๓.๔ อโหสิกรรม

อโหสิกรรมนี้ไม่มีองค์ธรรมโดยเฉพาะ แต่จะหมายเอาเจตนาที่เกิดขึ้นกับจิตทุกดวงใน ชวน จิตทั้ง ๗ ดวง เมื่อล่วงเลยเวลาที่จะส่งผลไปแล้วและยังไม่ได้ส่งผลเลย ก็แสดงว่ากรรมนั้นไม่มีโอกาสส่งผลอีก ต่อไป จึงเรียกว่า อโหสิกรรม

ตัวอย่างเช่น นายทองแก้วระหว่างที่มีชีวิตอยู่ได้สร้างกรรม ๓ อย่าง คือ ให้ทานแก่ผู้มีศีล รักษา อุโบสถศีลทุกวันพระ และในตอนเป็นเด็กเคยฆ่าปลา ในชาตินี้กรรมที่เคยรักษาอุโบสถศีลได้มีโอกาสส่งผลทำหน้าที่ทิฏฐธัมมเวทนียกรรม กรรมอีกสองอย่าง คือ การให้ทานและการฆ่าปลานั้นไม่มีโอกาสส่งผลในชาตินี้ กรรมทั้งสองอย่างนี้แหละที่ไม่มีโอกาสส่งผลเป็น🔎ทิฏฐธัมมเวทนียกรรมในชาตินี้และหมดโอกาสส่งผลแล้ว จัดเป็นอโหสิกรรม ชีวิตของบุคคลที่เกิดมา หนีกรรมไม่พ้น ทั้งกรรมเก่าและกรรมใหม่ กรรมใหม่ก็ทำตลอดเวลาทั้งทางกาย วาจาและใจ โดยเฉพาะกรรมใหม่ที่ทำนั้นถ้าเป็นอกุศลจะแก้ไขอย่างไรที่จะให้อกุศลกรรมนั้นเป็นอโหสิกรรม หรือทำกุศลมากมายแต่กุศลนั้นไม่ให้ผล แล้วจะทำอย่างไรกุศลนั้นจึงจะส่งผลได้ เรื่องนี้ต้องพิจารณาว่ากรรมจะสำเร็จได้ด้วยเจตนาของผู้ทำ บางครั้งทำกุศลอย่างที่เห็นเขาทำก็ทำบ้าง ทำด้วยความไม่ ตั้งใจ กุศลอย่างนี้ไม่มีกำลัง อินทรีย์ไม่เข้มแข็ง ถ้าจะให้กุศลที่ทำมีกำลัง ผู้ทำจะต้องประกอบด้วยอินทรีย์ทั้ง ๕ ที่มีกำลัง


อินทรีย์ ๕ อย่าง คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เมื่อพิจารณาแล้วก็เหมือนไม่ยาก แต่ในทางปฏิบัติต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างจึงทำได้สำเร็จ อินทรีย์คือ กำลัง การประกอบกรรมทั้งทางกาย วาจา ใจ ถ้าจะให้สำเร็จได้โดยไม่ย่อท้อ ทำได้อย่างต่อเนื่อง ทำอย่างไม่ขาดสาย บุคคลผู้นั้นต้องอาศัยความเด็ดเดี่ยว ความมีกำลังในการเพียรสร้างกุศลความดี เพราะว่าถ้าขาดกำลังในการกระทำแล้วกุศลนั้นๆ อาจอ่อนกำลังลง อาจสำเร็จไม่สมดังที่ตั้งใจไว้ตั้งแต่แรก หรือไม่สามารถจะกระทำกุศลนั้นได้อีกต่อไป เพราะขาดกำลังคือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ไปเสียแล้ว

เมื่ออินทรีย์ ๕ คือ ความเป็นใหญ่ในแต่ละทางเกิดขึ้นได้ ก็จะเกิดเป็นกำลังในการขับเคลื่อนให้การทำกุศลนั้นเป็นไปได้อย่างเต็มกำลัง กำลังหรือพลังนี้ก็คือ พละ โดยเฉพาะพลังใจต้องทำให้เกิดขึ้น และ ที่สำคัญ คือจะต้องเพิ่มพูนอยู่เสมอ ในพละทั้ง ๕ คือ

  • ๑. สัทธาพละ คือ ความเชื่อ บุคคลควรจะต้องปลูกความเชื่อความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยให้มั่นคง ความมั่นคงจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยปัญญาความรู้ เช่น มีความเชื่อในปัญญาตรัสรู้ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เชื่อกรรม เชื่อโลกนี้ โลกหน้า เชื่อการเวียนว่ายตายเกิด เชื่อผลของกรรมดีกรรมชั่ว
  • ๒. วิริยพละ คือ ความเพียร ความบากบั่น เพราะว่าการทำความดีถ้าไม่มีความเพียร ก็ทำไม่สำเร็จ และความเพียรที่ทำความดีให้สำเร็จนั้นต้องเป็นชนิด “ทำความดีเพื่อความดี” ไม่ใช่ทำความดีเพื่อลาภสักการะ สรรเสริญ หรือความสุข ต้องมุ่งมั่นทำความดีเพื่อผลของความดี 
  • ๓ . สติพละ คือ ความระลึกได้อยู่เสมอ สติจะต้องระลึกในสติปัฏฐาน ถ้านอกจากสติปัฏฐานแล้ว ก็ ควรระลึกคือพิจารณาปัญหาต่างๆ อย่างรอบคอบ อย่างคนมีสติไม่ใช่มองอย่างคนมีโมหะ สติจะสกัดกั้นความยินดีความยินร้ายไม่ให้เข้าครอบงำใจได้ เช่น โดยปกติของปุถุชนเมื่อพบหรือได้รับอารมณ์ที่ดี ก็จะเกิดความรู้สึกพอใจ มีความรักในสิ่งนั้น แต่ถ้ามีสติกำกับอยู่ในขณะรับอารมณ์แล้ว ความชอบใจก็จะไม่มีในขณะนั้น ทำให้ลดละความเพลิดเพลินยินดีลงไปได้ ความเพลิดเพลินยินดีในอารมณ์ก็เป็นสาเหตุให้บุคคลหลงลืมสติ 
  • ๔. สมาธิพละ คือ ความตั้งใจที่มั่นคง ความมั่นคงในการทำกิจการทั้งปวง การทำความดีต้องมีสมาธิ คือมีความมั่นใจใน ตัวเองว่าจะทำความดีต่อไปโดยไม่หวั่นไหว 
  • ๕. ปัญญาพละ คือ ความรอบรู้ ความรู้เท่าทัน ความเข้าใจในสิ่งที่กระทำ ไม่ใช่ทำด้วยความไม่รู้ แต่ทำด้วยความรู้คือทำด้วยปัญญา 
เมื่อผู้ใดทำให้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยคุณสมบัติ ๕ อย่างดังที่กล่าวมานี้ ทำได้อย่างครบถ้วน อย่างแก่กล้า แล้ว ก็อาจทำให้ผู้นั้นได้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วคุณสมบัติ ๕ อย่าง ในภพต่อ ๆ ไปได้ทุกชาติ จนกว่าจะเข้าสู่พระนิพพาน เมื่อเป็นเช่นนี้อกุศล🔎อปราปริยเวทนียกรรมนั้นก็ไม่มีโอกาสที่จะส่งผลได้ กลายเป็นอโหสิกรรมไป ส่วนอกุศลกรรมนั้น บางคนทำอกุศลตามๆ แบบเขาชวนทำก็ทำ ชวนไปกินสุรายาเมา ชวนไปเที่ยวรื่นเริง ก็ทำตามๆ เขาไป เพราะมีโมหะ ไม่มีปัญญา มีแต่ความหลง ทำโดยไม่ได้ตั้งใจทำ อกุศลกรรมเหล่านี้ก็มีกำลังอ่อน การจะแก้ไขเพื่อให้เป็นอโหสิกรรม ก็ต้องแก้ไขด้วยการสร้างกุศล เช่น ศึกษาธรรมะ เรียนให้รู้เรื่อง พระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง และไม่นึกถึงอกุศลกรรมเก่าๆ นั้น เพียรสร้างความดีละความชั่วคือบาปอกุศลทั้งมวล

🔎อกุศลอปราปริยเวทนียกรรม จะเป็นอโหสิกรรมได้นั้น เราต้องพร้อมด้วยคุณสมบัติ ๕ อย่าง คือ 
  • ๑. ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้ที่ได้ทำบุญกุศลไว้ในกาลก่อน จึงได้เกิดมาเป็นมนุษย์ในชาตินี้ และจะต้องปลูกฝังให้เกิดขึ้น ต่อไปอีกด้วย หมายความว่าชาตินี้ก็ต้องทำบุญ สั่งสมบุญ
  • ๒. ปฏิรูปเทสวาสะ การอยู่ในถิ่นฐานหรือประเทศที่สมควร อยู่ในถิ่นฐานที่มีพุทธศาสนา มีคนเป็น นักปราชญ์ มีศีลธรรม
  • ๓. สัปปุริสูปัสสยะ ต้องสมาคมกับสัตบุรุษ คบคนดี สัตบุรุษคือคนดี คนดีคือคนที่มีศีลธรรม อย่าไปคบค้า สมาคมกับคนอันธพาล คนเลว
  • ๔. สัทธัมมัสสวนะ ต้องหมั่นฟังธรรม ศึกษาธรรมอยู่เสมอ เพื่อจะได้เข้าใจหลักธรรมคำสอนของ พระพุทธเจ้า แล้วก็นำคำสอนนั้นมาใช้ปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิต
  • ๕. อัตตสัมมาปณิธิ การตั้งตนไว้ชอบ ตั้งตนของเราไว้ในทางที่ชอบ ไม่ตั้งตนไว้ในทางที่ผิด
คุณธรรมทั้ง ๕ ประการนี้ ควรปลูกฝังไว้ในชาตินี้ อกุศลกรรมที่เคยทำไว้ก็อาจจะไม่มีโอกาสที่จะส่งผล และคุณธรรมทั้ง ๕ นี้ ย่อมทำให้มีเสบียงบุญหนุนนำสัตว์ที่ยังต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ ให้เป็นไปอย่างสมบูรณ์ในอัตภาพ สมบูรณ์ในภพชาติ และเสบียงนี้จะเป็นประโยชน์นำส่งไปจนกว่าจะถึงซึ่งพระนิพพาน


วิกิ

ผลการค้นหา