เสขิยวัตร ๗๕
เสขิยวัตร ๗๕ สิกขาบท กำหนดนับ ๑๐ สิกขาบทเป็นวรรคหนึ่ง ๆ ได้ ๗ วรรค อีก ๕ สิกขาบทนั้นจัดเป็น ๑ รวมเป็น ๘ วรรค(สารูป ๒๖) การกระทำให้สมควรแก่สมณะ
(โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐) วิธีที่จะขบฉัน
(ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖) การแสดงธรรม
(ปกิณกะ ๓) คือที่เรี่ยรายอยู่นำมายกขึ้นสู่อุเทศ
สารูปมี ๒๖ สิกขาบท
ในสารูป ๒๖ นี้ให้ภิกษุพึงทำการศึกษาฝึกใจสำเหนียกไว้อย่าให้หลงลืม ดังนี้
สิกขาบทที่ ๑.
ว่าเราจักนุ่งผ้าให้เป็น🔎ปริมณฑล(๗๗) คือนุ่งสงบจีบให้ชายเสมอกัน เหน็บพกให้แนบเนียน เหนือสะดือขึ้นไปสัก ๔ นิ้ว ปิดเข่าลงมาประมาณ ๘ นิ้ว เมื่อนั่งลงก็จะคงปิดเข่า ๔ นิ้ว อย่างนี้ชื่อว่านุ่งผ้าเป็นปริมณฑล
ว่าเราจักนุ่งผ้าให้เป็น🔎ปริมณฑล(๗๗) คือนุ่งสงบจีบให้ชายเสมอกัน เหน็บพกให้แนบเนียน เหนือสะดือขึ้นไปสัก ๔ นิ้ว ปิดเข่าลงมาประมาณ ๘ นิ้ว เมื่อนั่งลงก็จะคงปิดเข่า ๔ นิ้ว อย่างนี้ชื่อว่านุ่งผ้าเป็นปริมณฑล
สิกขาบทที่ ๒.
ว่าเราจักห่มผ้าจีวรให้เป็นปริมณฑล ถ้านอกเขตวัดให้ห่มคลุมผสมมุมม้วนขวาเข้าให้เสมอกัน (ตามบาลีใน มหาอัตฤกถาคัมภีร์ จตุตถสมันตปาสาทิกาคัมภีร์ มังคลัตถทีปนีคัมภีร์ ว่า สมปุปมาณํ จีวรํ ปารปนฺเตน สํหริตฺวา พาหาย อุปริ จปิตา อุโภ อนุตา พหิมุขา ติฏฐนุติ แปลความว่า ชายทั้ง ๒ อันพระภิกษุเมื่อห่มซึ่งจีวรจัดให้เสมอกัน ม้วนเข้าแล้ววางไว้เบื้องบนแห่งแขน มีหน้าในภายนอกให้ตั้งอยู่ริมอนุวาต ปกคอพันข้อมือแล้วหนีบไว้ใต้รักแร้ วางมอบบนแขนซ้าย ปกแข้งลงประมาณ ๔ นิ้ว ถ้าในเขตวัดให้ลดเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ถ้าห่มครองให้ชักจีวรแถบซ้ายพับขึ้นมาพาดบ่าเป็นสองชั้น พาดสังฆาฏิหน้าหลังเท่ากัน ยื่นหลังถึงขอบสบง เรียกว่า หางค่างหางโค ยื่นข้างหน้ามากเรียกว่า ชายแครงชายไหว ไม่ควร คาดรัดประคดเอวใต้นมสองนิ้ว อย่าให้ต่ำเลย ๔ นิ้ว ต้องนุ่งห่มให้เป็นปริมณฑลก่อน จึงแสดงอาบัติตก)
ว่าเราจักห่มผ้าจีวรให้เป็นปริมณฑล ถ้านอกเขตวัดให้ห่มคลุมผสมมุมม้วนขวาเข้าให้เสมอกัน (ตามบาลีใน มหาอัตฤกถาคัมภีร์ จตุตถสมันตปาสาทิกาคัมภีร์ มังคลัตถทีปนีคัมภีร์ ว่า สมปุปมาณํ จีวรํ ปารปนฺเตน สํหริตฺวา พาหาย อุปริ จปิตา อุโภ อนุตา พหิมุขา ติฏฐนุติ แปลความว่า ชายทั้ง ๒ อันพระภิกษุเมื่อห่มซึ่งจีวรจัดให้เสมอกัน ม้วนเข้าแล้ววางไว้เบื้องบนแห่งแขน มีหน้าในภายนอกให้ตั้งอยู่ริมอนุวาต ปกคอพันข้อมือแล้วหนีบไว้ใต้รักแร้ วางมอบบนแขนซ้าย ปกแข้งลงประมาณ ๔ นิ้ว ถ้าในเขตวัดให้ลดเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ถ้าห่มครองให้ชักจีวรแถบซ้ายพับขึ้นมาพาดบ่าเป็นสองชั้น พาดสังฆาฏิหน้าหลังเท่ากัน ยื่นหลังถึงขอบสบง เรียกว่า หางค่างหางโค ยื่นข้างหน้ามากเรียกว่า ชายแครงชายไหว ไม่ควร คาดรัดประคดเอวใต้นมสองนิ้ว อย่าให้ต่ำเลย ๔ นิ้ว ต้องนุ่งห่มให้เป็นปริมณฑลก่อน จึงแสดงอาบัติตก)
หมายเหตุ : ข้อความทั้งหมดในวงเล็บ เป็นข้อความที่เรียบเรียงเพิ่มเติมไว้ในฉบับ ร.ศ. ๑๒๘
สิกขาบทที่ ๓.
ว่าเราจักนุ่งห่มให้เป็นปริมณฑล ปกปิดกายด้วยดีตามวิธีที่กล่าวแล้ว เดินไปในถิ่นบ้าน
ว่าเราจักนุ่งห่มให้เป็นปริมณฑล ปกปิดกายด้วยดีตามวิธีที่กล่าวแล้ว เดินไปในถิ่นบ้าน
สิกขาบทที่ ๔.
ว่าเราจักนุ่งห่มปกปิดกายด้วยดี นั่งในถิ่นบ้าน
ว่าเราจักนุ่งห่มปกปิดกายด้วยดี นั่งในถิ่นบ้าน
สิกขาบทที่ ๕.
ว่าเราจักสำรวมด้วยดี ไม่คะนองมือคะนองเท้า เดินไปในถิ่นบ้าน
ว่าเราจักสำรวมด้วยดี ไม่คะนองมือคะนองเท้า เดินไปในถิ่นบ้าน
สิกขาบทที่ ๖.
ว่าเราจักสำรวมด้วยดี ไม่คะนองมือคะนองเท้า นั่งในถิ่นบ้าน
ว่าเราจักสำรวมด้วยดี ไม่คะนองมือคะนองเท้า นั่งในถิ่นบ้าน
สิกขาบทที่ ๗.
ว่าเราจัดทอดนัยน์ตาลงดูข้างหน้าเพียงสัก ๔ ศอก ไม่เหลียวซ้ายเหลียวขวา ไม่กลับหลังมาแลดู เดินไปในถิ่นบ้าน
ว่าเราจัดทอดนัยน์ตาลงดูข้างหน้าเพียงสัก ๔ ศอก ไม่เหลียวซ้ายเหลียวขวา ไม่กลับหลังมาแลดู เดินไปในถิ่นบ้าน
สิกขาบทที่ ๘.
ว่าเราจักทอดตาแลดูเพียง ๔ ศอกไม่เหม่อเมินสายตาดู นั่งในถิ่นบ้าน
ว่าเราจักทอดตาแลดูเพียง ๔ ศอกไม่เหม่อเมินสายตาดู นั่งในถิ่นบ้าน
สิกขาบทที่ ๙.
ว่าเราจักไม่เลิกจีวรขึ้นพาดบ่า ให้เห็นสายประคด เดินไปในถิ่นบ้าน
ว่าเราจักไม่เลิกจีวรขึ้นพาดบ่า ให้เห็นสายประคด เดินไปในถิ่นบ้าน
สิกขาบทที่ ๑๐.
ว่าเราจักไม่เลิกจีวรขึ้นพาดบ่า นั่งในถิ่นบ้าน
ว่าเราจักไม่เลิกจีวรขึ้นพาดบ่า นั่งในถิ่นบ้าน
สิกขาบทที่ ๑๑.
ว่าเราจักไม่หัวเราะดังคิกคัก เฮฮา เดินไปในถิ่นบ้าน
ว่าเราจักไม่หัวเราะดังคิกคัก เฮฮา เดินไปในถิ่นบ้าน
สิกขาบทที่ ๑๒.
ว่าเราจักไม่หัวเราะดังคิกคัก เฮฮา นั่งในถิ่นบ้าน
ว่าเราจักไม่หัวเราะดังคิกคัก เฮฮา นั่งในถิ่นบ้าน
สิกขาบทที่ ๑๓.
ว่าเราจักไม่พูดเสียงดังให้เกินขนาดเสียง เดินไปในถิ่นบ้าน
ว่าเราจักไม่พูดเสียงดังให้เกินขนาดเสียง เดินไปในถิ่นบ้าน
สิกขาบทที่ ๑๔.
ว่าเราจักไม่พูดเสียงดังให้เกินขนาดเสียง นั่งในถิ่นบ้าน
สิกขาบทที่ ๑๕.
ว่าเราจักไม่โยกโคลงกาย เดินไปในถิ่นบ้าน
ว่าเราจักไม่โยกโคลงกาย เดินไปในถิ่นบ้าน
สิกขาบทที่ ๑๖.
ว่าเราจักไม่โยกโคลงกาย นั่งในถิ่นบ้าน
ว่าเราจักไม่โยกโคลงกาย นั่งในถิ่นบ้าน
สิกขาบทที่ ๑๗.
ว่าเราจักไม่กรีดกรายแขน เดินไปในถิ่นบ้าน
ว่าเราจักไม่กรีดกรายแขน เดินไปในถิ่นบ้าน
สิกขาบทที่ ๑๘.
ว่าเราจักไม่กรีดกรายแขน นั่งในถิ่นบ้าน
ว่าเราจักไม่กรีดกรายแขน นั่งในถิ่นบ้าน
สิกขาบทที่ ๑๙.
ว่าเราจักไม่โคลงศีรษะ กลอกหน้า เดินไปในถิ่นบ้าน
ว่าเราจักไม่โคลงศีรษะ กลอกหน้า เดินไปในถิ่นบ้าน
สิกขาบทที่ ๒๐.
ว่าเราจักไม่โคลงศีรษะ กลอกหน้า นั่งในถิ่นบ้าน
ว่าเราจักไม่โคลงศีรษะ กลอกหน้า นั่งในถิ่นบ้าน
สิกขาบทที่ ๒๑.
ว่าเราจักไม่เท้าสะเอว เดินไปในถิ่นบ้าน
ว่าเราจักไม่เท้าสะเอว เดินไปในถิ่นบ้าน
สิกขาบทที่ ๒๒.
ว่าเราจักไม่เท้าแขน นั่งในถิ่นบ้าน
ว่าเราจักไม่เท้าแขน นั่งในถิ่นบ้าน
สิกขาบทที่ ๒๓.
ว่าเราจักไม่คลุมศีรษะ เดินไปในถิ่นบ้าน
ว่าเราจักไม่คลุมศีรษะ เดินไปในถิ่นบ้าน
สิกขาบทที่ ๒๔.
ว่าเราจักไม่คลุมศีรษะ นั่งในถิ่นบ้าน
ว่าเราจักไม่คลุมศีรษะ นั่งในถิ่นบ้าน
สิกขาบทที่ ๒๕.
ว่าเราจักไม่เขย่งเท้า เดินไปในถิ่นบ้าน
ว่าเราจักไม่เขย่งเท้า เดินไปในถิ่นบ้าน
สิกขาบทที่ ๒๖.
ว่าเราจักไม่รัดเข่าด้วยมือหรือผ้า นั่งในถิ่นบ้าน
ว่าเราจักไม่รัดเข่าด้วยมือหรือผ้า นั่งในถิ่นบ้าน
ให้ภิกษุพึงสำเหนียกนึกหมายไว้ตามกิจ เป็นสารูปแก่สมณะทั้ง ๒๖ อย่างนี้
ถ้าผิดจากนี้ต้องอาบัติทุกกฏ
ถ้าผิดจากนี้ต้องอาบัติทุกกฏ
จบสารูป ๒๖ สิกขาบท เท่านี้
🔅 ปาราชิก ๔
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓
🔅 อนิยต ๒
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
(จีวรวรรค ๑๐)
(โกสิยวรรค ๑๐)
(ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
(มุสาวรรค ๑๐)
(ภูตคามวรรค ๑๐)
(ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
(โภชนวรรค ๑๐)
(อเจลกวรรค ๑๐)
(สุราปานวรรค ๑๐)
(สัปปาณวรรค ๑๐)
(สหธัมมิกวรรค ๑๒)
(ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
(สารูป ๒๖)
(โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
(ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
(ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗
🔅 ปาราชิก ๔
🔅 สังฆาทิเสส ๑๓
🔅 อนิยต ๒
🔅 นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐
(จีวรวรรค ๑๐)
(โกสิยวรรค ๑๐)
(ปัตตวรรค ๑๐)
🔅 ปาจิตตีย์ ๙๒
(มุสาวรรค ๑๐)
(ภูตคามวรรค ๑๐)
(ภิกขุโนวาทวรรค ๑๐)
(โภชนวรรค ๑๐)
(อเจลกวรรค ๑๐)
(สุราปานวรรค ๑๐)
(สัปปาณวรรค ๑๐)
(สหธัมมิกวรรค ๑๒)
(ราชวรรค ๑๐)
🔅 ปาฎิเทสนียะ ๔
🔅 เสขิยวัตร ๗๕
(สารูป ๒๖)
(โภชนปฎิสังยุตต์ ๓๐)
(ธัมมเทสนาปฎิสังยุตต์ ๑๖)
(ปกิณกะ ๓)
🔅 อธิกรณสมถะ ๗