อธิบายปัจจยสันนิสสิตศีล
อนึ่ง ใน ปัจจยสันนิสสตศีล ซึ่งตรัสไว้ในลำดับแห่งอาชีวปาริสุทธิศีลนี้นั้น มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้ :-
🔅อธิบายบทจีวร
คำว่า พิจารณาแล้วโดยแยบคาย ความว่า พิจารณาแล้ว รู้แล้ว คือเห็นประจักษ์แล้ว โดยอุบายคือโดยถูกทาง จริงอยู่ การพิจารณาที่กล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า เพื่อบำบัดความเย็น ดังนี้นั่นเอง นักศึกษาพึงทราบว่า พิจารณาแล้วโดยแยบคาย ณ ที่นี้ ในคำเหล่านี้ คำว่า จีวร ได้แก่ผ้าผืนใดผืนหนึ่งในบรรดาผ้า ๓ ผืน มีผ้าอันตรวาสกเป็นต้น คำว่า ย่อมเสพ คือย่อมใช้สอย ได้แก่นุ่งหรือห่ม คำว่า ยาวเทว เป็นคำกำหนดเขตแห่งประโยชน์อย่างแน่นอน จริงอยู่ ประโยชน์ในการเสพจีวรของโยคีบุคคลมีกำหนดเพียงเท่านี้ คือประโยชน์มีว่า เพื่อบำบัดความเย็น เป็นต้นนี้ ไม่ยิ่งไปกว่านี้
บทว่า ซึ่งความเย็น ความว่า ซึ่งความเย็นอย่างใด อย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้นเพราะเหตุที่ธาตุภายในกำเริบบ้าง เพราะเหตุที่อุตุภายนอกเปลี่ยนแปลงไปบ้าง
บทว่า เพื่อบำบัด ความว่า เพื่อบรรเทาคือเพื่อบรรเทาเสีย ซึ่งความเย็นนั้น โดยประการที่จะไม่ให้มันทำความอาพาธให้เกิดขึ้นในร่างกาย จริงอยู่ โยคีบุคคลผู้มีจิตฟุ้งไปในเพราะเหตุร่างกายกระทบความเย็น ย่อมไม่อาจที่จะตั้งความเพียรโดยแยบคายได้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตว่า ภิกษุพึงเสพจีวรเพื่อบำบัดความเย็น ดังนี้ นักศึกษาพึงทราบนัยในประโยชน์ที่เหลือทั้งหมดเช่นเดียวกันนี้ เพราะในบทนี้มีอรรถาธิบายอย่างครบถ้วน
บทว่า ซึ่งความร้อน ความว่า ซึ่งความร้อน อันเกิดแต่ไฟ นักศึกษาพึงทราบแดนที่เกิดของความร้อนนั้นในเพราะไฟป่าเป็นต้นก็มี อนึ่ง ในบทว่า ฑํสมกสวาตาตปสิรึสปสมฺผสฺสานํ นี้ มีอรรถาธิบายดังนี้
บทว่า ฑํสา แปลว่า เหลือบ บางอาจารย์กล่าวว่า ได้แก่แมลงวันหัวเขียวก็มี
บทว่า มกสา ได้แก่ ยุงโดยเฉพาะ
บทว่า วาตา ได้แก่ ลมทั้งหลายอันต่างด้วยลมปนฝุ่น และไม่ใช่ลมปนฝุ่นเป็นต้น
บทว่า อาตาป ได้แก่แสงอาทิตย์ สัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่งเสือกคลานไปมีตัวยาวเช่นงูเป็นต้น ชื่อว่า สิรึสป สัมผัสของสัตว์เหล่านั้นมี ๒ อย่าง คือ สัมผัสด้วยการกัด ๑ สัมผัสด้วยการถูกต้อง๑ แม้สัมผัสนั้นย่อมเบียดเบียนภิกษุผู้นุ่งห่มจีวรแล้วไม่ได้ เพราะฉะนั้นภิกษุจึงเสพจีวรเพื่อประโยชน์จะป้องกันสัมผัสทั้งหลาย ในสถานที่ทั้งหลายเช่นนั้น ตรัสคำว่า ยาวเทว ซ้ำอีก ก็เพื่อแสดงถึงกำหนดเขตประโยชน์ที่แน่นอนของจีวรนั้น จริงอยู่ การปกปิดอวัยวะส่วนที่ทำให้ความละอายสูญหายนับเป็นประโยชน์ที่แน่นอน ส่วนประโยชน์นอกนั้น เช่น การบำบัดความเย็นเป็นต้น ย่อมมีได้เป็นบางครั้งบางคราว อวัยวะที่แคบ ๆ นั้น ชื่อว่า หิริโกปิน
บทว่า ซึ่งความเย็น ความว่า ซึ่งความเย็นอย่างใด อย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้นเพราะเหตุที่ธาตุภายในกำเริบบ้าง เพราะเหตุที่อุตุภายนอกเปลี่ยนแปลงไปบ้าง
บทว่า เพื่อบำบัด ความว่า เพื่อบรรเทาคือเพื่อบรรเทาเสีย ซึ่งความเย็นนั้น โดยประการที่จะไม่ให้มันทำความอาพาธให้เกิดขึ้นในร่างกาย จริงอยู่ โยคีบุคคลผู้มีจิตฟุ้งไปในเพราะเหตุร่างกายกระทบความเย็น ย่อมไม่อาจที่จะตั้งความเพียรโดยแยบคายได้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงทรงอนุญาตว่า ภิกษุพึงเสพจีวรเพื่อบำบัดความเย็น ดังนี้ นักศึกษาพึงทราบนัยในประโยชน์ที่เหลือทั้งหมดเช่นเดียวกันนี้ เพราะในบทนี้มีอรรถาธิบายอย่างครบถ้วน
บทว่า ซึ่งความร้อน ความว่า ซึ่งความร้อน อันเกิดแต่ไฟ นักศึกษาพึงทราบแดนที่เกิดของความร้อนนั้นในเพราะไฟป่าเป็นต้นก็มี อนึ่ง ในบทว่า ฑํสมกสวาตาตปสิรึสปสมฺผสฺสานํ นี้ มีอรรถาธิบายดังนี้
บทว่า ฑํสา แปลว่า เหลือบ บางอาจารย์กล่าวว่า ได้แก่แมลงวันหัวเขียวก็มี
บทว่า มกสา ได้แก่ ยุงโดยเฉพาะ
บทว่า วาตา ได้แก่ ลมทั้งหลายอันต่างด้วยลมปนฝุ่น และไม่ใช่ลมปนฝุ่นเป็นต้น
บทว่า อาตาป ได้แก่แสงอาทิตย์ สัตว์ชนิดใดชนิดหนึ่งเสือกคลานไปมีตัวยาวเช่นงูเป็นต้น ชื่อว่า สิรึสป สัมผัสของสัตว์เหล่านั้นมี ๒ อย่าง คือ สัมผัสด้วยการกัด ๑ สัมผัสด้วยการถูกต้อง๑ แม้สัมผัสนั้นย่อมเบียดเบียนภิกษุผู้นุ่งห่มจีวรแล้วไม่ได้ เพราะฉะนั้นภิกษุจึงเสพจีวรเพื่อประโยชน์จะป้องกันสัมผัสทั้งหลาย ในสถานที่ทั้งหลายเช่นนั้น ตรัสคำว่า ยาวเทว ซ้ำอีก ก็เพื่อแสดงถึงกำหนดเขตประโยชน์ที่แน่นอนของจีวรนั้น จริงอยู่ การปกปิดอวัยวะส่วนที่ทำให้ความละอายสูญหายนับเป็นประโยชน์ที่แน่นอน ส่วนประโยชน์นอกนั้น เช่น การบำบัดความเย็นเป็นต้น ย่อมมีได้เป็นบางครั้งบางคราว อวัยวะที่แคบ ๆ นั้น ชื่อว่า หิริโกปิน
ในบทว่า หิริโกปินปฏิจฺฉาทนํ นั้น จริงอยู่ เมื่อองค์อวัยวะส่วนใด ๆ ถูกปิดอยู่ความละอายย่อมสูญย่อมหายไป องค์อวัยวะส่วนนั้น ๆ ท่านเรียกว่า หิริโกปิน เพราะเป็นเหตุทำให้ความละอายสูญหายไป แหละที่เรียกว่า หิริโกปินปฏิจฺฉาทนตถํ เพราะอรรถว่า เพื่อปกปิดอวัยวะส่วนที่ทำให้ความละอายสูญหายไปนั้น พระบาลีว่า หิริโกปินํ ปฏิจฺฉาทนตฺถํ ดังนี้ก็มี
คำว่า ซึ่งบิณฑบาต คือซึ่งอาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง จริงอยู่ อาหารชนิดใดชนิดหนึ่ง ท่านเรียกว่า บิณฑบาต เพราะอาหารนั้นตกลงในบาตรด้วยภิกขาจารวัตรของภิกษุ อีกอย่างหนึ่ง ความตกลงแห่งก้อนข้าวทั้งหลายชื่อว่า บิณฑบาต อธิบายว่า ได้แก่ ความรวมกันความเป็นกลุ่มกันแห่งภิกษาหารทั้งหลายที่ภิกษุได้แล้ว ณ ที่นั้น ๆ
คำว่า ไม่ใช่เพื่อเล่น อธิบายว่า เพื่อเล่นคือทำเป็นเครื่องหมายกีฬา เหมือนอย่างพวกเด็กชาวบ้านเป็นต้น หามิได้
คำว่า ไม่ใช่เพื่อความเมา อธิบายว่า เพื่อความเมาคือเป็นเครื่องหมายของความเมากำลังและเป็นเครื่องหมายความเมาของความเป็นบุรุษ เหมือนพวกนักมวยเป็นต้น หามิได้
คำว่า ไม่ใช่เพื่อประดับ อธิบายว่า เพื่อประดับคือเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นผู้มีองค์อวัยวะน้อยใหญ่ อิ่มเต็ม เหมือนกับพวกหญิงชาววังและหญิงแพศยาเป็นต้น หามิได้
คำว่า ไม่ใช่เพื่อ ตกแต่ง อธิบายว่า เพื่อตกแต่งคือเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นผู้มีผิวพรรณผ่องใส เหมือนพวกหญิงละครและพวกหญิงช่างฟ้อนเป็นต้น หามิได้
คำว่า ไม่ใช่เพื่อความเมา อธิบายว่า เพื่อความเมาคือเป็นเครื่องหมายของความเมากำลังและเป็นเครื่องหมายความเมาของความเป็นบุรุษ เหมือนพวกนักมวยเป็นต้น หามิได้
คำว่า ไม่ใช่เพื่อประดับ อธิบายว่า เพื่อประดับคือเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นผู้มีองค์อวัยวะน้อยใหญ่ อิ่มเต็ม เหมือนกับพวกหญิงชาววังและหญิงแพศยาเป็นต้น หามิได้
คำว่า ไม่ใช่เพื่อ ตกแต่ง อธิบายว่า เพื่อตกแต่งคือเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นผู้มีผิวพรรณผ่องใส เหมือนพวกหญิงละครและพวกหญิงช่างฟ้อนเป็นต้น หามิได้
ก็แหละ ในบรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ไม่ใช่เพื่อเล่น นี้ พระผู้มีพระภาคตรัสไว้เพื่อประหานอุปนิสัยแห่งโมหะ
คำว่า ไม่ใช่เพื่อความเมา นี้ ตรัสไว้เพื่อประหานอุปนิสสัยแห่งโทสะ
๒ คำว่า ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง นี้ ตรัสไว้เพื่อ ประหานอุปนิสสัยแห่งราคะ
อนึ่ง ๒ คำว่า ไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อความเมา นี้ตรัสไว้เพื่อป้องกันการบังเกิดขึ้นแห่งสังโยชน์ของตน ๒ คำว่า ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง นี้ ตรัสไว้เพื่อป้องกันการบังเกิดขึ้นแห่งสังโยชน์แม้ของผู้อื่น อนึ่ง นักศึกษาพึงทราบว่า การประหานซึ่งข้อปฏิบัติโดยไม่แยบคายและกามสุขัลลิกานุโยค พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วแม้ด้วยบททั้ง ๔ บทนี้
คำว่า ไม่ใช่เพื่อความเมา นี้ ตรัสไว้เพื่อประหานอุปนิสสัยแห่งโทสะ
๒ คำว่า ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง นี้ ตรัสไว้เพื่อ ประหานอุปนิสสัยแห่งราคะ
อนึ่ง ๒ คำว่า ไม่ใช่เพื่อเล่น ไม่ใช่เพื่อความเมา นี้ตรัสไว้เพื่อป้องกันการบังเกิดขึ้นแห่งสังโยชน์ของตน ๒ คำว่า ไม่ใช่เพื่อประดับ ไม่ใช่เพื่อตกแต่ง นี้ ตรัสไว้เพื่อป้องกันการบังเกิดขึ้นแห่งสังโยชน์แม้ของผู้อื่น อนึ่ง นักศึกษาพึงทราบว่า การประหานซึ่งข้อปฏิบัติโดยไม่แยบคายและกามสุขัลลิกานุโยค พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วแม้ด้วยบททั้ง ๔ บทนี้
บทว่า ยาวเทว มีอรรถาธิบายดังกล่าวมาแล้วนั่นแล
คำว่า แห่งกายนี้ คือ แห่งรูปกายอันประกอบด้วยมหาภูตทั้ง ๔ นี้
คำว่า เพื่อดำรงอยู่ คือเพื่อความดำรงอยู่สืบเนื่องกันไป
คำว่า เพื่อความเป็นไป คือเพื่อต้องการแก่ความเป็นไปอย่าง
คำว่า แห่งกายนี้ คือ แห่งรูปกายอันประกอบด้วยมหาภูตทั้ง ๔ นี้
คำว่า เพื่อดำรงอยู่ คือเพื่อความดำรงอยู่สืบเนื่องกันไป
คำว่า เพื่อความเป็นไป คือเพื่อต้องการแก่ความเป็นไปอย่าง
ไม่ขาดสายหรือเพื่อดำรงอยู่ตลอดกาลยาวนาน จริงอยู่ ภิกษุนี้ย่อมเสพบิณฑบาตเพื่อความดำรงอยู่และเพื่อความเป็นไปของกาย เหมือนเจ้าของเรือนที่ทรุดโทรมทำการค้ำจุนเรือน และเหมือนพ่อค้าเกวียนทำการหยอดเพลาเกวียน ฉะนั้น ไม่ใช่เสพบิณฑบาตเพื่อเล่นเพื่อความเมาเพื่อประดับและเพื่อตกแต่ง
อีกประการหนึ่งคำว่า ฐิติ ที่แปลว่า ความดำรงอยู่นี้ เป็นชื่อของอินทรีย์คือชีวิต เพราะเหตุนั้น นักศึกษาพึงทราบว่า ด้วยคำว่า เพื่อความดำรงอยู่ เพื่อความเป็นไปแห่งกายนี้ เพียงเท่านี้ จะอธิบายว่า เพื่อยังอินทรีย์คือชีวิตแห่งกายนี้ให้เป็นไปดังนี้ก็ได้ คำว่า เพื่อระงับความเบียดเบียน มีอรรถาธิบายว่า ความหิวชื่อว่า วิหึส โดยอรรถว่า เบียดเบียน ภิกษุนี้ย่อมเสพบิณฑบาตแม้เพื่อระงับความเบียดเบียนนั้นเหมือนคนเป็นแผลทาแผล และเหมือนเมื่อคนไข้ในเพราะฤดูร้อนและฤดูหนาวเป็นต้น รับประทานยาเพื่อป้องกันความร้อนความหนาวนั้น ฉะนั้น คำว่า เพื่อ อนุเคราะห์พรหมจรรย์ มีอรรถาธิบายว่าเพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์คือศาสนาทั้งมวลอย่างหนึ่ง เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์คือมรรคอย่างหนึ่ง จริงอยู่ ภิกษุนี้ได้อาศัยกำลังกาย เพราะมีอันเสพบิณฑบาตเป็นปัจจัย ปฏิบัติอยู่เพื่อสลัดออกจากความกันดารคือภพ ด้วยอำนาจการประกอบเนือง ๆ ในสิกขา ๓ ชื่อว่าย่อมเสพบิณฑบาตเพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ เหมือนมารดาบิดาผู้มีความต้องการข้ามทางกันดารจำกินเนื้อของบุตร เหมือนพวกคนที่ต้องการข้ามแม่น้ำย่อมอาศัยแพ และเหมือนพวกคนที่ต้องการข้ามมหาสมุทรย่อมอาศัยเรือ ฉะนั้น คำว่า จักกำจัดเวทนาเก่าและไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น นี้ มีอรรถาธิบายดังนี้ ภิกษุเสพบิณฑบาตโดยประสงค์ว่า ด้วยเหตุที่เสพบิณฑบาตนี้ เราจักกำจัดเวทนาคือความหิวเก่า และจักไม่ให้เวทนาใหม่ซึ่งมีการฉันเกินประมาณเป็นปัจจัยเกิดขึ้น เหมือนพราหมณ์ชื่ออาหรหัตถกะ, ชื่ออลังสาฏกะ, ชื่อตัตรวัฏฏกะ, ชื่อกากมาสกะและชื่อกุตตวมิตกะคนใดคนหนึ่ง ทำนองเดียวกันกับคนไข้รับประทานยา
อีกประการหนึ่ง พึงทราบอรรถาธิบายในคำนี้ แม้อย่างนี้ว่า เวทนาใดที่เรียกว่าเวทนาเก่า เพราะเกิดขึ้นด้วยอำนาจปัจจัยคือกรรมเก่า โดยอาศัยการฉันบิณฑบาตที่ไม่เป็นสัปปายะและฉันเกินประมาณในปัจจุบัน เราทำปัจจัยแห่งเวทนาเก่านั้นให้หายไป ด้วยการฉันบิณฑบาตอันเป็นสัปปายะและฉันแต่พอประมาณชื่อว่า จักกำจัดเวทนาเก่านั้น อนึ่ง เวทนาใดที่เรียกว่าเวทนาใหม่ เพราะเกิดขึ้นต่อไปโดยอาศัยความสั่งสมกรรม คือการฉันอันไม่สมควรที่ภิกษุทำแล้วในปัจจุบัน เราไม่ให้มูลเหตุแห่งเวทนาใหม่นั้นบังเกิดได้ด้วยอำนาจการฉันอันสมควร ชื่อว่า จักไม่ยังเวทนาใหม่นั้นให้เกิดขึ้น
อีกประการหนึ่งคำว่า ฐิติ ที่แปลว่า ความดำรงอยู่นี้ เป็นชื่อของอินทรีย์คือชีวิต เพราะเหตุนั้น นักศึกษาพึงทราบว่า ด้วยคำว่า เพื่อความดำรงอยู่ เพื่อความเป็นไปแห่งกายนี้ เพียงเท่านี้ จะอธิบายว่า เพื่อยังอินทรีย์คือชีวิตแห่งกายนี้ให้เป็นไปดังนี้ก็ได้ คำว่า เพื่อระงับความเบียดเบียน มีอรรถาธิบายว่า ความหิวชื่อว่า วิหึส โดยอรรถว่า เบียดเบียน ภิกษุนี้ย่อมเสพบิณฑบาตแม้เพื่อระงับความเบียดเบียนนั้นเหมือนคนเป็นแผลทาแผล และเหมือนเมื่อคนไข้ในเพราะฤดูร้อนและฤดูหนาวเป็นต้น รับประทานยาเพื่อป้องกันความร้อนความหนาวนั้น ฉะนั้น คำว่า เพื่อ อนุเคราะห์พรหมจรรย์ มีอรรถาธิบายว่าเพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์คือศาสนาทั้งมวลอย่างหนึ่ง เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์คือมรรคอย่างหนึ่ง จริงอยู่ ภิกษุนี้ได้อาศัยกำลังกาย เพราะมีอันเสพบิณฑบาตเป็นปัจจัย ปฏิบัติอยู่เพื่อสลัดออกจากความกันดารคือภพ ด้วยอำนาจการประกอบเนือง ๆ ในสิกขา ๓ ชื่อว่าย่อมเสพบิณฑบาตเพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ เหมือนมารดาบิดาผู้มีความต้องการข้ามทางกันดารจำกินเนื้อของบุตร เหมือนพวกคนที่ต้องการข้ามแม่น้ำย่อมอาศัยแพ และเหมือนพวกคนที่ต้องการข้ามมหาสมุทรย่อมอาศัยเรือ ฉะนั้น คำว่า จักกำจัดเวทนาเก่าและไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น นี้ มีอรรถาธิบายดังนี้ ภิกษุเสพบิณฑบาตโดยประสงค์ว่า ด้วยเหตุที่เสพบิณฑบาตนี้ เราจักกำจัดเวทนาคือความหิวเก่า และจักไม่ให้เวทนาใหม่ซึ่งมีการฉันเกินประมาณเป็นปัจจัยเกิดขึ้น เหมือนพราหมณ์ชื่ออาหรหัตถกะ, ชื่ออลังสาฏกะ, ชื่อตัตรวัฏฏกะ, ชื่อกากมาสกะและชื่อกุตตวมิตกะคนใดคนหนึ่ง ทำนองเดียวกันกับคนไข้รับประทานยา
อีกประการหนึ่ง พึงทราบอรรถาธิบายในคำนี้ แม้อย่างนี้ว่า เวทนาใดที่เรียกว่าเวทนาเก่า เพราะเกิดขึ้นด้วยอำนาจปัจจัยคือกรรมเก่า โดยอาศัยการฉันบิณฑบาตที่ไม่เป็นสัปปายะและฉันเกินประมาณในปัจจุบัน เราทำปัจจัยแห่งเวทนาเก่านั้นให้หายไป ด้วยการฉันบิณฑบาตอันเป็นสัปปายะและฉันแต่พอประมาณชื่อว่า จักกำจัดเวทนาเก่านั้น อนึ่ง เวทนาใดที่เรียกว่าเวทนาใหม่ เพราะเกิดขึ้นต่อไปโดยอาศัยความสั่งสมกรรม คือการฉันอันไม่สมควรที่ภิกษุทำแล้วในปัจจุบัน เราไม่ให้มูลเหตุแห่งเวทนาใหม่นั้นบังเกิดได้ด้วยอำนาจการฉันอันสมควร ชื่อว่า จักไม่ยังเวทนาใหม่นั้นให้เกิดขึ้น
นักศึกษาพึงทราบว่า ด้วยบททั้ง ๒ นี้ เป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงถึงการสงเคราะห์เอาการฉันอันสมควรด้วย การประหานกามสุขัลลิกานุโยคด้วย และการไม่ยอมเสียสละความสุขอันเกิดโดยธรรมด้วย
คำว่า แหละความเป็นไปจักมีแก่เรา มีอรรถาธิบายว่า ภิกษุเสพบิณฑบาตโดยประสงค์ว่า ก็แหละ ความเป็นไป คือความดำเนินไปตลอดกาลนาน จักมีแก่เราคือแก่กายนี้ อันมีความเป็นไปเนื่องด้วยปัจจัย โดยไม่มีอันตรายอันจะเข้าไปตัดชีวิตินทรีย์ หรือตัดทอนอิริยาบถ เพราะการฉันพอประมาณ ดังนี้บ้าง เหมือนคนมีโรคติดต่อ รับประทานยาอันเป็นปัจจัยแก่โรคนั้น ฉะนั้น
คำว่า ความเป็นผู้ไม่มีโทษ มีอรรถาธิบายว่า ภิกษุเสพบิณฑบาตโดยประสงค์ว่าความไม่มีโทษ จักมีแก่เรา โดยงดเว้นการแสวงหาการรับและการฉันอันไม่สมควร ความอยู่ผาสุก จักมีแก่เรา โดยการฉันพอประมาณ อีกอย่างหนึ่ง ความไม่มีโทษจักมีแก่เรา เพราะไม่มีโทษเช่น ความกระสัน, ความหลับ, ความบิดกาย ซึ่งมีการฉันบิณฑบาตอันไม่เป็นสัปปายะและการฉันเกินประมาณเป็นปัจจัย และอันวิญญูชนครหาเป็นต้น
คำว่า ความอยู่ผาสุกจักมีแก่เรา ด้วยความบังเกิดแห่งกำลังกาย เพราะมีการฉันบิณฑบาตอันเป็นสัปปายะและการฉันพอประมาณเป็นปัจจัย อีกอย่างหนึ่ง ความไม่มีโทษ เพราะละเสียซึ่งความสุขในการเอนหลัง, ความสุขในการเอกเขนกและความสุขในการหลับ จักมีแก่เรา ด้วยการหลีกเว้นการฉันจนแน่นท้องตามที่ต้องการ และความอยู่ผาสุก เพราะยังความประกอบด้วยอิริยาบถทั้ง ๔ ให้ถึงพร้อมจักมีแก่เรา โดยการฉันให้หย่อนไว้สัก ๔-๕ คำ ดังนี้บ้าง
คำว่า ความเป็นผู้ไม่มีโทษ มีอรรถาธิบายว่า ภิกษุเสพบิณฑบาตโดยประสงค์ว่าความไม่มีโทษ จักมีแก่เรา โดยงดเว้นการแสวงหาการรับและการฉันอันไม่สมควร ความอยู่ผาสุก จักมีแก่เรา โดยการฉันพอประมาณ อีกอย่างหนึ่ง ความไม่มีโทษจักมีแก่เรา เพราะไม่มีโทษเช่น ความกระสัน, ความหลับ, ความบิดกาย ซึ่งมีการฉันบิณฑบาตอันไม่เป็นสัปปายะและการฉันเกินประมาณเป็นปัจจัย และอันวิญญูชนครหาเป็นต้น
คำว่า ความอยู่ผาสุกจักมีแก่เรา ด้วยความบังเกิดแห่งกำลังกาย เพราะมีการฉันบิณฑบาตอันเป็นสัปปายะและการฉันพอประมาณเป็นปัจจัย อีกอย่างหนึ่ง ความไม่มีโทษ เพราะละเสียซึ่งความสุขในการเอนหลัง, ความสุขในการเอกเขนกและความสุขในการหลับ จักมีแก่เรา ด้วยการหลีกเว้นการฉันจนแน่นท้องตามที่ต้องการ และความอยู่ผาสุก เพราะยังความประกอบด้วยอิริยาบถทั้ง ๔ ให้ถึงพร้อมจักมีแก่เรา โดยการฉันให้หย่อนไว้สัก ๔-๕ คำ ดังนี้บ้าง
สมด้วยพุทธนิพนธคาถาที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า :-
พึงหยุดฉันเสียเมื่อ ๔-๕ คำจะอิ่ม แล้วจึงดื่มน้ำแทนเป็นการเพียงพอเพื่อความอยู่ผาสุกแห่งภิกษุผู้มีตนส่งไปแล้ว นักศึกษาพึงทราบว่า ด้วยคำทั้ง ๓ ตามที่อรรถาธิบายมานี้ เป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงถึงการกำหนดเอาประโยชน์และมัชฌิมาปฏิปทา ด้วยประการฉะนี้
🔅 อธิบายบทเสนาสนะ
คำว่า เสนาสนะ แยกเป็น เสนะ คำหนึ่ง อาสนะ คำหนึ่ง อธิบายว่า ภิกษุนอนอยู่ที่ใด จะเป็นวิหารหรือเรือนโรงมีเพิ่งเป็นต้นก็ตาม ที่นั้นชื่อว่า เสนะ แปลว่า ที่นอน
ภิกษุนั่ง ณ ที่ใด ๆ ที่นั้นชื่อว่า อาสนะ แปลว่า ที่นั่ง
๒ คำนั้นท่านรวมเข้าเป็นคำเดียวกัน แล้วจึงกล่าวว่า เสนาสนะ แปลว่า ที่นอนและที่นั่ง
ภิกษุนั่ง ณ ที่ใด ๆ ที่นั้นชื่อว่า อาสนะ แปลว่า ที่นั่ง
๒ คำนั้นท่านรวมเข้าเป็นคำเดียวกัน แล้วจึงกล่าวว่า เสนาสนะ แปลว่า ที่นอนและที่นั่ง
คำว่า เพื่อบรรเทาอันตรายคือฤดู และความยินดีในการหลีกเร้นอยู่ มีอรรถาธิบายว่า อุตุนั่นเองชื่อว่าอันตรายคือฤดู เพราะอรรถว่าเบียดเบียน เพื่อบรรเทาซึ่งอันตรายคือฤดู และเพื่อความยินดีในการหลีกเร้นอยู่ อธิบายว่า ฤดูกาลอันใดที่เบียดเบียนร่างกายและทำให้จิตฟุ้งซ่านไม่เป็นสัปปายะ เป็นสิ่งอันภิกษุพึงบรรเทาเสียด้วยการเสพเสนาสนะ เพื่อบรรเทาซึ่งฤดูกาลนั้น และเพื่อความสุขในความเป็นบุคคลผู้เดียว
การบรรเทาอันตรายคือฤดู พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วด้วยพระพุทธพจน์มีอาทิว่า สีต ปฏิฆาต ดังนี้โดยแท้ แต่ถึงอย่างนั้น นักศึกษาพึงทราบว่า ที่นี้พระผู้มีพระภาคตรัสคำนี้ซ้ำอีก โดยทรงหมายเอาการบรรเทาอันตรายคือฤดูที่แน่นอน เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ในบทเสพจีวรว่า การปกปิดอวัยวะที่ทำให้ความละอายสูญหายไป เป็นประโยชน์ที่แน่นอน ส่วนประโยชน์นอกนั้นมีได้เป็นบางครั้งบางคราว ดังนี้
การบรรเทาอันตรายคือฤดู พระผู้มีพระภาคตรัสไว้แล้วด้วยพระพุทธพจน์มีอาทิว่า สีต ปฏิฆาต ดังนี้โดยแท้ แต่ถึงอย่างนั้น นักศึกษาพึงทราบว่า ที่นี้พระผู้มีพระภาคตรัสคำนี้ซ้ำอีก โดยทรงหมายเอาการบรรเทาอันตรายคือฤดูที่แน่นอน เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ในบทเสพจีวรว่า การปกปิดอวัยวะที่ทำให้ความละอายสูญหายไป เป็นประโยชน์ที่แน่นอน ส่วนประโยชน์นอกนั้นมีได้เป็นบางครั้งบางคราว ดังนี้
อีกประการหนึ่ง ฤดูซึ่งมีประการดังที่กล่าวมาแล้วนี้ ชื่อว่า ฤดูคงที่ ส่วนอันตรายมี ๒ อย่าง คือ อันตรายที่ปรากฏหนึ่ง อันตรายที่ปกปิดหนึ่ง ใน ๒ อย่างนั้น สัตว์ร้ายทั้งหลายมีราชสีห์และเสือเป็นต้น ชื่อว่าอันตรายที่ปรากฏ กิเลสทั้งหลายมีราคะและโทสะเป็นต้นชื่อว่าอันตรายที่ปกปิด อันตรายย่อมไม่ทำความเบียดเบียน โดยที่ไม่ได้รักษาทวารและโดยที่เห็นรูปอันไม่เป็นสัปปายะ ณ เสนาสนะใด ภิกษุรู้ คือ พิจารณาเสนาสนะนั้นอย่างนี้แล้วเสพอยู่ พึงทราบว่า ชื่อว่าพิจารณาโดยแยบคาย แล้วจึงเสพเสนาสนะ เพื่อบรรเทาอันตรายคือฤดู ฉะนี้
🔅 อธิบายบทคิลานปัจจยเภสัชบริขาร
ในคำว่า ซึ่งคิลานปัจจยเภสัชบริขาร นี้ มีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้
เภสัช ชื่อว่า ปจุจย เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องต่อต้านโรค อธิบายว่า เพราะอรรถว่าถึงซึ่งความเป็นข้าศึกของโรค
คำว่า ปจุจย นี้ เป็นชื่อของสัปปายะอย่างใดอย่างหนึ่ง, กิจกรรมของหมอเพราะหมอนั้นอนุญาตแล้ว
ฉะนั้นจึงชื่อว่า เภสชฺช เภสัชคือปัจจัยแห่งคนไข้
ชื่อว่า คิลานปจฺจยเภสชฺช อธิบายว่า ได้แก่กิจกรรมของหมออันเป็นสัปปายะแก่คนไข้ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีน้ำมันน้ำผึ้งและน้ำอ้อย เป็นต้น
คำว่า ปจุจย นี้ เป็นชื่อของสัปปายะอย่างใดอย่างหนึ่ง, กิจกรรมของหมอเพราะหมอนั้นอนุญาตแล้ว
ฉะนั้นจึงชื่อว่า เภสชฺช เภสัชคือปัจจัยแห่งคนไข้
ชื่อว่า คิลานปจฺจยเภสชฺช อธิบายว่า ได้แก่กิจกรรมของหมออันเป็นสัปปายะแก่คนไข้ชนิดใดชนิดหนึ่ง มีน้ำมันน้ำผึ้งและน้ำอ้อย เป็นต้น
ส่วนคำว่าบริขารพระผู้มีพระภาคตรัสเอาเครื่องล้อมก็มีในพระบาลีมีอาทิว่า “พระนครเป็นอันล้อมดีแล้ว ด้วยเครื่องล้อมพระนครถึงเจ็ดชั้น” ” ตรัสหมายเอาเครื่องอลังการก็มี ในพระบาลีมีอาทิว่า “รถมีศีลเป็นเครื่องอลังการ มีฌานเป็นเพลา มีวิริยะเป็นล้อ” ตรัสหมายเอาสัมภาระก็มีในพระบาลีมีอาทิว่า “เครื่องสัมภาระแห่งชีวิตชนิดใด ชนิดหนึ่ง อันบรรพชิตพึงนำมาโดยชอบ” แต่ในที่นี้ ศัพท์ว่า บริขาร แม้หมายเอาสัมภาระก็ควร แม้หมายเอาเครื่องล้อมก็ควร เพราะว่าคิลานปัจจยเภสัชนั้น ย่อมเป็นเครื่องล้อมชีวิตก็ได้ เป็นสัมภาระของชีวิตก็ได้ เพราะเป็นเครื่องรักษาไม่ให้ช่องแก่ความบังเกิดขึ้นแห่งอาพาธอันจะทำชีวิตให้พินาศไป เป็นสัมภาระของชีวิตก็ได้
เพราะเป็นเหตุแห่งชีวิตนั้นโดยประการที่ชีวิตจะดำเนินไปได้ตลอดกาลนาน เพราะฉะนั้น คิลานปัจจยเภสัช พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า เป็นบริขาร คิลานปัจจยเภสัช ดังกล่าวมาแล้วนั้นด้วยเป็น บริขาร ด้วย ฉะนั้นจึงชื่อว่า คิลานปัจจยเภสัชบริขาร ซึ่งคิลานปัจจยเภสัชบริขารนั้น อธิบายว่า ซึ่งเภสัชอันเป็นสัปปายะแห่งคนไข้ชนิดใดชนิดหนึ่งอันหมออนุญาตแล้ว มีน้ำมันน้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น อันเป็นบริขารแห่ง ชีวิต, คำว่า เกิดขึ้นแล้ว คือ เกิดแล้ว เป็นแล้ว บังเกิดแล้ว, ความกำเริบแห่งธาตุและอาพาธต่าง ๆ มีโรคเรื้อนโรคฝีและพุพองเป็นต้นซึ่งมีความกำเริบแห่งธาตุนั้นเป็นสมุฏฐาน ชื่อว่า พฺยาพาธ
ในบทว่า เวยฺยาพาธิกานํ นี้ เวทนาทั้งหลาย ชื่อว่า เวยฺยาพาธิก เพราะเกิดแต่อาพาธต่าง ๆ คำว่า ซึ่งเวทนาทั้งหลาย ได้แก่ ทุกขเวทนา คือเวทนาอันเป็นอกุศลวิบาก, ซึ่งเวทนาทั้งหลายนั้นอันเกิดแต่อาพาธต่าง ๆ เหล่านั้นบทว่า อพฺยาปชุฌปรมตาย แปลว่า เพื่อความเป็นผู้ไม่มีทุกข์เป็นอย่างยิ่ง อธิบายว่า ทุกข์ทั้งหมดนั้นย่อมเป็นอันภิกษุละได้ แล้วเพียงใด เพื่อความเป็นผู้ไม่มีทุกข์เป็นอย่างยิ่งเพียงนั้น ปัจฺจยสนฺนิสฺสิตศีล นี้ ซึ่งมีอันพิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงบริโภคปัจจัยเป็นลักษณะ นักศึกษาพึงทราบโดยสังเขปดังพรรณนามานี้ ส่วนอรรถวิเคราะห์แห่งถ้อยคำ ในบทว่า ปัจฺจยสนฺนิสฺสิตศีล นี้ดังนี้ก็แหละ ปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น เรียกว่า ปจฺจย เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า เป็นที่เป็นไป เป็นที่ดำเนินไป ของสัตว์ผู้มีชีวิตทั้งหลาย ซึ่งอิงอาศัยบริโภคปัจจัยเหล่านั้น, ศีลอาศัยแล้วซึ่งปัจจัยเหล่านั้น ฉะนั้นจึงชื่อว่า ปัจจยสันนิสสิตศีล ฉะนี้แล