ปัตตวรรคที่ ๓

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ จัดเป็น ๓ วรรค คือ

จีวรวรรค ๑๐
โกสิยวรรค ๑๐
ปัตตวรรค ๑๐

ปัตตวรรคที่ ๓ มี ๑๐ สิกขาบท
๑. ปัตตสิกขาบท
ความว่า บาตรอันเป็นอติเรก คือบาตรดิน บาตรเหล็กที่ได้มาใหม่ ภิกษุได้รับได้หวงเอาเป็นเจ้าของแล้ว ยังไม่ได้อธิษฐานและวิกัป ก็พึงเก็บไว้ได้ภายใน ๑๐ วัน ถ้าพ้น ๑๐ วันไปแล้ว บาตรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าบาตรอธิษฐานไว้ใช้มีอยู่บาตรหนึ่งแล้วอธิษฐานขึ้นเป็นสองไม่ได้ ถึงจะมากเท่าใดก็ให้วิกัปไว้แก่ภิกษุหรือสามเณร เช่นอติเรกจีวรนั้นเถิด

๒. อูนปัญจพันธนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุมีบาตรดินอันรานร้าว มีที่ผูกยังไม่ถึง ๕ แห่ง คือ มีรอยร้าวยังไม่ถึง ๑๐ นิ้ว ไปแลกเปลี่ยนขอร้องเสาะแสวงขวนขวายหาบาตรใหม่ ได้มา บาตรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าบาตรนั้นร้าวหลายแห่ง ๆ ละ ๒ นิ้ว ๔ นิ้ว ๕ นิ้วบ้าง คิดบรรจบครบ ๑๐ แล้วจะเที่ยวขอก็ควร แต่ต้องขอจากญาติที่ปวารณา ตามพระพุทธานุญาตเถิด

บาตรนิสสัคคีย์นั้น ให้ภิกษุเจ้าของบาตรพึงสละในท่ามกลางสงฆ์ พระสงฆ์ผู้รู้วัตรพึงรับไว้ พระเถรานุ
เถระจึงให้บาตรของตนแลของตนทดแทนทอนกันต่อ ๆ ลงไปตามลำดับพรรษา จนถึงภิกษุบวชใหม่ ภิกษุนั้นจึงเปลี่ยนบาตรของตนให้แก่ภิกษุเจ้าของบาตรนิสสัคคีย์นั้นให้ใช้แทนไปจนกว่าจะแตกทำลาย อันนี้เป็นวัตรชอบตามพระพุทธาธิบาย

๓. ปัญจเภสัชชสิกขาบท
ความว่า ยาที่ภิกษุใช้จะพึงฉัน ๕ อย่าง เนยใส ๑ เนยข้น ๑ น้ำมันลูกไม้หรือเปลวสัตว์ ๑ น้ำผึ้ง ๑ น้ำอ้อย ๑ ภิกษุรับประเคนแล้ว จึงเก็บไว้ฉันได้ ๗ วัน ถ้าฉันไม่หมด พึงสละให้ภิกษุอื่นเสีย อย่าหวงเอาไว้เป็นของตัวให้ล่วง ๗ วันไป ถ้าหวงไว้จนรุ่งขึ้นวันที่ ๘ แล้ว ของนั้นเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์

๔. วัสสิกสาฎีกสิกขาบท
ความว่า ผ้าสำหรับไว้ผลัดอาบน้ำฝน ให้ภิกษุเสาะแสวงหา ขอร้องในที่ญาติและที่ปวารณา อย่าให้เป็นอกตวิญญัติ ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๗ ถึงวันดับ เป็นสมัยที่เที่ยวหาตั้งแต่ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึงวันเพ็ญ เป็นสมัยที่ตัดฉีกเย็บย้อม ถึงวันเข้าพรรษาแล้วพึงอธิษฐานไว้ผลัดอาบน้ำ ตลอดถึงวันเพ็ญ เดือน ๑๒ สิ้นฤดูฝน ถ้าหาได้ ทำไม่ทันในการที่ว่ามานี้ จะทำได้เมื่อไร เย็บย้อมแล้วเมื่อใดล้ำเข้ามา ณ ภายในฤดูฝนก็ได้ จึงอธิษฐานไว้อาบน้ำฝนจนสิ้นฤดูตามปรารถนาเถิดไม่ต้องห้าม แต่จะหาจะทำให้ลับล่วงออกไป ฝ่ายข้างขึ้นเดือน ๗ เป็นอันล่วงพระพุทธบัญญัติ ผ้านั้นเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถึงว่าจะขอมาแต่บิดามารดา แต่ตั้งใจว่าจะเอามาไว้ทำผ้าอาบน้ำฝน ก็มิพ้นโทษในสิกขาบทนี้

๕. จีวรัจฉินทนสิกขาบท
ความว่า ภิกษุได้ให้จีวรแก่ภิกษุอื่นด้วยตน แต่ให้ด้วยสัญญาว่ายังเป็นของตนเหมือนอย่างให้ยืมนุ่งห่ม ครั้นจึงโกรธเคืองขึ้นมา กลับแย่งยื้อชิงเอาคืนมาเอง หรือใช้ให้ผู้อื่นชิงมาก็ดี จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถึงบริขารอื่น ๆ ก็อนุโลมเข้าในจีวรเหมือนกัน ถ้าให้ด้วยขาดอาลัยเป็นของภิกษุรับแล้วกลับชิงเอาคืนมานั้น ความปรับปรุงเป็นธุรนิกเขปาวหารตามราคาจีวรนั้น

๖. สุตตวิญญัติสิกขาบท
ความว่า ภิกษุพึงไปขอเส้นด้ายแก่คฤหัสถ์ซายหญิงที่มิใช่ญาติ มิใช่ปวารณา เอามาวานช่างหูกที่มิใช่ญาติ มิใช่ปวารณา ให้ทอเป็นผืนผ้าควรวิกัป ผ้านั้นเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้าเจ้าของด้ายหรือช่างหูกเป็นญาติ หรือเป็นผู้ปวารณาอยู่แต่ฝ่ายหนึ่ง เป็นแต่อาบัติทุกกฏ

๗. มหาเปสการสิกขาบท
ความว่า คหบดีหรือคหปตานีคฤหัสถ์ชายหญิงอันมิใช่ญาติ จึงไปจ้างช่างหูกให้ทอผ้าไว้ หมายใจออกวาจาว่าจะถวายแก่ภิกษุชื่อนั้น ๆ แต่หาได้ปวารณาให้ภิกษุไปดูแลว่ากล่าวให้ทอตามใจชอบไว้แต่ก่อนไม่ ภิกษุได้ยินข่าวแล้วจึงไปสู่หาช่างหูก ว่ากล่าวบังคับให้ทอผ้าให้ยาว กว้าง เนื้อแน่นเรียบร้อย งามดี ให้เกินกำหนดเส้นด้ายที่เจ้าของกำหนดไว้ เพิ่ม บำเหน็จให้แก่ช่างหูกบ้างสักเล็กน้อย โดยที่สุดถึงโภชนบิณฑบาต เมื่อได้ผ้ามาถึงมือเมื่อใด ผ้านั้นเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถ้ากำหนดให้ทอไม่เกินเส้นด้ายของทายกไป ก็ไม่มีโทษ

๘. อัจเจกจีวรสิกขาบท
ความว่า วันขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ยังอีก ๑๐ วัน จึงจะถึง
🔎วันมหาปวารณา(๖๒) อัจเจกจีวร คือผ้ารีบผ้าด่วนจะพึงเกิดแก่ภิกษุ คือผ้าที่ทายกเป็นไข้หนัก หรือรีบจะไปการศึกสงคราม จะเร่งถวายให้ทันใจจะรอไว้ช้าวันไปไม่ได้ เฉพาะจะถวายตั้งแต่วันขึ้น ๕ ค่ำไป ชื่อว่าอัจเจกจีวร ภิกษุรู้ว่าผ้ารีบผ้าด่วนแล้วพึงทำเถิด จะไม่ได้วิกัปหรืออธิษฐาน ก็พึงไว้ได้ถึงเพ็ญเดือน ๑๒ ถ้าได้กรานกฐินอนุโมทนาแล้ว ก็คุ้มได้ออกไปถึงเพ็ญเดือน ๔ ถ้าไม่วิกัปอธิษฐาน พ้นนั้นแล้วผ้านั้นเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์

๙. สาสังกสิกขาบท
ความว่า ภิกษุอันเข้าปุริมพรรษาในคามันตเสนาสนะ คือวัดใกล้บ้านถ้วนไตรมาสแล้ว เมื่อจะไปอยู่ในเสนาสนะป่าไกลบ้านออกไป ตั้งแต่ ๕๐๐ ชั่วคันธนู คือนับว่า ๒๕ เส้นไปถึง ๑๐๐ เส้น ที่นั้นมีภัยด้วยใจรป่า พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้ฝากจีวรไว้ผืนใดผืนหนึ่งในบ้าน 
🔎โคจร(๖๓) ไกลแต่เสนาสนะมาชั่ว ๕๐๐ คันธนู เป็นอันคุ้มไตรจีวรได้ตลอดถึงเดือนเพ็ญ ๑๒ ถ้าจะมีที่ไปจากเสนาสนะนั้น พึงมายังเสนาสนะนั้นภายใน ๖ วัน ถ้าไม่ทัน🔎อรุณ(๖๔) ในวันที่ ๗ ขึ้นแล้ว ไตรจีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เว้นไว้แต่ภิกษุใช้ได้จีวรอวิปวาสสมมติ จึงไม่เกิดอาบัติปาจิตตีย์

๑๐. ปริณตสิกขาบท
ความว่า ภิกษุผู้รู้อยู่ว่าลาภสิ่งของอันทายกตั้งจิตจะอุทิศถวายสงฆ์ พึงว่ากล่าวชักโยงหน่วงโน้มมาให้ถวายแก่ตน ถ้าถึงมือเมื่อใด ลาภสิ่งของนั้นเป็นนิสสัคคีย์ ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์

จบปัตตวรรค ๑๐ สิกขาบท

🔅 ปาราชิก ๔ 
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓ 
🔅 อนิยต ๒ 
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
        (จีวรวรรค ๑๐)
        (โกสิยวรรค ๑๐)
        (ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
        (มุสาวรรค ๑๐)
        (ภูตคามวรรค ๑๐)
        (ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
        (โภชนวรรค ๑๐)
        (อเจลกวรรค ๑๐)
        (สุราปานวรรค ๑๐)
        (สัปปาณวรรค ๑๐)
        (สหธัมมิกวรรค ๑๒)
        (ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
        (สารูป ๒๖)
        (โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
        (ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
        (ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗

วิกิ

ผลการค้นหา