ปาฎิเทสนียะ ๔ สิกขาบท
๑. สิกขาบทที่หนึ่ง
ความว่า ภิกษุพึงรับของเคี้ยวของฉันด้วยมือตน แต่มือนางภิกษุณีอันมิใช่ญาติอันเข้าไปในละแวกบ้าน นำมาเคี้ยวฉันกลืนให้ล่วงลำคอลงไป ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ภิกษุนั้นพึงแสดงอาบัติแก่ภิกษุว่า “คารยุหํอาวุโส ธมฺมํ อาปชฺชึ อสปฺปายํ ปาฏิเทสนียํ ตํ ปฏิเทเสมิ” ความว่า “ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าต้องแล้วซึ่งอาบัติธรรม อันพระพุทธเจ้าจึงติเตียนเป็นธรรมไม่ให้มีความสบาย คือจะทำอันตรายแก่สวรรค์และนิพพาน เป็นธรรมชื่อว่า ปาฏิเทสนียะ ควรที่ภิกษุผู้ต้องพึ่งแสดงให้เป็นปกติบริสุทธิ์ด้วยเทศนา ข้าพเจ้าขอแสดงให้เป็นปกติ ซึ่งอาบัติธรรมนั้น”
ความว่า ภิกษุพึงรับของเคี้ยวของฉันด้วยมือตน แต่มือนางภิกษุณีอันมิใช่ญาติอันเข้าไปในละแวกบ้าน นำมาเคี้ยวฉันกลืนให้ล่วงลำคอลงไป ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ภิกษุนั้นพึงแสดงอาบัติแก่ภิกษุว่า “คารยุหํอาวุโส ธมฺมํ อาปชฺชึ อสปฺปายํ ปาฏิเทสนียํ ตํ ปฏิเทเสมิ” ความว่า “ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าต้องแล้วซึ่งอาบัติธรรม อันพระพุทธเจ้าจึงติเตียนเป็นธรรมไม่ให้มีความสบาย คือจะทำอันตรายแก่สวรรค์และนิพพาน เป็นธรรมชื่อว่า ปาฏิเทสนียะ ควรที่ภิกษุผู้ต้องพึ่งแสดงให้เป็นปกติบริสุทธิ์ด้วยเทศนา ข้าพเจ้าขอแสดงให้เป็นปกติ ซึ่งอาบัติธรรมนั้น”
๒. สิกขาบทที่สอง
ความว่า ภิกษุมากหลายรูปด้วยกัน มีทายกนิมนต์ฉันในตระกูล ถ้าแลมีนางภิกษุณีเข้าไปตักเตือนทายกให้เอาแกงข้าวสุกของฉันไปแถมไปเติมตามภิกษุที่คุ้นเคยกัน ให้ภิกษุทั้งหลายนั้นจึงดุรุกรานขับนางภิกษุณีนั้นเสียว่า “ไม่ใช่กิจของท่าน ท่านจงหลีกถอยไปเสียให้พ้นก่อน กว่าภิกษุทั้งหลายจะฉันอิ่ม” ถ้าไม่มีภิกษุแต่สักรูปหนึ่งอาจดุขับนางภิกษุณีนั้นเสียได้ เพิกเฉยเสียสิ้น ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะสิ้นทุกรูปด้วยกัน ภิกษุหมู่นั้นพึงแสดงอาบัติแก่ภิกษุโดยวิธีดังกล่าวมาแล้ว เปลี่ยนบทกิริยาเป็นพหูพจน์ว่า “อาปซุชิมหา ปฏิเทเสม” เท่านี้
ความว่า ภิกษุมากหลายรูปด้วยกัน มีทายกนิมนต์ฉันในตระกูล ถ้าแลมีนางภิกษุณีเข้าไปตักเตือนทายกให้เอาแกงข้าวสุกของฉันไปแถมไปเติมตามภิกษุที่คุ้นเคยกัน ให้ภิกษุทั้งหลายนั้นจึงดุรุกรานขับนางภิกษุณีนั้นเสียว่า “ไม่ใช่กิจของท่าน ท่านจงหลีกถอยไปเสียให้พ้นก่อน กว่าภิกษุทั้งหลายจะฉันอิ่ม” ถ้าไม่มีภิกษุแต่สักรูปหนึ่งอาจดุขับนางภิกษุณีนั้นเสียได้ เพิกเฉยเสียสิ้น ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะสิ้นทุกรูปด้วยกัน ภิกษุหมู่นั้นพึงแสดงอาบัติแก่ภิกษุโดยวิธีดังกล่าวมาแล้ว เปลี่ยนบทกิริยาเป็นพหูพจน์ว่า “อาปซุชิมหา ปฏิเทเสม” เท่านี้
๓. สิกขาบทที่สาม
ความว่า ตระกูลเสกขบุคคลคือ โสดาบันแลสกิทาคามีที่พระสงฆ์สมมติห้ามไว้ ไม่ได้นิมนต์ไว้ก่อน แล้วเข้าไปรับบิณฑบาตไม่ได้ ภิกษุมิได้เจ็บไข้ ตระกูลนั้นก็หาได้นิมนต์ไว้แต่ก่อนไม่ เข้าไปรับของเคี้ยวของฉันด้วยมือตนเองแล้ว ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
(อธิบายสิกขาบทนี้เพิ่มเติม - ตระกูลผู้เป็นเสกขบุคคลจะเป็นผู้ทำทานโดยไม่สนใจว่าตนเองจะหมดเนื้อหมดตัว พระพุทธองค์ทรงมีเมตตา จึงสั่งห้ามไม่ให้ภิกษุเดินผ่านหน้าบ้านเพื่อรับไทยทาน เว้นแต่จะได้รับกิจนิมนต์ เพื่อที่จะไม่เป็นการรบกวนการใช้ชีวิตในเพศคฤหัสถ์ของตระกูลที่เป็นเสกขบุคคลจนเกินไป)
ความว่า ตระกูลเสกขบุคคลคือ โสดาบันแลสกิทาคามีที่พระสงฆ์สมมติห้ามไว้ ไม่ได้นิมนต์ไว้ก่อน แล้วเข้าไปรับบิณฑบาตไม่ได้ ภิกษุมิได้เจ็บไข้ ตระกูลนั้นก็หาได้นิมนต์ไว้แต่ก่อนไม่ เข้าไปรับของเคี้ยวของฉันด้วยมือตนเองแล้ว ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
(อธิบายสิกขาบทนี้เพิ่มเติม - ตระกูลผู้เป็นเสกขบุคคลจะเป็นผู้ทำทานโดยไม่สนใจว่าตนเองจะหมดเนื้อหมดตัว พระพุทธองค์ทรงมีเมตตา จึงสั่งห้ามไม่ให้ภิกษุเดินผ่านหน้าบ้านเพื่อรับไทยทาน เว้นแต่จะได้รับกิจนิมนต์ เพื่อที่จะไม่เป็นการรบกวนการใช้ชีวิตในเพศคฤหัสถ์ของตระกูลที่เป็นเสกขบุคคลจนเกินไป)
๔. สิกขาบทที่สี่
ความว่า เสนาสนะมีอยู่ในป่า คือที่ไกลแต่บ้านไปได้ชั่ว ๒๕ เส้น เป็นที่เล่าลือว่า มีความรังเกียจด้วยการจะไปมา มีภัยเฉพาะหน้า คือมีโจรร้ายคอยตีชิงแลเข้าซ่องสุมซุ่มซ่อนอยู่ใกล้อาราม ภิกษุอยู่ในเสนาสนะเห็นปานนั้น ทายกมิได้มาสู่หาบอกเล่า🔎เผดียง(๗๕) ไว้ให้รู้ก่อน ได้นำขาทนียโภชนียะคือของเคี้ยวของฉันยาวกาลิกมาถวายถึงภายในอาราม ภิกษุไม่เป็นไข้รับด้วยมือตนเอง แล้วจึงฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
ความว่า เสนาสนะมีอยู่ในป่า คือที่ไกลแต่บ้านไปได้ชั่ว ๒๕ เส้น เป็นที่เล่าลือว่า มีความรังเกียจด้วยการจะไปมา มีภัยเฉพาะหน้า คือมีโจรร้ายคอยตีชิงแลเข้าซ่องสุมซุ่มซ่อนอยู่ใกล้อาราม ภิกษุอยู่ในเสนาสนะเห็นปานนั้น ทายกมิได้มาสู่หาบอกเล่า🔎เผดียง(๗๕) ไว้ให้รู้ก่อน ได้นำขาทนียโภชนียะคือของเคี้ยวของฉันยาวกาลิกมาถวายถึงภายในอาราม ภิกษุไม่เป็นไข้รับด้วยมือตนเอง แล้วจึงฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
จบปาฏิเทสนียะ ๔ สิกขาบทเท่านี้
🔅 ปาราชิก ๔
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓
🔅 อนิยต ๒
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
(จีวรวรรค ๑๐)
(โกสิยวรรค ๑๐)
(ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
(มุสาวรรค ๑๐)
(ภูตคามวรรค ๑๐)
(ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
(โภชนวรรค ๑๐)
(อเจลกวรรค ๑๐)
(สุราปานวรรค ๑๐)
(สัปปาณวรรค ๑๐)
(สหธัมมิกวรรค ๑๒)
(ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
(สารูป ๒๖)
(โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
(ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
(ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗
🔅 ปาราชิก ๔
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓
🔅 อนิยต ๒
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
(จีวรวรรค ๑๐)
(โกสิยวรรค ๑๐)
(ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
(มุสาวรรค ๑๐)
(ภูตคามวรรค ๑๐)
(ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
(โภชนวรรค ๑๐)
(อเจลกวรรค ๑๐)
(สุราปานวรรค ๑๐)
(สัปปาณวรรค ๑๐)
(สหธัมมิกวรรค ๑๒)
(ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
(สารูป ๒๖)
(โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
(ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
(ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗