ปาจิตตีย์ ๙๒ สิกขาบท จัดเป็น ๙ วรรค
(มุสาวรรค ๑๐)
(ภูตคามวรรค ๑๐)
(ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
(โภชนวรรค ๑๐)
(อเจลกวรรค ๑๐)
(สุราปานวรรค ๑๐)
(สัปปาณวรรค ๑๐)
(สหธัมมิกวรรค ๑๒)
(ราชวรรค ๑๐)
ราชวรรคที่ ๙ มี ๑๐ สิกขาบท ดังนี้
๑. อันเตปุรสิกขาบท
ความว่า ภิกษุอันไปยังราชตระกูลพระมหากษัตริย์อันทรงราชาภิเษกแล้ว เดินตรงย่างก้าวล่วงธรณีพระทวารเข้าไปในตำหนักที่พระบรรทม เวลาเสด็จอยู่กับนางกษัตริย์รัตนมเหสี พระราชเทวียังมิได้ออกที่เฝ้า ณ ภายใน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
๒. รัตนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุได้เห็นของ ๆ คฤหัสถ์เจ้าของลืมไว้ หรือตกอยู่ที่นอกอารามเขตวัดหรือนอกอาวาสเขตที่พักที่แรม จะเป็นเพชร พลอย ทอง เงิน รูปพรรณต่าง ๆ ที่นับว่ารัตนก็ดี สิ่งที่เป็นที่ยินดีควรเก็บงำสงวนไว้ ตั้งแต่มีดพร้าเป็นต้นไป นับว่ารัตนสมมติก็ดี จึงเก็บเอามาเองหรือให้ผู้อื่นเก็บมารักษาไว้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นแต่ตกอยู่ในอาราม ในอาวาส ของที่ตกอยู่ในอารามหรืออาวาสนั้น ภิกษุได้พบเห็นแล้วจึงเก็บเองหรือให้ผู้อื่นเก็บไว้ ด้วยสันนิษฐานเข้าใจว่าจะเป็นของ ๆ ใคร เจ้าของจะมาเอาไป อันนี้เป็นวัตรปฏิบัติสมควรถ้าไม่เก็บเอามารักษาไว้ ต้องอาบัติวัตตเภททุกกฏ
ความว่า ภิกษุได้เห็นของ ๆ คฤหัสถ์เจ้าของลืมไว้ หรือตกอยู่ที่นอกอารามเขตวัดหรือนอกอาวาสเขตที่พักที่แรม จะเป็นเพชร พลอย ทอง เงิน รูปพรรณต่าง ๆ ที่นับว่ารัตนก็ดี สิ่งที่เป็นที่ยินดีควรเก็บงำสงวนไว้ ตั้งแต่มีดพร้าเป็นต้นไป นับว่ารัตนสมมติก็ดี จึงเก็บเอามาเองหรือให้ผู้อื่นเก็บมารักษาไว้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นแต่ตกอยู่ในอาราม ในอาวาส ของที่ตกอยู่ในอารามหรืออาวาสนั้น ภิกษุได้พบเห็นแล้วจึงเก็บเองหรือให้ผู้อื่นเก็บไว้ ด้วยสันนิษฐานเข้าใจว่าจะเป็นของ ๆ ใคร เจ้าของจะมาเอาไป อันนี้เป็นวัตรปฏิบัติสมควรถ้าไม่เก็บเอามารักษาไว้ ต้องอาบัติวัตตเภททุกกฏ
๓. วิกาลคามปเวสนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุมีกิจที่จะไปบ้านในเวลาตั้งแต่ล่วงเที่ยงวันไปจนรุ่งเช้า เพื่อนภิกษุมีอยู่ มิได้อำลาบอกเล่าให้รู้ก่อน เข้าไปในบ้านในเวลาวิกาล ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นแต่เป็นการรีบด่วนที่ควรจะพึงไป
ความว่า ภิกษุมีกิจที่จะไปบ้านในเวลาตั้งแต่ล่วงเที่ยงวันไปจนรุ่งเช้า เพื่อนภิกษุมีอยู่ มิได้อำลาบอกเล่าให้รู้ก่อน เข้าไปในบ้านในเวลาวิกาล ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นแต่เป็นการรีบด่วนที่ควรจะพึงไป
๔. สูจิฆรสิกขาบท
ความว่า ภิกษุกระทำเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำซึ่งกล่องสำหรับใส่เข็มให้แล้ว ไปด้วยกระดูก ๑ งาช้าง ๑ เขาหรือนอ ๑ พอทำเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ มีอันทำลายเสียเป็นวินัยกรรม ถ้ายังมิได้ทำลายเสียก่อน สำแดงอาบัติไม่ตก ถ้าเป็นของผู้อื่นให้ ภิกษุเอามาใส่เข็มเมื่อใด ต้องอาบัติปาจิตตีย์เมื่อนั้น ถ้าภิกษุทำให้ผู้อื่น เป็นอาบัติทุกกฏ
ความว่า ภิกษุกระทำเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นกระทำซึ่งกล่องสำหรับใส่เข็มให้แล้ว ไปด้วยกระดูก ๑ งาช้าง ๑ เขาหรือนอ ๑ พอทำเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ มีอันทำลายเสียเป็นวินัยกรรม ถ้ายังมิได้ทำลายเสียก่อน สำแดงอาบัติไม่ตก ถ้าเป็นของผู้อื่นให้ ภิกษุเอามาใส่เข็มเมื่อใด ต้องอาบัติปาจิตตีย์เมื่อนั้น ถ้าภิกษุทำให้ผู้อื่น เป็นอาบัติทุกกฏ
๕. มัญจสิกขาบท
ความว่า ภิกษุจะให้ทำเตียงหรือตั้งขึ้นใหม่ จึงทำให้มีเท้าสูงประมาณ ๘ นิ้วพระสุคต (๑๐ นิ้ว ๓ กระเบียดช่างไม้) แม่แคร่รองเชิงข้างล่างต่างหาก วัดแต่พื้นแม่แคร่ขึ้นไปถึงพื้นเตียงเป็นประมาณ ถ้าสูงกว่า ๕ นิ้วพระสุคตเจ้าขึ้นไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ตัดรอนให้ต่ำลงมาตามประมาณก่อน จึงแสดงอาบัติได้
ความว่า ภิกษุจะให้ทำเตียงหรือตั้งขึ้นใหม่ จึงทำให้มีเท้าสูงประมาณ ๘ นิ้วพระสุคต (๑๐ นิ้ว ๓ กระเบียดช่างไม้) แม่แคร่รองเชิงข้างล่างต่างหาก วัดแต่พื้นแม่แคร่ขึ้นไปถึงพื้นเตียงเป็นประมาณ ถ้าสูงกว่า ๕ นิ้วพระสุคตเจ้าขึ้นไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ตัดรอนให้ต่ำลงมาตามประมาณก่อน จึงแสดงอาบัติได้
๖. ตุโลนัทธสิกขาบท
ความว่า ภิกษุพึงให้ทำเตียงหรือสั่งหุ้มพื้นด้วยปกผ้าลาดคลุมไว้เบื้องบน พอทำเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เลิกรื้อนุ่นขึ้นเสียให้หมดก่อน จึงแสดงอาบัติได้
ความว่า ภิกษุพึงให้ทำเตียงหรือสั่งหุ้มพื้นด้วยปกผ้าลาดคลุมไว้เบื้องบน พอทำเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เลิกรื้อนุ่นขึ้นเสียให้หมดก่อน จึงแสดงอาบัติได้
๗. นีสีทนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุจะให้ทำผ้านิสีทนะ คือผ้าสำหรับปูนั่ง จึงทำให้พอประมาณ คือ ยาว ๒ คืบ กว้างคืบครึ่ง ชายยาวคืบหนึ่งฉีก ๓ แฉก ติดต่อเข้าตามผืน วัดตามขนาดคืบพระสุคตเจ้า (คือ ยาว ๑ ศอก ๕ นิ้ว ๑ กระเบียด กว้าง ๑ ศอก ๓ อนุกระเบียด ชาย ๑ คืบ ๔ นิ้ว ๒ อนุกระเบียดช่างไม้) ถ้าทำให้กว้างยาวเกินประมาณนี้ พอเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ตัดทอนให้ได้ขนาดก่อน จึงแสดงอาบัติได้
ความว่า ภิกษุจะให้ทำผ้านิสีทนะ คือผ้าสำหรับปูนั่ง จึงทำให้พอประมาณ คือ ยาว ๒ คืบ กว้างคืบครึ่ง ชายยาวคืบหนึ่งฉีก ๓ แฉก ติดต่อเข้าตามผืน วัดตามขนาดคืบพระสุคตเจ้า (คือ ยาว ๑ ศอก ๕ นิ้ว ๑ กระเบียด กว้าง ๑ ศอก ๓ อนุกระเบียด ชาย ๑ คืบ ๔ นิ้ว ๒ อนุกระเบียดช่างไม้) ถ้าทำให้กว้างยาวเกินประมาณนี้ พอเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ตัดทอนให้ได้ขนาดก่อน จึงแสดงอาบัติได้
๘. กัณฑปฏิจฉาทิสิกขาบท
ความว่า ภิกษุจะให้ทำผ้าสำหรับปิดซับแผลหิด แผลฝี จึงทำให้ต้องด้วยประมาณ คือ ยาว ๔ คืบ กว้าง ๒ คืบตามคืบพระสุคตเจ้า (ยาว ๒ ศอกคืบ ๔ นิ้ว ๒ กระเบียด กว้าง ๑ ศอก ๔ นิ้ว ๑ กระเบียดช่างไม้) ถ้าทำเกินขนาดนี้ไป พอเสร็จต้องอาบัติปาจิตตีย์ ตัดทอนลงให้ได้ขนาดเสียก่อน จึงแสดงอาบัติได้
ความว่า ภิกษุจะให้ทำผ้าสำหรับปิดซับแผลหิด แผลฝี จึงทำให้ต้องด้วยประมาณ คือ ยาว ๔ คืบ กว้าง ๒ คืบตามคืบพระสุคตเจ้า (ยาว ๒ ศอกคืบ ๔ นิ้ว ๒ กระเบียด กว้าง ๑ ศอก ๔ นิ้ว ๑ กระเบียดช่างไม้) ถ้าทำเกินขนาดนี้ไป พอเสร็จต้องอาบัติปาจิตตีย์ ตัดทอนลงให้ได้ขนาดเสียก่อน จึงแสดงอาบัติได้
๙. วัสสิกสาฎีกสิกขาบท
ความว่า ภิกษุจะให้ทำผ้าสำหรับอาบน้ำฝน จึงทำให้ควรประมาณ คือ ยาว ๖ คืบ กว้าง ๒ คืบครึ่ง ตามขนาดคืบพระสุคตเจ้า (ยาว ๔ ศอก ๓ กระเบียด กว้าง ๑ ศอก ๑ คืบ ๔ นิ้ว ๑ กระเบียด ๑ อนุกระเบียดอย่างช่างไม้) ถ้าทำเกินขนาดนี้ไป พอเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ตัดทอนลงให้ได้ขนาดเสียก่อน จึงแสดงอาบัติได้
ความว่า ภิกษุจะให้ทำผ้าสำหรับอาบน้ำฝน จึงทำให้ควรประมาณ คือ ยาว ๖ คืบ กว้าง ๒ คืบครึ่ง ตามขนาดคืบพระสุคตเจ้า (ยาว ๔ ศอก ๓ กระเบียด กว้าง ๑ ศอก ๑ คืบ ๔ นิ้ว ๑ กระเบียด ๑ อนุกระเบียดอย่างช่างไม้) ถ้าทำเกินขนาดนี้ไป พอเสร็จ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ตัดทอนลงให้ได้ขนาดเสียก่อน จึงแสดงอาบัติได้
๑๐. สุคตจีวรสิกขาบท
ความว่า ภิกษุจะให้ทำจีวรยาวกว้างมีประมาณเท่าจีวรพระสุคต หรือเกินขนาดจีวรพระสุคตขึ้นไป พอเสร็จแล้วต้องอาบัติปาจิตตีย์ ตัดทอนให้หย่อนย่อมลงก่อน จึงแสดงอาบัติได้ ขนาดจีวรพระสุคตนั้นยาว ๙ คืบ กว้าง ๖ คืบ ตามขนาดคืบพระสุคตเจ้า (ยาว ๖ ศอก ๑ นิ้ว ๒ อนุกระเบียด กว้าง ๔ ศอก ๓ กระเบียดช่างไม้) ภิกษุจะทำจีวรห่มพึงให้รู้ประมาณจีวรพระสุคต แล้วทำให้ย่อมลงมา จีวรจึงใช้ได้ ไม่เป็นอาบัติ
ความว่า ภิกษุจะให้ทำจีวรยาวกว้างมีประมาณเท่าจีวรพระสุคต หรือเกินขนาดจีวรพระสุคตขึ้นไป พอเสร็จแล้วต้องอาบัติปาจิตตีย์ ตัดทอนให้หย่อนย่อมลงก่อน จึงแสดงอาบัติได้ ขนาดจีวรพระสุคตนั้นยาว ๙ คืบ กว้าง ๖ คืบ ตามขนาดคืบพระสุคตเจ้า (ยาว ๖ ศอก ๑ นิ้ว ๒ อนุกระเบียด กว้าง ๔ ศอก ๓ กระเบียดช่างไม้) ภิกษุจะทำจีวรห่มพึงให้รู้ประมาณจีวรพระสุคต แล้วทำให้ย่อมลงมา จีวรจึงใช้ได้ ไม่เป็นอาบัติ
จบราชวรรค ๑๐ สิกขาบท เท่านี้
🔅 ปาราชิก ๔
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓
🔅 อนิยต ๒
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
(จีวรวรรค ๑๐)
(โกสิยวรรค ๑๐)
(ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
(มุสาวรรค ๑๐)
(ภูตคามวรรค ๑๐)
(ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
(โภชนวรรค ๑๐)
(อเจลกวรรค ๑๐)
(สุราปานวรรค ๑๐)
(สัปปาณวรรค ๑๐)
(สหธัมมิกวรรค ๑๒)
(ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
(สารูป ๒๖)
(โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
(ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
(ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗