ปัญหาเรื่องศีล หน้าที่ ๒ กลับไป🔎หน้าแรก
ในบรรดาศีลเหล่านั้น อรรถาธิบายในส่วนแห่งศีลมีอย่างเดียว นักศึกษาพึงทราบ โดยนัยที่ได้กล่าวมาแล้วนั่นเทียว
อธิบายศีล ๒ อย่าง หมวดที่ ๑
ในส่วนแห่งศีลมี ๒ อย่าง มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ การบำเพ็ญสิกขาบทตามที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า สิ่งนี้ควรทำ ดังนี้ อันใด การบำเพ็ญสิกขาบทนั้นชื่อว่า จาริตตศีล การไม่ฝ่าฝืนสิกขาบทที่ทรงห้ามไว้ว่า สิ่งนี้ไม่ควรทำ ดังนี้ อันใดการไม่ฝ่าฝืนนั้นชื่อว่า วาริตตศีล ในศีล ๒ อย่างนั้น มีอรรถวิเคราะห์ถ้อยคำดังนี้
บุคคลทั้งหลายย่อมประพฤติในศีลนั้น คือเป็นไปด้วยความเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ฉะนั้นศีลนั้น ชื่อว่า จาริตตศีล แปลว่า ศีลเป็นที่ประพฤติตามของบุคคลทั้งหลาย, ย่อมป้องกันคือรักษา ซึ่งสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคทรงห้ามด้วยศีลนั้น ฉะนั้นศีลนั้น ชื่อว่า วาริตตศีล แปลว่า ศีลเป็นเครื่องป้องกันสิกขาบทที่ทรงห้าม, ในศีล ๒ อย่างนั้น จาริตตศีลสำเร็จด้วยศรัทธา และวีริยะ วาริตตศีลสำเร็จด้วยศรัทธา ศีล ๒ อย่างโดยแยกเป็นจาริตตศีลและวาริตตศีล ยุติด้วยประการฉะนี้
อธิบายศีล ๒ อย่าง หมวดที่ ๒
ในศีล ๒ อย่าง หมวดที่ ๒ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ คำว่า อภิสมาจาร ได้แก่ ความประพฤติอย่างสูง อภิสมาจารศัพท์นั่นแหละสำเร็จรูปเป็น อาภิสมาจาริก อีกอย่างหนึ่ง สิกขาบทที่ทรงบัญญัติปรารภอภิสมาจาร ชื่อว่า อาภิสมาจาริก คำว่า อาภิสมาจาริก นี้เป็นชื่อของศีลที่นอกเหนือไปจากอาชีวัฏฐมกศีล ศีลชื่อว่า อาทิพรหมจริยก เพราะเหตุว่า เป็นเบื้องต้นแห่งมรรคพรหมจรรย์ คำว่า อาทิพรหมจริยก นี้เป็นชื่อของ อาชีวัฏฐมกศีล เป็นความจริง ศีลนั้นมีภาวะเป็นเบื้องต้นของมรรค เพราะเป็นสิ่งที่จะต้องชำระให้บริสุทธิ์ในกาลอันเป็นส่วนเบื้องต้นนั่นเทียว เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสไว้ว่า
“ก็แหละ กายกรรม วจีกรรม อาชีพของภิกษุนั้น ย่อมเป็นสภาพบริสุทธิ์ด้วยดีในเบื้องต้น โดยแท้แล”
อีกประการหนึ่ง สิกขาบทเหล่าใดที่ตรัสไว้ว่าเป็นสิกขาบทเล็ก ๆ น้อย ๆ สิกขาบทนี้จัดเป็น อาภิสมาจาริกศีล สิกขาบทที่เหลือจัดเป็น อาทิพรหมจริยกศีล อีกประการหนึ่ง สิกขาบทที่นับเนื่องในอุภโตวิภังค์ (คำว่าอุภโตวิภังค์ ได้แก่วิภังค์ ๒ คือ ภิกขุวิภังค์และภิกขุนีวิภังค์) ชื่อว่า อาทิพรหมจริยกศีล สิกขาบทที่นับเนื่องในขันธกะและวัตรชื่อว่า อาภิสมาจาริกศีล อาทิพรหมจริยกศีลจะสำเร็จได้ก็ด้วยความสมบูรณ์แห่งอาภิสมาจาริกศีลนั้น เพราะเหตุฉะนั้นแหละ พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนา ไม่ทำอาภิสมาจาริกธรรมให้บริบูรณ์แล้วจักทำอาทิพรหมจริยกธรรมให้บริบูรณ์ดังนี้ ข้อนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้” ศีล ๒ อย่างโดยแยกเป็นอาภิสมาจาริกศีลและอาทิพรหมจริยกศีล ยุติด้วยประการฉะนี้
อธิบายศีล ๒ อย่าง หมวดที่ ๓
ในศีล ๒ อย่าง หมวดที่ ๓ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ ภาวะสักว่าความงดเว้นจากบาปธรรมทั้งหลาย มีปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่า วิรติศีล คุณธรรมที่เหลือมีเจตนาเป็นต้น ชื่อว่า อวิรติศีล ศีล ๒ อย่างโดยแยกเป็นวิรติศีลและอวิรติศีล ยุติด้วยประการฉะนี้
อธิบายศีล ๒ อย่าง หมวดที่ ๔
ในศีล ๒ อย่าง หมวดที่ ๔ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ คำว่า นิสสัย ได้แก่นิสสัย ๒ อย่าง คือ ตัณหานิสสัย ๑ ทิฏฐินิสสัย ๑ ในศีล ๒ อย่างนั้น ศีลใดที่บุคคลปรารถนาภวสมบัติให้เป็นไปอย่างนี้ว่า “เราจักได้เป็นเทพเจ้าหรือเทวดาตนใดตนหนึ่งด้วยศีลนี้” ศีลนี้ชื่อว่า ตัณหานิสสตศีล ศีลใดที่บุคคลให้เป็นไปด้วยทิฏฐิล้วน ๆ อย่างนี้ว่า “เราจักเป็นผู้บริสุทธิ์ด้วยศีลนี้” ศีลนี้ชื่อว่า ทิฏฐินิสสตศีล ส่วนศีลใดที่เป็นโลกุตตรศีล และเป็นโลกิยศีลแต่เป็นเหตุแห่งโลกุตตรศีลนั้น เฉพาะศีลนี้ชื่อว่า อนิสสิตศีล ศีล ๒ อย่างโดยแยกเป็นนิสสตศีลและอนิสสตศีล ยุติด้วยประการฉะนี้
อธิบายศีล ๒ อย่าง หมวดที่ ๕
ในศีล ๒ อย่าง หมวดที่ ๕ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ ศีลที่บุคคลสมาทาน กำหนดเวลาชื่อว่า กาลปริยันตศีล ศีลที่บุคคลสมาทานตลอดชีวิตแล้วคงให้ดำเนิน ไปได้เหมือนอย่างนั้น ชื่อว่า อาปาณโกฏิกศีล ศีล ๒ อย่างโดยแยกเป็นกาลปริยันตศีลและอาปาณโกฏิกศีล ยุติด้วยประการฉะนี้
อธิบายศีล ๒ อย่าง หมวดที่ ๖
ในศีล ๒ อย่าง หมวดที่ ๖ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ ศีลที่มีความเห็นด้วยสามารถแห่งลาภ, ยศ, ญาติ, อวัยวะและชีวิตเป็นที่สุด ชื่อว่า สปริยันตศีล ศีลที่ตรงกันข้าม ชื่อว่า อปริยันตศีล สมจริงดังที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีปุตตะกล่าวไว้ในคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรคว่า “ศีลมีที่สุดนั้นเป็นอย่างไร ? ศีลมีลาภเป็นที่สุดมีอยู่ ศีลมียศเป็นที่สุดมีอยู่ ศีลมีญาติเป็นที่สุดมีอยู่ ศีลมีอวัยวะเป็นที่สุดมีอยู่ ศีลมีชีวิตเป็นที่สุดมีอยู่ ศีลมีลาภเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ตนสมาทานแล้ว เพราะลาภเป็นเหตุ เพราะลาภเป็นปัจจัยเพราะลาภเป็นตัวการ นี้ชื่อว่า ศีลมีลาภเป็นที่สุดนั้น”
แม้ศีลทั้งหลายนอกนี้ นักศึกษาก็พึงอธิบายให้พิสดาร โดยทำนองนี้นั่นเทียว แม้ในอธิการวิสัชนาอปริยันตศีลท่านพระธรรมเสนาบดีสารีปุตตะก็ได้กล่าวไว้ว่า “ศีลที่มิใช่มีลาภเป็นที่สุดนั้น เป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ แม้แต่จิตก็ไม่ให้เกิดขึ้นเพื่อล่วงละเมิดสิกขาบทตามที่ตนสมาทานแล้ว เพราะลาภเป็นเหตุ เพราะลาภเป็นปัจจัย เพราะลาภเป็นตัวการ ไฉนเขาจักล่วงละเมิด นี้ชื่อว่า ศีลมิใช่มีลาภเป็นที่สุดนั้นๆ แม้ศีลทั้งหลายนอกนี้นักศึกษาก็พึ่งอธิบายให้พิสดารโดยทำนองนี้นั่นเทียว ศีล ๒ อย่างโดยแยกเป็นสปริยันตศีลและอปริยันตศีล ยุติด้วยประการฉะนี้
อธิบายศีล ๒ อย่าง หมวดที่ ๗
ในศีล ๒ อย่าง หมวดที่ ๗ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ ศีลที่ประกอบด้วยอาสวะแม้ทุกประเภท ชื่อว่า โลกิยศีล ศีลที่ไม่ประกอบด้วยอาสวะ ชื่อว่า โลกุตตรศีล ในศีล ๒ อย่างนั้น โลกิยศีลย่อมนำมาซึ่งภพชั้นวิเศษ และเป็นเหตุแห่งอันออกจากภพด้วย สมดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า
“วินัยเพื่อประโยชน์แก่ความสังวร ความสังวรเพื่อประโยชน์แก่ความไม่เดือดร้อนใจ ความไม่เดือดร้อนใจเพื่อประโยชน์แก่ความปราโมช ความปราโมชเพื่อประโยชน์แก่ปีติ ปีติเพื่อประโยชน์แก่ความสงบใจ ความสงบใจเพื่อประโยชน์แก่ความสุข ความสุขเพื่อประโยชน์แก่สมาธิ สมาธิเพื่อประโยชน์แก่ยถาภูตญาณทัสสนะ ยถาภูตญาณทัสสนะเพื่อประโยชน์แก่นิพพิทา นิพพิทาเพื่อประโยชน์แก่วิราคะ วิราคะเพื่อประโยชน์แก่วิมุตติ วิมุตติ เพื่อประโยชน์แก่วิมุตติญาณทัสสนะ วิมุตติญาณทัสสนะเพื่อประโยชน์แก่อนุปาทานปรินิพพาน การหลุดพ้นแห่งอนุปาทาจิตนี้ใด การพูดวินัยก็มีการหลุดพ้นแห่ง อนุปาทาจิตนั้นเป็นประโยชน์ การปรึกษาวินัยก็มีการหลุดพ้นแห่งอนุปาทาจิตนั้นเป็นประโยชน์ การเข้าไปอิงวินัยก็มีการหลุดพ้นแห่งอนุปาทาจิตนั้นเป็นประโยชน์ การเงี่ยโสตลงฟังวินัยก็มีการหลุดพ้นแห่งอนุปาทาจิตนั้นเป็นประโยชน์ "
“วินัยเพื่อประโยชน์แก่ความสังวร ความสังวรเพื่อประโยชน์แก่ความไม่เดือดร้อนใจ ความไม่เดือดร้อนใจเพื่อประโยชน์แก่ความปราโมช ความปราโมชเพื่อประโยชน์แก่ปีติ ปีติเพื่อประโยชน์แก่ความสงบใจ ความสงบใจเพื่อประโยชน์แก่ความสุข ความสุขเพื่อประโยชน์แก่สมาธิ สมาธิเพื่อประโยชน์แก่ยถาภูตญาณทัสสนะ ยถาภูตญาณทัสสนะเพื่อประโยชน์แก่นิพพิทา นิพพิทาเพื่อประโยชน์แก่วิราคะ วิราคะเพื่อประโยชน์แก่วิมุตติ วิมุตติ เพื่อประโยชน์แก่วิมุตติญาณทัสสนะ วิมุตติญาณทัสสนะเพื่อประโยชน์แก่อนุปาทานปรินิพพาน การหลุดพ้นแห่งอนุปาทาจิตนี้ใด การพูดวินัยก็มีการหลุดพ้นแห่ง อนุปาทาจิตนั้นเป็นประโยชน์ การปรึกษาวินัยก็มีการหลุดพ้นแห่งอนุปาทาจิตนั้นเป็นประโยชน์ การเข้าไปอิงวินัยก็มีการหลุดพ้นแห่งอนุปาทาจิตนั้นเป็นประโยชน์ การเงี่ยโสตลงฟังวินัยก็มีการหลุดพ้นแห่งอนุปาทาจิตนั้นเป็นประโยชน์ "
โลกุตตรศีล ย่อมนำมาซึ่งการออกจากภพและเป็นภูมิแห่งปัจจเวกขณญาณด้วย ศีล ๒ อย่างโดยแยกเป็นโลกิยศีลและโลกุตตรศีล ยุติด้วยประการฉะนี้
อธิบายศีล ๓ อย่าง หมวดที่ ๑
ในบรรดาศีล ๓ อย่าง มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ ในศีลหมวดที่ ๑ ความว่า ศีลที่บุคคลประพฤติเป็นไปด้วยฉันทะ วิริยะ จิตตะ หรือวิมังสา ชั้นต่ำชื่อว่า หีนศีล ศีลที่บุคคลประพฤติเป็นไป ด้วยอิทธิบาทธรรมทั้งหลายมีฉันทะเป็นต้น ชั้นปานกลาง ชื่อว่า มัชฌิมศีล ศีลที่บุคคลประพฤติเป็นไปด้วยอิทธิบาทธรรมทั้งหลายชั้นประณีต ชื่อว่า ปณีตศีล
อีกอย่างหนึ่ง ศีลที่บุคคลสมาทานด้วยความเป็นผู้ใคร่ยศ ชื่อว่า หีนศีล ศีลที่บุคคลสมาทานด้วยความเป็นผู้ใคร่ผลบุญ ชื่อว่า มัชฌิมศีล ศีลที่บุคคลสมาทานเพราะอาศัยอริยภาพว่า ศีลนี้เป็นสิ่งที่ควรทำ ชื่อว่า ปณีตศีล
อีกอย่างหนึ่ง ศีลที่หม่นหมองไปด้วยบาปธรรมทั้งหลาย มีการยกตนและข่มผู้อื่นเป็นต้นอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ส่วนภิกษุอื่น ๆ นี้นั้นเป็นผู้ทุศีลมีบาปธรรม ชื่อว่า หีนศีล ศีลที่ไม่หม่นหมองอย่างนั้นแต่เป็นชั้นโลกิยะ ชื่อว่ามัชฌิมศีล ศีลชั้นโลกุตตระ ชื่อว่า ปณีตศีล
อีกอย่างหนึ่ง ศีลที่หม่นหมองไปด้วยบาปธรรมทั้งหลาย มีการยกตนและข่มผู้อื่นเป็นต้นอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ส่วนภิกษุอื่น ๆ นี้นั้นเป็นผู้ทุศีลมีบาปธรรม ชื่อว่า หีนศีล ศีลที่ไม่หม่นหมองอย่างนั้นแต่เป็นชั้นโลกิยะ ชื่อว่ามัชฌิมศีล ศีลชั้นโลกุตตระ ชื่อว่า ปณีตศีล
อีกอย่างหนึ่ง ศีลที่บุคคลประพฤติเป็นไปเพื่อต้องการภวสมบัติและโภคสมบัติด้วยอำนาจแห่งตัณหา ชื่อว่า หีนศีล ศีลที่บุคคลประพฤติเป็นไปเพื่อต้องการความหลุดพ้นสำหรับตน ชื่อว่า มัชฌิมศีล ปารมิตาศีลที่พระโพธิสัตว์ประพฤติเป็นไปเพื่อต้องการความหลุดพ้นสำหรับสรรพสัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า ปณีตศีล
ศีล ๓ อย่างโดยแยกเป็นหีนศีล, มัชฌิมศีลและปณีตศีล ยุติด้วยประการฉะนี้
อธิบายศีล ๓ อย่าง หมวดที่ ๒
ในศีล ๓ อย่าง หมวดที่ ๒ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ ศีลที่บุคคลผู้ใคร่เพื่อจะสละทิ้งสิ่งซึ่งไม่สมควรแก่ตน ผู้มีตนเป็นที่เคารพ ประพฤติเป็นไปแล้วด้วยความคารวะในตน ชื่อว่า อัตตาธิปไตยศีล ศีลที่บุคคลผู้ใคร่เพื่อจะหลีกเลี่ยงการตำหนิของชาวโลก ผู้มีโลกเป็นที่เคารพ ประพฤติเป็นไปแล้วด้วยความคารวะในโลก ชื่อว่าโลกาธิปไตยศีล ศีลที่บุคคลผู้ใคร่เพื่อจะบูชาความยิ่งใหญ่ของธรรม ผู้มีธรรมเป็นที่เคารพ ประพฤติเป็นไปแล้วด้วยความคารวะในธรรม ชื่อว่า ธัมมาธิปไตยศีล ศีล ๒ อย่าง โดยแยกเป็นอัตตาธิปไตยศีลเป็นต้น ยุติด้วยประการฉะนี้
อธิบายศีล ๓ อย่าง หมวดที่ ๓
ในศีล ๓ อย่าง หมวดที่ ๓ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ ศีลใดที่ข้าพเจ้าเรียกว่านิสสตศีลในหมวด ๒ ศีลนั้นชื่อว่า ปรามัฏฐศีล เพราะอันตัณหาและทิฏฐิถูกต้องแล้วล ศีลอันเป็นเหตุแห่งมัคคญาณของกัลยาณปุถุชน และประกอบด้วยมัคคญาณของพระเสกขบุคคลทั้งหลาย ชื่อว่า อปรามัฏฐศีล ศีลอันประกอบด้วยผลญาณของพระเสกขะและพระอเสกขบุคคลทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิปัสสัทธิศีล ศีล ๓ อย่างโดยแยกเป็นปรามัฏฐศีลเป็นต้น ยุติด้วยประการฉะนี้
อนึ่ง ภิกษุใดในศาสนานี้ ผู้มีศีลสมบูรณ์แล้ว ยังพยายามเพื่อต้องการสมาธิต่อไปอีก ศีลของภิกษุนี้ จัดเป็นวิเสสภาคิยศีล
“อานนท์ในกาลใดพระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดา ความพอพระทัยในบุรุษอันประกอบด้วยกามคุณ ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่พระมารดาพระโพธิสัตว์”
ดังนี้ ศีลนี้จัดเป็นธัมมตาศีล อนึ่ง ศีลในชาตินั้น ๆ ของจำพวกสัตว์ผู้บริสุทธิ์ เช่นพระมหากัสสปะเป็นต้นและของพระโพธิสัตว์ จัดเป็น ปุพพเหตุกศีล ศีล ๔ อย่างโดยแยกเป็นปกติศีลเป็นต้น ยุติด้วยประการฉะนี้
อนึ่ง การวิรัติจากมิจฉาอาชีพอันใด ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจแห่งการล่วงละเมิดซึ่งสิกขาบท ๖ ประการ ที่ทรงบัญญัติไว้เพราะมีอาชีวะเป็นเหตุ และด้วยอำนาจแห่งบาปธรรมทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ คือ “การหลอกลวง การพูดเลาะเล็ม การกระทำนิมิต การด่าแช่ง การแสวงหาลาภด้วยลาภ” นี้จัดเป็น อาชีวปาริสุทธิศีล
อธิบายศีล ๔ อย่าง หมวดที่ ๑
ในบรรดาศีล ๔ ทั้งหลาย ศีล ๔ อย่าง หมวดที่ ๑ มีอรรถาธิบายดังต่อ
ไปนี้ ภิกษุใดในศาสนานี้ ชอบคบแต่พวกภิกษุทุศีล ไม่ชอบคบพวกภิกษุมีศีล มองไม่เห็นโทษในการล่วงละเมิดวัตถุเป็นผู้โง่เซอะ มากไปด้วยความดำริผิด ไม่รักษาอินทรีย์ทั้งหลาย ศีลของภิกษุเช่นนี้นั่นแล จัดเป็นหานภาคิยศีล ส่วนภิกษุใดในศาสนานี้ เป็นผู้พอใจอยู่ด้วยศีลสมบัติไม่ทำความพอใจให้เกิดขึ้นในการบำเพ็ญกัมมัฏฐานเนือง ๆ ศีลของภิกษุนั้นผู้ยินดีเฉพาะเพียงแค่ศีล ไม่พยายามเพื่อคุณเบื้องสูงขึ้นไป จัดเป็นฐิติภาคิยศีล
อนึ่ง ภิกษุใดในศาสนานี้ ผู้มีศีลสมบูรณ์แล้ว ยังพยายามเพื่อต้องการสมาธิต่อไปอีก ศีลของภิกษุนี้ จัดเป็นวิเสสภาคิยศีล
อนึ่ง ภิกษุใดในศาสนานี้ ไม่ยินดีอยู่แต่เฉพาะแค่ศีลสมบัติ ย่อมประกอบเนือง ๆ ซึ่งนิพพิทา คือวิปัสสนาต่อไป ศีล ของภิกษุนี้ จัดเป็นนิพเพธภาคิยศีล ศีล ๔ อย่างโดยจำแนกเป็นหานภาคิยศีลเป็นต้น ยุติด้วยประการฉะนี้
อธิบายศีล ๔ อย่าง หมวดที่ ๒
ในศีล ๔ อย่าง หมวดที่ ๒ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ สิกขาบททั้งหลายที่ทรงบัญญัติปรารภเฉพาะพวกภิกษุ และสิกขาบทเหล่าใดที่พวกภิกษุเหล่านั้นจะต้องรักษานอกเหนือจากบทบัญญัติของภิกษุณีทั้งหลาย นี้ชื่อว่า ภิกขุศีล สิกขาบททั้งหลายที่ทรงบัญญัติปรารภเฉพาะพวกภิกษุณี และสิกขาบทเหล่าใดที่พวกภิกษุณีจะต้องรักษานอกเหนือจากบทบัญญัติของภิกษุทั้งหลาย นี้ชื่อว่า ภิกขุนีศีล ศีล ๑๐ ประการของสามเณรและสามเณรี ชื่อว่า อนุปสัมปันนศีล สิกขาบท ๕ ประการด้วยอำนาจแห่งนิจศีล หรือในเมื่อมีความอุตสาหะ ก็สิกขาบท ๑๐ ประการ และสิกขาบท ๘ ประการด้วยสามารถองค์แห่งอุโบสถ สำหรับอุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลาย นี้ชื่อว่า คหัฏฐศีล ศีล ๔ อย่างโดยแยกเป็นภิกขุศีลเป็นต้น ยุติด้วยประการฉะนี้
อธิบายศีล ๔ อย่าง หมวดที่ ๓
ในศีล ๔ อย่าง หมวดที่ ๓ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ การไม่ล่วงละเมิด (เบญจศีล) ของพวกมนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปทั้งหลาย จัดเป็น ปกติศีล จารีต ประเพณีในขอบเขตของตน ๆ ของตระกูลของตำบลและของลัทธิเดียรถีย์ทั้งหลายจัดเป็น อาจารศีล ศีลพระมารดาของพระโพธิสัตว์ที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า
“อานนท์ในกาลใดพระโพธิสัตว์เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดา ความพอพระทัยในบุรุษอันประกอบด้วยกามคุณ ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่พระมารดาพระโพธิสัตว์”
ดังนี้ ศีลนี้จัดเป็นธัมมตาศีล อนึ่ง ศีลในชาตินั้น ๆ ของจำพวกสัตว์ผู้บริสุทธิ์ เช่นพระมหากัสสปะเป็นต้นและของพระโพธิสัตว์ จัดเป็น ปุพพเหตุกศีล ศีล ๔ อย่างโดยแยกเป็นปกติศีลเป็นต้น ยุติด้วยประการฉะนี้
อธิบายศีล ๔ อย่าง หมวดที่ ๔
ในศีล ๔ อย่าง หมวดที่ ๔ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ ศีลใดที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้อย่างนี้ว่า “ภิกษุในศาสนานี้เป็นผู้สำรวมด้วยความสังวรคือปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจารและโคจร มีปกติมองเห็นภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย” ศีลนี้ชื่อว่า ปาติโมกขสังวรศีล
อนึ่ง ศีลใดที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ยึดถือซึ่งนิมิต ไม่ยึดถือซึ่งอนุพยัญชนะ อกุศลบาปธรรมทั้งหลายคืออภิชฌาและโทมนัสย่อมไหลไปสู่ภิกษุนั้นผู้ไม่สำรวมซึ่งจักขุนทรีย์เพราะมีจักขุนทรีย์ใดเป็นเหตุ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสังวรซึ่งจักขุนทรีย์นั้น ย่อมรักษาซึ่งจักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสังวรในจักขุนทรีย์, ได้ยินเสียงด้วยโสตะแล้วได้ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้วได้ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว...ได้สัมผัสโผฏฐพพะด้วยกายแล้วได้รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วย่อมไม่ยึดถือ
อนึ่ง ศีลใดที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า “ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ยึดถือซึ่งนิมิต ไม่ยึดถือซึ่งอนุพยัญชนะ อกุศลบาปธรรมทั้งหลายคืออภิชฌาและโทมนัสย่อมไหลไปสู่ภิกษุนั้นผู้ไม่สำรวมซึ่งจักขุนทรีย์เพราะมีจักขุนทรีย์ใดเป็นเหตุ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสังวรซึ่งจักขุนทรีย์นั้น ย่อมรักษาซึ่งจักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสังวรในจักขุนทรีย์, ได้ยินเสียงด้วยโสตะแล้วได้ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้วได้ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว...ได้สัมผัสโผฏฐพพะด้วยกายแล้วได้รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วย่อมไม่ยึดถือ
ซึ่งนิมิต...ย่อมถึงซึ่งความสังวรในมนินทรีย์” ฉะนี้ ศีลนี้จัดเป็น อินทรียสังวรศีล
อนึ่ง การวิรัติจากมิจฉาอาชีพอันใด ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจแห่งการล่วงละเมิดซึ่งสิกขาบท ๖ ประการ ที่ทรงบัญญัติไว้เพราะมีอาชีวะเป็นเหตุ และด้วยอำนาจแห่งบาปธรรมทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ คือ “การหลอกลวง การพูดเลาะเล็ม การกระทำนิมิต การด่าแช่ง การแสวงหาลาภด้วยลาภ” นี้จัดเป็น อาชีวปาริสุทธิศีล
การบริโภคปัจจัย ๔ อันบริสุทธิ์ด้วยการพิจารณา ที่ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า “ภิกษุพิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงใช้สอยจีวร เพียงเพื่อกำจัดเสียซึ่งความเย็น" ฉะนี้ จัดเป็น ปัจจยสันนิสสตศีล