รูปาวจรจิต หมายถึงจิตที่เป็นรูปฌานนั่นเอง ซึ่งเกิดจากการเจริญสมาธิ(สมถภาวนา) อธิบายคำว่า “ฌาน” คือ จิตมีการเพ่งในอารมณ์ ได้แก่เพ่งในอารมณ์กรรมฐาน มีการเพ่งกสิณเป็นต้น ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ หรือเป็นข้าศึกของฌานคือ ธรรมที่คอยขัดขวางไม่ให้ฌานจิตเกิดขึ้น เรียกว่านิวรณ์ มี ๕ ประการ ได้แก่
๑. กามฉันทนิวรณ์ คือ ความติดใจในกามคุณอารมณ์ อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และการสัมผัสถูกต้องที่ดี เมื่อใดที่ไปเพลิดเพลินติดใจในสิ่งเหล่านี้แล้ว จิตก็จะไม่สามารถเข้าถึงฌานได้
๒. พยาปาทนิวรณ์ คือ ความมุ่งปองร้ายผู้อื่น เปรียบเหมือนน้ำที่เดือดพล่าน ถ้าจิตครุ่นคิดปองร้ายผู้อื่นอยู่ฌานจิตก็จะเกิดไม่ได้ จึงต้องใช้ปีติข่ม ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อฌานจิตนี้
๓. ถีนมิทธนิวรณ์ คือ ความหดหู่ ความท้อถอยไม่ใส่ใจเป็นอันดีต่ออารมณ์ที่เพ่งนั้น เปรียบเหมือนน้ำที่มีจอกมีแหนปิดบังอยู่ ถ้าจิตใจเกิดความท้อถอยไม่ใส่ใจต่ออารมณ์ที่กำลังเพ่งอยู่ ฌานย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ ต้องใช้ วิตกข่มธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อฌานนี้
๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ คือ ความฟุูงซ่านรำคาญใจ ซึ่งเปรียบเหมือนน้ำที่ถูกลมพัดกระเพื่อมอยู่เสมอ ถ้าจิตใจยังนึกคิดในเรื่องราวต่างๆอยู่ จิตก็จะไม่สามารถที่จะเข้าถึงฌานได้ ต้องใช้สุขข่มอุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ อันเป็นปฏิปักษ์ต่อฌานนี้
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ คือ ความลังเลสงสัยไม่แน่ใจ เปรียบเหมือนน้ำที่ขุ่นเป็นตมหรือน้ำที่ตั้งไว้ ในที่มืด ถ้าเกิดลังเลไม่แน่ใจอยู่ตราบใด ก็จะเป็นเหตุให้เข้าถึงฌานไม่ได้ตราบนั้น ต้องใช้วิจารข่มธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อฌานนี้เสีย เมื่อได้ข่มนิวรณ์ที่เป็นปฏิปักษ์ธรรมที่ขัดขวางมิให้เกิดฌานได้เมื่อใด ฌานจิตจึงจะเกิดขึ้นได้เมื่อนั้น ถ้านิวรณ์ทั้ง ๕ นี้ ยังคงมีอยู่ประการใด ประการหนึ่งเพียงประการเดียวฌานจิตก็จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย เหตุนี้ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา จึงสำคัญยิ่งที่เป็นปัจจัยให้เกิดฌานจิต ดังนั้นจึงเรียก ธรรม ๕ ประการนี้ว่า
องค์ฌาน เพราะเป็นองค์สำคัญที่ทำให้เกิดฌาน จิต กล่าวคือ
วิตก ทำหน้าที่ ข่มถีนมิทธนิวรณ์
วิจาร ทำหน้าที่ ข่มวิจิกิจฉานิวรณ์
ปืติ ทำหน้าที่ ข่มพยาปาทนิวรณ์
สุข ทำหน้าที่ ข่มอุทธัจจนิวรณ์
เอกัคคตา ทำหน้าที่ ข่มกามฉันทนิวรณ์
๑. กามฉันทนิวรณ์ คือ ความติดใจในกามคุณอารมณ์ อันได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส และการสัมผัสถูกต้องที่ดี เมื่อใดที่ไปเพลิดเพลินติดใจในสิ่งเหล่านี้แล้ว จิตก็จะไม่สามารถเข้าถึงฌานได้
๒. พยาปาทนิวรณ์ คือ ความมุ่งปองร้ายผู้อื่น เปรียบเหมือนน้ำที่เดือดพล่าน ถ้าจิตครุ่นคิดปองร้ายผู้อื่นอยู่ฌานจิตก็จะเกิดไม่ได้ จึงต้องใช้ปีติข่ม ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อฌานจิตนี้
๓. ถีนมิทธนิวรณ์ คือ ความหดหู่ ความท้อถอยไม่ใส่ใจเป็นอันดีต่ออารมณ์ที่เพ่งนั้น เปรียบเหมือนน้ำที่มีจอกมีแหนปิดบังอยู่ ถ้าจิตใจเกิดความท้อถอยไม่ใส่ใจต่ออารมณ์ที่กำลังเพ่งอยู่ ฌานย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ ต้องใช้ วิตกข่มธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อฌานนี้
๔. อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ คือ ความฟุูงซ่านรำคาญใจ ซึ่งเปรียบเหมือนน้ำที่ถูกลมพัดกระเพื่อมอยู่เสมอ ถ้าจิตใจยังนึกคิดในเรื่องราวต่างๆอยู่ จิตก็จะไม่สามารถที่จะเข้าถึงฌานได้ ต้องใช้สุขข่มอุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ อันเป็นปฏิปักษ์ต่อฌานนี้
๕. วิจิกิจฉานิวรณ์ คือ ความลังเลสงสัยไม่แน่ใจ เปรียบเหมือนน้ำที่ขุ่นเป็นตมหรือน้ำที่ตั้งไว้ ในที่มืด ถ้าเกิดลังเลไม่แน่ใจอยู่ตราบใด ก็จะเป็นเหตุให้เข้าถึงฌานไม่ได้ตราบนั้น ต้องใช้วิจารข่มธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อฌานนี้เสีย เมื่อได้ข่มนิวรณ์ที่เป็นปฏิปักษ์ธรรมที่ขัดขวางมิให้เกิดฌานได้เมื่อใด ฌานจิตจึงจะเกิดขึ้นได้เมื่อนั้น ถ้านิวรณ์ทั้ง ๕ นี้ ยังคงมีอยู่ประการใด ประการหนึ่งเพียงประการเดียวฌานจิตก็จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย เหตุนี้ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา จึงสำคัญยิ่งที่เป็นปัจจัยให้เกิดฌานจิต ดังนั้นจึงเรียก ธรรม ๕ ประการนี้ว่า
องค์ฌาน เพราะเป็นองค์สำคัญที่ทำให้เกิดฌาน จิต กล่าวคือ
วิตก ทำหน้าที่ ข่มถีนมิทธนิวรณ์
วิจาร ทำหน้าที่ ข่มวิจิกิจฉานิวรณ์
ปืติ ทำหน้าที่ ข่มพยาปาทนิวรณ์
สุข ทำหน้าที่ ข่มอุทธัจจนิวรณ์
เอกัคคตา ทำหน้าที่ ข่มกามฉันทนิวรณ์
การข่มนิวรณ์ด้วยองค์ของฌานทั้ง ๕ มีดังนี้
๑. วิตก คือ การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เริ่มแรกทำฌานต้องมีสิ่งสำหรับเพ่ง เช่นใช้ไฟมาทำกสิณ แล้วยกจิตขึ้นสู่อารมณ์คือการเพ่งดวงกสิณโดยไม่ให้ จิตใจไปนึกคิดเรื่องราวต่างๆ ถ้าจิตนึกคิดเรื่องราวต่างๆอยู่ จิตก็จะตกไป จากการเพ่งดวงกสิณต้องยกจิตขึ้นสู่การเพ่งใหม่ จิตจะต้องเพ่งอยู่กับดวงกสิณตลอดเวลา เมื่อจิตเกิดความท้อถอย ความง่วง (ถีนมิทธะ) ก็จะเข้า ครอบงำจิตใจได้ (วิตกเจตสิกข่มถีนมิทธเจตสิก)
๒. วิจาร คือ การประคองจิตให้มั่นคงอยู่ในอารมณ์ที่เพ่ง เมื่อวิตกยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ที่เพ่งแล้ว วิจารก็ประคองจิตไม่ให้ตกไปจากอารมณ์ที่เพ่ง เหมือนการถลาไปในอากาศของนก (วิตกเหมือนการกระพือปีกของนก)ดังนั้น ผู้ปฏิบัติควรทำจิตใจให้ตั้งมั่นไม่ให้เกิดความลังเลสงสัยเกิดขึ้นในจิตใจว่าการเพ่งเช่นนี้จะได้ฌานจริงหรือ ถ้าเกิดลังเลใจ(วิจิกิจฉา) จิตก็จะตกไปจากอารมณ์ที่เพ่ง
๓. ปีติ คือ มีความชื่นชมยินดีในอารมณ์ที่เพ่ง ทำให้เกิด ความอิ่มเอิบใจและมีผลทำให้กายซาบซ่าน มีความฟูกายและใจ ผู้ปฏิบัติเมื่อยกจิต ขึ้นสู่อารมณ์ต้องประคองจิตให้มั่นโดยปราศจากการท้อถอยและลังเลใจ ความปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจย่อมเกิดขึ้น ขณะที่จิตมีปีติปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจอยู่นั้น จะไม่มีความพยาบาทมุ่งร้ายหรือขุ่นเคืองใจเข้ามาแทรกแซงได้ ปีติ ความปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจ มี ๕ ประการ คือ
๓.๑. ขุททกาปีติ ปลาบปลื้มใจเล็กน้อย พอรู้สึกขนลุก
๓.๒. ขณิกาปีติ ปลาบปลื้มใจชั่วขณะ เกิดขึ้นบ่อยๆ
๓.๓. โอกกันติกาปีติ ปลาบปลื้มใจถึงกับตัวโยกตัวโคลง
๓.๔. อุพเพงคาปีติ ปลาบปลื้มใจจนตัวลอย
๓.๕. ผรณาปีติ ปลาบปลื้มใจ จนอิ่มเอิบซาบซ่านไปทั่วกายและใจ
ปีติที่เป็นองค์ฌานที่สามารถข่มพยาปาทนิวรณ์ได้นั้น ต้องถึงผรณาปีติ ส่วนปีติอีก ๔ ไม่นับว่าเป็นองค์ฌานเพราะยังเป็นของหยาบและมีกำลังน้อย
๔. สุข ในองค์ฌานหมายถึงความสุขใจหรือโสมนัสเวทนา เมื่อยกจิต ขึ้นสู่อารมณ์แล้วประคองให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์จนปีติเกิดเช่นนี้แล้ว สุขก็ ย่อมเกิดตามมา ความสุขก็คือความสงบที่ปราศจากความฟุูงซ่านรำคาญใจนั่นเอง
๕. เอกัคคตา คือ จิตที่มีสมาธิแน่วแน่ในอารมณ์เดียว คือจะแน่วแน่อยู่ในอารมณ์ที่เพ่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้นเอกัคคตามี ๓ ระดับ คือ
๕.๑. ขณิกสมาธิ คือ จิตที่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ได้ชั่วขณะ เป็นสมาธิขณะบริกรรมว่าเตโช ๆ เป็นต้น
๕.๒. อุปจารสมาธิ คือ จิตที่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ใกล้จะได้ฌาน
๕.๓. อัปปนาสมาธิ คือ จิตตั้งมั่นหรือแนบแน่นอยู่ในอารมณ์ที่กำหนด ไม่ซัดส่ายไปไหน กิเลสไม่สามารถรบกวนได้ และอัปปนาสมาธิก็คือฌานจิตที่เป็นอัปปนาเกิดขึ้นแล้ว การข่มนิวรณ์ด้วยอำนาจแห่งองค์ฌานนี้ เรียกว่า วิกขัมภนปหาน เป็น การประหาณไว้ได้นานตราบเท่าที่ฌานยังไม่เสื่อม เปรียบประดุจหินทับหญ้า ถ้าไม่ยกหินออก หญ้าก็งอกขึ้นไม่ได้ฉันใด ถ้าฌานยังไม่เสื่อมนิวรณ์ก็ไม่มี โอกาสจะเกิดขึ้นได้ฉันนั้น หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า นิวรณ์กำเริบขึ้นได้เมื่อใด ฌานก็จะเสื่อมไปได้เมื่อนั้น
๑. วิตก คือ การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ เริ่มแรกทำฌานต้องมีสิ่งสำหรับเพ่ง เช่นใช้ไฟมาทำกสิณ แล้วยกจิตขึ้นสู่อารมณ์คือการเพ่งดวงกสิณโดยไม่ให้ จิตใจไปนึกคิดเรื่องราวต่างๆ ถ้าจิตนึกคิดเรื่องราวต่างๆอยู่ จิตก็จะตกไป จากการเพ่งดวงกสิณต้องยกจิตขึ้นสู่การเพ่งใหม่ จิตจะต้องเพ่งอยู่กับดวงกสิณตลอดเวลา เมื่อจิตเกิดความท้อถอย ความง่วง (ถีนมิทธะ) ก็จะเข้า ครอบงำจิตใจได้ (วิตกเจตสิกข่มถีนมิทธเจตสิก)
๒. วิจาร คือ การประคองจิตให้มั่นคงอยู่ในอารมณ์ที่เพ่ง เมื่อวิตกยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ที่เพ่งแล้ว วิจารก็ประคองจิตไม่ให้ตกไปจากอารมณ์ที่เพ่ง เหมือนการถลาไปในอากาศของนก (วิตกเหมือนการกระพือปีกของนก)ดังนั้น ผู้ปฏิบัติควรทำจิตใจให้ตั้งมั่นไม่ให้เกิดความลังเลสงสัยเกิดขึ้นในจิตใจว่าการเพ่งเช่นนี้จะได้ฌานจริงหรือ ถ้าเกิดลังเลใจ(วิจิกิจฉา) จิตก็จะตกไปจากอารมณ์ที่เพ่ง
๓. ปีติ คือ มีความชื่นชมยินดีในอารมณ์ที่เพ่ง ทำให้เกิด ความอิ่มเอิบใจและมีผลทำให้กายซาบซ่าน มีความฟูกายและใจ ผู้ปฏิบัติเมื่อยกจิต ขึ้นสู่อารมณ์ต้องประคองจิตให้มั่นโดยปราศจากการท้อถอยและลังเลใจ ความปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจย่อมเกิดขึ้น ขณะที่จิตมีปีติปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจอยู่นั้น จะไม่มีความพยาบาทมุ่งร้ายหรือขุ่นเคืองใจเข้ามาแทรกแซงได้ ปีติ ความปลาบปลื้มอิ่มเอิบใจ มี ๕ ประการ คือ
๓.๑. ขุททกาปีติ ปลาบปลื้มใจเล็กน้อย พอรู้สึกขนลุก
๓.๒. ขณิกาปีติ ปลาบปลื้มใจชั่วขณะ เกิดขึ้นบ่อยๆ
๓.๓. โอกกันติกาปีติ ปลาบปลื้มใจถึงกับตัวโยกตัวโคลง
๓.๔. อุพเพงคาปีติ ปลาบปลื้มใจจนตัวลอย
๓.๕. ผรณาปีติ ปลาบปลื้มใจ จนอิ่มเอิบซาบซ่านไปทั่วกายและใจ
ปีติที่เป็นองค์ฌานที่สามารถข่มพยาปาทนิวรณ์ได้นั้น ต้องถึงผรณาปีติ ส่วนปีติอีก ๔ ไม่นับว่าเป็นองค์ฌานเพราะยังเป็นของหยาบและมีกำลังน้อย
๔. สุข ในองค์ฌานหมายถึงความสุขใจหรือโสมนัสเวทนา เมื่อยกจิต ขึ้นสู่อารมณ์แล้วประคองให้จิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์จนปีติเกิดเช่นนี้แล้ว สุขก็ ย่อมเกิดตามมา ความสุขก็คือความสงบที่ปราศจากความฟุูงซ่านรำคาญใจนั่นเอง
๕. เอกัคคตา คือ จิตที่มีสมาธิแน่วแน่ในอารมณ์เดียว คือจะแน่วแน่อยู่ในอารมณ์ที่เพ่งเพียงอย่างเดียวเท่านั้นเอกัคคตามี ๓ ระดับ คือ
๕.๑. ขณิกสมาธิ คือ จิตที่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ได้ชั่วขณะ เป็นสมาธิขณะบริกรรมว่าเตโช ๆ เป็นต้น
๕.๒. อุปจารสมาธิ คือ จิตที่ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ใกล้จะได้ฌาน
๕.๓. อัปปนาสมาธิ คือ จิตตั้งมั่นหรือแนบแน่นอยู่ในอารมณ์ที่กำหนด ไม่ซัดส่ายไปไหน กิเลสไม่สามารถรบกวนได้ และอัปปนาสมาธิก็คือฌานจิตที่เป็นอัปปนาเกิดขึ้นแล้ว การข่มนิวรณ์ด้วยอำนาจแห่งองค์ฌานนี้ เรียกว่า วิกขัมภนปหาน เป็น การประหาณไว้ได้นานตราบเท่าที่ฌานยังไม่เสื่อม เปรียบประดุจหินทับหญ้า ถ้าไม่ยกหินออก หญ้าก็งอกขึ้นไม่ได้ฉันใด ถ้าฌานยังไม่เสื่อมนิวรณ์ก็ไม่มี โอกาสจะเกิดขึ้นได้ฉันนั้น หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า นิวรณ์กำเริบขึ้นได้เมื่อใด ฌานก็จะเสื่อมไปได้เมื่อนั้น
ประเภทแห่งฌาน ตามนัยแห่งพระอภิธรรม จำแนกประเภทของฌานไว้ ๕ ฌาน เรียกชื่อว่า ฌานปัญจกนัย ฌานทั้ง ๕ ได้แก่
ปฐมฌาน มีองค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ทุติยฌาน มีองค์ฌาน ๔ คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ตติยฌาน มีองค์ฌาน ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
จตุตถฌาน มีองค์ฌาน ๒ คือ สุข เอกัคคตา
ปัญจมฌาน มีองค์ฌาน ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา
แต่ตามนัยแห่งพระสุตตันตปิฎก คือตามนัยแห่งพระสูตร จำแนกประเภทแห่งฌานออกเป็นฌาน ๔ เรียกว่า ฌานจตุกนัย ดังนี้
ปฐมฌาน มีองค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ทุติยฌาน มีองค์ฌาน ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
ตติยฌาน มีองค์ฌาน ๒ คือ สุข เอกัคคตา
จตุตถฌาน มีองค์ฌาน ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา
เหตุที่ทุติยฌานตามนัยแห่งพระอภิธรรมละวิตกได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งต่างจากทุติยฌานตามนัยแห่งพระสุตตันตปิฎกที่ละวิตกและวิจารได้พร้อมๆกัน เป็นเพราะว่าการละวิตกและวิจารได้ในเวลาเดียวกันสามารถกระทำได้เฉพาะผู้ปฏิบัติที่เป็นติกขบุคคล (ผู้รู้เร็ว) เท่านั้น เหตุนี้ตามนัยแห่งพระสูตรจึงแสดงว่า รูปฌานมี ๔ อรูปฌานมี ๔ รวม เป็นฌาน ๘ และเมื่อกล่าวโดยการเข้าฌานสมาบัติ จึงเรียกว่าสมาบัติ ๘ ส่วนตามนัยแห่งพระอภิธรรมแสดงว่า รูปฌานมี ๕ อรูปฌานมี ๔ รวมเป็นฌาน ๙ หรือสมาบัติ ๙ ปฐมฌานจะเกิดขึ้นได้จะต้องมีองค์ฌาน คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ครบทั้ง ๕ เพื่อข่มนิวรณ์ทั้ง ๕ ให้สงบราบคาบ แต่หลังจากที่เข้าปฐมฌานได้อย่างชำนิชำนาญแล้ว นิวรณ์ทั้ง ๕ ที่เคยเป็นปฏิปักษ์กับฌานจิต ก็จะอ่อนกำลังลงจนไม่สามารถเข้าแทรกแซงได้เพราะถูกข่มไว้ด้วยอำนาจของปฐมฌานจิต เมื่อมาถึงตอนนี้หากผู้ปฏิบัติต้องการได้ฌานที่สูงขึ้นไปก็
จะต้องละองค์ฌานเบื้องต่ำ อันได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ สุข ตามลำดับ ฌานจิตก็จะเลื่อนสูงขึ้นตามลำดับเช่นกัน
ปฐมฌาน มีองค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ทุติยฌาน มีองค์ฌาน ๔ คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ตติยฌาน มีองค์ฌาน ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
จตุตถฌาน มีองค์ฌาน ๒ คือ สุข เอกัคคตา
ปัญจมฌาน มีองค์ฌาน ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา
แต่ตามนัยแห่งพระสุตตันตปิฎก คือตามนัยแห่งพระสูตร จำแนกประเภทแห่งฌานออกเป็นฌาน ๔ เรียกว่า ฌานจตุกนัย ดังนี้
ปฐมฌาน มีองค์ฌาน ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
ทุติยฌาน มีองค์ฌาน ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
ตติยฌาน มีองค์ฌาน ๒ คือ สุข เอกัคคตา
จตุตถฌาน มีองค์ฌาน ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา
เหตุที่ทุติยฌานตามนัยแห่งพระอภิธรรมละวิตกได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งต่างจากทุติยฌานตามนัยแห่งพระสุตตันตปิฎกที่ละวิตกและวิจารได้พร้อมๆกัน เป็นเพราะว่าการละวิตกและวิจารได้ในเวลาเดียวกันสามารถกระทำได้เฉพาะผู้ปฏิบัติที่เป็นติกขบุคคล (ผู้รู้เร็ว) เท่านั้น เหตุนี้ตามนัยแห่งพระสูตรจึงแสดงว่า รูปฌานมี ๔ อรูปฌานมี ๔ รวม เป็นฌาน ๘ และเมื่อกล่าวโดยการเข้าฌานสมาบัติ จึงเรียกว่าสมาบัติ ๘ ส่วนตามนัยแห่งพระอภิธรรมแสดงว่า รูปฌานมี ๕ อรูปฌานมี ๔ รวมเป็นฌาน ๙ หรือสมาบัติ ๙ ปฐมฌานจะเกิดขึ้นได้จะต้องมีองค์ฌาน คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ครบทั้ง ๕ เพื่อข่มนิวรณ์ทั้ง ๕ ให้สงบราบคาบ แต่หลังจากที่เข้าปฐมฌานได้อย่างชำนิชำนาญแล้ว นิวรณ์ทั้ง ๕ ที่เคยเป็นปฏิปักษ์กับฌานจิต ก็จะอ่อนกำลังลงจนไม่สามารถเข้าแทรกแซงได้เพราะถูกข่มไว้ด้วยอำนาจของปฐมฌานจิต เมื่อมาถึงตอนนี้หากผู้ปฏิบัติต้องการได้ฌานที่สูงขึ้นไปก็
จะต้องละองค์ฌานเบื้องต่ำ อันได้แก่ วิตก วิจาร ปีติ สุข ตามลำดับ ฌานจิตก็จะเลื่อนสูงขึ้นตามลำดับเช่นกัน
รูปาวจรกุศลจิต ๕ เป็นจิตที่เกิดขึ้นโดยการบำเพ็ญสมาธิหรือสมถภาวนา ในตอนแรกย่อมเป็นมหากุศลจิต แต่เมื่อเจริญภาวนาไปจนได้สมาธิแนบแน่นเป็นอัปปนาสมาธิแล้ว จิตจึงเปลี่ยนจากมหากุศลจิต เป็นรูปาวจรกุศลจิต ที่เกิดพร้อมกับ องค์ฌาน ๕ มี ๕ ดวง คือ
รูปาวจรกุศลจิต ดวงที่ ๑ จิต เกิดพร้อมด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นปฐมฌานกุศล (ฌานที่ ๑)
รูปาวจรกุศลจิต ดวงที่ ๒ เกิดพร้อมด้วย วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นทุติยฌานกุศล (ฌานที่ ๒)
รูปาวจรกุศลจิต ดวงที่ ๓ เกิดพร้อมด้วย ปีติ สุข เอกัคคตา
เป็นตติยฌานกุศล (ฌานที่ ๓)
รูปาวจรกุศลจิต ดวงที่ ๔ เกิดพร้อมด้วย สุข เอกัคคตา
เป็นจตุตถ ฌานกุศล (ฌานที่ ๔)
รูปาวจรกุศลจิต ดวงที่ ๕ เกิดพร้อมด้วย อุเบกขา เอกัคคตา
เป็นปัญจมฌานกุศล(ฌานที่ ๕)
รูปาวจรกุศลจิต ดวงที่ ๑ จิต เกิดพร้อมด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นปฐมฌานกุศล (ฌานที่ ๑)
รูปาวจรกุศลจิต ดวงที่ ๒ เกิดพร้อมด้วย วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นทุติยฌานกุศล (ฌานที่ ๒)
รูปาวจรกุศลจิต ดวงที่ ๓ เกิดพร้อมด้วย ปีติ สุข เอกัคคตา
เป็นตติยฌานกุศล (ฌานที่ ๓)
รูปาวจรกุศลจิต ดวงที่ ๔ เกิดพร้อมด้วย สุข เอกัคคตา
เป็นจตุตถ ฌานกุศล (ฌานที่ ๔)
รูปาวจรกุศลจิต ดวงที่ ๕ เกิดพร้อมด้วย อุเบกขา เอกัคคตา
เป็นปัญจมฌานกุศล(ฌานที่ ๕)
รูปาวจรวิปากจิต ๕ เป็นจิตที่เป็นผลของรูปาวจรกุศลจิต ที่ทำหน้าที่นำเกิด (ปฏิสนธิ) ในรูปภูมิ คือเป็นจิตของรูปพรหมในพรหมโลก มีจำนวน ๕ ดวง เท่ากับรูปาวจรกุศลจิตคือ
รูปาวจรวิปากจิต ดวงที่ ๑ จิตเกิดพร้อมด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นปฐมฌานวิปาก
รูปาวจรวิปากจิต ดวงที่ ๒ จิตเกิดพร้อมด้วย วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นทุติยฌานวิปาก
รูปาวจรวิปากจิต ดวงที่ ๓ จิตเกิดพร้อมด้วย ปีติ สุข เอกัคคตา เป็น ตติยฌานวิปาก
รูปาวจรวิปากจิต ดวงที่ ๔ จิตเกิดพร้อมด้วย สุข เอกัคคตา เป็นจตุตถฌานวิปาก
รูปาวจรวิปากจิต ดวงที่ ๕ จิตเกิดพร้อมด้วย อุเบกขา เอกัคคตา เป็นปัญจมฌานวิปาก
รูปาวจรวิปากจิต ดวงที่ ๑ จิตเกิดพร้อมด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นปฐมฌานวิปาก
รูปาวจรวิปากจิต ดวงที่ ๒ จิตเกิดพร้อมด้วย วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นทุติยฌานวิปาก
รูปาวจรวิปากจิต ดวงที่ ๓ จิตเกิดพร้อมด้วย ปีติ สุข เอกัคคตา เป็น ตติยฌานวิปาก
รูปาวจรวิปากจิต ดวงที่ ๔ จิตเกิดพร้อมด้วย สุข เอกัคคตา เป็นจตุตถฌานวิปาก
รูปาวจรวิปากจิต ดวงที่ ๕ จิตเกิดพร้อมด้วย อุเบกขา เอกัคคตา เป็นปัญจมฌานวิปาก
รูปาวจรกิริยาจิต ๕ เป็นจิตของพระอรหันต์ที่เข้าถึงรูปฌาน มีลักษณะเช่นเดียวกับรูปาวจร กุศลจิต แต่เกิดขึ้นกับพระอรหันต์เท่านั้นจึงชื่อว่า รูปาวจรกิริยาจิตเพราะไม่มีผลเป็นวิปากจิตในอนาคต มี ๕ ดวง คือ
รูปาวจรกิริยาจิต ดวงที่ ๑ จิตเกิดพร้อมด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นปฐมฌานกิริยา
รูปาวจรกิริยาจิต ดวงที่ ๒ จิตเกิดพร้อมด้วย วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นทุติยฌานกิริยา
รูปาวจรกิริยาจิต ดวงที่ ๓ จิตเกิดพร้อมด้วย ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นตติยฌานกิริยา
รูปาวจรกิริยาจิต ดวงที่ ๔ จิตเกิดพร้อมด้วย สุข เอกัคคตา เป็นจตุตถฌานกิริยา
รูปาวจรกิริยาจิต ดวงที่ ๕ จิตเกิดพร้อมด้วย อุเบกขา เอกัคคตา เป็นปัญจมฌานกิริยา
รูปาวจรกิริยาจิต ดวงที่ ๑ จิตเกิดพร้อมด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นปฐมฌานกิริยา
รูปาวจรกิริยาจิต ดวงที่ ๒ จิตเกิดพร้อมด้วย วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นทุติยฌานกิริยา
รูปาวจรกิริยาจิต ดวงที่ ๓ จิตเกิดพร้อมด้วย ปีติ สุข เอกัคคตา เป็นตติยฌานกิริยา
รูปาวจรกิริยาจิต ดวงที่ ๔ จิตเกิดพร้อมด้วย สุข เอกัคคตา เป็นจตุตถฌานกิริยา
รูปาวจรกิริยาจิต ดวงที่ ๕ จิตเกิดพร้อมด้วย อุเบกขา เอกัคคตา เป็นปัญจมฌานกิริยา