ชีวิตคืออะไร ตามหลักวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นวิทยาการทางโลกนั้นสิ่งมีชีวิตหมายถึง สิ่งที่เจริญเติบโตได้ กินอาหารได้ เคลื่อนไหวได้ และ สืบพันธุ์ได้ ซึ่งนอกจากจะหมายถึงมนุษย์และสัตว์ทั้งหลายแล้วยังหมายถึงพืชอีกด้วย แต่ในพระอภิธรรมนั้นให้คำจำกัดความของชีวิตไว้ว่า “ชีวิตคือ ความเป็นอยู่ของร่างกาย จิตและเจตสิก โดยอาศัยกรรมเป็นผู้นำเกิดและ ตามรักษาดำรงชีวิต และกระทำการต่างๆได้โดยอาศัยจิตและเจตสิกเป็นผู้กำกับ” ส่วนต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นร่างกายนั้น ทางธรรมะเรียกว่า “รูปธรรม” หรือเรียกสั้นๆว่า รูป เป็นธรรมชาติที่ไม่มีความรู้สึกนึกคิดใดๆทั้งสิ้นเปรียบได้ดั่งท่อนไม้ ส่วนจิตและเจตสิก เป็นนามธรรม หรือเรียกสั้นๆว่า นาม เป็นธรรมชาติที่รับรู้สิ่งต่างๆและสามารถคิดนึกเรื่องราวต่างๆได้
ดังนั้นตัวเราหรือสัตว์ทั้งหลาย จึงมีส่วนประกอบอยู่ ๓ ส่วน ได้แก่ กาย จิตและเจตสิก ซึ่งในทางธรรม เรียกว่า รูป กับ นาม แต่เนื่องจากพืชทั้งหลายไม่ได้เกิดมาจากกรรมไม่มีจิตและเจตสิกในการรับรู้คิดนึก เรื่องราวต่างๆ ดังนั้นคำว่า “ชีวิต” ในพระอภิธรรมจึงหมายถึงมนุษย์และ สัตว์ทั้งหลายเท่านั้น
คำว่า “สัตว์” ในที่นี้มิได้หมายถึงเฉพาะสัตว์เดรัจฉานเท่านั้น แต่หมายถึงสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่ยังเวียนว่ายตายเกิดใน ๓๑ ภพภูมิ ดังนั้นมนุษย์จึงถือว่าเป็นสัตว์ประเภทหนึ่งด้วย สัตว์ทั้งหลายในจักรวาลนี้ ล้วนประกอบด้วยธรรมชาติ ๓ อย่าง คือ รูป จิตและเจตสิก ที่สำคัญผิดคิดว่าเป็น “เรา” เป็น “ตัวตนของเรา” แท้ที่จริงแล้วมี แต่รูปกับนามเท่านั้นที่เกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็ว ไม่มีส่วนไหนเลยที่เป็น “ตัวตนของเรา” แม้จะรวมกันเข้าแล้วก็ยังไม่ใช่ “เรา” อีกเช่นเคย แม้คนที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังเรื่องเช่นนี้มาก่อน ไม่เคยรู้จักพระพุทธศาสนามาก่อน หรือผู้ที่นับถือศาสนาใดๆก็ตามทุกคนล้วนประกอบด้วยรูป จิตและเจตสิก ที่มีการเกิดดับอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลาเหมือนกันทั้งสิ้น เพราะสัตว์ทั้งหลายไม่รู้ธรรมชาติที่เป็นจริงนี้ จึงทำให้ยึด รูป-นาม ขันธ์ ๕* ว่าเป็นตัวตนของเรา โดย มีกิเลสตัณหา เป็นผู้บงการให้กระทำกรรมต่างๆ ทั้งที่เป็นบุญและเป็นบาป แล้ววิบากที่เป็นผลของกรรมนั้น ก็จะส่งผลให้ต้องเวียนเกิดเวียนตายในสังสารวัฏอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
การศึกษาพระอภิธรรม ก็คือการศึกษาเรื่องของตัวเราและสัตว์ทั้งหลายนั่นเอง เพราะเนื้อหาของพระอภิธรรม จะกล่าวถึงธรรมชาติอันแท้จริงที่มีอยู่ในตัวเราและสัตว์ทั้งหลายอันได้แก่ รูป จิตและเจตสิกโดยละเอียด ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงซึ่งความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง เมื่อเราได้เห็นแจ้งสภาวธรรมที่เป็นความจริงตามธรรมชาติแล้ว ความหลงผิด (อวิชชา) และกิเลสทั้งหลายก็จะถูกทำลายลง เป็นเหตุให้พ้นจากการเวียนเกิดเวียนตายได้ในที่สุด
*คำว่า ขันธ์ แปลว่ากอง,พวก,หมวด,หมู่ ดังนั้นขันธ์ ๕ จึงหมายถึงสภาวธรรม ๕ อย่างซึ่งประกอบด้วย
๑. รูปขันธ์ คือ อวัยวะน้อยใหญ่หรือกลุ่มรูปที่มีอยู่ในร่างกายทั้งหมด
๒. เวทนาขันธ์ คือ ความรู้สึก เป็นสุข เป็นทุกข์ ดีใจ เสียใจ หรือเฉยๆ
๓. สัญญาขันธ์ คือ ธรรมชาติที่มีหน้าที่ในการจำ หรือเป็นหน่วยความจำของจิตนั่นเอง
๔. สังขารขันธ์ คือ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิตให้มีลักษณะต่างๆ เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง เปรียบดังสีต่างๆ ที่หยดลงไปในแก้วน้ำเป็นเหตุให้น้ำในแก้วเปลี่ยนไปตามสีที่หยด
๕. วิญญาณขันธ์ หรือจิต คือธรรมชาติที่รับรู้สิ่งต่างๆ ที่มาปรากฏทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อีกทั้งเป็นธรรมชาติที่ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดต่างๆ การเกิดขึ้นของจิต (วิญญาณขันธ์) จะเกิดขึ้นโดยมีเจตสิก (ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ) เกิดขึ้นร่วมด้วยเสมอ ลำพังจิตอย่างเดียวไม่สามารถรับรู้หรือนึกคิดอะไรได้เลย จิตเปรียบเสมือนนาฬิกา เจตสิก เปรียบเสมือนชิ้นส่วนและเฟืองจักรต่างๆ ที่ทำให้นาฬิกาทำงานได้ จิตและ เจตสิกจะแยกจากกันไม่ได้ต้องเกิดร่วมกันอิงอาศัยกัน จิตแต่ละดวงที่เกิดขึ้น จะต้องมีเจตสิกประกอบปรุงแต่งด้วยเสมอ
คำว่า “สัตว์” ในที่นี้มิได้หมายถึงเฉพาะสัตว์เดรัจฉานเท่านั้น แต่หมายถึงสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่ยังเวียนว่ายตายเกิดใน ๓๑ ภพภูมิ ดังนั้นมนุษย์จึงถือว่าเป็นสัตว์ประเภทหนึ่งด้วย สัตว์ทั้งหลายในจักรวาลนี้ ล้วนประกอบด้วยธรรมชาติ ๓ อย่าง คือ รูป จิตและเจตสิก ที่สำคัญผิดคิดว่าเป็น “เรา” เป็น “ตัวตนของเรา” แท้ที่จริงแล้วมี แต่รูปกับนามเท่านั้นที่เกิดขึ้นและดับไปอย่างรวดเร็ว ไม่มีส่วนไหนเลยที่เป็น “ตัวตนของเรา” แม้จะรวมกันเข้าแล้วก็ยังไม่ใช่ “เรา” อีกเช่นเคย แม้คนที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังเรื่องเช่นนี้มาก่อน ไม่เคยรู้จักพระพุทธศาสนามาก่อน หรือผู้ที่นับถือศาสนาใดๆก็ตามทุกคนล้วนประกอบด้วยรูป จิตและเจตสิก ที่มีการเกิดดับอย่างรวดเร็วอยู่ตลอดเวลาเหมือนกันทั้งสิ้น เพราะสัตว์ทั้งหลายไม่รู้ธรรมชาติที่เป็นจริงนี้ จึงทำให้ยึด รูป-นาม ขันธ์ ๕* ว่าเป็นตัวตนของเรา โดย มีกิเลสตัณหา เป็นผู้บงการให้กระทำกรรมต่างๆ ทั้งที่เป็นบุญและเป็นบาป แล้ววิบากที่เป็นผลของกรรมนั้น ก็จะส่งผลให้ต้องเวียนเกิดเวียนตายในสังสารวัฏอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
การศึกษาพระอภิธรรม ก็คือการศึกษาเรื่องของตัวเราและสัตว์ทั้งหลายนั่นเอง เพราะเนื้อหาของพระอภิธรรม จะกล่าวถึงธรรมชาติอันแท้จริงที่มีอยู่ในตัวเราและสัตว์ทั้งหลายอันได้แก่ รูป จิตและเจตสิกโดยละเอียด ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงซึ่งความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง เมื่อเราได้เห็นแจ้งสภาวธรรมที่เป็นความจริงตามธรรมชาติแล้ว ความหลงผิด (อวิชชา) และกิเลสทั้งหลายก็จะถูกทำลายลง เป็นเหตุให้พ้นจากการเวียนเกิดเวียนตายได้ในที่สุด
*คำว่า ขันธ์ แปลว่ากอง,พวก,หมวด,หมู่ ดังนั้นขันธ์ ๕ จึงหมายถึงสภาวธรรม ๕ อย่างซึ่งประกอบด้วย
๑. รูปขันธ์ คือ อวัยวะน้อยใหญ่หรือกลุ่มรูปที่มีอยู่ในร่างกายทั้งหมด
๒. เวทนาขันธ์ คือ ความรู้สึก เป็นสุข เป็นทุกข์ ดีใจ เสียใจ หรือเฉยๆ
๓. สัญญาขันธ์ คือ ธรรมชาติที่มีหน้าที่ในการจำ หรือเป็นหน่วยความจำของจิตนั่นเอง
๔. สังขารขันธ์ คือ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิตให้มีลักษณะต่างๆ เป็นกุศลบ้าง เป็นอกุศลบ้าง เปรียบดังสีต่างๆ ที่หยดลงไปในแก้วน้ำเป็นเหตุให้น้ำในแก้วเปลี่ยนไปตามสีที่หยด
๕. วิญญาณขันธ์ หรือจิต คือธรรมชาติที่รับรู้สิ่งต่างๆ ที่มาปรากฏทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อีกทั้งเป็นธรรมชาติที่ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิดต่างๆ การเกิดขึ้นของจิต (วิญญาณขันธ์) จะเกิดขึ้นโดยมีเจตสิก (ได้แก่ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ ) เกิดขึ้นร่วมด้วยเสมอ ลำพังจิตอย่างเดียวไม่สามารถรับรู้หรือนึกคิดอะไรได้เลย จิตเปรียบเสมือนนาฬิกา เจตสิก เปรียบเสมือนชิ้นส่วนและเฟืองจักรต่างๆ ที่ทำให้นาฬิกาทำงานได้ จิตและ เจตสิกจะแยกจากกันไม่ได้ต้องเกิดร่วมกันอิงอาศัยกัน จิตแต่ละดวงที่เกิดขึ้น จะต้องมีเจตสิกประกอบปรุงแต่งด้วยเสมอ
สรุปแล้วขันธ์ ๕ (เบญจขันธ์) ก็คือ รูป จิตและเจตสิก หรือรูปกับนามนั่นเอง