จิตเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งที่ทำหน้าที่รู้อารมณ์ เมื่อประสาทตากระทบกับรูป(รูปารมณ์) ก็เกิดการเห็นโดยจักขุวิญญาณ(จิตที่เกิดทางตา) โดยธรรมชาติของจิตจะเกิดขึ้นและดับไปอย่าง รวดเร็วทางทวารทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพื่อไปรับอารมณ์ในแต่ละทวาร จิตแต่ละดวงที่เกิดขึ้นจะมีอายุสั้นมาก แล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว จิตดวงใหม่ที่เกิดขึ้นจะตั้งอยู่ชั่วขณะแล้วก็ดับไปอีก จะมีจิตมากกว่า ๑ ดวงเกิดขึ้นซ้อนกันในขณะเดียวกันไม่ได้เด็ดขาด เพราะจิตดวงใหม่จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากจิตดวงก่อนยังไม่ดับลงไป ตลอดชีวิตในชาติหนึ่งๆ มีจิตที่เกิดขึ้นและดับไปจำนวนมากมายสุดที่จะนับได้ ซึ่งก็หมายความว่าในชาติหนึ่งๆนั้นเรามีการเกิดและตายนับครั้งไม่ถ้วนเช่นกัน เพราะจิตเกิดขึ้น ๑ ครั้ง ก็เท่ากับเราเกิด ๑ ครั้ง จิตดับลง ๑ ครั้ง ก็เท่ากับเราตายลง ๑ ครั้ง ความตายชั่วขณะนี้ท่านเรียกว่า ขณิกมรณะ แต่เพราะจิตเกิด-ดับสืบต่อกันรวดเร็วมากจึงปิดบังความจริงในเรื่องนี้ไว้ทำให้หลงผิดคิดว่าเป็นตัวเราเป็นของเราอยู่ตลอดเวลา ปัญญาที่เห็นประจักษ์แจ้งสภาพธรรมตามความเป็นจริงดังกล่าวนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวมหาสติปัฏฐาน ๔ ซึ่งจะได้ศึกษาโดยละเอียดต่อไป
จิตมีสภาพรู้อารมณ์เป็นลักษณะ หรือเป็นธาตุรู้เท่านั้น ตามสภาวะแล้วจิตจะเกิดโดยลำพังไม่ได้จะต้องมีเจตสิก (ธรรมชาติที่ประกอบกับจิต) เกิดร่วมอยู่ด้วยเสมอ กล่าวคือเมื่อจิตเกิดเจตสิกก็เกิดร่วมด้วย เมื่อจิตดับเจตสิกก็ดับพร้อมกับจิตด้วย ประดุจความร้อนและแสงสว่างของไฟที่แยกออกจากกันไม่ได้ฉันนั้น เจตสิกธรรม คือ ธรรมชาติที่ประกอบกับจิต แบ่งออกเป็น ๓ ฝ่าย ดังนี้คือ
ฝ่ายอกุศลได้แก่ โลภเจตสิก โทสเจตสิก โมหเจตสิก (ความโลภ ความโกรธ ความหลง)
ฝ่ายกุศลได้แก่ อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก อโมหเจตสิก (ความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง)
ฝ่ายกลางๆ ไม่เป็นอกุศลไม่เป็นอกุศลได้แก่ ผัสสเจตสิก เป็นต้น อาศัยความแตกต่างแห่งลักษณะของจิตที่เกิดขึ้นโดยเจตสิกที่แตกต่างกันดังกล่าวท่านจึงได้จำแนกลักษณะของจิตออกเป็น ๘๙ ดวง (โดยย่อ) หรือ ๑๒๑ ดวง (โดยพิสดาร) ดังแสดงในภาพจิต
เหตุที่จำแนกจำนวนไว้ไม่เท่ากันก็เนื่องมาจากมรรคจิตและผลจิต ซึ่งโดยย่อจะนับแค่มรรคจิต ๔ ดวง และผลจิต ๔ ดวง ส่วนโดยพิสดารนั้น จะนำระดับของฌานคือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน และปัญจมฌาน ที่เกิดกับมรรคจิตทั้ง ๔ มาพิจารณาด้วย ทำให้มรรคจิตเพิ่มจาก ๔ ดวง เป็น ๒๐ ดวง ส่วนผลจิตก็จะ เพิ่มจาก ๔ ดวง เป็น ๒๐ ดวง ในทำนองเดียวกัน โดยเหตุที่เจตสิกธรรมเข้าประกอบปรุงแต่งจิต แล้วทำให้จิตมีลักษณะแตกต่างกันไป ท่านจึงได้จำแนกลักษณะของจิตออกเป็น ๔ ประเภทใหญ่ๆ คือ
๑. กามาวจรจิต
๒. รูปาวจรจิต
๓. อรูปาวจรจิต
๔. โลกุตตรจิต
ฝ่ายอกุศลได้แก่ โลภเจตสิก โทสเจตสิก โมหเจตสิก (ความโลภ ความโกรธ ความหลง)
ฝ่ายกุศลได้แก่ อโลภเจตสิก อโทสเจตสิก อโมหเจตสิก (ความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง)
ฝ่ายกลางๆ ไม่เป็นอกุศลไม่เป็นอกุศลได้แก่ ผัสสเจตสิก เป็นต้น อาศัยความแตกต่างแห่งลักษณะของจิตที่เกิดขึ้นโดยเจตสิกที่แตกต่างกันดังกล่าวท่านจึงได้จำแนกลักษณะของจิตออกเป็น ๘๙ ดวง (โดยย่อ) หรือ ๑๒๑ ดวง (โดยพิสดาร) ดังแสดงในภาพจิต
เหตุที่จำแนกจำนวนไว้ไม่เท่ากันก็เนื่องมาจากมรรคจิตและผลจิต ซึ่งโดยย่อจะนับแค่มรรคจิต ๔ ดวง และผลจิต ๔ ดวง ส่วนโดยพิสดารนั้น จะนำระดับของฌานคือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน และปัญจมฌาน ที่เกิดกับมรรคจิตทั้ง ๔ มาพิจารณาด้วย ทำให้มรรคจิตเพิ่มจาก ๔ ดวง เป็น ๒๐ ดวง ส่วนผลจิตก็จะ เพิ่มจาก ๔ ดวง เป็น ๒๐ ดวง ในทำนองเดียวกัน โดยเหตุที่เจตสิกธรรมเข้าประกอบปรุงแต่งจิต แล้วทำให้จิตมีลักษณะแตกต่างกันไป ท่านจึงได้จำแนกลักษณะของจิตออกเป็น ๔ ประเภทใหญ่ๆ คือ
๑. กามาวจรจิต
๒. รูปาวจรจิต
๓. อรูปาวจรจิต
๔. โลกุตตรจิต