คำอภิธานศัพท์
๖๑. สิกขมานา คือนางผู้กำลังศึกษา, สามเณรีผู้มีอายุถึง ๑๘ ปีแล้ว อีก ๒ ปี จะครบบวชเป็นภิกษุณี ภิกษุณีสงฆ์สวดให้สิกขาสมมติคือตกลงให้สมาทานสิกขาบท ๖ ประการ ตั้งแต่ปาณาติปาตา เวรมณี จนถึง วิกาลโภชนา เวรมณี ให้รักษาอย่างเคร่งครัด ไม่ขาดเลย ตลอดเวลา ๒ ปีเต็ม (ถ้าล่วงข้อใดข้อหนึ่งต้องสมาทานตั้งต้นใหม่อีก ๒ ปี) ครบ ๒ ปี ภิกษุณีสงฆ์จึงทำพิธีอุปสมบทให้ ขณะที่สมาทานสิกขาบท ๖ ประการอย่างเคร่งครัดนี้ เรียกว่านางสิกขมานา
๖๒. วันมหาปวารณา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เป็นวันที่ภิกษุทุกรูปจะกล่าวปวารณา คือเปิดโอกาสให้กันและกันว่ากล่าวตักเตือนกันได้ เป็นสังฆกรรมที่พระพุทธเจ้าทรงประทานอนุญาตให้หมู่สงฆ์ทำในวันสุดท้ายแห่งการจำพรรษา
๖๓. โคจร คือหนทางไปของภิกษุ โคจรคาม คือหมู่บ้านที่พระภิกษุไปบิณฑบาตเสมอ
๖๔. อรุณ คือ ระยะเวลาใกล้อาทิตย์จะขึ้น มีสองระยะ คือ มีแสงขาวเรื่อ ๆ (แสงเงิน) และแสงแดด (แสงทอง) หรือเวลาย่ำรุ่ง
๖๔. อรุณ คือ ระยะเวลาใกล้อาทิตย์จะขึ้น มีสองระยะ คือ มีแสงขาวเรื่อ ๆ (แสงเงิน) และแสงแดด (แสงทอง) หรือเวลาย่ำรุ่ง
๖๕. ครุธรรม คือธรรมอันหนัก เป็นหลักความประพฤติสำหรับนางภิกษุณีจะพึงปฏิบัติตามด้วยความเคารพไม่ละเมิดตลอดชีวิต มี ๘ ประการ คือ
๑. ภิกษุณีแม้บวชร้อยพรรษาแล้ว ก็ต้องกราบไหว้ภิกษุแม้บวชวันเดียว
๒. ภิกษุณีจะอยู่ในวัดที่ไม่มีภิกษุไม่ได้
๓. ภิกษุณีต้องไปถามวันอุโบสถ และเข้าไปฟังโอวาทจากภิกษุทุกกึ่งเดือน
๓. ภิกษุณีต้องไปถามวันอุโบสถ และเข้าไปฟังโอวาทจากภิกษุทุกกึ่งเดือน
๔. ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้ว ต้องปวารณาในสงฆ์สองฝ่าย โดยสถานทั้ง ๓ คือ โดยได้เห็น โดยได้ยินโดยรังเกียจ (รังเกียจหมายถึงระแวงสงสัย หรือเป็นพฤติกรรมอะไรที่น่าเคลือบแคลง)
๕. ภิกษุณีต้องอาบัติหนัก ต้องประพฤติมานัตในสงฆ์สองฝ่าย (คือทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์) ๑๕ วัน
๖. ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสัมปทาในสงฆ์สองฝ่าย เพื่อนางสิกขมานา
๗. ภิกษุณีไม่พึงด่า ไม่พึงบริภาษภิกษุ ไม่ว่าจะโดยปริยายใด ๆ
๘. ไม่ให้ภิกษุณีว่ากล่าวภิกษุ แต่ภิกษุว่ากล่าวภิกษุณีได้
๖๖. อามิส คือสิ่งของ, เครื่องล่อใจ
๖๗. อจิตตกะ คือไม่มีเจตนา เป็นชื่อของอาบัติพวกหนึ่งที่เกิดขึ้นโดยสมุฏฐานที่แม้ไม่มีเจตนา คือถึงแม้ไม่จงใจทำก็ต้องอาบัติ เช่น ฉันอาหารในเวลาวิกาล ดื่มน้ำเมาเป็นต้น
๖๘. จุณ คือของที่ละเอียดเป็นผง ใช้ทาตัว
๖๙. วินัยกรรม คือการกระทำเกี่ยวกับพระวินัย หรือการปฏิบัติตามวินัย เช่น การปลงอาบัติ, การอธิษฐานบริขาร, การวิกับบาตรและจีวร เป็นต้น
๗๐. สายกายพันธน์ คือสายรัดประคดเอว
๗๑. ญัตติจตุตถกรรม คือกรรมมีญัตติเป็นที่สี่ ได้แก่สังฆกรรมที่สำคัญ มีการอุปสมบทเป็นต้น ซึ่งเมื่อตั้งญัตติแล้วต้องสวดประกาศขอมติถึง ๓ หน เพื่อสงฆ์ที่ชุมนุมนั้นจะได้มีเวลาพิจารณาหลายเที่ยวว่าจะอนุมัติหรือไม่
๗๑. ญัตติจตุตถกรรม คือกรรมมีญัตติเป็นที่สี่ ได้แก่สังฆกรรมที่สำคัญ มีการอุปสมบทเป็นต้น ซึ่งเมื่อตั้งญัตติแล้วต้องสวดประกาศขอมติถึง ๓ หน เพื่อสงฆ์ที่ชุมนุมนั้นจะได้มีเวลาพิจารณาหลายเที่ยวว่าจะอนุมัติหรือไม่
๗๒. ขนอน คือด่านเก็บภาษี
๗๓. วิปลาส คือความเห็นหรือความเข้าใจคลาดเคลื่อนจากสภาพที่เป็นจริง มีดังนี้
ก. วิปลาสด้วยอำนาจจิตและเจตสิก ๓ ประการ คือ
๑. วิปลาสด้วยอำนาจสำคัญผิด เรียกว่า สัญญาวิปลาส
๒. วิปลาสด้วยอำนาจคิดผิด เรียกว่า จิตตวิปลาส
๓. วิปลาสด้วยอำนาจเห็นผิด เรียกว่า ทิฏฐิวิปลาส
ข. วิปลาสด้วยสามารถวัตถุเป็นที่ตั้ง ๔ ประการ คือ
๑. วิปลาสในของที่ไม่เที่ยง ว่าเที่ยง
๒. วิปลาสในของที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข
๓. วิปลาสในของที่ไม่ใช่ตน ว่าเป็นตน
๔. วิปลาสในของที่ไม่งาม ว่างาม
๗๔. โมหาโรปนกรรม คือกิริยาที่สวดประกาศยกโทษภิกษุว่าแสร้งทำหลง คือรู้แล้วทำเป็นไม่รู้ เมื่อสงฆ์สวดประกาศแล้ว ยังแกล้งทำไม่รู้อีก ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๗๕. เผดียง คือบอกให้รู้ บอกให้นิมนต์
๗๖. สูปะ คือของกินของต้มที่เป็นน้ำ, แกง
๗๗. ปริมณฑล คือความเป็นระเบียบ ความเรียบร้อย
๗๘. ศีลวิบัติ คือการเสียศีล สำหรับภิกษุ คือต้องอาบัติปาราชิก หรือสังฆาทิเสส
๗๙. อาจารวิบัติ คือเสียอาจาระ เสียจรรยา มารยาทเสียหาย ประพฤติย่อหย่อน รุ่มร่าม มักต้องอาบัติเล็กน้อยตั้งแต่ถุลลัจจัย ลงมาถึงทุพภาสิต
๘๐. ทิฏฐิวิบัติ คือความวิบัติแห่งทิฏฐิ ความผิดพลาดแห่งความคิดเห็น ความเห็นคลาดเคลื่อนผิดธรรมวินัย ทำให้ประพฤติตนนอกแบบแผน ทำความผิดอยู่เสมอ
๘๑. อาชีววิบัติ คือการเสียอาชีวะ ความเสียหายแห่งการเลี้ยงชีพ คือประกอบมิจฉาอาชีวะ มีการหลอกลวงเขาเลี้ยงชีพ เป็นต้น
๘๒. อปโลกนกรรม คือกรรมที่ทำด้วยการบอกกันในที่ประชุมสงฆ์ ไม่ต้องตั้งญัตติ คือคำเผดียงไม่ต้องสวดอนุสาวนา คือประกาศความปรึกษาและตกลงของสงฆ์ เช่น ประกาศลงพรหมทัณฑ์, ลงโทษสามเณรผู้กล่าวตู่พระพุทธเจ้า บอกกล่าวเรื่องการแจกอาหารในโรงฉัน เป็นต้น (พรหมทัณฑ์ คือโทษอย่างสูง สงฆ์ตกลงกันลงโทษภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง โดยภิกษุทั้งหลายพร้อมใจกันไม่พูดด้วยไม่ว่ากล่าวตักเตือนหรือสั่งสอนภิกษุนั้น) พระฉันนะซึ่งเป็นพระมีความพยศ ถือตัวว่าเป็นคนเก่าใกล้ชิดพระพุทธเจ้ามาก่อนใครอื่น ใครว่าไม่ฟัง ภายหลังถูกสงฆ์ลงพรหมทัณฑ์ถึงกับเป็นลมล้มสลบ จึงหายจากความพยศได้
๘๓. สัมมุขาวินัย คือระเบียบอันพึงทำในที่พร้อมหน้า ได้แก่การระงับอธิกรณ์ในที่พร้อมหน้าสงฆ์
๘๔. ติตถิยะ คือเดียรถีย์ นักบวชนอกพระพุทธศาสนา
๘๕. บัณเฑาะก์ คือพวกกะเทย คนไม่ปรากฏว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง ได้แก่
กะเทยโดยกำเนิด ๑
ชายถูกตอนเรียกว่าขันที่ ๑
ชายมีราคะกล้า ประพฤตินอกจารีตในทางเสพกาม และยั่วยวนชายอื่นให้เป็นเช่นนั้น ๑
กะเทยโดยกำเนิด ๑
ชายถูกตอนเรียกว่าขันที่ ๑
ชายมีราคะกล้า ประพฤตินอกจารีตในทางเสพกาม และยั่วยวนชายอื่นให้เป็นเช่นนั้น ๑
๘๖. อุภโตพยัญชนก คือคนที่มี ๒ เพศ
๘๗. ปาริวาสิก คือภิกษุผู้อยู่ปริวาสกรรม
๘๘. มูลายปฏิกัสสนารหะ คือภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม หมายถึงภิกษุผู้กำลังอยู่ปริวาส หรือประพฤติมานัตอยู่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสสข้อเดียวกัน หรืออาบัติสังฆาทิเสสข้ออื่นเข้าอีก ก่อนที่สงฆ์จะอัพภาน ต้องตั้งต้นอยู่ปริวาสหรือประพฤติมานัตใหม่
๘๙. ธัมกรก คือที่กรองน้ำฉันน้ำใช้ของสงฆ์
๙๐. ลูกถวิน คือลูกกลมๆที่ผูกติดสายประคดเอว ห่วงร้อยสายรัดประคด
๙๑. อักโกสวัตถุ คือเรื่องสำหรับด่ามี ๑๐ อย่าง คือ
๑. ชาติ ได้แก่ชั้นหรือกำเนิดของคน
๒. ชื่อ
๓. โคตร คือตระกูล หรือแซ่
๔. การงาน
๕. ศิลปะ
๖. โรค
๗. รูปพรรณสัณฐาน
๘. กิเลส
๙. อาบัติ
๑๐. คำสบประมาทอย่างอื่น ๆ
๑. ชาติ ได้แก่ชั้นหรือกำเนิดของคน
๒. ชื่อ
๓. โคตร คือตระกูล หรือแซ่
๔. การงาน
๕. ศิลปะ
๖. โรค
๗. รูปพรรณสัณฐาน
๘. กิเลส
๙. อาบัติ
๑๐. คำสบประมาทอย่างอื่น ๆ
๙๒. กาลิก คือของที่เนื่องด้วยกาล ของอันจะกลืนกินให้ล่วงลำคอเข้าไป ซึ่งพระวินัยบัญญัติให้ภิกษุรับเก็บไว้และฉันได้ภายในที่กำหนด จำแนกเป็น ๔ อย่าง คือ
๑. ยาวกาลิก รับประเคนไว้ และฉันได้ชั่วเวลาเช้าถึงเที่ยงของวันนั้น เช่น ข้าว ปลา เนื้อ ผัก ผลไม้ ขนมต่าง ๆ
๒. ยามกาลิก รับประเคนไว้ และฉันได้ชั่ววันหนึ่งกับคืนหนึ่ง คือก่อนอรุณของวันใหม่ ได้แก่น้ำปานะ คือน้ำผลไม้คั้นที่ทรงอนุญาต
๓. สัตตาหกาลิก รับประเคนไว้แล้วฉันได้ภายใน ๗ วัน ได้แก่ เภสัชทั้งห้า คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้งและน้ำอ้อย
๔. ยาวชีวิก รับประเคนไว้แล้วฉันได้ตลอดไปไม่จำกัดเวลา ได้แก่ของที่ใช้ปรุงเป็นยา
นอกจากกาลิก ๓ ข้อต้น (ความจริงยาวชีวิกไม่เป็นกาลิก แต่นับเข้าโดยปริยายเพราะเป็นของเนื่องกัน)
นอกจากกาลิก ๓ ข้อต้น (ความจริงยาวชีวิกไม่เป็นกาลิก แต่นับเข้าโดยปริยายเพราะเป็นของเนื่องกัน)
๙๓. กุมมาส คือขนมสด เป็นขนมที่เก็บไว้นานเกินไปจะ บูด เช่น ขนมด้วง ขนมครก ขนมถ้วย ขนมตาล เป็นต้น พระพุทธเจ้าหลังจากเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยาแล้ว ก็เสวยข้าวสุกและกุมมาส