ความผ่องแผ้วของศีล
ก็แหละ ภาวะที่ศีลไม่ขาดเป็นต้น ท่านสงเคราะห์ด้วย
ความไม่แตก(ขาด)แห่งสิกขาบททั้งหลายโดยสิ้นเชิง ๑
ด้วยการกระทำคืนสิกขาบทที่ทำคืนได้ซึ่งแตก(ขาด)แล้ว ๑
ด้วยความไม่มี 🔎เมถุนสังโยค ๗ ประการ ๑
ด้วยข้อปฏิบัติอื่น ๆ คือความไม่เกิดขึ้นแห่งบาปธรรมทั้งหลายมีอาทิ เช่น ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความริษยา ความตระหนี่ ความมารยา ความโอ้อวด ความหัวดื้อ ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความมัวเมา ความเลินล่อ ๑
ด้วยความบังเกิดขึ้นแห่งคุณทั้งหลายมีอาทิเช่น ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ๑
จริงอยู่ ศีลเหล่าใดแม้ไม่ขาดเพื่อต้องการลาภเป็นต้นก็ดี แม้ศีลที่ขาดไปด้วยโทษคือความประมาทแต่กระทำคืนแล้วก็ดี ศีลที่อันเมถุนสังโยคหรือบาปธรรมทั้งหลายมีความโกรธและความผูกโกรธเป็นต้นไม่ได้เข้าไปทำลายแล้วก็ดี ศีลเหล่านั้นเรียกว่า ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย โดยประการทั้งปวง และศีลเหล่านั้นแหละ ชื่อว่า ภูชิสสะ เพราะสร้างความเป็นไท ชื่อว่า วิญญุปสัตถะ เพราะผู้รู้ทั้งหลายสรรเสริญชื่อว่า อปรามัฏฐะ เพราะอันตัณหาและทิฏฐิทั้งหลายไม่ถูกต้องแล้ว ชื่อว่า สมาธิสังวัตตนิกะ เพราะยังอุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิให้เป็นไป เพราะเหตุนั้น อันภาวะที่ศีลไม่ขาดเป็นต้นนี้ นักศึกษาพึงทราบว่าเป็นความผ่องแผ้วของศีลทั้งหลายเหล่านั้น
ก็แหละ ความผ่องแผ้วนี้นั้น ย่อมสำเร็จได้ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ
ด้วยการมองเห็นโทษแห่งศีลวิบัติ ๑
ด้วยการมองเห็นอานิสงส์ของศีลสมบัติ ๑
ความไม่แตก(ขาด)แห่งสิกขาบททั้งหลายโดยสิ้นเชิง ๑
ด้วยการกระทำคืนสิกขาบทที่ทำคืนได้ซึ่งแตก(ขาด)แล้ว ๑
ด้วยความไม่มี 🔎เมถุนสังโยค ๗ ประการ ๑
ด้วยข้อปฏิบัติอื่น ๆ คือความไม่เกิดขึ้นแห่งบาปธรรมทั้งหลายมีอาทิ เช่น ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความริษยา ความตระหนี่ ความมารยา ความโอ้อวด ความหัวดื้อ ความแข่งดี ความถือตัว ความดูหมิ่น ความมัวเมา ความเลินล่อ ๑
ด้วยความบังเกิดขึ้นแห่งคุณทั้งหลายมีอาทิเช่น ความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ๑
จริงอยู่ ศีลเหล่าใดแม้ไม่ขาดเพื่อต้องการลาภเป็นต้นก็ดี แม้ศีลที่ขาดไปด้วยโทษคือความประมาทแต่กระทำคืนแล้วก็ดี ศีลที่อันเมถุนสังโยคหรือบาปธรรมทั้งหลายมีความโกรธและความผูกโกรธเป็นต้นไม่ได้เข้าไปทำลายแล้วก็ดี ศีลเหล่านั้นเรียกว่า ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย โดยประการทั้งปวง และศีลเหล่านั้นแหละ ชื่อว่า ภูชิสสะ เพราะสร้างความเป็นไท ชื่อว่า วิญญุปสัตถะ เพราะผู้รู้ทั้งหลายสรรเสริญชื่อว่า อปรามัฏฐะ เพราะอันตัณหาและทิฏฐิทั้งหลายไม่ถูกต้องแล้ว ชื่อว่า สมาธิสังวัตตนิกะ เพราะยังอุปจารสมาธิหรืออัปปนาสมาธิให้เป็นไป เพราะเหตุนั้น อันภาวะที่ศีลไม่ขาดเป็นต้นนี้ นักศึกษาพึงทราบว่าเป็นความผ่องแผ้วของศีลทั้งหลายเหล่านั้น
ก็แหละ ความผ่องแผ้วนี้นั้น ย่อมสำเร็จได้ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ
ด้วยการมองเห็นโทษแห่งศีลวิบัติ ๑
ด้วยการมองเห็นอานิสงส์ของศีลสมบัติ ๑