"ภิกษุทั้งหลาย ญาณทัสสนะ(ความรู้เห็น) ตามความเป็นจริงของเราในอริยสัจ ๔ ประการนี้ มีวน ๓ รอบ มี ๑๒ อาการอย่างนี้ยังไม่หมดจดดีตราบใด เราก็ยังไม่ยืนยันว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ตราบนั้น"
"ญาณทัสสนะ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒" คือความหยั่งรู้ที่บังเกิดขี้นแก่พระองค์นั้นเป็นญาณที่บังเกิดขึ้นในธรรมที่มิได้เคยสดับแล้วมาก่อน ก็คืออริยสัจทั้ง ๔ ประกอบด้วย
๑. ทุกข์ คือ ความจริงที่ว่าด้วยความทุกข์
๒. ทุกขสมุทัย ความจริงที่ว่าด้วยเหตุให้เกิดทุกข์
๓. ทุกขนิโรธ ความจริงที่ว่าด้วยความดับทุกข์
๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ หรือมรรคทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ได้
เรียกกันว่าอริยสัจ ก็เรียกตามพระพุทธเจ้าที่ได้ตรัสไว้ในปฐมเทศนา คือเทศนาทีแรกของพระองค์ที่ตรัสว่าพระตถาคตคือพระองค์ได้เว้นทางสุดโต่ง ๒ ทาง คือ ทางกามสุขัลลิกานุโยค ความประกอบพัวพ้นอยู่ด้วยความสุขสดชื่นในกาม และทางอัตตกิลมถานุโยค ทางทรมานตนให้ลำบาก ได้ทรงปฏิบัติอยู่ในทางอันเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางกลาง ไม่เกี่ยวข้องด้วยทางสุดโต่งทั้ง ๒ นั้น ก็คือมรรคมีองค์ ๘ มี สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ เป็นต้น มีสัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นที่สุด จึงได้ทรงเกิดญาณคือความหยั่งรู้ขึ้นในอริยสัจทั้ง ๔ คือ ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ และมรรค หรือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
ทุกขสมุทัยเหตุเกิดทุกข์นั้นก็คือตัณหาความดิ้นรนทะยานอยาก อันประกอบด้วย
นันทิคือความเพลิน
ราคะคือความติดในยินดี เพลิดเพลินยินดียิ่งในอารมณ์นั้นๆจำแนกออกเป็น
กามตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากไปในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าใคร่ปรารถนาพอใจ
ภวตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากไปในภพคือความเป็นนั่นเป็นนี่
วิภวตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากไปในความไม่เป็นนั่นไม่เป็นนี่
นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์จริง
๑. ทุกข์ คือ ความจริงที่ว่าด้วยความทุกข์
๒. ทุกขสมุทัย ความจริงที่ว่าด้วยเหตุให้เกิดทุกข์
๓. ทุกขนิโรธ ความจริงที่ว่าด้วยความดับทุกข์
๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ หรือมรรคทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ได้
เรียกกันว่าอริยสัจ ก็เรียกตามพระพุทธเจ้าที่ได้ตรัสไว้ในปฐมเทศนา คือเทศนาทีแรกของพระองค์ที่ตรัสว่าพระตถาคตคือพระองค์ได้เว้นทางสุดโต่ง ๒ ทาง คือ ทางกามสุขัลลิกานุโยค ความประกอบพัวพ้นอยู่ด้วยความสุขสดชื่นในกาม และทางอัตตกิลมถานุโยค ทางทรมานตนให้ลำบาก ได้ทรงปฏิบัติอยู่ในทางอันเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา ข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางกลาง ไม่เกี่ยวข้องด้วยทางสุดโต่งทั้ง ๒ นั้น ก็คือมรรคมีองค์ ๘ มี สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ เป็นต้น มีสัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ เป็นที่สุด จึงได้ทรงเกิดญาณคือความหยั่งรู้ขึ้นในอริยสัจทั้ง ๔ คือ ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ และมรรค หรือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
🙏 สัจจญาณ
สัจจญาณคือหยั่งรู้ว่าจริง คือนี้เป็นทุกข์จริง นี้เป็นทุกขสมุทัยคือเหตุให้เกิดทุกข์จริง นี้เป็นทุกขนิโรธคือความดับทุกข์จริง นี้เป็นมรรคคือทางดับทุกข์จริง
ข้อที่ว่านี้เป็นทุกข์จริงก็คือว่า
ความเกิด เป็นทุกข์จริง
ความแก่ เป็นทุกข์จริง
ความตาย เป็นทุกข์จริง
ความโศกคือความแห้งใจ เป็นทุกข์จริง
ความปริเทวะคือความรัญจวนคร่ำครวญใจ เป็นทุกข์จริง
ทุกขะคือความไม่สบายกาย เป็นทุกข์จริง
โทมนัสสะคือความไม่สบายใจ เป็นทุกข์จริง
อุปายาสะความคับแค้นใจ เป็นทุกข์จริง
ความประจวบกับสิ่งคือสัตว์และสังขารไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์จริง
ความพลัดพรากจากสัตว์และสังขารที่เป็นที่รักเป็นทุกข์จริง
ความปรารถนามิได้สมหวังเป็นทุกข์จริง
กล่าวโดยย่อ ขันธ์เป็นที่ยึดถือทั้ง ๕ ประการ คือ
รูปขันธ์ กองรูป เป็นทุกข์จริง
เวทนาขันธ์ กองเวทนา เป็นทุกข์จริง
สัญญาขันธ์ กองสัญญา เป็นทุกข์จริง
สังขารขันธฺ กองสังขาร เป็นทุกข์จริง
วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ เป็นทุกข์จริง
ความเกิด เป็นทุกข์จริง
ความแก่ เป็นทุกข์จริง
ความตาย เป็นทุกข์จริง
ความโศกคือความแห้งใจ เป็นทุกข์จริง
ความปริเทวะคือความรัญจวนคร่ำครวญใจ เป็นทุกข์จริง
ทุกขะคือความไม่สบายกาย เป็นทุกข์จริง
โทมนัสสะคือความไม่สบายใจ เป็นทุกข์จริง
อุปายาสะความคับแค้นใจ เป็นทุกข์จริง
ความประจวบกับสิ่งคือสัตว์และสังขารไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์จริง
ความพลัดพรากจากสัตว์และสังขารที่เป็นที่รักเป็นทุกข์จริง
ความปรารถนามิได้สมหวังเป็นทุกข์จริง
กล่าวโดยย่อ ขันธ์เป็นที่ยึดถือทั้ง ๕ ประการ คือ
รูปขันธ์ กองรูป เป็นทุกข์จริง
เวทนาขันธ์ กองเวทนา เป็นทุกข์จริง
สัญญาขันธ์ กองสัญญา เป็นทุกข์จริง
สังขารขันธฺ กองสังขาร เป็นทุกข์จริง
วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ เป็นทุกข์จริง
ทุกขสมุทัยเหตุเกิดทุกข์นั้นก็คือตัณหาความดิ้นรนทะยานอยาก อันประกอบด้วย
นันทิคือความเพลิน
ราคะคือความติดในยินดี เพลิดเพลินยินดียิ่งในอารมณ์นั้นๆจำแนกออกเป็น
กามตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากไปในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าใคร่ปรารถนาพอใจ
ภวตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากไปในภพคือความเป็นนั่นเป็นนี่
วิภวตัณหา ความดิ้นรนทะยานอยากไปในความไม่เป็นนั่นไม่เป็นนี่
นี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์จริง
ดับตัณหาเสียได้ทุกข์ดับไปหมด นี้เป็นความดับทุกข์จริง
มรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบดังกล่าวเป็นต้นนั้น มรรคคือทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์จริง
พระญาณคือความหยั่งรู้ว่า นี้เป็นทุกข์จริง นี้เป็นเหตุเกิดทุกข์จริง นี้เป็นความดับทุกข์จริง นี้เป็นทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์จริง นี้เป็นสัจจญาณ นี่ก็วนไปในสัจจะทั้ง ๔ รอบหนึ่ง
🙏 กิจจญาณ
กิจจญาณ คือความหยั่งรู้ในกิจคือข้อที่พึงกระทำได้เกิดพระญาณคือความหยั่งรู้ขึ้นว่า
ทุกข์เป็นข้อที่พึงกำหนดรู้อันเรียกว่าปริญญา
สมุทัยเป็นข้อที่ควรละอันเรียกว่าปหานะ
ความดับทุกข์เป็นข้อที่พึงกระทำให้แจ้งอันเรียกว่าสัจฉิกรณะ
มรรคคือข้อที่ควรอบรมปฏิบัติให้มีขึ้นให้เป็นขึ้นอันเรียกว่าภาวนา
นี้เป็นกิจที่พึงกระทำในสัจจะทั้ง ๔ เรียกว่ากิจจญาณ
ทุกข์เป็นข้อที่พึงกำหนดรู้อันเรียกว่าปริญญา
สมุทัยเป็นข้อที่ควรละอันเรียกว่าปหานะ
ความดับทุกข์เป็นข้อที่พึงกระทำให้แจ้งอันเรียกว่าสัจฉิกรณะ
มรรคคือข้อที่ควรอบรมปฏิบัติให้มีขึ้นให้เป็นขึ้นอันเรียกว่าภาวนา
นี้เป็นกิจที่พึงกระทำในสัจจะทั้ง ๔ เรียกว่ากิจจญาณ
🙏 กตญาณ
กตญาณ คือความหยั่งรู้กิจทั้ง ๔ นั้นว่าได้กระทำแล้ว คือว่า
ทุกข์นั้นพระองค์ก็ได้ทรงกำหนดรู้แล้ว
สมุทัยคือตัณหาพระองค์ก็ทรงละได้แล้ว
นิโรธคือความดับทุกข์พระองค์ก็ทรงกระทำให้แจ้งแล้ว
มรรคพระองค์ก็ได้ทรงปฏิบัติทำให้มีให้เป็นขึ้นครบถ้วนแล้ว
เรียกว่ากตญาณ ญาณคือความหยั่งรู้ว่ากิจได้กระทำเสร็จแล้ว
กตญาณ คือความหยั่งรู้กิจทั้ง ๔ นั้นว่าได้กระทำแล้ว คือว่า
ทุกข์นั้นพระองค์ก็ได้ทรงกำหนดรู้แล้ว
สมุทัยคือตัณหาพระองค์ก็ทรงละได้แล้ว
นิโรธคือความดับทุกข์พระองค์ก็ทรงกระทำให้แจ้งแล้ว
มรรคพระองค์ก็ได้ทรงปฏิบัติทำให้มีให้เป็นขึ้นครบถ้วนแล้ว
เรียกว่ากตญาณ ญาณคือความหยั่งรู้ว่ากิจได้กระทำเสร็จแล้ว
เพราะฉะนั้น พระญาณทั้ง ๓ คือ สัจจญาณ กิจจญาณ กตญาณ ในอริยสัจทั้ง ๔ รวมเข้าก็เป็นอาการ ๑๒ จึงเรียกว่ามีวนรอบ ๓ อาการ ๑๒ พระญาณนี้หมดจดในอริยสัจทั้ง ๔ สมบูรณ์ จึงได้ทรงปฏิญญาพระองค์ว่าได้ตรัสรู้อภิสัมโพธิคือความตรัสรู้ยิ่งเป็นยอดเยี่ยมแล้ว พระองค์สิ้นชาติแล้ว พรหมจรรย์พระองค์ได้อยู่จบแล้ว ไม่มีกิจอื่นที่จะพึงกระทำเพื่อที่จะเป็นอย่างนี้อีก
พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร