การบริโภค ๔ อย่าง
ในการพิจารณาในเวลาบริโภคนั้น มีวินิจฉัยที่ทำความตกลงไว้ดังนี้ :-
ก็แหละ การบริโภคมี ๔ อย่าง คือ
เถยุยปริโภค บริโภคเป็นขโมย ๑
ก็แหละ การบริโภคมี ๔ อย่าง คือ
เถยุยปริโภค บริโภคเป็นขโมย ๑
อิณปริโภค บริโภคเป็นหนี้ ๑
ทายชุชปริโภค บริโภคเป็นทายาท ๑
สามิปริโภค บริโภคเป็นนาย ๑
ใน ๔ อย่างนั้น การบริโภคของภิกษุผู้ทุศีลแม้นั่งบริโภคอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ ชื่อว่า⛯ เถยุยปริโภค การบริโภคไม่ได้พิจารณาของภิกษุผู้มีศีล ชื่อว่า ⛯ อิณปริโภค เพราะเหตุนั้น จีวรพึงพิจารณาในทุก ๆ ขณะที่บริโภค บิณฑบาตพึงพิจารณาในทุก ๆ คำข้าว เมื่อภิกษุไม่สามารถปฏิบัติเหมือนอย่างนั้น ในเวลาก่อนอาหาร, หลังอาหาร, ในปริมยาม, มัชฌิมยามและปัจฉิมยาม ถ้าไม่ได้พิจารณาเลยปล่อยให้อรุณขึ้น ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมตั้งอยู่ในฐานะเป็นอิณบริโภค แม้เสนาสนะก็พึงพิจารณาในทุก ๆ ขณะที่บริโภค สำหรับเภสัชเมื่อมีสติเป็นปัจจัยทั้งในขณะรับ ทั้งในขณะบริโภคจึงจะควร แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ เมื่อภิกษุทำสติในขณะรับแล้วขณะบริโภคไม่ได้ทำอีก เป็นอาบัติ ไม่ทำในขณะรับแต่ทำในขณะบริโภค ไม่เป็นอาบัติ
ทายชุชปริโภค บริโภคเป็นทายาท ๑
สามิปริโภค บริโภคเป็นนาย ๑
ใน ๔ อย่างนั้น การบริโภคของภิกษุผู้ทุศีลแม้นั่งบริโภคอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ ชื่อว่า⛯ เถยุยปริโภค การบริโภคไม่ได้พิจารณาของภิกษุผู้มีศีล ชื่อว่า ⛯ อิณปริโภค เพราะเหตุนั้น จีวรพึงพิจารณาในทุก ๆ ขณะที่บริโภค บิณฑบาตพึงพิจารณาในทุก ๆ คำข้าว เมื่อภิกษุไม่สามารถปฏิบัติเหมือนอย่างนั้น ในเวลาก่อนอาหาร, หลังอาหาร, ในปริมยาม, มัชฌิมยามและปัจฉิมยาม ถ้าไม่ได้พิจารณาเลยปล่อยให้อรุณขึ้น ภิกษุนั้นชื่อว่า ย่อมตั้งอยู่ในฐานะเป็นอิณบริโภค แม้เสนาสนะก็พึงพิจารณาในทุก ๆ ขณะที่บริโภค สำหรับเภสัชเมื่อมีสติเป็นปัจจัยทั้งในขณะรับ ทั้งในขณะบริโภคจึงจะควร แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ เมื่อภิกษุทำสติในขณะรับแล้วขณะบริโภคไม่ได้ทำอีก เป็นอาบัติ ไม่ทำในขณะรับแต่ทำในขณะบริโภค ไม่เป็นอาบัติ
สุทธิ ๔ อย่าง ก็แหละ สุทธิมี ๔ อย่าง คือ เทสนาสุทธิ ๑ สังวรสุทธิ ๑ ปริเยฏฐิสุทธิ์ ๑ ปัจจเวกขณสุทธิ ๑ ใน ๔ อย่างนั้น
🔎 ปาติโมกขสังวรศีล ชื่อว่า เทสนาสุทธิ จริงอยู่ ปาติโมกขสังวรศีลนั้นเรียกว่า เทสนาสุทธิ เพราะบริสุทธิ์ด้วยการแสดงอาบัติ
🔎 อินทรียสังวรศีล ชื่อว่า สังวรสุทธิ จริงอยู่ อินทรียสังวรศีลนั้นเรียกว่า สังวรสุทธิ เพราะบริสุทธิ์ด้วยความสังวรคือตั้งใจว่า “จักไม่กระทำอย่างนี้ต่อไป”
🔎 อาชีวปาริสุทธิศีล ชื่อว่า ปริเยฏฐิสุทธิ จริงอยู่ อาชีวปาริสุทธิศีลนั้นเรียกว่า ปฏิเยฏฐิสุทธิ เพราะบริสุทธิ์ด้วยการแสวงหาของภิกษุผู้ละอเนสนาแล้วจึงยังปัจจัยทั้งหลายให้เกิดขึ้นอยู่โดยธรรมโดยสม่ำเสมอ
🔎 อินทรียสังวรศีล ชื่อว่า สังวรสุทธิ จริงอยู่ อินทรียสังวรศีลนั้นเรียกว่า สังวรสุทธิ เพราะบริสุทธิ์ด้วยความสังวรคือตั้งใจว่า “จักไม่กระทำอย่างนี้ต่อไป”
🔎 อาชีวปาริสุทธิศีล ชื่อว่า ปริเยฏฐิสุทธิ จริงอยู่ อาชีวปาริสุทธิศีลนั้นเรียกว่า ปฏิเยฏฐิสุทธิ เพราะบริสุทธิ์ด้วยการแสวงหาของภิกษุผู้ละอเนสนาแล้วจึงยังปัจจัยทั้งหลายให้เกิดขึ้นอยู่โดยธรรมโดยสม่ำเสมอ
🔎 ปัจจยสันนิสสตศีล ชื่อว่า ปัจจเวกขณสุทธิ จริงอยู่ ปัจจยสันนิสสตศีลนั้นเรียกว่า ปัจจเวกขณสุทธิ เพราะบริสุทธิ์ด้วยการพิจารณามีประการดังพรรณนามาแล้วด้วยเหตุนั้นข้าพเจ้าจึงกล่าวไว้ว่า “เมื่อไม่ทำสติในขณะรับแต่ทำในขณะบริโภคไม่เป็นอาบัติ”
การบริโภคปัจจัยของพระเสกขบุคคลทั้งหลาย ๗ จำพวก ชื่อว่า ⛯ ทายัชชบริโภค จริงอยู่ พระเสกขบุคคลเหล่านั้นเป็นพระบุตรของพระผู้มีพระภาค เพราะเหตุนั้น พระเสกขบุคคลเหล่านั้นย่อมบริโภคปัจจัยทั้งหลาย โดยฐานเป็นทายาทแห่งปัจจัยทั้งหลาย อันเป็นสมบัติของพระบิดา
การบริโภคปัจจัยของพระเสกขบุคคลทั้งหลาย ๗ จำพวก ชื่อว่า ⛯ ทายัชชบริโภค จริงอยู่ พระเสกขบุคคลเหล่านั้นเป็นพระบุตรของพระผู้มีพระภาค เพราะเหตุนั้น พระเสกขบุคคลเหล่านั้นย่อมบริโภคปัจจัยทั้งหลาย โดยฐานเป็นทายาทแห่งปัจจัยทั้งหลาย อันเป็นสมบัติของพระบิดา
ถาม - ก็พระเสกขบุคคลเหล่านั้น บริโภคปัจจัยทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคหรือ ? ไม่ใช่บริโภคปัจจัยทั้งหลายของคฤหัสถ์ดอกหรือ ?
ตอบ - แม้ปัจจัยทั้งหลายอันพวกคฤหัสถ์ถวายแล้ว ก็จัดเป็นของแห่งพระผู้มีพระภาค เพราะเป็นสิ่งอันพระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตไว้ เพราะเหตุนั้น นักศึกษาพึงทราบว่า พระเสกขบุคคลทั้งหลาย ย่อมบริโภคปัจจัยทั้งหลายของพระผู้มีพระภาค อนึ่ง ธัมมทายาทสูตร เป็นเครื่องสาธกในอธิการนี้
การบริโภคของพระขีณาสพทั้งหลาย ชื่อว่า ⛯ สามิบริโภค จริงอยู่ พระขีณาสพเหล่านั้นชื่อว่าบริโภคเป็นนาย เพราะล่วงพ้นความเป็นทาสของตัณหาไป ในการบริโภคเหล่านี้ สามิบริโภค ๑ ทายัชชบริโภค ๑ ย่อมสมควรแก่พระอริยะ และปุถุชนทั้งหมด อิณบริโภคไม่สมควรทั้งหมด ในเถยยบริโภคไม่จำมีอันพูดถึงกันละ อนึ่ง การบริโภคที่ได้พิจารณาแล้วของภิกษุผู้มีศีลนี้ใด การบริโภคนั้นจัดเป็นการบริโภคที่ไม่เป็นหนี้ เพราะเป็นข้าศึกแก่การบริโภคเป็นหนี้ หรือจะจัดสงเคราะห์เข้าในทายัชชบริโภคนั้นแหละก็ได้ จริงอยู่ แม้ภิกษุผู้มีศีลก็ย่อมถึงซึ่งอันนับเป็นเสกขะได้เหมือนกัน เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยศีลสิกขานี้
อนึ่ง ในบรรดาบริโภค๔ อย่างนี้ เพราะสามิบริโภคจัดเป็นการบริโภคชั้นยอด ฉะนั้น อันภิกษุเมื่อปรารถนาซึ่งสามิบริโภคนั้น พึงพิจารณาด้วยวิธีพิจารณาอันมีประการดังกล่าวมาแล้วจึงบริโภค พึงยังปัจจยสันนิสสตศีลให้สำเร็จเถิด ก็แหละ เมื่อภิกษุกระทำได้ ดังกล่าวมานี้ย่อมจัดว่าเป็นกิจจการี ผู้มีปกติกระทำกิจ
อนึ่ง ในบรรดาบริโภค๔ อย่างนี้ เพราะสามิบริโภคจัดเป็นการบริโภคชั้นยอด ฉะนั้น อันภิกษุเมื่อปรารถนาซึ่งสามิบริโภคนั้น พึงพิจารณาด้วยวิธีพิจารณาอันมีประการดังกล่าวมาแล้วจึงบริโภค พึงยังปัจจยสันนิสสตศีลให้สำเร็จเถิด ก็แหละ เมื่อภิกษุกระทำได้ ดังกล่าวมานี้ย่อมจัดว่าเป็นกิจจการี ผู้มีปกติกระทำกิจ
สมด้วยนิพนธพจน์อันบัณฑิต ประพันธ์ไว้ว่า :-
“พระสาวกผู้มีปัญญาอันประเสริฐได้สดับธรรมอันพระสุคตเจ้าทรงแสดงแล้ว พึ่งพิจารณาก่อนจึงเสพ บิณฑบาต วิหาร, ที่นอน, ที่นั่ง, และน้ำสำหรับซักล้างธุลีจับผ้าสังฆาฏิ เพราะเหตุนั้นแหละ ภิกษุจึงเป็นผู้ไม่ติดในปัจจยธรรมเหล่านี้ คือ บิณฑบาต, ที่นอน, ที่นั่งและน้ำสำหรับซักล้างธุลีจับผ้าสังฆาฏิ เหมือนหยาดน้ำไม่ติดในใบบัว ฉะนั้น ภิกษุนั้น ครั้นได้อาหารโดยการอนุเคราะห์จากคนอื่นตามกาลแล้วพึงเป็นผู้มีสติตั้งมั่นติดต่อกันไป รู้จักประมาณในของเคี้ยว, ของฉัน, และของลิ้มเลียทั้งหลายเหมือนคนไข้รู้จักประมาณในการทาแผลและพอกยา ฉะนั้น ภิกษุพึงเป็นผู้ไม่หลงติดฉันอาหารเพียงเพื่อยังอัตภาพให้เป็นไปเหมือนมารดาบิดากินเนื้อแห่งบุตรในทางกันดารและเหมือนพ่อค้าเกวียนหยอดน้ำมันเพลาเกวียน ฉะนั้น”
อนึ่ง ในความเป็นผู้กระทำปัจจยสันนิสสตศีลนี้ให้บริสุทธิ์ นักศึกษาจึงเล่าเรื่อง สามเณรสังฆรักขิตผู้หลานประกอบด้วย จริงอยู่ สามเณรนั้นพิจารณาโดยชอบแล้วจึงบริโภค สมดังคำประพันธ์ที่สามเณรนั้นกล่าวไว้ว่า :- “พระอุปัชฌายะได้สอนข้าพเจ้าซึ่งกำลังฉันข้าวสาลีอันเย็นสนิทว่า พ่อสามเณร เจ้าจงอย่าเป็นคนไม่สำรวม เผาลิ้นตัวเองเสียนะ ข้าพเจ้าได้ฟังคำสอนของพระอุปัชฌายะแล้ว ก็ได้ความสังเวชในขณะนั้น นั่งอยู่ที่อาสนะเดียวได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ข้าพเจ้านั้นเป็นผู้มีความดำริเต็มบริบูรณ์ เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญ เป็นผู้มีอาสวะทั้งปวงหมดสิ้นแล้ว บัดนี้ภพไม่มีอีกแล้ว เพราะเหตุนั้น กุลบุตรแม้อื่นปรารถนาความสิ้นไปแห่งทุกข์ จึงพิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงเสพปัจจัยทั้งหลายเถิด”