมหากุศลจิตดวงที่ ๕ กับดวงที่ 5
- นัยที่ ๔ เจตสิก ๓๖ ดวงคือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติเจตสิก)โสภณเจตสิก ๒๔ (เว้นปัญญาเจตสิก) ที่ประกอบในมหากุศลจิตดวงที่ ๗ กับดวงที่ ๘
๒. สเหตุกกามาวจรกิริยาจิต ๔ มีสังคหะ ๔ นัยคือ :-
- นัยที่ ๑ เจตสิก ๓๕ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓, โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓) ที่ประกอบในมหากิริยาจิตดวงที่ ๑ กับดวงที่ ๒
- นัยที่ ๒ เจตสิก ๓๔ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓, โสภณเจตสิก ๒๑ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓, ปัญญาเจตสิก ๑) ที่ประกอบในมหากิริยาจิตดวงที่ ๓ กับดวงที่ ๔
- นัยที่ ๓ เจตสิก ๓๔ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒, (เว้นปีติเจตสิก) โสภณเจตสิก ๒๒ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓) ที่ประกอบในมหากิริยาจิตดวงที่ ๕ กับดวงที่ ๖
- นัยที่ ๔ เจตสิก ๓๓ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติเจตสิก) โสภณเจตสิก ๒๑ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓, ปัญญาเจตสิก ๑) ที่ประกอบในมหากิริยาจิตดวงที่ ๗ กับดวงที่ ๔
๓. สเหตุกกามาวจรวิบากจิต ๔ มีสังคหะ ๔ นัยคือ :-
- นัยที่ ๑ เจตสิก ๓๓ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓, โสภณเจตสิก ๒๐ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓, อัปปมัญญาเจตสิก ๒) ที่ประกอบในมหาวิบากจิตดวงที่ ๑ กับดวงที่ ๒
- นัยที่ ๒ เจตสิก ๓๒ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๓, โสภณเจตสิก ๑๙ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓, อัปปมัญญาเจตสิก ๒, ปัญญาเจตสิก ๑) ที่ประกอบในมหาวิบากจิตดวงที่ ๓ กับดวงที่ ๔
- นัยที่ ๓ เจตสิก ๓๒ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒, (เว้นปีติเจตสิก โสภณเจตสิก ๒๐ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓, อัปปมัญญาเจตสิก ๒) ที่ประกอบในมหาวิบากจิตดวงที่ ๕ กับดวงที่ ๖
- นัยที่ ๔ เจตสิก ๓๑ ดวง คือ อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ (เว้นปีติเจตสิก) โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ (เว้นวิรตีเจตสิก ๓, อัปปมัญญาเจตสิก ๒, ปัญญาเจตสิก ๑) ที่ประกอบในมหาวิบากจิตดวงที่ ๗ กับดวงที่ ๘ รวมสังคหนัยแห่งกามาวจรจิตมี ๑๒ นัย
ในโสภณเจตสิก ๒๕ ดวงนั้น มีเจตสิกบางดวงที่ไม่อาจเข้าประกอบกับโสภณจิตบางประเภทได้ ดังคาถาสังคหะคือ :-
แปลความว่า ในจำนวนโสภณจิต ๕๙ หรือ ๙๑ ดวงนั้น
มหากิริยาจิต และ มหัคคตจิต วิรตีเจตสิก ย่อมไม่ประกอบ
โลกุตตรจิต อัปปมัญญาเจตสิก ย่อมไม่ประกอบ
มหาวิบากจิต ทั้งวิรตีเจตสิก และ อัปปมัญญาเจตสิก ย่อมไม่ประกอบ
อธิบาย ในมหากิริยาจิต ๔ วิรตีเจตสิก ๓ ย่อมไม่ประกอบเลยเพราะมหากิริยาจิตเป็นจิตของพระอรหันต์ ที่ปราศจากบาปธรรมทั้งปวงแล้วจึงไม่มีกิจที่จะต้องพึงเว้นจากบาปธรรมใดๆ อีก วิรตีเจตสิกซึ่งเป็นเจตสิกที่ทำหน้าที่เว้นจากบาปธรรมทั้งกาย วาจา และอาชีพ จึงไม่ประกอบกับมหากิริยาจิต
ในมหัคคตจิต ๒๗ วิรตีเจตสิก ๓ ย่อมไม่ประกอบ เพราะมหัคคตจิตมีบัญญัติและอดีตปรมัตถ์เป็นอารมณ์กรรมฐาน ไม่ใช่มีวิรมิตัพพวัตถุเป็นอารมณ์
ในโลกุตตรจิต ๔ หรือ ๔๐ นั้น ไม่มีอัปปมัญญาเจตสิก ๒ เข้าประกอบเพราะอัปปมัญญาเจตสิก ต้องมีสัตว์เป็นอารมณ์ แต่โลกุตตรจิตนั้นมีนิพพานเป็นอารมณ์อย่างเดียว
ในมหาวิบากจิต ๘ ทั้งวิรตีเจตสิก ๓ และอัปปมัญญาเจตสิก ๒ ไม่ประกอบด้วยเลย เพราะในมหาวิบากเป็นผลของมหากุศลที่สุกแล้ว ไม่ยังวิญญัติให้เกิดคือ จะกระทำกิจเว้นหรือหามาเพิ่มเติมอีกไม่ได้ มีสภาพเป็นผลหรือเงาของกรรมเท่านั้น กรรมเป็นอย่างไร วิบากของกรรมก็ยังเป็นเงาไปฉะนั้นและไม่ได้กระทำสัตว์บัญญัติให้เป็นอารมณ์ไม่มีธรรม ๕ ประการนี้ประกอบด้วย