อธิบายศีล ๕ อย่าง หมวดที่ ๒
นักศึกษาพึงทราบอรรถาธิบายในศีล ๕ อย่าง หมวดที่ ๒ ด้วยสามารถแห่งการประหานบาปธรรมทั้งหลายมีปาณาติบาตเป็นต้น ดังต่อไปนี้ สมดังที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีปุตตะกล่าวไว้ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคว่า :- ศีล ๕ คือ
๑. ปหาน การประหานซึ่งปาณาติบาต ชื่อว่าศีล
๒. เวรมณี ความงดเว้น ชื่อว่าศีล
๓. เจตนา ความจงใจ ชื่อว่าศีล
๔. สํวร ความระวัง ชื่อว่าศีล
๕. อวีติกฺกม ความไม่ล่วงละเมิด ชื่อว่าศีล
๑. ปหาน การประหานซึ่งปาณาติบาต ชื่อว่าศีล
๒. เวรมณี ความงดเว้น ชื่อว่าศีล
๓. เจตนา ความจงใจ ชื่อว่าศีล
๔. สํวร ความระวัง ชื่อว่าศีล
๕. อวีติกฺกม ความไม่ล่วงละเมิด ชื่อว่าศีล
การประหาน ความงดเว้น ความจงใจ ความระวัง ความไม่ล่วงละเมิดซึ่ง อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท ปิสุณวาจา ผรุสวาจา สัมผัปปลาปะ อภิชฌา พยาบาท มิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่าศีล
การประหานกามฉันทะ ด้วยเนกขัมมะ,
การประหานกามฉันทะ ด้วยเนกขัมมะ,
ประหานพยาบาท ด้วยอัพยาบาท,
ประหานถีนมิทธะ ด้วยอาโลกสัญญา,
ประหานอุทธัจจะ ด้วยอวิกเขปะ,
ประหานวิจิกิจฉา ด้วยธัมมววัตถาน,
ประหานอวิชชา ด้วยญาณ,
ประหานอรติ ด้วยปราโมช,
ประหานนิวรณ์ทั้งหลาย ด้วยปฐมฌาน,
ประหานวิตกวิจาร ด้วยทุติยฌาน,
ประหานปีติ ด้วยตติยฌาน,
ประหานสุขและทุกข์ ด้วยจตุตถฌาน,
ประหานรูปสัญญา ปฏิมสัญญา อนัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ,
ประหานอากาสานัญจายตนสัญญา ด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ,
ประหานวิญญาณัญจายตนสัญญา ด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ,
ประหานอากิญจัญญายตนสัญญา ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
ประหานนิจจสัญญา ด้วยอนิจจานุปัสสนา,
ประหานสุขสัญญา ด้วยทุกขานุปัสสนา,
ประหานอัตตสัญญา ด้วยอนัตตานุปัสสนา,
ประหานนันทิ ด้วยนิพพิทานุปัสสนา,
ประหานราคะ ด้วยวิราคานุปัสสนา,
ประหานสมุทัย ด้วยนิโรธานุปัสสนา,
ประหานอมุญจิตกามยะ ด้วยมุญจิตกามยตานุปัสสนา,
ประหานอาทานะ ด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา,
ประหานฆนสัญญา ด้วยขยานุปัสสนา,
ประหานอายหนะ ด้วยวยานุปัสสนา,
ประหานธุวสัญญา ด้วยวิปริณามานุปัสสนา,
ประหานนิมิต ด้วยอนิมิตตานุปัสสนา,
ประหานปณิธิ ด้วยอัปปณิหิตานุปัสสนา
ประหานถีนมิทธะ ด้วยอาโลกสัญญา,
ประหานอุทธัจจะ ด้วยอวิกเขปะ,
ประหานวิจิกิจฉา ด้วยธัมมววัตถาน,
ประหานอวิชชา ด้วยญาณ,
ประหานอรติ ด้วยปราโมช,
ประหานนิวรณ์ทั้งหลาย ด้วยปฐมฌาน,
ประหานวิตกวิจาร ด้วยทุติยฌาน,
ประหานปีติ ด้วยตติยฌาน,
ประหานสุขและทุกข์ ด้วยจตุตถฌาน,
ประหานรูปสัญญา ปฏิมสัญญา อนัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ,
ประหานอากาสานัญจายตนสัญญา ด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ,
ประหานวิญญาณัญจายตนสัญญา ด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ,
ประหานอากิญจัญญายตนสัญญา ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
ประหานนิจจสัญญา ด้วยอนิจจานุปัสสนา,
ประหานสุขสัญญา ด้วยทุกขานุปัสสนา,
ประหานอัตตสัญญา ด้วยอนัตตานุปัสสนา,
ประหานนันทิ ด้วยนิพพิทานุปัสสนา,
ประหานราคะ ด้วยวิราคานุปัสสนา,
ประหานสมุทัย ด้วยนิโรธานุปัสสนา,
ประหานอมุญจิตกามยะ ด้วยมุญจิตกามยตานุปัสสนา,
ประหานอาทานะ ด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา,
ประหานฆนสัญญา ด้วยขยานุปัสสนา,
ประหานอายหนะ ด้วยวยานุปัสสนา,
ประหานธุวสัญญา ด้วยวิปริณามานุปัสสนา,
ประหานนิมิต ด้วยอนิมิตตานุปัสสนา,
ประหานปณิธิ ด้วยอัปปณิหิตานุปัสสนา
ประหานอภินิเวสะ ด้วยสุญญตานุปัสสนา,
ประหานสาราทานาภินิเวสะ ด้วยอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา,
ประหานสัมโมหาภินิเวสะ ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ,
ประหานสาราทานาภินิเวสะ ด้วยอธิปัญญาธัมมวิปัสสนา,
ประหานสัมโมหาภินิเวสะ ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ,
ประหานอาลยาภินิเวสะ ด้วยอาทีนวานุปัสสนา,
ประหานอัปปฏิสังขา ด้วยปฏิสังขานุปัสสนา,
ประหานสังโยคาภินิเวสะ ด้วยวิวัฏฏานุปัสสนา
ประหานกิเลสทั้งหลายที่อยู่ในฐานเดียวกับทิฏฐิ ด้วยโสตาปัตติมรรค,
ประหานกิเลสชั้นหยาบทั้งหลาย ด้วยสกทาคามิมรรค,
ประหานกิเลสชั้นละเอียดทั้งหลายด้วยอนาคามิมรรค,
ประหานกิเลสอย่างสิ้นเชิง ด้วยอรหัตมรรค ชื่อว่าศีล,
ความงดเว้น ความจงใจ ความระวัง ความไม่ล่วงละเมิด ชื่อว่าศีล ศีลเห็นปานดังนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เดือดร้อนแห่งจิต เป็นไปเพื่อปราโมช เป็นไปเพื่อปัสสัทธิ เป็นไปเพื่อโสมนัส เป็นไปเพื่ออาเสวนะ เป็นไปเพื่อภาวนา เป็นไปเพื่อทำให้มาก เป็นไปเพื่ออลังการ เป็นไปเพื่อบริขาร เป็นไปเพื่อบริวาร เป็นไปเพื่อความบริบูรณ์ ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อความสำรอก เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ก็แหละ ในธรรม ๕ อย่างนั้น ธรรมอะไร ๆ ที่ชื่อว่าประหาน ย่อมไม่มีเป็นแต่เพียงเว้นความไม่บังเกิดขึ้นแห่งบาปธรรมทั้งหลาย มีปาณาติบาตเป็นต้นมีประการดังกล่าวแล้ว
ประหานอัปปฏิสังขา ด้วยปฏิสังขานุปัสสนา,
ประหานสังโยคาภินิเวสะ ด้วยวิวัฏฏานุปัสสนา
ประหานกิเลสทั้งหลายที่อยู่ในฐานเดียวกับทิฏฐิ ด้วยโสตาปัตติมรรค,
ประหานกิเลสชั้นหยาบทั้งหลาย ด้วยสกทาคามิมรรค,
ประหานกิเลสชั้นละเอียดทั้งหลายด้วยอนาคามิมรรค,
ประหานกิเลสอย่างสิ้นเชิง ด้วยอรหัตมรรค ชื่อว่าศีล,
ความงดเว้น ความจงใจ ความระวัง ความไม่ล่วงละเมิด ชื่อว่าศีล ศีลเห็นปานดังนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เดือดร้อนแห่งจิต เป็นไปเพื่อปราโมช เป็นไปเพื่อปัสสัทธิ เป็นไปเพื่อโสมนัส เป็นไปเพื่ออาเสวนะ เป็นไปเพื่อภาวนา เป็นไปเพื่อทำให้มาก เป็นไปเพื่ออลังการ เป็นไปเพื่อบริขาร เป็นไปเพื่อบริวาร เป็นไปเพื่อความบริบูรณ์ ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อความสำรอก เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ก็แหละ ในธรรม ๕ อย่างนั้น ธรรมอะไร ๆ ที่ชื่อว่าประหาน ย่อมไม่มีเป็นแต่เพียงเว้นความไม่บังเกิดขึ้นแห่งบาปธรรมทั้งหลาย มีปาณาติบาตเป็นต้นมีประการดังกล่าวแล้ว
อนึ่ง โดยที่การประหานนั้น ๆ ย่อมเป็นการรองรับ และอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมนั้น ๆ และเป็นการดำรงอยู่โดยเรียบร้อย เพราะไม่กระทำความเกะกะ เพราะเหตุนั้น การประหานจึงเรียกว่า ศีล เพราะอรรถว่า ความปกติ กล่าวคือ ความรองรับและความดำรงอยู่โดยเรียบร้อย ซึ่งได้พรรณนามาแล้วในตอนต้นนั้นแล
ธรรม ๔ อย่างนอกนี้ คือ เวรมณี, เจตนา, สังวร และอวีติกกมะ ท่านกล่าวไว้โดยหมายเอาสภาพที่เป็นไปของจิต
ด้วยสามารถแห่งความงดเว้นจากบาปธรรมนั้น ๆ ๑
ด้วยสามารถแห่งความระวังซึ่งบาปธรรมนั้น ๆ ๑
ด้วยสามารถแห่งความจงใจที่ประกอบด้วยความงดเว้นและความระวังทั้งสองนั้น ๑
ด้วยสามารถแห่งความไม่ล่วงละเมิดบาปธรรมนั้น ๆ ของบุคคลผู้ไม่ล่วงละเมิดอยู่ ๑
ส่วนอรรถาธิบายแห่งธรรม ๔ อย่างนั้นที่ชื่อว่าศีล ข้าพเจ้าอธิบายไว้แล้วในตอนต้นนั่นเทียว ศีล ๕ อย่างโดยแยกเป็นปหานศีลเป็นต้น ยุติด้วยประการฉะนี้ ก็แหละ การวิสัชนาปัญหาเหล่านี้ คือ อะไรชื่อว่าศีล? ๑ ที่ชื่อว่าศีลเพราะอรรถว่ากระไร ๑ อะไรเป็นลักษณะ เป็นรส, เป็นอาการปรากฏ และเป็นปทัฏฐานของศีล ๑ ศีลมีอานิสงส์อย่างไร และศีลนี้มีกี่อย่าง ดังนี้ เป็นอันจบลงด้วยอรรถาธิบายเพียงเท่านี้