เจตสิกกลุ่มที่ ๑ อัญญสมานเจตสิก มี ๑๓ ดวง แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ
ก. สัพพจิตตสาธารณเจตสิก มี ๗ ดวง
ข. ปกิณณกเจตสิก มี ๖ ดวง
ข. ปกิณณกเจตสิก มี ๖ ดวง
ก. สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ดวงได้แก่
๑. ผัสสเจตสิก
๒. เวทนาเจตสิก
๓. สัญญาเจตสิก
๔. เจตนาเจตสิก
๕. เอกัคคตาเจตสิก
๖. ชีวิตินทรีย์เจตสิก
๗. มนสิการเจตสิก
สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ดวง จะเข้าปรุงแต่งกับจิตทุกๆ ดวง สัพพจิตตสาธารณเจตสิกแต่ละดวงมีลักษณะดังนี้
๑. ผัสสเจตสิก เป็นธรรมชาติที่รับการกระทบ คือรับกระทบสิ่งที่มาปรากฏ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ กล่าวคือ รับภาพที่มากระทบกับตา รับเสียงที่มากระทบกับหู รับกลิ่นที่มากระทบกับจมูก รับรสที่มากระทบกับลิ้น รับความเย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง หย่อน-ตึงที่มากระทบกับกาย และรับเรื่องราวต่าง ๆ ที่มากระทบใจ เมื่อผัสสเจตสิกเกิดขึ้นแล้วทำให้มีการประชุมพร้อมกันของปัจจัยธรรมทั้ง ๓ ประการ คือ อารมณ์ วัตถุ และวิญญาณ ผัสสเจตสิกจึงมีหน้าที่เป็นตัวประสานระหว่างอารมณ์ วัตถุ และวิญญาณ ดังนี้
๑.๑ ประสาน อารมณ์ ๖ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เรื่องราวต่าง ๆ
๑.๒ ประสาน วัตถุ ๖ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
๑.๓ ประสาน วิญญาณ ๖ ได้แก่ ธรรมชาติที่เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส และความรู้สึกนึกคิด
ในมิลินทปัญหาได้เปรียบเทียบหน้าที่ของผัสสะไว้ว่า อุปมาเช่นแพะ ๒ ตัวชนกัน จักษุเหมือนแพะตัวที่หนึ่ง รูปเหมือนแพะตัวที่สอง ผัสสะเหมือนการชนกันของแพะทั้ง ๒ ตัว ผัสสะจึงมีการกระทบอารมณ์เป็นลักษณะ มีการประสานเป็นหน้าที่ ผัสสเจตสิกเมื่อเกิดขึ้นย่อมทำให้อารมณ์มาปรากฏเกิดขึ้น เป็นธรรมดาว่าเมื่อผัสสะไม่เกิดขึ้นการรับอารมณ์ก็ไม่มีตามไปด้วย เช่น มีภาพมากมายที่มีอยู่ด้านหลังของเรา แต่การรับอารมณ์คือภาพที่ตั้งอยู่ด้านหลังของเรานั้นย่อมไม่ปรากฏเลยเพราะผัสสะยังไม่เกิด(ตายังไม่กระทบ) ต่อเมื่อเราหันหน้าไปยังภาพนั้นและเห็นภาพนั้น ผัสสะย่อมเกิดขึ้นและนาอารมณ์คือภาพนั้นมาสู่การรับรู้ ฉะนั้นจึงกล่าวว่าผัสสเจตสิกเมื่อเกิดย่อมทำให้อารมณ์มาปรากฏเกิดขึ้น
๒. เวทนาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่รับรู้รสแห่งอารมณ์ คือรับรู้ว่าเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นกลาง(อุเบกขา) คือไม่สุข ไม่ทุกข์ เวทนาที่จัดไว้ ๓ คือ สุข ทุกข์ อุเบกขา และเวทนาที่จัดไว้เป็น ๕ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา โสมนัสเวทนา โทมนัสเวทนา อุเบกขาเวทนา อธิบายเวทนา ๕ ดังนี้สุขเวทนา คือ ความสบายทางกาย การได้รับกระทบกับโผฏฐัพพารมณ์(เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง) ที่ดีพอเหมาะทาให้กายเป็นสุข มีความสบายทางกาย เช่น อยู่ในห้องปรับอากาศที่อุณหภูมิพอเหมาะสุขเวทนาทางกายก็เกิดขึ้นได้ทุกขเวทนา คือ ความไม่สบายทางกาย ได้รับกระทบกับโผฏฐัพพารมณ์ที่ไม่พอดีไม่เหมาะทาให้กายเป็นทุกข์โสมนัสเวทนา คือ ความสบายทางใจ ความสุขทางใจโทมนัสเวทนา คือ ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจอุเบกขาเวทนา คือ ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ เป็นการรับรสอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขเป็นกลางๆ มีความสงบ ความสงบทางใจนี้ไม่มีปีติประกอบ พึงสังเกตว่าเมื่อรู้สึกเฉยๆ โดยที่ใจไม่มีปีติขณะนั้นใจเป็นอุเบกขา เกิดได้ทั้งกำลังทำกุศลและอกุศล เช่น รับประทานอาหารด้วยโลภะ รสชาติอาหารก็ไม่ได้ทำให้ชอบใจหรือไม่ชอบใจ ขณะนั้นจิตเป็นโลภะมีเวทนาเป็นอุเบกขา หรือการทำกุศล เช่น การใส่บาตรที่หน้าบ้านทุกวัน ซึ่งเป็นอารมณ์เดิมทุกๆ วัน บางครั้งจิตเป็นกุศลที่มีเวทนาเป็นอุเบกขา
สรุปว่า สุขเวทนาเกิดขึ้นประกอบกับจิตเพราะรับอารมณ์ที่ดี ทุกขเวทนาเกิดขึ้นประกอบกับจิตเพราะรับอารมณ์ที่ไม่ดี อุเบกขาเวทนาเกิดขึ้นประกอบกับจิตเพราะรับอารมณ์ที่เป็นกลางๆ
๓. สัญญาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่จำ เช่น เด็กเล็ก จำ ก.ไก่ – ฮ.นกฮูก ผู้ใหญ่จำเรื่องราวต่างๆ ได้ เป็นต้น ทั้งคนและสัตว์จะจำใน ๖ สิ่ง คือ จำรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและจำเรื่องราวที่คิดนึกทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
๔. เจตนาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ตั้งใจ หรือการประมวลกุศลกรรมและอกุศลกรรมเอาไว้แล้วกระทำออกมาทางกาย วาจา ใจ สำเร็จเป็นบุญบาป เจตนาที่ได้กระทำสำเร็จแล้วในกุศลและอกุศล จะส่งผลให้เมื่อตายไปก็จะต้องไปเสวยผลของกรรมที่ได้ทำไว้ คือ เจตนาในกุศลกรรมนำให้ได้เกิดเป็นมนุษย์ เทวดา เจตนาในอกุศลกรรมนำให้เกิดในอบายภูมิ เจตนาเจตสิกจึงได้ชื่อว่าเป็น กรรม คือ การกระทำดี หรือไม่ดี นั่นเอง
๕. เอกัคคตาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ทำจิตใจให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว อารมณ์มี ๖ เช่น รูปารมณ์ เป็นต้น เอกัคคตาเจตสิกจะทำให้จิตตั้งมั่นไม่ซัดส่ายไปในภาวะต่างๆ เปรียบเหมือนการดำรงอยู่แห่งเปลวไฟของดวงประทีปในที่สงัดลม
๖. ชีวิตินทรีย์เจตสิก เป็นธรรมชาติที่หล่อเลี้ยงรักษานามธรรม คือจิตและเจตสิกให้มีชีวิตอยู่ได้ ชีวิตินทรีย์มีความเป็นใหญ่ในกระแสจิตที่เป็นไปต่อเนื่อง ประดุจน้ำหล่อเลี้ยงดอกบัว คำว่า “ชีวิต” มี ๒ อย่าง คือ ชีวิตนาม และ ชีวิตรูป ชีวิตนาม ได้แก่ ชีวิตินทรีย์เจตสิกนี้เอง ส่วนชีวิตรูปจะได้ศึกษาต่อไปในเรื่องรูปปรมัตถ์
๗. มนสิการเจตสิก เป็นธรรมชาติที่น้อมจิตใจไปสู่อารมณ์ มนสิการ มี ๓ อย่าง คือ
๗.๑ การน้อมไปในอารมณ์ ๕ มี รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เพื่อให้วิถีจิตเกิดขึ้นทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย คือ ปัญจทวารวิถี เรียกว่า วิถีปฏิปาทกมนสิการ
๗.๒ การน้อมไปในอารมณ์ที่เกิดทางใจ ซึ่งเรียกว่า ธัมมารมณ์ เพื่อให้วิถีจิตเกิดขึ้นทางใจ คือ มโนทวารวิถี เรียกว่า ชวนปฏิปาทกมนสิการ
๗.๓ ทำให้อารมณ์เป็นไป หมายความว่า ทำให้เกิดกระแสจิตเป็นไปต่อเนื่องนับตั้งแต่เกิด คือ เมื่อไม่มีอารมณ์อื่นที่ชัดเจนกว่ามาปรากฏ ก็ทำให้เกิดกระแสจิตในอารมณ์เก่าได้ เรียกว่า อารัมมณปฏิปาทกมนสิการ
สรุป สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ เจตสิกทั้ง ๗ ดวง คือ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตาชีวิตินทรีย์ มนสิการ เป็นเจตสิกที่เข้าปรุงแต่งจิตได้ทุกดวง จึงได้ชื่อว่าสัพพจิตตสาธารณเจตสิก
ข. ปกิณณกเจตสิก ๖ ดวง เข้าปรุงแต่งจิตได้ไม่ทั่วไปได้แก่
๑. วิตกเจตสิก
๒. วิจารเจตสิก
๓. อธิโมกข์เจตสิก
๔. วิริยเจตสิก
๕. ปีติเจตสิก
๖. ฉันทเจตสิก
ปกิณณกเจตสิก แต่ละดวงมีลักษณะดังนี้
๑. วิตกเจตสิก คือ ความตรึก ลักษณะของวิตกนั้นเกิดขึ้นทาให้มีการยกธรรมทั้งหลายที่เกิดร่วมกันขึ้นสู่อารมณ์แสดงข้อเปรียบเทียบลักษณะของวิตกไว้ว่าบุรุษชาวบ้านบางคน เพราะอาศัยมิตรผู้เป็นราชวัลลภหรือมิตรผู้มีความสัมพันธ์กับพระราชา จึงตามเข้าไปสู่พระราชวังได้ฉันใด จิตเพราะอาศัยวิตกเจตสิก จึงย่างขึ้นสู่อารมณ์ได้ฉันนั้น-วิตก ถ้าประกอบกับอกุศลจิต จัดเป็นมิจฉาสังกัปปะ จะตรึกในอกุศล เป็นเหตุให้อกุศลธรรมนั้นเจริญ ตั้งมั่น เพราะว่าการตรึกนึกนั้นเป็นเหตุให้อกุศลนั้นมีกำลังมาก -วิตก ถ้าประกอบกับกุศลจิต จัดเป็นสัมมาสังกัปปะ จะตรึกในกุศลยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ตั้งจิตไว้ในอารมณ์ที่เป็นกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญถึงความที่เป็นกุศล โดยที่เป็นการดาริ(ตรึก)ที่ตรงกับความจริง และเป็นความดำริ(ตรึก)ที่จะพ้นไปจากสังสารวัฏ
๒. วิจารเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ตรอง พิจารณา อารมณ์ โดยสภาวธรรมของวิตกและวิจารมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน แต่วิตกจะมีสภาพหยาบและเกิดขึ้นก่อน และทำให้จิตเข้าไปสู่อารมณ์ก่อน เปรียบเทียบดังนี้ วิตก เหมือนเสียงตีระฆัง วิจารมีสภาวะละเอียด เกิดตามหลังและเป็นสภาวะที่จิตติดตามอารมณ์ วิจาร จึงเหมือนเสียงครวญของระฆัง หรืออุปมา เช่น บุคคลเอามือข้างหนึ่งจับภาชนะที่เป็นสนิม เอามืออีกข้างหนึ่งขัดด้วยแปรงวิตกเปรียบเหมือนมือที่จับไว้ วิจารเปรียบเหมือนมือที่ขัด ความแตกต่างของวิตกและวิจาร จะปรากฏชัดในฌานที่ ๑ และฌานที่ ๒ ซึ่งจะได้ศึกษาต่อในเรื่องสมถกรรมฐาน
๓. อธิโมกข์เจตสิก เป็นธรรมชาติของความตัดสินใจ เป็นภาวะที่จิตตัดความสงสัยในอารมณ์ว่าเป็นเช่นนั้นเป็นเช่นนี้ แล้วก็ดำเนินไปตามที่ตัดสินใจโดย
๔. วิริยเจตสิก เป็นธรรมชาติที่เพียรพยายาม มีความอาจหาญในการงาน บุคคลที่มีวิริยะจะเป็นผู้ที่สามารถทำการงานต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะงานเล็กหรือใหญ่ไม่ว่าจะยากหรือง่าย จะไม่คำนึงถึงความลำบากของตน จะประคับประคองกายกับจิตอยู่เสมอเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ ในบางครั้งจิตของคนเราเกิดความเบื่อหน่ายท้อถอยในการทาความดี วิธีที่จะปลุกใจให้ทำความดีต่อไปนั้นให้พิจารณาถึง สังเวควัตถุ ๘ ประการ คือ ทุกข์ที่เกิดจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ทุกข์ที่จะต้องไปอยู่ในอบายภูมิทั้งสี่ คือ นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน ถ้านึกถึงความทุกข์ที่รออยู่ข้างหน้ามากมาย จะเกิด วิริยะ เพียรพยายามที่จะกระทำกุศลให้เกิดขึ้นทั้งทางกาย วาจา ใจ กุศลทางกาย ทางวาจา ทำให้เราพ้นทุกข์โดยไม่ต้องไปเกิดในอบายภูมิเท่านั้น ไม่สามารถให้พ้นไปจากทุกข์ คือการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ได้ แต่การทำกุศลทางใจ คือ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวมหาสติปัฏฐาน ๔ นั้น ทำให้พ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงได้
* วิริยเจตสิกเมื่อเกิดร่วมกับอกุศลจิตก็เป็นมิจฉาวายามะ เพราะเพียรผิด
* วิริยเจตสิกเมื่อเกิดร่วมกับกุศลจิตก็เป็นสัมมาวายามะ เพราะเพียรถูก
๕. ปีติเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ทำให้กายและจิตเกิดความเอิบอิ่ม มีความปลื้มใจ มีความปราโมทย์ ปีติเจตสิกเกิดขึ้นในขณะที่ทำบุญทำกุศล เจริญสมาธิ หรือในขณะที่ยินดีพอใจสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากๆ ปีติก็เกิดขึ้นได้ ลักษณะของปีติมี ๕ ประการ คือ
๕.๑ ขุททกาปีติ ปีติเล็กน้อยเกิดขึ้นครั้งเดียวแล้วดับไป ทำให้ขนลุก
๕.๒ ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะเกิดขึ้นเหมือนสายฟ้าแลบเป็นขณะๆ
๕.๓ โอกกันติกาปีติ ปีติซึมซาบเกิดขึ้นในร่างกายแล้วแผ่กระจายเหมือนคลื่นกระทบฝั่งสมุทร
๕.๔ อุพเพงคาปีติ ปีติมีกำลัง สามารถยังกายให้ฟูแล้วลอยไปในอากาได้
๕.๕ ผรณาปีติ ปีติซาบซ่านทั่วร่างกาย เหมือนสำลีที่ชุ่่มด้วยน้ำข้อเปรียบเทียบระหว่าง ปีติกับสุข ปีติ มีลักษณะ คือ มีความแช่มชื่นในอารมณ์ สุข มีลักษณะ คือ มีการได้รสแห่งอารมณ์นั้น เปรียบเหมือนคนที่เดินทางไกลเหนื่อยล้า เมื่อพบเห็นน้ำ ปีติก็เกิดขึ้นมีความแช่มชื่นยินดีเพราะได้เห็นน้ำ ถ้าเขาได้ดื่มน้ำก็จะเกิดสุข
๖. ฉันทเจตสิก เป็นธรรมชาติที่มีความปรารถนา คือปรารถนาในอารมณ์ต่างๆ มี รูป รส กลิ่น เสียง เป็นต้น ฉันทะถึงแม้จะมีความปรารถนาในอารมณ์ ก็ไม่ได้ปรารถนาด้วยความเพลิดเพลินกำหนัดและผูกพัน แต่ปรารถนาด้วยความต้องการจะให้สำเร็จประโยชน์นั้นๆ อุปมาเหมือนนายขมังธนูของพระราชาผู้ต้องการทรัพย์หรือเกียรติยศ ย่อมปรารถนาลูกศรจำนวนมาก ถึงแม้นลูกศรที่ได้มาก็เพื่อการยิงออกไป ไม่ได้เก็บยึดรักษาลูกศรไว้เป็นของตน
ข้อแตกต่างระหว่างฉันทะกับโลภะ-ฉันทะ มีการแสวงหาอารมณ์และมีความต้องการอารมณ์ แต่ไม่ยึดมั่นไม่ติดข้องในอารมณ์-โลภะ มีการแสวงหาอารมณ์ด้วย มีความต้องการอารมณ์ด้วยทั้งยึดมั่นและติดข้องในอารมณ์ด้วยการเข้าใจฉันทะและโลภะให้ถูกต้อง เป็นการฝึกให้เข้าใจถูกต้องในนามธรรม ย่อมเป็นประโยชน์เมื่อไปเจริญวิปัสสนาเพื่อรู้นามและรูป การรู้จักนามก็ต้องรู้จักลักษณะของนาม การรู้จักรูปก็ต้องรู้จักลักษณะของรูป ฉะนั้นเมื่อศึกษาแล้วควรน้อมพิจารณาจิตใจของตนว่าขณะนี้เรามีนามธรรมชนิดใดเกิดขึ้น เช่น ในขณะที่กำลังนั่งเจริญวิปัสสนา เรามีฉันทะที่จะเจริญวิปัสสนา หรือมีโลภะที่จะเจริญวิปัสสนา ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าเรามีการแสวงหาอารมณ์และมีความต้องการอารมณ์(แสวงหาอารมณ์เพื่อการปฏิบัติธรรม) และสังเกตดูว่าเรายึดมั่นติดข้องในอารมณ์นั้นหรือไม่ ถ้าไม่ติดในอารมณ์นั้น นั่นก็แสดงว่าเรามีฉันทะในการเจริญวิปัสสนา แต่ถ้าแสวงหาอารมณ์แล้วก็ชอบอารมณ์นั้น ชอบที่จะนั่งตรงที่เราเลือกแล้ว ไปนั่งที่อื่นไม่ได้ หรือใครๆ จะมานั่งตรงที่ๆเราคิดว่าเป็นของเราไม่ได้ ไม่พอใจ ถ้าเป็นเช่นนี้ก็แสดงว่าสภาวธรรมเป็นโลภะแล้ว เพราะโลภะมีการแสวงหาอารมณ์ด้วย มีความต้องการอารมณ์ด้วย ทั้งยึดมั่นและติดข้องในอารมณ์ด้วย
สรุป ปกิณณกเจตสิก ๖ ปกิณณกเจตสิก ๖ ดวง คือ วิตก วิจาร อธิโมกข์ วิริยะ ปีติ ฉันทะ เป็นเจตสิกที่เข้าปรุงแต่งจิตได้ไม่ทุกดวง
๑. ผัสสเจตสิก
๒. เวทนาเจตสิก
๓. สัญญาเจตสิก
๔. เจตนาเจตสิก
๕. เอกัคคตาเจตสิก
๖. ชีวิตินทรีย์เจตสิก
๗. มนสิการเจตสิก
สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ ดวง จะเข้าปรุงแต่งกับจิตทุกๆ ดวง สัพพจิตตสาธารณเจตสิกแต่ละดวงมีลักษณะดังนี้
๑. ผัสสเจตสิก เป็นธรรมชาติที่รับการกระทบ คือรับกระทบสิ่งที่มาปรากฏ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ กล่าวคือ รับภาพที่มากระทบกับตา รับเสียงที่มากระทบกับหู รับกลิ่นที่มากระทบกับจมูก รับรสที่มากระทบกับลิ้น รับความเย็น-ร้อน อ่อน-แข็ง หย่อน-ตึงที่มากระทบกับกาย และรับเรื่องราวต่าง ๆ ที่มากระทบใจ เมื่อผัสสเจตสิกเกิดขึ้นแล้วทำให้มีการประชุมพร้อมกันของปัจจัยธรรมทั้ง ๓ ประการ คือ อารมณ์ วัตถุ และวิญญาณ ผัสสเจตสิกจึงมีหน้าที่เป็นตัวประสานระหว่างอารมณ์ วัตถุ และวิญญาณ ดังนี้
๑.๑ ประสาน อารมณ์ ๖ ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เรื่องราวต่าง ๆ
๑.๒ ประสาน วัตถุ ๖ ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
๑.๓ ประสาน วิญญาณ ๖ ได้แก่ ธรรมชาติที่เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส และความรู้สึกนึกคิด
ในมิลินทปัญหาได้เปรียบเทียบหน้าที่ของผัสสะไว้ว่า อุปมาเช่นแพะ ๒ ตัวชนกัน จักษุเหมือนแพะตัวที่หนึ่ง รูปเหมือนแพะตัวที่สอง ผัสสะเหมือนการชนกันของแพะทั้ง ๒ ตัว ผัสสะจึงมีการกระทบอารมณ์เป็นลักษณะ มีการประสานเป็นหน้าที่ ผัสสเจตสิกเมื่อเกิดขึ้นย่อมทำให้อารมณ์มาปรากฏเกิดขึ้น เป็นธรรมดาว่าเมื่อผัสสะไม่เกิดขึ้นการรับอารมณ์ก็ไม่มีตามไปด้วย เช่น มีภาพมากมายที่มีอยู่ด้านหลังของเรา แต่การรับอารมณ์คือภาพที่ตั้งอยู่ด้านหลังของเรานั้นย่อมไม่ปรากฏเลยเพราะผัสสะยังไม่เกิด(ตายังไม่กระทบ) ต่อเมื่อเราหันหน้าไปยังภาพนั้นและเห็นภาพนั้น ผัสสะย่อมเกิดขึ้นและนาอารมณ์คือภาพนั้นมาสู่การรับรู้ ฉะนั้นจึงกล่าวว่าผัสสเจตสิกเมื่อเกิดย่อมทำให้อารมณ์มาปรากฏเกิดขึ้น
๒. เวทนาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่รับรู้รสแห่งอารมณ์ คือรับรู้ว่าเป็นสุข เป็นทุกข์ หรือเป็นกลาง(อุเบกขา) คือไม่สุข ไม่ทุกข์ เวทนาที่จัดไว้ ๓ คือ สุข ทุกข์ อุเบกขา และเวทนาที่จัดไว้เป็น ๕ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา โสมนัสเวทนา โทมนัสเวทนา อุเบกขาเวทนา อธิบายเวทนา ๕ ดังนี้สุขเวทนา คือ ความสบายทางกาย การได้รับกระทบกับโผฏฐัพพารมณ์(เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง) ที่ดีพอเหมาะทาให้กายเป็นสุข มีความสบายทางกาย เช่น อยู่ในห้องปรับอากาศที่อุณหภูมิพอเหมาะสุขเวทนาทางกายก็เกิดขึ้นได้ทุกขเวทนา คือ ความไม่สบายทางกาย ได้รับกระทบกับโผฏฐัพพารมณ์ที่ไม่พอดีไม่เหมาะทาให้กายเป็นทุกข์โสมนัสเวทนา คือ ความสบายทางใจ ความสุขทางใจโทมนัสเวทนา คือ ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจอุเบกขาเวทนา คือ ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ เป็นการรับรสอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขเป็นกลางๆ มีความสงบ ความสงบทางใจนี้ไม่มีปีติประกอบ พึงสังเกตว่าเมื่อรู้สึกเฉยๆ โดยที่ใจไม่มีปีติขณะนั้นใจเป็นอุเบกขา เกิดได้ทั้งกำลังทำกุศลและอกุศล เช่น รับประทานอาหารด้วยโลภะ รสชาติอาหารก็ไม่ได้ทำให้ชอบใจหรือไม่ชอบใจ ขณะนั้นจิตเป็นโลภะมีเวทนาเป็นอุเบกขา หรือการทำกุศล เช่น การใส่บาตรที่หน้าบ้านทุกวัน ซึ่งเป็นอารมณ์เดิมทุกๆ วัน บางครั้งจิตเป็นกุศลที่มีเวทนาเป็นอุเบกขา
สรุปว่า สุขเวทนาเกิดขึ้นประกอบกับจิตเพราะรับอารมณ์ที่ดี ทุกขเวทนาเกิดขึ้นประกอบกับจิตเพราะรับอารมณ์ที่ไม่ดี อุเบกขาเวทนาเกิดขึ้นประกอบกับจิตเพราะรับอารมณ์ที่เป็นกลางๆ
๓. สัญญาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่จำ เช่น เด็กเล็ก จำ ก.ไก่ – ฮ.นกฮูก ผู้ใหญ่จำเรื่องราวต่างๆ ได้ เป็นต้น ทั้งคนและสัตว์จะจำใน ๖ สิ่ง คือ จำรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสและจำเรื่องราวที่คิดนึกทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
๔. เจตนาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ตั้งใจ หรือการประมวลกุศลกรรมและอกุศลกรรมเอาไว้แล้วกระทำออกมาทางกาย วาจา ใจ สำเร็จเป็นบุญบาป เจตนาที่ได้กระทำสำเร็จแล้วในกุศลและอกุศล จะส่งผลให้เมื่อตายไปก็จะต้องไปเสวยผลของกรรมที่ได้ทำไว้ คือ เจตนาในกุศลกรรมนำให้ได้เกิดเป็นมนุษย์ เทวดา เจตนาในอกุศลกรรมนำให้เกิดในอบายภูมิ เจตนาเจตสิกจึงได้ชื่อว่าเป็น กรรม คือ การกระทำดี หรือไม่ดี นั่นเอง
๕. เอกัคคตาเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ทำจิตใจให้ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว อารมณ์มี ๖ เช่น รูปารมณ์ เป็นต้น เอกัคคตาเจตสิกจะทำให้จิตตั้งมั่นไม่ซัดส่ายไปในภาวะต่างๆ เปรียบเหมือนการดำรงอยู่แห่งเปลวไฟของดวงประทีปในที่สงัดลม
๖. ชีวิตินทรีย์เจตสิก เป็นธรรมชาติที่หล่อเลี้ยงรักษานามธรรม คือจิตและเจตสิกให้มีชีวิตอยู่ได้ ชีวิตินทรีย์มีความเป็นใหญ่ในกระแสจิตที่เป็นไปต่อเนื่อง ประดุจน้ำหล่อเลี้ยงดอกบัว คำว่า “ชีวิต” มี ๒ อย่าง คือ ชีวิตนาม และ ชีวิตรูป ชีวิตนาม ได้แก่ ชีวิตินทรีย์เจตสิกนี้เอง ส่วนชีวิตรูปจะได้ศึกษาต่อไปในเรื่องรูปปรมัตถ์
๗. มนสิการเจตสิก เป็นธรรมชาติที่น้อมจิตใจไปสู่อารมณ์ มนสิการ มี ๓ อย่าง คือ
๗.๑ การน้อมไปในอารมณ์ ๕ มี รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เพื่อให้วิถีจิตเกิดขึ้นทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย คือ ปัญจทวารวิถี เรียกว่า วิถีปฏิปาทกมนสิการ
๗.๒ การน้อมไปในอารมณ์ที่เกิดทางใจ ซึ่งเรียกว่า ธัมมารมณ์ เพื่อให้วิถีจิตเกิดขึ้นทางใจ คือ มโนทวารวิถี เรียกว่า ชวนปฏิปาทกมนสิการ
๗.๓ ทำให้อารมณ์เป็นไป หมายความว่า ทำให้เกิดกระแสจิตเป็นไปต่อเนื่องนับตั้งแต่เกิด คือ เมื่อไม่มีอารมณ์อื่นที่ชัดเจนกว่ามาปรากฏ ก็ทำให้เกิดกระแสจิตในอารมณ์เก่าได้ เรียกว่า อารัมมณปฏิปาทกมนสิการ
สรุป สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗ เจตสิกทั้ง ๗ ดวง คือ ผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตาชีวิตินทรีย์ มนสิการ เป็นเจตสิกที่เข้าปรุงแต่งจิตได้ทุกดวง จึงได้ชื่อว่าสัพพจิตตสาธารณเจตสิก
ข. ปกิณณกเจตสิก ๖ ดวง เข้าปรุงแต่งจิตได้ไม่ทั่วไปได้แก่
๑. วิตกเจตสิก
๒. วิจารเจตสิก
๓. อธิโมกข์เจตสิก
๔. วิริยเจตสิก
๕. ปีติเจตสิก
๖. ฉันทเจตสิก
ปกิณณกเจตสิก แต่ละดวงมีลักษณะดังนี้
๑. วิตกเจตสิก คือ ความตรึก ลักษณะของวิตกนั้นเกิดขึ้นทาให้มีการยกธรรมทั้งหลายที่เกิดร่วมกันขึ้นสู่อารมณ์แสดงข้อเปรียบเทียบลักษณะของวิตกไว้ว่าบุรุษชาวบ้านบางคน เพราะอาศัยมิตรผู้เป็นราชวัลลภหรือมิตรผู้มีความสัมพันธ์กับพระราชา จึงตามเข้าไปสู่พระราชวังได้ฉันใด จิตเพราะอาศัยวิตกเจตสิก จึงย่างขึ้นสู่อารมณ์ได้ฉันนั้น-วิตก ถ้าประกอบกับอกุศลจิต จัดเป็นมิจฉาสังกัปปะ จะตรึกในอกุศล เป็นเหตุให้อกุศลธรรมนั้นเจริญ ตั้งมั่น เพราะว่าการตรึกนึกนั้นเป็นเหตุให้อกุศลนั้นมีกำลังมาก -วิตก ถ้าประกอบกับกุศลจิต จัดเป็นสัมมาสังกัปปะ จะตรึกในกุศลยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ตั้งจิตไว้ในอารมณ์ที่เป็นกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญถึงความที่เป็นกุศล โดยที่เป็นการดาริ(ตรึก)ที่ตรงกับความจริง และเป็นความดำริ(ตรึก)ที่จะพ้นไปจากสังสารวัฏ
๒. วิจารเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ตรอง พิจารณา อารมณ์ โดยสภาวธรรมของวิตกและวิจารมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน แต่วิตกจะมีสภาพหยาบและเกิดขึ้นก่อน และทำให้จิตเข้าไปสู่อารมณ์ก่อน เปรียบเทียบดังนี้ วิตก เหมือนเสียงตีระฆัง วิจารมีสภาวะละเอียด เกิดตามหลังและเป็นสภาวะที่จิตติดตามอารมณ์ วิจาร จึงเหมือนเสียงครวญของระฆัง หรืออุปมา เช่น บุคคลเอามือข้างหนึ่งจับภาชนะที่เป็นสนิม เอามืออีกข้างหนึ่งขัดด้วยแปรงวิตกเปรียบเหมือนมือที่จับไว้ วิจารเปรียบเหมือนมือที่ขัด ความแตกต่างของวิตกและวิจาร จะปรากฏชัดในฌานที่ ๑ และฌานที่ ๒ ซึ่งจะได้ศึกษาต่อในเรื่องสมถกรรมฐาน
๓. อธิโมกข์เจตสิก เป็นธรรมชาติของความตัดสินใจ เป็นภาวะที่จิตตัดความสงสัยในอารมณ์ว่าเป็นเช่นนั้นเป็นเช่นนี้ แล้วก็ดำเนินไปตามที่ตัดสินใจโดย
๔. วิริยเจตสิก เป็นธรรมชาติที่เพียรพยายาม มีความอาจหาญในการงาน บุคคลที่มีวิริยะจะเป็นผู้ที่สามารถทำการงานต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะงานเล็กหรือใหญ่ไม่ว่าจะยากหรือง่าย จะไม่คำนึงถึงความลำบากของตน จะประคับประคองกายกับจิตอยู่เสมอเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปได้ ในบางครั้งจิตของคนเราเกิดความเบื่อหน่ายท้อถอยในการทาความดี วิธีที่จะปลุกใจให้ทำความดีต่อไปนั้นให้พิจารณาถึง สังเวควัตถุ ๘ ประการ คือ ทุกข์ที่เกิดจากการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ทุกข์ที่จะต้องไปอยู่ในอบายภูมิทั้งสี่ คือ นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน ถ้านึกถึงความทุกข์ที่รออยู่ข้างหน้ามากมาย จะเกิด วิริยะ เพียรพยายามที่จะกระทำกุศลให้เกิดขึ้นทั้งทางกาย วาจา ใจ กุศลทางกาย ทางวาจา ทำให้เราพ้นทุกข์โดยไม่ต้องไปเกิดในอบายภูมิเท่านั้น ไม่สามารถให้พ้นไปจากทุกข์ คือการเกิด แก่ เจ็บ ตาย ได้ แต่การทำกุศลทางใจ คือ การเจริญวิปัสสนากรรมฐานตามแนวมหาสติปัฏฐาน ๔ นั้น ทำให้พ้นไปจากทุกข์ทั้งปวงได้
* วิริยเจตสิกเมื่อเกิดร่วมกับอกุศลจิตก็เป็นมิจฉาวายามะ เพราะเพียรผิด
* วิริยเจตสิกเมื่อเกิดร่วมกับกุศลจิตก็เป็นสัมมาวายามะ เพราะเพียรถูก
๕. ปีติเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ทำให้กายและจิตเกิดความเอิบอิ่ม มีความปลื้มใจ มีความปราโมทย์ ปีติเจตสิกเกิดขึ้นในขณะที่ทำบุญทำกุศล เจริญสมาธิ หรือในขณะที่ยินดีพอใจสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากๆ ปีติก็เกิดขึ้นได้ ลักษณะของปีติมี ๕ ประการ คือ
๕.๑ ขุททกาปีติ ปีติเล็กน้อยเกิดขึ้นครั้งเดียวแล้วดับไป ทำให้ขนลุก
๕.๒ ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะเกิดขึ้นเหมือนสายฟ้าแลบเป็นขณะๆ
๕.๓ โอกกันติกาปีติ ปีติซึมซาบเกิดขึ้นในร่างกายแล้วแผ่กระจายเหมือนคลื่นกระทบฝั่งสมุทร
๕.๔ อุพเพงคาปีติ ปีติมีกำลัง สามารถยังกายให้ฟูแล้วลอยไปในอากาได้
๕.๕ ผรณาปีติ ปีติซาบซ่านทั่วร่างกาย เหมือนสำลีที่ชุ่่มด้วยน้ำข้อเปรียบเทียบระหว่าง ปีติกับสุข ปีติ มีลักษณะ คือ มีความแช่มชื่นในอารมณ์ สุข มีลักษณะ คือ มีการได้รสแห่งอารมณ์นั้น เปรียบเหมือนคนที่เดินทางไกลเหนื่อยล้า เมื่อพบเห็นน้ำ ปีติก็เกิดขึ้นมีความแช่มชื่นยินดีเพราะได้เห็นน้ำ ถ้าเขาได้ดื่มน้ำก็จะเกิดสุข
๖. ฉันทเจตสิก เป็นธรรมชาติที่มีความปรารถนา คือปรารถนาในอารมณ์ต่างๆ มี รูป รส กลิ่น เสียง เป็นต้น ฉันทะถึงแม้จะมีความปรารถนาในอารมณ์ ก็ไม่ได้ปรารถนาด้วยความเพลิดเพลินกำหนัดและผูกพัน แต่ปรารถนาด้วยความต้องการจะให้สำเร็จประโยชน์นั้นๆ อุปมาเหมือนนายขมังธนูของพระราชาผู้ต้องการทรัพย์หรือเกียรติยศ ย่อมปรารถนาลูกศรจำนวนมาก ถึงแม้นลูกศรที่ได้มาก็เพื่อการยิงออกไป ไม่ได้เก็บยึดรักษาลูกศรไว้เป็นของตน
ข้อแตกต่างระหว่างฉันทะกับโลภะ-ฉันทะ มีการแสวงหาอารมณ์และมีความต้องการอารมณ์ แต่ไม่ยึดมั่นไม่ติดข้องในอารมณ์-โลภะ มีการแสวงหาอารมณ์ด้วย มีความต้องการอารมณ์ด้วยทั้งยึดมั่นและติดข้องในอารมณ์ด้วยการเข้าใจฉันทะและโลภะให้ถูกต้อง เป็นการฝึกให้เข้าใจถูกต้องในนามธรรม ย่อมเป็นประโยชน์เมื่อไปเจริญวิปัสสนาเพื่อรู้นามและรูป การรู้จักนามก็ต้องรู้จักลักษณะของนาม การรู้จักรูปก็ต้องรู้จักลักษณะของรูป ฉะนั้นเมื่อศึกษาแล้วควรน้อมพิจารณาจิตใจของตนว่าขณะนี้เรามีนามธรรมชนิดใดเกิดขึ้น เช่น ในขณะที่กำลังนั่งเจริญวิปัสสนา เรามีฉันทะที่จะเจริญวิปัสสนา หรือมีโลภะที่จะเจริญวิปัสสนา ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่าเรามีการแสวงหาอารมณ์และมีความต้องการอารมณ์(แสวงหาอารมณ์เพื่อการปฏิบัติธรรม) และสังเกตดูว่าเรายึดมั่นติดข้องในอารมณ์นั้นหรือไม่ ถ้าไม่ติดในอารมณ์นั้น นั่นก็แสดงว่าเรามีฉันทะในการเจริญวิปัสสนา แต่ถ้าแสวงหาอารมณ์แล้วก็ชอบอารมณ์นั้น ชอบที่จะนั่งตรงที่เราเลือกแล้ว ไปนั่งที่อื่นไม่ได้ หรือใครๆ จะมานั่งตรงที่ๆเราคิดว่าเป็นของเราไม่ได้ ไม่พอใจ ถ้าเป็นเช่นนี้ก็แสดงว่าสภาวธรรมเป็นโลภะแล้ว เพราะโลภะมีการแสวงหาอารมณ์ด้วย มีความต้องการอารมณ์ด้วย ทั้งยึดมั่นและติดข้องในอารมณ์ด้วย
สรุป ปกิณณกเจตสิก ๖ ปกิณณกเจตสิก ๖ ดวง คือ วิตก วิจาร อธิโมกข์ วิริยะ ปีติ ฉันทะ เป็นเจตสิกที่เข้าปรุงแต่งจิตได้ไม่ทุกดวง