เพราะฉะนั้นถ้าเราพิจารณาปฏิจจสมุปบาทด้วยสายนิโรธวารแล้ว ก็ทำลายสัสสตทิฏฐิได้ อวิชชาดับ สังขารดับ, สังขารดับ วิญญาณดับ, เป็นลำดับ แล้วสัสสตทิฏฐิก็หายไป สัสสตทิฏฐิเกิดเพราะความหลงผิดว่าเกิดแล้วเป็นเที่ยง เกิดแล้วไม่มีดับอีก เมื่อมีเกิดย่อมมีดับ อย่างพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าเราถือว่ามีเกิดขึ้น แต่ไม่ยอมให้ดับ เกิดแล้วเที่ยงไม่ได้ มันขัดกับหลักเหตุผล อันใดเกิด อันนั้นก็ต้องดับ เพราะฉะนั้นถ้าเราถือหลักปฏิจจสมุปบาทในสายนิโรธวารว่า อวิชชาดับ สังขารดับ เพราะฉะนั้นอันนี้มันก็ต้องดับ เมื่อรู้อย่างนี้ สัสสตทิฏฐิก็ดับ อุจเฉททิฏฐิหรือเรียกว่านัตถิกทิฏฐิ เพราะเห็นแต่ข้างดับ ไม่เห็นข้างเกิด สัสสตทิฏฐิเห็นแต่ข้างเกิด ไม่เห็นข้างดับ อุจเฉททิฏฐิเห็นแต่ข้างดับไม่เห็นข้างเกิด เห็นว่าดับหมด เอ ! ร่างกาย
ก็ไม่มี ตายแล้วก็ศูนย์ แล้วก็แล้วกันไป แยกย้ายกันไปหมด ไม่เห็นข้างเกิด เพราะฉะนั้นถ้าเราพิจารณาปฏิจจสมุปบาทโดยสายสมุทัยวารเห็นว่าอวิชชาเกิด สังขารเกิดเป็นลำดับแล้ว ความหลงผิดที่นึกว่าตายแล้วแล้วกัน อันเป็นอุจเฉททิฏฐิกดับหายไป เพราะเหตุนั้นปฏิจจสมุปบาทจึงเป็นมัชฌิมาปฏิปทาอีกนัยหนึ่ง
มัชฌิมาปฏิปทาโดยประการฉันใด ปฏิจจสมุปบาทโดยประการฉันนั้น ธรรมะในปฏิจจาสมุปบาทนั้น พิจารณาไปแล้วก็สำเร็จเป็นมัชฌิมาปฏิปทา มัชฌิมาปฏิปทาคืออะไร ? ถ้ามาจับยกมรรคแปดออกเป็นมัชฌิมาปฏิปทาตัวมรรคแปดนั้นเป็นธรรมข้อปฏิบัติ ธรรมข้อปฏิบัติเพื่อถึงอะไร ? เพื่อถึงญาณทัสสนะที่แทงทะลุในปฏิจจสมุปบาททั้งสายเกิดสายดับ เมื่อแทงทะลุปฏิจจสมุปบาททั้งสายเกิดสายดับเช่นนี้ได้แล้ว นิพพานก็หนีไม่พ้น นิพพานเราก็ได้ทันที เพราะเหตุนั้นพระศาสดาจึงได้ตรัสกับท่านมหากัจจายนะว่า "ดูก่อนกัจจายนะ เพราะเหตุที่พิจารณาปฏิจจสมุปบาทว่า ธรรมทั้งปวงย่อมเกิดขึ้นเป็นลำดับ ความคิดในส่วนสุดอีกข้างหนึ่งของเราก็ไม่มี เพราะพิจารณาปฏิจจสมุปบาทว่าดับไปเป็นลำดับ ความคิดในส่วน
มัชฌิมาปฏิปทาโดยประการฉันใด ปฏิจจสมุปบาทโดยประการฉันนั้น ธรรมะในปฏิจจาสมุปบาทนั้น พิจารณาไปแล้วก็สำเร็จเป็นมัชฌิมาปฏิปทา มัชฌิมาปฏิปทาคืออะไร ? ถ้ามาจับยกมรรคแปดออกเป็นมัชฌิมาปฏิปทาตัวมรรคแปดนั้นเป็นธรรมข้อปฏิบัติ ธรรมข้อปฏิบัติเพื่อถึงอะไร ? เพื่อถึงญาณทัสสนะที่แทงทะลุในปฏิจจสมุปบาททั้งสายเกิดสายดับ เมื่อแทงทะลุปฏิจจสมุปบาททั้งสายเกิดสายดับเช่นนี้ได้แล้ว นิพพานก็หนีไม่พ้น นิพพานเราก็ได้ทันที เพราะเหตุนั้นพระศาสดาจึงได้ตรัสกับท่านมหากัจจายนะว่า "ดูก่อนกัจจายนะ เพราะเหตุที่พิจารณาปฏิจจสมุปบาทว่า ธรรมทั้งปวงย่อมเกิดขึ้นเป็นลำดับ ความคิดในส่วนสุดอีกข้างหนึ่งของเราก็ไม่มี เพราะพิจารณาปฏิจจสมุปบาทว่าดับไปเป็นลำดับ ความคิดในส่วน
สุดอีกข้างหนึ่งของเราก็ไม่มี ดูก่อนกัจจายนะ ตถาคตย่อมสอนธรรมอันไม่ติดอยู่ในส่วนสุดสองข้าง กล่าวคืออัตถิตาความมีอยู่ ๑ นัตถิตา ความไม่มีอยู่ ๑"
อัตถิตาความมีอยู่คืออะไร ? คือสัสสตทิฏฐถือว่าทุกสิ่งมี ผิด! มีอันนั้นไม่ใช่ มีเที่ยง ขึ้นชื่อว่ามี มีอันนั้น มีอย่างปฏิจจสมุปบาท แต่มีอย่างสมบูรณภาพนียม ผิด!
ถือว่าทุกสิ่งเป็นนัตถิตา ไม่มีก็ผิด ตถาคตย่อมแสดงธรรมเป็นท่ามกลาง ไม่ติดตั้งอัตถตาความมีอยู่ ไม่ติดทั้งในนัตถตา ความไม่มีอยู่ คือได้แก่การพิจารณาปฏิจจสมุปบาทดังได้ว่ามานี่แหละ อันเข้าหลักอย่างพุทธพจน์ย่อที่ยกมาให้ฟังว่า อิมัสมิง สติ อิทังโหติ อิมัสสุปาทา อิทะมุปัชชติ อิมัสมิง อัสสติ อิทั้ง นโหติ อิมัชนิโรธา อิทั้งนิรุชชตีติ ดังได้ยกมา สิ่งอันนี้มี อันนั้นจึงมี อันนี้เกิดขึ้น อันนั้นจึงเกิด เพราะสิ่งอันนั้นไม่มี อันนี้ก็ไม่มี สิ่งอันนั้นดับ อันนี้จึงดับ และภาษิตพระอัสสชิเถรเจ้ายกขึ้นแสดงแก่พระสารีบุตรว่า เยธมฺมา เหตุปพฺพวา เตสํ เหตุํ ตถาคโต คือแสดงปฏิจจสมุปบาทนี่เอง จึงได้กล่าวว่าปฏิจจสมุปบาทนั้นเป็นหัวใจของพุทธศาสน์ ว่า “ธรรมทั้งปวงมีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตเจ้าย่อมทรงแสดงเหตุของธรรมเหล่านั้น และความดับสิ้นไปแห่งเหตุของธรรมเหล่านั้นด้วย นี่พระมหาสมณะองค์นั้นมีปรกติวาทะอย่างนี้
ธรรมทั้งปวงมีเหตุเป็นแดนเกิด คำว่าธรรมทั้งปวงในที่นี้ก็ได้แก่ปฏิจจสมุปปัณณธรรม มีเหตุเป็นแดนเกิด ส่วนปฏิจจสมุปปาณธรรมหมายถึงว่า ธรรมที่อาศัยกันเกิดพร้อมกัน คำว่า "ปฏิจจะ" มีอรรถว่าอาศัยหรือความประชุมพร้อมแห่งเหตุ อาศัยอะไร ? อาศัยความประชุมกันเกิดขึ้นพร้อมแห่งเหตุ อุปปาณะ คือความเกิดขึ้น เมื่อเข้าสนธิแล้วก็เป็น ปฏิจจะ+สัง+ปาณ เป็นปฏิจจสมุปปาณะ แปลว่าธรรมที่อาศัยการประชุมพร้อมกันเกิดขึ้น ปฏิจจสมุปปาณธรรม จึงแปลว่า ธรรมที่อาศัยการประชุมพร้อมกันเกิดขึ้น
อัตถิตาความมีอยู่คืออะไร ? คือสัสสตทิฏฐถือว่าทุกสิ่งมี ผิด! มีอันนั้นไม่ใช่ มีเที่ยง ขึ้นชื่อว่ามี มีอันนั้น มีอย่างปฏิจจสมุปบาท แต่มีอย่างสมบูรณภาพนียม ผิด!
ถือว่าทุกสิ่งเป็นนัตถิตา ไม่มีก็ผิด ตถาคตย่อมแสดงธรรมเป็นท่ามกลาง ไม่ติดตั้งอัตถตาความมีอยู่ ไม่ติดทั้งในนัตถตา ความไม่มีอยู่ คือได้แก่การพิจารณาปฏิจจสมุปบาทดังได้ว่ามานี่แหละ อันเข้าหลักอย่างพุทธพจน์ย่อที่ยกมาให้ฟังว่า อิมัสมิง สติ อิทังโหติ อิมัสสุปาทา อิทะมุปัชชติ อิมัสมิง อัสสติ อิทั้ง นโหติ อิมัชนิโรธา อิทั้งนิรุชชตีติ ดังได้ยกมา สิ่งอันนี้มี อันนั้นจึงมี อันนี้เกิดขึ้น อันนั้นจึงเกิด เพราะสิ่งอันนั้นไม่มี อันนี้ก็ไม่มี สิ่งอันนั้นดับ อันนี้จึงดับ และภาษิตพระอัสสชิเถรเจ้ายกขึ้นแสดงแก่พระสารีบุตรว่า เยธมฺมา เหตุปพฺพวา เตสํ เหตุํ ตถาคโต คือแสดงปฏิจจสมุปบาทนี่เอง จึงได้กล่าวว่าปฏิจจสมุปบาทนั้นเป็นหัวใจของพุทธศาสน์ ว่า “ธรรมทั้งปวงมีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตเจ้าย่อมทรงแสดงเหตุของธรรมเหล่านั้น และความดับสิ้นไปแห่งเหตุของธรรมเหล่านั้นด้วย นี่พระมหาสมณะองค์นั้นมีปรกติวาทะอย่างนี้
ธรรมทั้งปวงมีเหตุเป็นแดนเกิด คำว่าธรรมทั้งปวงในที่นี้ก็ได้แก่ปฏิจจสมุปปัณณธรรม มีเหตุเป็นแดนเกิด ส่วนปฏิจจสมุปปาณธรรมหมายถึงว่า ธรรมที่อาศัยกันเกิดพร้อมกัน คำว่า "ปฏิจจะ" มีอรรถว่าอาศัยหรือความประชุมพร้อมแห่งเหตุ อาศัยอะไร ? อาศัยความประชุมกันเกิดขึ้นพร้อมแห่งเหตุ อุปปาณะ คือความเกิดขึ้น เมื่อเข้าสนธิแล้วก็เป็น ปฏิจจะ+สัง+ปาณ เป็นปฏิจจสมุปปาณะ แปลว่าธรรมที่อาศัยการประชุมพร้อมกันเกิดขึ้น ปฏิจจสมุปปาณธรรม จึงแปลว่า ธรรมที่อาศัยการประชุมพร้อมกันเกิดขึ้น
อีกอันหนึ่งปฏิจจสมุปปัณณธรรม คือ ปฏิจจะ+อุปัณณะ แปลว่าธรรมซึ่งเกิดขึ้นจากธรรมอันอาศัยปัจจัยประชุมพร้อมกันแล้ว เป็นปฏิจจสมุปปัณณธรรมนี้อันหนึ่ง เพราะฉะนั้นศัพท์ว่าปฏิจจสมุปปาณธรรม ๑ ศัพท์ว่าปฏิจจสมุปบัณณธรรมอีก ๑ แยกแยะให้เห็นข้อความแตกต่างในระหว่างธรรมทั้ง ๒ อันนี้ ในมติ
รุ่นอรรถกถาโดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านพุทธโฆษะ ได้อรรถาธิบายนัยของปฏิจจสมุปปาณ ธรรมไว้เป็น ๔ นัยด้วยกัน เพราะอันที่จริงถ้าเราพิจารณาดูในอาคตะสถานในบาลีปกรณ์ขั้นพระสูตร เช่นมหานิทานสูตรก็ดี หรือสังยุตตนิกาย นิทานวรรคก็ดี เราจะเห็นว่าพระผู้มีพระภาคทรงแสดงปฏิจจสมุปปาณธรรมนัยต่างๆ
กัน บางครั้งทรงแสดงโดยนัยครบ ๑๒ องค์ บางครั้งทรงแสดงโดยนัย ๘ องค์ บางครั้งทรงแสดงโดยนัย ๖ องค์ องค์ธรรมของปฏิจจสมุปบาทนี้ไม่ได้เหมือนกันทุกแห่งไป ที่เป็นดังนี้ก็เพราะว่าทรงยกย้ายไปตามอรรถาธิบายและภูมิธรรมของสัตว์ผู้ได้รับธรรมรสจากพระองค์ แต่โดยปรกติแล้ว เมื่อทรงแสดงปฏิจจสมุปปาณธรรมอย่างทั่วถึงคือแสดงอย่างเต็มภาคภูมิแล้ว ก็แสดงครบทั้ง ๑๒ องค์ ท่านพุทธโฆษะ จึงได้เฉลยแก้ข้อข้องใจในข้อที่พระผู้มีพระภาคแสดงปฏิจจสมุปปาถธรรมนี้ โดยนัยแตกต่างกันเพราะเหตุ
อะไร ? แสดงไว้ในอรรถกถาชื่อว่าสัมโมหะวิโมทนีปกรณ์ สัมโมหะวิโมทนีปกรณ์นั้นเป็นอรรถากถาอภิธรรมวิภังคปกรณ์ซึ่งเป็นเล่มสำคัญเล่มหนึ่งในอภิธรรมปิฎกที่เดียว ท่านให้ไว้ด้วยกัน ๔ นัย คือ
ประการที่ ๑ ทรงแสดงตั้งแต่เบื้องต้นถึงที่สุด นัยนี้เรียกว่าอนุโลมเทศนานัย คือจัดวางตั้งแต่อวิชชาปัจจยาสังขารา สังขาราปัจจยาวิญญาณนั่ง เรื่อยไปกระทั่งชาติปัจจยาชรามรณะ ปริเทวะทุกขะโทมนัสอุปายาสะ พร้อมทั้งกองทุกข์ ประมวลมาแห่งกองทุกข์ยิ่งใหญ่ขึ้นทีเดยว แสดงโดยนัยนี้ครบทั้ง ๑๒ องค์ ตั้งแต่อวิชชากระทั่งถึงชาติเป็นที่สุด อันนี้เรียกว่าแสคงตามอนุโลมเทศนานัย นี้เป็นนัยประการหนึ่ง
ประการที่ ๒ พระองค์ทรงแสดงปฏิจจสมุปปาณธรรมตั้งแต่ท่ามกลางไปถึงที่สุด คำว่าท่ามกลางในที่นี้จับความตั้งแต่เวทนาเป็นต้น เวทนาปัจจยาตัณหา เป็นต้น ตัณหาปัจจยาอุปาทานัง อุปาทานังปัจจยา ว่าเรื่อยไปจนกระทั่งชรามรณะปริเทวะทุกขะโทมนัส อุปายาส เป็นที่ประมวลมาแห่งกองทุกข์กองมหึมาอันเป็นที่สรุปสุดท้ายนี้ จับความตั้งแต่เวทนา ทำไมพระผู้มีพระภาคจึงจับความตั้งแต่เวทนา ? เพราะว่าสัตว์นั้นเสวยเวทนาเป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง เป็นโสมนัสบ้าง เป็นโทมนัสบ้าง เมื่อเสวยเวทนาเป็นสุข เวทนาก็ย่อมเกิดตัณหา ความติดใจในเวทนานั้น ๆ เกิดนันทิราคะ ความเพลิดเพลินในอารมณ์อันเกิดแต่เวทนานั้น ๆ ประการหนึ่ง ถ้าหากว่าเกิดทุกขเวทนาก็ต้องการจะดิ้นรนให้พ้นไป เพื่อที่จะเปลี่ยนเอาอารมณ์ที่ตนพอใจเข้ามาแทนที่ เวทนาก็มาจากตัณหาอีกประการหนึ่ง หรือเมื่อเกิดจากการเสวยซึ่งอุเบกขาเวทนาก็ยังมีโมหะเป็นอนุสัย เพราะว่าเวทนานั้นสุขเวทนามีราคะเป็นอนุสัย ทุกขเวทนามีปฏิคะเป็นอนุสัย อุเบกขาเวทนานั้นมีอวิชาเป็นอนุสัย เวทนาทั้ง ๓ นั้นไม่ว่าจะเป็นสุขเวทนาก็ดี ทุกขเวทนาก็ดี อุเบกขาเวทนาก็ดี
ก็ยังมีอนุสัยตามนอนเนื่อง เพราะเหตุที่สัตว์ทั้งหลายไม่กำหนดรู้ความเป็นจริงในเวทนาอันตนเสวย
เมื่อเกิดสุขเวทนากต้องการให้ได้สุขยิ่งขึ้น เกิดนันทิราคะ เกิดเป็นตัณหา เวทนาเป็นปัจจยาตัณหา
ถ้าหากว่าได้รับทุกขเวทนาก็อยากจะดิ้นรนให้พ้นไปเสีย อาการที่ดิ้นรนอยากจะให้พ้นไปเสีย พ้นไปเพื่ออะไร ? เพื่อไปรองรับอารมณ์ที่สบายที่ตัวสำคัญนึกหมายว่าเป็นสุขเข้ามาแทน เพราะฉะนั้นอาการที่ต้องการดินรนเพื่อพ้นไปจากทุกขเวทนา เพื่อแลกกับอารมณ์ที่ตนนึกว่าดีกว่ามาแทนที่ อาการอย่างนี้ก็ยังเป็นอาการที่เรียกว่าตัณหา เป็นอาการของนันทิราคะอีกรูปหนึ่ง อันนี้ต่างกว่าอาการนิพพิทา นิพพิทาคือความเบื่อหน่าย ความเบื่อหน่ายเพื่อต้องการความดับ ไม่ต้องการที่จะเอาอารมณ์ที่เป็นสุขเข้ามาเพิ่ม ส่วนทุกขเวทนาที่ต้องการพ้นไปในวิสัยที่สัตว์ยังมีนันทิราคะ ต้องการสลัดเอาอารมณ์ที่เป็นทุกข์นี้ออกไป เพื่อเอาอารมณ์ที่ชอบใจเข้ามาแทนที่ นี้ต่างกับอาการนิพพิทา เราอย่าไปสับสนกันกับอาการนิพพิทา
เมื่อเกิดสุขเวทนากต้องการให้ได้สุขยิ่งขึ้น เกิดนันทิราคะ เกิดเป็นตัณหา เวทนาเป็นปัจจยาตัณหา
ถ้าหากว่าได้รับทุกขเวทนาก็อยากจะดิ้นรนให้พ้นไปเสีย อาการที่ดิ้นรนอยากจะให้พ้นไปเสีย พ้นไปเพื่ออะไร ? เพื่อไปรองรับอารมณ์ที่สบายที่ตัวสำคัญนึกหมายว่าเป็นสุขเข้ามาแทน เพราะฉะนั้นอาการที่ต้องการดินรนเพื่อพ้นไปจากทุกขเวทนา เพื่อแลกกับอารมณ์ที่ตนนึกว่าดีกว่ามาแทนที่ อาการอย่างนี้ก็ยังเป็นอาการที่เรียกว่าตัณหา เป็นอาการของนันทิราคะอีกรูปหนึ่ง อันนี้ต่างกว่าอาการนิพพิทา นิพพิทาคือความเบื่อหน่าย ความเบื่อหน่ายเพื่อต้องการความดับ ไม่ต้องการที่จะเอาอารมณ์ที่เป็นสุขเข้ามาเพิ่ม ส่วนทุกขเวทนาที่ต้องการพ้นไปในวิสัยที่สัตว์ยังมีนันทิราคะ ต้องการสลัดเอาอารมณ์ที่เป็นทุกข์นี้ออกไป เพื่อเอาอารมณ์ที่ชอบใจเข้ามาแทนที่ นี้ต่างกับอาการนิพพิทา เราอย่าไปสับสนกันกับอาการนิพพิทา
การที่มีนิพพิทา เมื่อเกิดนิพพิทาก็ย่อมเบื่อหน่าย ครั้นเบื่อหน่ายก็คลายกำหนัด ครั้นคลายกำหนดก็ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพันแล้วก็ย่อมมีญาณรู้ว่าจิตเราหลุดพ้นแล้ว พรหมจรรย์ที่จะประกอบกิจต่อไปก็ไม่มีอีกแล้ว เป็นอันจบกันเพียงแค่นั้น นี้เป็นอาการของนิพพิทา ส่วนอาการที่เป็นตัณหาอันเกิดในทุกขสมุทัยเป็นมูลนั้นมันต่างกัน อยากจะพ้นจากทุกขเวทนาอันนี้เพื่อเอาสุขเวทนาอีกอันหนึ่งเข้ามาแลก เพราะฉะนั้นอาการอันนี้จึงยังเป็นอาการแส่ดิ้นรน ซึ่งท่านเรียกว่ายังเป็นวาชัพปาอันเป็นเครื่อง
หมายของกิเลสเครื่องกระซิบใจนี้ ต่างกัน เพราะฉะนั้นนัยที่ ๒ นี้ พระองค์ทรงแสดงตั้งแต่เวทนา ท่ามกลางเวทาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา ตัณหาเป็นปัจจัยให้เกิดอุปาทาน อุปาทานเป็นปัจจัยให้เกิดภพ ภพเป็นปัจจัยให้เกิดชรามรณะปริเทวะทุกขโทมนัสอุปายาส มาเป็นพรวนที่เดียว ที่เป็นนัยที่ ๒
ประการที่ ๓ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงตั้งแต่ที่สุดถึงเบื้องต้น อันนี้เรียกว่าปฏิโลมเทศนานัย คือจับความตั้งแต่ว่าทุกขโทมนัสอุปายาสของเรานี้หนอ มีอะไรเป็นเหตุ ? มีอะไรเป็นปัจจัย ? ครั้นใช้โยนิโสมนสิการใคร่ครวญพิจารณาดอย่างนี้แล้วประจักษ์ว่าเพราะชาตินี่แล้วเป็นเหตุ เราจึงมีชรามีทุกข์โสกะปริเทวะต่าง ๆ ครั้น พิจารณาไปอีกว่าชาตินี้ หนอมีอะไรเป็นเหตุ ? มีอะไรเป็นปัจจัย ? ด้วยโยนิโสมนสิการใคร่ครวญโดยดีแล้วที่ประจักษ์ว่า
เพราะภวะคือภพนี้เอง เป็นเหตุเป็นปัจจัย ชาติจึงมี ใคร่ครวญปฏิโลมขึ้นไปอีก
คือย้อนขึ้นไปอีก ใคร่ครวญว่าภพมีอะไรเป็นปัจจัย ?
มีอุปาทานเป็นปัจจัย อุปาทานมีอะไรเป็นปัจจัย ?
มีอุปาทานเป็นปัจจัย อุปาทานมีอะไรเป็นปัจจัย ?
มีตัณหาเป็นปัจจัย ตัณหามีอะไรเป็นปัจจัย?
มีเวทนาเป็นปัจจัย เวทนามีอะไรเป็นปัจจัย ?
มีสฬายตนะเป็นปัจจัย สฬายตนะมีอะไรเป็นปัจจัย ?
มีเวทนาเป็นปัจจัย เวทนามีอะไรเป็นปัจจัย ?
มีสฬายตนะเป็นปัจจัย สฬายตนะมีอะไรเป็นปัจจัย ?
ว่ากันเรื่อย ๆ ที่เดียวตามลำดับขึ้นไป
ประการที่ ๔ การย้อนทวนขึ้นปฏิโลมทวนขึ้นไป นี้อันหนึ่ง คือตั้งแต่ว่า
ชาติมีอะไรเป็นปัจจัย ๆ ก็ประจักษ์ว่าภพ
ภพมีอะไรเป็นปัจจัย? ก็เพราะมีอุปาทาน
อุปาทานมีอะไรเป็นปัจจัย ? ก็เพราะตัณหา ตัณหามี
ชาติมีอะไรเป็นปัจจัย ๆ ก็ประจักษ์ว่าภพ
ภพมีอะไรเป็นปัจจัย? ก็เพราะมีอุปาทาน
อุปาทานมีอะไรเป็นปัจจัย ? ก็เพราะตัณหา ตัณหามี
อะไรเป็นปัจจัย ? ก็เพราะเวทนา
เวทนามีอะไรเป็นปัจจัย ? ก็เพราะผัสสะ
ผัสสะมีอะไรเป็นปัจจัย ? ก็เพราะสฬายตนะ
สฬายตนะมีอะไรเป็นปัจจัย ? ก็เพราะนามรูป
นามรูป มีอะไรเป็นปัจจัย ? ก็เพราะเป็นวิญญาณ
วิญญาณมีอะไรเป็นปัจจัย ? ก็เพราะสังขาร
สังขารมีอะไรเป็นปัจจัย ? ก็เพราะอวิชชา
มาสุดแค่อวิชชา อันนี้เป็นปฏิโลมเทศนานัยเป็น ๔ นัยด้วยกัน นี่เป็นมติของท่านพุทธโฆษะที่ท่านแสดงไว้อย่างพิศดารในสัมโมหะวิโมทนีปกรณ์ ในที่นี้เราก็อธิบายถึงลักษณะปฏิจจสมุปปาณธรรมตามมติใน นิกายเถรวาทก่อน (อ่านต่อหน้าต่อไป)
เวทนามีอะไรเป็นปัจจัย ? ก็เพราะผัสสะ
ผัสสะมีอะไรเป็นปัจจัย ? ก็เพราะสฬายตนะ
สฬายตนะมีอะไรเป็นปัจจัย ? ก็เพราะนามรูป
นามรูป มีอะไรเป็นปัจจัย ? ก็เพราะเป็นวิญญาณ
วิญญาณมีอะไรเป็นปัจจัย ? ก็เพราะสังขาร
สังขารมีอะไรเป็นปัจจัย ? ก็เพราะอวิชชา
มาสุดแค่อวิชชา อันนี้เป็นปฏิโลมเทศนานัยเป็น ๔ นัยด้วยกัน นี่เป็นมติของท่านพุทธโฆษะที่ท่านแสดงไว้อย่างพิศดารในสัมโมหะวิโมทนีปกรณ์ ในที่นี้เราก็อธิบายถึงลักษณะปฏิจจสมุปปาณธรรมตามมติใน นิกายเถรวาทก่อน (อ่านต่อหน้าต่อไป)