ภาวนาปฐวีกสิณ
ก็แหละ ภิกษุผู้โยคีบุคคลเมื่อตัดเครื่องกังวลเล็ก ๆ น้อย ๆ ดังนี้แล้ว เวลาภายหลังอาหาร กลับจากการบิณฑบาต บรรเทาความมึนเมาอันมีอาหารเป็นเหตุแล้วจึงไปนั่งคู่บัลลังก์ ตั้งกายให้ตรง ณ โอกาสอันสงัด แต่นั้นพึงกำหนดเอานิมิตกสิณในดินที่ทำขึ้น หรือที่เป็นเองตามปกติต่อไป ข้อนี้สมดังที่ท่านโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า:-
🔅 คำของท่านโบราณาจารย์
🔅 คำของท่านโบราณาจารย์
โยคีบุคคลเมื่อจะถือเอาปฐวีกสิณโดยอุคคหนิมิตนั้น ย่อมถือเอานิมิตในวงกลมแห่งดินที่สร้างขึ้นหรือที่เป็นเองตามปกติ ชนิดที่มีกำหนดไม่ใช่ไม่มีกำหนด ชนิดที่มีที่สุดไม่ใช่ไม่มีที่สุด ชนิดที่มีสัณฐานกลมไม่ใช่ที่ไม่กลม ชนิดที่มีขอบเขตไม่ใช่ไม่มีขอบเขต โตเท่ากระดังหรือเท่าปากขันโอ โยคีบุคคลนั้นย่อมภาวนาทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือเอาดีแล้ว ย่อมทรงไว้ซึ่งนิมิตนั้นให้เป็นอันทรงไว้ดีแล้วและย่อมกำหนดนิมิตนั้นให้เป็นอันกำหนดดีแล้ว ครั้นเธอภาวนาทำนิมิตนั้นให้เป็นอันถือเอาดีแล้วทำการทรงไว้ให้เป็นอันทรงไว้ดีแล้ว ทำการกำหนดให้เป็นอันกำหนดดีแล้ว ก็จะเห็นอานิสงส์มีความสำคัญเห็นเป็นรัตนะ นอบน้อมเคารพคารวะ กระหยิ่มอิ่มใจ น้อมจิต เข้าไปผูกติดไว้ในอารมณ์ที่ตนถือเอาดีแล้วทรงไว้ดีแล้ว กำหนดไว้ดีแล้วนั้น ด้วยความมั่นใจว่าเราจักรอดพ้นจากชราทุกข์มรณทุกข์ด้วยปฏิปทาอันนี้อย่างแน่นอน
เธอบรรลุแล้วซึ่งปฐมฌาน อันมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่ความสงัด เพราะสงัดแน่นอนแล้วจากกามทั้งหลาย เพราะสงัดแน่นอนแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ฉะนี้แลเจริญปฐวีกสิณที่เป็นเองในคำของท่านโบราณาจารย์นั้น มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ อันโยคีบุคคลใดเคยบวชในศาสนาหรือเคยบวชเป็นฤาษีแล้ว ทำฌาน ๔ และฌาน ๕ ในปฐวีกสิณให้บังเกิดมาแล้ว แม้ในภพปางอดีตโยคีบุคคลผู้มีบุญถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยเห็นปานนี้นั้น อุคคหนิมิต ย่อมเกิดขึ้นได้ในดินที่เป็นอยู่เองตามปกติ คือ ในที่ดินที่เขาไถไว้ หรือในลานข้าว เหมือนพระมัลลกเถระเป็นตัวอย่าง
ได้ยินว่า ท่านพระมัลลกเถระนั้น ขณะที่ท่านเพ่งดูที่ดินที่เขาไถไว้ อุคคหนิมิตประมาณเท่าที่ซึ่งเขาไถไว้นั้นนั่นเทียวได้เกิดขึ้นแล้ว ท่านเจริญอุคคหนิมิตจนได้บรรลุฌาน ๔ แล้วเริ่มเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานอันมีฌานนั้นเป็นปทัฏฐาน จนได้บรรลุพระอรหัตแล
🔅 วิธีทำปฐวีกสิณที่ต้องสร้างขึ้น
🔅 วิธีทำปฐวีกสิณที่ต้องสร้างขึ้น
ส่วนโยคีบุคคลใดผู้ไม่ได้ทำบุญญาธิการไว้เหมือนอย่างที่กล่าวนั้น เธอต้องสร้างปฐวีกสิณขึ้นเอง อย่างที่ไม่ให้ผิดเพี้ยนไปจากกรรมวิธีที่เรียนมาในสำนักของพระอาจารย์ และให้เลี่ยงเสียจากโทษของกสิณ ๔ ประการ จริงอยู่ โทษของปฐวีกสิณมีอยู่ ๔ ประการ ด้วยอำนาจทำปะปนกับสีเขียว ๑ สีเหลือง ๑ สีแดง ๑ สีขาว ๑ เพราะฉะนั้น โยคีบุคคลอย่าได้เอาดินมีสีเขียวเป็นต้นมาทำกสิณ จงทำด้วยดินที่มีสีเหมือนแสงอรุณ เช่น ดินที่แม่น้ำคงคา ก็แหละ กสิณนั้นอย่าทำไว้ ณ ตรงกลางวัด หรือ ณ ที่ที่ภิกษุสามเณรสัญจรไปมา พึงทำไว้ตรงที่เป็นเพิง หรือบรรณศาลาซึ่งเป็นที่ลับอยู่ท้ายวัด จะเป็นกสิณชนิดที่โยกย้ายได้ หรือชนิดที่ติดอยู่กับที่ก็ได้
วิธีทำกสิณ ๒ อย่างนั้น กสิณชนิดที่โยกย้ายได้ จึงเอาผืนผ้าเก่า หรือผืนหนังหรือผืนเสื่อลำแพน มาผูกจึงติดไม้ ๔ อัน แล้วเอาดินที่มีสีเหมือนแสงอรุณที่เก็บรากหญ้าและกรวดทรายออกหมดแล้ว ขยำได้ที่แล้ว มาทาเข้าที่ผืนผ้าหรือผืนหนังหรือเสื่อลำแพนนั้นทำให้เป็นสัณฐานกลมประมาณเท่ากระดังหรือปากขันโอ ดังที่กล่าวแล้ว ในเวลาที่จะทำบริกรรมภาวนา พึงเอาแผ่นกสิณนั้นไปปูลงที่พื้นแล้วเพ่งดูตามภาวนาวิธีต่อไป
🔅 วิธีทำปฐวีกสิณที่อยู่กับที่
🔅 วิธีทำปฐวีกสิณที่อยู่กับที่
กสิณชนิดที่ติดอยู่กับที่นั้น พึงเอาหลักหลาย ๆ พึงเอาหลักหลาย ๆ อันมาตอกกับพื้นดินโดยอาการคล้าย ๆ กับฝักบัว แล้วเอาเครือวัลย์มาถักร้อยตรึงเข้าไว้ ถ้าดินสีเหมือนแสงอรุณนั้นมีน้อยไม่เพียงพอ ให้เอาดินอื่นมาใส่ลงไว้ตอนล่างเสียก่อน แล้วจึงเอาดินมีสีเหมือนแสงอรุณซึ่งทำให้สะอาดแล้วมาใส่ทับข้างบน ทำให้มีสัณฐานกลมขนาดกว้าง ๑ คืบ ๔ นิ้ว แหละ ที่ท่านโบราณาจารย์กล่าวว่า ประมาณเท่ากระดังหรือประมาณเท่ากับปากขันโอนั้น ท่านหมายเอาประมาณคือ ๑ คืบ ๔ นิ้วนี้แล ส่วนคำมีอาทิว่าชนิดที่มีกำหนดไม่ใช่ไม่มีกำหนด นั้น ท่านกล่าวไว้เพื่อแสดงว่า ปฐวีกสิณนั้นเป็นสิ่งที่มีกำหนดขอบเขต
🔅 วิธีนั่งเพ่งปฐวีกสิณ
🔅 วิธีนั่งเพ่งปฐวีกสิณ
เพราะเหตุที่ท่านแนะให้ทำกสิณอย่างมีกำหนดนั้น ครั้นกะกำหนดประมาณเท่าที่กล่าวคือ ๑ คืบ ๔ นิ้วอย่างนั้นแล้ว จึงทำสีที่ไม่กลืนกับสีดินอรุณให้ปรากฏขึ้นเป็นขอบเขตไว้ด้วยเกรียงไม้ แต่นั้นจงอย่าใช้เกรียงไม้นั้น จึงใช้เกรียงหินขัดทำให้เรียบเสมอเหมือนหน้ากลอง ครั้นแล้วจงปัดกวาดสถานที่นั้นให้สะอาด ให้สรงน้ำชำระกายแล้วจึงกลับมา นั่งบนตั๋งที่ตรึงอย่างมั่นคง มีเท้าสูง ๑ คืบ ๔ นิ้ว ซึ่งเตรียมตั้งไว้ ณ สถานที่ภายในระยะห่าง ๒ ศอก ๑ คืบแต่ดวงกสิณ จริงอยู่ เมื่อนั่งไกลกว่านั้นกสิณก็จะไม่ปรากฏชัด เมื่อนั่งใกล้กว่านั้นโทษแห่งกสิณทั้งหลายเช่นรอยฝ่ามือเป็นต้นก็จะปรากฏให้เห็น เมื่อนั่งสูงกว่านั้นย่อมจะต้องน้อมคอลงคือก้มหน้าลงตู เมื่อนั่งต่ำกว่านั้นก็จะปวดเข่า เพราะฉะนั้น จึงนั่งโดยทำนองที่กล่าวแล้วนั่นแล แล้วจงพิจารณาถึงโทษในกามทั้งหลาย โดยนัยมีอาทิว่า กามทั้งหลายมีความยินดีนิดหน่อย แต่มีทุกข์มาก พึงเป็นผู้มีความพอใจในเนกขัมมะมีฌานเป็นต้น อันเป็นเครื่องสลัดออกซึ่งอันเป็นอุบายล่วงพ้นซึ่งทุกข์ทั้งปวง พึงทำปีติและปราโมชให้บังเกิดขึ้น ด้วยการระลึกถึงพระพุทธคุณพระธรรมคุณและพระสังฆคุณ พึงเป็นผู้มีความเคารพอย่างแม่นมั่นอยู่ในข้อปฏิบัติว่า เนกขัมมปฏิปทานี้นั้น เป็นข้อปฏิบัติอันพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอริยสาวกทั้งหลายทุก ๆ พระองค์ได้ปฏิบัติมาแล้ว และพึงทำความอุตสาหะให้เกิดว่า เราจักเป็นผู้มีส่วนได้ดื่มรสความสุขอันเกิดแต่ความสงัดด้วยข้อปฏิบัติอันนี้อย่างแน่นอน แล้วจึงภาวนา ลืมตาแต่พอดี จับเอานิมิตในปฐวีกสิณนั้น โดยอาการอันสม่ำเสมอเรื่อย ๆ ไป
จริงอยู่ เมื่อลืมตากว้างมากไปก็จะเมื่อยตา และดวงกสิณก็จะปรากฏชัดเกินไปด้วยเหตุนั้นอุคคหนิมิตก็จะไม่เกิดขึ้นได้ เมื่อลืมตาแคบไป ดวงกสิณก็จะไม่ปรากฏชัดและจิตก็จะห่อเหี่ยว แม้ด้วยเหตุนี้อุคคหนิมิตก็จะไม่เกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้น โยคีบุคคลจึงภาวนาลืมตาแต่พอดี จับเอานิมิตในปฐวีกสิณนั้น โดยอาการอันสม่ำเสมอ เหมือนดูเงาหน้าในบานกระจกฉะนั้น และอย่าพิจารณาถึงสีของดิน อย่าเอาใจใส่ถึงลักษณะของดินเช่นความแข็งของดินเป็นต้น แต่ก็มิใช่จะปฏิเสธสีเสียทีเดียว พึงตั้งจิตไว้ในคำบัญญัติว่าดิน ด้วยอำนาจธาตุดินเป็นสิ่งที่มากกว่าธาตุอื่น แล้วพิจารณาดินพร้อมกับสีที่อาศัยพร้อม ๆ กันไป แหละในบรรดาชื่อของดินทั้งหลายในคำบาลี เช่น ปฐวี มหี เมทนี ภูมิ วสุธา และวสุนธรา เป็นต้น โยคีบุคคลปรารถนาชื่อใด และชื่อใดสำเร็จเป็นเครื่องเกื้อหนุนแก่ความจำของเธอ เธอก็พึงระบุเอาชื่อนั้น หรือพระอาจารย์จึงบอกชื่อนั้นให้แก่เธอ อีกประการหนึ่ง ที่ชื่อว่า ปฐวี นี่นั่นเทียว ปรากฏเป็นที่รู้จักกันมากกว่าชื่ออื่น ฉะนั้น โยคีบุคคลพึงภาวนาด้วยคำบาลี ปฐวี ปฐวี หรือด้วยคำไทยว่า ดิน-ดิน ดังนี้ ด้วยอำนาจเป็นชื่อที่ปรากฏนั่นเทียว และบางครั้งจึงลืมตาดูนิมิต บางครั้งจึงหลับตาเสียแล้วนึกทางใจ อุคคหนิมิตยังไม่เกิดขึ้นตราบใด ตราบนั้นก็จงภาวนาเรื่อย ๆ ไป โดยนัยนี้แหละ จนถึงร้อยครั้งพันครั้ง หรือ แม้จะมากครั้งกว่านั้นขึ้นไปก็ตาม
🔅 ได้อุคคหนิมิต
เมื่อโยคีบุคคลภาวนาอยู่อย่างนั้น กาลใดหลับตานึกทางใจนิมิตในปฐวีกสิณนั้นมาสู่คลองจักษุ คือเข้าถึงความเป็นอารมณ์ของมโนทวาริกชวนจิตกาลนั้น ย่อมได้ชื่อว่า อุคคหนิมิต เกิดแล้ว นับแต่เวลาอุคคหนิมิตเกิดแล้วไปโยคีบุคคลไม่ต้องนั่งภาวนาอยู่ ณ ที่ดวงกสิณนั้นอีก จึงกลับเข้าสู่ที่อยู่ของตนแล้วนั่งภาวนาอยู่ ณ ที่นั้นเถิด
อนึ่ง เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงไม่ให้ชักช้าเสียเวลาในเพราะอันที่จะต้องล้างเท้า โยคีบุคคลจำต้องมีรองเท้าชนิดชั้นเดียวกับไม้เท้าด้วย เพื่อว่าถ้าสมาธิที่ยังอ่อนจะเสื่อมหายไปด้วยเหตุอันไม่เป็นที่สบายบางอย่างแล้ว โยคีบุคคลจะได้สวมรองเท้าถือไม้เท้าไปยังที่เดิมนั้น นั่งเพ่งกสิณจนได้อุคคหนิมิตอีก จึงกลับมาอยู่ที่ของตนนั่งคู่บัลลังก์ตั้งกายให้ตรงภาวนาเรื่อยๆไป
🔅 ได้ปฏิภาคนิมิต
อันโยคีบุคคลนั้นจึงพยายามนึกถึงอุคคหนิมิตนั้นให้บ่อย ๆ ทำกัมมัฏฐานให้เป็นอันความนึกตะล่อมมาไว้ในจิตแล้ว อันความนึกชอบตะล่อมมาไว้ในจิตแล้ว เมื่อโยคีบุคคลทำกัมมัฏฐานให้เป็นอันความนึกตะล่อมมาไว้ในจิตแล้ว อันความนึกชอบหมายความว่า การเห็นนิมิตนั้นไม่ได้อาศัยจักขุทวารเหมือนแต่แรก ๆ นิมิตนั้นเกิดขึ้นทางมโนทวารโดยตรง เมื่อจิตทำหน้าที่ไปถึงขณะชวนจิตแล้ว จิตก็เห็นนิมิตนั้นด้วยจิต นิมิตที่เห็นด้วยจิตนี้แลเรียกว่าอุคคหนิมิต ตะล่อมมาไว้ในจิตแล้วอย่างนี้ นิวรณ์ทั้งหลายมีกามฉันทะเป็นต้นก็จะสงบลง และกิเลสทั้งหลายอันตั้งอยู่ในฐานะเดียวกันกับนิวรณ์นั้น ก็จะระงับหายไปโดยลำดับแห่งภาวนา จิตย่อมตั้งมั่นด้วยอุปจารสมาธิ ปฏิภาคนิมิต ย่อมเกิดขึ้น ด้วยประการฉะนี้
🔅 ความแปลกกันแห่งนิมิตทั้ง ๒
ในนิมิตทั้ง ๒ นั้น ความแปลกกันแห่งอุคคหนิมิตอันก่อนกับปฏิภาคนิมิตมีดังนี้ คือ ในขั้นอุคคหนิมิตยังมีโทษแห่งกสิณปรากฏให้เห็นอยู่ได้ ส่วนปฏิภาคนิมิตย่อมปรากฏเป็นสิ่งที่บริสุทธิ์ผุดผ่องกว่าอุคคหนิมิตนั้นตั้งร้อยเท่าพันเท่า เป็นดุจชำแรกอุคคหนิมิตออกมาคล้ายกับดวงแว่นที่ถอดออกจากถุง คล้ายถาดสังข์ที่ขัดดีแล้ว คล้ายดวงจันทร์ที่ออกจากกลีบเมฆ และคล้ายหมู่นกยางอยู่ที่หน้าเมฆ ก็แหละ ปฏิภาคนิมิตนั้นไม่มีสีไม่มีสัณฐาน เพราะไม่ใช่สภาวปรมัตถ์ จริงอยู่ถ้าปฏิภาคนิมิตนั้นจะพึงเป็นสิ่งที่มีสีและสัณฐานเช่นนี้แล้ว ก็จะพึงเป็นรูปหยาบที่รู้ได้ด้วยตาเนื้อ เข้าถึงสัมมสนญาณได้ ยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์ได้ แต่นี้หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ มันเป็นสักว่าอาการที่ปรากฏแก่ผู้ได้สมาธิซึ่งเกิดจากสัญญาภาวนาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น
🔅 ได้อุปจารสมาธิ
🔅 ได้อุปจารสมาธิ
ก็แหละ นับจำเดิมแต่เวลาปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้นแล้ว นิวรณ์ทั้งหลายมีกามฉันทะ เป็นต้น ย่อมสงบไปเองนั่นเทียว กิเลสทั้งหลายที่ตั้งอยู่ในฐานะเดียวกันกับนิวรณ์นั้นก็ระงับไปเองด้วย จิตก็เป็นอันตั้งมั่นแล้วด้วย อุปจารสมาธิ นั่นแล
สมาธิ ๒ อย่าง
แหละสมาธินั้นมี ๒ อย่าง คือ อุปจารสมาธิ ๑ อัปปนาสมาธิ ๑ จิตในอุปจารภูมิ หรือในปฏิลาภภูมิ (ภูมิที่ได้อัปปนาฌาน) ย่อมตั้งมั่นด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ใน ๒ ภูมินั้น จิตในอุปจารภูมิย่อมตั้งมั่น เพราะการประหานเสียได้ซึ่งนิวรณ์ จิตในปฏิลาภภูมิ ย่อมตั้งมั่นเพราะความบังเกิดขึ้นแห่งองค์ฌาน
แหละสมาธินั้นมี ๒ อย่าง คือ อุปจารสมาธิ ๑ อัปปนาสมาธิ ๑ จิตในอุปจารภูมิ หรือในปฏิลาภภูมิ (ภูมิที่ได้อัปปนาฌาน) ย่อมตั้งมั่นด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ใน ๒ ภูมินั้น จิตในอุปจารภูมิย่อมตั้งมั่น เพราะการประหานเสียได้ซึ่งนิวรณ์ จิตในปฏิลาภภูมิ ย่อมตั้งมั่นเพราะความบังเกิดขึ้นแห่งองค์ฌาน
เหตุที่ต่างกันแห่งสมาธิ ๒ อย่าง
ก็แหละ สมาธิ ๒ อย่างมีเหตุต่างกันดังนี้ องค์ฌานทั้งหลายในอุปจารสมาธิยังไม่มีกำลัง เพราะองค์ฌานทั้งหลายยังไม่เกิดกำลัง คือยังไม่บรรลุซึ่งกำลังแห่งภาวนา เปรียบเหมือนเด็กเล็ก ๆ ที่พยุงให้ลุกขึ้นยืนแล้วก็ล้มลงไปที่พื้นบ่อย ๆ ฉันใด เมื่ออุปจารสมาธิเกิดขึ้นนั้น บางทีจิตก็ทำนิมิตให้เป็นอารมณ์ บางทีก็ตกลงสู่ภวังค์ฉันนั้น ส่วนในอัปปนาสมาธิ องค์ฌานทั้งหลายมีกำลัง เพราะองค์ฌานเหล่านั้นเกิดมีกำลังแล้ว เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลัง ลุกจากที่นั่งแล้วพึ่งยืนอยู่ได้แม้ตลอดทั้งวันฉันใด แม้เมื่ออัปปนาสมาธิเกิดขึ้นแล้ว ฌานจิตตัดวาระแห่งภวังค์ครั้งเดียว แล้วก็ดำรงอยู่ตลอดคืนตลอดวันแม้ทั้งสิ้น ย่อมเป็นไปอยู่ด้วยอำนาจลำดับแห่งกุศลชวนจิตอย่างเดียวเท่านั้น
🔅 รักษาปฏิภาคนิมิตเหมือนพระครรภ์จักรพรรดิ
🔅 รักษาปฏิภาคนิมิตเหมือนพระครรภ์จักรพรรดิ
ในนิมิต ๒ อย่างนั้น ปฏิภาคนิมิตซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับอุปจารสมาธินั้น ใดการที่จะทำให้ปฏิภาคนั้นเกิดขึ้น เป็นสิ่งที่ทำได้ยากยิ่ง เพราะฉะนั้น ถ้าโยคีบุคคลสามารถที่จะเจริญปฏิภาคนิมิตนั้นไป จนบรรลุซึ่งอัปปนาสมาธิเสียได้ด้วยบัลลังก์นั้นทีเดียว ข้อนั้นนับเป็นโชคดี แต่ถ้าไม่สามารถจะปฏิบัติได้เช่นนั้น แต่นั้น โยคีบุคคลนั้นอย่าได้ประมาท พึงรักษาปฏิภาคนิมิตนั้นไว้เหมือนกับพระครรภ์ที่ทรงไว้ซึ่งทารกผู้จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ฉะนั้น เพราะเมื่อรักษาปฏิภาคนิมิตไว้ได้เช่นนี้ อุปจารฌานที่ได้แล้วก็จะไม่มีการเสื่อมหายไป แต่เมื่อไม่มีการรักษาแม้อุปจารฌานที่ได้แล้วนั้นก็จะเสื่อมหายไปเสีย
ขณะที่จิตทำนิมิตให้เป็นอารมณ์อยู่ คือ แนบเฉยอยู่กับอารมณ์อันเดียว ไม่ตกภวังค์นั้น ชื่อว่า จิตเป็นสมาธิ เมื่อจิตปล่อยอารมณ์นั้นเสีย ตกกระแสภวังค์ ชื่อว่าจิตเสียสมาธิ, อุปจารสมาธินั้นเป็นสมาธิที่ยังไม่มั่นคง เดี๋ยวขึ้นสู่วิถีเดี๋ยวตกภวังค์ ขึ้น ๆ ลง ๆ อยู่ ซึ่งมีอาการเหมือนเด็กเล็ก ๆ ล้ม ๆ ลุก ๆ ฉะนั้น
🔅 วิธีรักษาปฏิภาคนิมิต
🔅 วิธีรักษาปฏิภาคนิมิต
ต้องเว้นอสัปปายะ ๗ และเสพสัปปายะ ๗ ในปฏิภาคนิมิตนั้น มีวิธีรักษาดังต่อไปนี้
อาวาโส โคจโร ภสสํ ปุคคโล โภชนํ อุตุ อิริยาปโถติ
สตุเตเต อสปฺปาเย วิวชุชเย สปฺปาเย สตุต เสเวถ เอวญฺหิ
ปฏิปซฺซโต นจิเรเนว กาเลน โหติ กสฺสจิ อปฺปนา
สตุเตเต อสปฺปาเย วิวชุชเย สปฺปาเย สตุต เสเวถ เอวญฺหิ
ปฏิปซฺซโต นจิเรเนว กาเลน โหติ กสฺสจิ อปฺปนา
โยคีบุคคลใดได้ปฏิภาคนิมิตแล้วนั้น พึงเว้นซึ่งธรรมอันไม่เป็นที่สบาย ๗ อย่างเหล่านี้ คือ
๑. อาวาโส ได้แก่ที่อยู่อันไม่เป็นที่สบาย
๒. โคจโร ได้แก่หมู่บ้านบิณฑบาตไม่เป็นที่สบาย
๓. ภสสํ ได้แก่คำพูดอันไม่เป็นที่สบาย
๒. โคจโร ได้แก่หมู่บ้านบิณฑบาตไม่เป็นที่สบาย
๓. ภสสํ ได้แก่คำพูดอันไม่เป็นที่สบาย
๔. ปุคคโล ได้แก่บุคคลผู้ไม่เป็นที่สบาย
๕. โภชนํ ได้แก่อาหารอันไม่เป็นที่สบาย
๖. อุตุ ได้แก่อากาศอันไม่เป็นที่สบาย และ
๗. อิริยาปโถ ได้แก่อิริยาบถอันไม่เป็นที่สบาย
และจึงต้องเสพธรรมอันเป็นที่สบาย ๗ อย่างตรงข้าม เพราะเมื่อปฏิบัติได้อย่างนี้ ไม่ช้าไม่นานเท่าไรนักเลย โยคีบุคคลบางท่านก็ได้สำเร็จอัปปนาฌานต่อไป
อธิบายอสัปปายะ ๗ และสัปปายะ ๗
๑. อาวาส-ที่อยู่
ในที่อยู่ ๒ อย่างนั้น เมื่อโยคีบุคคลอยู่ในที่อยู่อันใด นิมิตที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมหายไป และสติที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น จิตที่ไม่เป็นสมาธิก็ไม่เป็นสมาธิ ที่อยู่เช่นนี้ชื่อว่า ที่อยู่ไม่เป็นที่สบาย เมื่อโยคีบุคคลอยู่ ณ ที่ใด นิมิตย่อมเกิดขึ้นด้วย ย่อมถาวรมั่นคงอยู่ด้วยสติ ย่อมตั้งมั่นในนิมิตนั้น จิตก็เป็นสมาธิ เหมือนพระปธานิยติสสเถระผู้อยู่ ณ วัดนาคบรรพตเป็นตัวอย่าง ที่อยู่เช่นนี้ ชื่อว่า ที่อยู่เป็นที่สบาย เพราะฉะนั้น ในวัดใดมีที่อยู่หลายแห่งด้วยกัน ในวัดเช่นนั้น โยคีบุคคลพึงอยู่ทดลองดูแห่งละ ๓ วัน ๆ ณ แห่งใดทำให้จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งได้ ก็พึงอยู่ ณ ที่แห่งนั้นเถิด จริงอยู่ เพราะเหตุที่ได้ที่อยู่เป็นที่สบาย ภิกษุ ๕๐๐ รูปซึ่งอยู่ ณ ถ้ำจูฬนาคะในประเทศลังกา เรียนเอากัมมัฏฐานแล้วก็ได้บรรลุพระอรหัต ณ ถ้ำนั้นแล แหละ ณ ที่อื่น ๆ พระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระโสดาบันเป็นต้น ได้บรรลุถึงขั้นอริยภูมิแล้วได้บรรลุพระอรหัต ณ ที่นั้น ๆ คุณนานับไม่ถ้วน แม้ที่วัดอื่น ๆ เช่น วัดจิตตลบรรพตเป็นต้น ก็เช่นเดียวกันนี้
ในที่อยู่ ๒ อย่างนั้น เมื่อโยคีบุคคลอยู่ในที่อยู่อันใด นิมิตที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดขึ้น หรือที่เกิดขึ้นแล้วก็เสื่อมหายไป และสติที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น จิตที่ไม่เป็นสมาธิก็ไม่เป็นสมาธิ ที่อยู่เช่นนี้ชื่อว่า ที่อยู่ไม่เป็นที่สบาย เมื่อโยคีบุคคลอยู่ ณ ที่ใด นิมิตย่อมเกิดขึ้นด้วย ย่อมถาวรมั่นคงอยู่ด้วยสติ ย่อมตั้งมั่นในนิมิตนั้น จิตก็เป็นสมาธิ เหมือนพระปธานิยติสสเถระผู้อยู่ ณ วัดนาคบรรพตเป็นตัวอย่าง ที่อยู่เช่นนี้ ชื่อว่า ที่อยู่เป็นที่สบาย เพราะฉะนั้น ในวัดใดมีที่อยู่หลายแห่งด้วยกัน ในวัดเช่นนั้น โยคีบุคคลพึงอยู่ทดลองดูแห่งละ ๓ วัน ๆ ณ แห่งใดทำให้จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งได้ ก็พึงอยู่ ณ ที่แห่งนั้นเถิด จริงอยู่ เพราะเหตุที่ได้ที่อยู่เป็นที่สบาย ภิกษุ ๕๐๐ รูปซึ่งอยู่ ณ ถ้ำจูฬนาคะในประเทศลังกา เรียนเอากัมมัฏฐานแล้วก็ได้บรรลุพระอรหัต ณ ถ้ำนั้นแล แหละ ณ ที่อื่น ๆ พระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระโสดาบันเป็นต้น ได้บรรลุถึงขั้นอริยภูมิแล้วได้บรรลุพระอรหัต ณ ที่นั้น ๆ คุณนานับไม่ถ้วน แม้ที่วัดอื่น ๆ เช่น วัดจิตตลบรรพตเป็นต้น ก็เช่นเดียวกันนี้
๒. โคจรคาม-หมู่บ้านบิณฑบาต
ก็แหละ โคจรคามคือหมู่บ้านสำหรับไปบิณฑบาตแห่งใด มีอยู่ด้านทิศเหนือหรือด้านทิศใต้ ๑ มีอยู่ในที่ไม่ห่างไกลมากนัก คือภายในระยะทางหนึ่งโกสะครึ่ง ประมาณพันชั่วคันธนู หรือ ๒ กิโลเมตร ๑ (๔ ศอกเป็น ๑ ธนู, ๕๐๐ ธนู เป็น ๑ โกสะ, ๔ โกสะ เป็น ๑ คาวุต, ๔ คาวุต เป็น ๑ โยชน์ เท่ากับ ๔๐๐ เส้น, ๑ โกสะ เท่ากับ ๒๕ เส้น) มีภิกษาหารบริบูรณ์หาได้สะดวก ๑ หมู่บ้านเช่นนั้น ชื่อว่า หมู่บ้านบิณฑบาตเป็นที่สบาย อย่างตรงกันข้าม ชื่อว่าหมู่บ้านบิณฑบาตไม่เป็นที่สบาย
๓. ภัสสะ-คำพูด
ถ้อยคำที่นับเนื่องในติรัจฉานกถา ๓๒ ประการ มีการพูดถึงเรื่องพระราชา เป็นต้น ชื่อว่าเป็นถ้อยคำไม่เป็นที่สบาย เพราะถ้อยคำเช่นนั้น ย่อมเป็นไปเพื่ออันตรธานเสียแห่งนิมิตของโยคีบุคคลนั้น ถ้อยคำที่อาศัยกถาวัตถุ ๑๐ ประการ” มีพูดถึงเรื่องความมักน้อยเป็นต้น" ชื่อว่า เป็นถ้อยคำเป็นที่สบาย แม้ถึงถ้อยคำเป็นที่สบายเช่นนั้น ก็พึงพูดแต่พอประมาณ
๔. ปุคคโล-บุคคล
บุคคลผู้ไม่ชอบพูดเรื่องติรัจฉานกถา เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติมีศีลเป็นต้นที่โยคีบุคคลอาศัยแล้ว จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นย่อมตั้งมั่น หรือจิตที่ตั้งมั่นแล้วย่อมมั่นคงยิ่งขึ้น บุคคลเห็นปานนี้ ชื่อว่า เป็นบุคคลเป็นที่สบาย ส่วนบุคคลที่ชอบประคบประหงมบำรุงตกแต่งร่างกาย ชอบพูดแต่เรื่องติรัจฉานกถา ชื่อว่า บุคคลไม่เป็นที่สบาย เพราะบุคคลเช่นนั้นย่อมทำปฏิภาคนิมิตนั้นให้เศร้าหมองได้ทีเดียว เปรียบเหมือนน้ำขี้ตมทำน้ำที่ใส่ให้ขุ่นได้ฉะนั้น ไม่ต้องพูดถึงปฏิภาคนิมิตดอก แม้แต่สมาบัติของพระหนุ่มผู้อยู่ ณ เขาโกฏบรรพตรูปหนึ่ง ก็ยังเสื่อมหายไป เพราะเหตุอาศัยบุคคลไม่เป็นที่สบายเช่นนั้น
๕.๖, โภชนะ-อาหาร และอุตุ-อากาศ
ก็แหละ อาหารที่มีรสหวาน ย่อมเป็นที่สบายสำหรับบุคคลบางคน ที่มีรสเปรี้ยวย่อมเป็นที่สบายสำหรับบุคคลบางคน แม้อากาศเย็นก็เป็นที่สบายสำหรับบุคคลบางคน อากาศร้อนเป็นที่สบายสำหรับบุคคลบางคน เพราะฉะนั้น เมื่อโยคีบุคคล ร้องเสพอาหารหรืออากาศชนิดใดจึงมีความผาสุกสบาย หรือจิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ย่อมตั้งมั่นหรือจิตที่ตั้งมั่นแล้วย่อมมั่นคงยิ่งขึ้น อาหารชนิดนั้นและอากาศชนิดนั้น ชื่อว่าเป็นที่สบาย อาหารและอากาศชนิดอื่น นอกจากนี้ ชื่อว่าไม่เป็นที่สบาย
๗. อิริยาปโด-อิริยาบถ
แม้ในอิริยาบถ ๔ บางคนมีอิริยาบถเดินเป็นที่สบาย บางคนก็มีอิริยาบถนอน อิริยาบถยืนหรืออิริยาบถนั่งอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นที่สบาย เพราะฉะนั้น โยคีบุคคลพึงทดลอง อิริยาบถนั้นดูอย่างละ ๓ วัน เหมือนกับทดลองที่อยู่ ในอิริยาบถใดจิตที่ยังไม่ตั้งมั่นย่อมตั้งมั่น หรือจิตที่ตั้งมั่นแล้วย่อมมั่นคงยิ่งขึ้น พึงทราบว่าอิริยาบถนั้น ชื่อว่าเป็นอิริยาบถเป็นที่สบาย อิริยาบถอื่น ๆ นอกนี้ ไม่ใช่เป็นอิริยาบถที่สบาย
ด้วยประการฉะนี้ โยคีบุคคลพึงเว้นธรรมอันไม่เป็นที่สบาย ๗ อย่างนี้ จึงเสพธรรมอันเป็นที่สบาย ๗ อย่างนี้นั้นเถิด เพราะเมื่อปฏิบัติได้อย่างนี้ และเสพปฏิภาคนิมิตมาก ๆ ขึ้น ไม่ช้าไม่นานเท่าไรเลย โยคีบุคคลบางคนก็จะได้สำเร็จอัปปนาฌานแน่นอน ถ้ายังไม่สำเร็จอัปปนาฌานต้องบำเพ็ญอัปปนาโกศล ๑๐ ประการ
ก็แหละโยคีบุคคลใดแม้จะได้ปฏิบัติอย่างนั้นแล้วก็ยังไม่ได้สำเร็จอัปปนาฌาน โยคีบุคคลนั้นพึงบำเพ็ญอัปปนาโกศล (คือวิธีที่จะให้มีความฉลาดในอัปปนา) ให้เกิดขึ้นโดยบริบูรณ์ต่อไป ในอัปปนาโกศลนั้น มีนัยดังนี้ อันโยคีบุคคลจำต้องปรารถนาวิธีที่จะให้มีความฉลาดในอัปปนาสมาธิ โดยประการ ๑๐ อย่าง คือ
๑. วัตถุวิสทกิริยโต โดยทำวัตถุให้สะอาด
๒. อินทรียสมตตปฏิปาทนโต โดยทำอินทรีย์ให้ถึงความเสมอกัน
๓. นิมิตตกุสลโต โดยฉลาดในนิมิต
๔. จิตตปคุคหโต โดยยกจิตในสมัยที่ควรยก
๕. จิตตนิคคหโต โดยข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม
๖. จิตตสมุปหํสโต โดยพยุงจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรให้ร่าเริง
๗. จิตตอซุญเปกขโต โดยเพ่งดูจิตเฉยในสมัยที่ควรเพ่งดูเฉย
๘. อสมาหิตบุคคลปริวชุชนโต โดยเว้นบุคคลผู้ไม่มีสมาธิ
๙. สมาหิตบุคคลเสวนโต โดยสมาคมกับบุคคลผู้มีสมาธิ และ
๑๐. ตทธิมุตตโต โดยน้อมจิตไปในสมาธินั้น