ธรรมชาติที่ชื่อว่าเจตสิกมีทั้งหมด ๕๒ ดวง (หรือ ๕๒ ลักษณะ) ถ้าจะกล่าวโดยความเป็นขันธ์แล้วก็มี ๓ คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ และ สังขารขันธ์ บุคคลทั้งหลายเมื่อศึกษาเจตสิกธรรม ๕๒ ดวงนี้แล้ว ก็จะเข้าใจถึงสภาพตามความเป็นจริงที่จิตเป็นกุศลจิตบ้างอกุศลจิตบ้างเพราะว่า มีเจตสิกธรรมปรุงแต่งจิตนั่นเอง
เมื่อเข้าใจสภาพตามความเป็นจริงได้ถูกต้องก็จะสามารถเจริญวิปัสสนาเพื่อรู้ขันธ์ทั้งหลายได้ และพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ เพราะฉะนั้นบุคคลเมื่อจะเจริญวิปัสสนาควรศึกษาพระอภิธรรม เพราะพระอภิธรรมศึกษาในเรื่องปรมัตถ์ธรรมและปรมัตถ์ก็เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาในการเกิดขึ้นแห่งปัญญาก็จะต้องเกิดขึ้นตามลำดับ คือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เมื่อปัญญาในขั้นปริยัติยังไม่มี ปัญญาขั้นปฏิบัติและปฏิเวธย่อมมีไม่ได้เป็นธรรมดา เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นปรุงแต่งจิตใจของสัตว์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม เปรต หรือ สัตว์เดรัจฉาน
เจตสิกมีทั้งหมด ๕๒ ดวง คือมีลักษณะเฉพาะๆตนถึง ๕๒ ลักษณะ แต่ทั้ง ๕๒ ดวงนี้ จะมีลักษณะพิเศษเหมือนกันอยู่ ๔ ประการ
เจตสิกมีลักษณะพิเศษ ๔ ประการ คือ
๑. เกิดพร้อมกับจิต
๒. ดับพร้อมกับจิต
๓. มีอารมณ์เดียวกันจิต
๔. อาศัยวัตถุอันเดียวกันกับจิต
การทำงานของเจตสิก
จิตกับเจตสิก ทั้ง ๒ นี้ เป็นนามธรรมเหมือนกันจึงเข้าประกอบกันได้สนิท จิตอุปมาเหมือนน้ำที่ใสบริสุทธิ์ไม่มีสี เจตสิกอุปมาเหมือนสีต่างๆ เมื่อเอาสีเขียวใส่ลงไปในน้ำแล้ว น้ำนั้นก็จะกลายเป็นสีเขียวไป เมื่อเอาสีแดงใส่ลงไปในน้ำแล้ว น้ำนั้นก็จะกลายเป็นสีแดง ทำให้เรียกชื่อว่า น้ำเขียว น้ำแดง เป็นต้น เมื่ออกุศลเจตสิก คือเจตสิกฝ่ายไม่ดีเข้าประกอบกับจิตแล้ว ก็จะทำให้จิตนั้นกลายเป็นจิตที่ชั่วหยาบ เป็นจิตที่เป็นบาป เป็นจิตที่ไม่ดีไปด้วย ถ้าเป็นกุศลเจตสิก คือเจตสิกฝ่ายดี เข้าประกอบกับจิต ก็จะทำให้จิตนั้นเป็นจิตที่ดี มีเมตตา กรุณา มีศรัทธา เป็นต้น
จิตเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ส่วนเจตสิกเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิตที่รับรู้อารมณ์ เช่น เห็นพระกำลังบิณฑบาต (จักขุวิญญาณจิตทำหน้าที่เห็น) เจตสิกปรุงแต่งจิตให้อยากทำบุญใส่บาตร เป็นต้น ในการนี้นับว่าการเห็นเป็นใหญ่เป็นประธาน เจตสิกที่เกิดพร้อมกับจิตก็ปรุงแต่งจิตให้เป็นกุศลมีการใส่บาตร เป็นต้น
เจตสิก มีจำนวน ๕๒ ดวง(ดูตามภาพด้านบน) แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ
๑. เจตสิกที่เข้าปรุงแต่งจิตทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล เรียกว่า อัญญสมานเจตสิก มี ๑๓ ดวง
๒. เจตสิกที่เข้าปรุงแต่งจิตที่เป็นอกุศล เรียกว่า อกุศลเจตสิก มี ๑๔ ดวง
๓. เจตสิกที่เข้าปรุงแต่งจิตที่เป็นกุศล เรียกว่า โสภณเจตสิก มี ๒๕ ดวง
เมื่อเข้าใจสภาพตามความเป็นจริงได้ถูกต้องก็จะสามารถเจริญวิปัสสนาเพื่อรู้ขันธ์ทั้งหลายได้ และพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ เพราะฉะนั้นบุคคลเมื่อจะเจริญวิปัสสนาควรศึกษาพระอภิธรรม เพราะพระอภิธรรมศึกษาในเรื่องปรมัตถ์ธรรมและปรมัตถ์ก็เป็นอารมณ์ของวิปัสสนาในการเกิดขึ้นแห่งปัญญาก็จะต้องเกิดขึ้นตามลำดับ คือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ เมื่อปัญญาในขั้นปริยัติยังไม่มี ปัญญาขั้นปฏิบัติและปฏิเวธย่อมมีไม่ได้เป็นธรรมดา เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นปรุงแต่งจิตใจของสัตว์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ เทวดา พรหม เปรต หรือ สัตว์เดรัจฉาน
เจตสิกมีทั้งหมด ๕๒ ดวง คือมีลักษณะเฉพาะๆตนถึง ๕๒ ลักษณะ แต่ทั้ง ๕๒ ดวงนี้ จะมีลักษณะพิเศษเหมือนกันอยู่ ๔ ประการ
เจตสิกมีลักษณะพิเศษ ๔ ประการ คือ
๑. เกิดพร้อมกับจิต
๒. ดับพร้อมกับจิต
๓. มีอารมณ์เดียวกันจิต
๔. อาศัยวัตถุอันเดียวกันกับจิต
การทำงานของเจตสิก
จิตกับเจตสิก ทั้ง ๒ นี้ เป็นนามธรรมเหมือนกันจึงเข้าประกอบกันได้สนิท จิตอุปมาเหมือนน้ำที่ใสบริสุทธิ์ไม่มีสี เจตสิกอุปมาเหมือนสีต่างๆ เมื่อเอาสีเขียวใส่ลงไปในน้ำแล้ว น้ำนั้นก็จะกลายเป็นสีเขียวไป เมื่อเอาสีแดงใส่ลงไปในน้ำแล้ว น้ำนั้นก็จะกลายเป็นสีแดง ทำให้เรียกชื่อว่า น้ำเขียว น้ำแดง เป็นต้น เมื่ออกุศลเจตสิก คือเจตสิกฝ่ายไม่ดีเข้าประกอบกับจิตแล้ว ก็จะทำให้จิตนั้นกลายเป็นจิตที่ชั่วหยาบ เป็นจิตที่เป็นบาป เป็นจิตที่ไม่ดีไปด้วย ถ้าเป็นกุศลเจตสิก คือเจตสิกฝ่ายดี เข้าประกอบกับจิต ก็จะทำให้จิตนั้นเป็นจิตที่ดี มีเมตตา กรุณา มีศรัทธา เป็นต้น
จิตเป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ส่วนเจตสิกเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิตที่รับรู้อารมณ์ เช่น เห็นพระกำลังบิณฑบาต (จักขุวิญญาณจิตทำหน้าที่เห็น) เจตสิกปรุงแต่งจิตให้อยากทำบุญใส่บาตร เป็นต้น ในการนี้นับว่าการเห็นเป็นใหญ่เป็นประธาน เจตสิกที่เกิดพร้อมกับจิตก็ปรุงแต่งจิตให้เป็นกุศลมีการใส่บาตร เป็นต้น
เจตสิก มีจำนวน ๕๒ ดวง(ดูตามภาพด้านบน) แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ
๑. เจตสิกที่เข้าปรุงแต่งจิตทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล เรียกว่า อัญญสมานเจตสิก มี ๑๓ ดวง
๒. เจตสิกที่เข้าปรุงแต่งจิตที่เป็นอกุศล เรียกว่า อกุศลเจตสิก มี ๑๔ ดวง
๓. เจตสิกที่เข้าปรุงแต่งจิตที่เป็นกุศล เรียกว่า โสภณเจตสิก มี ๒๕ ดวง