พุทธพจน์เกี่ยวกับอายตนะ
🔅 “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงแก่พวกเธอซึ่ง “สรรพสิ่ง" (สิ่งทั้งปวง, ครบหมด, ทุกสิ่งทุกอย่าง), จงฟังเถิต: อะไรเล่าคือ สรรพสิ่ง: ตากับรูป หูกับเสียง จมูกกับกลิ่น ลิ้นกับรส กายกับโผฏฐพพะ ใจกับธรรมารมณ์ - นี้เราเรียกว่า สรรพสิ่ง”
🔅 “พระองค์ผู้เจริญ เรียกกันว่า “โลก โลก” ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไร จึงมีโลก หรือบัญญัติว่าเป็นโลก?”
“ดูกรสมิทธิ ที่ใดมีตา มีรูป มีจักขุวิญญาณ มีธรรมอันพึงรู้ตัวยจักขุวิญญาณ, ที่นั่นก็มีโลก หรือบัญญัติว่าเป็นโลก, ที่ใดมีหูมีจมูก...มีลิ้นมีกายมีใจ มีธรรมารมณ์ มีมโนวิญญาณมีสิ่งอันพึงรู้ด้วยมโนวิญญาณ ที่นั้นก็มีโลกหรือบัญญัติว่าโลก"
🔅 “ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวว่า ที่สุดโลก เป็นสิ่งที่รู้ได้ เห็นได้ ถึงได้ ด้วยการไป, แต่เราก็ไม่กล่าวเช่นกันว่า บุคคลยังไม่ถึงที่สุดโลก จะทำความสิ้นทุกข์ได้"
(พระอานนท์กล่าว:) “ข้อความที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดยย่อ ยังมิได้ทรงแจกแจงเนื้อความโดยพิสดารนี้ ข้าพเจ้าเข้าใจความโดยพิสดารดังนี้: บุคคลย่อมสำคัญหมายในโลกว่าเป็นโลก ถือโลกว่าเป็นโลกด้วยสิ่งใด สิ่งนั้นเรียกว่า “โลก” ในอริยวินัย.” “ด้วยอะไรเล่า คนจึงสำคัญหมายในโลกว่าเป็นโลก ถือโลกว่าเป็นโลก? ด้วยตาตัวยหู ตัวยจมูกด้วยลิ้น...ด้วยกาย...ด้วยใจ คนจึงสำคัญหมายในโลกว่าเป็นโลก ถือโลกว่าเป็นโลก"
🔅 “ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงการอุทัยพร้อม และการอัสดงแห่งโลก, จงฟังเถิด.
“การอุทัยพร้อมแห่งโลกเป็นไฉน?
อาศัยตา และรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ,
ความประจวบแห่งสิ่งทั้งสามนั้น คือ ผัสสะ,
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี,
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี,
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี,
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี,
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี,
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ อุปายาสก็มีพร้อม; นี้คือการอุทัยพร้อมแห่งโลก”
"อาศัยหู...อาศัยจมูก....อาศัยลิ้น...อาศัยกาย...อาศัยใจและธรรมารมณ์ จึงเกิดมโนวิญญาณ ฯลฯ นี้คือ การอุทัยพร้อมแห่งโลก”
"อัสดงแห่งโลกเป็นไฉน?
อาศัยตาและรูป จึงเกิดจักขุวิญญาณ,
ความประจวบแห่งสิ่งทั้งสามนั้นคือ ผัสสะ,
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา,
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี,
เพราะตัณหานั้นแหละสำรอกตับไปไม่เหลือ ความดับอุปาทานจึงมี,
เพราะตับอุปาทาน ความดับภพจึงมี,
เพราะดับภพ ความดับชาติจึงมี,
เพราะดับชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส จึงดับ,
ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งหมด ย่อมมีได้อย่างนี้ นี้เรียกว่าอัสดงแห่งโลก”
อาศัยหู....อาศัยจมูก..อาศัยลิ้น....อาศัยกาย...อาศัยใจและธรรมารมณ์ จึงเกิดมโนวิญญาณ ฯลฯ นี้คือ การอัสดงของโลก"
🔅 “พระองค์ผู้เจริญ เรียกกันว่า “มาร มาร” เรียกกันว่า “สัตว์ สัตว์” เรียกกันว่า “ทุกข์ ทุกข์ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไร จึงมีมารหรือบัญญัติว่ามารจึงมีสัตว์หรือบัญญัติว่าสัตว์ จึงมีทุกข์หรือบัญญัติว่าทุกข์"
“ตูกรสมิทธิ ที่ใดมีตา มีรูป มีจักขุวิญญาณ มีธรรมอันพึงรู้ด้วยจักขุวิญญาณ ฯลฯ
มีใจ มีธรรมารมณ์ มีมโนวิญญาณ มีธรรมอันพึงรู้ตัวยมโนวิญญาณ,
ที่นั้นก็มีมารหรือบัญญัติว่ามาร สัตว์หรือบัญญัติว่าสัตว์....ทุกข์หรือบัญญัติว่าทุกข์"
“เมื่อตามีอยู่ พระอรหันต์ทั้งหลายจึงบัญญัติสุขทุกข์,
เมื่อตาไม่มี พระอรหันต์ทั้งหลายย่อมไม่บัญญัติสุขทุกข์,
เมื่อหู....จมูก...สิ้น....กาย...ใจมีอยู่ พระอรหันต์ทั้งหลายจึงบัญญัติสุขทุกข์,
เมื่อหู ฯลฯ ใจไม่มี พระอรหันต์ทั้งหลายย่อมไม่บัญญัติสุขทุกข์,
🔅 “ภิกษุทั้งหลาย ตา...จมูก ลิ้น กายใจไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา, แม้สิ่งที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา, ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งเกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จักเป็นของเที่ยง จักเป็นสุข จักเป็นอัตตาได้แต่ที่ไหน”
"รูป...เสียงกลิ่น...รส..โผฏฐพพะธรรมารมณ์ ไม่เที่ยงเป็นทุกข์...เป็นอนัตตา, แม้สิ่งที่เป็นเหตุ เป็นปัจจัยให้รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐพพะ ธรรมารมณ์เกิดขึ้น ก็ไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา, รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐพพะ ธรรมารมณ์ ซึ่งเกิดจากสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตา จักเป็นของเที่ยง เป็นสุข เป็นอัตตาได้แต่ที่ไหน”
🔅 “ภิกษุทั้งหลาย ข้าวกล้างอกงามบริบูรณ์ และคนเฝ้าข้าวกล้าก็ประมาทเสีย, โคกินข้าวกล้าลงสู่ข้าวกล้าโน้น พึงเมาเพลินประมาทเอาจนเต็มที่ ฉันใด, ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ ไม่สังวร์ในผัสสายตนะ ๖ ย่อมเมาเพลิน ประมาทในกามคุณ ๕ จนเต็มที่ ฉันนั้น"
🔅 “ภิกษุทั้งหลาย ผัสสายตนะ ๖ เหล่านี้ ที่ไม่ฝึก ไม่คุ้มครอง ไม่รักษา ไม่สังวร ย่อมเป็นเครื่องนำทุกข์มาให้ผัสสายตนะ ๖ เหล่านี้ ที่ฝึกดีแล้ว คุ้มครองดี รักษาดี สังวรดี ย่อมเป็นเครื่องนำสุขมาให้"
🔅 “ตาเป็นเครื่องผูกล่ามรูปไว้, รูปเป็นเครื่องผูกล่ามตาไว้ หู-เสียง, จมูก-กลิ่น: ลิ้นรส กาย-โผฏฐพพะ, ใจเป็นเครื่องผูกล่ามธรรมารมณ์ไว้, ธรรมารมณ์เป็นเครื่องผูกล่ามใจไว้ ดังนี้หรือ?"
“(หามิได้) ตาก็มิใช่เครื่องผูกล่ามรูปไว้,
รูปก็มิใช่เครื่องผูกล่ามตาไว้,
ฉันทราคะ (ความชอบใจจนติด) ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยตาและรูปทั้งสองอย่างนั้นต่างหาก เป็นเครื่องผูกล่ามที่ตาและรูปนั้น
ใจก็ไม่ใช่เครื่องผูกล่ามธรรมารมณ์,
ธรรมารมณ์ก็มิใช่เครื่องผูกล่ามใจ,
ฉันทราคะ ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ทั้งสองอย่างนั้นต่างหาก เป็นเครื่องผูกล่ามที่ใจธรรมารมณ์นั้น” “หากตาเป็นเครื่องผูกล่ามรูปไว้ หรือรูปเป็นเครื่องผูกล่ามตาไว้แล้วไซร์, การครองชีวิตประเสริฐ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ ก็จะปรากฏไม่ได้"
"แต่เพราะเหตุที่ตาไม่ใช่เครื่องผูกล่ามรูป, รูปมิใช่เครื่องผูกล่ามตา, ฉันทราคะที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยตาและรูปสองอย่างนั้นต่างหาก เป็นเครื่องผูกล่ามที่ตาและรูปนั้น เพราะเหตุฉะนั้น การครองชีวิตประเสริฐเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ จึงปรากฏได้ ฯลฯ”
“พระผู้มีพระภาคก็ทรงมีพระจักษุ, พระผู้มีพระภาคก็ทรงเห็นรูปด้วยจักษุ, (แต่) ฉันทราคะไม่มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า, พระผู้มีพระภาคทรงมีพระทัยหลุดพ้นดีแล้ว: พระผู้มีพระภาคก็ทรงมีพระโสต....พระฆานะพระชิวหา...พระกาย...พระทัย.... (แต่) ฉันทราคะไม่มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคทรงมีพระทัยหลุดพ้นดีแล้ว"
🔅 “พระองค์ผู้เจริญ! ถึงแม้ข้าพระองค์ชราแล้ว เป็นผู้เฒ่าผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมาโดยลำดับก็ตาม ขอพระผู้มีพระภาคสุคตเจ้าโปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์แต่โดยย่อเถิด ข้าพระองค์คงจะเข้าใจความแห่งพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคได้เป็นแน่ ข้าพระองค์คงจะเป็นทายาทแห่งพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคได้เป็นแน่
"แน่ะมาลุงกยบุตร! ท่านเห็นเป็นประการใด? รูปทั้งหลายที่พึงรู้ด้วยจักษุอย่างใดๆ ซึ่งเธอยังไม่เห็น ทั้งมิเคยได้เห็น ทั้งไม่เห็นอยู่ ทั้งไม่เคยคิดหมายว่าขอเราพึงเห็น, ความพอใจ ความใคร่ หรือความรัก ในรูปเหล่านั้น จะมีแก่เธอไหม?”
🙏ทูลตอบ “ไม่มี พระเจ้าข้า”
"เสียง...กลิ่น...รส...โผฏฐพพะธรรมารมณ์ทั้งหลาย อย่างใดๆ เธอไม่ได้ทราบ ไม่เคยทราบ ไม่ทราบอยู่ และทั้งไม่เคยคิดหมายว่าเราพึงทราบ, ความพอใจ ความใคร่ หรือความรักในธรรมารมณ์เหล่านั้น จะมีแก่เธอไหม?”
🙏ทูลตอบ “ไม่มี พระเจ้าข้า”
“มาลุงกยบุตร! บรรดาสิ่งที่เห็นได้ยินรู้ทราบเหล่านี้ ในสิ่งที่เห็น เธอจักมีแค่เห็น ในสิ่งที่ได้ยิน จักมีแค่ได้ยิน ในสิ่งที่ลิ้มดมแตะต้อง จักมีแค่รู้ (รสกลิ่นแตะต้อง) ในสิ่งที่ทราบ จักมีแค่ทราบ"
"เมื่อใด (เธอมีแค่เห็นได้ยินได้รู้ได้ทราบ) เมื่อนั้น เธอก็ไม่มีด้วยนั้น (อรรถกถาอธิบายว่าไม่ถูกราคะ โทสะ โมหะ ครอบงำ), เมื่อไม่มีด้วยนั่น ก็ไม่มีที่นั่น (อรรถกถาว่า ไม่พัวพันหมกติดอยู่ในสิ่งที่ได้เห็นเป็นต้นนั้น), เมื่อไม่มีที่นั่น เธอก็ไม่มีที่นี่ ไม่มีที่โน่น ไม่มีระหว่างที่นี่ที่โน่น (ไม่ใช่ภพนี้ ไม่ใช่ภพโน้น ไม่ใช่ระหว่างภพทั้งสอง) นั่นแหละคือที่จบสิ้นแห่งทุกข์ (พระมาลุงกยบุตรสดับแล้ว กล่าวความตามที่ตนเข้าใจออกมาว่า)
“พอเห็นรูป สติก็หลงหลุด ด้วยมัวใส่ใจแต่นิมิตหมายที่น่ารัก แล้วก็มีจิตกำหนัดติดใจ เสวยอารมณ์ แล้วก็สยบอยู่กับอารมณ์นั้นเอง" "เวทนาหลากหลายอันก่อกำเนิดขึ้นจากรูป ขยายตัวเพิ่มขึ้น จิตของเขาก็คอยถูกกระทบกระทั่ง ทั้งกับความอยากและความยุ่งยากใจ เมื่อสั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ ก็เรียกว่าไกลนิพพาน” “พอได้ยินเสียง..พอได้กลิ่น..พอลิ้มรส..พอถูกต้องโผฏฐพพะ..พอรู้ธรรมารมณ์ สติก็หลง หลุด ฯลฯ ก็เรียกว่าไกลนิพพาน”
“เห็นรูปก็ไม่ติดในรูป ด้วยมีสติมั่นอยู่, มีจิตไม่ติดใจ เสวยเวทนาไป ก็ไม่สยบกับอารมณ์นั้น; เขามีสติดำเนินชีวิตอย่างที่ว่า เมื่อเห็นรูป และถึงจะเสพเวทนา ทุกข์ก็มีแต่สิ้น ไม่สั่งสม; เมื่อไม่สั่งสมทุกข์อยู่อย่างนี้ก็เรียกว่าใกล้นิพพาน” “ได้ยินเสียงได้กลิ่น ลิ้มรสถูกต้องโผฏฐพพะรู้ธรรมารมณ์ ก็ไม่ติดในธรรมารมณ์ด้วยมีสติมั่นอยู่ ฯลฯ ก็เรียกว่าใกล้นิพพาน
🔅 “ด้วยเหตุเพียงไร บุคคลชื่อว่าเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวาร? คนบางคนเห็นรูปด้วยตาแล้ว ย่อมน้อมรักฝากใจในรูปที่น่ารัก ย่อมขุ่นเคืองขัดใจในรูปที่ไม่น่ารัก มิได้มีสติกำกับใจ มิใจเล็กจ้อยอยู่ ไม่เข้าใจตามเป็นจริง ซึ่งความหลุดรอดปลอดพ้นของจิต และความหลุดรอดปลอดพ้นด้วยปัญญา ที่จะทำให้บาปอกุศลธรรมซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ตัวเขา ดับไปได้โดยไม่เหลือ, ฟังเสียงด้วยหู สูดกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ต้องโผฏฐพพะด้วยกาย ทราบธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ย่อมน้อมรักฝากใจในธรรมารมณ์อันน่ารัก ย่อมขุ่นเคืองขัดใจในธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก ๆลฯ”
“ด้วยเหตุเพียงไร บุคคลชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวาร? ภิกษุเห็นรูปด้วยตาแล้ว ย่อมไม่น้อมรักฝากใจในรูปที่น่ารัก ไม่ขุ่นเคืองขัดใจในรูปที่ไม่น่ารัก มีสติกำกับใจ เป็นอยู่อย่างผู้มีจิตกว้างขวาง ไม่มีประมาณ เข้าใจตามเป็นจริง ซึ่งความหลุดรอดปลอดพ้นของจิต และความหลุดรอดปลอดพันด้วยปัญญา ที่จะทำให้บาปอกุศลธรรมซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ตัวเขา ดับไปได้โดยไม่เหลือ, ฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ ทราบธรรมารมณ์ด้วยใจ ย่อมไม่น้อมรักฝากใจในธรรมารมณ์อันน่ารัก ไม่ขุ่นเคืองขัดใจในธรรมารมณ์อันไม่น่ารัก ฯลฯ"
“ภิกษุทั้งหลาย อย่างไรจึงจะชื่อว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท? เมื่อภิกษุสังวรจักขุนทรีย์อยู่ จิตย่อมไม่ซ่านแส่ไปในรูปทั้งหลายที่พึงรู้ด้วยจักษุ, เมื่อมีจิตไม่ซ่านแส่ ปราโมทย์ก็เกิด, เมื่อมีปราโมทย์แล้ว ปีติก็เกิด, เมื่อมีใจปีติ กายก็สงบระงับ, ผู้มีกายสงบ ย่อมเป็นสุข, ผู้มีสุข จิตย่อมเป็นสมาธิ, เมื่อจิตเป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายก็ปรากฏ, เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ ผู้นั้นจึงนับว่าเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท” (เกี่ยวกับโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ก็เช่นเดียวกัน)
🔅 "อานนท์ การอบรมอินทรีย์ ที่ยอดเยี่ยมในแบบแผนของอารยชน (อริยวินัย) เป็นอย่างไร? เพราะเห็นรูปด้วยตาเพราะได้ยินเสียงด้วยหู...เพราะได้กลิ่นด้วยจมูก...เพราะรู้รสด้วยลิ้น...เพราะต้องโผฏฐพพะด้วยกาย...เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ ย่อมเกิดความชอบใจบ้าง เกิดความไม่ชอบใจบ้าง เกิดทั้งความชอบใจและไม่ชอบใจบ้าง แก่ภิกษุ เธอเข้าใจชัดดังนี้ว่า ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจไม่ชอบใจ ที่เกิดขึ้นแล้วแก่เรานี้ เป็นสิ่งปรุงแต่ง เป็นธรรมหยาบ เป็นของอาศัยเหตุปัจจัยเกิดขึ้น, ภาวะต่อไปนี้จึงจะสงบประณีต นั่นคืออุเบกขา (ความมีใจเป็นกลาง), (ครั้นแล้ว) ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแก่เธอนั้น ก็ดับไป อุเบกขาก็ตั้งมั่น”
“สำหรับบุคคลผู้ใดก็ตาม ความชอบใจ ความไม่ชอบใจ ทั้งความชอบใจไม่ชอบใจที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป อุเบกขาย่อมตั้งมั่นได้เร็วพลันทันทีโดยไม่ยาก เสมือนคนหลับตาแล้วลืมตา หรือลืมตาแล้วหลับตา นี้เรียกว่า การอบรมอินทรีย์ที่ยอดเยี่ยมในแบบแผนของอารยชน..."
🔅 “ภิกษุทั้งหลาย ก่อนสัมโพธิ เมื่อยังเป็นโพธิสัตว์ ผู้ยังไม่ตรัสรู้ เราได้เกิดความดำริขึ้นดังนี้ว่า: อะไรเป็นคุณของจักษุ? อะไรเป็นโทษ (ข้อเสีย) ของจักษุ? อะไรเป็นทางออก (พ้นอาศัยเป็นอิสระ) แห่งจักษุ? อะไรเป็นคุณเป็นโทษเป็นทางออกแห่งโสตะ... ฆานะ..ชิวหา...กาย...มโน?”
“เราได้เกิดความคิดขึ้นดังนี้: สุข โสมนัส ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุ นี้คือคุณของจักษุ,
ข้อที่จักษุไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา นี้คือโทษของจักษุ
การกำจัดฉันทราคะ การละฉันทราคะในเพราะจักษุเสียได้ นี้คือทางออกแห่งจักษุ (ของโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ก็เช่นเดียวกัน)
“ตราบใด เรายังมิได้รู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งคุณของอายตนะภายใน ๖ เหล่านี้โดยเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยเป็นโทษ, ซึ่งทางออกโดยเป็นทางออก, ตราบนั้นเราก็ยังไม่ปฏิญญาว่าเราบรรลุแล้วซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ..." (ต่อไปตรัสถึงคุณ โทษ ทางออกพ้นแห่งอายตนะภายนอก ๖ ในทำนองเดียวกัน) (ทบทวน คุณ, โทษ, ทางออก อายตนะ ๖ ดูใน 🔎มหาสติปัฎฐานสูตร หมวด อายตนะ)
🔅 “ภิกษุทั้งหลาย ผู้ที่รู้เห็นจักษุตามที่มันเป็น รู้เห็นรูปทั้งหลายตามที่มันเป็น รู้เห็นจักขุวิญญาณตามที่มันเป็น รู้เห็นจักขุสัมผัสตามที่มันเป็น รู้เห็นเวทนาอันเป็นสุข หรือทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ซึ่งเกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ตามที่มันเป็น ย่อมไม่ติดพันในจักษุ ไม่ติดพันในรูปทั้งหลาย ไม่ติดพันในจักขุวิญญาณ ไม่ติดพันในจักขุสัมผัส ไม่ติตพันในเวทนา อันเป็นสุขหรือทุกข์หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ที่เกิดเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย"
“เมื่อผู้นั้นไม่ติดพัน ไม่หมกมุ่น ไม่ลุ่มหลง รู้เท่าทันเห็นโทษตระหนักอยู่ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ย่อมถึงความไม่ก่อตัวพอกพูนต่อไป อนึ่ง ตัณหาที่เป็นตัวการก่อภพใหม่ อันประกอบด้วยนันทิราคะ คอยแต่เพลิดเพลินอยู่ในอารมณ์ต่างๆ ที่จะถูกละไปเสียด้วย, ความกระวนกระวายทางกายก็ดี ความกระวนกระวายทางใจก็ดี ความเร่าร้อนกายก็ดี ความเร่าร้อนใจก็ดี ความกลัดกลุ้มทางกายก็ดี ความกลัดกลุ้มทางใจก็ดี ย่อมถูกเขาละได้"
“ผู้นั้นย่อมเสวยทั้งความสุขทางกาย ทั้งความสุขทางใจ, บุคคลผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว มีความเห็นอันใด ความเห็นนั้นก็เป็นสัมมาทิฏฐิ, มีความดำริใด ความดำรินั้นก็เป็นสัมมาสังกัปปะ, มีความพยายามใด ความพยายามนั้นก็เป็นสัมมาวายามะ, มีความระลึกใด ความระลึกนั้นก็เป็นสัมมาสติ มีสมาธิใด สมาธินั้นก็เป็นสัมมาสมาธิ, ส่วนกายกรรม วจีกรรม และอาชีวะของเขา ย่อมบริสุทธิ์ดีมาแต่ต้นทีเดียว ด้วยประการดังนี้ เขาชื่อว่ามีอริยอัฏฐงคิกมรรค อันถึงความเจริญบริบูรณ์” (เกี่ยวกับโสตะ ฆานะ ชิวหา กาย มโน ก็เช่นกัน)