พระพุทธดำรัส (๑๗)

🙏 พระพุทธดำรัส 🙏

🔅 อาสวะไม่สิ้นไปเป็นรายวัน
ปัญหา ในขณะบำเพ็ญเพียร ผู้บำเพ็ญจะมีทางรู้ได้หรือไม่ว่าในแต่ละวัน อาสวะสิ้นไปวันละเท่าใด?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รอยนิ้วมือย่อมปรากฏ หรือรอยนิ้วหัวแม่มือย่อมปรากฏที่ด้ามมีดของนายช่างไม้ หรือลูกมือของนายช่างไม้แต่นายช่างไม้ หารู้ไม่ว่า วันนี้ด้ามมีดของเขาสึกหรอไปประมาณเท่านี้ วานนี้สึกไปประมาณเท่านี้ วันก่อนๆ สึกไปประมาณเท่านี้ นายช่างไม้... มีความรู้แต่ว่ามันสึกไปแล้ว ๆ แม้ฉันใด “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุประกอบความเพียรในภาวนาอยู่ หารู้ไม่ว่า วันนี้อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นไปแล้วประมาณเท่านี้ วานนี้สิ้นไปประมาณเท่านี้ วันก่อนๆ สิ้นไปประมาณเท่านี้ ถึงอย่างนั้นเมื่ออาสวะสิ้นไปแล้ว เธอก็มีความรู้แต่ว่าสิ้นไปแล้ว ๆ ฉันนั้นเหมือนกันแล”

นาวาสูตร


🔅 

ควรเจริญอนิจจสัญญา
ปัญหา การเจริญอนิจสัญญา (ความหมายรู้ว่าสิ่งทั้งปวงเป็นอนิจจัง) ก่อให้เกิดผลประโยชน์อย่างไร? มีอุปมาด้วยอะไรบ้าง?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญาอันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมครอบงำกามราคะทั้งปวง.... รูปราคะทั้งปวง...ภวราคะทั้งปวง.... อวิชชาทั้งปวงได้ ย่อมถอนอัสมิมานะทั้งปวงได้ เปรียบเหมือนในถูดูใบไม้ร่วง ชาวนาไถนาด้วยไถคันใหญ่ ย่อมไถทำลายความสืบต่อแห่งราก....เหมือนคนเกี่ยวหญ้ามุงกระต่าย เกี่ยวแล้วจับปลายเขย่า ฟาดสลัดออก เหมือนเมื่อพวงมะม่วงหลุดจากขั้ว มะม่วงทั้งหมดที่ติดอยู่กับขั้ว ย่อมหยุดไปตามขั้วนั้น เหมือนไม้กลอนแห่งเรือนยอดทุกอันชี้ไปสู่ยอด ทอดไปสู่ยอดประชุมลงที่ยอด เหมือนไม้กระลำพัก ชนทั้งหลายกล่าวว่าเลิศกว่าไม้มีกลิ่นที่รากใด ๆ เหมือนไม้จันทน์แดง ชนทั้งหลายกล่าวว่าเลิศกว่าไม้มีกลิ่นมีกลิ่นที่แก่นใคร ๆ เหมือนมะลิ ชนทั้งหลายกล่าวว่าเลิศกว่าไม้มีกลิ่นที่ดอกใด ๆ เหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ เลิศกว่าแสงดาวทั้งปวง เหมือนแสงพระจันทร์ เลิศกว่าแสงดาวทั้งปวง เหมือนในฤดูใบไม้ร่วงท้องฝ้าบริสุทธิ์ปราศจากเมฆ พระอาทิตย์ขึ้นสู่ท้องฟ้าย่อมส่องแสงและเปล่งแสงไพโรจน์กำจัดความมืดในอากาศทั่วไป....”

สัญญาสูตร


🔅 อวิชชาคือไม่รู้อะไร
ปัญหา อวิชชา ความไม่รู้นั้น หมายถึงไม่รู้อะไร?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ในโลกนี้ ไม่รู้ชัดซึ่งรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ไม่รู้ชัดซึ่งเหตุเกิดแห่งรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ไม่รู้ชัดซึ่งความดับแห่งรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ไม่รู้ชัดซึ่งหนทางให้ถึงความดับรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณนี้เรียกว่าอวิชชา”

อวิชชาสูตร


🔅 พระธรรมกถึกแท้
ปัญหา พระภิกษุที่เรียกว่าพระธรรมกถึก (ผู้สอนธรรม) นั้นคืออย่างไร ? ทำอย่างไรจึงจะเรียกว่าผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม? ทำอย่างไรจึงจะเรียกว่าผู้ถึงนิพพานในปัจจุบัน ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ควรจะเรียกว่าพระธรรมกถึก

“หากภิกษุ ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ควรจะเรียกว่าผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

“หากภิกษุ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว เพราะเบื่อหน่าย เพราะความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพราะไม่ถือมั่นรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ไซร้ ควรจะเรียกว่า ผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน”

ธรรมกถึกสูตร


🔅 คนแก่ตายในเรือนจำ
ปัญหา คนเช่นไรชื่อว่าแก่และตายในที่จองจำ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ย่อมเห็นรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เป็นตน เห็นตนมีรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เห็นรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณในตนหรือเห็นตนในรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณนี้เรียกว่า ปุถุชนผู้ไม่ได้เรียนรู้แล้ว เป็นผู้ถูกจองจำคือ รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณผูกมัดไว้ ถูกเครื่องผูกมัดทั้งภายในภายนอกจองจำไว้ เป็นผู้มองไม่เห็นฝั่งนี้ มองไม่เห็นฝั่งโน้น ย่อมแก่ทั้ง ๆ ถูกจองจำ ย่อมตายทั้งๆ ถูกจองจำ ย่อมไปจากโลกนี้สู่โลกหน้า ทั้งๆ ถูกจองจำ”

พันธนสูตร


🔅 ขันธ์ ๕ เป็นฐานสังโยชน์-อุปาทาน

ปัญหา สังโยชน์และธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ คืออะไร อุปาทานและธรรมเป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน คืออะไร?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ชื่อว่าธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสังโยชน์ ความกำหนัดยินดีในรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ชื่อว่าสังโยชน์.....

“รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ชื่อว่าธรรม เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ความกำหนัดยินดีในรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณนั้นชื่อว่าอุปาทาน”

สังโยชน์สูตร, อุปาทานสูตร 




🔅 เลื่อนฐานะด้วยการพิจารณาอุปาทานขันธ์ ๕
ปัญหา ภิกษุผู้มีศีลก็ดี พระโสดาบันก็ดี พระสกทาคามีก็ดี พระอนาคามีก็ดี พระอรหันต์ก็ดี ควรพิจารณาธรรมอะไรอย่างรอบคอบและพิจารณาอย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนท่านโกฏฐิตะ ภิกษุผู้มีศีล ภิกษุผู้เป็นโสดาบัน ภิกษุผู้เป็นสกทาคามี ภิกษุผู้เป็นอนาคามี และแม้ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ ควรพิจารณาอุปาทานขันธ์ ๕ โดยรอบคอบ โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังฝี เป็นดังลูกศร เป็นความคับแค้น เป็นอาพาธ เป็นของแปรปรวน เป็นของทรุดโทรม เป็นของสูญ เป็นของไม่ใช่ตัวตน...

“ภิกษุผู้มีศีล (เมื่อทำได้ดังนี้) พึงกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ภิกษุผู้เป็นโสดาบัน พึงทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ภิกษุผู้เป็นสกทาคามี พึงทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ภิกษุผู้เป็นอนาคามี พึงทำให้แจ้งซึ่งอรหันตตผล ภิกษุผู้เป็นอรหันต์ และธรรมเหล่านี้ ที่ภิกษุผู้เป็นอรหันต์เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วก็เป็นไปเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อสติสัปชัญญะ”

สีลสูตร


🔅 ขันธ์ ๕ คือมาร
ปัญหา ขันธ์ ๕ คือมาร อย่างไร?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนราธะ เมื่อ รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ มีอยู่ จึงมีมาร มีผู้ฆ่าให้ตาย มีผู้ตาย เพราะเหตุนั้น เธอจงพิจารณาให้เห็น รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ว่าเป็นมาร เป็นผู้ฆ่าให้ตาย เป็นผู้ตาย เป็นโรค เป็นหัวฝี เป็นลูกศร เป็นความทุกข์ เป็นตัวทุกข์ บุคคลเหล่าใดพิจารณาเห็นอย่างนี้ บุคคลเหล่านั้นชื่อว่าย่อมเห็นชอบ....”

มารสูตร


🔅 พระพุทธเจ้ากับปัญหาทางอภิปรัชญา
ปัญหา ได้ทราบว่าพระพุทธเจ้าไม่ทรงนิยมตอบโต้กับใครในปัญหาทางอภิปรัชญา อันลึกซึ้งที่ไม่มีประโยชน์ทางปฏิบัติโดยตรงเป็นความจริงหรือไม่ ?

พระราธะทูลถาม “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเห็นชอบมีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า?”
พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนราธะ ความเห็นชอบมีประโยชน์ให้เบื่อหน่าย
พระราธะ “ความเบื่อหน่ายมีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า”
พุทธดำรัส “ดูก่อนราธะ ความเบื่อหน่ายมีประโยชน์ให้คลาย กำหนัด”
พระราธะ “ความคลายกำหนัดมีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า”
พุทธดำรัส “ดูก่อนราธะ ความคลายกำหนัดมีประโยชน์ให้หลุดพ้น”
พระราธะ “ความหลุดพ้นเล่า มีประโยชน์อย่างไร พระเจ้าข้า”
พุทธดำรัส “ดูก่อนราธะ เธอถามปัญหาเลยขอบเขตไปเสียแล้ว เธอไม่สามารถจะเอาที่สุดของปัญหาได้ ดูก่อนราธะ พรหมจรรย์เป็นคุณชาติ หยั่งลงสู่นิพพาน มีพระนิพพานเป็นที่สุด...”

มารสูตร


🔅 ทำไมจึงเรียกว่า "สัตว์"
ปัญหา คำว่า “สัตว์” ในทางพุทธศาสนาหมายถึงอะไร? เพราะเหตุไรจึงเรียกว่า “สัตว์”?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนราธะ เพราะเหตุที่มี ความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะยานอยากในรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เป็นผู้ข้องอยู่ในรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ เป็นผู้ติดพันอยู่ในรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณนั้น ฉะนั้นจึงเรียกว่า "สัตว์"

“ดูก่อนราธะ เปรียบเหมือนพวกเด็กชายเด็กหญิงที่เล่นอยู่กับเรือนน้อยทำด้วยดิน ตราบใดที่พวกเขายังไม่สิ้นความยินดี ยังไม่สิ้นความพอใจ ยังไม่สิ้นความรัก ยังไม่สิ้นความกระหาย ยังไม่สิ้นความดิ้นรน ยังไม่สิ้นความทะยานอยากในเรือนน้อยทำด้วยดิน ตราบนั้นพวกเขาย่อมอาลัย ย่อมมัวเล่นย่อมหวงแหน ย่อมยึดถือเรือนน้อยทำด้วยดิน แต่ว่าเมื่อใดพวกเด็กชายเด็กหญิงเหล่านั้นสิ้นความยินดี สิ้นความพอใจ ในเรือนน้อยทำด้วยดินเหล่านั้นเมื่อนั้นแลพวกเขาย่อมรื้อ ย่อมยื้อแย่ง ย่อมกำจัด เรือนน้อยทำด้วยเหล่านั้นด้วยมือและเท้า

“ดูก่อนราธะ แม้เธอทั้งหลายก็จงรื้อ จงยื้อแย่ง จงกำจัด จงทำให้เป็นของเล่นไม่ได้ ซึ่งรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ จงปฏิบัติเพื่อความสิ้นไปแห่งตัณหา ฉันนั้นเหมือนกันแล...”

สัตตสูตร


🔅 เหตุเกิดความเห็นว่าทุกสิ่งนิ่งอยู่กับที่
ปัญหา ในสมัยพุทธกาล สมณพราหมณ์บางพวกมีความเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างตั้งอยู่มั่นคงตรงแน่ว ดุจเสาระเนียด ไม่มีอะไรเคลื่อนไหว ลมก็ไม่พัด แม่น้ำก็ไม่ไหล สตรีมีครรภ์ก็ไม่คลอด พระจันทร์ พระอาทิตย์ก็ไม่ขึ้นไม่ตก ความเห็นเช่นนั้นเกิดขึ้นมาได้เพราะอาศัยอะไร?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ มีอยู่ เพราะถือมั่นยึดมั่นในรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ จึงเกิดความเห็นขึ้นมาว่าลมย่อมไม่พัด แม่น้ำย่อมไม่ไหล เป็นของตั้งมั่นคงดุจเสาระเนียด “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ และแม้สิ่งที่บุคคลเห็นแล้ว ฟังแล้วทราบแล้ว รู้แจ้งแล้วถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วยใจ เป็นของเที่ยงหรือไม่เที่ยง ?
“ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นสุขหรือทุกข์เล่า”
“เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า”
“ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เพราะไม่ยึดมั่นในสิ่งนั้น ความเห็นอย่างนี้ว่า ลมย่อมพัด เป็นของตั้งมั่นคงดุจเสาระเนียดจะพึงเกิดขึ้นได้หรือ ?
“ไม่พึงเกิดความเห็นเช่นนั้นได้เลย พระเจ้าข้า”
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดและพระอริยสาวก ละความสงสัยในฐานะทั้ง๖ เหล่านี้ได้ ชื่อว่าเป็นอันละความสงสัยในทุกข์ ในเหตุเกิดแห่งทุกข์ ในความดับทุกข์ และแม้ในทางปฏิบัติก็เพื่อความดับทุกข์ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นเราเรียกว่า พระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา จะได้ตรัสรู้ในเบื้องหน้าอย่างแน่นอน....”

ทิฏฐิสังยุต โสดาปัตติวรรค ที่ ๑



🔅 คำสอนของอชิตะ เกสกัมพล
ปัญหา ศาสดาอชิตะ เกสกัมพล มีแนวคำสอนว่าอย่างไร? และแนวคำสอนเช่นนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “อชิตะ เกสกัมพล มีความเห็นว่า ทานไม่มีผล การบูชาไม่มีผล การเซ่นสรวงไม่มีผล ผลวิบากแห่งกรรมดีกรรมชั่วไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี มารดาบิดาไม่มี สัตว์ที่เกิดผุดขึ้น (โอปปาติกะ) ไม่มี สมณะพราหมณ์ผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ รู้แจ้งชัดโลกนี้และโลกหน้าด้วยปัญญาอันยิ่งแล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้งไม่มีในโลก คนเราเป็นแต่เพียงที่ประชุมของมหาภูตรูป ๔ เมื่อใดทำกาลกิริยา(ตาย) เมื่อนั้นธาตุดินก็ไปตามธาตุดิน ธาตุน้ำก็ไปตามธาตุน้ำ ธาตุไฟก็ไปตามธาตุไฟ ธาตุลมก็ไปตามธาตุลม อินทรีย์ทั้งหลายย่อมเลื่อนลอยไปในอากาศ บุรุษ ๔ คน รวมเป็น ๕ ทั้งที่วางศพ หามเอาคนตายไป เสียงบทสวดสรรเสริญเขามีไปจนถึงป่าช้า กระดูกทั้งหลายกลายเป็นสีเทาดุจสีนกพิราบ เครื่องเซ่นสังเวยทั้งหลายสิ้นสุดลงด้วยเถ้า ท่านนี้เคนเขลาบัญญัติไว้ คนเหล่าใดประกาศลัทธิอัตติกวาท คำของคนเหล่านั้นเป็นคำไร้ประโยชน์ เป็นคำเท็จ เป็นคำบ่นเพ้อเมื่อร่างกายแตกสลายทั้งพาลและบัณฑิตย่อมขาดสูญพินาศไป หลังจากความตายไม่มีอะไรเลย...

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ มีอยู่เพราะถือมั่นยึดมั่นรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ความเห็นอย่างนี้จึงเกิดขึ้นมา”

ทิฏฐิสังยุต โสดาปัตติวรรค ที่ ๑



🔅 คำสอนของปุราณกัสสปะ
ปัญหา ท่านศาสดาปุราณกัสสปะมีแนวคิดอย่างไร? และแนวคิดนั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “ปุราณกัสสปะ มีความเห็นว่า เมื่อบุคคลทำเอง ใช้ให้ผู้อื่นทำ ตัดเอง ใช้ให้ผู้อื่นตัด เดือดร้อนเอง ทำให้ผู้อื่นเดือนร้อน เศร้าโศกเอง ทำให้ผู้อื่นเศร้าโศก ลำบากเอง ทำให้ผู้อื่นลำบาก ดิ้นรนเอง ทำให้ผู้อื่นดิ้นรน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ตัดช่อง ปล้นไม่ให้เหลือ ทำโจรกรรมในเรือนหลังเดียว ซุ่มอยู่ที่ทางเปลี่ยว ทำชู้กับภรรยาของเขา พูดเท็จ ผู้ทำเชื่อว่าไม่ได้ทำบาป แม้หากผู้ใดจะให้จักรซึ่งมีคมโดยรอบเหมือนมีดโกนสังหารเหล่าสัตว์ในปฐพีนี้ ให้เป็นลานเป็นกองเนื้อเดียวกัน บาปเพราะการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบาปมาถึงเขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งขวาแห่งแม่น้ำคงคาฆ่าเอง ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า บาปที่มีการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา แม้หากบุคคลจะไปยังฝั่งซ้ายแห่งแม่น้ำคงคาให้ทานเอง ใช้ผู้อื่นให้ ให้บูชาเอง ใช้ให้ผู้อื่นบูชาบุญเพราะการทำเช่นนั้นเป็นเหตุย่อมไม่มีแก่เขา ไม่มีบุญมาถึงเขา บุญที่เนื่องด้วยการให้ทาน การทรมานอินทรีย์ ความสำรวม การกล่าวคำสัตย์ไม่มีแก่เขา....

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ มีอยู่เพราะถือมั่นยึดมั่นรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ความเห็นอย่างนี้จึงเกิดขึ้นมา”

ทิฏฐิสังยุต โสดาปัตติวรรค ที่ ๑



🔅 คำสอนของมักขลิ โคสาล
ปัญหา ท่านศาสดามักขลิ โคสาล มีแนวคิดอย่างไร? และแนวคิดนั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “มักขลิ โคสาล มีความเห็นว่า ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เพื่อความเศร้าหมองแห่งสัตว์ทั้งหมาย สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ย่อมเศร้าหมองเอง ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย เพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ย่อมบริสุทธิ์เอง ไม่มีกำลัง ไม่มีความเพียร ไม่มีเรี่ยวแรงของบุรุษ ไม่มีความบากบั่นของบุรุษ สัตว์ทั้งปวง ปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง ชีวะทั้งปวง ล้วนไม่มีอำนาจ ไม่มีกำลัง ไมมีความเพียร แปรไปตามภาวะแห่งความแน่นอนและความไม่แน่นอน ย่อมเสวยสุขเสวยทุกข์ในอภิชาติ ทั้ง ๖ เท่านั้น....

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ มีอยู่เพราะถือมั่นยึดมั่นรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ความเห็นอย่างนี้จึงเกิดขึ้นมา”

ทิฏฐิสังยุต โสดาปัตติวรรค ที่ ๑



🔅 คำสอนของปกุทธะ กัจจายนะ
ปัญหา ท่านศาสดาปกุทธะ กัจจายนะ มีแนวคิดอย่างไร? และแนวคิดนั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “ปกุทธะ กัจจายนะ มีความเห็นว่า มีความเห็นว่า สภาวะ ๗ กองนี้ไม่มีใครทำ ไม่มีใครเป็นเหตุให้ทำ ไม่มีใครเนรมิต ไม่มีใครเป็นเหตุให้เนรมิต เป็นภพไม่มีผล ตั้งอยู่มั่นคงดุจยอด ดุจเสาระเนียด ไม่หวั่นไหว ไม่แปรปรวน ไม่กระทบกระทั่งกันและกัน ไม่อาจให้เกิดสุขหรือทุกข์แก่กันและกัน

“สภาวะ ๗ กองนั้น คืออะไร? คือ กองดิน กองน้ำ กองลม กองไฟ กองสุข กองทุกข์ กองชีวะ.... แม้ผู้ใดจะเอาศาสตราอันคมตัดศีรษะกัน ไม่ชื่อว่าใครปลงชีวิตใคร เป็นแต่ศาสตราสอดเข้าไปตามช่องระหว่างสภาพวะ ๗ กองเท่านั้น

“อนึ่ง มีกำเนิดที่เป็นใหญ่ ๑,๔๐๖,๖๐๐ มีกรรม ๕๐๐ กรรม ๕ กรรม ๓กรรม ๑ และกรรมกึ่ง มีทางดำเนิน ๖๒ มีอันตรกัลป์ ๖๒ มีอภิชาติ ๖ ปุริสภูมิ ๘ มีอาชีวะ ๔,๙๐๐ ปริพพาชก ๔,๙๐๐ นาควาส ๔,๙๐๐ อินทรีย์ ๒,๐๐๐ นรก ๓,๐๐๐ รโชธาต ๓๖ สัญญีครรภ์ ๗ อสัญญีครรภ ๗ นิคัณฐครรภ์ ๗ สภาวทิพย์ ๗ มนุษย์ ๗ ปิศาจ ๗ สวะ ๗ ปมใหญ่ ๗ ปมเล็ก ๗๐๐ เหวใหญ่ ๗ เหวเล็ก ๗ ฝันใหญ่ ๗ ฝันเล็ก ๗๐๐ มีมหากัลป์ ๘,๔๐๐,๐๐๐

“ทั้งคนพาลและบัณฑิตท่องเที่ยวเร่ร่อนไปแล้ว จักทำที่สุดทุกข์ได้ ในการท่องเที่ยวนั้น จะหวังว่าเราจักบ่มกรรมที่ยังไม่สุกงอมให้สุกงอมด้วยศีล ด้วยพรต ด้วยตบะ หรือด้วยพรหมจรรย์ หรือว่าเราจักผลักดันกรรมที่สุกงอมแล้วกระทำให้หมดสิ้นไปเสียดังนี้ไม่ได้เลย ในการท่องเที่ยวไปนั้น ไม่มีสุข ไม่มีทุกข์ที่อาจทำให้สิ้นสุดได้ เหมือนตวงของให้หมดด้วยทะนาน ไม่มีความเสมอและความเจริญ ไม่มีการเพิ่มขึ้นและลดลง พาลและบัณฑิตเร่ร่อนไปเสวยสุขและทุกข์เองเหมือนกลุ่มด้ายที่บุคคลขว้างไป ย่อมคลี่ออกไปเอง...

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ มีอยู่เพราะถือมั่นยึดมั่นรูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ความเห็นอย่างนี้จึงเกิดขึ้นมา”

ทิฏฐิสังยุต โสดาปัตติวรรค ที่ ๑


🔅 พระโสดาบัน ๒ ประเภท
ปัญหา พระโสดาบัน ประเภทสัทธานุสารี และ ธัมมานุสารี มีคุณสมบัติอย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ... รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ..จักขุวิญญาณ... โสตวิญญาณ... ฆานวิญญาณ.... ชิวหาวิญญาณ... กายวิญญาณ... มโนวิญญาณ...จักขุสัมผัส... โสตสัมผัส...ฆานสัมผัส... ชิวหาสัมผัส... กายสัมผัส... มโนสัมผัส...เวทนาเกิด แต่จักขุสัมผัส... แต่โสตสัมผัส... แต่ฆานสัมผัส... แต่ชิวหาสัมผัส... แต่กายสัมผัส... แต่มโนสัมผัส...รูปสัญญา... สัททสัญญา... คันธสัญญา... รสสัญญา... โผฏฐัพพะสัญญา... ธัมมสัญญา...รูปเจตนา.... สัททเจตนา... คันธเจตนา... รสเจตนา... โผฏฐัพพะเจตนา... ธัมมเจตนา...รูปตัณหา.... สัททตัณหา... คันธตัณหา... รสตัณหา... โผฏฐัพพะตัณหา... ธัมมตัณหา...ปฐวีธาตุ... อาโปธาตุ... เตโชธาตุ... วาโยธาตุ... อากาศธาตุ... วิญญาณธาตุ...รูป....เวทนา... สัญญา... สังขาร... วิญญาณ ไม่เที่ยง มีอันแปรปรวนเป็นอย่างอื่นเป็นธรรมดา

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดเชื่อมั่นไม่หวั่นไหว ซึ่งธรรมเหล่านี้ อย่างนี้เราเรียกบุคคลผู้นี้ว่า สัทธานุสารี (ผู้ดำเนินไปในศรัทธา) ก้าวลงสู่สัมมัตนิยาม (แนวทางอันมั่นคงแห่งความเป็นมนุษย์สมบูรณ์) ก้าวลงสู่ภูมิแห่งสัปบุรุษล่วงภูมิแห่งปุถุชน ไม่มีทางจะทำกรรมที่จะนำไปสู่นรก กำเนิดเดียรัจฉาน วิสัยแห่งเปรต จักไม่ทำกาละ (ตาย) ตราบเท่าที่ยังไม่ได้ทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง...

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลมีใดธรรมเหล่านี้ที่ทนทานต่อการพิจารณาด้วยปัญญาได้ตามสมควร เราเรียกบุคคลนี้ว่า ธัมมานุสารี (ผู้ดำเนินไปในธรรม) ผู้ได้รู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้ เรากล่าวผู้นี้ว่า เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า....”

โอกกันตสังยุต



🔅 พระอรหันต์กับการเข้าฌาน
ปัญหา ในการปฏิบัติสมาธิจนถึงขั้นฌาน พระอรหันต์ท่านเข้าฌาน อยู่ในฌาน และออกจากฌานหรือไม่? เพราะเหตุใด?

พระสารีบุตรตอบ “ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ผมไม่ได้คิดอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้เข้าปฐมฌานอยู่ หรือว่าเข้าปฐมฌานแล้ว หรือว่าออกจากปฐมฌานแล้ว เนื่องจากว่าพระสารีบุตรมีอายุถอนอหังการ มมังการ มานะได้นานแล้ว”

สารีปุตตสังยุต



🔅 การเลี้ยงชีพของสมณะ
ปัญหา การเลี้ยงชีพอย่างไม่ถูกต้อง และถูกต้องของสมณะคืออย่างไร ?

พระสารีบุตรตอบ “ดูก่อนน้องหญิง สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเลี้ยงชีพด้วยมิจฉาชีพ ด้วยดิรัจฉานวิชา คือวิชาทำนายทายทัก สมณพราหมณ์นี้เรียกว่าก้มหน้าบริโภค
“สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เลี้ยงชีพด้วยดิรัจฉานวิชา คือวิชาดูฤกษ์ยาม สมณพราหมณ์นี้เรียกว่าแหงนหน้าบริโภค
“สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เลี้ยงชีพด้วยการประกอบกิจการส่งข่าวสารและรับใช้ สมณพราหมณ์นี้เรียกว่ามองดูทิศใหญ่บริโภค
“สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งเลี้ยงชีพ ด้วยมิจฉาชีพ ด้วยดิรัจฉานวิชา คือวิชาทำนายทายทัก สมณพราหมณ์นี้เรียกว่าดูทิศน้อยบริโภค
“ดูก่อนน้องหญิง ส่วนเรานั้นมิได้เลี้ยงชีพด้วยมิจฉาชีพ เราแสวงหาภิกษาโดยชอบธรรม แล้วจึงบริโภค...”

สูจิมุขีสูตร ขันธ


🔅 อายตนะกับไตรลักษณ์
ปัญหา อายตนะภายในและภายนอกเกี่ยวข้องกับไตรลักษณ์อย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...เป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา....
“ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา....
“ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา ท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา....
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ เป็นของไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา....
“รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา....
“รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ เป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นท่านทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงว่า มันไม่ใช่ของเรา....
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...ที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จะกล่าวไปไยถึง ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...ที่เป็นปัจจุบันเล่า อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้วเห็นอยู่อย่างนี้ย่อมไม่มีเยื่อใยในตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...ที่เป็นอดีตย่อมไม่เพลิดเพลินตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...ที่เป็นอนาคตย่อมปฏิบัติเพื่อดับตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ... ที่เป็นปัจจุบัน

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ ที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จะกล่าวไปไยถึง รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ ที่เป็นปัจจุบัน อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้วเห็นอยู่อย่างนี้ย่อมไม่มีเยื่อใยในรูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ ที่เป็นอนาคตย่อมปฏิบัติเพื่อดับรูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ ที่เป็นปัจจุบัน...”

อนิจจวรรคที่ ๑


🔅 คุณโทษของอายตนะ
ปัญหา อายตนะภายในและภายนอกมีโทษอย่างเดียวหรือว่ามีคุณด้วย ?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสุขความยินดีเกิดขึ้นเพราะอาศัย ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...นี้เป็นคุณแห่ง ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษ การกำจัด การละความยินดีพอใจใน ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...นี้เป็นความสลัดออก

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสุขความยินดีเกิดขึ้นเพราะอาศัย รูป... เสียง... กลิ่น... รส...โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ นี้เป็นคุณแห่ง (อายตนะภายนอก ๖) รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่ง (อายตนะภายนอก ๖) การกำจัด การละความยินดีใน รูปฯ เสียงฯ นี้เป็นการสลัดออกแห่ง (อายตนะภายนอก ๖)

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเที่ยวแสวงหาคุณแห่ง ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...ได้พบคุณแห่ง ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ... ได้เห็นอย่างดีแล้วด้วยปัญญา เราได้เที่ยวแสวงหาโทษแห่ง ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ... ได้พบแห่ง (อายตนะภายใน ๖) แล้ว ได้เห็นอย่างดีแล้วด้วยปัญญา ได้เที่ยวแสวงหาวิธีสลัดออกแห่ง (อายตนะภายใน ๖) ได้พบทางสลัดออกแห่ง (อายตนะภายใน ๖) แล้วเห็นด้วยดีแล้วด้วยปัญญา.....

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเที่ยวแสวงหาคุณแห่ง รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ ได้พบคุณแห่ง (อายตนะภายนอก ๖) แล้ว เราได้เที่ยวแสวงหาโทษแห่ง (อายตนะภายนอก ๖) ได้พบโทษแห่ง (อายตนะภายนอก ๖) แล้ว เราได้แสวงหาวิธีสลัดออกแห่ง (อายตนะภายนอก ๖) ได้พบวิธีสลัดออกแล้ว.....

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าคุณแห่ง (อายตนะภายใน ๖ และอายตนะภายนอก ๖) จักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงกำหนัดยินดีใน (อายตนะภายใน ๖ และอายตนะภายนอก ๖) ถ้าโทษแห่ง (อายตนะภายใน ๖ และอายตนะภายนอก ๖) จักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่เบื่อหน่ายใน (อายตนะภายใน ๖ และอายตนะภายนอก ๖) ถ้ามีวิธีสลัดออกซึ่ง (อายตนะภายใน ๖ และอายตนะภายนอก ๖) จักไม่มีแล้วไซร้ สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่พึงสลัดออกจาก (อายตนะภายใน ๖ และอายตนะภายนอก ๖) 

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายยังไม่รู้ตามความเป็นจริง ซึ่งคุณแห่งอายตนะภายใน ๖ ภายนอก ๖ ว่า เป็นคนซึ่งโทษแห่งอายตนะภายใน ๖ ภายนอก ๖ ว่าเป็นโทษ ซึ่งความสลัดออกว่าเป็นความสลัดออกเพียงใด สัตว์ทั้งหลายเห็นยังไม่เป็นผู้ออกไปจากไป หลุดพ้นจากโลก พร้อมทั้งกาลโลก มารโลก พรหมโลก จากหมู่สัตว์ มีใจหาเขตแดนมิได้อยู่เพียงนั้น...”

ยมกวรรคที่ ๑


🔅 เพลินอายตนะ ไม่พ้นทุกข์
ปัญหา คนเช่นใด มีโอกาสที่จะพ้นทุกข์มากกว่าคนอื่นๆ?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดยังเพลิดเพลิน ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ ผู้นั้นย่อมชื่อว่าย่อมเพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดเพลิดเพลินทุกข์

เรากล่าวว่าผู้นั้นยังไม่พ้นไปจากทุกข์

“ส่วนผู้ใดไม่เพลิดเพลินตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ ผู้นั้นชื่อว่าไม่เพลิดเพลินทุกข์ ผู้ใดไม่เพลิดเพลินทุกข์ เรากล่าวว่าผู้นั้นพ้นไปจากทุกข์

อภินันทนสูตรที่ ๑-๒



🔅 อายตนะกับทุกข์
ปัญหา อายตนะกับทุกข์เกี่ยวข้องกันอย่างไร?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเกิดขึ้น ความตั้งอยู่ ความบังเกิด ความปรากฏแห่ง ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ นี้เป็นความเกิดแห่งทุกข์ เป็นความตั้งอยู่แห่งโรค เป็นความปรากฏแห่งชราและมรณะ

“ส่วน ความดับ ความสงบ ความไม่มีแห่ง (อายตนะภายใน ๖ ภายนอก ๖) นี้เป็นความเกิดแห่งทุกข์ เป็นความสงบแห่งโรค เป็นความไม่มีแห่งชราและมรณะ....”

อุปปาทสูตรที่ ๑-๒


🔅 อะไรคือสิ่งทั้งปวง
ปัญหา ตามหลักพุทธศาสนา อะไรคือสิ่งทั้งปวง? และควรจะปฏิบัติต่อสิ่งทั้งปวงนั้นอย่างไร ?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรคือสิ่งทั้งปวง จักษุกับรูปหูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับโผฏฐัพพะ ใจกับธรรมารมณ์ อันนี้เรากล่าวว่าสิ่งทั้งปวง ... ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบอกปฏิเสธทั้งปวง แล้วบัญญัติสิ่งอื่นแทน วาจาของผู้นั้นพึงเป็นแต่คำกล่าวพล่อย ๆ เท่านั้นแต่ครั้นถูกถามเข้า ก็คงไม่ปริปากได้ และยิ่งจะอึดอัดลำบากใจนั้นเป็นเพราะอะไร เพราะนั่นไม่ใช่วิสัยที่จะเป็นไปได้

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุรูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นสิ่งควรละ

“หู เสียง โสตวิญญาณ...โสตสัมผัส...สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นสิ่งควรละ

“จมูก กลิ่น ฆานวิญญาณ....ฆานสัมผัส... สุขเวทนา ทุขกเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นสิ่งควรละ

“ลิ้น รส ชิวหาวิญญาณ...ชิวหาสัมผัส...สุขเวทนา ทุขกเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นสิ่งควรละ

“กาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ... กายสัมผัส...สุขเวทนา ทุขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นสิ่งควรละ

“มโน ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ... มโนสัมผัส... สุขเวทนา ทุขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนาที่เกิดเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นสิ่งควรละ....”

สัพพวรรคที่ ๓



🔅 อะไรคือของร้อน
ปัญหา อะไรเป็นของร้อน? ร้อนเพราะอะไร?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุรูป จักษุวิญญาณ จักษุสัมผัส สุขเวทนา ทุขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร เรากล่าวว่า ร้อนเพราะไฟ คือ ราคะ โทสะ โมหะ ร้อนเพราะ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส

“โสต เสียง โสตวิญญาณ...โสตสัมผัสเป็นของร้อน แม้สุขเวทนา ทุขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดเพราะโสตสัมผัสเป็นปัจจัย ที่เป็นของร้อน.....

“ฆานะ กลิ่น ฆานวิญญาณ....ฆานสัมผัสเป็นของร้อน แม้สุขเวทนา ทุขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดเพราะฆานสัมผัสเป็นปัจจัย ที่เป็นของร้อน.....

“ชิวหา รส ชิวหาวิญญาณ...ชิวหาสัมผัส เป็นของร้อน แม้สุขเวทนา ทุขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดเพราะชิวหาสัมผัสเป็นปัจจัย ที่เป็นของร้อน.....

“กาย โผฏฐัพพะ กายวิญญาณ... กายสัมผัส เป็นของร้อน แม้สุขเวทนา ทุขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดเพราะกายสัมผัสเป็นปัจจัย ที่เป็นของร้อน.....

“ใจ ธรรมารมณ์ มโนวิญญาณ... มโนสัมผัส เป็นของร้อน แม้สุขเวทนา ทุขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย ที่เป็นของร้อน.....ร้อนเพราะไฟ คือ ราคะ โทสะ โมหะ ร้อนเพราะ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส”

อาทิตตปริยายสูตร



🔅 ผู้ไม่สำคัญหมายย่อมไม่ถือมั่น
ปัญหา ข้อปฏิบัติอันเหมาะสมแก่การกำจัดความถือตนเกี่ยวกับสิ่งทั้งปวงด้วยอำนาจ ตัณหา มานะทิฏฐิ คืออะไร?

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระศาสนานี้ย่อมไม่สำคัญหมาย ตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ...ย่อมไม่สำคัญหมายในตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ... ย่อมไม่สำคัญหมายจากตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ... ย่อมไม่สำคัญหมายว่าตา... หู... จมูก... ลิ้น... กาย... ใจ... เป็นของเราย่อมไม่สำคัญหมาย รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ ย่อมไม่สำคัญหมายในรูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ ย่อมไม่สำคัญหมายแต่รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ ย่อมไม่สำคัญหมายว่า รูป... เสียง... กลิ่น... รส... โผฏฐัพพะ...ธรรมารมณ์ เป็นของเรา ย่อมไม่สำคัญ จักขุวิญญาณ... โสตวิญญาณ... ฆานวิญญาณ.... ชิวหาวิญญาณ... กายวิญญาณ... มโนวิญญาณ... ย่อมไม่สำคัญหมายใน (วิญญาณทั้ง ๖ นั้น) เป็นของเรา ย่อมไม่สำคัญหมายจักขุวิญญาณ... โสตวิญญาณ... ฆานวิญญาณ.... ชิวหาวิญญาณ... กายวิญญาณ... มโนวิญญาณ... ย่อมไม่สำคัญหมายใจ (สัมผัสทั้ง ๖ นั้น) ย่อมไม่สำคัญหมายแต่ (สัมผัสทั้ง ๖ นั้น) ย่อมไม่สำคัญหมายว่า (สัมผัสทั้ง ๖ นั้น) เป็นของเรา ย่อมไม่สำคัญหมายสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา อันมี (สัมผัสทั้ง ๖ นั้น) เป็นปัจจัย ย่อมไม่สำคัญหมายใน (เวทนาทั้ง ๓ นั้น) ย่อมไม่สำคัญหมายแต่ (เวทนาทั้ง ๓ นั้น) ย่อมไม่สำคัญหมายว่า เวทนาทั้ง ๓ นั้นเป็นของเรา

“ย่อมไม่สำคัญหมายสิ่งทั้งปวง ในสิ่งทั้งปวง แต่สิ่งทั้งปวง ย่อมไม่สำคัญ หมายว่าสิ่งทั้งปวงเป็นเของเรา บุคคลผู้ไม่สำคัญหมายอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก เมื่อไปถือมั่นย่อมไม่สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัวย่อมดับทุกข์เย็นสนิทเฉพาะตน....”

สารูปสูตร

วิกิ

ผลการค้นหา